หัวข้อ: ทำไมน้ำถึงไม่ท่วมกรุงเทพฯ...- โพลชี้ คนกรุงยอมให้ระบายเข้ากรุงเทพ เริ่มหัวข้อโดย: your-ประชาธิปไตย ที่ ตุลาคม 11, 2011, 09:41:44 AM พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปริวิตกห่วงใยในปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอยู่เสมอมา ทรงวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและทรงคำนึงถึงการ เลือกใช้วิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่และสมรรถนะของกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ ตลอดจนงบประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
โดยวิธีการต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริในการแก้ไข ปัญหาน้ำท่วมคือ 1. การก่อสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมแต่ครั้งโบราณโดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำ ขนาดที่เหมาะสมขนานไปตามลำน้ำห่างจากขอบตลิ่งพอสมควรเพื่อป้องกันมิให้น้ำล้น ตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่างๆ ด้านใน เช่น คันกั้นน้ำโครงการมูโนะและโครงการปิเหล็ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส 2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมท้นให้ออกไป โดยการก่อสร้างทางผันน้ำหรือ ขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วมให้น้ำไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้น ใหม่ไปลงลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเลตาม ความเหมาะสม 3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกหรือช่วยให้กระแสน้ำไหล เร็วยิ่งขึ้น โดยใช้วิธีการขุดลอกลำน้ำตื้นเขินให้น้ำไหลสะดวกขึ้น,ตกแต่งดินตามลาดตลิ่ง ให้เรียบ,กำจัดวัชพืช ผักตบชวา และรื้อทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหล, หากลำน้ำคดโค้ง มากให้หาแนวทางขุดคลองใหม่เป็นลำน้ำสายตรง, การก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริแก้มลิง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการ ด้านน้ำท่วม ในวิธีการที่ตรัสว่า แก้มลิง ซึ่งได้พระราชทานพระราชอรรถาธิบายว่า "…ลิง โดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บไว้ ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อน แล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง..." เปรียบเทียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้ เป็นบ่อพักน้ำอันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง 1. ระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง 2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ 3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิงนี้ ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง 4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันมิให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow) โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำการรับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา นับตั้งแต่ จ.สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร มาตามคลองสายต่างๆ โดยใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้าน จ.สมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำ และพิจารณาหนองบึงหรือพื้นที่ว่างเปล่าตามความเหมาะสม เป็นบ่อพักน้ำเพิ่มเติมโดยใช้คลองธรรมชาติในแนวเหนือ-ใต้ เช่น คลองพระองค์ไชยนุชิต คลองบางปลา คลองด่าน คลองบางปิ้ง คลองตำหรุ คลองชายทะเล เป็นแหล่งระบายน้ำเข้าและออกจากบ่อพักน้ำ โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่เจ้าพระยา ตั้งแต่ จ.อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และสมุทรสาคร ไปคลองมหาชัย-สนามชัยและแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้าน จ.สมุทรสาคร ดูเพิ่มเติมที่http://www.thairath.co.th/page/floodSolve (http://www.thairath.co.th/page/floodSolve) สวนดุสิตโพลชี้ คนกรุงส่วนใหญ่66.79% เห็นใจคนตจว.น้ำท่วมนานนับเดือน ยอมให้ระบายเข้ากรุงเทพ จากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนต่างได้รับความเดือดร้อน รวมทั้งฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครเจอภาวะน้ำเอ่อล้นและน้ำท่วมแล้ว เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นและเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาให้ถูกจุดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,380 คน ระหว่างวันที่ 4-8 ตุลาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้ 1 . คนกรุงเทพฯ คิดอย่างไร ? ถ้าจะมีการระบายน้ำเข้ามาบางส่วน เพื่อแบ่งเบาความเดือดร้อนของจังหวัดต่างๆ อันดับ 1 เห็นด้วย 66.79% เพราะ กรุงเทพ ฯ มีประตูระบายน้ำหลายแห่งและเป็นเส้นทางน้ำที่จะช่วยระบายน้ำลงสู่ทะเล ,เห็นใจผู้ที่ถูกน้ำท่วมในต่างจังหวัดที่ประสบปัญหามานานนับเดือน ฯลฯ อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 20.07% เพราะ กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สำคัญและเป็นแหล่งเศรษฐกิจ ควรศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านอื่นๆด้วย เป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ฯลฯ อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 13.14% เพราะ ปริมาณน้ำท่วมในปีนี้มีมากและรุนแรง ทั้งฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง น้ำจากเขื่อนต่าง ๆ ที่เอ่อล้นออกมา และน้ำทะเลหนุน สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้จึงเป็นปัญหาที่คิดว่าไม่น่าจะแก้ไขได้ ฯลฯ 2. “วิธีการป้องกัน” กรณี ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นจากการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล อันดับ 1 ต้องใจเย็น อดทน อย่าใจร้อน วู่วาม /ควรเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน 54.56% อันดับ 2 ควรหาคนกลางที่สามารถควบคุมหรือมีการพูดคุยปรับความเข้าใจกันอย่างมีสติ/อาจเป็นการเจรจาต่อรองหรือตกลงกันโดยพบกันครึ่งทาง 22.07% อันดับ 3 ก่อนที่จะดำเนินการใดๆควรรับฟังเสียงตอบรับจากประชาชนก่อน ว่าเห็นด้วยหรือไม่พร้อมเหตุผล 14.13% อันดับ 4 หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในกลุ่มฝูงชนที่กำลังมีอารมณ์รุนแรง 9.24% 3. “ความกลัว /วิตกกังวล” ของคนกรุงเทพฯ เกี่ยวกับน้ำท่วม อันดับ 1 บ้านถูกน้ำท่วม ทรัพย์สิน สิ่งของเครื่องใช้เสียหาย 33.38% อันดับ 2 กลัวว่าอาหารสด อาหารแห้ง น้ำดื่มขาดแคลน 30.46% อันดับ 3 ชีวิตความเป็นอยู่ การเดินทางไม่สะดวก /ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 19.35% อันดับ 4 เป็นห่วงคนในครอบครัว /เกิดความกลัว วิตกกังวล เครียดกับเรื่องน้ำท่วม 16.81% 4. สิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากให้ “รัฐบาล” ช่วยเหลือเกี่ยวกับน้ำท่วม อันดับ 1 ระดมความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนทั้งกำลังพล อาหาร น้ำดื่ม สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือมีประสิทธิภาพ 52.82% อันดับ 2 เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยเร็ว สั่งการให้ทุกจังหวัดดำเนินการช่วยเหลือผู้ถูกน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน 34.20% อันดับ 3 ควบคุมดูแลผู้ที่ฉกฉวยโอกาสจากน้ำท่วม เช่น การขึ้นราคาสินค้า การเอารัดเอาเปรียบผู้ที่เดือดร้อน 12.98% 5. สิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากให้ “เอกชน” ช่วยเหลือเกี่ยวกับน้ำท่วม อันดับ 1 การระดมทุน บริจาคสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นพื้นฐานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย 62.70% อันดับ 2 ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ หรือเรื่องที่ภาครัฐร้องขอและสามารถดำเนินการได้ 19.98% อันดับ 3 การให้ความช่วยเหลือต่างๆที่สามารถทำได้ เช่น เปิดพื้นที่ให้เป็นที่พักของผู้ประสบภัยหรือใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม 17.32% 6. สิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากให้ “สื่อมวลชน” ช่วยเหลือเกี่ยวกับน้ำท่วม อันดับ 1 การรายงานสภาพน้ำท่วมในภาพรวมจากทุกภาคของประเทศอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เป็นศูนย์กลางในการกระจายข่าวสารที่ถูกต้อง ชัดเจน 46.81% อันดับ 2 เป็นตัวกลางในการระดมและรับความช่วยเหลือจากทุกๆฝ่าย /นำสิ่งของที่ได้ไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัยอย่างทั่วถึง 30.55% อันดับ 3 นำเสนอข้อมูลข่าวสารในทุกแง่มุม สะท้อนปัญหาและแนวทางแก้ไข /สัมภาษณ์ประชาชนที่เดือดร้อนเพื่อรับฟังปัญหาและนำมาแก้ไขให้ตรงจุด 22.64% 7. ความมั่นใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของคนกรุงเทพฯ ต่อ “รัฐบาล” เรื่องน้ำท่วม อันดับ 1 ไม่มั่นใจ 56.62% เพราะ ปริมาณน้ำที่เข้ามามีมาก พื้นที่ต่างๆไม่ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีจำนวนมากเกินกว่าที่จะรับมือได้ ฯลฯ อันดับ 2 มั่นใจ 43.38% เพราะ เป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทุกข์ สุขของประชาชน ,รัฐบาลได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ฯลฯ 8. ความมั่นใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของคนกรุงเทพฯ ต่อ “กทม.” เรื่องน้ำท่วม อันดับ 1 ไม่มั่นใจ 52.03% เพราะ ปริมาณน้ำในปีนี้มีมากกว่าทุกปี มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ,ถึงจะมีการเตรียมพร้อมอย่างไร? ก็ไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ ฯลฯ อันดับ 2 มั่นใจ 47.97% เพราะ มีการเตรียมพร้อมในการรับมือกับน้ำท่วม มีประตูระบายน้ำหลายจุดที่สามารถผันน้ำลงทะเลได้อย่างรวดเร็ว ฯลฯ 9. การเตรียมตัวรับมือน้ำท่วม ของ คนกรุงเทพฯ อันดับ 1 ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดและมีสติ 41.80% อันดับ 2 ซื้อสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ได้แก่ ข้าวสาร อาหารแห้ง ยา สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นมาติดบ้านไว้ 21.03% อันดับ 3 การรวบรวมเก็บสิ่งของที่สำคัญหรือของมีค่าไว้ด้วยกัน ขนย้ายสิ่งของไว้ที่สูง /ตรวจสอบปลั๊กไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ หากต้องมีการตัดไฟ 16.36% อันดับ 4 เตรียมใจให้พร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ข้างหน้าที่จะเกิดขึ้น 11.08% อันดับ 5 เตรียมกระสอบทรายเพื่อทำแนวกั้นน้ำตามจุดต่างๆที่น้ำจะเข้ามาได้ 9.73% 10. หน่วยงาน ที่คนกรุงเทพฯ ประทับใจในการช่วยเหลือน้ำท่วม อันดับ 1 สื่อมวลชน 29.31% อันดับ 2 ประชาชน คนไทย 21.73% อันดับ 3 หน่วยกู้ภัย /มูลนิธิต่างๆ 20.40% อันดับ 4 รัฐบาล /หน่วยงานภาครัฐ 16.59% อันดับ 5 หน่วยงานเอกชน /บริษัท /ห้างร้าน 11.97% http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1318134691&grpid=03&catid=00 (http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1318134691&grpid=03&catid=00) หัวข้อ: Re: ทำไมน้ำถึงไม่ท่วมกรุงเทพฯ...- โพลชี้ คนกรุงยอมให้ระบายเข้ากรุงเทพ เริ่มหัวข้อโดย: hAhA ที่ ตุลาคม 11, 2011, 11:03:47 AM อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 20.07% เพราะ กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สำคัญและเป็นแหล่งเศรษฐกิจ ควรศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านอื่นๆด้วย เป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ฯลฯ อยากให้พวกเขาไปอยู่จังหวัดที่น้ำท่วมซักสัปดานะจะได้เข้าใจไม่เห็นแก่ตัว
|