หัวข้อ: บอร์ และ เกจ เริ่มหัวข้อโดย: E22RUG ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2012, 09:15:45 AM การวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของปืนลูกซองที่ใช้หหน่วยเป็นเกจและบอร์ เป็นการบอกหน่วยที่ต่างกันไปจากปืนไรเฟิลและปืนสั้นทั่วๆไป ระบบนี้เป็นการใช้ที่ย้อนกลับไปสู่ในยุคต้นของปืนที่บรรจุกระสุนทางปากลำกล้อง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดกันต่อมา จากคำว่า เกจ ของปืนใหญ่ ศัพย์เฉพาะของจำนวนตะกั่วกับเส้นผ่าศูนย์กลางลำกล้องในน้ำหนัก 1 ปอนด์
ถ้าหากลำกล้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางพอที่จะบรรจุลูกตะกั่วทรงกลมมีน้ำหนัก 1 ปอนด์ หรือ 453.59 กรัม เข้าไปได้พอดีก็จะมีขนาดเท่ากับ 1 เกจ ถ้าบรรจุลูกตะกั่วทรงกลมขนาด 1/2 ปอนด์ได้พอดีก็จะเรียกว่า 12 เกจ ลำกล้องขนาด 12 เกจ ก็คือลำกล้องที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเท่ากับลูกตะกั่วทรงกลมน้ำหนัก 1/12 ปอนด์ที่สามารถใส่เข้าไปในลำกล้องได้พอดี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 0.729 นิ้วหรือ 18052 มม. ซึ่งในบางแห่งจะเรียกว่า ทเวลฟ์-ปอนด์เดอร์ หรืออย่างลำกล้องขนาด 16 เกจ จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางลำกล้อง 0.662 นิ้วหรือ 16.81 มม. และในขนาด 20 เกจ ก็จะแบ่งออกเป็น 20 ลูก แต่ละลูกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.625 นิ้ว หรือ 15.62 มม. ในอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธปืนของอังกฤษได้เสนอให้ใช้คำว่า บอร์ ( bore ) แทนคำว่า เกจ เช่นเบอร์ 12 หรือ 20 เบอร์ ซึ่งเป็นระบบค่อนข้างจะได้รับความนิยมมากกว่าเกจ ทั้งที่ทั้งสองคำนี้มีความหมายที่เหมือนกัน ส่วนระบบที่เรียกว่า เกจ ก็ยังคงได้รับความนิยมใช้มาจนถึงทุกวันนี้ แต่ก็มีการยกเว้นในกระสุนลูกซองบางขนาดเช่น กระสุนขนาด .410 ซึ่งจะมีขนาดเท่ากับ 68 เกจ หรือแต่นิยมที่จะเรียกว่า .410 คาลิเบอร์ มากกว่า เช่นเดียวกับในกระสุนลูกซองขนาด 9 มม. แบบชนวนริมจะถูกเรียกว่า คาลิเบอร์ ไม่เรียกว่า เกจ ในช่วงเวลาหนึ่งกระสุนปืนลูกซองได้รับการผลิตออกมาในทุกขนาดเกจ ตั้งแต่ประมาณ 1 เกจ ลงไปจนถึง 32 เกจ ในปืนลูกซองที่มีขนาดใหญ่กว่า 4 เกจ จะใช้กับปืนที่ติดตั้งเข้ากับเครื่องค้ำพยุงที่หมุนได้รอบตัว กรือใช้ในเรือสำหรับการล่าสัตว์อย่างพวกนกขนาดใหญ่หรือห่านป่า ในอเมริกาจะไม่ผลิดกระสุนที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 10 เกจ ซึ่งเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.775 นิ้ว หรือ 19.7 มม. สำหรับในกีฬาล่าสัตว์ แต่ในยุโรปบางประเทศหลายบริษัทยังคงทำการผลิตในขนาด 8 เกจ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 กระสุนปืนลูกซองได้รับการผลิตออกมาอย่างหลากหลายขนาด แตกต่างกันทั้งการบรรจุ ความยาวปลอกและประเภทของดินขับซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์อย่างแท้จริง ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการผลิตปืนลูกซองที่มีความแตกต่างกันถึง 6500 - 7000 กว่าแบบ แต่หลังจากปี ค.ศ.1920 ความหลากหลายในการบรรจุกระสุนลูกซองถูกลดน้อยลงจนถึงทุกวันนี้ เหลือเพียงแค่ 200 กว่าแบบเท่านั้นเอง หัวข้อ: Re: บอร์ และ เกจ เริ่มหัวข้อโดย: thongchai_h ที่ เมษายน 12, 2012, 03:09:09 PM ได้ความรู้เยอะเลยครับ เป็นพระคุณอย่างสูงครับ ::014::
หัวข้อ: Re: บอร์ และ เกจ เริ่มหัวข้อโดย: ลูกซองสั้น ที่ เมษายน 12, 2012, 08:27:20 PM บรรทัดที่ 5 พิมพ์ตกเลข 1 ไปครับ ที่ถูกต้องเป็น 1/12 ปอนด์
บรรทัดที่ 8 ไม่ได้บอกว่า แบ่งตะกั่ว 1 ปอนด์ออกเป็น 16 ลูก เท่าๆกัน ขอบคุณสำหรับความเข้าใจครับ ::002:: หัวข้อ: Re: บอร์ และ เกจ เริ่มหัวข้อโดย: E22RUG ที่ เมษายน 13, 2012, 10:10:04 AM ขอบคุณครับพี่ ลูกซองสั้น ที่ช่วยเข้ามาแก้ไขเพิ่มเติมให้ครับ
หัวข้อ: Re: บอร์ และ เกจ เริ่มหัวข้อโดย: mulinho ที่ เมษายน 16, 2012, 10:11:18 PM ขอบคุณครับ
|