เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => สนทนาภาษาปืน => ข้อความที่เริ่มโดย: นกขมิ้นสัญจร ที่ มิถุนายน 05, 2012, 02:42:06 PM



หัวข้อ: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: นกขมิ้นสัญจร ที่ มิถุนายน 05, 2012, 02:42:06 PM
         จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนพกขนาด .๓๕๗ แม้เครื่องกระสุนปืนของกลางซึ่งมีขนาด .๓๘ จะใช้กับอาวุธปืนพกขนาด .๓๕๗ ได้ แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับอนุญาตให้มีและใช้

( ในกระทู้ปักหมุด ท่านสุพินท์ บอกว่า ได้รับใบอนุญาตปืน .๓๕๗  ครอบกลุมกระสุน .๓๘ ด้วยครับ )


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: พญาจงอาง +รักในหลวง+ ที่ มิถุนายน 05, 2012, 03:47:00 PM
เฮ้อ!ประเทศไทย ::012::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ มิถุนายน 05, 2012, 04:14:19 PM
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  15274/2553

 พนักงานอัยการจังหวัดนครปฐม       โจทก์
 
นายxxxxxxxxxxxxxxxxxxx      จำเลย
 
             การที่ ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้พนักงานสอบสวน แจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบก็เพื่อที่ผู้ต้องหาจะได้ทราบว่าตนถูกกล่าวหาหรือแจ้งข้อหาว่ากระทำผิดในข้อหาอะไร จะได้สามารถให้การแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้อง แต่การแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่หากพนักงานสอบสวนปฏิบัติผิดพลาดหรือบกพร่องแล้วจะทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามบันทึกคำให้การว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุจำเลยได้ใช้ปืนยิงแมวของผู้กล่าวหาที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเข้าไปในบ้านจำเลยและเจ้าพนักงานตำรวจได้ร่วมกันจับกุมจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและมีข้อความต่อไปที่แสดงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ถือได้ว่ามีการแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ได้

            จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนพกขนาด .357 แม้เครื่องกระสุนปืนของกลางซึ่งมีขนาด .38 จะใช้กับอาวุธปืนพกขนาด .357 ได้แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้

          โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องระบุคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2549 ซึ่งเป็นการระบุ พ.ศ. ของคำสั่งดังกล่าวผิดพลาด มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า และกรณีดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

 

________________________________

 


โจทก์ฟ้องว่าขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 91, 138, 358, 381 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8, 72, 72 ทวิ

          จำเลยให้การปฏิเสธ

          ระหว่างพิจารณา ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะความผิดฐานดังกล่าวออกจากสารบบความ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสอง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ปรับ 2,000 บาท และฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ปรับ 500 บาท รวมปรับ 2,500 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์

            ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8, 72 ทวิ วรรคหนึ่ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 วรรคหนึ่ง เพื่อที่ผู้ต้องหาจะได้ทราบว่าตนถูกกล่าวหาหรือแจ้งข้อหาว่ากระทำผิดในข้อหาอะไร และพนักงานสอบสวนกล่าวหาโดยอ้างข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของผู้ต้องหาอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้ผู้ต้องหาสามารถเข้าใจข้อหาได้ดี เพื่อที่จะได้สามารถให้การแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้อง จึงมิใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่ว่าหากพนักงานสอบสวนมิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติผิดพลาด บกพร่องไม่ครบถ้วนแล้วจะทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดอันส่งผลต่ออำนาจฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด คดีนี้แม้พันตำรวจโทสมปอง พนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำซึ่งกล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำผิดตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุผู้ต้องหาได้ใช้อาวุธปืนยิงแมวของผู้กล่าวหาที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเข้าไปในบ้านของจำเลย และเจ้าพนักงานตำรวจได้ร่วมกันจับกุมตัวจำเลยได้พร้อมด้วยอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางนำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี เหตุเกิดที่บ้านเลขที่ 63/2 ถนน 25 มกรา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2548 เวลาประมาณ 11 นาฬิกา วันที่ 19 มีนาคม 2548 เวลาประมาณ 20 นาฬิกา ก็ตาม แต่ก็มีข้อความต่อไปที่แสดงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ถือได้ว่ามีการแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้ว การสอบสวนในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปมีว่า การที่จำเลยมีเครื่องกระสุนปืนขนาด .38 ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 หรือไม่ เห็นว่า มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้” แปลความได้ว่า หากผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ ก็ไม่จำต้องขออนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ อันเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และไม่เป็นความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า อาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้เป็นอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 และกระสุนปืนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาด .38 แม้จะใช้กับอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 ได้ดังที่จำเลยฎีกา แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

          ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อสุดท้ายว่า แม้โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องโดยระบุคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2549 ซึ่งไม่มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินดังกล่าวก็ตาม แต่กรณีเป็นการผิดพลาดไป ซึ่งข้อผิดพลาดดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์อ้างกฎหมายผิด มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า และกรณีดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

          พิพากษายืน



หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ มิถุนายน 05, 2012, 04:32:28 PM
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมมีปืนขนาด.๓๕๗แล้ว ต้องไปซื้อลูก.๓๘มาใช้ด้วย


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: chew - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 05, 2012, 04:33:28 PM
อย่างนี้ถ้าเรามีปืน .38 อยู่ในครอบครองด้วย  เราก็จะไม่โดนฟ้องในข้อกล่าวหาเดียวกันใช่หรือไม่ครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: NOOM 19 รักในหลวง ที่ มิถุนายน 05, 2012, 05:02:33 PM
กรณีนี้ผมเคยถามกอง พฐ. ว่าเขามีความเห็นอย่างไร พี่เขาบอกว่าปรกติก็จะมีหนังสือหรือเบิกตัวไปศาลแล้วทางศาลก็จะถามว่าปืนขนาดนี้ (.357) สามารถใช้กระสุน .38 ได้หรือไม่ พี่เขาก็จะทำหนังสือหรือให้การไปเพียงว่า "ใช้ร่วมกันได้" เท่านั้น


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 05, 2012, 05:24:28 PM
ศาลท่านเป็นกลางครับ
ถ้าต่อสู้คดี จนปรากฏข้อเท็จจริงได้ว่ากระสุน.38 เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้  ก็รอด  พิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่รอด


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: MP 436 ที่ มิถุนายน 05, 2012, 07:49:43 PM
ตีความตามตัวหนังสือเป๋งเลย กระสุนขนาดไหนก็ต้องใช้กับปืนขนาดนั้น 


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: konklong ที่ มิถุนายน 05, 2012, 07:59:35 PM
ได้ความรู้เพิ่มขึ้น ขอบคุณครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: หลวงริน - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 05, 2012, 08:08:58 PM
ศาลท่านเป็นกลางครับ
ถ้าต่อสู้คดี จนปรากฏข้อเท็จจริงได้ว่ากระสุน.38 เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้  ก็รอด  พิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่รอด
อย่างนี้ถ้าใครมีมาลิน 1894 C ก็คงรอดเพราะ  ข้างลำกล้องเขียนว่า .357 MAX / .38 SPL ถูกต้องมั้ยครับ :D


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: MP 436 ที่ มิถุนายน 05, 2012, 09:12:27 PM
ศาลท่านเป็นกลางครับ
ถ้าต่อสู้คดี จนปรากฏข้อเท็จจริงได้ว่ากระสุน.38 เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้  ก็รอด  พิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่รอด
อย่างนี้ถ้าใครมีมาลิน 1894 C ก็คงรอดเพราะ  ข้างลำกล้องเขียนว่า .357 MAX / .38 SPL ถูกต้องมั้ยครับ :D

ถ้าเขียนอย่างนั้นไว้เลยผมก็ว่าน่าจะรอดนะ ครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ มิถุนายน 05, 2012, 09:58:01 PM
ศาลท่านเป็นกลางครับ
ถ้าต่อสู้คดี จนปรากฏข้อเท็จจริงได้ว่ากระสุน.38 เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้  ก็รอด  พิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่รอด
อย่างนี้ถ้าใครมีมาลิน 1894 C ก็คงรอดเพราะ  ข้างลำกล้องเขียนว่า .357 MAX / .38 SPL ถูกต้องมั้ยครับ :D

ถ้าเขียนอย่างนั้นไว้เลยผมก็ว่าน่าจะรอดนะ ครับ

ที่สำคัญว่า กระสุนมันเขียนว่า .357 Mag นี่ซิครับ... แฮ่ๆ...


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ มิถุนายน 05, 2012, 10:05:07 PM
ความเห็นนายสมชายว่า มนุษย์ย่อมเป็นมนุษย์ครับ... มนุษย์บางคนคิดได้แค่นี้ แต่มนุษย์บางคนมีกฎหมายห้ามวิจารณ์ ถ้าไม่มี"สีเสื้อ"คุ้มเอาไว้ คงวิจารณ์ได้สนุกกว่านี้ครับ เพราะมนุษย์ย่อมไม่สมบูรณ์ และมนุษย์บางคนไม่ฉลาดอย่างที่ควรจะเป็น...

ในวงการกฎหมาย... เขารู้กันโดยทั่วไปครับ ว่าหากบัลลังก์ไหนหน้าอ่อน เวลาเจอทนายเสื้อครุยเก่าๆ จะได้รับการเกรงใจระดับหนึ่งครับ(ขึ้นอยู่กับฝีมือ/ชั้นเชิงการไล่ต้อนฯ ด้วย)...


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: แสนสุข ที่ มิถุนายน 05, 2012, 10:06:54 PM
ศาลท่านเป็นกลางครับ
ถ้าต่อสู้คดี จนปรากฏข้อเท็จจริงได้ว่ากระสุน.38 เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้  ก็รอด  พิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่รอด
อย่างนี้ถ้าใครมีมาลิน 1894 C ก็คงรอดเพราะ  ข้างลำกล้องเขียนว่า .357 MAX / .38 SPL ถูกต้องมั้ยครับ :D

แต่ในใบป.4ระบุไว้ว่าเพียงขนาด.357 เท่านั้นแล้วทางจำเลยก็ได้ฎีกาไปแล้วนี่ครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: MP 436 ที่ มิถุนายน 05, 2012, 10:23:22 PM
ศาลท่านเป็นกลางครับ
ถ้าต่อสู้คดี จนปรากฏข้อเท็จจริงได้ว่ากระสุน.38 เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้  ก็รอด  พิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่รอด
อย่างนี้ถ้าใครมีมาลิน 1894 C ก็คงรอดเพราะ  ข้างลำกล้องเขียนว่า .357 MAX / .38 SPL ถูกต้องมั้ยครับ :D

แต่ในใบป.4ระบุไว้ว่าเพียงขนาด.357 เท่านั้นแล้วทางจำเลยก็ได้ฎีกาไปแล้วนี่ครับ

นั่นสิครับ  ใบ ป.๔ ถ้าระบุไว้เฉพาะว่าขนาด .๓๕๗ อย่างเดียวก็อาจไปไม่ถึงอีก


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ มิถุนายน 05, 2012, 10:25:41 PM
ผมขอว่าตามท่านผู้การสุพินท์ครับ ::014::  ว่าสู้พิสูจน์ด้วยข้อเท็จจริง จากคำให้การของผู้เชี่ยวชาญของศาลก็น่าจะรอด โดยไม่ต้องอ้างฎีกาเก่า  ;)

คดีนี้ต้องนับถือใจจำเลย เรื่องกระสุนปรับ 500 สู้ถึงศาลฎีกา
แต่เรื่องใจก็ต้องกลัว....แมวเข้าบ้าน ยิงซะเลย   ::007::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: INTERCEPTER - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 05, 2012, 11:04:22 PM
น่าจะถือเวอเนียร์ไปวัดหัวกระสุนให้ดู.....38 มันเป็นแค่ชื่อเรียก  แต่ขนาดจริงมัน .357 ใช่ไหมครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 05, 2012, 11:26:18 PM
ศาลท่านเป็นกลางครับ
ถ้าต่อสู้คดี จนปรากฏข้อเท็จจริงได้ว่ากระสุน.38 เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้  ก็รอด  พิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่รอด
อย่างนี้ถ้าใครมีมาลิน 1894 C ก็คงรอดเพราะ  ข้างลำกล้องเขียนว่า .357 MAX / .38 SPL ถูกต้องมั้ยครับ :D

ถึงไม่เขียนก็น่าจะรอดครับ
เพียงแต่ตอนนำสืบ  ถ้าผู้ตรวจพิสูจน์เบิกความว่า "สามารถนำมาใช้ได้"  มันก็ยังไม่เข้าข้อยกเว้นของกฎหมายที่ว่า "เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้"   ก็คงต้องหาพยานจำเลยที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุธปืน นำสืบพร้อมกับยื่นพยานเอกสารว่าปืน.357  โรงงานผู้ผลิต  ออกแบบมาเพื่อใช้กับกระสุน.38 และ.357

ต่อไป  มีปืนลูกซองเกจ 12 รังเพลิง 3 นิ้ว  แล้วมีกระสุน 2  3/4 นิ้วก็อาจจะเจอข้อหาเดียวกัน


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: หลวงริน - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 06, 2012, 07:05:34 AM
ศาลท่านเป็นกลางครับ
ถ้าต่อสู้คดี จนปรากฏข้อเท็จจริงได้ว่ากระสุน.38 เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้  ก็รอด  พิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่รอด
อย่างนี้ถ้าใครมีมาลิน 1894 C ก็คงรอดเพราะ  ข้างลำกล้องเขียนว่า .357 MAX / .38 SPL ถูกต้องมั้ยครับ :D

ถ้าเขียนอย่างนั้นไว้เลยผมก็ว่าน่าจะรอดนะ ครับ

ที่สำคัญว่า กระสุนมันเขียนว่า .357 Mag นี่ซิครับ... แฮ่ๆ...
อ้อ.......Max กับ Mag ::004::

ศาลท่านเป็นกลางครับ
ถ้าต่อสู้คดี จนปรากฏข้อเท็จจริงได้ว่ากระสุน.38 เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้  ก็รอด  พิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่รอด
อย่างนี้ถ้าใครมีมาลิน 1894 C ก็คงรอดเพราะ  ข้างลำกล้องเขียนว่า .357 MAX / .38 SPL ถูกต้องมั้ยครับ :D

ถึงไม่เขียนก็น่าจะรอดครับ
เพียงแต่ตอนนำสืบ  ถ้าผู้ตรวจพิสูจน์เบิกความว่า "สามารถนำมาใช้ได้"  มันก็ยังไม่เข้าข้อยกเว้นของกฎหมายที่ว่า "เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้"   ก็คงต้องหาพยานจำเลยที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุธปืน นำสืบพร้อมกับยื่นพยานเอกสารว่าปืน.357  โรงงานผู้ผลิต  ออกแบบมาเพื่อใช้กับกระสุน.38 และ.357

ต่อไป  มีปืนลูกซองเกจ 12 รังเพลิง 3 นิ้ว  แล้วมีกระสุน 2  3/4 นิ้วก็อาจจะเจอข้อหาเดียวกัน
ขอบคุณครับ ::014::
+ ให้ทุกท่านที่ร่วมแชร์ความรู้ครับ ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ มิถุนายน 06, 2012, 08:22:34 AM
ก็คงต้องหาพยานจำเลยที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุธปืน นำสืบพร้อมกับยื่นพยานเอกสารว่าปืน.357  โรงงานผู้ผลิต  ออกแบบมาเพื่อใช้กับกระสุน.38 และ.357  

ตรงประเด็น ที่เป็นสาระ สำคัญ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ไก่เฮง รักในหลวง ที่ มิถุนายน 06, 2012, 09:30:08 AM
ผมขอว่าตามท่านผู้การสุพินท์ครับ ::014::  ว่าสู้พิสูจน์ด้วยข้อเท็จจริง จากคำให้การของผู้เชี่ยวชาญของศาลก็น่าจะรอด โดยไม่ต้องอ้างฎีกาเก่า  ;)

คดีนี้ต้องนับถือใจจำเลย เรื่องกระสุนปรับ 500 สู้ถึงศาลฎีกา
แต่เรื่องใจก็ต้องกลัว....แมวเข้าบ้าน ยิงซะเลย   ::007::


...ชอบครับ..ด้วยเหตุนี้ผมมี.357แล้ว ผมจึง ไปเอา.38 มาครอบครองอีกตัว  เผื่อเหลือเผื่อขาดครับ  อิอิ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: หลวงริน - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 06, 2012, 09:47:37 AM
แล้วถ้าถูกจับปืนขนาด.357  แต่มีกระสุน .38 อยู่ในโม่  จะเป็นประเด็นมั้ยครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ มิถุนายน 06, 2012, 10:02:40 AM
เป็นสิครับ พี่ หลวงริน
คนละคาลิเบอร์กันนี่นา
ต้องนำสืบ....


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: หลวงริน - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 06, 2012, 10:06:28 AM
อ้อครับ :D +1


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: TA881 ที่ มิถุนายน 06, 2012, 10:21:41 AM
แล้วถ้ามีปืน 9 มม. แต่มีลูก .22 จะโดนไหมครับ ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ไก่เฮง รักในหลวง ที่ มิถุนายน 06, 2012, 10:49:10 AM
แล้วถ้ามีปืน 9 มม. แต่มีลูก .22 จะโดนไหมครับ ::014::


...ไม่รอดครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 06, 2012, 02:31:38 PM
แล้วถ้าถูกจับปืนขนาด.357  แต่มีกระสุน .38 อยู่ในโม่  จะเป็นประเด็นมั้ยครับ

ถ้ามีแต่ ป.4 ขนาด.357  ก็ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ขาด
แต่ถ้ามี ป.4 ทั้งสองขนาดก็จบ  เพราะข้อกล่าวหาคือเรื่อง "มีเครื่องกระสุนปืนไว้โดยไม่ได้รับใบอนุญาต"   องค์ประกอบความผิดอยู่ที่การ "มี" กับ "มีใบอนุญาตหรือไม่" ไม่เกี่ยวกับเอาไปเสียบไว้ใน "ร่องรูคูโคก" อะไร


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ มิถุนายน 06, 2012, 04:15:46 PM
แล้วถ้าถูกจับปืนขนาด.357  แต่มีกระสุน .38 อยู่ในโม่  จะเป็นประเด็นมั้ยครับ

ถ้ามีแต่ ป.4 ขนาด.357  ก็ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ขาด
แต่ถ้ามี ป.4 ทั้งสองขนาดก็จบ  เพราะข้อกล่าวหาคือเรื่อง "มีเครื่องกระสุนปืนไว้โดยไม่ได้รับใบอนุญาต"   องค์ประกอบความผิดอยู่ที่การ "มี" กับ "มีใบอนุญาตหรือไม่" ไม่เกี่ยวกับเอาไปเสียบไว้ใน "ร่องรูคูโคก"  อะไร

 ::002:: เขียนเหมือนในใจนายสมชายเลยครับ... เย้...  ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ มิถุนายน 06, 2012, 04:18:44 PM
ผมขอว่าตามท่านผู้การสุพินท์ครับ ::014::  ว่าสู้พิสูจน์ด้วยข้อเท็จจริง จากคำให้การของผู้เชี่ยวชาญของศาลก็น่าจะรอด โดยไม่ต้องอ้างฎีกาเก่า  ;)

คดีนี้ต้องนับถือใจจำเลย เรื่องกระสุนปรับ 500 สู้ถึงศาลฎีกา
แต่เรื่องใจก็ต้องกลัว....แมวเข้าบ้าน ยิงซะเลย   ::007::

มันคงตะหงิดในใจน่ะครับ... ก็เห็นอยู่ว่าไม่ผิดนี่นา ปล่อยไว้มันก็ค้างๆ คาๆ...

ปรับแค่ 500 แต่ประวัติเสียด้วยซิครับ... อีกฝ่ายก็เกินเลย แมวเข้าบ้านแล้วรู้สึกเสียหน้า เลยเอา .460 (ของผัวเก่ามาเรียฯ) ยิงเสียกระจุ๊ยยย... ฮา...


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: kutingtong ที่ มิถุนายน 06, 2012, 04:28:47 PM
ต้องเอาปืนไปด้วยครับ ยิงให้ดูกันในศาลเลยครับ ฮ่าๆ จะได้รู้ว่า มันยิงได้จริงมั๊ย เอิ๊กๆ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: konklong ที่ มิถุนายน 06, 2012, 07:28:10 PM
ต้องเอาปืนไปด้วยครับ ยิงให้ดูกันในศาลเลยครับ ฮ่าๆ จะได้รู้ว่า มันยิงได้จริงมั๊ย เอิ๊กๆ
  ??? :OO :OO


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: นกขมิ้นสัญจร ที่ มิถุนายน 06, 2012, 08:48:50 PM
ต้องเอาปืนไปด้วยครับ ยิงให้ดูกันในศาลเลยครับ ฮ่าๆ จะได้รู้ว่า มันยิงได้จริงมั๊ย เอิ๊กๆ
  ??? :OO :OO
ข้อกฎหมายกับข้อเท็จจริงมันคนละประเด็นครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: หลวงริน - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 06, 2012, 09:28:33 PM
แล้วถ้าถูกจับปืนขนาด.357  แต่มีกระสุน .38 อยู่ในโม่  จะเป็นประเด็นมั้ยครับ

ถ้ามีแต่ ป.4 ขนาด.357  ก็ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ขาด
แต่ถ้ามี ป.4 ทั้งสองขนาดก็จบ  เพราะข้อกล่าวหาคือเรื่อง "มีเครื่องกระสุนปืนไว้โดยไม่ได้รับใบอนุญาต"   องค์ประกอบความผิดอยู่ที่การ "มี" กับ "มีใบอนุญาตหรือไม่" ไม่เกี่ยวกับเอาไปเสียบไว้ใน "ร่องรูคูโคก" อะไร
::005::ขอบคุณครับ ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: hare ที่ มิถุนายน 10, 2012, 11:21:39 AM
แล้วกระสุนขนาด .45 ยังเป็นอาวุธสงครามเหมือนเดิมใช่มั๊ยครับทุกท่าน  ::005::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: Victor&Sugus ที่ มิถุนายน 10, 2012, 12:18:55 PM
ชัดเจนมาก ๆ ครับ......


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: seiya-รักในหลวง ที่ มิถุนายน 10, 2012, 04:06:38 PM
ถ้าผู้พิพากษาเป็นนักนิยมปืน ก็อาจตัดสินไปอีกอย่างได้ไหมครับ .... หรือว่าต้องยืนยันตามตัวหนังสือเท่านั้น ข้อเท็จจริงมีผลน้อยกว่า....

ถามด้วยความไม่เข้าใจนะครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ มิถุนายน 10, 2012, 06:15:30 PM
ถ้าผู้พิพากษาเป็นนักนิยมปืน ก็อาจตัดสินไปอีกอย่างได้ไหมครับ .... หรือว่าต้องยืนยันตามตัวหนังสือเท่านั้น ข้อเท็จจริงมีผลน้อยกว่า....

ถามด้วยความไม่เข้าใจนะครับ

มีคำถามว่า"ใครก็ตาม"เมื่ออ่านฎีกาเดิมที่อ้างถึงแล้ว, "คนนั้น"ทราบหรือไม่ว่า .357 มันคือ .38 ที่แรงๆ, ดังนั้น .357 จะสามารถใช้ลูก .38 ยิงได้อยู่แล้ว"ตั้งแต่อยู่บนโต๊ะเขียนแบบ"...  ทำนองเดียวกับเอาตู้เย็นบรรทุกรถปิ๊กอัพได้ ก็สามารถเอาตู้เย็นหลังเดิมใส่รถ 10 ล้อได้อยู่แล้ว...

ถ้าใครคนนั้นอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง ก็แสดงว่า"ดื้อ"และ"อยากเอาชนะ" ให้มันรู้เสียบ้างว่าห้ามแมวเข้า แต่ในเมื่อแมวเข้าบ้านแล้วนี่นา... เอา .460 ยิงไส้แตกซะเลย... ฮา...


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ มิถุนายน 10, 2012, 08:16:40 PM
ถ้าผู้พิพากษาเป็นนักนิยมปืน ก็อาจตัดสินไปอีกอย่างได้ไหมครับ ....
หรือว่าต้องยืนยันตามตัวหนังสือเท่านั้น ข้อเท็จจริงมีผลน้อยกว่า....

ถามด้วยความไม่เข้าใจนะครับ

มีคำถามว่า"ใครก็ตาม"เมื่ออ่านฎีกาเดิมที่อ้างถึงแล้ว, "คนนั้น"ทราบหรือไม่ว่า .357 มันคือ .38 ที่แรงๆ,
ดังนั้น .357 จะสามารถใช้ลูก .38 ยิงได้อยู่แล้ว"ตั้งแต่อยู่บนโต๊ะเขียนแบบ"...  

ทำนองเดียวกับเอาตู้เย็นบรรทุกรถปิ๊กอัพได้
ก็สามารถเอาตู้เย็นหลังเดิมใส่รถ 10 ล้อได้อยู่แล้ว...

ถ้าใครคนนั้นอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง ก็แสดงว่า"ดื้อ"และ"อยากเอาชนะ"
ให้มันรู้เสียบ้างว่าห้ามแมวเข้า แต่ในเมื่อแมวเข้าบ้านแล้วนี่นา...

เอา .460 ยิงไส้แตกซะเลย... ฮา...

Ha Ha  Ha  ฮา  "ฮั่นแน่"  นายสมชาย(ฮา)  อ่ะ ฮา
" ล้ำลึก ล้ำลึก "  ไม่ธรรมดา ไม่ธรรมดา  อ่ะ ฮา

เอา   "สิบล้อ"  ไปใส่ ตู้เย็น     ฮา   ::007::


(http://image.ohozaa.com/i/05b/emu0X.gif) (http://image.ohozaa.com/view2/7Y1e)(http://image.ohozaa.com/i/05b/emu0X.gif) (http://image.ohozaa.com/view2/7Y1e)(http://image.ohozaa.com/i/05b/emu0X.gif) (http://image.ohozaa.com/view2/7Y1e)


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: JESUS1980 ที่ มิถุนายน 10, 2012, 08:34:47 PM
ตามความคิดผม ผมว่ากฎหมายเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าหากเกิดเหตุใดๆขึ้นแล้วเป็นการง่ายที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงในการก่อเหตุมากกว่า ยกตัวอย่างนะครับเกิดผู้ครอบครองอาวุธปืนขนาด.357 ใส่ลูกขนาด.38 ไปก่อเหตุยิงคนตาย ไม่มีพยานรู้เห็นเจ้าหน้าที่เก็บได้เพียงหัวกระสุน.38 ในที่เกิดเหตุอาจทำให้การนำสืบหรือหาความเชื่อมโยงในการสืบค้นผู้ต้องสงสัยหรือผู้กระทำผิดอาจจะมีความยุ่งยากมากขึ้น อีกทั้งอาจทำให้มีช่องในการดิ้นรนเพื่อต่อสู้คดีของผู้กระทำผิดมากขึ้น ฉนั้นผมกลับเห็นด้วยกับการตัดสินคดีข้างต้น ขออภัยหากเห็นต่างนะครับ ส่วนที่อย่างให้แก้ไขน่าจะเป็นรูปแบบของใบป 4 มากกว่า ผมเองไม่แน่ใจว่าประเทศเราใช้ใบ ป4 แบบนี้มานานขนาดไหนแล้ว ในความคิดผมเรื่องปืนเป็นเรื่องสำคัญดังนั้นในใบ ป4 ควรมีความละเอียดมากกว่าปัจจุบัน และอาจต้องจัดการให้เล็กหรือพกพาไปด้วยสะดวกๆครับ อาจทำเหมือนเล่มทะเบียนรถก็ได้ดูดีด้วย ควรมีรูปหรือลักษณะของปืนโดยละเอียด เพราะเท่าที่พบเจอตอนนี้ ปืนสวมทะเบียนมากจริงๆครับ ด้วยความเคารพ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ผณิศวร เกิดในรัชกาลที่ ๙ ที่ มิถุนายน 10, 2012, 10:56:23 PM
"... เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า อาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้เป็นอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 และกระสุนปืนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาด .38 แม้จะใช้กับอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .357 ได้ดังที่จำเลยฎีกา แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ ..."

แปลว่า : คนที่มีปืน .357 (ป.4 ถูกต้อง) จะมีกระสุนขนาด .38 ไว้ในครอบครองไม่ได้
เพราะ "...มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้..."
*******************

ต่อไปนี้เป็นความเห็นของผมเองนะครับ  นักกฎหมาย ทนาย ผู้พิพากษา อาจมีความเห็นเป็นอื่น

"มาตรา ๘  ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้"

จุดประสงค์ของกฎหมายข้อนี้  คือ มีกระสุนโดยไม่มีปืน(ใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย)ที่จะใช้กระสุนนั้น ถือเป็นความผิด
แต่ในเมื่อกระสุน .38 เป็นกระสุนสำหรับใช้กับปืน .357 ได้ (ควรเชิญผู้ผลิตหรือตัวแทนผู้ผลิตปืนมายืนยัน  ในส่วนของจำเลยได้ให้การไปแล้วว่าตั้งใจซื้อไว้ใช้ในปืน .357 ของตน)  มันก็น่าจะเป็นเครื่องกระสุนสำหรับปืนของเรา  คือมีไว้เพื่อใช้เอง ไม่ได้มีไว้ด้วยจุดประสงค์อื่นใด


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: turboboost ที่ มิถุนายน 10, 2012, 11:10:37 PM

ต่อไปนี้เป็นความเห็นของผมเองนะครับ  นักกฎหมาย ทนาย ผู้พิพากษา อาจมีความเห็นเป็นอื่น
จุดประสงค์ของกฎหมายข้อนี้  คือ มีกระสุนโดยไม่มีปืน(ใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย)ที่จะใช้กระสุนนั้น ถือเป็นความผิด
แต่ในเมื่อกระสุน .38 เป็นกระสุนที่ใช้กันแพร่หลายในปืน .357 ทำไมมันจึงไม่ใช่เครื่องกระสุนสำหรับปืนของเรา ??


เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่งครับ

ถ้าพิพากษากันเช่นนี้ หากใครมี ป.4 ขนาด 9 ม.ม. ทีบางอำเภอเคยออกให้ปืนขนาด .380 acp / .38 super แล้วไปยิงอะไรในบ้านให้เดือดร้อนรำคาญเพื่อนบ้าน ไม่ต้องผิดในชั้นศาลกันหมดหรือครับ เพราะจะเอากระสุนขนาด 9 para (ม.ม.) มายิงในปืนที่ตนเองได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ไม่ได้


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: akechai555 ที่ มิถุนายน 11, 2012, 08:46:25 AM

ต่อไปนี้เป็นความเห็นของผมเองนะครับ  นักกฎหมาย ทนาย ผู้พิพากษา อาจมีความเห็นเป็นอื่น
จุดประสงค์ของกฎหมายข้อนี้  คือ มีกระสุนโดยไม่มีปืน(ใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย)ที่จะใช้กระสุนนั้น ถือเป็นความผิด
แต่ในเมื่อกระสุน .38 เป็นกระสุนที่ใช้กันแพร่หลายในปืน .357 ทำไมมันจึงไม่ใช่เครื่องกระสุนสำหรับปืนของเรา ??


เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่งครับ

ถ้าพิพากษากันเช่นนี้ หากใครมี ป.4 ขนาด 9 ม.ม. ทีบางอำเภอเคยออกให้ปืนขนาด .380 acp / .38 super แล้วไปยิงอะไรในบ้านให้เดือดร้อนรำคาญเพื่อนบ้าน ไม่ต้องผิดในชั้นศาลกันหมดหรือครับ เพราะจะเอากระสุนขนาด 9 para (ม.ม.) มายิงในปืนที่ตนเองได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ไม่ได้
เอาล่ะสิ มี ป.4 9มม. อยู่กะเขาใบนึง แต่เป็นปืน .380 5555555555 มีใบป.4 แล้วยังต้องหลบบซ่อนๆอีก


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: sopon7 ที่ มิถุนายน 11, 2012, 10:55:09 AM
ใบป4  ของผมระบุว่า ขนาด 11 มม.  กระสุนหาไม่ได้ต้องใช้เป็น .45   แทน  ;D


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: พญาจงอาง +รักในหลวง+ ที่ มิถุนายน 11, 2012, 11:21:41 AM
นายทะเบียนอาวุธปืนอำเภอหนึ่งในประเทศนี้ เพื่อนของเพื่อนไปขอมีและใช้อาวุธปืน โดยในเอกสารคำร้อง(แบบ ป.1)เขียนว่า"อาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติขนาด11มม." ปรากฎว่าว่านายทะเบียนไม่อนุญาตโดยอ้างเหตุผลว่าเป็นอาวูปืนที่มือปืนและมิจฉาชีพใช้กัน ให้ไปแก้และกรอกมาใหม่เป็น"อาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติขนาด.45เอซีพี" ถึงจะอนุญาต หุหุ ประเทศไทยของฉานนน ;D ::005:: ::007::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: konklong ที่ มิถุนายน 11, 2012, 05:45:12 PM
นายทะเบียนอาวุธปืนอำเภอหนึ่งในประเทศนี้ เพื่อนของเพื่อนไปขอมีและใช้อาวุธปืน โดยในเอกสารคำร้อง(แบบ ป.1)เขียนว่า"อาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติขนาด11มม." ปรากฎว่าว่านายทะเบียนไม่อนุญาตโดยอ้างเหตุผลว่าเป็นอาวูปืนที่มือปืนและมิจฉาชีพใช้กัน ให้ไปแก้และกรอกมาใหม่เป็น"อาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติขนาด.45เอซีพี" ถึงจะอนุญาต หุหุ ประเทศไทยของฉานนน ;D ::005:: ::007::
แบบนี้ก็มีในโลก  ::007::  ::004::  ::010::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 11, 2012, 06:00:38 PM
ต่อไปนี้เป็นความเห็นของผมเองนะครับ  นักกฎหมาย ทนาย ผู้พิพากษา อาจมีความเห็นเป็นอื่น

"มาตรา ๘  ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้"

จุดประสงค์ของกฎหมายข้อนี้  คือ มีกระสุนโดยไม่มีปืน(ใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย)ที่จะใช้กระสุนนั้น ถือเป็นความผิด
แต่ในเมื่อกระสุน .38 เป็นกระสุนสำหรับใช้กับปืน .357 ได้ (ควรเชิญผู้ผลิตหรือตัวแทนผู้ผลิตปืนมายืนยัน  ในส่วนของจำเลยได้ให้การไปแล้วว่าตั้งใจซื้อไว้ใช้ในปืน .357 ของตน)  มันก็น่าจะเป็นเครื่องกระสุนสำหรับปืนของเรา  คือมีไว้เพื่อใช้เอง ไม่ได้มีไว้ด้วยจุดประสงค์อื่นใด

คล้าย ๆ แบบนั้นครับ
คือมีกระสุน โดยไม่มี ป.4   จะเป็นความผิดตามมาตรา 7  ส่วนมาตรา 8 ถือว่าเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 7 อีกที

ถามว่าทำไมถึงต้องเอาไปไว้คนละมาตรา
คำตอบก็คือชื่อกระสุนกับคาลิเบอร์ปืนอาจจะไม่ตรงกัน  นิ้ว, มิลลิเมตร, เกจน์  มาตรา 8 จึงต้องใช้คำว่า "เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาต"
ขนาดกฎหมายคลุมไว้ให้แบบกว้าง ๆ แล้ว   ก็ยังหารูรอดออกไปจนได้


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: khwanphet_NAVY 39 ที่ มิถุนายน 12, 2012, 04:25:45 PM
.......................................ชัดเจนครับ........................................................ ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: พรานปลาแดกบอง(นวย นาวัง) ที่ มิถุนายน 12, 2012, 06:00:01 PM
แล้วจะทำยังไงกันต่อไปล่ะครับทีนี้ ฏีกา ก็แล้ว เฮ้อไทยแลน ::014:: ::014:: ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: khwanphet_NAVY 39 ที่ มิถุนายน 13, 2012, 10:13:53 AM
..................................
แล้วจะทำยังไงกันต่อไปล่ะครับทีนี้ ฏีกา ก็แล้ว เฮ้อไทยแลน ::014:: ::014:: ::014::
..........................ทำใจครับ....................................... ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: 1911A1 ที่ มิถุนายน 13, 2012, 03:56:40 PM
ผมขออนุญาต ถามประดับความรู้จาก ท่านผู้การ และ อ.ผณิศวร ด้วยครับว่า ด้วยเหตุคล้ายกันนี้รวมไปถึงการมีปลอกกระสุนใช้แล้ว ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีใบอนุญาติปืนที่ใช้ร่วมกันด้วยหรือไม่ครับ   เช่น กรณี เก็บปลอกกระสุนลูกซอง ขนาด 12  หรือ ปลอกขนาด 9 มม.  ที่หลายๆคนชอบเอาไว้อุดหูแทน เอียร์ปลั๊ก กันเพราะหาเก็บได้ตามพื้นสนามซ้อม

อย่างนี้แล้วจะโดนโทษ เช่นเดียวกัน ใช่ หรือ ไม่ครับ

ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: พญาจงอาง +รักในหลวง+ ที่ มิถุนายน 13, 2012, 04:12:44 PM
น่าจะผิดเหมือนกันถ้าว่าตามฎีกาที่ว่ามาในข้างต้น สังเกตุงานกาชาดตามต่างจังหวัดที่หน่วยทหารหรือหน่วยงานของตำรวจมาทำบูทหรือซุ้มให้ผู้มาเที่ยวงานยิงเป้า จนท สนามทั้งทำป้ายเตือนและประกาศว่า"ห้ามนำหรือขโมยปลอกกระสุนที่ท่านยิงกลับไปด้วย"ถ้าถูกจับจะมีความผิดตาม พรบ อาวุธปืน เพราะไม่มีเอกสารใบ ป.4 ตรงตามปลอกกระสุนที่แอบขโมยไป ;D


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ศรีวิชัย. ที่ มิถุนายน 13, 2012, 04:59:53 PM
ศาลฎีกาคงมองว่า ปืน.357 ก็ต้องใช้กับกระสุน. 357 เท่านั้น เพราะมันตรงขนาดกันทั้งตัวปืนและตัวกระสุน
ส่วนกระสุน.38 มันเป็นกระสุนที่ใช้กับปืน.38 ไม่ใช่กระสุนที่ใช้กับปืน.357โดยตรงๆ
เพียงแต่มันสามารถบังเอิญเอาแอบมาใช้ยิงได้ในปืน.357 ด้วยเท่านั้น
จึงตัดสินแบบนั้น.  ในอนาคตหากมีศาลฎีกามองในมุมอย่างเราอาจเห็นแนวฎีกาใหม่กลับหลักแนวฎีกาเดิมนี้ก็ได้ครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 13, 2012, 05:17:44 PM
เป็นผม ไม่สนครับ ถ้าสู้ในเรื่องข้อเท็จจริง แล้ว จักต้องถูกลงโทษ ก็เพียงแค่ ปรับ ๕๐๐ +/-  ไม่มีโทษจำ อยู่แล้ว
เคยมี คดีครอบครองกระสุนปืน .๓๘  ๑ นัด ตำรวจจับกุม ทำเหมือนเป็นเหมือนเรื่องใหญ่โต . ::006::
ที่สุดศาล ปรับ ๕๐ บาท .  ::005::

และในกรณีคดีอย่างนี้ อาจเริ่ม ด้วย ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง ฯ และบวก ด้วยฐานความผิด ตาม ม.๘
ก็แค่ ปรับเพิ่มอีกนิด  มันจะเป็นไรไป ละครับ  ก็แค่ เหมือนเสียค่ากระสุน เพิ่มขึ้นอีก ไม่ถึง ครึ่งกล่อง  ;D




หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ผณิศวร เกิดในรัชกาลที่ ๙ ที่ มิถุนายน 14, 2012, 06:53:36 AM
"...เครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาต..."

แบบนี้ต้องให้โรงงานผลิตกระสุนในไทย  พิมพ์ข้างกล่อง .38 สเปเชียล ให้ชัดเจนว่า

"สำหรับใช้ในปืนขนาด .38,  .357 และ 9 มม."  เผื่อว่านายทะเบียนชอบระบบเมตริก

แต่ถ้าทำอย่างนี้แล้ว ใครเอาลูก .38 สเปฯ ไปยัดใส่ปืน 9 พาราฯ ก็คงต้องฟ้อง สคบ. เรื่องปิดฉลาก


ผมขออนุญาต ถามประดับความรู้จาก ท่านผู้การ และ อ.ผณิศวร ด้วยครับว่า ด้วยเหตุคล้ายกันนี้รวมไปถึงการมีปลอกกระสุนใช้แล้ว ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีใบอนุญาติปืนที่ใช้ร่วมกันด้วยหรือไม่ครับ   เช่น กรณี เก็บปลอกกระสุนลูกซอง ขนาด 12  หรือ ปลอกขนาด 9 มม.  ที่หลายๆคนชอบเอาไว้อุดหูแทน เอียร์ปลั๊ก กันเพราะหาเก็บได้ตามพื้นสนามซ้อม

อย่างนี้แล้วจะโดนโทษ เช่นเดียวกัน ใช่ หรือ ไม่ครับ

ขอบคุณครับ


เรื่อง ปลอกกระสุน ยิงแล้วก็น่าจะหมดสภาพความเป็น "เครื่องกระสุนปืน"
แต่มีฎีกาตีความว่าเป็น "เครื่อง หรือสิ่ง สำหรับอัด หรือทำ หรือใช้ประกอบกระสุน" ซึ่งก็มีคำวินิจฉัยแย้ง
ของท่านอาจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์ ที่เห็นว่า ปลอกกระสุนเป็น "ส่วนประกอบ" ไม่ใช่ "เครื่อง หรือสิ่ง สำหรับอัด หรือ ทำ
หรือใช้ประกอบกระสุน"

ถ้าตกเป็นจำเลย หรือถูกเรียกเป็นพยานในศาล ผมจะให้การอย่างนี้ครับ
ในด้านวิศวกรรม มีคำจำกัดความชัดเจน
"ทำ" คือ fabricate เช่น ปั๊มขึ้นรูป  ตัด กลึง ให้ได้ชิ้นส่วนหนึ่งชิ้น ที่โดยลำพังตัวมันเองยังใช้งานไม่ได้
"ประกอบ" คือ assemble นำชิ้นส่วนต่างกันหลายชิ้น  มารวมเข้าด้วยกันให้ได้ผลงานหนึ่งหน่วยที่ใช้งานได้
ส่วน "อัด" นั้น ก็คือศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกการ "ประกอบ" เครื่องกระสุนปืน อย่างที่เรียกกันว่า "เครื่องอัดกระสุน"

เมื่อเขียนให้ "ครอบคลุม" จึงเสียในด้าน "ชัดเจน" ทำให้ต้องตีความไปต่างๆ นาๆ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: konklong ที่ มิถุนายน 14, 2012, 09:23:00 PM
"...เครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาต..."

แบบนี้ต้องให้โรงงานผลิตกระสุนในไทย  พิมพ์ข้างกล่อง .38 สเปเชียล ให้ชัดเจนว่า

"สำหรับใช้ในปืนขนาด .38,  .357 และ 9 มม."  เผื่อว่านายทะเบียนชอบระบบเมตริก

แต่ถ้าทำอย่างนี้แล้ว ใครเอาลูก .38 สเปฯ ไปยัดใส่ปืน 9 พาราฯ ก็คงต้องฟ้อง สคบ. เรื่องปิดฉลาก
เรื่อง ปลอกกระสุน ยิงแล้วก็น่าจะหมดสภาพความเป็น "เครื่องกระสุนปืน"
แต่มีฎีกาตีความว่าเป็น "เครื่อง หรือสิ่ง สำหรับอัด หรือทำ หรือใช้ประกอบกระสุน" ซึ่งก็มีคำวินิจฉัยแย้ง
ของท่านอาจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์ ที่เห็นว่า ปลอกกระสุนเป็น "ส่วนประกอบ" ไม่ใช่ "เครื่อง หรือสิ่ง สำหรับอัด หรือ ทำ
หรือใช้ประกอบกระสุน"

ถ้าตกเป็นจำเลย หรือถูกเรียกเป็นพยานในศาล ผมจะให้การอย่างนี้ครับ
ในด้านวิศวกรรม มีคำจำกัดความชัดเจน
"ทำ" คือ fabricate เช่น ปั๊มขึ้นรูป  ตัด กลึง ให้ได้ชิ้นส่วนหนึ่งชิ้น ที่โดยลำพังตัวมันเองยังใช้งานไม่ได้
"ประกอบ" คือ assemble นำชิ้นส่วนต่างกันหลายชิ้น  มารวมเข้าด้วยกันให้ได้ผลงานหนึ่งหน่วยที่ใช้งานได้
ส่วน "อัด" นั้น ก็คือศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกการ "ประกอบ" เครื่องกระสุนปืน อย่างที่เรียกกันว่า "เครื่องอัดกระสุน"

เมื่อเขียนให้ "ครอบคลุม" จึงเสียในด้าน "ชัดเจน" ทำให้ต้องตีความไปต่างๆ นาๆ
[/quote]ด้วยความเคารพครับท่านอาจารย์  คือผมสงสัยว่าในเมื่อข้อความในกฎหมายมันคุมเคลือ และก็ใช้มาตั้ง ๖๕ ปีแล้ว(ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๐) ทำไมจึงไม่มีใครคิดจะแก้ไข ให้มีความชัดเจนขึ้น ละเอียดขึ้น โดยอาจจะแยกเป็นวรรคๆ ไปเลย  ประชาชนจะได้ไม่เดือดร้อนเพราะตกเป็นเหยื่อของเจ้าหน้าที่ที่ชอบหากินนอกลู่นอกทางบางคน   ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ผณิศวร เกิดในรัชกาลที่ ๙ ที่ มิถุนายน 15, 2012, 09:28:59 AM
หน้าที่แก้กฎหมายเป็นของสภานิติบัญญัติครับ   ผู้่แทนแต่ละสมัยที่เลือกๆ กันเข้ามา  ประกาศนโยบายล่วงหน้าว่า
"เลือกผม เข้าไปรับใช้พี่น้อง"  เหมือนกันหมด   ส่วนที่ว่าใครจะใช้ให้ทำอะไรนั่นก็อย่างที่เห็นๆ

ไม่เคยมีผู้แทนคนไหนกล้าบอกว่าจะเข้าไปแก้กฎหมายปืนครับ  ถามตรงๆ ยังไม่ตอบเลย


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ไก่เฮง รักในหลวง ที่ มิถุนายน 15, 2012, 11:12:07 AM
หน้าที่แก้กฎหมายเป็นของสภานิติบัญญัติครับ   ผู้่แทนแต่ละสมัยที่เลือกๆ กันเข้ามา  ประกาศนโยบายล่วงหน้าว่า
"เลือกผม เข้าไปรับใช้พี่น้อง"  เหมือนกันหมด   ส่วนที่ว่าใครจะใช้ให้ทำอะไรนั่นก็อย่างที่เห็นๆ

ไม่เคยมีผู้แทนคนไหนกล้าบอกว่าจะเข้าไปแก้กฎหมายปืนครับ  ถามตรงๆ ยังไม่ตอบเลย


...ผมว่าเอาคนในเวป อวป.ลงสมัคร สส.แบบปาตี้ลีส..ผมว่าอย่างน้อยน่าจะได้สักสองสามเสียงเหมือนของคุณชูวิทย์..


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ มิถุนายน 15, 2012, 11:32:58 AM
การยกร่างแก้ไขพ.ร.บ.อาวุธปืนฯโดยสส.เองหรือพรรคการเมืองคงเป็นไปได้ยาก
มท.มีการตั้งกรรมการขึ้นมาแก้ไขกฎหมาย....แต่คงไม่ใช่เพื่อความชัดเจนหรือผ่อนปรนให้กับประชาชน
เผลอๆข้อเรียกร้องจากประชาชนอาจถูกบิดด้วยวิชาฤาษีแปลงสาร

ที่ผ่านมา แค่การแก้ไขกฎกระทรวงเรื่องความจุซองกระสุนกว่าจะผ่านได้ยังหืดจับ  ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 16, 2012, 12:29:04 PM
กรณีปลอกกระสุนปืน ถือเป็นเครื่องกระสุนปืน นะครับ มีฎีกา ออกมานานแล้ว
เพราะปลอกกระสุน สามารถนำมาประกอบ เป็นเครื่องกระสุนปืน นัดใหม่ได้อีก   แต่โทษ จะมีเพียงแค่ปรับเท่านั้น

สำหรับ พรบ.อาวุธปืนฯ ในความเห็นผม มีความสมบูรณ์ มากอยู่ แล้ว ที่ต้องมึปัญหา เพราะผู้บังคับใช้ ความรู้ความเข้าใจไม่ถึง
และ มีอำนาจจับกุม แล้วส่งต่อ ไม่ใช่มีอำนาจในการวินิจฉัย..  และผู้ถูกจับกุมก็ประมาณเดียวกัน มีแต่ความกลัว หามีความรู้ ในข้อกฎหมายไม่

ปล่อยไว้อย่างนี้ก่อน นะดีแล้ว.. ขืนให้มีการแก้ไข ในเมื่ผู้กุมอำนาจรัฐเกลียดปืน ไม่ต้องบอกนะครับผลจะออกมาทางใด  ก็เจ๊กอัก เท่านั้นแล

ผมไม่อยากจะบอก หรอกว่า ช่องโหว่ทางกฎหมาย นั้น ล้วนเป็นบวก แก่ผู้ครอบครองอาวุธปืนที่ถูกกฎหมายทั้งนั้น ไม่ใช่มีผล ลบ หรอกนะครับ  ;)
 


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: hare ที่ มิถุนายน 16, 2012, 12:59:36 PM
นายทะเบียนอาวุธปืนอำเภอหนึ่งในประเทศนี้ เพื่อนของเพื่อนไปขอมีและใช้อาวุธปืน โดยในเอกสารคำร้อง(แบบ ป.1)เขียนว่า"อาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติขนาด11มม." ปรากฎว่าว่านายทะเบียนไม่อนุญาตโดยอ้างเหตุผลว่าเป็นอาวูปืนที่มือปืนและมิจฉาชีพใช้กัน ให้ไปแก้และกรอกมาใหม่เป็น"อาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติขนาด.45เอซีพี" ถึงจะอนุญาต หุหุ ประเทศไทยของฉานนน ;D ::005:: ::007::

ผมไปขอ 11 ม.ม. แต่เจ้าหน้าที่ออก ป. 3 ให้ผมเป็นขนาด .45 ม.ม. ครับ  ::005::

ผมมีสำเนาเก็บไว้ด้วย แล้วอย่างนี้ผมจะซื้อได้รึเปล่าขนาด .45 ม.ม.  ::005::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ มิถุนายน 16, 2012, 05:08:44 PM
ศาลท่านเป็นกลางครับ
ถ้าต่อสู้คดี จนปรากฏข้อเท็จจริงได้ว่ากระสุน.38 เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้  ก็รอด  พิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่รอด
อย่างนี้ถ้าใครมีมาลิน 1894 C ก็คงรอดเพราะ  ข้างลำกล้องเขียนว่า .357 MAX / .38 SPL ถูกต้องมั้ยครับ :D

ถึงไม่เขียนก็น่าจะรอดครับ
เพียงแต่ตอนนำสืบ  ถ้าผู้ตรวจพิสูจน์เบิกความว่า "สามารถนำมาใช้ได้"  มันก็ยังไม่เข้าข้อยกเว้นของกฎหมายที่ว่า "เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้"   ก็คงต้องหาพยานจำเลยที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุธปืน นำสืบพร้อมกับยื่นพยานเอกสารว่าปืน.357  โรงงานผู้ผลิต  ออกแบบมาเพื่อใช้กับกระสุน.38 และ.357

ต่อไป  มีปืนลูกซองเกจ 12 รังเพลิง 3 นิ้ว  แล้วมีกระสุน 2  3/4 นิ้วก็อาจจะเจอข้อหาเดียวกัน

ปวดหัวกับกฎหมายไทยจริงๆ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: konklong ที่ มิถุนายน 16, 2012, 06:27:05 PM
กรณีปลอกกระสุนปืน ถือเป็นเครื่องกระสุนปืน นะครับ มีฎีกา ออกมานานแล้ว
เพราะปลอกกระสุน สามารถนำมาประกอบ เป็นเครื่องกระสุนปืน นัดใหม่ได้อีก   แต่โทษ จะมีเพียงแค่ปรับเท่านั้น

สำหรับ พรบ.อาวุธปืนฯ ในความเห็นผม มีความสมบูรณ์ มากอยู่ แล้ว ที่ต้องมึปัญหา เพราะผู้บังคับใช้ ความรู้ความเข้าใจไม่ถึง
และ มีอำนาจจับกุม แล้วส่งต่อ ไม่ใช่มีอำนาจในการวินิจฉัย..  และผู้ถูกจับกุมก็ประมาณเดียวกัน มีแต่ความกลัว หามีความรู้ ในข้อกฎหมายไม่

ปล่อยไว้อย่างนี้ก่อน นะดีแล้ว.. ขืนให้มีการแก้ไข ในเมื่ผู้กุมอำนาจรัฐเกลียดปืน ไม่ต้องบอกนะครับผลจะออกมาทางใด  ก็เจ๊กอัก เท่านั้นแล

ผมไม่อยากจะบอก หรอกว่า ช่องโหว่ทางกฎหมาย นั้น ล้วนเป็นบวก แก่ผู้ครอบครองอาวุธปืนที่ถูกกฎหมายทั้งนั้น ไม่ใช่มีผล ลบ หรอกนะครับ  ;)
 
ขอบคุณที่ชี้แนะครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: คนส่องกล้อง ที่ กรกฎาคม 08, 2012, 07:16:23 PM
       ผมอ่านไม่ละเอียดไม่รู้ว่าปืนยี่ห้ออะไร แต่ถ้าเป็นผมใช้สมิท ผมจะอ้างเอกสารคู่มือที่มากับปืน ครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: Ghostreporting ที่ กรกฎาคม 10, 2012, 12:42:37 PM
ปวดตับ กฎหมายหน้าโง่ เถรส่องบาตร เข้าข้างโจร


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ กรกฎาคม 11, 2012, 09:10:13 AM
นายทะเบียนอาวุธปืนอำเภอหนึ่งในประเทศนี้ เพื่อนของเพื่อนไปขอมีและใช้อาวุธปืน โดยในเอกสารคำร้อง(แบบ ป.1)เขียนว่า"อาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติขนาด11มม." ปรากฎว่าว่านายทะเบียนไม่อนุญาตโดยอ้างเหตุผลว่าเป็นอาวูปืนที่มือปืนและมิจฉาชีพใช้กัน ให้ไปแก้และกรอกมาใหม่เป็น"อาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติขนาด.45เอซีพี" ถึงจะอนุญาต หุหุ ประเทศไทยของฉานนน ;D ::005:: ::007::

ผมไปขอ 11 ม.ม. แต่เจ้าหน้าที่ออก ป. 3 ให้ผมเป็นขนาด .45 ม.ม. ครับ  ::005::

ผมมีสำเนาเก็บไว้ด้วย แล้วอย่างนี้ผมจะซื้อได้รึเปล่าขนาด .45 ม.ม.  ::005::

ซวยเลยครับ... ต้องหาซื้อปืนยิง"อาวุธลับแซ่ขนม้า"เพียงชนิดเดียวเลย...

นายสมชายมีเบาะแสให้ตามสืบค้นหาแหล่งผลิตครับ... คือตามหนังเรื่อง"Crouching Tiger, Hidden Dragon" ตัวเอกของเรื่องคือโจเหวินฟะ โดนอาวุธลับชนิดนี้ยิงใส่ แล้วเข็มที่ว่านี้ไหลตามหลอดโลหิตแดง วิ่งตรงเข้าหัวใจในเวลาไม่กี่ชั่วโมงครับ, อาวุธนี้ร้ายกาจมาก...

หนังเรื่องนี้ได้ออสการ์ 4 รางวัลครับ, รายละเอียดตามนี้ครับ... http://www.imdb.com/title/tt0190332/

(http://www.motionpictureart.com/store/files/images/PostersLarge/CrouchingTigerHiddenDragonMoviePosterDutch.jpg)

ข้างล่างนี่ฉากบินสู้กันบนยอดไผ่... แสดงว่าหากเกิดเรื่องปุ๊บ จนท. ที่ออกใบ ป.3 จะใช้วิชาตัวเบาบินหนีครับ... ฮา...
(http://basementrejects.com/wp-content/uploads/2012/02/crouching-tiger-hidden-dragon-forest-fight.jpg)

จะบินหนีแบบนี้...
(http://1.bp.blogspot.com/_2y9MJFNAhTA/TCyvHjI4DYI/AAAAAAAAAYI/Go0BfydapKE/s1600/jump.jpg)

แล้วหากตามเรื่องเพื่อจับให้มั่น คั้นให้ตาย(ก็อยากได้ ป.3 ขนาด.45 นิ้ว)... ก็อาจโดน"ชักดาบ"ใส่แบบนี้ครับ... กึ๋ยส์(อองซาน ซูจี ชักดาบ)... ฮา...
(http://tanyarobertson.edublogs.org/files/2011/03/Yu-Shu-Lien-w7q3o6.jpg)


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: penpeum ที่ กรกฎาคม 11, 2012, 10:47:03 PM
อนาคตอาจมีกรณี ลูกปืนขนาด .22และ.22แม๊กนั่มไหมครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: โจ ที่ กรกฎาคม 12, 2012, 03:35:34 PM
ศาลท่านเป็นกลางครับ
ถ้าต่อสู้คดี จนปรากฏข้อเท็จจริงได้ว่ากระสุน.38 เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้  ก็รอด  พิสูจน์ไม่ได้ก็ไม่รอด
อย่างนี้ถ้าใครมีมาลิน 1894 C ก็คงรอดเพราะ  ข้างลำกล้องเขียนว่า .357 MAX / .38 SPL ถูกต้องมั้ยครับ :D

ถึงไม่เขียนก็น่าจะรอดครับ
เพียงแต่ตอนนำสืบ  ถ้าผู้ตรวจพิสูจน์เบิกความว่า "สามารถนำมาใช้ได้"  มันก็ยังไม่เข้าข้อยกเว้นของกฎหมายที่ว่า "เป็นเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้"   ก็คงต้องหาพยานจำเลยที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุธปืน นำสืบพร้อมกับยื่นพยานเอกสารว่าปืน.357  โรงงานผู้ผลิต  ออกแบบมาเพื่อใช้กับกระสุน.38 และ.357

ต่อไป  มีปืนลูกซองเกจ 12 รังเพลิง 3 นิ้ว  แล้วมีกระสุน 2  3/4 นิ้วก็อาจจะเจอข้อหาเดียวกัน

ผมเห็นด้วยตามนี้เลยครับ

ในมุมมองของผม ท่านผู้พิพากษาไม่ได้รู้ข้อเท็จจริงทั้งหมด อีกทั้งกระสุนขนาด .357 Magnum ถูกพัฒนามาจาก .38 และ สามารถใช้กับกระสุน .38 ได้นั้นเป็นข้อเท็จจริงและหลักสากล หลายท่านที่ไม่ได้เล่นปืน ย่อมไม่ทราบว่า ขนาดหัวกระสุนขนาด .38 กับ .357 เป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเดียวกัน ที่เรียก .38 เพราะกระสุนขนาดนี้ถูกพัฒนาในยุคที่หน่วยวัดยังไม่ละเอียดมากนัก จึงเรียกเป็นจุดทศนิยมสองหน่วย

ผมเคยพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รวมทั้งนายอำเภอ เรื่องขนาดกระสุนปืนที่มีปัญหาบ่อยก็คือ ขนาด .380 ชื่อเรียกอื่นๆก็มีเพียบเลยโดยเฉพาะยุโรปที่ใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร ก็เรียก 9 mm short, 9x17 ดังนั้นถือในใบป.3 จะระบุ 9 มม.ก็สามารถซื้อปืนขนาด .380 ได้ เพราะมันคือ 9 มม.เช่นกันในยุโรป ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ก็เข้าใจครับ

กม.ปืนในเมืองไทย ระบุเพียงขนาด .38" .22" .25" .32" .380 .357 .40 .44 .45 และ 6.35มม 7.65มม 9 มม 10มม 11 มม ซึ่งความละเอียดของขนาดกระสุนที่ใช้ไม่ละเอียดนัก และใช้ทั้งหน่วยเป็นนิ้ว และ หน่วยเป็นมิลลิเมตร

อย่างไรก็ตาม หากผู้พิพากษาท่านยึดถือตามตัวอักษร ก็คงจนใจที่จะอธิบายให้เข้าใจครับ

 ::014:: ::014::


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ กรกฎาคม 12, 2012, 03:48:02 PM
ด้วยความเคารพ ผมไม่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องกังวล

คดีนี้จำเลยเป็นนักกฎหมาย และดูเหมือนจะตั้งใจสู้เพียงด้วยข้อกฎหมาย+คำพิพากษาศาลฎีกาก่อนนี้
โดยไม่ได้เน้น-แจง-พิสูจน์ในข้อเท็จจริง ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้อ้างถึงมาพิจารณาได้

สู้กันสามศาล กับโทษปรับ ๕๐๐ บาท  ;)


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: INTERCEPTER - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 12, 2012, 06:36:15 PM
ด้วยความเคารพ ผมไม่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องกังวล

คดีนี้จำเลยเป็นนักกฎหมาย และดูเหมือนจะตั้งใจสู้เพียงด้วยข้อกฎหมาย+คำพิพากษาศาลฎีกาก่อนนี้
โดยไม่ได้เน้น-แจง-พิสูจน์ในข้อเท็จจริง ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้อ้างถึงมาพิจารณาได้

สู้กันสามศาล กับโทษปรับ ๕๐๐ บาท  ;)

แต่จะกลายเป็นข้อหาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะตั้งให้ผู้ต้องหาอื่นๆที่ไม่มีความรู้ทางกฎหมายง่ายๆครับพี่ธำรง...กว่าจะสู้ถึงฎีกา   จำเลยถอดใจรับสารภาพแน่ๆ   --"


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: คนส่องกล้อง ที่ กรกฎาคม 12, 2012, 06:39:25 PM
ด้วยความเคารพ ผมไม่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องกังวล

คดีนี้จำเลยเป็นนักกฎหมาย และดูเหมือนจะตั้งใจสู้เพียงด้วยข้อกฎหมาย+คำพิพากษาศาลฎีกาก่อนนี้
โดยไม่ได้เน้น-แจง-พิสูจน์ในข้อเท็จจริง ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้อ้างถึงมาพิจารณาได้

สู้กันสามศาล กับโทษปรับ ๕๐๐ บาท  ;)

       เห็นด้วยครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ กรกฎาคม 12, 2012, 07:15:11 PM
ด้วยความเคารพ ผมไม่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องกังวล

คดีนี้จำเลยเป็นนักกฎหมาย และดูเหมือนจะตั้งใจสู้เพียงด้วยข้อกฎหมาย+คำพิพากษาศาลฎีกาก่อนนี้
โดยไม่ได้เน้น-แจง-พิสูจน์ในข้อเท็จจริง ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้อ้างถึงมาพิจารณาได้

สู้กันสามศาล กับโทษปรับ ๕๐๐ บาท  ;)

แต่จะกลายเป็นข้อหาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะตั้งให้ผู้ต้องหาอื่นๆที่ไม่มีความรู้ทางกฎหมายง่ายๆครับพี่ธำรง...กว่าจะสู้ถึงฎีกา   จำเลยถอดใจรับสารภาพแน่ๆ   --"

ผมเห็นว่าคนครอบครองปืนใช้ปืน (ควร)ต้องเป็นคนสู้คนครับ .....  :)

ใครไม่สู้ก็รับฯเสียว่าทำผิด .... ไม่ว่ากัน ก็รับโทษไป
ถ้าสู้....ท่านผู้รู้ท่านแนะนำไว้มากแล้ว ...... ผมขอจองท่านอ.ผณิศวร กับท่านผู้การสุพินท์  ::014::  ช่วยเป็นพยาน  :D


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: 1911A1 ที่ กรกฎาคม 12, 2012, 07:49:25 PM
ขอบพระคุณ ท่าน อ.ผณิศวร สำหรับคำชี้แจงครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ผณิศวร เกิดในรัชกาลที่ ๙ ที่ กรกฎาคม 12, 2012, 11:33:30 PM
ด้วยความเคารพ ผมไม่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องกังวล

คดีนี้จำเลยเป็นนักกฎหมาย และดูเหมือนจะตั้งใจสู้เพียงด้วยข้อกฎหมาย+คำพิพากษาศาลฎีกาก่อนนี้
โดยไม่ได้เน้น-แจง-พิสูจน์ในข้อเท็จจริง ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้อ้างถึงมาพิจารณาได้

สู้กันสามศาล กับโทษปรับ ๕๐๐ บาท  ;)

เรื่อง .38/.357  นี่ผมไม่กังวลจริงๆ ครับ   แต่บางเรื่องที่หลายคนกังวล  ก็มีบางคนไม่กังวล  ถึงได้มีแชมป์ยิงปืนอายุยังไม่เต็มยี่สิบเยอะแยะ  ถ้ามัวแต่กังวลเรื่องปืนผิดมือคงต้องรอเรียนจบ ทำงาน  เก็บเงิน ฯลฯ แล้วค่อยซื้อปืนมาหัดยิง


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ผณิศวร เกิดในรัชกาลที่ ๙ ที่ กรกฎาคม 13, 2012, 12:13:56 AM
ขอบพระคุณ ท่าน อ.ผณิศวร สำหรับคำชี้แจงครับ

เรื่องปลอกกระสุนหรือไงครับ   ลองช่วยกันอ่านคำจำกัดความตาม พ.ร.บ. อีกสักครั้ง

(๒)* "เครื่องกระสุนปืน"  หมายความรวมตลอดถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรดแก๊ส  เชื้อเพลิง เชื้อโรค ไอพิษ หมอกหรือควัน หรือกระสุน ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน หรือเครื่อง หรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำ หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน

ที่ผมทำเน้นตัวเข้มไว้  อ่านแล้วเราเข้าใจว่ามันคือ...
ก. "ทุกส่วนย่อยที่อาจนำมาประกอบกันเป็นเครื่องกระสุนปืน" (ซึ่งจะครอบคลุมปลอกกระสุนด้วย)
ข. "อุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ที่ออกแบบไว้สำหรับอัดกระสุน คือรวมส่วนประกอบต่างๆ เข้าด้วยกันให้เป็นเครื่องกระสุนปืน (ซึ่งก็คือเครื่องอัดกระสุน ไม่ใช่ส่วนประกอบแยกย่อยของเครื่องกระสุนปืน)

ซึ่งอย่างที่เรียนให้ทราบแล้ว ว่าท่านอาจารย์จิตติ ท่านตีความเป็นข้อ ข.  แต่ตุลาการท่านอื่นเห็นว่าเป็นข้อ ก. การครอบครองปลอกกระสุนจึงมีความผิด ถ้ามันเป็น "เครื่องกระสุนปืน" ที่ไม่ใช่สำหรับปืนที่เราได้รับใบอนุญาตครอบครองตามกฎหมาย


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 13, 2012, 10:42:02 AM
เรื่องปลอกกระสุนหรือไงครับ   ลองช่วยกันอ่านคำจำกัดความตาม พ.ร.บ. อีกสักครั้ง

(๒)* "เครื่องกระสุนปืน"  หมายความรวมตลอดถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรดแก๊ส  เชื้อเพลิง เชื้อโรค ไอพิษ หมอกหรือควัน หรือกระสุน ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน หรือเครื่อง หรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำ หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน

ที่ผมทำเน้นตัวเข้มไว้  อ่านแล้วเราเข้าใจว่ามันคือ...
ก. "ทุกส่วนย่อยที่อาจนำมาประกอบกันเป็นเครื่องกระสุนปืน" (ซึ่งจะครอบคลุมปลอกกระสุนด้วย)
ข. "อุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ที่ออกแบบไว้สำหรับอัดกระสุน คือรวมส่วนประกอบต่างๆ เข้าด้วยกันให้เป็นเครื่องกระสุนปืน (ซึ่งก็คือเครื่องอัดกระสุน ไม่ใช่ส่วนประกอบแยกย่อยของเครื่องกระสุนปืน)

ซึ่งอย่างที่เรียนให้ทราบแล้ว ว่าท่านอาจารย์จิตติ ท่านตีความเป็นข้อ ข.  แต่ตุลาการท่านอื่นเห็นว่าเป็นข้อ ก. การครอบครองปลอกกระสุนจึงมีความผิด ถ้ามันเป็น "เครื่องกระสุนปืน" ที่ไม่ใช่สำหรับปืนที่เราได้รับใบอนุญาตครอบครองตามกฎหมาย

ก็คงจะเป็นตามข้อ ก.นั่นแหละครับ เพราะมาตรา 4 ใช้คำว่า "หรือเครื่อง หรือสิ่ง"  ถ้ามีเฉพาะคำว่า "เครื่อง" หรือคำว่า "สิ่ง" คำใดคำหนึ่งเพียงคำเดียว  ก็อาจจะมองอย่างท่านอาจารย์จิตติได้
นอกจากนั้น  ถ้าเราย้อนกลับไปดูคำจำกัดความตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ ฉบับ ร.ศ.131 กับ พ.ศ.2477  จะเห็นว่ากฎหมายเดิมนั้นกำหนดเรื่องปลอกกระสุนเอาไว้อย่างชัดเจน  ส่วนของปี 2490  ที่เปลี่ยนเป็นคำว่า "สิ่ง"  อาจจะเป็นเพราะว่าเราเริ่มมีกระสุนแบบไร้ปลอกแล้วก็เป็นได้


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: ผณิศวร เกิดในรัชกาลที่ ๙ ที่ กรกฎาคม 13, 2012, 11:19:11 AM
ขอบคุณท่านผู้การครับ  ฉบับ 2477 ชัดเจนกว่าแยะ
- กระสุนทั้งหลาย
- ส่วนประกอบใดๆ ของกระสุน
- เครื่องสำหรับอัดหรือสำหรับทำ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านสุพินท์-รักในหลวง จากฎีกาที่ ๑๕๒๗๔/๒๕๕๓
เริ่มหัวข้อโดย: sakaiyala ที่ กรกฎาคม 13, 2012, 11:28:37 PM
ด้วยความเคารพ ผมไม่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องกังวล

คดีนี้จำเลยเป็นนักกฎหมาย และดูเหมือนจะตั้งใจสู้เพียงด้วยข้อกฎหมาย+คำพิพากษาศาลฎีกาก่อนนี้
โดยไม่ได้เน้น-แจง-พิสูจน์ในข้อเท็จจริง ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้อ้างถึงมาพิจารณาได้

สู้กันสามศาล กับโทษปรับ ๕๐๐ บาท  ;)

แต่จะกลายเป็นข้อหาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะตั้งให้ผู้ต้องหาอื่นๆที่ไม่มีความรู้ทางกฎหมายง่ายๆครับพี่ธำรง...กว่าจะสู้ถึงฎีกา   จำเลยถอดใจรับสารภาพแน่ๆ   --"

ผมเห็นว่าคนครอบครองปืนใช้ปืน (ควร)ต้องเป็นคนสู้คนครับ .....  :)

ใครไม่สู้ก็รับฯเสียว่าทำผิด .... ไม่ว่ากัน ก็รับโทษไป
ถ้าสู้....ท่านผู้รู้ท่านแนะนำไว้มากแล้ว ...... ผมขอจองท่านอ.ผณิศวร กับท่านผู้การสุพินท์  ::014::  ช่วยเป็นพยาน  :D
ใบ ป4 ไม่ได้ระบุเรื่องกระสุนไว้ครับ  ปืน.357 ใช้กับกระสุน.38ได้ครับตามคู่มือของต่างประเทศที่ติดมากับปืนเรื่องนี้อยู่ที่นำสืบ ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องที่ต้องนำสืบศาลไม่สามารถรู้เองได้  ข้อกฏหมายศาลรู้เองได้ เรื่องนี้ศาลไม่รู้แต่ก็ตัดสินคดี เป็นเรื่องน่าเศร้าของชาวปืนที่เอาคนไม่รู้เรื่องปืนมาตัดสินเรื่องปืน    ไม่เคยบวชเป็นพระอย่าคุยเรื่องพระ