เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: แปจีหล่อ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 03:59:53 PM



หัวข้อ: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 03:59:53 PM
 หลังจากที่ยื่นรายการภาษีรวมทั้งขอคืนส่วนที่ต้องได้คืนแล้ว วันนี้ผมได้รับข้อความทางมือถือให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมคือ ๑. สูติบัตรของลูก ๒. หนังสือรับรองบุตร(เพราะผมไม่ได้จดทะเบียนสมรส) ๓. เบี้ยประกัน ๔. หนังสือรับรองการหักภาษีณ.ที่จ่าย เอกสารทุกอย่างผมมีครบขาดแต่หนังสือรับรองบุตร ผมเลยโทรไปสอบถามทางสรรพากรว่าก็ผมมีสูติบัตรแล้วและในสูติบัตรก็ระบุไว้แล้วว่าผมเป็นพ่อ แล้วทำไมยังต้องเอาหนังสือรับรองบุตรอีก ได้รับคำตอบว่าทางสรรพากรไม่ได้ยึดถือตามใบสูติบัตรแต่จะเอาหนังสือรับรองบุตรเป็นหลักถ้ามีก็ลดหย่อนได้ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถลดหย่อนได้ ที่ผมไม่เข้าใจคือว่าใบสูติบัตรก็ทางราชการเป็นผู้ออกให้โดยระบุชื่อพ่อไว้แล้ว ซึ่งก็เท่ากับว่าเป็นการยืนยันไปในตัวแล้วว่าผมเป็นพ่อ แล้วทำไมต้องมีหนังสือรับรองบุตรมายืนยันให้มันซํ้าซ้อนกันอีก ไม่ทราบว่าคนที่ออกระเบียบข้อนี้เค้ามีจุดประสงค์อย่างไรจึงออกระเบียบข้อนี้ครับ ใครพอทราบบ้างครับ
ส่วนตัวผมคิดว่าสรรพากรเรื่องมากครับก็เห็นๆอยู่ในใบสูติบัตรแล้วว่าเป็นพ่อลูกกันยังจะเอาใบรับรองอีก


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:09:45 PM
ทางราชการน่าจะต้องการความชัดเจนตรงบุตรว่าเป็นบุตรของคุณจริงๆ (อย่าคิดเป็นอย่างอื่นนะ)

เพราะคุณบอกเองว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรส

แน่นอนว่าคุณก็ไม่มีทะเบียนสมรสไปแสดง ก็ชอบแล้วที่ทางการต้องการความชัดเจนตรงนี้

ของผมไม่เห็นถามหาให้ไปแสดงเลยเพราะผมจดทะเบียนสมรสถูกต้อง

ส่วนสูติบัตร ถึงมีทางการก็อาจคิดว่า คนเราอาจไปไข่ทิ้ง ไข่ขว้างที่ไหนกี่คนก็ได้ มีแต่ชื่อ แต่ไม่ได้เลี้ยงดูจริงๆ
ถ้าเกิดไข่ทิ้งเป็นร้อยคุณก็เอามาหักภาษีเกลี้ยงซิ

เพราะฉนั้นหนุ่มสาวที่รักกันปาวๆ แต่งแล้วบอกว่า เรารักกันอย่างเดียวพอ ทะเบียน ไม่ต้องจด
ปัญหาต่อมามันยุ่งยากวุ่นวายพิลึกครับ


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: ramon-รักในหลวง ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:13:25 PM
การออกหนังสือรับรองบุตร เพื่อยืนยันว่า เป็นพ่อลูกกันจริง

ลูกน้องผมเคยไปขอใบรับรองบุตร เขาจะสอบถามเด็กว่า

นาย.....เป็นพ่อ และ.......อีกหลายอย่าง

จึงออกหนังสือรับรองให้

และลูกน้องผมอีกเช่นกัน ให้พี่สาว ไปแจ้งเกิดว่า หลานที่เกิดนั้น

มีชื่อตัวเองเป็นพ่อ แต่รับรองบุตรให้หรือเปล่าไม่แน่ใจ

เพราะแยกย้ายกันมาแล้ว


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:16:45 PM
ทางราชการน่าจะต้องการความชัดเจนตรงบุตรว่าเป็นบุตรของคุณจริงๆ (อย่าคิดเป็นอย่างอื่นนะ)

เพราะคุณบอกเองว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรส

แน่นอนว่าคุณก็ไม่มีทะเบียนสมรสไปแสดง ก็ชอบแล้วที่ทางการต้องการความชัดเจนตรงนี้

ของผมไม่เห็นถามหาให้ไปแสดงเลยเพราะผมจดทะเบียนสมรสถูกต้อง

ส่วนสูติบัตร ถึงมีทางการก็อาจคิดว่า คนเราอาจไปไข่ทิ้ง ไข่ขว้างที่ไหนกี่คนก็ได้ มีแต่ชื่อ แต่ไม่ได้เลี้ยงดูจริงๆ
ถ้าเกิดไข่ทิ้งเป็นร้อยคุณก็เอามาหักภาษีเกลี้ยงซิ

เพราะฉนั้นหนุ่มสาวที่รักกันปาวๆ แต่งแล้วบอกว่า เรารักกันอย่างเดียวพอ ทะเบียน ไม่ต้องจด
ปัญหาต่อมามันยุ่งยากวุ่นวายพิลึกครับ
ก็ตอนไปแจ้งเกิดมันก็ต้องใช้บัตรของพ่อประกอบด้วยนี่ครับ ถ้าคนที่ไข่ทิ้งไข่ขว้างหรือไม่รับผิดชอบใครเค้าจะให้บัตรไปละครับอีกอย่างถ้าคู่สมรสแยกกันยื่นมันก็หักได้คนละครึ่งอยู่แล้วผมก้ยังมองไม่ออกว่าจะมีช่องทางให้ทุจริตหรือทำให้รัฐเสียหายได้ตรงไหนเลยครับ


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: ramon-รักในหลวง ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:18:59 PM
ตามนี้เลยครับท่านแปจีหล่อ ไปที่ว่าการอำเภอแม่สอดเลยครับ

บุตรที่เกิดโดยบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกันถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเพียงฝ่ายเดียว แต่กฎหมายเปิดโอกาสให้ชายจดทะเบียนรับรองบุตรได้และถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชายด้วย นับแต่วันจดทะเบียน หรือโดยบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกัน ไม่ต้องจดทะเบียนรับรองบุตร หรือโดยคำพิพากษาของศาลให้เด็กนั้นเป็นบุตรของชายผู้เป็นบิดา การจดทะเบียนรับรองบุตรจึงมี ๒ วิธี คือ การรับรองบุตรด้วยความสมัครใจของชายผู้เป็นบิดา และโดยคำพิพากษาของศาล
การรับรองบุตรด้วยความสมัครใจของชายผู้เป็นบิดา
หลักเกณฑ์
– บิดามารดาและบุตรต้องไปที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสถานทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศแห่งใดก็ได้ ถ้ามารดาและบุตรไม่ไปด้วย นายทะเบียนจะมีหนังสือแจ้งไปยังฝ่ายที่ไม่มาเพื่อให้มาให้ความยินยอมหรือคัดค้านการจดทะเบียน ถ้าพ้น ๖๐ วัน นับแต่การแจ้งความของนายทะเบียนไปถึง ถือว่าไม่ให้ความยินยอม ถ้ามารดาและบุตรอยู่ต่างประเทศจะขยายเวลาเป็น ๑๘๐ วัน ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดาหรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
– บัตรประจำตัวของบิดามารดา
– สูติบัตรของบุตร
– สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
ค่าธรรมเนียม
– การรับรองบุตรด้วยความสมัครใจของชายผู้เป็นบิดา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
สถานที่ติดต่อ
– งานปกครอง สำนักงานเขตทุกเขต หรืออำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสถานทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศแห่งใดก็ได้

ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนการรับรองบุตร

– บิดายื่นคำร้องตามแบบของทางราชการ
– บุตรมารดาลงชื่อให้ความยินยอมที่ด้านหลังคำร้อง
– ถ้าบุตรหรือมารดาไม่ไปให้ความยินยอม นายทะเบียนจะทำหนังสือแจ้งไปยังฝ่ายที่ไม่มาให้มาให้ความยินยอมหรือคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์
การรับรองบุตรโดยคำพิพากษาของศาล
หลักเกณฑ์
– บิดา มารดา หรือบุตรหรือผู้ที่มีส่วนได้เสียฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากประสงค์จะให้มีการรับรองบุตร แต่ไม่สามารถดำเนินการโดยความยินยอมของทุกฝ่ายได้ จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้มีการรับรองบุตรได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
– บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้องหรือผู้มีส่วนได้เสีย
– สำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอันถึงที่สุด ซึ่งเจ้าหน้าที่ศาลรับรองว่าถูกต้อง
ค่าธรรมเนียม
– การรับรองบุตรโดยคำพิพากษาของศาล ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ
สถานที่ติดต่อ
– งานปกครอง สำนักงานเขตทุกเขต หรืออำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสถานทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศแห่งใดก็ได้
ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนการรับรองบุตรโดยคำพิพากษาของศาล
– ผู้ร้องหรือผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนพร้อมด้วยหลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
– นายทะเบียนตรวจสอบเอกสารหลักฐานเมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนแล้วก็จะจดทะเบียนรับรองบุตรให้ตามคำร้อง
ข้อควรทราบ
– การจดทะเบียนรับรองบุตร สามารถกระทำได้ ๒ วิธี ได้แก่ การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน และการจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน โดยการจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนต้องเสียค่าธรรมเนียมรายละ ๒๐๐ บาท
– การจดทะเบียนรับรองบุตรไม่มีใบสำคัญออกให้ ถ้าต้องการหลักฐานก็ให้ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านฯ โดยเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ ๑๐ บาท
ประโยชน์ของการจดทะเบียนรับรองบุตร
– เด็กมีสิทธิใช้ชื่อสกุลและรับมรดกของบิดา
– ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่าช่วยเหลือต่างๆ ของบุตร
– บิดามีสิทธิได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:26:52 PM
ขอบคุณครับ ::014::


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 04:29:55 PM
ทางราชการน่าจะต้องการความชัดเจนตรงบุตรว่าเป็นบุตรของคุณจริงๆ (อย่าคิดเป็นอย่างอื่นนะ)

เพราะคุณบอกเองว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรส

แน่นอนว่าคุณก็ไม่มีทะเบียนสมรสไปแสดง ก็ชอบแล้วที่ทางการต้องการความชัดเจนตรงนี้

ของผมไม่เห็นถามหาให้ไปแสดงเลยเพราะผมจดทะเบียนสมรสถูกต้อง

ส่วนสูติบัตร ถึงมีทางการก็อาจคิดว่า คนเราอาจไปไข่ทิ้ง ไข่ขว้างที่ไหนกี่คนก็ได้ มีแต่ชื่อ แต่ไม่ได้เลี้ยงดูจริงๆ
ถ้าเกิดไข่ทิ้งเป็นร้อยคุณก็เอามาหักภาษีเกลี้ยงซิ

เพราะฉนั้นหนุ่มสาวที่รักกันปาวๆ แต่งแล้วบอกว่า เรารักกันอย่างเดียวพอ ทะเบียน ไม่ต้องจด
ปัญหาต่อมามันยุ่งยากวุ่นวายพิลึกครับ
ก็ตอนไปแจ้งเกิดมันก็ต้องใช้บัตรของพ่อประกอบด้วยนี่ครับ ถ้าคนที่ไข่ทิ้งไข่ขว้างหรือไม่รับผิดชอบใครเค้าจะให้บัตรไปละครับอีกอย่างถ้าคู่สมรสแยกกันยื่นมันก็หักได้คนละครึ่งอยู่แล้วผมก็ยังมองไม่ออกว่าจะมีช่องทางให้ทุจริตหรือทำให้รัฐเสียหายได้ตรงไหนเลยครับ
เหอะ เห็นใจทางการหน่อย ผมเป็น จนท. ผมก็ไม่กล้ารับรองคุณหรอก หากคุณสูติบัตรใหม่มายื่นประกอบทุกๆปี
มีลูกรวมกันสักสิบคน การหักลดหย่อนมันก็ไม่เป็นจริงแล้ว ต่อให้ทั้งสิบคนนั้นมีบัตรประชาชนพ่อมันรับรองทุกคนก็เถอะ
ผมรับเรื่องผมก็โดนเล่นงานได้ว่าไม่รอบคอบ ของทางการนะไม่มีวันสูญหายตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้

 ปัญหามันอยู่ตรงคุณไม่มีทะเบียนสมรสไปแสดง  แล้วทำไมคุณไม่ทำตรงนั้นให้ถูกต้อง ลูกที่เกิดมากฎหมายจะได้ยอมรับว่าเป็นลูกโดยอัตโนมัติ
 พอคุณไม่มี หลักฐานไม่เข้าตามระเบียบการ เขาให้ไปหาใบจดทะเบียนรับรองบุตร พอไม่มี คุณก็ดันทุรังจะให้มันถูกระเบียบ
 คุณว่ามีจริงไม๊ล่ะ ที่คนเรา มีลูกกับภรรยาที่มิใช่คนเดียวกัน เช่น มีลูกยี่สิบคน จากยี่สิบแม่ มีชื่อพ่อคนเดียวในลูกยี่สิบคนที่ว่า
 แล้วคุณก็ไม่ได้จดรับรองบุตรทั้งยี่สิบคนนั้นเลย แต่พอจะหักภาษีคุณจะเอาบุตรยี่สิบคนมาหัก
 แล้วทางการจะเชื่อคุณอย่างไร

 ผมคิดของผมแบบนี้แหละ ส่วนระเบียบของสรรพากรหรือกฎหมายจะถือเอาตามนี้หรือเปล่าผมไม่ทราบ


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 05:05:16 PM
ทางราชการน่าจะต้องการความชัดเจนตรงบุตรว่าเป็นบุตรของคุณจริงๆ (อย่าคิดเป็นอย่างอื่นนะ)

เพราะคุณบอกเองว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรส

แน่นอนว่าคุณก็ไม่มีทะเบียนสมรสไปแสดง ก็ชอบแล้วที่ทางการต้องการความชัดเจนตรงนี้

ของผมไม่เห็นถามหาให้ไปแสดงเลยเพราะผมจดทะเบียนสมรสถูกต้อง

ส่วนสูติบัตร ถึงมีทางการก็อาจคิดว่า คนเราอาจไปไข่ทิ้ง ไข่ขว้างที่ไหนกี่คนก็ได้ มีแต่ชื่อ แต่ไม่ได้เลี้ยงดูจริงๆ
ถ้าเกิดไข่ทิ้งเป็นร้อยคุณก็เอามาหักภาษีเกลี้ยงซิ

เพราะฉนั้นหนุ่มสาวที่รักกันปาวๆ แต่งแล้วบอกว่า เรารักกันอย่างเดียวพอ ทะเบียน ไม่ต้องจด
ปัญหาต่อมามันยุ่งยากวุ่นวายพิลึกครับ
ก็ตอนไปแจ้งเกิดมันก็ต้องใช้บัตรของพ่อประกอบด้วยนี่ครับ ถ้าคนที่ไข่ทิ้งไข่ขว้างหรือไม่รับผิดชอบใครเค้าจะให้บัตรไปละครับอีกอย่างถ้าคู่สมรสแยกกันยื่นมันก็หักได้คนละครึ่งอยู่แล้วผมก็ยังมองไม่ออกว่าจะมีช่องทางให้ทุจริตหรือทำให้รัฐเสียหายได้ตรงไหนเลยครับ
เหอะ เห็นใจทางการหน่อย ผมเป็น จนท. ผมก็ไม่กล้ารับรองคุณหรอก หากคุณสูติบัตรใหม่มายื่นประกอบทุกๆปี
มีลูกรวมกันสักสิบคน การหักลดหย่อนมันก็ไม่เป็นจริงแล้ว ต่อให้ทั้งสิบคนนั้นมีบัตรประชาชนพ่อมันรับรองทุกคนก็เถอะ
ผมรับเรื่องผมก็โดนเล่นงานได้ว่าไม่รอบคอบ ของทางการนะไม่มีวันสูญหายตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้

 ปัญหามันอยู่ตรงคุณไม่มีทะเบียนสมรสไปแสดง  แล้วทำไมคุณไม่ทำตรงนั้นให้ถูกต้อง ลูกที่เกิดมากฎหมายจะได้ยอมรับว่าเป็นลูกโดยอัตโนมัติ
 พอคุณไม่มี หลักฐานไม่เข้าตามระเบียบการ เขาให้ไปหาใบจดทะเบียนรับรองบุตร พอไม่มี คุณก็ดันทุรังจะให้มันถูกระเบียบ
 คุณว่ามีจริงไม๊ล่ะ ที่คนเรา มีลูกกับภรรยาที่มิใช่คนเดียวกัน เช่น มีลูกยี่สิบคน จากยี่สิบแม่ มีชื่อพ่อคนเดียวในลูกยี่สิบคนที่ว่า
 แล้วคุณก็ไม่ได้จดรับรองบุตรทั้งยี่สิบคนนั้นเลย แต่พอจะหักภาษีคุณจะเอาบุตรยี่สิบคนมาหัก
 แล้วทางการจะเชื่อคุณอย่างไร

 ผมคิดของผมแบบนี้แหละ ส่วนระเบียบของสรรพากรหรือกฎหมายจะถือเอาตามนี้หรือเปล่าผมไม่ทราบ
แนวคิดของผมคือว่าการที่ในใบสูติบัตรระบุไว้แล้วว่านายคนนี้เป็นบิดาของเด็กคนนี้มันก็เป็นการรับรองไปในตัวแล้วครับทำไมมันต้องไปทำหนังสือรับรองด้วยแค่นี้เองครับ
 แล้วคู่สมรสที่แยกกันยื่นมันก็สามารถลดหย่อนภาษีได้แค่คนละครึ่งเดียวซึ่งผมยังมองไม่เห็นว่ารัฐจะเสียหายได้อย่างไรเลยครับ ส่วนที่ว่าจะมีบุตรกี่คนแต่บุตรก็จะมีแค่พ่อเดียวแม่เดียวอยู่แล้วซึ่งแต่ละคนก็จะถูกนำไปลดหย่อนภาษีได้แค่ครั้งเดียวต่อปีอยู่แล้วครับ อ้อลืมบอกไปผมก็ไม่ได้จะดันทุรังยื่นหรอกนะครับผมก็บอกกับเจ้าหน้าที่เค้าไปว่ามันยื่นไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับ เพราะที่ผ่านมาผมให้สำนักบัญชียื่นให้ผมก็ไม่เคยเอาบุตรไปลดหย่อนครับ เพียงแต่ครั้งนี้ผมยื่นเองก็เลยลองเอาใส่ดูส่วนจะลดได้ไม่ได้ไม่สำคัญครับ เพียงแค่ผมไม่เข้าใจเฉยๆเลยมาถามในเวปดูครับ


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: แอบดูที่รูเดิม ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 05:09:42 PM
ที่ทำงาน น้องๆในไลน์การผลิตก็มีปัญหานี้ครับ
เพราะส่วนใหญ่แต่งกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
สุดท้ายต้องไปทำหนังสือรับรองบุตรกันเพื่อนำมาใช้ลดหย่อนครับ

กับหน่วยงานสรรพกร ผมว่าอย่าไปมีปัญหากับเค้ามากเลยครับ
เกิดเค้าเอาจริงขึ้นมา เค้าเล่นเราย้อนหลังทุกเม็ดเลยทีเดียว


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: kpai ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 05:36:40 PM
ก็พาแม่มันไปรับรองแล้วจดทะเบียนรับรองบุตรไม่ได้ยุ่งยากหรอกถ้าแม่มันยังอยู่  เสร็จแล้วก็จดทะเบียนสมรสเสียด้วยเลย บุตรคนต่อไปจะได้ไม่ต้องรับรองอีก ::014::


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: ทิดเป้า ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 05:53:52 PM
หาสาวๆ สวยๆจดเลยครับ


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 06:03:29 PM
หาสาวๆ สวยๆจดเลยครับ
              หาเจอครับแต่ไม่มีใครเล่นด้วย   ::004::


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 06:10:33 PM
หาสาวๆ สวยๆจดเลยครับ
              หาเจอครับแต่ไม่มีใครเล่นด้วย   ::004::
เกลียดคนชอบเอาเรื่องจริงมาพูดจริงๆ ::013:: ::014::


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: p23-504 รักในหลวง ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 12:01:50 AM
การจดทะเบียนรับรองบุตร  มีอีกแง่หนึ่งที่ผมไม่เข้าใจในระเบียบราชการไทย   เช่น เมื่อเด็กเกิดก็ใส่ขื่อพ่อ ชื่อแม่ แล้วว่าใครเป็นพ่อเป็นแม่
เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  พ่อก็อยากให้ลูกเป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่เกิด  ก็ไปพร้อมกับแม่เด็กเอาใบสูติบัตรไปยื่นขอรับรองการเป็นบุตร  ปรากฎว่าทำไม่ได้ต้องรอถามเด็กก่อน  ก็คือต้องรอจนกว่าเด็กจะรู้เดียงสา  คือสามารถสื่อสารกับคนทั่วไปได้โดยไม่ได้กำหนดอายุ  กรณีที่เด็กเกิดมาพิการทำอย่างไร  หรือ ถ้าพ่อของเด็กเกิดตายก่อนที่เด็กจะรู้เดียงสาทำอย่างไร  เพราะเด็กก็ไม่สามารถรับมรดกของพ่อได้ (ถ้ามี) ต้องไปขึ้นโรงขึ้นศาลอีกให้ยุ่งยาก  ทั้งๆที่พ่อกับแม่เด็กมีหลักฐานบัตรประจำตัวมาแสดงถูกต้องตามใบสูติบัตร  อันนี้เรื่องมากกว่าสรรพากรอีก  ไม่รู้คิดกันได้อย่างไรประเทศไทย   ::014::


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 12:28:13 AM
เคยเจอไม่นานมานี่เองครับ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใช้แทนบัตรประชาชนไม่ได้ในกรณีที่จะโอนรถครับ ทั้งที่ใบขับขี่นั้นขนส่งเป็นผู้ออกมาให้เอง งงกับหลักการวิธีปฏิบัติของขนส่งครับ ใช้ใบขับขี่ที่ขนส่งไม่ได้แล้วใช้ที่ไหนได้ครับ


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: ramon-รักในหลวง ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 09:01:18 AM
การทำนิติกรรม ต้องใช้บัตรประชาชนครับ  ส่วนการอนุญาตให้ขับรถยนต์ในถนนหลวงใข้ใบอนุญาตของกรมการขนส่งทางบกครับ


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 09:16:30 AM
การทำนิติกรรม ต้องใช้บัตรประชาชนครับ  ส่วนการอนุญาตให้ขับรถยนต์ในถนนหลวงใข้ใบอนุญาตของกรมการขนส่งทางบกครับ


ขอบคุณครับพี่


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 10:47:13 AM
เคยเจอไม่นานมานี่เองครับ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใช้แทนบัตรประชาชนไม่ได้ในกรณีที่จะโอนรถครับ ทั้งที่ใบขับขี่นั้นขนส่งเป็นผู้ออกมาให้เอง งงกับหลักการวิธีปฏิบัติของขนส่งครับ ใช้ใบขับขี่ที่ขนส่งไม่ได้แล้วใช้ที่ไหนได้ครับ
ใช้ที่โรงพยาบาลได้ครับ


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: Udomkd ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 11:10:52 AM
กฎหมายเขาตีกรอบใว้กันคนขี้ตู่น๊ะครับ..

แต่พระพยอมยังโดน(เห็นคาราบาวว่า) อิๆๆ


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 12:11:47 PM
กฎหมายเขาตีกรอบใว้กันคนขี้ตู่น๊ะครับ..

แต่พระพยอมยังโดน(เห็นคาราบาวว่า) อิๆๆ



แล้วตกลงพระต้องเสียเงินซื้อโฉนดปลอมหรือไงครับ


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 01:30:21 PM
กฎหมายเขาตีกรอบใว้กันคนขี้ตู่น๊ะครับ..

แต่พระพยอมยังโดน(เห็นคาราบาวว่า) อิๆๆ

แล้วตกลงพระต้องเสียเงินซื้อโฉนดปลอมหรือไงครับ
เรื่องซื้อขายที่ดินนั้นเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้่ายแรงของพลวงพ่อเองครับ ที่ดินแปลงดังกล่าวคนขายได้มาโดยการใช้สิทธิอาศัยจนเกิน 10 ปีแล้วแอบไปจดทะเบียนครอบครองปรปักษ์จากนั้นก็นำมาขายให้หลวงพ่อ พอเจ้าของที่ตัวจริงรู้เรื่องก็เลยฟ้องร้องคนขาย ส่วนหลวงพ่อแทนที่จะรีบร้องสอดเข้าเป็นคู่ความในคดีก็เพิกเฉย

จนในที่สุดพอศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนครอบครองปรปักษ์ที่ดินแปลงดังกล่าว หลวงพ่อที่ไม่ยอมใช้สิทธิแต่แรกก็โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง เงินก็ไม่ได้คืน ที่ดินก็ต้องคืนเขาไป แทนที่ส่วนหลวงพ่อจะรีบไปฟ้องร้องไอ้คนขายเพื่อเรียกร้องเอาเงินคืนมากลับไปร้องเรียนผ่านสื่อแทน เฮ้อ... :P


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 01:38:10 PM
กฎหมายเขาตีกรอบใว้กันคนขี้ตู่น๊ะครับ..

แต่พระพยอมยังโดน(เห็นคาราบาวว่า) อิๆๆ

แล้วตกลงพระต้องเสียเงินซื้อโฉนดปลอมหรือไงครับ
เรื่องซื้อขายที่ดินนั้นเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้่ายแรงของพลวงพ่อเองครับ ที่ดินแปลงดังกล่าวคนขายได้มาโดยการใช้สิทธิอาศัยจนเกิน 10 ปีแล้วแอบไปจดทะเบียนครอบครองปรปักษ์จากนั้นก็นำมาขายให้หลวงพ่อ พอเจ้าของที่ตัวจริงรู้เรื่องก็เลยฟ้องร้องคนขาย ส่วนหลวงพ่อแทนที่จะรีบร้องสอดเข้าเป็นคู่ความในคดีก็เพิกเฉย

จนในที่สุดพอศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนครอบครองปรปักษ์ที่ดินแปลงดังกล่าว หลวงพ่อที่ไม่ยอมใช้สิทธิแต่แรกก็โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง เงินก็ไม่ได้คืน ที่ดินก็ต้องคืนเขาไป แทนที่ส่วนหลวงพ่อจะรีบไปฟ้องร้องไอ้คนขายเพื่อเรียกร้องเอาเงินคืนมากลับไปร้องเรียนผ่านสื่อแทน เฮ้อ... :P



ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล แล้วโฉนดที่ได้มาจากการครอบครองปรปักษ์นั้นก็เป็นโมฆะ แสดงให้เห็นว่าข้าราชการทำงานบกพร่อง แล้วมีใครได้รับโทษจากการทำงานบกพร่องนี้หรือเปล่าครับ


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 02:11:57 PM
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูล แล้วโฉนดที่ได้มาจากการครอบครองปรปักษ์นั้นก็เป็นโมฆะ แสดงให้เห็นว่าข้าราชการทำงานบกพร่อง แล้วมีใครได้รับโทษจากการทำงานบกพร่องนี้หรือเปล่าครับ
มันไม่ใช่ธุระของกรมที่ดินที่จะมาตรวจสอบว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่ละแปลงได้มายังไงนะครับ แต่มันน่าสงสัยว่าทำไมคนที่ได้รับสิทธิให้อาศัยถึงแอบไปจดทะเบียนที่ดินแปลงดังกล่าวได้โดยที่เจ้าของที่ตัวจริงไม่รู้เรื่องเลย แบบนี้แปลว่ากฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์มีช่องโหว่อยู่หรือเปล่า.


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: konklong ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 02:19:47 PM
จขกท.ควรจะไปจดทะเบียนรับรองบุตรให้ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายครับ เพราะไม่ใช่แค่กับสรรพากร ต่อไปเกี่ยวกับมรดก ก็จะมีปัญหาเช่นกันครับ


หัวข้อ: Re: ไม่เข้าใจกับการทำงานของสรรพากรจริง
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 03:57:08 PM
ได้บอกพนง.ผู้หญิงไม่จดทะเบียนซักที  ได้เป็นเมียน้อยไม่รู้นะโว๊ย