เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: NAI HEAW ที่ สิงหาคม 01, 2006, 10:42:34 AM



หัวข้อ: เรียนถามสมาชิกเกี่ยวกับสถานีบริการ LPG
เริ่มหัวข้อโดย: NAI HEAW ที่ สิงหาคม 01, 2006, 10:42:34 AM
ผมสนใจอยากทำปั๊มแก๊ส LPG (อยู่ ตจว.)อยากหาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ บ.ที่ออกแบบติดตั้งถังบรรจุและระบบทั้งหมดในสถานีบริการ มีท่านใดทราบกรุณาตอบด้วยครับ พยายามหามาหลายวันแล้วไม่เจอ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ.


หัวข้อ: Re: เรียนถามสมาชิกเกี่ยวกับสถานีบริการ LPG
เริ่มหัวข้อโดย: m120 ที่ สิงหาคม 01, 2006, 12:41:36 PM
สวัสดีครับ  ผมทำปั้มอยู่ อุทัยธานีก็สนใจอยู่เหมือนกันครับ
ได้สอบถามข้อมูลมาบ้าง เข้าไปดูในweb gasthai.com บ้างครับ


หัวข้อ: Re: เรียนถามสมาชิกเกี่ยวกับสถานีบริการ LPG
เริ่มหัวข้อโดย: จอยฮันเตอร์ ที่ สิงหาคม 01, 2006, 01:54:06 PM
นายแห้วลองติดต่อ ตัวแทนปิคนิคแก๊ส ในอุดรดูครับ ;D


หัวข้อ: Re: เรียนถามสมาชิกเกี่ยวกับสถานีบริการ LPG
เริ่มหัวข้อโดย: แม่ตัวดี ที่ สิงหาคม 01, 2006, 10:19:27 PM
การขออนุญาตประกอบกิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ NGV

                1. ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติที่กรมธุรกิจพลังงานมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ
พ . ศ . 2546 ออกตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ . ศ . 2535 และระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ออกตามประกาศกระทรวงพลังงาน ดังกล่าว
                2. ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ . ศ . 2514 ว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
                3. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ . ศ . 2542
               4. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ . ศ . 2522
               5. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ . ศ . 2518
               6. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ . ศ . 2535
               7. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ . ศ . 2535
               8. พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ . ศ . 2522
               9. พระราชบัญญัติทางหลวง พ . ศ . 2535

ขั้นตอนที่ควรตรวจสอบและต้องได้รับใบอนุญาต

               1. ตรวจสอบสถานที่ตั้งของสถานีบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองว่าพื้นที่ตั้งมีข้อห้ามในการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อประกอบกิจการหรือไม่ โดยให้สำนักผังเมืองหรือ สำนักงานผังเมืองจังหวัด เป็นผู้ตรวจสอบ
               2. ตรวจสอบสถานที่ตั้งของสถานีบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมว่าพื้นที่ตั้งมีข้อห้ามหรือไม่ ( กรณีที่มีประกาศกระทรวงฯ ใช้บังคับ ) โดยตรวจสอบได้จากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมหรือสำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัด
               3. ตรวจสอบสถานที่ตั้งของสถานีบริการ เกี่ยวกับระยะความปลอดภัยภายนอก ตามประกาศกระทรวงพลังงาน โดยต้องตรวจสอบระยะความปลอดภัยภายนอก ได้แก่ ระยะห่างระหว่าง เขตสถานีบริการกับอาคารสถานทูต โรงเรียน สถานพยาบาล โรงมโหรสพ สนามกีฬา หรือศูนย์การค้า ไม่น้อยกว่า 60.00 เมตร และระยะห่างระหว่างเขตสถานีบริการ กับเขตพระราชฐาน ไม่น้อยกว่า 500.00 เมตร
              4. ต้องได้รับใบอนุญาตทางเชื่อมกับถนนสาธารณะหรือทางหลวง เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกสถานีบริการ จากหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
              5. ต้องได้รับอนุญาตปลูกสร้างอาคารจากหน่วยงานราชการท้องถิ่น เช่น กรุงเทพมหานคร เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
              6. ต้องได้รับหนังสืออนุญาตให้เป็นตัวแทนค้าต่าง จากผู้ค้าน้ำมัน ตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันผู้ค้าก๊าซธรรมชาติ คือ บริษัท ปตท . จำกัด ( มหาชน ) ดังนั้นจึงควรปรึกษาหารือ กับ บริษัท ปตท . จำกัด ( มหาชน ) ก่อน เกี่ยวกับรูปแบบ ค่าการตลาด และการลงทุน ในการประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ
              7. ควรปรึกษาหารือ สำนักความปลอดภัยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ กรมธุรกิจพลังงาน เกี่ยวกับเรื่อง ข้อกำหนดรายละเอียดในประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และมาตรฐาน ความปลอดภัยของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติที่ กรมธุรกิจพลังงาน มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2546 เพื่อให้เป็นแนวทางการปฏิบัติตามขั้นตอน และถูกต้องตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ดังกล่าว

คำขออนุญาตและใบอนุญาตสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (NGV)

               1. คำขอรับใบอนุญาต ต้องยื่นตามแบบ วอ .7 ( คำขออนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ) พร้อมเอกสารหลักฐาน ซึ่งระบุตามท้าย วอ .7 คำขอรับใบอนุญาต ดังกล่าว
เป็นไป ตามท้ายกฎกระทรวง ( พ . ศ . 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ . ศ . 2535
               2. ใบอนุญาตสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นแบบ วอ . 8 ( ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ) ใบอนุญาตดังกล่าว เป็นไปตามท้ายกฎกระทรวง ( พ . ศ . 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ . ศ . 2535
               3. การขอต่ออายุใบอนุญาตสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นแบบ วอ .9 ( คำขอต่ออายุใบอนุญาต ) คำขอต่ออายุดังกล่าว เป็นไปตามท้ายกฎกระทรวง ( พ . ศ . 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ . ศ . 2535

กรมธุรกิจพลังงาน
เลขที่ 222 อาคารฐานเศรษฐกิจ ชั้น 14 ถนนวิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900
โทร. 0 2513 8942 -3 โทรสาร. 0-2513-8940-1

คิดว่า ขั้นตอน ของ NGV และ LPG คงไม่ได้ต่างกันเท่าได้นัก ส่วน  บ.ที่ออกแบบติดตั้งถังบรรจุและระบบทั้งหมดในสถานีบริการ
จะหามาเพิ่มให้ค่ะ


หัวข้อ: Re: เรียนถามสมาชิกเกี่ยวกับสถานีบริการ LPG
เริ่มหัวข้อโดย: แม่ตัวดี ที่ สิงหาคม 01, 2006, 10:44:57 PM
สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่สำนักงานพลังงานภูมิภาคที่ 6 (พื้นที่จังหวัด
(ขอนแก่น,เลย,หนองคาย,อุดรธานี,หนองบัวลำภู,สกลนคร)
www.region 6 m-energy.go.th
หรือโทร. 0 4327 0987

  บ.ที่ออกแบบติดตั้งถังบรรจุและระบบทั้งหมดในสถานีบริการ
http://www.ensave.net/
คิดว่า เวปนี้ คงเป็นอีกทางเลือกที่สามารถสอบถามรายละเอียดได้บ้าง
ข้อมูลในเวปนี้ มีมากพอสมควร ด้านล่างสุด มีหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ และรายชื่อ Pump GAS ทั่วประเทศ


หัวข้อ: Re: เรียนถามสมาชิกเกี่ยวกับสถานีบริการ LPG
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ สิงหาคม 01, 2006, 11:10:09 PM
ปกติแล้ว LPG มีแพร่หลายจังหวัดละหลายแห่ง แต่หากไม่มั่นใจขอแนะนำให้จัดหาอุปกรณ์หัวต่อ
จากถังแก๊สบ้านไปยังถังที่รถยนต์ ฉุกละหุกจริงๆก็อาศัยแก๊สหุงต้มในบ้านนี่แหละขนาด 50 กก.
อัดไปเลย แต่ต้องรักษากฎแห่งความปลอดภัยไว้ให้หนัก

ส่วน NGV รอไว้ก่อนยังไม่ถึงเวลา เอาแต่พ่นๆๆๆๆๆ แต่ในทางปฎิบัติสุดแสนจะยากเข็น...สร้างภาพ