หัวข้อ: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ ธันวาคม 05, 2013, 01:36:45 AM ว่ากันว่าใครอ่าน สามก๊ก สามจบ คบไม่ได้
ประโยคนี้แสดงว่าสามก๊กนั้นเป็นหนังสือที่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม คนที่อ่านมากถึงสามครั้ง ย่อมซึมซับเพทุบายต่างๆไปโดยไม่รู้ตัว เพราะตัวละครสำคัญในสามก๊กนั้นมากเล่ห์เพทุบาย อ่านมากๆเข้าก็อาจจะคิดแบบโจโฉเข้าสักวัน พูดถึงโจโฉ โจโฉก็มา อันนี้ก็เป็นประโยคที่ติดปากเหมือนกัน ผมเคยถามผู้บริหารหลายคนว่าชอบตัวละครใดในสามก๊กมากที่สุด จำได้ว่าคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมิศักดิ์ ตอบว่า เล่าปี่ นอกจากนั้นแล้ว ผมก็ยังมองนักธุรกิจระดับ tycoon ด้วยว่าเขาเป็นตัวละครใดในสามก๊ก กล่าวสำหรับคุณก่อศักดิ์นั้น เมื่อละครที่เขาชอบมากที่สุดคือเล่าปี่ ซึ่งเป็นพระเอกในสามก๊ก ก็เป็นไปได้ว่าเขามองว่าธนินท์ เจียรวนนท์ นายใหญ่ของเขานั้นคือเล่าปี่ ส่วนตัวเขาอาจจะเปรียบเทียบได้กับอะไร ก่อศักดิ์ไม่ยอม แต่ถ้าจะให้เดาอาจเป็น ขงเบ้ง วันนี้จะเขียนถึงภูมิปัญญาจากสามก๊ก โดยจะหยิบตัวละครทีละตัวจากพงศาวดารจีนเรื่องนี้มาเขียนถึงเชื่อมโยงเข้ากับกลยุทธ์และการจัดการสมัยใหม่ โดยกล่าวถึงตัวละครเล่าปี่ อาจจะมีคนเขียนถึงเล่าปี่มามาก หลายคนถึงกับ ดูเบา เพราะในบรรดาเจ้าก๊กทั้งสามนั้น เล่าปี่อาจดูด้อย เมื่อเปรียบเทียบกับโจโฉ และไม่เด่นอะไรมากเมื่อเปรียบเทียบกับซุนกวน แต่ผมกลับมองอีกมุม ถามว่าเล่าปี่คือตัวละครที่ผมชอบมากที่สุดใช่ไหม ตอบได้ทันทีเลยว่าไม่ใช่ ตัวละครที่ผมโปรดปรานมากที่สุดคือขงเบ้ง ส่วนตัวละครที่ผมพยายามศึกษานิสัยใจคอมากที่สุดคือ โจโฉ เพราะโจโฉเป็นตัวละครที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตจริงๆ เป็นตัวละครที่คุณผู้อ่านอาจจะพบเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวันอยู่แล้วก็เป็นได้ ทว่าอาจจะไม่ได้เห็นชัดเจนว่าเป็นโจโฉ เพราะโจโฉเป็นตัวโกง คงไม่มีใครสรรเสริญเยินยอตัวโกงเป็นแน่ จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ไม่มีใครแสดงว่าตัวเองเป็นโจโฉ แต่ถ้าให้คุณหญิงหมอพรทิพย์ตรวจดีเอ็นเอ จะพบว่าเป็นโจโฉ กลับมาที่เล่าปี่ เล่าปี่เป็นคนที่สร้างตัวเองคนที่ไม่มีอะไรเลย ฝรั่งจะเรียกว่า Create Something out of Nothing หรือที่เราเรียกจีนโพ้นทะเลที่สร้างธุรกิจยิ่งใหญ่ว่ามีแค่เสื่อผืนหมอนใบเท่านั้น คนที่สร้างตัวจากมือเปล่าจนกลายเป็นหนึ่งในสามฮ่องเต้นั้น ไม่เก่งก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว ที่สำคัญก็คือเล่าปี่ไม่ใช่คนที่ฉลาดปราดเปรื่อง ไม่ว่าจะเชิงบุ๋นหรือเชิงบู๊ รบก็รบไม่เก่ง วางแผนก็ไม่ใช่จุดแข็ง เช่นนั้นแล้ว เล่าปี่ขึ้นเป็นใหญ่ได้อย่างไร สิ่งที่เล่าปี่มีก็คือ ภาพลักษณ์ที่ดี และความเป็นเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ฮั่น ที่แม้จะห่างจากพระเจ้าเหี้ยนเต้เหลือเกิน แต่เล่าปี่ก็รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ทว่าไม่ใช่อยู่ดีๆจะไปประกาศว่าตนเป็นเชื้อพระวงศ์ ถ้าไม่มีคนยอมรับล่ะ ไม่หน้าม้านรึ คนเรานั้นหากจะคิดทำการใหญ่ได้ต้อง สะสมคนเก่ง การที่เล่าปี่ซึ่งเป็นลูกคนทอเสื่อขาย เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับกวนอู เตียวหุย โดยที่มีปณิธานตรงกัน ถือว่าเป็นการมองคนขาด เพราะในเวลานั้นทั้งกวนอู เตียวหุย ก็ยังไม่ได้สร้างวีรกรรมลือลั่นแต่อย่างใด เล่าปี่คงมีลักษณะดึงดูดบางประการ ถึงทำให้จูล่ง มาเป็นทหารเอกคู่ใจ จุดเด่นของเล่าปี่ก็คือเป็นคนมีภาพลักษณ์ เล่าปี่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ความเป็นคนโอบอ้อมอารี มีเมตตา และเป็นเชื้อพระวงศ์(แม้จะปลายแถวก็ตามที) ได้กลายเป็น Positioning ที่แข็งแกร่ง ที่ยากจะหาใครเทียมทานในช่วงเวลานั้น แม้เล่าปี่จะมีเชื้อพระวงศ์ แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว เขาคือลูกชาวบ้าน ที่เรียนหนังสือไม่เก่ง แต่คิดการใหญ่ ทว่าเล่าปี่สามารถแปลงจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งได้ การที่เขามาจากลูกชาวบ้านนั้น ทำให้เขารู้ว่าชาวบ้านต้องการผู้ปกครองแบบไหน เขาจะเป็นผู้ปกครองในฝันของชาวบ้าน Positioning เช่นนี้ได้ขจรขจายไปแบบปากต่อปาก ไม่เพียงชาวบ้านจะรัก บรรดาผู้มีฝีมือต่างเข้าด้วยกับเล่าปี่ไม่น้อย และเป็นเหตุให้ได้ขงเบ้งมาเป็นกุนซือในเวลาต่อมา ความที่เล่าปี่เรียนไม่เก่ง ทำให้เขาอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าหาปราชญ์ การไม่มียศฐาบรรดาศักดิ์ ทำให้เขาเป็นคนเก็บความรู้สึก ไม่แสดงออกทางใบหน้า อย่างไรก็ตาม โจโฉกลับหวาดเกรงเล่าปี่มากที่สุด เพราะมองว่าคนอย่างเล่าปี่นั้นคิดการใหญ่ สะสมคนดีมีฝีมือ อาจจะเป็นภัยต่อตนในภายภาคหน้าได้ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=10539 หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ ธันวาคม 05, 2013, 01:45:11 AM เล่าปี่ ความสำเร็จที่ได้มาเพราะคนรอบกาย
ผมหยิบเอาเรื่องของเล่าปี่ หนึ่งในผู้นำของสามก๊กมาพูดถึงในวันนี้เพราะอยากให้เห็นความหลากหลายของเส้นทางในการประสบความสำเร็จ อีกทั้งเรื่องสามก๊กนั้นก็เป็นเรื่องที่มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องยกเมฆโคมลอย หรือแต่งขึ้นมาทั้งหมด อีกทั้งเรื่องนี้ทำให้เห็นสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการประสบความสำเร็จแบบรู้เขา-รู้เรา ที่ผมกล่าวไว้ในบล็อกกลยุทธ์ การบรรลุความสำเร็จในการสร้างรบและยึดครองพื้นที่เป็นของตนเองได้นั้น ต้องประกอบด้วยพื้นฐานเบื้องต้นดังนี้ 1. ต้องมีกองทหารรวมทั้งขุนพลที่ดี ที่เก่งทั้งการรบและการปกครองกลุ่มทหาร 2. การวางแผนหรือมีกลยุทธ์ที่ดี 3.ต้องสามารถยึดครองพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ดีได้สถานะจึงจะมั่นคง 4. ต้องเป็นผู้นำที่ดีที่ปกครองให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่กันด้วยความสามัคคี และทั้งหลายทั้งปวงก่อนที่จะมีสิ่งเหล่านี้ได้ ผู้จะประสบความสำเร็จต้องมี แรงผลักดันหรือความทะเยอทะยานที่จะประสบความสำเร็จ หากปราศจากแรงผลักดันแล้ว อะไรๆ ก็เป็นไปไม่ได้ เรื่องราวของเล่าปี่โดยละเอียดนั้น แม้ผมจะชอบอ่านเรื่องราวจีนอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับสันทัดเรื่องสามก๊กอย่างลึกซึ้ง ฉะนั้นจึงจะขอเล่าประวัติโดยสังเขป ในประวัติศาสตร์สามก๊กนั้น ที่เกิดการแบ่งแยกออกเป็นก๊กต่างๆ นั้นก็เพราะความอ่อนแอของราชสำนักในสมัยนั้น จึงเกิดการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ และยึดเอาฮ่องเต้ที่ยังทรงพระเยาว์เป็นตัวประกันแห่งอำนาจของตน โดยหลังจากแย่งชิงกันไปมา สุดท้ายฝ่ายโจโฉเป็นผู้ได้ยึดครองแผ่นดินส่วนใหญ่ของแผ่นดินจีนเดิม และถือตนเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนฮ่องเต้ เรียกว่าวุยก๊ก อีกก๊กหนึ่งอยู่ทางตะวันออกนำโดยซุนเกี๋ยน ซึ่งสุดท้ายสืบต่ออำนาจมาถึงซุนกวน ผู้เป็นลูกชายลูก ก๊กนี้ชื่อว่าง่อก๊ก สุดท้ายอีกก๊กหนึ่งซึ่งตั้งตัวได้เป็นก๊กสุดท้าย คือก๊กของเล่าปี่ ที่ตอนแรกต้องระหกระเหินพเนจรไร้ถิ่นฐานของตัวเองและต้องอาศัยเมืองคนอื่นเขาอยู่ จนเมื่อได้มาเจอขงเบ้ง เล่าปี่จึงตั้งตัวได้ ตามประวัตินั้น เล่าปี่เป็นคนยากจนมีอาชีพทอเสื่อขาย แต่เป็นคนมีความทะเยอทะยานอยากเป็นผู้นำแผ่นดิน เมื่อช่วงแรกของการแย่งชิงอำนาจนั้น เล่าปี่เคยไปช่วยโจโฉรบเพื่อปราบกบฏ และช่วงนี้นี่เองที่ได้พบกับกวนอูและเตียวหุย ซึ่งถูกอัธยาศัยไมตรีกัน จึงได้สาบานเป็นพี่น้องโดยมีเล่าปี่เป็นพี่ใหญ่ จากนั้นเล่าปี่ได้รวบรวมกองกำลังทหารและพยายามที่จะแยกตัวตั้งเป็นกองทัพอิสระขึ้น โดยอ้างว่าตนมีเชื้อสายราชวงศ์ขอตั้งตนขึ้นแข่งกับโจโฉ แต่กองทัพของเล่าปี่ก็รบชนะบ้างแพ้บ้าง ไม่มีชัยชนะเป็นชิ้นเป็นอันพอที่จะตั้งเมืองได้ ต้องอาศัยเมืองของพันธมิตรเป็นที่อาศัย และเริ่มท้อแท้หมดอาลัยในหวังที่จะเป็นใหญ่ แต่ก็ได้ยินคนกล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งที่มีสติปัญญาอย่างมาก ชื่อว่าจูกัดเหลียง(ขงเบ้ง) จึงอยากได้มาร่วมงาน จูกัดเหลียงซึ่งเป็นผู้มีปัญญามาก แต่ไม่ทราบด้วยเหตุใด หลังจากสำเร็จการศึกษาเล่าเรียนแล้ว ก็กลับไปทำนาที่บ้านเกิด (โดยส่วนตัวผมเข้าใจว่า แม้จะมีปัญญาแต่คงเป็นเพราะไม่มีความทะเยอทะยานในอำนาจมากนัก) และเมื่อเล่าปี่ทราบว่ามีผู้มีปัญญามากอยู่ที่นี่ ก็ได้เดินทางไปหาที่กระท่อมหญ้าถึง 3 ครั้งกว่าจะได้พบ ซึ่งบ้างก็ว่าเป็นเพราะขงเบ้งต้องการลองใจและความอดทนของเล่าปี่ และเมื่อได้สนทนาจนเป็นที่ชอบใจ และขงเบ้งเห็นว่าเล่าปี่ยอมรับนับถือตนแล้ว จึงเสนอความคิดด้านยุทธศาสตร์การรบแก่เล่าปี่ จนทำให้เล่าปี่ตั้งเมืองของตัวเองขึ้นได้อย่างมั่นคงที่แถบมลฑลเสฉวน เรียกว่าจ๊กก๊ก และเป็น 1 ใน 3 ก๊กที่เหลืออยู่ แม้เล่าปี่ไม่อาจไปเอาชนะโจโฉที่กำลังทหารเหนือกว่าได้ แต่ก็สามารถมีดินแดนแคว้นของตนซึ่งตั้งเป็นที่มั่นจนเล่าปี่และขงเบ้งตายไป และถูกรวมกลับเป็นแผ่นดินเดียวในเวลาต่อมา Jimmy Analysis ในการบรรลุเป้าหมายนั้น ย่อมต้องมีความปรารถนาที่แรงกล้าก่อนเป็นอันดับแรก และมีปัจจัยเหมาะสมต่อการบรรลุเป้าหมายเป็นประการต่อมา เล่าปี่นั้นมีความทะเยอทะยานอยู่เป็นเบื้องต้น แต่คงไม่อาจประสบความสำเร็จในการสร้างกองทัพได้ด้วยตัวคนเดียว แต่เล่าปี่มีจุดเด่นคือ เป็นผู้มีความจริงใจรักเพื่อนพ้อง จนได้พบและสาบานร่วมเป็นร่วมตายกับ กวนอูและเตียวหุย ตรงนี้จะเห็นว่าเล่าปี่เริ่มประกอบปัจจัยแห่งความสำเร็จขึ้นมา แต่แม้จะเริ่มมีบารมีและกองทัพ เล่าปี่ก็ยังรู้ตัวว่าตนด้อยสติปัญญาในการวางแผนการรบ จึงต้องแพ้บ่อยครั้ง จึงสมควรหาผู้มีสติปัญญาในการวางแผนมาร่วมงานด้วย และก็คงจะเป็นโชคบวกกับความอ่อนน้อมถ่อมตนของเล่าปี่ จึงทำให้ได้ขงเบ้งมาร่วมงาน และขงเบ้งนี้ก็ได้ชี้ทางให้เล่าปี่ไปพบกับชิ้นส่วนสุดท้ายของปัจจัยสำคัญในการรบ คือ ที่มั่น หรือแผ่นดินที่จะสร้างความได้เปรียบในการรบ โดยแนะนำให้ยกทัพไปยึดแคว้นเสฉวน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่มีใครให้ความสำคัญกับดินแดนแห่งนี้เลย แม้ว่าเล่าปี่อาจจะขาดสติปัญญาด้านยุทธ์ศาสตร์ แต่ก็ยังดีที่รู้ตัวว่าเขาเด่นอะไรและด้อยอะไร รวมถึงรู้ว่าต้องการอะไรในการที่จะสร้างความมั่นคงทางทหารได้ และขงเบ้งนี่เองที่มาทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป Key Success Factor ของเล่าปี่จึงวิเคราะห์ได้ดังนี้ 1.เป็นคนมีความทะเยอทะยานในการเป็นใหญ่ 2.อ่อนน้อมถ่อมตน จึงมีเพื่อนมาก ถ้าเล่าปี่ซึ่งไม่ฉลาดในการรบนัก แล้วยังแสดงความโอหังออกมา ก็คงไม่ได้กวนอู กับเตียวหุยมาเป็นพี่น้องร่วมสาบาน และคงไม่ได้ขงเบ้งซึ่งฉลาดหลักแหลม แต่ถือตัวในความฉลาด คนจะปกครองคนเก่งได้ ย่อมต้องรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน 3.วิเคราะห์ตัวเองเป็น และหา Key Success Factor ของตนจนครบ เล่าปี่นั้นชีวิตเริ่มดีขึ้นตั้งแต่มีพี่น้อง กวนอูกับเตียวหุยมาช่วยแล้ว (ตามที่เคยกล่าว คนที่มี Key Success Factor มากที่สุดก็จะประสบความสำเร็จมากที่สุด มีน้อยก็ประสบความสำเร็จน้อย) และยิ่งประสบความสำเร็จมากขึ้นเมื่อได้ขงเบ้งมาเป็นที่ปรึกษา ถ้าเล่าปี่หลงคิดว่าตนฉลาดแล้วก็คงไม่ได้ขงเบ้งมาช่วยงานเป็นแน่ แต่อย่างไรก็ตามเล่าปี่ก็ยังรอบรู้พอที่จะแสวงหา Key Success Factor ของตนให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อการประสบความสำเร็จที่มากขึ้นตามลำดับ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=jimmywalker&month=04-03-2008&group=9&gblog=6 หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: อิติปิโสธงชัย รักในหลวง ที่ ธันวาคม 05, 2013, 04:47:35 AM +1ครับคุณเบิ้ม ::002:: ::011:: ::011:: ::011:: ::011::
หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ ธันวาคม 05, 2013, 04:55:39 AM หาตัวช่วย ;D ;D ;D ปัจจัยช่วยหาคนมาทำงานให้ได้ บ้านเราถึงยุ่งถึงวันนี้ +1
3923 461 หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ธันวาคม 05, 2013, 09:24:28 AM นายสมชายเคยคิดเรื่องทำนองนี้เมื่ออายุยังน้อย... ในที่สุดพบว่าแก่นชีวิตของนายสมชายมี 3 เรื่องครับ...
1) รักษาสุขภาพให้ดี... 2) หาเงินให้ง่ายที่สุด และแยะที่สุดโดยสุจริต แต่ต้องไม่มากเกิน เพราะมันจะเรียกอันตรายมาใส่ตัว และ... 3) มีชีวิตเรียบง่าย ทำตัวไม่ให้เด่น ทำนอง"ผู้ดีเดินตรอก"ครับ... ส่วนเรื่องความสำเร็จในระดับที่เกินกว่านี้นั้น นายสมชายไม่ชอบ เพราะไม่สงบครับ... ปัญหาของผู้คนที่นายสมชายรู้จัก/คุ้นเคย ในระดับที่สามารถวิเคราะห์ชีวิตของเขาได้ มักเกิดจากไม่ได้ทุ่มเทสมองให้อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างแท้จริง แล้ว"ตรรกะมันขัดแย้งกัน"... ตรรกะ+วิธีคิดหลายอย่างมันไม่สอดคล้องกัน ทำให้เอาดีไม่ได้สักอย่างครับ... ตัวอย่างของตรรกะขัดแย้งกันก็เช่นสอบนายสิบตำรวจครั้งล่าสุด ผู้ที่เข้าสอบจบการศึกษาสารพัด มีแม้กระทั่ง วศบ.(โยธา) ไปสอบเป็นตำรวจก็เพราะอยากสนุกไล่จับผู้ร้าย แต่เมื่ออายุมากขึ้นแล้วหากรับราชการสุจริต ก็จะไม่สามารถตั้งตัวได้ เมื่อเทียบกับเพิื่อนวิศวกรด้วยกัน ฯลฯ ... ดังนั้นหากท่านใดยังไม่รู้ว่าตนเองจะไปทางไหน, ให้คิดหาเงินเอาไว้เป็นอันดับแรกครับ(อย่างสุจริตและมีคุณธรรม)... เงินไม่ได้เป็นคำตอบทุกอย่างในชีวิต แต่คำตอบส่วนใหญ่ของชีวิตสามารถตอบได้ด้วยเงินครับ... หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ธันวาคม 05, 2013, 09:27:08 AM เรื่องจะเป็นตัวร้ายอย่างโจโฉ หรือเป็นตัวฉลาดอย่างขงเบ้ง หรือเป็นผู้ไหว้ 10 ทิศแบบเล่าปี ฯลฯ... นายสมชายไม่สนครับ เพราะชีวิตอยู่กับครอบครัวก็พอแล้ว...
หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: ราษฎร์หน้า เส้นหมี่ ที่ ธันวาคม 05, 2013, 10:15:29 AM ถ้าอ่านฉบับหลอกวนจงที่พระยาพระคลัง(หน)แปล จะรู้สึกว่าเล่าปี่เป็นคนดี มีศิลปะในการพูดและครองใจคน เพราะหลอกวนจงก็เป็นขุนนางเขียนเข้าข้างเชื้อพระวงศ์อยู่แล้ว (คนละยุคกันนะครับ หลอกวนจงนี่ขุนนางราชวงศ์หมิง)
ถ้าอ่านฉบับนายทุน มรว คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ท่านจะชอบโจโฉ เพราะโจโฉนี่แนวคิดผู้นำที่แท้ ยอมเป็นทรราชย์ รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ตน (จากการที่กษัตริย์อ่อนแอตั้งแต่ยุคสิบขันที) เพื่อกำจัดทรราชย์ ยอดนักบริหาร ใช้คนถูกกับงาน จิตใจเด็ดขาด แต่ทั้งสองฉบับกล่าวหา ซุนกวน แห่ง กังตั๋งว่าเป็นพวกปัญญาดีแต่เชื่อถือไม่ค่อยได้ ฮา ถ้าอ่านฉบับประวัติศาสตร์แท้ๆ ทุกคนเล่าปี่ โจโฉ ซุนกวน ทุกคนมีดีมีเลวในตนเอง เป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ในเว็บผู้จัดการมี ฉบับฉบับคนขายชาติ (เรือง วิทยาคม) ฉบับนี้ยอดเยี่ยมที่สุดครับ เอาเหตุการณ์ในแต่ละเล่มที่เขียนไม่เหมือนกันมาอธิบาย และอธิบายด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ในแนวของตนเองด้วย อย่างเช่นตอนจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า จูล่งขี่ม้าตกหล่ม ข้าศึกเข้าประชิด ฉบับหลอกวนจงบอกว่าเป็นเพราะบารมีอาเต๊าจะได้เป็นกษัตริย์ เปล่งแสงจากหลุมทำให้ม้าข้าศึกกระเจิง แต่ฉบับคนขายชาติ อธิบายว่าเพราะจูล่งใส่เกราะสีเงิน ด้วยแสงแดดที่สะท้อนกับเกราะไปเข้าตาม้าศึกทำให้ชะงัก ว่าไปผมอ่านไปจบหนึ่งแล้ว แต่ลืมซะหมด เดี๋ยวไปอ่านอีกสักสองจบ (ฮา) ::007:: อย่างที่หนึ่งสอนให้เราเข้าใจสภาพการณ์ปัจจุบันได้ดีคือ ประวัติศาสตร์ขึ้นกับใครเป็นผู้เขียนครับ ฝ่ายรุกรานไปรุกรานคนอื่น ฆ่าคนล้มตายก็บอกว่าฝ่ายถูกรุกรานเลว ต้องกำจัดและเพื่อแผ่อำนาจ แต่หากตนถูกรุกรานบ้างบอกว่าฝ่ายรุกรานเลว ทำร้าย ประวัติศาสตร์สำหรับผมคือสิ่งที่ศึกษาอดีตได้คร่าวๆเท่านั้นเอง ยิ่งสิ่งที่เรียกว่าพงศาวดารนี่แทบจริงสามเท็จเจ็ด ;D ลิงค์ครับ http://www.manager.co.th/home/samkok.asp หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: SillyOldMan ที่ ธันวาคม 05, 2013, 11:05:52 AM สร้างตัวแบบเล่าปี่ไม่ยากครับ แค่...
-ขยันอ้างเชื้อสาย ไปไหนก็ลำดับญาติให้ทุกครั้ง ว่ารุ่นชวดเป็นใครใกล้ชิดกับคนใหญ่คนโตขนาดไหน .... แต่ปู่สอบเข้ารับราชการไม่ได้ พ่อสำมะเลเทเมาเกาะเมียกินจนวันตายห้ามพูดถึง -บีบน้ำตาเก่ง ทำผิด รบแพ้ อยากได้เมียเด็กฯลฯอย่าได้พยายามอะไร ให้นั่งทำตาปริบๆทำน้ำตาไหลโชว์อย่างเดียว -ขี้ขอ -เกาะญาติเข้าไว้ หาญาติรวยๆเจอแล้วจงเกาะให้ติดแล้วประจบให้เก่ง พอเขาหายระแวงแล้วรีบหักหลังยึดทรัพย์เขาให้ไว....ถ้าครอบครัวเชื้อสายเขาสามัคคีกันดี ต้องเร่งยุแยงให้ครอบครัวเขาแตกแยกให้ได้ -ทำให้สม่ำเสมอ ไม่นานก็โต หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ ธันวาคม 05, 2013, 01:52:48 PM ::014::+ ทุกท่านครับ เวลามีประเด็นอะไรก็จะนึกถึงผู้คนในสามก๊ก ;D
พี่จ้าวนิ ก็เ้ค้าเป็นญาติห่างๆๆๆๆมากๆๆๆจนต้องไล่เรียงโคตะระเง้าหา เค้าจะอ้างไม่ได้เหรอครับ ::005:: หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: แปจีหล่อ ที่ ธันวาคม 05, 2013, 03:54:33 PM อ่านไม่ไหวครับมึนกับชื่อตัวละครแต่ที่เป็นวีซีดีดูมาสี่จบแล้วละครับ
หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: ราษฎร์หน้า เส้นหมี่ ที่ ธันวาคม 05, 2013, 04:19:30 PM ::014::+ ทุกท่านครับ เวลามีประเด็นอะไรก็จะนึกถึงผู้คนในสามก๊ก ;D จริงครับพี่...ผมอ่าน ฉบับ คนขายชาติ โดย เรือง วิทยาคม ครั้งแรก ตอนเผาเมือง (ตอนนั้นมีก๊กที่สาม เสื้อน้ำเงิน(สังกัดภูมิใจห้อย) โผล่มาด้วย ) อ่านแล้วก็เชื่อว่าประวัติศาสตร์มันเป็นไปตามล้อเกวียนที่หมุนทับรอยเท้าโค รอยเดิมๆที่แปลกแยกไปตามรายละเอียดแยกย่อยเท่านั้นเอง ที่มันต้องเป็นสามก๊กหลักๆเสมอๆ เพราะต่างแย่งเป็นตาอยู่ แล้วผลักที่เหลือไปเป็นตาอินกับตานา ไงครับ ;D แล้วก๊กที่ชนะ ค่อยมาแตกกันเองเหมือนโจสิดกับโจผีอีกที ;D แต่สุดท้ายคนที่ได้กินรวบคือ สุมาอี้ ถ้าไม่รังเกียจการ์ตูน หงสาจอมราชันย์ ค่ายบูรพัฒน์ ก็สนุกครับ เนื้อหาจะเป็นสามก๊กยำใหม่ อ่านแล้วจะเชียร์ ตั๋งโต๊ะ (แนวคิดเหมือนโจโฉครับ คือ คิดรวบอำนาจ เพื่อกำจัดทรราชย์ (เพราะระบบกฎหมายล้มเหลว สถาบันหลักบ้านเมืองอ่อนแอ) แต่ไปขัดขาพ่อค้านายทุน จึงถูกลอบสังหาร โดยร่วมมือกับลิโป้ที่หวังชิงอำนาจ) การดวลชั้นเชิงของกุนซือแต่ละพวก และเตียวหุยผู้ที่ดูภายนอกหยาบกร้าน ประวัติศาสตร์ก็ว่าเช่นนั้น แต่เนื้อแท้แล้ว... อ่านหลายๆฉบับ ศึกษาแนวคิดผู้นำ กลศึก การเมือง แล้วเปรียบเทียบไปกับสถานการณ์ปัจจุบัน สนุกดี หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ ธันวาคม 05, 2013, 06:38:28 PM ผมอ่านมา...ไม่ใช่สามรอบ แปลว่า ผมคบได้.....
ผมชอบฉบับนายทุนที่สุด แม้นว่าฉบับของหลอกว้านจงจะออกแนวนิยายเป็นเรื่องเป็นราว แต่เหมือนจะแยกพระเอกผู้ร้ายชัดเจนเกินไปจนไม่ใช่พงศาวดารสงคราม เหมือนนิยายแต่งซะมากกว่า พออ่านไปสักพัก เราจะผูกพันกับตัวละคร จนลุ้นว่าอย่ามาตายสั่ว ๆ ตอนจบนะ...... แต่..ไม่ฟัง ยังไงก็ตาย.... เคยถามหลายคน ว่าทหารคนไหนในสามก๊ก มีฝีมือเชิงรบแก่งที่สุด(หมายถึงเพลงอาวุธอย่างเดียวเพียว ๆ นะ) เกือบทั้งหมด ตอบว่า จูล่ง... ทำไมไม่มีใครนึกถึงลิโป้มั่งหนอ หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ ธันวาคม 05, 2013, 06:47:50 PM สงสัยเป็นเพราะว่าอ่านแต่ฉบับของเจ้าพระยาคลังหน เลยไม่ค่อยเข้าใจครับ อ่านไปรอบเดียวครับ มีเวลาต้องอ่านอีกรอบครับ
หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ ธันวาคม 05, 2013, 07:05:45 PM ลิโป้เก่งที่สุดมั้งครับ ขนาดพี่้น้องเ่ล่าปี่ กวนอู เตียวหุย รุม3-1ยังเอาไม่ลง ;D
จูล่งก็เก่ง ม้าเฉียวก็ไม่เบา กวนอูก็เป็นทหารเอกที่โจโฉอยากได้มาเข้าด้วยมาก ยอมให้ทุกอย่าง แต่ก็ไม่สำเร็จ ;D แต่ฟังๆเค้ายกให้ ถ้ามีลูกน้อง ต้องหาคนแบบจูล่ง ซื่อสัตย์ ภักดีกับนายจนวันตาย ::002:: หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ ธันวาคม 05, 2013, 08:46:22 PM ลิโป้เก่งที่สุดมั้งครับ ขนาดพี่้น้องเ่ล่าปี่ กวนอู เตียวหุย รุม3-1ยังเอาไม่ลง ;D จูล่งก็เก่ง ม้าเฉียวก็ไม่เบา กวนอูก็เป็นทหารเอกที่โจโฉอยากได้มาเข้าด้วยมาก ยอมให้ทุกอย่าง แต่ก็ไม่สำเร็จ ;D แต่ฟังๆเค้ายกให้ ถ้ามีลูกน้อง ต้องหาคนแบบจูล่ง ซื่อสัตย์ ภักดีกับนายจนวันตาย ::002:: ลิโป้ = เล่าปี่+เตียวหุย+กวนอู ม้าเฉียว = เตียวหุยคนเดียว 200เพลงยังไม่แพ้ไม่ชนะ (คงจะร้องกันจนแสบคอเสียก่อน) หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: ราษฎร์หน้า เส้นหมี่ ที่ ธันวาคม 05, 2013, 08:54:35 PM แฟนสามก๊กเยอะเหมือนกัน :VOV: ไว้ผมจะไปอ่านอีกรอบแล้วมาแชร์ข้อคิดที่ได้ อุปนิสัยของแต่ละคน หลักการปกครอง แนวคิดที่จะใช้รวมศูนย์อำนาจของผู้นำแต่ละฝ่ายกับพี่ๆ ครับ สนุกดี ::002::
สำหรับคำถามว่าขุนพลคนไหนเก่งสุดผมก็ว่าจูล่ง ระดับตัวคนเดียวฝ่าทัพชิงตัวประกันสำคัญมาได้นี่ เจมส์ บอนด์ยุคสามก๊กชัดๆ เป็นหนึ่งในขุนพลไม่กี่คนที่แก่ตายนะครับ ยอดกุนซือ สำหรับผมไม่ใช่ขงเบ้ง ว่ากันว่าขงเบ้งนั้นที่จริงเก่งการบริหารจัดการมากกว่าการศึก ผมชอบกุยแกครับ ผู้สร้างชื่อให้โจโฉเลยทีเดียว เสียดายมาป่วยตายเสียก่อน ยอดผู้นำทัพก็คือผู้กำชัยในการศึกที่ยาวนานที่สุด ทรราชย์ยามกลียุค ยอดขุนนางยามสันติ โจโฉ หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ ธันวาคม 05, 2013, 09:02:24 PM แฟนสามก๊กเยอะเหมือนกัน :VOV: ไว้ผมจะไปอ่านอีกรอบแล้วมาแชร์ข้อคิดที่ได้ อุปนิสัยของแต่ละคน หลักการปกครอง แนวคิดที่จะใช้รวมศูนย์อำนาจของผู้นำแต่ละฝ่ายกับพี่ๆ ครับ สนุกดี ::002:: สำหรับคำถามว่าขุนพลคนไหนเก่งสุดผมก็ว่าจูล่ง ระดับตัวคนเดียวฝ่าทัพชิงตัวประกันสำคัญมาได้นี่ เจมส์ บอนด์ยุคสามก๊กชัดๆ เป็นหนึ่งในขุนพลไม่กี่คนที่แก่ตายนะครับ ยอดกุนซือ สำหรับผมไม่ใช่ขงเบ้ง ว่ากันว่าขงเบ้งนั้นที่จริงเก่งการบริหารจัดการมากกว่าการศึก ผมชอบกุยแกครับ ผู้สร้างชื่อให้โจโฉเลยทีเดียว เสียดายมาป่วยตายเสียก่อน ยอดผู้นำทัพก็คือผู้กำชัยในการศึกที่ยาวนานที่สุด ทรราชย์ยามกลียุค ยอดขุนนางยามสันติ โจโฉ ผมว่าโจโฉเก่งครับน้าราษฎร์หน้า เส้นหมี่ เด็ดขาด เข้มแข็ง แกร่ง ไม่ย้อท้อแม้จะล้มลุกคลุกคลานเพียงใด แลดูเป็นตัวของตัวเองมาก แกต้องมีข้อดีมากมายแหละ ไม่งั้นจะมีคนภักดีมากมายจนเป็นก๊กใหญ่ที่สุดได้หรือครับ ถ้าเลวร้ายคงโดนโค่นล้มไปแล้วแบบตั๋งโต๊ะ บางทีผู้ประพันธ์ก็ข้ามๆข้อดีแกไปเสีย ::005::+ครับ หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ ธันวาคม 05, 2013, 09:17:18 PM ผมอ่านมา...ไม่ใช่สามรอบ แปลว่า ผมคบได้..... ผมชอบฉบับนายทุนที่สุด แม้นว่าฉบับของหลอกว้านจงจะออกแนวนิยายเป็นเรื่องเป็นราว แต่เหมือนจะแยกพระเอกผู้ร้ายชัดเจนเกินไปจนไม่ใช่พงศาวดารสงคราม เหมือนนิยายแต่งซะมากกว่า พออ่านไปสักพัก เราจะผูกพันกับตัวละคร จนลุ้นว่าอย่ามาตายสั่ว ๆ ตอนจบนะ...... แต่..ไม่ฟัง ยังไงก็ตาย.... เคยถามหลายคน ว่าทหารคนไหนในสามก๊ก มีฝีมือเชิงรบแก่งที่สุด(หมายถึงเพลงอาวุธอย่างเดียวเพียว ๆ นะ) เกือบทั้งหมด ตอบว่า จูล่ง... ทำไมไม่มีใครนึกถึงลิโป้มั่งหนอ ถ้านับจำนวนแม่ทัพและทหารเอกฝ่ายตรงข้ามที่จูล่งฆ่า มากมายกว่าลิโป้ฆ่ามากนักครับ ;D หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ ธันวาคม 06, 2013, 08:17:00 AM แต่ลิโป้ ฆ่าคนที่แม่ทัพทั่วไปฆ่าไม่ได้ถึง 2 คนนะ...
หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: mrt ที่ ธันวาคม 06, 2013, 08:39:27 AM ขอร่วมแสดงความเห็นนะครับ
ลิโป้เสียชีวิตเร็วไปหน่อยจึงขาดโอกาสสร้างฝีมือ + กับเป็นตัวร้าย(ที่ตายไว) จึงไม่ค่อยเป็นที่จดจำ จูล่งชราแล้วเสียชีวิตไปเอง + อยู่ข้างเล่าปี เป็นขุนพลที่ถูกพูดถึงบ่อยครังจึงเป็นที่จดจำมากกว่า ความเห็นผมคือผู้ที่มีฝีมือทางด้านการรบสูงสุดในสามก๊กน่าจะเป็นลิโป้ครับ เนื่องจาก 3 คนรุมยังเอาไม่อยู่ควบม้าหนีไปได้(กวนอู+เตียวหุย+เล่าปี่) หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ ธันวาคม 06, 2013, 08:57:50 AM จะว่าไป 3พี่น้องร่วมสาบานตอนสู้กับลิโป้เปรียบเหมือนมวยคนละชั้นนะครับ 3พี่น้องตอนนั้นแค่ทหารหน้าใหม่ ฝีมือก็ระดับพื้นๆอยู่ ในขณะที่ลิโป้เป็นขุนศึกใหญ่ การร่ำเรียนก็คนละชั้นและสูงกว่า3พี่น้องมาก
3พี่น้องหลังจากเข้าร่วมรบและฝึกปรือเพิ่มอีกหลายปีจึงเก่งกาจ ตอนกลางๆของเรื่องกวนอูฆ่าแม่ทัพโจโฉเป็นว่าเล่น ต้องนั้นฝีมือท่านกวนอูคงขั้นสูงแล้ว เพราะฉะนั้นจะสรุปว่าลิโป้เก่งสุดก็สรุปไม่ได้มั้งครับ หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: dignitua-รักในหลวง ที่ ธันวาคม 06, 2013, 09:04:10 AM ผมว่าในสามก๊ก "ขงเบ้ง" เก่งสุดครับ... ฆ่าทหารฝ่ายตรงข้ามเป็นล้าน จวนตัวยังเปิดประตูเมืองนั่งดีดพิณ..
แถมตายไปยังแค่ให้เข็นศพไปรอบกำแพงเมือง ศัตรูยังไม่กล้าบุกเลยครับ... หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ ธันวาคม 06, 2013, 09:52:45 AM อ่านจบไปหนึ่งรอบ พยายามรวบรวมจำนวนคนที่ตายในสงคราม กับจำนวนคนที่เข้าร่วมในสงครามว่ามีทั้งหมดกี่คน ไม่สามารถที่จะทำได้ เลยต้องกลับไปอ่านใหม่ ผมว่านี่คือสาเหตุหนึ่งที่ต้องอ่านหลายๆรอบครับ
หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ ธันวาคม 06, 2013, 10:01:36 AM อ่านจบไปหนึ่งรอบ พยายามรวบรวมจำนวนคนที่ตายในสงคราม กับจำนวนคนที่เข้าร่วมในสงครามว่ามีทั้งหมดกี่คน ไม่สามารถที่จะทำได้ เลยต้องกลับไปอ่านใหม่ ผมว่านี่คือสาเหตุหนึ่งที่ต้องอ่านหลายๆรอบครับ เพชรพระอุมาเหมือนกันแหละ นับมาให้ได้ ว่าปืนลั่นกี่นัด...สัตว์ตายกี่ตัว ถ้านับไม่ครบ หรือนับผิด โทษแบน ประมาณ 5 ปี ...... แล้วก็กลับไปอ่านใหม่อีกรอบ หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: bigbang ที่ ธันวาคม 06, 2013, 10:44:57 AM ขอแสดงความเห็นด้วยครับ เคยได้พูดคุยกับคุณเล่าชวนหัว
คนที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับพงศวาดารจีนได้สนุกท่านหนึ่ง ท่านว่า สามก๊กที่เราอ่าน นั้นเป็นพงศวาดารจีน และได้มีการเติมแต่ในสมัยหมิง ซึ่งเป็นของฉบับหลอกว้านจง เพื่อใช้ในการแสดงงิ้ว ให้สนุก บุคคลิกบางคนอาจจะไม่ได้เก่ง บางเหตุการณ์ ก็เกินความจริงครับ เช่น ขงเบ้ง ผู้ที่เก่งกาจ ประวัติกับพื้นเพอยู่แต่ในชนบท ทำไมถึงรอบรู้ได้เหมือน อาจารย์กู้ ส่วนเหตุการณ์ ล่องเรือล่อเอาดอกธนูจากกองทัพโจโฉ นั้นหากเป็นจริง ทหารโจโฉทำไมไม่ยิงด้วย ธนูไฟแทนยิงมั่วให้เสียดอกธนูเปล่าๆ อย่างไรก็ดี ผมก็ยังคิดว่า สามก๊ก ทุกฉบับก็ได้ให้ข้อคิดได้อย่างมาก ถึงยุทธวิธี การอ่านคน อ่านความคิด และใช้คน ได้ดีเยี่ยมครับ แม้แต่บุคคลากรเพนต้ากอนยังเอาไปใช้เลยครับ หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: dignitua-รักในหลวง ที่ ธันวาคม 06, 2013, 11:34:27 AM ขอแสดงความเห็นด้วยครับ เคยได้พูดคุยกับคุณเล่าชวนหัว คนที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับพงศวาดารจีนได้สนุกท่านหนึ่ง ท่านว่า สามก๊กที่เราอ่าน นั้นเป็นพงศวาดารจีน และได้มีการเติมแต่ในสมัยหมิง ซึ่งเป็นของฉบับหลอกว้านจง เพื่อใช้ในการแสดงงิ้ว ให้สนุก บุคคลิกบางคนอาจจะไม่ได้เก่ง บางเหตุการณ์ ก็เกินความจริงครับ เช่น ขงเบ้ง ผู้ที่เก่งกาจ ประวัติกับพื้นเพอยู่แต่ในชนบท ทำไมถึงรอบรู้ได้เหมือน อาจารย์กู้ ส่วนเหตุการณ์ ล่องเรือล่อเอาดอกธนูจากกองทัพโจโฉ นั้นหากเป็นจริง ทหารโจโฉทำไมไม่ยิงด้วย ธนูไฟแทนยิงมั่วให้เสียดอกธนูเปล่าๆ อย่างไรก็ดี ผมก็ยังคิดว่า สามก๊ก ทุกฉบับก็ได้ให้ข้อคิดได้อย่างมาก ถึงยุทธวิธี การอ่านคน อ่านความคิด และใช้คน ได้ดีเยี่ยมครับ แม้แต่บุคคลากรเพนต้ากอนยังเอาไปใช้เลยครับ อาจจะเป็นการยิงจากเรือสู่เรือหรือเปล่าครับ คือกลัวเรือตัวเองไหม้เลยไม่ใช้ธนูไฟ.. ;D หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: ราษฎร์หน้า เส้นหมี่ ที่ ธันวาคม 06, 2013, 02:13:57 PM ยุคนั้นไม่ทราบว่าดอกไม้ไฟพัฒนาไปแค่ไหน น่าจะลองติดต่อกับไทยเอาเทคโนโลยีบั้งไฟ หมื่น แสน ล้าน ใส่ท่อยิงไปใช้บนเรือหรือบนพาหนะ ก่อกำเนิดเครื่องยิงจรวดวิถีตรง DTI 0 เจอเรือยิงเรือ เจอค่ายยิงค่าย ;D
หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: SillyOldMan ที่ ธันวาคม 06, 2013, 02:25:43 PM ขอแสดงความเห็นด้วยครับ เคยได้พูดคุยกับคุณเล่าชวนหัว คนที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับพงศวาดารจีนได้สนุกท่านหนึ่ง ท่านว่า สามก๊กที่เราอ่าน นั้นเป็นพงศวาดารจีน และได้มีการเติมแต่ในสมัยหมิง ซึ่งเป็นของฉบับหลอกว้านจง เพื่อใช้ในการแสดงงิ้ว ให้สนุก บุคคลิกบางคนอาจจะไม่ได้เก่ง บางเหตุการณ์ ก็เกินความจริงครับ เช่น ขงเบ้ง ผู้ที่เก่งกาจ ประวัติกับพื้นเพอยู่แต่ในชนบท ทำไมถึงรอบรู้ได้เหมือน อาจารย์กู้ ส่วนเหตุการณ์ ล่องเรือล่อเอาดอกธนูจากกองทัพโจโฉ นั้นหากเป็นจริง ทหารโจโฉทำไมไม่ยิงด้วย ธนูไฟแทนยิงมั่วให้เสียดอกธนูเปล่าๆ อย่างไรก็ดี ผมก็ยังคิดว่า สามก๊ก ทุกฉบับก็ได้ให้ข้อคิดได้อย่างมาก ถึงยุทธวิธี การอ่านคน อ่านความคิด และใช้คน ได้ดีเยี่ยมครับ แม้แต่บุคคลากรเพนต้ากอนยังเอาไปใช้เลยครับ ผมเป็นแฟนตัวยงเลยครับ มุมมองเหมือนกัน ตามอ่านรายละเอียดที่ลากออกมาสับได้มันส์มาก เจอครั้งแรกในหอสมุดม.ตอนปี2 หลังจากนั้นก็ซื้อทุกเล่มที่เจอ ::002:: หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: SillyOldMan ที่ ธันวาคม 06, 2013, 02:27:50 PM ยุคนั้นไม่ทราบว่าดอกไม้ไฟพัฒนาไปแค่ไหน น่าจะลองติดต่อกับไทยเอาเทคโนโลยีบั้งไฟ หมื่น แสน ล้าน ใส่ท่อยิงไปใช้บนเรือหรือบนพาหะนะ ก่อกำเนิดเครื่องยิงจรวดวิถีตรง DTI 0 เจอเรือยิงเรือ เจอค่ายยิงค่าย ;D สมัยสามก๊กยังไม่มีประทัดครับ ประทัดถูกคิดค้นขึ้นมาหลังจากนั้นประมาณ90ปี แต่มีเครื่องวัดความกดอากาศ , ตารางพยากรณ์ทิศทางลมแล้ว หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ ธันวาคม 06, 2013, 02:37:38 PM อ่านจบไปหนึ่งรอบ พยายามรวบรวมจำนวนคนที่ตายในสงคราม กับจำนวนคนที่เข้าร่วมในสงครามว่ามีทั้งหมดกี่คน ไม่สามารถที่จะทำได้ เลยต้องกลับไปอ่านใหม่ ผมว่านี่คือสาเหตุหนึ่งที่ต้องอ่านหลายๆรอบครับ เพชรพระอุมาเหมือนกันแหละ นับมาให้ได้ ว่าปืนลั่นกี่นัด...สัตว์ตายกี่ตัว ถ้านับไม่ครบ หรือนับผิด โทษแบน ประมาณ 5 ปี ...... แล้วก็กลับไปอ่านใหม่อีกรอบ สองเล่มนี้ยังไม่พอ ไปลงเรียนอีกใบหนึ่ง พอได้อ่านกันแล้วครับงานนี้หนังสือ ปีหน้าต้องตัดแว่นแล้วครับ ไว้อ่านหนังสือครับ หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: SillyOldMan ที่ ธันวาคม 06, 2013, 02:43:53 PM ขอแสดงความเห็นด้วยครับ เคยได้พูดคุยกับคุณเล่าชวนหัว คนที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับพงศวาดารจีนได้สนุกท่านหนึ่ง ท่านว่า สามก๊กที่เราอ่าน นั้นเป็นพงศวาดารจีน และได้มีการเติมแต่ในสมัยหมิง ซึ่งเป็นของฉบับหลอกว้านจง เพื่อใช้ในการแสดงงิ้ว ให้สนุก บุคคลิกบางคนอาจจะไม่ได้เก่ง บางเหตุการณ์ ก็เกินความจริงครับ เช่น ขงเบ้ง ผู้ที่เก่งกาจ ประวัติกับพื้นเพอยู่แต่ในชนบท ทำไมถึงรอบรู้ได้เหมือน อาจารย์กู้ ส่วนเหตุการณ์ ล่องเรือล่อเอาดอกธนูจากกองทัพโจโฉ นั้นหากเป็นจริง ทหารโจโฉทำไมไม่ยิงด้วย ธนูไฟแทนยิงมั่วให้เสียดอกธนูเปล่าๆ อย่างไรก็ดี ผมก็ยังคิดว่า สามก๊ก ทุกฉบับก็ได้ให้ข้อคิดได้อย่างมาก ถึงยุทธวิธี การอ่านคน อ่านความคิด และใช้คน ได้ดีเยี่ยมครับ แม้แต่บุคคลากรเพนต้ากอนยังเอาไปใช้เลยครับ ผมเป็นแฟนตัวยงเลยครับ มุมมองเหมือนกัน ตามอ่านรายละเอียดที่ลากออกมาสับได้มันส์มาก เจอครั้งแรกในหอสมุดม.ตอนปี2 หลังจากนั้นก็ซื้อทุกเล่มที่เจอ ::002:: แค่ที่ลากบันทึกจากหอจดหมายเหตุ ว่าเหล่ามหาเทพเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ขงเบ้งฯลฯ พอเข้าสู่อันได้แล้วเขาแจกสมบัติกันได้มูมมามขนาดไหน เตียวหุยลากหลานสาวอายุ13ของแฮหัวตุ้นมาข่มขืนเป็นเมีย ใครอ่านเจอจนครบเวลาเห็นคนจุดธูปไหว้กวนอูเป็นเทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อแล้วจะขำ มีอีกเยอะ แต่ยังนึกไม่ออก ::005:: หัวข้อ: Re: เรียนรู้จากสามก๊ก ตอน (1) การสร้างตัวของเล่าปี่ เริ่มหัวข้อโดย: bigbang ที่ ธันวาคม 06, 2013, 03:04:11 PM ขอแสดงความเห็นด้วยครับ เคยได้พูดคุยกับคุณเล่าชวนหัว คนที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับพงศวาดารจีนได้สนุกท่านหนึ่ง ท่านว่า สามก๊กที่เราอ่าน นั้นเป็นพงศวาดารจีน และได้มีการเติมแต่ในสมัยหมิง ซึ่งเป็นของฉบับหลอกว้านจง เพื่อใช้ในการแสดงงิ้ว ให้สนุก บุคคลิกบางคนอาจจะไม่ได้เก่ง บางเหตุการณ์ ก็เกินความจริงครับ เช่น ขงเบ้ง ผู้ที่เก่งกาจ ประวัติกับพื้นเพอยู่แต่ในชนบท ทำไมถึงรอบรู้ได้เหมือน อาจารย์กู้ ส่วนเหตุการณ์ ล่องเรือล่อเอาดอกธนูจากกองทัพโจโฉ นั้นหากเป็นจริง ทหารโจโฉทำไมไม่ยิงด้วย ธนูไฟแทนยิงมั่วให้เสียดอกธนูเปล่าๆ อย่างไรก็ดี ผมก็ยังคิดว่า สามก๊ก ทุกฉบับก็ได้ให้ข้อคิดได้อย่างมาก ถึงยุทธวิธี การอ่านคน อ่านความคิด และใช้คน ได้ดีเยี่ยมครับ แม้แต่บุคคลากรเพนต้ากอนยังเอาไปใช้เลยครับ อาจจะเป็นการยิงจากเรือสู่เรือหรือเปล่าครับ คือกลัวเรือตัวเองไหม้เลยไม่ใช้ธนูไฟ.. ;D ไม่น่าใช่ครับ เพราะแค่จุดไฟแล้วยิงไปเหมือนกระสุนส่องวิถีครับ งานนี้ขงเบ้งเลยเป็นฮีโร่ แต่หากเป็นปัจจุบัน ขงเบ้งเป็นไก่อบดอกธูปเพลิงครับ 555 ผมเป็นแฟนตัวยงเลยครับ มุมมองเหมือนกัน ตามอ่านรายละเอียดที่ลากออกมาสับได้มันส์มาก เจอครั้งแรกในหอสมุดม.ตอนปี2 หลังจากนั้นก็ซื้อทุกเล่มที่เจอ ::002:: ท่านเล่าชวนหัวไม่ใช่ย่อยนะครับ เคยเป็นคนในคณะที่ปรึกษาของป๋าเปรมนะครับ บางเรื่องของสามก๊กนั้นก็เป็นดาบคืนให้คนคิดเลียบแบบตามตำรา เช่น พวกฝรั่งหัวแดงจับทางได้และชนะสมัยราชวงศ์ชิง(แมนจู) อย่างง่ายๆ ครับ |