เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: TUI 48 ที่ พฤศจิกายน 29, 2014, 08:03:32 PM



หัวข้อ: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: TUI 48 ที่ พฤศจิกายน 29, 2014, 08:03:32 PM
ขอเรียนสอบถามข้อมูลเพื่อเป็นความรู้ครับ... ::014::

ทำไมศาลที่ประจำอยู่ในพื้นที่ หลายๆพื้นที่ ใช้ชื่อว่า "ศาลจังหวัด" ครับ..

อาทิ..."ศาลจังหวัดพระโขนง" ฯลฯ ...

ขอขอบคุณ ทุกคำตอบ ที่เป็นประโยชน์ครับ.. ::014::


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: คมขวาน รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 29, 2014, 08:22:19 PM
        สงสัยด้วยคน
ทำไมเขาไม่เรียกศาลอำเภอบ้าง เนาะ ::004:: ::004:: ::004::


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: Nero Angel01 ที่ พฤศจิกายน 29, 2014, 08:26:56 PM
น่าจะแบบนี้ครับ รอนักกฎหมายอาชีพเวบเรามายืนยันอีกทีครับ

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9530000003429

http://www.thailaws.com/aboutthailaw/court_01.htm


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: TUI 48 ที่ พฤศจิกายน 29, 2014, 08:36:09 PM
ขอบคุณ "คุณ Nero Angel01" มากครับ..+ 1ครับ.. ::014::


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: Nero Angel01 ที่ พฤศจิกายน 29, 2014, 08:39:12 PM
+คืนให้ทั้ง2ท่านนะครับ


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: oil ที่ พฤศจิกายน 29, 2014, 09:00:32 PM
ธรรมนูญศาลเขียนไว้งั้นน่ะครับ แบ่งเขตอำนาจศาล และกำหนดองค์คณะผู้พิพากษาตามทุนทรัพย์ ตามโทษของการกระทำความผิด
รายละเอียดให้เกียรติระดับครูบาอาจารย์แถลงจะเหมาะสมกว่า


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 29, 2014, 09:56:10 PM
หมายถึงระดับชั้นศาลครับ

คือนอกศาลแพ่ง กับศาลอาญาที่มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักรแล้ว
ศาลท้องถิ่นก็จะมีศาลจังหวัดกับศาลแขวง   ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีมโนสาเร่ คือคดีแพ่งทุนทรัพย์ต่ำ และคดีอาญาที่มีอัตราโทษต่ำ  ส่วนศาลจังหวัดก็จะมีอำนาจพิจารณาคดีทุกตัวบทกฎหมาย

การตั้งศาลจังหวัดในอำเภอต่าง ๆ ก็เพื่อลดภาระไม่ให้ประชาชนต้องเดินทางมาใจกลางจังหวัด และแบ่งคดีออกไปบ้าง  สำหรับใน กทม.ศาลจังหวัดแห่งแรกคือศาลจังหวัดมีนบุรี  เนื่องจากเป็นที่อยู่ไกล สมัยที่ตั้งศาลจังหวัดมีนบุรีใหม่ ๆ ตอนนั้นยังไม่มีทางรถยนต์เข้าถึงด้วยซ้ำ

ศาลที่เมืองจีน ทำเข้าท่ากว่าประเทศอื่น  คือตัวศาลมี 3 ชั้นศาล  แต่ฟ้องกันได้แค่ 2 ชั้นศาล
คดีเล็ก ก็ฟ้องกันที่ศาลพื้นฐาน  แล้วอุทธรณ์ได้ที่ศาลกลาง ถึงที่สุดแค่นั้น   ส่วนคดีใหญ่ก็เริ่มฟ้องกันที่ศาลกลาง  แล้วอุทธรณ์ที่ศาลสูงสุด เป็นอันจบ


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ พฤศจิกายน 29, 2014, 10:02:21 PM
        สงสัยด้วยคน
ทำไมเขาไม่เรียกศาลอำเภอบ้าง เนาะ ::004:: ::004:: ::004::

อ่านกฎหมายรู้ดูกฎหมายเป็นหรือเปล่าครู ::008:: ::005::


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ พฤศจิกายน 29, 2014, 10:05:51 PM
หมายถึงระดับชั้นศาลครับ

คือนอกศาลแพ่ง กับศาลอาญาที่มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักรแล้ว
ศาลท้องถิ่นก็จะมีศาลจังหวัดกับศาลแขวง   ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีมโนสาเร่ คือคดีแพ่งทุนทรัพย์ต่ำ และคดีอาญาที่มีอัตราโทษต่ำ  ส่วนศาลจังหวัดก็จะมีอำนาจพิจารณาคดีทุกตัวบทกฎหมาย

การตั้งศาลจังหวัดในอำเภอต่าง ๆ ก็เพื่อลดภาระไม่ให้ประชาชนต้องเดินทางมาใจกลางจังหวัด และแบ่งคดีออกไปบ้าง  สำหรับใน กทม.ศาลจังหวัดแห่งแรกคือศาลจังหวัดมีนบุรี  เนื่องจากเป็นที่อยู่ไกล สมัยที่ตั้งศาลจังหวัดมีนบุรีใหม่ ๆ ตอนนั้นยังไม่มีทางรถยนต์เข้าถึงด้วยซ้ำ

ศาลที่เมืองจีน ทำเข้าท่ากว่าประเทศอื่น  คือตัวศาลมี 3 ชั้นศาล  แต่ฟ้องกันได้แค่ 2 ชั้นศาล
คดีเล็ก ก็ฟ้องกันที่ศาลพื้นฐาน  แล้วอุทธรณ์ได้ที่ศาลกลาง ถึงที่สุดแค่นั้น   ส่วนคดีใหญ่ก็เริ่มฟ้องกันที่ศาลกลาง  แล้วอุทธรณ์ที่ศาลสูงสุด เป็นอันจบ
::014::
ตรงนี้เป็นไอเดียที่ดีมากครับ ว่ากันสองศาลพอ คดีจะได้ไม่รกโรงรกศาลเยอะเกินไป
น่าเอามาประยุกต์ใช้บ้านเราบ้างนะ


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: yutthakarn ที่ พฤศจิกายน 29, 2014, 11:24:17 PM
หมายถึงระดับชั้นศาลครับ

คือนอกศาลแพ่ง กับศาลอาญาที่มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักรแล้ว
ศาลท้องถิ่นก็จะมีศาลจังหวัดกับศาลแขวง   ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีมโนสาเร่ คือคดีแพ่งทุนทรัพย์ต่ำ และคดีอาญาที่มีอัตราโทษต่ำ  ส่วนศาลจังหวัดก็จะมีอำนาจพิจารณาคดีทุกตัวบทกฎหมาย

การตั้งศาลจังหวัดในอำเภอต่าง ๆ ก็เพื่อลดภาระไม่ให้ประชาชนต้องเดินทางมาใจกลางจังหวัด และแบ่งคดีออกไปบ้าง  สำหรับใน กทม.ศาลจังหวัดแห่งแรกคือศาลจังหวัดมีนบุรี  เนื่องจากเป็นที่อยู่ไกล สมัยที่ตั้งศาลจังหวัดมีนบุรีใหม่ ๆ ตอนนั้นยังไม่มีทางรถยนต์เข้าถึงด้วยซ้ำ

ศาลที่เมืองจีน ทำเข้าท่ากว่าประเทศอื่น  คือตัวศาลมี 3 ชั้นศาล  แต่ฟ้องกันได้แค่ 2 ชั้นศาล
คดีเล็ก ก็ฟ้องกันที่ศาลพื้นฐาน  แล้วอุทธรณ์ได้ที่ศาลกลาง ถึงที่สุดแค่นั้น   ส่วนคดีใหญ่ก็เริ่มฟ้องกันที่ศาลกลาง  แล้วอุทธรณ์ที่ศาลสูงสุด เป็นอันจบ

ตามที่ท่านอาจารย์ผู้การตอบไว้ครับ ศาลจังหวัดจะมีอำนาจพิจารณาคดีทุกตัวบทกฎหมาย และขออนุญาตเสริมในส่วนนี้ว่าเฉพาะในคดีที่ขึ้นศาลที่เรียกว่า ศาลยุติธรรม เนื่องจากปัจจุบันมีศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะทาง เช่น ศาลปกครอง พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง หรือ ศาลแรงงาน มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน เป็นต้น
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
มาตรา ๑ ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญนี้มีสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์
และศาลฎีกา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๒ ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาล
อาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 29, 2014, 11:27:33 PM
หมายถึงระดับชั้นศาลครับ

คือนอกศาลแพ่ง กับศาลอาญาที่มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักรแล้ว
ศาลท้องถิ่นก็จะมีศาลจังหวัดกับศาลแขวง   ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีมโนสาเร่ คือคดีแพ่งทุนทรัพย์ต่ำ และคดีอาญาที่มีอัตราโทษต่ำ  ส่วนศาลจังหวัดก็จะมีอำนาจพิจารณาคดีทุกตัวบทกฎหมาย

การตั้งศาลจังหวัดในอำเภอต่าง ๆ ก็เพื่อลดภาระไม่ให้ประชาชนต้องเดินทางมาใจกลางจังหวัด และแบ่งคดีออกไปบ้าง  สำหรับใน กทม.ศาลจังหวัดแห่งแรกคือศาลจังหวัดมีนบุรี  เนื่องจากเป็นที่อยู่ไกล สมัยที่ตั้งศาลจังหวัดมีนบุรีใหม่ ๆ ตอนนั้นยังไม่มีทางรถยนต์เข้าถึงด้วยซ้ำ

ศาลที่เมืองจีน ทำเข้าท่ากว่าประเทศอื่น  คือตัวศาลมี 3 ชั้นศาล  แต่ฟ้องกันได้แค่ 2 ชั้นศาล
คดีเล็ก ก็ฟ้องกันที่ศาลพื้นฐาน  แล้วอุทธรณ์ได้ที่ศาลกลาง ถึงที่สุดแค่นั้น   ส่วนคดีใหญ่ก็เริ่มฟ้องกันที่ศาลกลาง  แล้วอุทธรณ์ที่ศาลสูงสุด เป็นอันจบ
::014::
ตรงนี้เป็นไอเดียที่ดีมากครับ ว่ากันสองศาลพอ คดีจะได้ไม่รกโรงรกศาลเยอะเกินไป
น่าเอามาประยุกต์ใช้บ้านเราบ้างนะ

ลองเข้าไปอ่านดูซิครับ
บทความของท่านประสพสุข บุญเดช   เขียนไว้สมัยที่ยังเป็นผู้พิพากษา
http://elib.coj.go.th/Article/d32_4_3.pdf


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: TUI 48 ที่ พฤศจิกายน 30, 2014, 07:04:53 AM
หมายถึงระดับชั้นศาลครับ

คือนอกศาลแพ่ง กับศาลอาญาที่มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักรแล้ว
ศาลท้องถิ่นก็จะมีศาลจังหวัดกับศาลแขวง   ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีมโนสาเร่ คือคดีแพ่งทุนทรัพย์ต่ำ และคดีอาญาที่มีอัตราโทษต่ำ  ส่วนศาลจังหวัดก็จะมีอำนาจพิจารณาคดีทุกตัวบทกฎหมาย

การตั้งศาลจังหวัดในอำเภอต่าง ๆ ก็เพื่อลดภาระไม่ให้ประชาชนต้องเดินทางมาใจกลางจังหวัด และแบ่งคดีออกไปบ้าง  สำหรับใน กทม.ศาลจังหวัดแห่งแรกคือศาลจังหวัดมีนบุรี  เนื่องจากเป็นที่อยู่ไกล สมัยที่ตั้งศาลจังหวัดมีนบุรีใหม่ ๆ ตอนนั้นยังไม่มีทางรถยนต์เข้าถึงด้วยซ้ำ

ศาลที่เมืองจีน ทำเข้าท่ากว่าประเทศอื่น  คือตัวศาลมี 3 ชั้นศาล  แต่ฟ้องกันได้แค่ 2 ชั้นศาล
คดีเล็ก ก็ฟ้องกันที่ศาลพื้นฐาน  แล้วอุทธรณ์ได้ที่ศาลกลาง ถึงที่สุดแค่นั้น   ส่วนคดีใหญ่ก็เริ่มฟ้องกันที่ศาลกลาง  แล้วอุทธรณ์ที่ศาลสูงสุด เป็นอันจบ

ตามที่ท่านอาจารย์ผู้การตอบไว้ครับ ศาลจังหวัดจะมีอำนาจพิจารณาคดีทุกตัวบทกฎหมาย และขออนุญาตเสริมในส่วนนี้ว่าเฉพาะในคดีที่ขึ้นศาลที่เรียกว่า ศาลยุติธรรม เนื่องจากปัจจุบันมีศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะทาง เช่น ศาลปกครอง พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง หรือ ศาลแรงงาน มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน เป็นต้น
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
มาตรา ๑ ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญนี้มีสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์
และศาลฎีกา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๒ ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาล
อาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น

ขอขอบคุณท่านผู้การฯ และท่านอัยการครับ สำหรับความรู้..++


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: จอยฮันเตอร์ ที่ พฤศจิกายน 30, 2014, 11:03:22 AM
        สงสัยด้วยคน
ทำไมเขาไม่เรียกศาลอำเภอบ้าง เนาะ ::004:: ::004:: ::004::
รู้จักศาลไคฟงมั้ย ::007::


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: oil ที่ พฤศจิกายน 30, 2014, 04:08:11 PM
รู้จักแต่ศาลเจ้าแม่ไทรคลองแสนแสบ บางกะปิ


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ พฤศจิกายน 30, 2014, 05:34:34 PM
หมายถึงระดับชั้นศาลครับ

คือนอกศาลแพ่ง กับศาลอาญาที่มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักรแล้ว
ศาลท้องถิ่นก็จะมีศาลจังหวัดกับศาลแขวง   ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีมโนสาเร่ คือคดีแพ่งทุนทรัพย์ต่ำ และคดีอาญาที่มีอัตราโทษต่ำ  ส่วนศาลจังหวัดก็จะมีอำนาจพิจารณาคดีทุกตัวบทกฎหมาย

การตั้งศาลจังหวัดในอำเภอต่าง ๆ ก็เพื่อลดภาระไม่ให้ประชาชนต้องเดินทางมาใจกลางจังหวัด และแบ่งคดีออกไปบ้าง  สำหรับใน กทม.ศาลจังหวัดแห่งแรกคือศาลจังหวัดมีนบุรี  เนื่องจากเป็นที่อยู่ไกล สมัยที่ตั้งศาลจังหวัดมีนบุรีใหม่ ๆ ตอนนั้นยังไม่มีทางรถยนต์เข้าถึงด้วยซ้ำ

ศาลที่เมืองจีน ทำเข้าท่ากว่าประเทศอื่น  คือตัวศาลมี 3 ชั้นศาล  แต่ฟ้องกันได้แค่ 2 ชั้นศาล
คดีเล็ก ก็ฟ้องกันที่ศาลพื้นฐาน  แล้วอุทธรณ์ได้ที่ศาลกลาง ถึงที่สุดแค่นั้น   ส่วนคดีใหญ่ก็เริ่มฟ้องกันที่ศาลกลาง  แล้วอุทธรณ์ที่ศาลสูงสุด เป็นอันจบ
::014::
ตรงนี้เป็นไอเดียที่ดีมากครับ ว่ากันสองศาลพอ คดีจะได้ไม่รกโรงรกศาลเยอะเกินไป
น่าเอามาประยุกต์ใช้บ้านเราบ้างนะ

ลองเข้าไปอ่านดูซิครับ
บทความของท่านประสพสุข บุญเดช   เขียนไว้สมัยที่ยังเป็นผู้พิพากษา
http://elib.coj.go.th/Article/d32_4_3.pdf
ขอบคุณครับ ::014::


อ่านได้สี่ห้าหน้าครับ งงๆ ;D


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ พฤศจิกายน 30, 2014, 11:28:29 PM
ผมเข้าใจของผมว่าถ้าเป็นศาลอำเภอจะแลดูไม่เท่าเทียมกัน  แต่ในเพลงลูกทุ่งมีคำว่าศาลอำเภออยู่นะครับเป็นสมัยนี้คงต้องเปลี่ยนเนื้อใหม่


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: Hang Forever ที่ ธันวาคม 01, 2014, 10:24:42 AM
....เช้าขึ้นมาฉันไปทำไร่ ส่วนเธอก็ไป ทำงานที่ศาลอำเภอ
    กลับบ้านตอนเย็น มาเห็นใบหน้าของเธอ
    เคยยิ้มให้อยู่เสมอ เดี๋ยวนี้เธอบึ้งตึงเปลี่ยนไป.......

ขี้เหร่ก็รัก...ศรคีรี  ศรีประจวบ...ครับ ::002::


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: oil ที่ ธันวาคม 01, 2014, 10:39:14 AM
หมายถึงศาลแขวงหรือศาลจังหวัด ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในอำเภอ ประมาณว่าศูนย์ราชการสมัยก่อน วันสต๊อบเซอร์วิส ชาวบ้านจะได้ไม่ต้องตระเวนไปไกล


หัวข้อ: Re: ศาลจังหวัด
เริ่มหัวข้อโดย: yutthakarn ที่ ธันวาคม 01, 2014, 09:31:40 PM
หมายถึงศาลแขวงหรือศาลจังหวัด ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในอำเภอ ประมาณว่าศูนย์ราชการสมัยก่อน วันสต๊อบเซอร์วิส ชาวบ้านจะได้ไม่ต้องตระเวนไปไกล

ครับ ในจังหวัดใหญ่ๆ หรือในท้องที่ที่การเดินทางลำบาก ก็จะมีการจัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นในบางอำเภอ เช่น จังหวัดนครราชสีมา มีศาลจังหวัดสีคิ้ว บัวใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ มีศาลจังหวัดภูเขียว ลพบุรี มีศาลจังหวัดชัยบาดาล ซึ่งชื่อศาลจังหวัดแสดงถึงระดับของศาลตามกฎหมาย แต่เมื่อตั้งอยู่ที่อำเภอ ชาวบ้านก็เรียกศาลอำเภอครับ