เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: yutthakarn ที่ กรกฎาคม 11, 2015, 03:28:29 PM



หัวข้อ: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: yutthakarn ที่ กรกฎาคม 11, 2015, 03:28:29 PM
มีคำเตือนออกมาหนาหูถึงสภาวะฟองสบู่แตกของเศรษฐกิจบ้านเราครั้งใหม่ ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ท่านผู้รู้มีความเห็นอย่างไรกันบ้างครับ จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ จะเตรียมตัวอย่างไร และเมื่อถึงเวลานั้น ตลาดปืนจะเป็นอย่างไร เพราะในสายตาประชาชนทั่วไป อาวุธปืนไม่ใช่ของจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Earthworm ที่ กรกฎาคม 11, 2015, 04:48:54 PM
ดูจากเวปข้างๆ ที่ปล่อยๆปืนแต่ละกระบอกออกมา ผมว่ามันแตกไปแล้วสำหรับหลายๆคนครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Yut64 ที่ กรกฎาคม 11, 2015, 05:12:30 PM
มีปล่อยพระเครื่องกล้องถ่ายรูปด้วย


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: rambo1th ที่ กรกฎาคม 11, 2015, 06:13:25 PM
อ๋อ สำหรับผมมันแตกไปตั้งนานแล้วในระดับจุลภาค แต่สำหรับมหภาคในภาพรวมของประเทศ ผมยังรอดูต่อไป .......... แต่ที่สัมผัสได้คือคนระดับหาเช้ากินค่ำ ลำบากมากขึ้น ข้าวของแพง งานการหายากลำบากสำหรับเด็กจบใหม่ (ไม่นับงานราชการ) สมัยนี้ใครๆก็อยากรับราชการทั้งนั้น


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Nero Angel01 ที่ กรกฎาคม 11, 2015, 06:19:49 PM
ดร.วีรไท ผู้ว่าการคนใหม่ฮะ

http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/blog/634480


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: TakeFive ที่ กรกฎาคม 11, 2015, 09:04:07 PM
คงไม่เกิดขึ้นในบ้านเราหลอกครับภาวะฟองสบู่แตกเนี่ย เพราะเราไม่มีฟองให้แตก
ตัวเลขเศรษฐกิจก็ซึมมาหลายปี ซึ่งส่วนตัวคิดว่าตัวเลข วิธีการคำนวณอาจจะไม่เหมาะสมกับประเทศเรา
เพราะผมกลับเห็นว่าเศรษฐกิจ4-5ปีหลังดีเอาๆ คนรวยกันขึ้นเยอะ ห้างเปิดกี่แห่งๆก็แน่น


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ กรกฎาคม 11, 2015, 10:29:04 PM
ในมุมมองของผมเวลาเศรษฐกิจถดถอยตามรอบของมัน  ผมว่าดีๆกว่าปล่อยให้ภาคธุรกิจลืมตัวกับdemand ที่เป็นภาพลวงตาแล้วกู่ไม่กลับ


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: yutthakarn ที่ กรกฎาคม 11, 2015, 11:25:00 PM
ดร.วีรไท ผู้ว่าการคนใหม่ฮะ

http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/blog/634480

นักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ให้คำอธิบายในเชิงเปรียบเทียบ แต่ไม่ชี้ชัดถึงสภาพการณ์และการแก้ปัญหาให้เข้าใจได้โดยตรง แต่ก็พอเข้าใจได้ว่า สถานการณ์น่าเป็นห่วงมาก และการแก้ไขทำไม่ได้ง่ายๆ และก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร จากโวหารในเชิงเปรียบเทียบของนักวิชาการที่มารับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 12:05:58 AM
อ่านข่าวไม่กี่วันก่อน ตัวเลขNPLแบงค์ยังไม่ถึง3%  น่าจะยังพอไหวอยู่ครับ  แต่แบงค์เข้มมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ ช่วงนี้ใครจะสร้างไร กู้บ้าน ต้องทำการบ้านเยอะหน่อย ไม่งั้นไม่ผ่าน ถึงผ่านก็โดนบีบขายพ่วงประกันอ้วก  :<<


รัฐต้องทำการบ้านเยอะๆ ส่งออกนับวันจะถดถอย ต่างชาติย้ายฐาน ไปประเทศค่าแรงต่ำกว่า แถมมีกำลังซื้อสูงเพราะเป็นประเทศเกิดใหม่

ภาคท่องเที่ยวต้องสร้างอะไรใหม่ๆเยอะขึ้นครับ ไม่งั้นมันซ้ำซาก จำเจ ไม่มีอะไรใหม่ดึงดูดใจ คู่แข่งธรรมชาติเค้าซิงๆ และมากมายกว่าเราหลายเท่า พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ไทยจะหวังแบบเดิมๆน่าจะยากแล้ว หมดยุคฝรั่งมีกะตังค์แล้วในช่วง10ปีที่ผ่านมา

เมื่อวานมีข่าวสร้างกระเช้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา อืมม...เริ่มมีไอเดียดี แต่ยังไม่พอ...

คาสิโนมัวแต่เถียงกันมานาน 4-5ประเทสรอบๆเรามีตั้ง70กว่าแห่ง ช้าไปมั้ย  ::005::


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 12:14:35 AM
พวกเอนเตอร์เทนเม้นคอมเพล๊ก+ศุนย์ประชุมระดับนานาชาติ+คาสิโน(การกลั้นกรองคนเข้ามันทำได้อยู่ อย่าวิตกมากเกินไป เงินเข้าบ้านสำคัญที่สุด มีกินมีใช้สำคัญที่สุด)

พวกดิสนีแลนด์อะไรเงี่ย คนมาหลายสิบล้านแน่นอน  ;D


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 12:21:49 AM
การดูแลธรรมชาติรบ.ทำดีแล้ว ชายหาดสวยงามขึ้น ดูดีขึ้นมากครับ เอาให้ดีขึ้นอีกครับ การปล่อยน้ำเสียลงทะเล ภูเขาหัวโล้น เอาให้อยู่ครับ ที่ผ่านมาปล่อยกันจนเละ อย่าว่าแต่ต่างชาติ เรามองสีน้ำขุ่นๆดำๆ สีของทรายชายหาดที่สกปรก เรายังหดหู่ใจ(คิดในใจ ใครจะอยากมาเที่ยววะ) การบุกรุกป่าเขา สร้างอย่าให้มันรกเกินไป จนไม่น่าเที่ยว  ขนาดตึงๆเข้มๆยังเอาไม่อยู่ นึกไม่ออกถ้าปล่อยเมื่อไหร่ จะกลับไปสภาพเดิม  ::004::  ;D


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: yutthakarn ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 12:34:34 AM
 +1 ทุกท่านครับ


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: chonthai-รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 12:58:24 AM
ส่วนตัวผมมองว่าธุรกิจผิดกฎหมายหลายๆอย่างถูกทำลายลงไปทำให้เงินที่หล่อเลี้ยงระดับรากหญ้าพลอยฝืดลงไปด้วย


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 01:06:33 AM
ส่วนตัวผมมองว่าธุรกิจผิดกฎหมายหลายๆอย่างถูกทำลายลงไปทำให้เงินที่หล่อเลี้ยงระดับรากหญ้าพลอยฝืดลงไปด้วย

คงไม่เชิงหรอกครับ พวกหวยใต้ดินยังปกติ ไม่เห็นมีข่าวจับเลย พวกบ่อนเล็กบ่อยน้อย พวกนั้นเศษเสี้ยวเงินไม่กี่บาท ไม่มีผลไรเลย

ธุรกิจกลางคืนขายนาผืนน้อยก็ปกติ มีแต่คนจะมีกำลังซื้อรึเปล่า?  ::005::

ภาคที่มีพลังจริงๆน่าจะเป็นภาคอสังหาครับ การสร้างบ้านซักหลัง ใช้วัสดุ คนงานหลายสิบชีวิต ตามมาด้วยการซื้อ-โอนตรงนี้ภาษีเยอะมากหลังนึงภาษี1-2แสน(บ้าน2-3ล้าน) ตามมาด้วยเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ไฟ้ฟ้า แต่งสวน จิปาถะ...ฯ  ยกตัวอย่างบ้าน1หลัง หรือซื้อคอนโด1ห้อง  มีเงินหมุนเวียนของเยอะมาก  ไม่นับถึงพวกระดับไฮเอนหลังละเป็นสิบๆล้าน  ยิ่งมีมูลค่าเพิ่มมากๆ   ;D

พวกขายรถอีก รถยนต์คันนึงภาษีโขอยู่ จำไม่ได้ว่ารถคันนึงเสียภาษีตั้งแต่โรงงาน-ผู้ซื้อหลักแสนต่อคัน แถมเก็บภาษีรายปีได้อีก ยังไม่รวมรายได้ของไฟแนนซ์,แบงค์ที่ปล่อยกู้อีก ผ่อนรถยังต้องเสียVatอีก

คือเซ้กเม้นใหญ่ๆพวกนี้แหละ ทำเงินเข้ารัฐมากทีเดียว ถ้าสะดุดรึไม่เดินนี่สิเรื่องใหญ่ครับ  ::014::

 


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 09:24:40 AM
55555  ยายขออนุญาต  " ท่านอัยการ ยุทธการ " นำบทความนี้มาแสดง อ่ะ ฮา555 ::004:: ::004:: ::004::


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1429177112

พวงทอง ภวัครพันธุ์ : มองกรณีสหรัฐฯ ตั้ง"กลิน เดวีส์"นั่งเอกอัครราชทูต

วันที่ 16 เม.ย. รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์
ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ได้แสดงความคิดเห็นถึงกรณีที่สหรัฐฯ แต่งตั้งนายกลิน ทาวน์เซนด์ เดวีส์ นักการทูตอาชีพ
และอดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือ ระหว่างปี 2555-2557
มาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า


กรณีสหรัฐอเมริกาส่งนายกลิน เดวีส์ (Glyn Davies) นักการทูตที่มีประสบการณ์รับมือกับปัญหายากๆ
แบบเกาหลีเหนือ มาประจำประเทศไทย ชี้ว่าสหรัฐฯให้ความสำคัญกับไทยอย่างแน่นอน
แต่ไม่ได้หมายความว่าเขากำลังจะหันมาเอาใจรัฐบาลทหารของไทยสักนิด

นายเดวี่ส์ เป็นนักการทูตที่มีประสบการณ์การทำงานในปัญหาด้านความมั่นคงที่สหรัฐฯ
ให้ความสำคัญสูง เช่น ปัญหาการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ โดยเขาเคยเป็นผู้แทนพิเศษ (ฐานะเท่าเอกอัคราชทูต)
ประจำสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ International Atomic Energy Agency (IAEA)
จึงทำให้เขาต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน และต่อมาได้เป็น
 “ผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีต่างประเทศว่าด้วยนโยบายเกาหลีเหนือ” ซึ่งพยายามคิดค้นอาวุธนิวเคลียร์เช่นกัน

(หมายเหตุ: เขาไม่ได้มีตำแหน่งทูตประจำเกาหลีเหนือ เพราะสหรัฐฯ
ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับเกาหลีเหนือ จึงไม่มีทูตประจำ)

เป็นที่รู้กันว่าทั้งอิหร่านและเกาหลีเหนือเป็นเสมือนกระดูกชิ้นใหญ่ที่เคี้ยวยากสำหรับสหรัฐฯ
เป็นภัยคุกคามต่อนโยบายความมั่นคงของสหรัฐเสมอมาและมีปัญหาประชาธิปไตย
ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่านายเดวีส์ เป็นนักการทูตที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานเรื่องสำคัญสำหรับสหรัฐฯ
มีประสบการณ์ทำงานกับประเทศยากๆ มาแล้ว การที่สหรัฐฯ ส่งนายเดวีส์มาไทยจึงชี้ว่าสหรัฐฯ
ให้ความสำคัญกับไทยไม่น้อย แต่ก็ต้องไม่หลงละเมอเพ้อพกไปว่า ไทยสำคัญอยู่ประเทศเดียว
หรือสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จนทำให้สหรัฐฯกำลังจะโอนอ่อนผ่อนตามรัฐบาลทหารไทย เพราะกลัวอิทธิพลจีน

แน่นอนว่าสหรัฐฯ ย่อมไม่สบายใจที่เห็นรัฐบาล คสช. พยายามเล่นไพ่จีน
(และรัสเซีย ซึ่งกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก) เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯ
กดดันเรียกร้องให้ไทยเคารพในหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
แต่ไม่ได้หมายความว่า ความกังวลนี้จะทำให้สหรัฐฯ
ละทิ้งแนวนโยบายของตนจากหน้ามือเป็นหลังมืออย่างทันทีทันใด เพราะอะไร

หนึ่ง ในแง่เศรษฐกิจ นับแต่สงครามเย็นยุติลง ใครๆ ก็มองว่าประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลาง
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งอาเซียนมีศักยภาพในการเติบโตสูงมาก
จนกลายเป็นสาวเนื้อหอมสำหรับนักลงทุนจากทั่วทุกภูมิภาค ความมั่นคงทางการเมืองของไทย
จึงสำคัญต่อกระเป๋าเงินของทั้งภูมิภาคและนักลงทุนทั่วโลก

แต่ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาจนเกือบจะครบทศวรรษและยังไม่มีท่าทีจะยุติลง
ในระยะเวลาอันใกล้แถมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนกลับถดถอยลงนับแต่การรัฐประหารโดย คสช.
ทำให้นักลงทุนทั้งหลายเริ่มเห็นว่าการฝากความหวังให้ไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค
โดยไม่มองหาช่องทางอื่นบ้าง คงไม่ปลอดภัยสำหรับพวกเขาแน่ ฉะนั้น นับแต่ปีที่ผ่านมา
เราเริ่มเห็นบรรรษัทใหญ่ๆ เริ่มย้ายฐานการลงทุนอุตสาหกรรมไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นๆ

สอง ในแง่เศรษฐกิจ สหรัฐฯ สำคัญกับไทยมากกว่าที่ไทยสำคัญต่อสหรัฐฯ
สหรัฐฯ เป็นหนึ่งในสามตลาดที่ใหญ่ที่สุดของสินค้าไทย แค่สหรัฐฯ และอียูประกาศ
ลดระดับสถานะประเทศที่ป้องกันการค้ามนุษย์ของไทย จากระดับ 2 ไปเป็นระดับ 3
ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ไทยเต้นเป็นจ้าวเข้าได้

ไม่มีใครรับประกันได้ว่าหากปีหน้า ประเทศไทยยังไม่มีเลือกตั้งเสียที
เราจะเจอกับมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจจากสหรัฐฯด้วยหรือไม่
เพราะขณะนี้ทั่วโลกรู้ดีว่าเศรษฐกิจไทยกำลังวิกฤติ และเชื่อว่าจะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลทหาร
 ซึ่งที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญอเมริกัน เช่น Joshua Kurlantzick ก็ได้เสนอให้สหรัฐฯ
เพิ่มมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลทหารไทย เพราะเชื่อว่าจะทำให้แรงกดดันในประเทศเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน

สาม ในแง่การทหาร ไทยกับสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์แนบแน่นมาตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์
ในปัจจุบันก็ยังมีข้อตกลงความร่วมมือด้านการทหารหลายฉบับ หนึ่งในข้อตกลงที่สำคัญคือ
คอบร้าโกลด์ อันเป็นการฝึกร่วมทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิค โดยไทยเป็นฐานสำหรับการฝึกซ้อมร่วม
แต่พอรัฐประหารปุ๊บ สหรัฐฯก็ประกาศ “ลดระดับ” การฝึกซ้อมกับไทย ให้เหลือแค่การช่วยเหลือ
ด้านมนุษยธรรมและภัยธรรมชาติ และยังส่งสัญญาณว่าอาจพิจารณาย้ายที่ฝึกซ้อมร่วมไปออสเตรเลียแทน

นอกจากนี้ สหรัฐมองว่าการแอบอิงจีนไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านอาวุธของกองทัพไทย
ได้อย่างน่าพึงพอใจ เพราะเทคโนโลยี่ด้านอาวุธของสหรัฐฯ นั้น มีเหนือกว่าจีนมาก
แง่นี้แปลว่า เราต้องการสหรัฐฯ มากกว่าที่สหรัฐฯ ต้องการเรา

อันที่จริงในแง่การทหาร นับแต่สงครามเย็นยุติลง บทบาทของสิงคโปร์ด้านความร่วมมือด้านการทหาร
ได้โดดเด่นขึ้นมาแทนที่ฟิลิปปินส์ นับแต่ปี 1992 สิงคโปร์เปิดและพัฒนาฐานทัพของตน
เป็นฐานโลจิสติคส์ให้กับกองเรือรบที่ 7 (หน่วยรบนอกประเทศที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ
ทำงานประสานกับฐานทัพทหารสหรัฐฯในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) และกองทัพอากาศของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่าฟิลิปปินส์อาจเปิดฐานทัพของสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อคานอำนาจทางทหารกับจีน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทเขตแดนในทะเลจีนใต้


สี่ นับแต่สงครามเย็นยุติลง ภัยคอมมิวนิสต์ยุติลง สหรัฐฯและยุโรปเริ่มใช้มาตรการสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย
มาดำเนินความสัมพันธ์กับพันธมิตรทั้งเก่าและใหม่ของตนมากขึ้น เพื่อสถาปนาภาพลักษณ์ของผู้นำเสรีนิยม
แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯ จะต้องใช้หลักการนี้อย่างเท่าเทียมกับทุกประเทศ
มันขึ้นกับการประเมินว่าแนวทางไหนกับประเทศใดที่จะทำให้เขาได้ประโยชน์สูงสุด
ในกรณีของไทย ปัจจุบันยังไม่มีภัยคุกคามที่น่ากลัวจนทำให้สหรัฐฯต้องละทิ้งหลักการปชต.
แล้วหันมาจูบปากกับรัฐบาลทหาร แบบที่เคยเกิดขึ้นในยุคคอมมิวนิสต์มาแล้ว

ห้า ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อนับแต่รัฐประหารปี 2549 ดูเหมือนจะทำให้ผู้นำสหรัฐฯ
เริ่มเปลี่ยนทัศนคติที่เคยมีต่อชนชั้นนำ-กลุ่มอำนาจเก่าของไทยอย่างมีนัยสำคัญ

ในอดีต ความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐฯ กระทำผ่านกลุ่มชนชั้นอนุรักษ์นิยมเป็นหลัก
เพราะมีจุดยืนต่อต้านคอมมิวนิสต์ร่วมกัน และสหรัฐฯมองว่ากลุ่มนี้คือ
ผู้กุมอำนาจและกำหนดทิศทางการเมืองไทยเป็นหลัก ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพได้อย่างน่าพอใจ
แม้จะมีรัฐประหารบ่อย แต่เสถียรภาพทางการเมืองก็ไม่ได้ถูกสั่นคลอนจริงๆ การร่วมมือกับคนชนช้ำนำอนุรักษ์นิยม
ไม่เพียงตอบสนองผลประโยชน์ของสหรัฐฯอย่างราบรื่น แต่ยังรับได้ในเชิงหลักการด้วย (หลักการต่อต้านคอมฯ)

แต่ปัจจุบัน สหรัฐฯ เริ่มตระหนักว่ากลุ่มอำนาจเก่าของไทยคือ หนึ่งในสาเหตุของปัญหาที่ยืดเยื้อ
นั่นคือ การปฏิเสธไม่ยอมรับกติกาการเมืองประชาธิปไตย ไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ
เหยียบย่ำหลักการหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงของประชาชน เอาชนะฝ่ายทักษิณไม่ได้ ก็หันใช้ตุลาการภิวัตน์
ก่อม๊อบปิดหน่วยราชการเพื่อสร้างภาวะ failed state ไปจนถึงทำรัฐประหาร
แม้จนกำลังจะกลายเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย ก็ยังไม่มีท่าทีว่ากลุ่มอำนาจเก่าจะยอมปรับเปลี่ยน
หรือเรียนรู้ข้อผิดพลาดของตนแต่ประการใด ยังคงเดินหน้าใช้อำนาจกดปราบประชาชน
ช่วยกัน เขียนรธน. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกดเสียงส่วนใหญ่ของประเทศต่อไป
โดยไม่ไยดีต่อความคับแค้นของประชาชนเสียงข้างมากของประเทศที่รอวันเอาคืนแต่ประการใด
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจากที่ได้เคยพูดคุยกับนักการทูตจากตะวันตกหลายประเทศ
ดิฉันพบว่านี่คือมุมมองหลักที่พวกเขามีในปัจจุบัน

นอกจากนี้ สื่อมวลชนใหญ่ๆ ของโลกยังมีผลต่อมุมมองของรัฐบาลในประเด็นปัญหาสำคัญๆ ด้วย
หากเรากลับไปอ่านสื่อใหญ่ๆ เช่น New York Times, BBC, the Economist, Wall Street Journal, CNN ฯลฯ
เราจะพบข้อเขียนที่วิพากษ์กลุ่มอำนาจเก่าของไทยอย่างเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ

ฝ่ายอนุรักษ์นิยมมักปลอบใจตัวเองว่าสื่อพวกนี้ถูกทักษิณซื้อไปแล้วแต่ข้อเท็จจริงคือ
สื่อเหล่านี้รังเกียจทักษิณอย่างยิ่งเช่นกัน เขาอาจพูดถึงข้อดีของนโยบายต่างๆ ของทักษิณต่อคนจนและคนชนบท
แต่เขามักบรรยายคุณสมบัติของทักษิณว่าเป็นพวกอำนาจนิยม คอรัปชั่นเชิงนโยบาย
สงครามต่อต้านยาเสพติดทำให้คนบริสุทธิ์ตายจำนวนมาก ฯลฯ

หก เวลาสหรัฐฯ ต้องดีลกับประเทศยากๆ สหรัฐฯ ไม่ใช้วิธีโอ๋เอาใจ แต่จะใช้ทั้งไม้นวมและไม้แข็ง
โดยอีกฝ่ายมักต้องแสดงท่าทียอมอ่อนให้ก่อน สหรัฐฯ จึงจะใช้ไม้นวมตาม
เช่น กรณีเกาหลีเหนือ ยื่นเงื่อนไขการเจรจาว่าเกาหลีเหนือจะยกเลิกการวิจัยนิวเคลียร์
เพื่อแลกกับการที่สหรัฐฯและโลกตะวันตกยกเลิกการคว่ำบาตรทางการทูตและเศรษฐกิจ
และให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่เกาหลีเหนือแต่เมื่อเกาหลีเหนือปฏิเสธไม่ให้ผู้แทนภายนอก
เข้าไปตรวจสอบการดำเนินการของตนตามการเงื่อนไขของสหรัฐฯ สหรัฐฯ ก็พร้อมจะยุติการเจรจาเช่นกัน

นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้ว เกาหลีเหนือยังเจรจาทำนองขู่ว่าตนจะยินดียกเลิกการทดลองนิวเคลียร์
หากสหรัฐฯกับเกาหลีใต้ยกเลิกการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกัน สหรัฐฯ บอกไม่สน เดินหน้าซ้อมรบกับเกาหลีใต้ต่อไป

สุดท้าย สิ่งที่สหรัฐฯ กังวลเกี่ยวกับไทยก็คือ คนป่วยคนนี้ยังมองหาสาเหตุความเจ็บป่วยของตนเองไม่เจอ
แถมยังงมงายอยู่กับแนวทางเผด็จการปนไสยศาสตร์พ่อมดหมอผี หากเป็นที่แน่ชัดว่า
ไทยจะไม่มีการเลือกตั้งภายในต้นปีหน้า มีการละเมิดสิทธิของประชาชนด้วยมาตรา 44 อย่างกว้างขวางมากขึ้น
ก็อย่าหวังเลยว่าสหรัฐฯ ภายใต้นายเดวีส์ จะหันมาฮันนีมูนกับไทย การกดดันเป็นเครื่องมือ
เพื่อเข้าถึงจุดหมายที่สหรัฐฯใช้มากกว่าการโอ้โลมปฏิโลม

คนจำนวนไม่น้อยในประเทศนี้ยังหวังลมๆแล้งๆ ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยเจอปัญหามามากมาย
ก็เอาตัวรอดมาได้ด้วยดี พระสยามเทวาธิราชจะยังช่วยเราต่อไปแน่ๆ ยังไงเราก็เอาตัวรอด
ทะยานกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกเหมือนเดิม แต่คนที่เขามองมาจากข้างนอก เขาเชื่อว่า “โชค” ที่ว่านั้น หมดไปนานแล้ว


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: srimalai_รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 09:37:00 AM
นักวิชาเกิน เสื้อแดง


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: yutthakarn ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 11:10:41 AM
55555  ยายขออนุญาต  " ท่านอัยการ ยุทธการ " นำบทความนี้มาแสดง อ่ะ ฮา555 ::004:: ::004:: ::004::


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1429177112

พวงทอง ภวัครพันธุ์ : มองกรณีสหรัฐฯ ตั้ง"กลิน เดวีส์"นั่งเอกอัครราชทูต

วันที่ 16 เม.ย. รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์
ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ได้แสดงความคิดเห็นถึงกรณีที่สหรัฐฯ แต่งตั้งนายกลิน ทาวน์เซนด์ เดวีส์ นักการทูตอาชีพ
และอดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือ ระหว่างปี 2555-2557
มาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า


กรณีสหรัฐอเมริกาส่งนายกลิน เดวีส์ (Glyn Davies) นักการทูตที่มีประสบการณ์รับมือกับปัญหายากๆ
แบบเกาหลีเหนือ มาประจำประเทศไทย ชี้ว่าสหรัฐฯให้ความสำคัญกับไทยอย่างแน่นอน
แต่ไม่ได้หมายความว่าเขากำลังจะหันมาเอาใจรัฐบาลทหารของไทยสักนิด

นายเดวี่ส์ เป็นนักการทูตที่มีประสบการณ์การทำงานในปัญหาด้านความมั่นคงที่สหรัฐฯ
ให้ความสำคัญสูง เช่น ปัญหาการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ โดยเขาเคยเป็นผู้แทนพิเศษ (ฐานะเท่าเอกอัคราชทูต)
ประจำสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ International Atomic Energy Agency (IAEA)
จึงทำให้เขาต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน และต่อมาได้เป็น
 “ผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีต่างประเทศว่าด้วยนโยบายเกาหลีเหนือ” ซึ่งพยายามคิดค้นอาวุธนิวเคลียร์เช่นกัน

(หมายเหตุ: เขาไม่ได้มีตำแหน่งทูตประจำเกาหลีเหนือ เพราะสหรัฐฯ
ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับเกาหลีเหนือ จึงไม่มีทูตประจำ)

เป็นที่รู้กันว่าทั้งอิหร่านและเกาหลีเหนือเป็นเสมือนกระดูกชิ้นใหญ่ที่เคี้ยวยากสำหรับสหรัฐฯ
เป็นภัยคุกคามต่อนโยบายความมั่นคงของสหรัฐเสมอมาและมีปัญหาประชาธิปไตย
ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่านายเดวีส์ เป็นนักการทูตที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานเรื่องสำคัญสำหรับสหรัฐฯ
มีประสบการณ์ทำงานกับประเทศยากๆ มาแล้ว การที่สหรัฐฯ ส่งนายเดวีส์มาไทยจึงชี้ว่าสหรัฐฯ
ให้ความสำคัญกับไทยไม่น้อย แต่ก็ต้องไม่หลงละเมอเพ้อพกไปว่า ไทยสำคัญอยู่ประเทศเดียว
หรือสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จนทำให้สหรัฐฯกำลังจะโอนอ่อนผ่อนตามรัฐบาลทหารไทย เพราะกลัวอิทธิพลจีน

แน่นอนว่าสหรัฐฯ ย่อมไม่สบายใจที่เห็นรัฐบาล คสช. พยายามเล่นไพ่จีน
(และรัสเซีย ซึ่งกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก) เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯ
กดดันเรียกร้องให้ไทยเคารพในหลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
แต่ไม่ได้หมายความว่า ความกังวลนี้จะทำให้สหรัฐฯ
ละทิ้งแนวนโยบายของตนจากหน้ามือเป็นหลังมืออย่างทันทีทันใด เพราะอะไร

หนึ่ง ในแง่เศรษฐกิจ นับแต่สงครามเย็นยุติลง ใครๆ ก็มองว่าประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลาง
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งอาเซียนมีศักยภาพในการเติบโตสูงมาก
จนกลายเป็นสาวเนื้อหอมสำหรับนักลงทุนจากทั่วทุกภูมิภาค ความมั่นคงทางการเมืองของไทย
จึงสำคัญต่อกระเป๋าเงินของทั้งภูมิภาคและนักลงทุนทั่วโลก

แต่ความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมาจนเกือบจะครบทศวรรษและยังไม่มีท่าทีจะยุติลง
ในระยะเวลาอันใกล้แถมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนกลับถดถอยลงนับแต่การรัฐประหารโดย คสช.
ทำให้นักลงทุนทั้งหลายเริ่มเห็นว่าการฝากความหวังให้ไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค
โดยไม่มองหาช่องทางอื่นบ้าง คงไม่ปลอดภัยสำหรับพวกเขาแน่ ฉะนั้น นับแต่ปีที่ผ่านมา
เราเริ่มเห็นบรรรษัทใหญ่ๆ เริ่มย้ายฐานการลงทุนอุตสาหกรรมไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นๆ

สอง ในแง่เศรษฐกิจ สหรัฐฯ สำคัญกับไทยมากกว่าที่ไทยสำคัญต่อสหรัฐฯ
สหรัฐฯ เป็นหนึ่งในสามตลาดที่ใหญ่ที่สุดของสินค้าไทย แค่สหรัฐฯ และอียูประกาศ
ลดระดับสถานะประเทศที่ป้องกันการค้ามนุษย์ของไทย จากระดับ 2 ไปเป็นระดับ 3
ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ไทยเต้นเป็นจ้าวเข้าได้

ไม่มีใครรับประกันได้ว่าหากปีหน้า ประเทศไทยยังไม่มีเลือกตั้งเสียที
เราจะเจอกับมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจจากสหรัฐฯด้วยหรือไม่
เพราะขณะนี้ทั่วโลกรู้ดีว่าเศรษฐกิจไทยกำลังวิกฤติ และเชื่อว่าจะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลทหาร
 ซึ่งที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญอเมริกัน เช่น Joshua Kurlantzick ก็ได้เสนอให้สหรัฐฯ
เพิ่มมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลทหารไทย เพราะเชื่อว่าจะทำให้แรงกดดันในประเทศเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน

สาม ในแง่การทหาร ไทยกับสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์แนบแน่นมาตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์
ในปัจจุบันก็ยังมีข้อตกลงความร่วมมือด้านการทหารหลายฉบับ หนึ่งในข้อตกลงที่สำคัญคือ
คอบร้าโกลด์ อันเป็นการฝึกร่วมทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิค โดยไทยเป็นฐานสำหรับการฝึกซ้อมร่วม
แต่พอรัฐประหารปุ๊บ สหรัฐฯก็ประกาศ “ลดระดับ” การฝึกซ้อมกับไทย ให้เหลือแค่การช่วยเหลือ
ด้านมนุษยธรรมและภัยธรรมชาติ และยังส่งสัญญาณว่าอาจพิจารณาย้ายที่ฝึกซ้อมร่วมไปออสเตรเลียแทน

นอกจากนี้ สหรัฐมองว่าการแอบอิงจีนไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านอาวุธของกองทัพไทย
ได้อย่างน่าพึงพอใจ เพราะเทคโนโลยี่ด้านอาวุธของสหรัฐฯ นั้น มีเหนือกว่าจีนมาก
แง่นี้แปลว่า เราต้องการสหรัฐฯ มากกว่าที่สหรัฐฯ ต้องการเรา

อันที่จริงในแง่การทหาร นับแต่สงครามเย็นยุติลง บทบาทของสิงคโปร์ด้านความร่วมมือด้านการทหาร
ได้โดดเด่นขึ้นมาแทนที่ฟิลิปปินส์ นับแต่ปี 1992 สิงคโปร์เปิดและพัฒนาฐานทัพของตน
เป็นฐานโลจิสติคส์ให้กับกองเรือรบที่ 7 (หน่วยรบนอกประเทศที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ
ทำงานประสานกับฐานทัพทหารสหรัฐฯในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) และกองทัพอากาศของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่าฟิลิปปินส์อาจเปิดฐานทัพของสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อคานอำนาจทางทหารกับจีน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทเขตแดนในทะเลจีนใต้


สี่ นับแต่สงครามเย็นยุติลง ภัยคอมมิวนิสต์ยุติลง สหรัฐฯและยุโรปเริ่มใช้มาตรการสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย
มาดำเนินความสัมพันธ์กับพันธมิตรทั้งเก่าและใหม่ของตนมากขึ้น เพื่อสถาปนาภาพลักษณ์ของผู้นำเสรีนิยม
แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯ จะต้องใช้หลักการนี้อย่างเท่าเทียมกับทุกประเทศ
มันขึ้นกับการประเมินว่าแนวทางไหนกับประเทศใดที่จะทำให้เขาได้ประโยชน์สูงสุด
ในกรณีของไทย ปัจจุบันยังไม่มีภัยคุกคามที่น่ากลัวจนทำให้สหรัฐฯต้องละทิ้งหลักการปชต.
แล้วหันมาจูบปากกับรัฐบาลทหาร แบบที่เคยเกิดขึ้นในยุคคอมมิวนิสต์มาแล้ว

ห้า ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อนับแต่รัฐประหารปี 2549 ดูเหมือนจะทำให้ผู้นำสหรัฐฯ
เริ่มเปลี่ยนทัศนคติที่เคยมีต่อชนชั้นนำ-กลุ่มอำนาจเก่าของไทยอย่างมีนัยสำคัญ

ในอดีต ความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐฯ กระทำผ่านกลุ่มชนชั้นอนุรักษ์นิยมเป็นหลัก
เพราะมีจุดยืนต่อต้านคอมมิวนิสต์ร่วมกัน และสหรัฐฯมองว่ากลุ่มนี้คือ
ผู้กุมอำนาจและกำหนดทิศทางการเมืองไทยเป็นหลัก ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพได้อย่างน่าพอใจ
แม้จะมีรัฐประหารบ่อย แต่เสถียรภาพทางการเมืองก็ไม่ได้ถูกสั่นคลอนจริงๆ การร่วมมือกับคนชนช้ำนำอนุรักษ์นิยม
ไม่เพียงตอบสนองผลประโยชน์ของสหรัฐฯอย่างราบรื่น แต่ยังรับได้ในเชิงหลักการด้วย (หลักการต่อต้านคอมฯ)

แต่ปัจจุบัน สหรัฐฯ เริ่มตระหนักว่ากลุ่มอำนาจเก่าของไทยคือ หนึ่งในสาเหตุของปัญหาที่ยืดเยื้อ
นั่นคือ การปฏิเสธไม่ยอมรับกติกาการเมืองประชาธิปไตย ไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ
เหยียบย่ำหลักการหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงของประชาชน เอาชนะฝ่ายทักษิณไม่ได้ ก็หันใช้ตุลาการภิวัตน์
ก่อม๊อบปิดหน่วยราชการเพื่อสร้างภาวะ failed state ไปจนถึงทำรัฐประหาร
แม้จนกำลังจะกลายเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย ก็ยังไม่มีท่าทีว่ากลุ่มอำนาจเก่าจะยอมปรับเปลี่ยน
หรือเรียนรู้ข้อผิดพลาดของตนแต่ประการใด ยังคงเดินหน้าใช้อำนาจกดปราบประชาชน
ช่วยกัน เขียนรธน. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกดเสียงส่วนใหญ่ของประเทศต่อไป
โดยไม่ไยดีต่อความคับแค้นของประชาชนเสียงข้างมากของประเทศที่รอวันเอาคืนแต่ประการใด
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจากที่ได้เคยพูดคุยกับนักการทูตจากตะวันตกหลายประเทศ
ดิฉันพบว่านี่คือมุมมองหลักที่พวกเขามีในปัจจุบัน

นอกจากนี้ สื่อมวลชนใหญ่ๆ ของโลกยังมีผลต่อมุมมองของรัฐบาลในประเด็นปัญหาสำคัญๆ ด้วย
หากเรากลับไปอ่านสื่อใหญ่ๆ เช่น New York Times, BBC, the Economist, Wall Street Journal, CNN ฯลฯ
เราจะพบข้อเขียนที่วิพากษ์กลุ่มอำนาจเก่าของไทยอย่างเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ

ฝ่ายอนุรักษ์นิยมมักปลอบใจตัวเองว่าสื่อพวกนี้ถูกทักษิณซื้อไปแล้วแต่ข้อเท็จจริงคือ
สื่อเหล่านี้รังเกียจทักษิณอย่างยิ่งเช่นกัน เขาอาจพูดถึงข้อดีของนโยบายต่างๆ ของทักษิณต่อคนจนและคนชนบท
แต่เขามักบรรยายคุณสมบัติของทักษิณว่าเป็นพวกอำนาจนิยม คอรัปชั่นเชิงนโยบาย
สงครามต่อต้านยาเสพติดทำให้คนบริสุทธิ์ตายจำนวนมาก ฯลฯ

หก เวลาสหรัฐฯ ต้องดีลกับประเทศยากๆ สหรัฐฯ ไม่ใช้วิธีโอ๋เอาใจ แต่จะใช้ทั้งไม้นวมและไม้แข็ง
โดยอีกฝ่ายมักต้องแสดงท่าทียอมอ่อนให้ก่อน สหรัฐฯ จึงจะใช้ไม้นวมตาม
เช่น กรณีเกาหลีเหนือ ยื่นเงื่อนไขการเจรจาว่าเกาหลีเหนือจะยกเลิกการวิจัยนิวเคลียร์
เพื่อแลกกับการที่สหรัฐฯและโลกตะวันตกยกเลิกการคว่ำบาตรทางการทูตและเศรษฐกิจ
และให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่เกาหลีเหนือแต่เมื่อเกาหลีเหนือปฏิเสธไม่ให้ผู้แทนภายนอก
เข้าไปตรวจสอบการดำเนินการของตนตามการเงื่อนไขของสหรัฐฯ สหรัฐฯ ก็พร้อมจะยุติการเจรจาเช่นกัน

นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้ว เกาหลีเหนือยังเจรจาทำนองขู่ว่าตนจะยินดียกเลิกการทดลองนิวเคลียร์
หากสหรัฐฯกับเกาหลีใต้ยกเลิกการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกัน สหรัฐฯ บอกไม่สน เดินหน้าซ้อมรบกับเกาหลีใต้ต่อไป

สุดท้าย สิ่งที่สหรัฐฯ กังวลเกี่ยวกับไทยก็คือ คนป่วยคนนี้ยังมองหาสาเหตุความเจ็บป่วยของตนเองไม่เจอ
แถมยังงมงายอยู่กับแนวทางเผด็จการปนไสยศาสตร์พ่อมดหมอผี หากเป็นที่แน่ชัดว่า
ไทยจะไม่มีการเลือกตั้งภายในต้นปีหน้า มีการละเมิดสิทธิของประชาชนด้วยมาตรา 44 อย่างกว้างขวางมากขึ้น
ก็อย่าหวังเลยว่าสหรัฐฯ ภายใต้นายเดวีส์ จะหันมาฮันนีมูนกับไทย การกดดันเป็นเครื่องมือ
เพื่อเข้าถึงจุดหมายที่สหรัฐฯใช้มากกว่าการโอ้โลมปฏิโลม

คนจำนวนไม่น้อยในประเทศนี้ยังหวังลมๆแล้งๆ ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยเจอปัญหามามากมาย
ก็เอาตัวรอดมาได้ด้วยดี พระสยามเทวาธิราชจะยังช่วยเราต่อไปแน่ๆ ยังไงเราก็เอาตัวรอด
ทะยานกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกเหมือนเดิม แต่คนที่เขามองมาจากข้างนอก เขาเชื่อว่า “โชค” ที่ว่านั้น หมดไปนานแล้ว


ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ยายบ๊าบ


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: montri รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 11:50:05 AM
แม่นบ่...???? ท่านด้อกเตอร์  จั๊งซ้่นติ๊.


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: พญาจงอาง +รักในหลวง+ ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 11:54:20 AM
รายการคืนความสุขให้กับประชาชนศุกร์ที่ผ่านมา เห็นท่านนายกพูดตอนหนึ่งว่า"สิ่งไหนพึ่งพาตัวเองได้ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ" เลยว่าจะสนองนโยบายท่านซะหน่อย หุหุ 55555555 ;D ::005::
(http://image.goosiam.com/imgupload/f/Mk5xBS2mvkcR.jpg) (http://image.goosiam.com/view.asp?uid=52211&s=Mk5xBS2mvkcR)


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 12:06:11 PM
บ้านเมือง ใกล้หายนะ เพราะนักการเมิืองถ่อย ได้เป็นใหญ่ พวกมันเป็นคนทำ ไม่ใช่แมว
และมีพวกขี้ข้า คอยสนับสนุน  อย่างมีเจตนา ใช่เพียงแต่เข้ามามีอำนาจ

ตลอดเวลาที่มันกุมอำนาจรัฐ มีแต่หาเรื่องผลาญเงินภาษี ให้กับพวกของมัน และ
สร้างความฉิบหายให้กับประเทศชาติ ให้กับคนที่เกิดในแผ่นดินไทย..มันสร้างทำประโยชน์
อันใดเลย ให้กับประเทศชาติ

เอาหญิงบรมโง่โคตร มาเป็น นางยก  จนคนที่ชอบกินตำส้มไม่ใส่ตัวโง่ กันมากขึ้น
เหตุเกิดจากของคนถ่อย เสวยอำนาจ ผลจึงเหมือนฟองสบู่แตก..เกิดขึ้นกับคนไทย ในวันนี้  ???


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Yut64 ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 12:14:35 PM
รายการคืนความสุขให้กับประชาชนศุกร์ที่ผ่านมา เห็นท่านนายกพูดตอนหนึ่งว่า"สิ่งไหนพึ่งพาตัวเองได้ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ" เลยว่าจะสนองนโยบายท่านซะหน่อย หุหุ 55555555 ;D ::005::
(http://image.goosiam.com/imgupload/f/Mk5xBS2mvkcR.jpg) (http://image.goosiam.com/view.asp?uid=52211&s=Mk5xBS2mvkcR)


จองน้ำแรกขวดนึง


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: srimalai_รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 02:53:04 PM
รายการคืนความสุขให้กับประชาชนศุกร์ที่ผ่านมา เห็นท่านนายกพูดตอนหนึ่งว่า"สิ่งไหนพึ่งพาตัวเองได้ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ" เลยว่าจะสนองนโยบายท่านซะหน่อย หุหุ 55555555 ;D ::005::
(http://image.goosiam.com/imgupload/f/Mk5xBS2mvkcR.jpg) (http://image.goosiam.com/view.asp?uid=52211&s=Mk5xBS2mvkcR)


จองน้ำแรกขวดนึง
มันจะแรงไปนะครับ 60 ดีกรี up


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Hang Forever ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 03:03:35 PM
ส่วนตัวผมมองว่าธุรกิจผิดกฎหมายหลายๆอย่างถูกทำลายลงไปทำให้เงินที่หล่อเลี้ยงระดับรากหญ้าพลอยฝืดลงไปด้วย

คงไม่เชิงหรอกครับ พวกหวยใต้ดินยังปกติ ไม่เห็นมีข่าวจับเลย พวกบ่อนเล็กบ่อยน้อย พวกนั้นเศษเสี้ยวเงินไม่กี่บาท ไม่มีผลไรเลย

ธุรกิจกลางคืนขายนาผืนน้อยก็ปกติ มีแต่คนจะมีกำลังซื้อรึเปล่า?  ::005::

ภาคที่มีพลังจริงๆน่าจะเป็นภาคอสังหาครับ การสร้างบ้านซักหลัง ใช้วัสดุ คนงานหลายสิบชีวิต ตามมาด้วยการซื้อ-โอนตรงนี้ภาษีเยอะมากหลังนึงภาษี1-2แสน(บ้าน2-3ล้าน) ตามมาด้วยเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ไฟ้ฟ้า แต่งสวน จิปาถะ...ฯ  ยกตัวอย่างบ้าน1หลัง หรือซื้อคอนโด1ห้อง  มีเงินหมุนเวียนของเยอะมาก  ไม่นับถึงพวกระดับไฮเอนหลังละเป็นสิบๆล้าน  ยิ่งมีมูลค่าเพิ่มมากๆ   ;D

พวกขายรถอีก รถยนต์คันนึงภาษีโขอยู่ จำไม่ได้ว่ารถคันนึงเสียภาษีตั้งแต่โรงงาน-ผู้ซื้อหลักแสนต่อคัน แถมเก็บภาษีรายปีได้อีก ยังไม่รวมรายได้ของไฟแนนซ์,แบงค์ที่ปล่อยกู้อีก ผ่อนรถยังต้องเสียVatอีก

คือเซ้กเม้นใหญ่ๆพวกนี้แหละ ทำเงินเข้ารัฐมากทีเดียว ถ้าสะดุดรึไม่เดินนี่สิเรื่องใหญ่ครับ  ::014::

 
ข้างบ้านผม ตอนนี้ (15.00น.ของวันที่ 12/7/58)
กำลังอึกทึก บ่อนเล็กๆ 10 กว่าคน ส่งเสียง จนหลานผมนอนไม่ได้
แสดงให้เห็นว่า การพนัน ไม่หมดไปหรอกครับ
ป้าผมเล่นหวยหุ้นทุกวันทำการ
เมียผมซื้อใต้ดิน ทุกวัน 1,16
ปกติๆ นิ


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 03:33:03 PM
พวงทอง ภวัครพันธุ์ : มองกรณีสหรัฐฯ ตั้ง"กลิน เดวีส์"นั่งเอกอัครราชทูต

บอกตรมตรง ผมไม่สน บทความ ที่มองความสัมพันธ์ ยอมรับความเป็นขี้ข้าฯ เมกัน นี้
และยังมอง เมกา กับฑูตคนใหม่ แบบบิดเบือน ..

กว่า ๒ เดือนมาแล้ว ที่นักวิจารณ์การเมืองระหว่างประเทศ ชาวตะวันตก นายหนึ่ง
ได้เตือนไทยไว้ เกี่ยวกับ ฑูตใหม่คนนี้ จะไม่ขอนำ ความเห็นนั้นมาลง แต่บอกว่า
เสียวสันหลังก็แล้วกัน 


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 03:40:20 PM



55555   สงสัยเป็น   " อิสสระ สมชัย "  แน่ๆ อ่ะ ฮา 5555   ::007:: ::007:: ::007:: ::007::


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: BEAMSOUND ที่ กรกฎาคม 12, 2015, 06:35:22 PM



55555   สงสัยเป็น   " อิสสระ สมชัย "  แน่ๆ อ่ะ ฮา 5555   ::007:: ::007:: ::007:: ::007::
ยายหากลางๆมาให้อ่านบ้าง   ::011::


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ กรกฎาคม 15, 2015, 06:37:49 PM
พร้อมอ้าแขนรับลูกหนี้นอกระบบซบอก

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินเตรียมออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนกรณีที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและที่ทำกินกำลังจะถูกยึดเนื่องจากการก่อหนี้นอกระบบและปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในช่วงนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน โดยจะเสนอให้บอร์ดพิจารณามาตรการ ช่วยเหลือต่างๆ ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ธนาคารออมสินวันที่ 21-22 ก.ค.นี้

สำหรับมาตรการดังกล่าวจะอนุญาตให้ธนาคารออมสินสามารถเข้าไปแก้ไขหนี้นอกระบบของประชาชนโดยจะรับหลักประกันเช่น ที่ดินและบ้าน แม้ว่าหลักประกันดังกล่าวจะติดจำนองอยู่กับภาคเอกชน (ผู้ประกอบการเงินกู้นอกระบบ) ก็สามารถนำหลักประกันมาจดจำนองกับธนาคารออมสินได้ โดยจะได้รับเงินกู้ก้อนใหม่ในสัดส่วนไม่เกิน 50% ของหลักประกัน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เสียอัตราดอกเบี้ย 7.475% ต่อปีหรือเอ็มอาร์อาร์ซึ่งเป็นอัตราที่ตํ่ากว่าเงินกู้นอกระบบที่ต้องเสียดอกเบี้ย 10-20% ต่อเดือน และระยะเวลาการกู้ยังยาวถึง 10 ปี

นอกจากนี้ ภายในเดือน ก.ค.นี้จะเสนอให้บอร์ดพิจารณาขยายมาตรการพักชำระหนี้เงินต้น-จ่ายแค่ดอกเบี้ยสูงสุดนาน 2 ปี ซึ่งเป็นมาตรการที่ดำเนินมาตั้งแต่เดือน เม.ย.-มิ.ย.58 ซึ่งปรากฏว่า มีลูกค้าของธนาคารเข้าร่วมโครงการประมาณ 80,000 ราย วงเงินที่ขอพักชำระหนี้เงิน 37,000 ล้านบาท แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าภายในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน มิ.ย.มีลูกค้าขอเข้าร่วมโครงการถึง 10,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มมีความชัดเจนจึงจะเสนอขยายมาตรการนี้ออกไปอีก 1-2 เดือน โดยคาดว่าหากขยายโครงการออกไปจะมีลูกค้าเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 ราย ขณะที่วงเงินที่ขอพักชำระเงินต้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 70,000 ล้านบาท”.

http://www.thairath.co.th/content/511676


วันก่อนอ่านข่าวNPLกสิกรปรับเป้าสิ้นปีนี้ใกล้แตะ3%แล้ว

ถ้า4%นี่ขั้นแย่ชนต้นทุน  ถ้า5%นี่ขั้นเลวคือติดลบ ขั้นอันตรายครับ   ::003::


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ กรกฎาคม 15, 2015, 07:01:04 PM

บ้านเมือง ใกล้หายนะ เพราะนักการเมิืองถ่อย ได้เป็นใหญ่ พวกมันเป็นคนทำ ไม่ใช่แมว
และมีพวกขี้ข้า คอยสนับสนุน  อย่างมีเจตนา ใช่เพียงแต่เข้ามามีอำนาจ

ตลอดเวลาที่มันกุมอำนาจรัฐ มีแต่หาเรื่องผลาญเงินภาษี ให้กับพวกของมัน และ
สร้างความฉิบหายให้กับประเทศชาติ ให้กับคนที่เกิดในแผ่นดินไทย..มันสร้างทำประโยชน์
อันใดเลย ให้กับประเทศชาติ

เอาหญิงบรมโง่โคตร มาเป็น นางยก  จนคนที่ชอบกินตำส้มไม่ใส่ตัวโง่ กันมากขึ้น
เหตุเกิดจากของคนถ่อย เสวยอำนาจ ผลจึงเหมือนฟองสบู่แตก..เกิดขึ้นกับคนไทย ในวันนี้  ???





555555 ยายว่าพี่  524  ต้องพบแพทย์  แล้วอ่ะ ฮา 555555

เห็นมั้ย  " ขาดไอโอดีน  ชนิดรุนแรง "  เพราะกินส้มตำ  ไม่ใส่ ตัวโง่ อ่ะ ฮา 55555

55555  แหมยกมาบอกยายบ่อยๆ  " เบี้่ย ก็คิดแบบเบี้ย " อ่ะ ฮา 5555555 ::007:: ::007:: ::007::


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ กรกฎาคม 17, 2015, 02:05:22 PM

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1437101326

พิษส่งออกทรุด! ซัมซุงนิคมฯโคราช ปิดกิจการ
ปลดกว่าพันคน ทยอยลงทะเบียนว่างงาน
   


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Yut64 ที่ กรกฎาคม 17, 2015, 02:08:37 PM
มันมาแล้วเร็วกว่าที่คาด
นี่แหละของจริง


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Nero Angel01 ที่ กรกฎาคม 17, 2015, 04:05:23 PM
ไทยเป็นแหล่งผลิตฮาร์ดิสน่าจะราวๆ80%ของโลกหรือเปล่าผมจำตัวเลขไม่ได้

แต่อันนี้ไม่ได้เป็นผลมาจากเศรษฐกิจหรอกครับ เขาอาจจะอ้างได้แต่ไม่น่าใช่ครับถ้าเป็นโรงงานผลิตมอเตอร์ฮาร์ดิสคอมพิวเตอร์ เพราะมันมีนวัตกรรมใหม่เป็นStorage Driveแบบใหม่ครับ มันคือSSD ทำงานคล้ายๆFlash Driveอันเล็กๆนั่นละ ความจำเป็นของชิ้นส่วนHDDเลยหมดไป  ตอนนี้สงครามราคาSSDกำลังเริ่มครับ

ต่อไปเราอาจจะเห็น Western Digitalและบริษัทเกี่ยวกับการผลิตHDDลดพนักงานลงเหมือนกันครับ


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ กรกฎาคม 17, 2015, 07:50:07 PM


55555  ยายมี  " คำเตือน "  สำหรับมนุษย์ เงินเดือน อ่ะ ฮา 5555  ::007:: ::007:: ::007::

อย่าไปทำตัว   " ขัดแย้ง "  หรือ แสดงการกระทำ ที่เป็นผลลบ ต่อบริษัท  อ่ะ ฮา

สถานะการณ์  " การจ้างงาน " ตอนนี้  ง่อนแง่น  ลูกผีลูกคน อ่ะ ฮา

เงินบาท  " ร่วง ไปเกือบ 35 บาท / 1 เหรียญ ยูเอส " แล้ว อ่ะ ฮา

55555  ถ้า  " ไม่จำเป็น  " อย่าไปรับเงินชดเชย 10 เดือนน๊าา  อ่ะ ฮา 5555  ::007:: ::007:: ::007::


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: yutthakarn ที่ กรกฎาคม 17, 2015, 11:53:45 PM
บริษัทนายจ้าง มีทางเลือก หากจะเลิกจ้างโดยยอมจ่ายค่าชดเชย จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ครบถ้วนตามกฎหมาย ลูกจ้างก็ปฏิเสธหรือเรียกร้องใดๆไม่ได้ จะไม่รับก็ไม่ได้ครับ เพราะนายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้าง กรณีนี้ ไม่พูดถึงการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ กรกฎาคม 18, 2015, 12:21:54 AM
ซัมซุงย้ายไปเวียดนามนี่ครับ ข่าวว่าจะไปๆ1-2ปีแล้ว  คงรอสร้างโรงงานที่เวียดนามเสร็จ

พวกประเทศเกิดใหม่หลายประเทศพวกนี้ เช่นอินเดีย,เวียดนาม,พม่า,อินโดนีเซีย(พม่าคงอีกนาน เพราะพัฒนาคนไม่ทันยังเป็นแรงงานราคาถูกซะมาก)

อินเดียคนเป็นพันล้าน กำลังซื้อสูงมาก  เวียดนามนี่สดใสมาก ดร.นิเวศไปดูงานตามนิคมอุตสาหกรรมที่เวียดนาม ยังบอก มันเหมือนย้อนอดีตเมืองไทยซัก10กว่าปีก่อน  คนวัยแรงงงานเยอะมาก(ประชากรมากกว่าไทย) แถมขยันสุดๆ  กำลังซื้อสูง เพราะยังไม่มีพร้อม บ้าน,รถ,เครื่องใช้ไฟฟ้า..ฯลฯ  ไทยนี่อิ่มตัวแล้วสินค้าพวกนี้ ขายได้น้อยละ บ้านไหนก็มีหมด 

ไม่แปลกที่บริษัทใหญ่ไปตั้งฐานการผลิต ทั้งขายในประเทศ(ซึ่งมีกำลังซื้อสูง) +ส่งออกมีสิทธิพิเศษทางการค้าที่ได้สิทธิพิเศษอีก ไม่แปลกที่เค้าย้ายฐานครับ

จริงๆการย้ายฐานนี่ไปมาหลายปีแล้วนะ ไทยนี่ค่อนข้างจะปวดหัว พวกองค์กรการค้าโลก ยุโรป เมกา มันก็จัดชั้นไทยขึ้นเป็นประเทศรายได้ปานกลางละ  พากันตัดสิทธิพิเศษต่างๆที่ไทยเคยมีไป 

พูดละก็ไม่รู้สิ.....จะไปทางไหนดีพี่น้อง รอระดับบนเค้าคิดละกัน ช่วงนี้เราเองก็กรอบๆ  :~)



หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ กรกฎาคม 18, 2015, 12:24:26 AM
 ผมเพิ่งกลับจากการไปสำรวจภาวะการลงทุนและเยี่ยมเยียนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นเวียตนามที่เมืองโฮจิมินซิตี้  การไปเวียตนามในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองของผมหลังจากครั้งแรกที่ผมไปกับทางมันนีแชนแนลเมื่อซักหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมา  การไปครั้งนี้  เป็นการ “ไปกันเอง” ของกลุ่ม VI “อาวุโส” ประมาณเกือบ 20 คน  หลายคนมีเงินลงทุนในเวียตนามบ้างแล้ว และเกือบทุกคนกำลังดูว่าอาจจะไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียตนามหลังจากที่เห็นว่าโอกาสลงทุนในตลาดหุ้นไทยลดน้อยลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ คุณภาพของบริษัทจดทะเบียน  และราคาหุ้นอาจจะแพงเกินไป  และต่อไปนี้ก็คือข้อสังเกตของผมซึ่งก็อิงจากการได้ไปเห็นบ้านเมืองและพูดคุยกับผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนรวมทั้งได้ศึกษาข้อมูลและประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ

    ข้อสรุปหลัก ๆ ของผมก็คือ  เศรษฐกิจ สังคม และสภาวะแวดล้อมหรือภาพใหญ่ของเวียตนามในขณะนี้คล้าย ๆ  กับของประเทศไทยเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว  และเวียตนามกำลังจะเติบโตอย่างรวดเร็วแบบเดียวกับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา  แม้แต่ฉายาของการเป็น  “เสือแห่งเอเซีย” ที่ไทยเคยได้รับเราก็อาจจะได้เห็นว่าเวียตนามก็จะได้รับฉายาในทำนองคล้าย ๆ  กัน  พูดอีกแบบหนึ่ง  ผมคิดว่าเวียตนามก็คือ  “The Next Thailand” หรือจะเป็นประเทศไทยรายต่อไป  เพียงแต่ผมคิดว่า  เวียตนามในอนาคตอาจจะโตจนเท่าและ  “ผ่าน”  ประเทศไทยได้ถ้าเวียตนามยังรักษานโยบายและแนวทางที่ดีต่อการเติบโตในปัจจุบันต่อไปได้เรื่อย ๆ  ในขณะที่ไทยไม่แก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่ในขณะนี้

    ถ้ามองย้อนกลับไปซัก 40 ปี ซึ่งเป็นปีที่โฮจิมินแตกเวียตนามใต้กลายเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์  ระดับการพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียโดยเฉพาะในอาเซียนนั้นน่าจะพอ ๆ  กัน  แต่หลังจากนั้น  สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ซึ่งใช้นโยบาย  “เปิดประเทศ” และระบบเศรษฐกิจเป็นแบบตลาดเสรีในขณะที่การเมืองนั้นแม้ไมใช่เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลไปเรื่อย ๆ  สลับไปมาระหว่างกลุ่มอำนาจหลัก ๆ   ก็สามารถพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าอย่างน่าประทับใจ  เหตุผลหรือปัจจัยที่ทำให้ไทยรวมถึงมาเลเซียเติบโตเร็วมากนั้น  ผมคิดว่าเป็นเพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงและมีกระแสโลกานุวัตรสูง  ญี่ปุ่นซึ่งได้เปรียบดุลการค้ากับโลกตะวันตกมหาศาลถูกบังคับให้เพิ่มค่าเงินเยนซึ่งทำให้สินค้าราคาถูกที่ใช้แรงงานสูงไม่สามารถแข่งขันได้จึง  “ย้ายฐานการผลิต”  จากญี่ปุ่นไปสู่ประเทศที่มีค่าแรงถูกและมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน  และประเทศที่ว่าก็คือ  มาเลเซียกับไทย

    ประเทศเวียตนาม  กัมพูชา ลาว นั้นเป็นสังคมนิยมที่เข้มข้น ดังนั้น ไม่สามารถที่จะรองรับการลงทุนได้  พม่าเองปกครองโดยเผด็จการทหารที่กองทัพคุมรัฐบาล  อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์นั้นอยู่ภายใต้เผด็จการซูฮาร์โตและมาร์คอสยาวนาน  ทั้งหมดนั้นญี่ปุ่นหรือโลกตะวันตกไม่อยากเข้ามาลงทุนและทำให้ประเทศไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร  พูดง่าย ๆ  ประเทศที่ระบบการปกครองเป็นแบบ “ปิด” นั้น  โตยาก  ประเทศที่จะเจริญเติบโตได้ดีนั้น  ผมคิดว่าต้องมีปัจจัยสำคัญ 3-4 ประการก็คือ  หนึ่ง ระบบต้องเอื้ออำนวยนั่นก็คือเป็นระบบเปิดที่ต้อนรับต่างชาติหรือเปิดให้คนสามารถแสดงความสามารถได้เต็มที่ซึ่งระบบที่ดีที่สุดน่าจะเป็นระบบเสรีประชาธิปไตย  สอง คนต้องมีคุณภาพหรือมี IQ สูงพอ  สาม จำนวนคนและอายุของประชากรในวัยทำงาน  และสี่ก็คือ  ทรัพยากรภายในประเทศ  ดังนั้น  ประเทศที่กล่าวถึงทั้งหมดจึงเริ่ม  “ล้าหลัง”  มาเลเซียและไทยกลายเป็น  “เสือแห่งเอเซีย”  จากการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตะวันตกและญี่ปุ่นโดยมีคู่แข่งน้อยเนื่องจากประเทศอื่นไม่พร้อม

    เวลาผ่านไปเกือบ 10-20 ปี  ประเทศต่าง ๆ  ในเอเซียเริ่มตระหนักว่าระบบการปกครองที่ผิดพลาดทำให้ประเทศล้าหลัง  ประเทศที่ปกครองแบบเผด็จการ  ไม่ว่าจะเป็นสังคมนิยมหรือแบบอื่นเริ่มเปลี่ยนแปลง  ระบบเศรษฐกิจกลายเป็นทุนนิยมและเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ  นำโดยจีน  ต่อมาเวียตนาม ลาวกัมพูชาก็ตาม  หลังจากนั้นระบบเผด็จการมาร์คอสและซูฮาร์โตก็ “ล่มสลาย”  และสุดท้ายระบบทหารแบบเมียนมาร์ก็กำลังผ่อนคลายลง  นักลงทุนจากตะวันตกและประเทศที่ก้าวหน้าอย่างญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน จึงเริ่มมีตัวเลือกมากขึ้น  และด้วยการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ  รวมถึงคุณภาพของคน ค่าแรง และสาธารณูปโภค และตลาดท้องถิ่น  พวกเขาก็เริ่มเข้าไปลงทุนในประเทศที่ “ล้าหลัง” เหล่านั้นเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศดังกล่าวนั้นรู้ว่าตนเองยังด้อยกว่าก็เสนอเงื่อนไขในการลงทุนที่ดีกว่าประเทศที่เจริญมาก่อน  ผลก็คือ  เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นก็เริ่ม  “เดินหน้า” การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะหลัง ๆ  นี้เพิ่มขึ้นอย่างน่าประทับใจปีละ 5-7% เป็นอย่างต่ำ ในขณะที่ของไทยช้าลงมากโดยเฉพาะในช่วง 5-10 หลังนี้

    ระดับการพัฒนาของเวียตนามเวลานี้อยู่ที่ประมาณเท่ากับเมื่อเกือบ 20 ปีก่อนหรือประมาณช่วงที่เศรษฐกิจไทยเกิดวิกฤตในปี 2540  ตัวเลขการมีเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวี  พัดลม  ตู้เย็น เครื่องซักผ้าต่อครอบครัวของเขาเวลานี้พอ ๆ  กับตัวเลขที่คนไทยมีเมื่อ 20 ปีก่อน  รถยนต์และแอร์อาจจะเท่ากับ 25-30 ปีแต่ผมคิดว่าจะเพิ่มขึ้นเร็วมาก  ส่วนมอเตอร์ไซต์นั้น  เวลานี้เขาน่าจะมีมากกว่าของเราในเวลานี้ด้วยซ้ำเนื่องจากมันเป็นพาหนะหลักในการเดินทางของทุกคนในเวียตนาม  ในส่วนของการผลิตซึ่งเน้นที่การส่งออกนั้น  เวียตนามก็ใช้กลยุทธเดียวกับของไทยเมื่อ 20 ปีก่อนนั่นก็คือ  ส่งเสริมให้ต่างชาติมาลงทุนและผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก  ตัวเลขการส่งออกนั้นเติบโตเร็วมากปีละหลายสิบเปอร์เซ็นต์จนเวลานี้คิดแล้วการส่งออกน่าจะไม่ต่ำกว่า 80% ของ GDP ซึ่งสูงกว่าของไทย  ว่าที่จริงปริมาณการส่งออกไปอเมริกาของเวียตนามนั้นสูงกว่าของไทยไปแล้ว  แม้แต่ในยามที่การส่งออกกำลังชะลอตัวทั่วโลกในช่วงนี้  การส่งออกของเวียตนามก็ยังโตเป็นเลขสองหลัก  กระแสนี้น่าจะยังดำเนินต่อไปเพราะการลงทุนโดยตรงของเวียตนามยังมาแรงมาก  บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกเช่นซัมซุงเลือกเวียตนามมากกว่าไทยแล้ว

    เมื่อดูไป  เวียตนามนั้นเหมือนไทยมาก  เราอยู่ในเขตภูมิอากาศเขตร้อนใกล้เคียงกัน  ขนาดของประเทศก็พอ ๆ  กัน  ความสมบูรณ์ของที่ดินก็น่าจะใกล้กันและอุดมไปด้วยน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก  คนเวียตนามเองก็เป็นคนที่ “ยืดหยุ่น” ไม่ “สุดโต่ง”  วัฒนธรรมและเชื้อชาติก็น่าจะเป็น  “2 ใน 3 จีน” ในขณะที่คนไทยก็อาจจะเป็น  “ครึ่งจีน”  ด้านศาสนาเองก็คงคล้าย ๆ  คนไทยที่บางทีผมก็งง ๆ แต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวทางเศรษฐกิจ  ว่าที่จริง  ถ้ามาเดินในห้างร่วมกันเราก็คงไม่สามารถแยกได้ว่าคนไหนเป็นไทยหรือเวียตนามทั้งด้านหน้าตา ความสูงและรูปร่างรวมถึงอากับกริยาต่าง ๆ

    มีจุดหนึ่งที่ผมคิดว่าเวียตนามจะได้เปรียบไทยในระยะยาวก็คือ  คนเวียตนามมี IQ สูงกว่าไทยในการศึกษาเรื่อง IQ ระดับสากลทุกครั้ง  นอกจากนั้น  เวียตนามมีประชากรถึง 90 ล้านคนและยังเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็วในขณะที่ไทยมี 67 ล้านคนและเพิ่มขึ้นน้อยและอาจจะลดลงในอนาคต  ส่วนจุดอ่อนก็คือ  ระบบสาธารณูปโภคในปัจจุบันยังไม่ดีนัก  การเดินทางด้วยรถยนต์ในเมืองและต่างจังหวัดช้ามากประมาณไม่เกิน 30-40 ก.ม. ต่อชั่วโมง  อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้น่าจะได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

    ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ  ระดับการพัฒนาของเวียตนามจะไล่กวดไทยอย่างรวดเร็วมาก  เพราะปัจจัยในการแข่งขันของเวียตนามกำลังดีขึ้นเรื่อย ๆ  ในขณะที่ไทยกลับด้อยลง  เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของกำลังคนที่แก่ตัวลงอย่างรวดเร็วและระบบการปกครองและภาพใหญ่อื่น ๆ ที่ดูเหมือนจะ  “ถอยหลัง” ในช่วงเร็ว ๆ  นี้  ความรู้สึกจากทริปเวียตนามครั้งนี้ในด้านของร่างกายก็คือร้อนมาก  เพราะมันเป็นกลางฤดูร้อน  แต่ในใจในฐานะที่เป็นคนไทยและจะต้องแข่งกับเวียตนามนั้น  ผมรู้สึก  “หนาว” อย่างบอกไม่ถูก
 
https://www.settrade.com/blog/nivate/2015/05/11/1565


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Hang Forever ที่ กรกฎาคม 18, 2015, 10:18:47 AM
ในแง่คิดส่วนตัวของผมนะ
ผมว่า ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
นี่จะเป็นตัวทำให้ไทยแข็งแกร่งในเนื้อใน
ถ้า ทำได้จริง ปฏิบัติได้ตามแก่น ที่ในหลวงสอนไว้ ::014::
เราจะไม่หนาว ในการต้องไปแข่งกับใคร ::002::

ผมกำลังนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตของผม
เอาตัวของผมให้รอดก่อน
ใน... สภาวะบ้านเมืองไทย
และเศรษฐกิจของโลก แบบ ในปัจจุบันนี้ ::014::


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: TakeFive ที่ กรกฎาคม 18, 2015, 02:53:25 PM
เศรฐษกิจไม่ดีๆ แต่ทำไมตัวเลขการว่างงานยังต่ำอยู่เลย
ตลาดนัดคนยังเดินกันแน่น ห้างก็แทบไม่มีที่ว่าง
ร้านอาหาร ราคาขึ้นเอาๆคนก็นยังแย่งกันกิน
คนเงินเหลือเสียจนไม่อยากฟากแบงค์ แห่กันซื้อกองทุ้นบ้าง หุ้นบ้าง
รถยนต์ออกใหม่กี่รุ่นๆก็แย่งกันจอง

อ่านกระทู้พันทิพ ผมก็เจอคนบ่นแบบนี้กันทุกปี ปีละเป็นสิบรอบๆ
เล่าเรื่องโรงงานต่างๆ ยอดตกบ้าง ปิดกิจการ กังวัลว่าหายนะกำลังจะมา
บางทีมันอาจจะเป็นแค่เฉพาะธุรกิจเป็นกลุ่มๆหรือเปล่า


อันนี้มุมมองส่วนตัวครับ


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: yutthakarn ที่ กรกฎาคม 18, 2015, 06:58:50 PM
ในภาวะวิกฤติด้านหนึ่ง ก็จะมีคนอีกส่วนหนึ่งที่มีโอกาสได้ประโยชน์ เช่น ในภาวะน้ำท่วม รถราใช้ไม่ได้ คนทำเรือพลาสติกและอุปกรณ์กันน้ำก็ทำส่งขายกันไม่ทัน,ในภาวะประสบภัยจากโรคระบาด ผู้ผลิตยาวัคซีน และแม้แต่หน้ากากปิดจมูก ก็รวยไป อย่างเวลานี้ มีภาวะขาดแคลนน้ำ คนขายถังและอุปกรณ์กักเก็บน้ำก็ผลิตกันไม่ทัน


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 18, 2015, 11:46:33 PM
+1 ครูแหง ท่าน take five และพี่ยุทธการ ครับ... ::002::

แต่ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจแย่ลงจริงๆครับ มีภาวะเงินฝืดมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว...

คนรู้จักถูกเชิญออก ถูกบีบให้ออกจากงานก็หลายคน...

ยอดการผลิตรถยนตร์ห้าเดือนแรกของปีนี้ก็ต่ำกว่าปีก่อนนะครับ...

ตัวเลขที่เห็นว่าดีขึ้นคือรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น...

แต่ผมไม่ค่อยกังวลเท่าไร เพราะไม่มีหนี้สินอะไรให้ผ่อนแล้ว...

ไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่จ่ายเกินตัว หมั่นเก็บออม พอจะผ่านเรื่องเหล่านี้ไปได้ครับ... :)


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 18, 2015, 11:48:09 PM
อีกนิด...ปืนผมก็หยุดซื้อ...

ยิงก็สามสี่เดือนไปยิงที...

รายจ่ายกับของเล่นน้อยลงมากๆครับ... ::005::


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: yutthakarn ที่ กรกฎาคม 18, 2015, 11:55:26 PM
อีกนิด...ปืนผมก็หยุดซื้อ...

ยิงก็สามสี่เดือนไปยิงที...

รายจ่ายกับของเล่นน้อยลงมากๆครับ... ::005::

เช่นกัน ครับ หยุดซื้อปืนแล้ว และนี่ก็ไม่ได้ไปสนามหลายเดือนแล้วเช่นกันครับ ได้เข้ามาพูดคุยในเวปปืนช่วยได้มาก ไม่ได้ซื้อ แต่ได้คุยเรื่องปืนก็ยังดี พออยู่ได้ครับ
+ 1 คืนให้คุณหมอรุธครับ


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ กรกฎาคม 19, 2015, 12:09:45 AM
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=936331623091963&set=pcb.936332713091854&type=1&theater

http://www.thairath.co.th/clip/22476

เคยพูดเกรินๆ เรื่องการดึงราคาอาหารพร้อมทานลงมา จัดที่หน่วยราชการ วันนี้มีคนทำแล้ว หลายหน่วยทหาร  ::002::

ราคาวัตถุดิบไม่สูงครับ ข้าวสารถุง5กิโล ข้าวเกรดธรรมดาถุงร้อยกว่าบาท ไก่โล60 ไข่ไก่ฟองต่ำกว่า3บาท น้ำมันพืชลิตรละ35-45 ทำอาหารราคาถูกขายได้แน่นอน

ถ้าผมว่างงานนะ จะขายข้าวจาน20เลย ยังกำไรเลย  ;D

สงสารคนที่ต้องกินอาหารจานเดียว ข้าวแกงกินทุกมื้อ จาน40-70บาท ผลจากการขึ้นเอาๆหลายปีมานี้ จนมันดูเกินไปนะ ทั้งที่วัตถุดิบราคาถูก  แต่ร้านอาหารขึ้นทุกครั้ง แก๊ซขึ้นโล2-3บาท ปรับข้าวจาน5บาท ช่วงน้ำมันพืชขึ้น4-5ปีก่อนแป๊บเดียวก็ขึ้น ปรับค่าแรงก็ขึ้น คือขึ้นทุกที ที่มีโอกาส จนราคาอาหารกำไรสูงมาก200-300%ไปแล้ว  :<<

เสี่ยโก๊ะตี๋เคยขายข้าวมันไก่ในห้างจานเล็กๆ จาน91บาทเลยปีก่อน มั่นมากหนูไม่แคร์ ไม่กินก็อย่ากิน ได้ข่าวปิดไปหลายสาขาในห้างละ ขายแพงเกินไป  :<<


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: seiya-รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 19, 2015, 12:57:16 AM
พวกองค์กรแรงงานต่างๆ พากันเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำเป็น 360 บาท .. ถ้าขึ้นตามนั้น..
กิจการคงจบเห่เป็นแถว  เผาจริงพร้อมป่นกระดูกไปด้วยเลย ..
คนที่รวยคงเป็นชาติเพื่อนบ้านที่แรงงานมาทำงานในบ้านเรา ส่งเงินกลับไปเพียบ..  ::004::


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ กรกฎาคม 19, 2015, 09:24:26 AM


พวกองค์กรแรงงานต่างๆ พากันเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำเป็น 360 บาท ..

ถ้าขึ้นตามนั้น.. กิจการคงจบเห่เป็นแถว  เผาจริงพร้อมป่นกระดูกไปด้วยเลย ..

คนที่รวยคงเป็นชาติเพื่อนบ้านที่แรงงานมาทำงานในบ้านเรา ส่งเงินกลับไปเพียบ..  ::004::





(http://s23.postimg.org/odeunlmgr/image_7017_4_FC232_B2.gif)(http://s23.postimg.org/odeunlmgr/image_7017_4_FC232_B2.gif)(http://s23.postimg.org/odeunlmgr/image_7017_4_FC232_B2.gif)(http://s23.postimg.org/odeunlmgr/image_7017_4_FC232_B2.gif)


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 19, 2015, 10:36:10 AM
+1 ครูแหง ท่าน take five และพี่ยุทธการ ครับ... ::002::

แต่ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจแย่ลงจริงๆครับ มีภาวะเงินฝืดมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว...

คนรู้จักถูกเชิญออก ถูกบีบให้ออกจากงานก็หลายคน...

ยอดการผลิตรถยนตร์ห้าเดือนแรกของปีนี้ก็ต่ำกว่าปีก่อนนะครับ...

ตัวเลขที่เห็นว่าดีขึ้นคือรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น...

แต่ผมไม่ค่อยกังวลเท่าไร เพราะไม่มีหนี้สินอะไรให้ผ่อนแล้ว...

ไม่สุรุ่ยสุร่าย ไม่จ่ายเกินตัว หมั่นเก็บออม พอจะผ่านเรื่องเหล่านี้ไปได้ครับ... :)

เศรษฐกิจมันมีวัฏจักรของมันครับ  มี 4 ระยะ คือ ระยะตกต่ำ, ระยะฟื้นตัว, ระยะรุ่งเรือง  และระยะถดถอย
เมื่อตกต่ำถึงขีดสุด  ก็จะมีการระบายสินค้าค้างสต๊อค เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ขึ้นมาทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว  พอถึงระยะที่การคาดคะเนผลกำไรไปในทางบวกอย่างแน่ชัด  การลงทุน การจ้างงานจะขยายตัวขึ้น จูงใจให้คนใช้เงินออมมาลงทุนมากขึ้น  พอเศรษฐกิจเติบโตสูงขึ้น  คนมีรายได้มากขึ้น สินค้าจะปรับราคาสูงขึ้นทำให้เกิดเงินเฟ้อตามมา ทำให้เข้าสู่ระยะถดถอย
รอบนี้ที่เราเจอหนักหน่อย  เพราะมีนโยบายประชานิยมไปกระตุ้นให้คนใช้จ่ายเงินเกินตัว


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: yutthakarn ที่ กรกฎาคม 19, 2015, 10:44:55 AM
เดี๋ยวนี้ ไปที่ไหน ก็เจอแต่คนใช้บัตรเครดิต ผมว่า บัตรเครดิตถ้าใช้ไม่ถูกต้อง ใช้จ่ายเกินความสามารถที่จะรับภาระได้ จะเป็นตัวทำลายเศรษฐกิจระดับบุคคล และกระทบถึงภาคครัวเรือนที่จะส่งผลถึงเศรษฐกิจโดยรวมได้ ดังนั้น วินัยการใช้จ่ายของบุคคลมีส่วนสำคัญมาก


หัวข้อ: Re: ฟองสบู่แตกรอบใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: TakeFive ที่ กรกฎาคม 19, 2015, 09:35:01 PM
+1 ครูแหง ท่าน take five และพี่ยุทธการ ครับ... ::002::



ขอบพระคุณและทอนคืน คุณอารุตครับ