เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => สนทนาภาษาปืน => ข้อความที่เริ่มโดย: NAPALM ที่ พฤศจิกายน 29, 2006, 01:22:32 AM



หัวข้อ: เหตุผลที่นายทะเบียนอาจจะสั่งไม่อนุญาต
เริ่มหัวข้อโดย: NAPALM ที่ พฤศจิกายน 29, 2006, 01:22:32 AM
นาย  ก.  ทำงานประจำอยู่ที่  กทม.   แต่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด

นายทะเบียนอาวุธปืนจะถือเป็นเหตุผล   สั่งไม่อนุญาตการยื่นขอ  ป. 3  ได้หรือไม่   เพราะอาวุธปืนควรจะอยู่ในภูมิลำเนาตามผู้ขอ

( นาย  ก. แสดงเอกสารยืนยันการทำงานจากหน่วยงานที่ทำอยู่    ในการยืนยันการมีอาชีพ   หมายถึงไม่อาจแจ้งเท็จต่อนาย -

ทะเบียนว่าอยู่ในภูมิลำเนา    เพราะเอกสารยืนยันการทำงานค้ำอยู่  ในกรณีที่อาจจะมีเพื่อนสมาชิกในเวปบอร์ดแนะนำให้แจ้งเท็จ )

" เพราะอาวุธปืนต้องอยู่กับผู้ได้รับอนุญาต  จะฝากไว้กับผู้หนึ่งผู้ใดมิได้  ตาม  พรบ. อาวุธปืน "  ตามความเข้าใจของผม

จึงเรียนมาเพื่อขอความเห็นเพื่อนสมาชิก


หัวข้อ: Re: เหตุผลที่นายทะเบียนอาจจะสั่งไม่อนุญาต
เริ่มหัวข้อโดย: Choltit ที่ พฤศจิกายน 29, 2006, 06:28:46 AM
นาย ก. ทำงานประจำอยู่ที่ กทม. แต่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด
นายทะเบียนอาวุธปืนจะถือเป็นเหตุผล สั่งไม่อนุญาตการยื่นขอ ป. 3 ได้หรือไม่

ไม่ได้ครับ

" เพราะอาวุธปืนต้องอยู่กับผู้ได้รับอนุญาต จะฝากไว้กับผู้หนึ่งผู้ใดมิได้ ตาม พรบ. อาวุธปืน " ตามความเข้าใจของผม

ความหมายเรื่องนี้คือ เมื่อได้รับอนุญาตให้มีแล้ว ต้องใช้เอง  ให้คนอื่นหยิบไปใช้ไม่ได้


หัวข้อ: Re: เหตุผลที่นายทะเบียนอาจจะสั่งไม่อนุญาต
เริ่มหัวข้อโดย: srimalai_รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 29, 2006, 09:16:07 AM
" เพราะอาวุธปืนต้องอยู่กับผู้ได้รับอนุญาต  จะฝากไว้กับผู้หนึ่งผู้ใดมิได้  ตาม  พรบ. อาวุธปืน " 
มาตราไหนครับ ผมฝากตู้นิรภัยธนาคารงั้นก็ผิดสิครับ
มาตรา 9 ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน ให้ออก ให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน หรือในการกีฬาหรือยิง สัตว์
 ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก
 มาตรา 10 อาวุธปืนที่ได้ออกใบอนุญาตให้ตาม มาตรา ก่อน ให้นาย ทะเบียนทำเครื่องหมายประจำอาวุธปืนนั้นไว้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
 มาตรา 11 ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บ ให้ออกได้สำหรับอาวุธ ปืนที่นายทะเบียนเห็นว่าชำรุดจนใช้ยิงไม่ได้ หรืออาวุธปืนแบบพ้นสมัย หรือ อาวุธปืนซึ่งได้รับเป็นรางวัลจากการแข่งขันยิงปืนในทางราชการ
 มาตรา 12 อาวุธปืนซึ่งได้รับอนุญาตให้มีไว้เพื่อเก็บนั้น ห้ามมิให้ยิง และห้ามมิให้มีเครื่องกระสุนปืนไว้สำหรับอาวุธปืนนั้น
 มาตรา 13 ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้แก่
 (1) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกสำหรับความผิดตามกฎหมายลักษณะ อาญาดังต่อไปนี้
 (ก) มาตรา 57 ถึง มาตรา 111 มาตรา 120 ถึง มาตรา 183 มาตรา 249 มาตรา 250 หรือ มาตรา 293 ถึง มาตรา 303
 (ข) มาตรา 254 ถึง มาตรา 257 และพ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษถึงวันยื่นคำขอใบอนุญาต เว้นแต่ในกรณีความผิดที่กระทำโดย ความจำเป็น หรือเพื่อป้องกัน หรือโดยถูกยั่วโทษะ
 (2) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกสำหรับความผิด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิง พุทธศักราช 2477 มาตรา 11 มาตรา 22 มาตรา 29 หรือ มาตรา 33 หรือพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 7 มาตรา 24 มาตรา 33 หรือ มาตรา 38
 (3) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป ในระหว่างห้าปี นับย้อนขึ้นไปจากวันยื่นคำขอ สำหรับความผิดอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ใน (1) และ (2) เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
 (4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
 (5) บุคคลซึ่งไม่สามารถจะใช้อาวุธปืนได้โดยกายพิการ หรือ ทุพพลภาพจะมีไว้เพื่อเก็บ มาตรา 11
 (6) บุคคลซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความ สามารถหรือปรากฏว่าเป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
 (7) บุคคลซึ่งไม่มีอาชีพและรายได้
 (8) บุคคลซึ่งไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง
 (9) บุคคลซึ่งมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันอาจกระทบ กระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน
 "สำหรับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ห้ามมิให้ออกให้แก่บุคคลซึ่งมีชื่อ ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และมีถิ่นที่อยู่ประจำ ในท้องที่ที่บุคคลนั้นขออนุญาตน้อยกว่าหกเดือน"
 *หมายเหตุ มาตรานี้ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 4 พ.ศ. 2519


หัวข้อ: Re: เหตุผลที่นายทะเบียนอาจจะสั่งไม่อนุญาต
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 29, 2006, 10:14:56 AM
 :)..  คำถามตาม กระทู้ อาจดูสับสน. ยังไม่ถูกต้อง 
       ทางปฎิบัติเงื่อนไข เป็นตาม ที่คุณ srimalai นำเสนอครับ..

       การขออนุญาต มีและใช้อาวุธปืน  ต้องยื่นที่ ภูมิลำเนา คือตามทะเบียนบ้านของผู้ยื่น.

      เพราะอาวุธปืนต้องอยู่กับผู้ได้รับอนุญาต  จะฝากไว้กับผู้หนึ่งผู้ใดมิได้  ตาม  พรบ. อาวุธปืน "

       พรบ.อาวุธปืนฯ  ไม่มีมาตราใด ห้ามไว้
 
       การฝากอาวุธปืนไว้กับ บุคคลอื่น กระทำได้..อย่างในเงื่อนไข ฝากไว้ชั่วคราวเพื่อไม่ให้สูญหาย
       จากการลักทรัพย์ หรือเหตุอื่น  เมื่อเจ้าของจำต้องเดินทางไปต่างจังหวัด.
       
 
       ขอบอกนิดหนึ่ง  การใดที่ ผู้มีอำนาจสั่ง จำต้องใช้ดุลพินิจ.. อาจยุ่งยากพื่อให้สั่ง.
       แต่ถ้าสั่งอนุญาตไปแล้ว คำสั่งนายทะเบียนฯ ถือว่าสำคัญที่สุด ครับ. 
       คำสั่งที่เป็นคุณแก่ตัวท่าน .. ท่านสามารถนำคำสั่งนายทะเบียนฯนั้น
       มาใช้ยันโต้แย้ง .. เพื่อปกป้องตัวคุณได้..