หัวข้อ: วันหมดอายุ(ปัญหาโลกแตก) เริ่มหัวข้อโดย: Rock ที่ ธันวาคม 12, 2006, 10:13:50 PM พี่น้องครับ อ้ายกระผ๊มสงสัยมานานเรื่องวันหมดอายุบนผลิตภัณท์ว่าเจ้าคนที่กำหนดเขารู้ได้ยังไงของบาง
อย่างกำหนดวันหมดอายุไว้เป็นสิบปี...ขนมปังบางชนิด 3 วัน ผมเคยเผลอหยิบเข้าปากก่อนอ่าน มันก็ยังอร่อยเหมือนเดิมนะหมดอายุมา 2 วันแล้วแล้ว โพลีเมอร์ของกล็อกล่ะ หากว่่าบอกไว้ร้อยปีใครจะรอพิสูจน์ งง ครับงง ถังใส่นำ้รับประกันสิบปี แสดงว่าเจ้าคนผลิตต้องทดลองมา 10 ปี แล้วพังใช่ไหม...นานนะกว่าจะได้ออกขาย คำถามโง่ๆของคนขี้สงสัยครับ หัวข้อ: Re: วันหมดอายุ(ปัญหาโลกแตก) เริ่มหัวข้อโดย: Autumn ที่ ธันวาคม 13, 2006, 01:06:38 AM ความรู้ทางวิทยาศาตร์ ทำให้คนเราสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้เป็น 100 ปี ภายในเวลา 1 วัน
ที่รู้แน่ ๆ คือ ถ้าอาหารหมดอายุแล้วยังกินอยู่ คนกินอาจหมดอายุได้ หัวข้อ: Re: วันหมดอายุ(ปัญหาโลกแตก) เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ ธันวาคม 13, 2006, 02:16:04 AM สำหรับอาหารแห้งผมถือ 6 เดือนก่อนวันหมดอายุที่พิมพ์ลงบนผลิตภัณฑ์นั้นๆ จะไม่กินมันอีก
ส่วนพวกนมสดกล่องก็ 1 เดือนครับ ถ้าไปซื้อแล้วเห็นวันหมดอายุใกล้ๆแล้วก็ไม่ซื้อครับ จะมีหลักสากลอย่างไรก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่ป้องกันตัวเองไว้ก่อนดีกว่า หัวข้อ: Re: วันหมดอายุ(ปัญหาโลกแตก) เริ่มหัวข้อโดย: jamin ที่ ธันวาคม 13, 2006, 03:09:52 AM โดยปรกติ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน
การกำหนดวันหมดอายุที่แสดงในฉลาก หรือ บรรจุภัณฑ์ จะมีการกำหนด ค่าเผื่อความปลอดภัยไว้บ้าง คือ ในวันที่แสดงว่าหมดอายุ ที่แสดงบนบรรจุภัณฑ์ สินค้าต้องปลอดภัยจริงๆ แต่จริงๆแล้ว หลังวันหมดอายุ นิดหน่อย ก็ยังสามารถกินได้ ถ้าจำเป็น โดยตรวจคร่าวๆ เช่น ดม หรือ ดู รูปลักษณ์ สี ก่อน ว่าแปลก หรือเปลี่ยนไปจากปรกติที่เคยกินไหม ถ้าปรกติ ก็สามารถกินได้***ถ้าจำเป็นจริงๆเท่านั้น*** ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง ................................. ในทางกลับกัน สำหรับบางผลิตภัณฑ์ ถึงจะไม่หมดอายุ แต่ ที่บรรจุภัณฑ์ มีความผิดปรกติ เช่น บวม บุบ ฉีกขาด ฯลฯ ที่ไม่ปรกติ ***ไม่ควรกินเด็ดขาด*** หัวข้อ: Re: วันหมดอายุ(ปัญหาโลกแตก) เริ่มหัวข้อโดย: นายอันตราย ที่ ธันวาคม 13, 2006, 03:12:24 AM อื่ม..........ทราบได้จากการคำนวนในสภาวะแวดล้อมที่ถูกกำหนดขึ้นครับ ดังนั้นสิ่งของที่ถูกกระทบโดยตรงจากสิ่งแวดล้อมจะถูกลดระยะอายุลงมาหลาย % มากครับน่าจะมากกว่า 30-40% แล้วจึงประกาศออกมา เช่น ทดลองและคำนวนได้ว่า สิ่งนี่จะมีอายุอยู่ได้ 200 ปี ตัวเลขที่ประกาศให้ผู้ใช้ทราบจริง อาจบอกแค่ 100 ปีเท่านั้น
แต่ถ้าเป็นปลากระป๋องเมื่อใส่สารป้องกันต่าง ๆ แล้วคำนวนได้ 1 ปี อาจประกาศให้ผู้บริโภคทราบว่ามีอายุ 1 ปี เพราะปลากระป๋องอยู่ในป๋องเลยไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่ผลกระทบในทางอ้อมก็อาจมีผลกระทบได้ ไม่เชื่อลองเอาปลากระป๋องที่ยังไม่ได้เปิดและมีอายุเหลือเยอะ ๆ ไปตั้งตากแดดไว้สิครับ ซัก 1 เดือน แล้วลองเปิดดู แต่ก็มีเยอะที่ประกาศตัวเลขมาก ๆ ไว้ก่อน ที่รู้แน่ ๆ คือ ถ้าอาหารหมดอายุแล้วยังกินอยู่ คนกินอาจหมดอายุได้ ;D ;D ;D หัวข้อ: Re: วันหมดอายุ(ปัญหาโลกแตก) เริ่มหัวข้อโดย: Rock ที่ ธันวาคม 13, 2006, 10:32:19 AM ยังดีที่ไม่ได้กิน นม หมดอายุ :DD
หัวข้อ: Re: วันหมดอายุ(ปัญหาโลกแตก) เริ่มหัวข้อโดย: korpat ที่ ธันวาคม 13, 2006, 10:37:21 AM วันหมดอายุน่าจะเป็นการบอกคร่าว ๆ สิ่งสำคัญน่าจะอยู่ที่การเก็บรักษาจนถึงมือผู้บริโภค ครับ
หัวข้อ: Re: วันหมดอายุ(ปัญหาโลกแตก) เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ ธันวาคม 13, 2006, 12:05:28 PM ดูฉลากข้างกล่องครับ ;D ;D ;D
หัวข้อ: Re: วันหมดอายุ(ปัญหาโลกแตก) เริ่มหัวข้อโดย: Udomkd ที่ ธันวาคม 13, 2006, 12:29:45 PM โดยปรกติ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน การกำหนดวันหมดอายุที่แสดงในฉลาก หรือ บรรจุภัณฑ์ จะมีการกำหนด ค่าเผื่อความปลอดภัยไว้บ้าง คือ ในวันที่แสดงว่าหมดอายุ ที่แสดงบนบรรจุภัณฑ์ สินค้าต้องปลอดภัยจริงๆ แต่จริงๆแล้ว หลังวันหมดอายุ นิดหน่อย ก็ยังสามารถกินได้ ถ้าจำเป็น โดยตรวจคร่าวๆ เช่น ดม หรือ ดู รูปลักษณ์ สี ก่อน ว่าแปลก หรือเปลี่ยนไปจากปรกติที่เคยกินไหม ถ้าปรกติ ก็สามารถกินได้***ถ้าจำเป็นจริงๆเท่านั้น*** ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง ................................. ในทางกลับกัน สำหรับบางผลิตภัณฑ์ ถึงจะไม่หมดอายุ แต่ ที่บรรจุภัณฑ์ มีความผิดปรกติ เช่น บวม บุบ ฉีกขาด ฯลฯ ที่ไม่ปรกติ ***ไม่ควรกินเด็ดขาด*** นี่ผู้รู้จริง พี่จ่านี่ คริๆ วันหมดอายุที่ติดข้างสินค้า จริงๆแล้ว ใช่ว่าใครจะกำหนดว่าวันที่เท่าไหร่ แล้วก็พิมพ์ติดเข้าไปได้ มันต้องผ่านพิธีการพอสมควร (เท็จจริงแค่ใหน ช่วยแก้แล้วกันครับ) เอาตามที่รู้ๆมา เพราะการที่จะผลิตสินค้า (ส่วนมากแล้ว จะเป็นสินค้า บริโภค) ที่กำหนดให้ต้องแสดงวันหมดอายุ และคร่าวๆว่า อย.จะเป็นผู้อนุญาติ ให้ใช้วันหมดอายุสินค้าชนิดนั้นๆ ตามที่ผู้ผลิตร้องขอไป ส่วนการเสียหายของสินค้านั้น แม้นว่ายังไม่หมดอายุ ก็เสียได้ ถ้า 1.การเก็บสินค้า ไม่ถูกต้องตามวิธีการเก็บ ของสินค้าแต่ละชนิดนั้นๆ 2.การผิดพลาดจากการผลิตสินค้า จากโรงงาน และหลุดออกมาจำหน่ายอาจโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ก็แล้วแต่ (เป็นความซวยของผู้บริโภคไป โดยเฉพาะ ไทยแลนด์) ซึ่งมักจะได้บริโภคสินค้าที่ไม่ผ่าน QC ของต่างประเทศ ฝรั่งมันไม่เอา แต่มัน(บริษัท นำกลับมาขายคนไทย 3.การขนส่ง ก็สามารถทำให้สินค้าเสียหายได้ หรือเสียก่อนหมดอายุได้ การเลือกซื้อสินค้า ให้ดูวันหมดอายุ เป็นดีครับ และดูละเอียดถึงลักษณะของสินค้าด้วย สินค้าที่ใกล้หมดอายุ หรือเพิ่งหมดอายุ ถ้ายังไม่เน่าเสียหาย ก็ยังเป็นสินค้าที่ดีครับ บริโภคได้ โดยเฉพาะสินค้าสดๆ ที่มีอายุการเก็บสั้นๆ แต่ต้องดูลักษณะก่อน กินได้ ประหยัดเงินด้วย แต่สินค้าที่มีอายุการเก็บนานๆ อันนี่ไม่แนะนำ หัวข้อ: Re: วันหมดอายุ(ปัญหาโลกแตก) เริ่มหัวข้อโดย: Udomkd ที่ ธันวาคม 13, 2006, 01:17:52 PM การพิมพ์ระบบตัวเลขก็มีหลายแบบครับ แล้วแต่ว่าพิมพ์มาจากส่วนใหน ที่นิยมกัน(ในโลกนี้)
แต่รวมความแล้วก็มีความหมายเหมือนกัน ว่าหมดอายุเมื่อใหร่ เพียงแค่ว่า จะเอา วัน/เดือน/ปี หรือเดือน/วัน/ปี หรือ ปี ขึ้นก่อนหลังเท่านั้นเอง บางประเภท จะบอกอายุแรกเกิด เช่น ยางรถยนต์ จะบอกเฉพาะ สัปดาและปีทีผลิตเท่านั้น (0262006) ผลิตสัปดาที่26 ของปี ค.ศ.2006 Exp.01022006 ก็หมดอายุ วันที่1เดือนกุมภาพันธ์2549 (DDMMYY) Exp.12252006 ก็หมดอายุ เดือนธันวาคม วันที่25 ปี 2006 (MMDDYY) Exp.20062512 ก็หมดอายุ ปี2006 วันที่25เดือนธันวาคม แล้วแต่จะเอาอะไรขึ้นก่อนหลัง สังเกตุว่า ถ้าไม่มีเครื่องหมาย / คั่นระหว่างตัวเลข 12252006 หรือมี 12/25/2006 ถ้าเลขมากกว่า 12 ตัวเลขนั้นก็จะแสดงวันที่ มีโอกาสเหมือนกันอยู่วันเดียวเดือนเดียว คือ 12122006 อาจจะไม่รู้ว่าเอาวันที่หรือเดือนขึ้นก่อน ก็ให้ใช้การเปรียบเทียบดูกับสินค้าต่างล็อต หรือสินค้าบริษัทเดียวกัน ว่าบริษัทนั้นใช้ตัวเลขการกำหนดอายุสินค้าเป็นแบบใหน DDMMYY หรือ MMDDYY เราก็จะทราบได้ ผิดถูกอย่างไร ช่วยกันแก้ไขให้ถูกต้องครับ หัวข้อ: Re: วันหมดอายุ(ปัญหาโลกแตก) เริ่มหัวข้อโดย: อู๋ รักในหลวง ที่ ธันวาคม 13, 2006, 02:00:58 PM อาหารส่วนใหญ่ทดลองจากการเพาะเลี้ยงเชื้อ เวลาขณะนี้ว่าเชื้อมากน้อยขนาดไหน คนรับ ได้ไม่อันตราย
ถ้ามีผลกับคนก็แสดงว่าเสียแล้ว หมดอายุแล้วไม่ครบบริโภค ถ้าเป็นพวกผลิตภัณฑ์ ได้จาก การทดสอบ เช่น เอาเข้าเครื่องสั่น เอาไปอบที่อุณหูมิสูงติดต่อกันนานๆ เอาไปอยู่ในบรรยากาศที่เป็น กรด เป็นด่าง ทดสอบกับผุ่น โคลน ต่างๆ นานา ส่วนใหญ่จะเป็นการเร่งเวลา เร่งสภาพแวดล้อม ให้โหดกว่าความเป็นจริง แล้วดูว่า วัสดุมีความทนทานแค่ไหน รับแรงเค้นได้แค่ไหน วัสดุเริ่มเสียสภาพที่อุณหภูเท่าไร การทำงานของกลไกเริ่มผิดพลาดที่เวลาเท่าใด ถ้าปืนก็เริ่มติดขัดเมื่อยิงไปกี่นัด รถยนต์เครื่องเริ่มทำงานผิดปกติที่ระยะทางกี่กิโล เป็นต้น |