เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: ชายjirata ที่ ธันวาคม 13, 2006, 01:58:34 PM



หัวข้อ: ข้อเท็จจริงความเป็นมาของค่า แอ็คเซ็สชาร์จ
เริ่มหัวข้อโดย: ชายjirata ที่ ธันวาคม 13, 2006, 01:58:34 PM
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 12 ธันวาคม 2549 10:07 น.
 
       “พรชัย มีมาก” กลุ่มพลังก้าวหน้าพัฒนาทศท. ส่งข้อมูล “หม่อมอุ๋ย”  เกรงหลงทางกับข้อเรียกร้องขอความเป็นธรรมของดีแทค ทรูมูฟเรื่องค่าแอ็คเซ็สชาร์จ ยันโครงข่ายเป็นของทีโอที กับกสทเท่านั้น และเจตนารมณ์ของกม.รัฐธรรมนูญ คุ้มครองสัญญาสัมปทานเดิม พร้อมเรียกร้องสังคมตรวจสอบการเคลื่อนไหวทรูมูฟ กับทรู ที่ด้านหนึ่งเรียกร้องส่วนแบ่งแอ็คเซ็สชาร์จ 9 พันล้าน แต่ด้านหนึ่งเรียกร้องไม่จ่ายแอ็คเซ็สชาร์จ ชี้ประเด็นหากรัฐต้องการเห็นธุรกิจมือถือแข่งขันเท่าเทียมและเป็นธรรม ไม่ใช่มีแค่เรื่องเอซี ไอซี แต่ต้องจัดการเรื่องคลื่นความถี่ด้วยหลังไร้ปฏิกิริยาตอบสนองจากรัฐทั้งๆที่มีการเปิดเผยเรื่องการเซ็งลี้ความถี่ก่อนหน้านี้
       
       นายพรชัย มีมาก พนักงานบริษัท ทีโอที ในฐานะกลุ่มพลังก้าวหน้าพัฒนาทศท. กล่าวว่าได้ยื่นหนังสือถึงม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมาเพื่อนำเสนอข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและเพื่อพัฒนาธุรกิจโทรคมนาคม หลังจากที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ ซึ่งทั้ง 2 บริษัทเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ภายใต้สัญญาร่วมการงานกับบริษัท กสท โทรคมนาคม ออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมเพราะไม่สามารถมีภาระต้นทุนเพิ่มจากการจ่ายค่าเชื่อมโครงข่าย หรืออินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ (ไอซี) ตามประกาศของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) พร้อมกับการจ่ายค่าใช้โครงข่ายหรือแอ็คเซ็สชาร์จ(เอซี) ให้ทีโอที ตามสัญญาร่วมการงานที่ต้องจ่ายให้ทีโอทีในอัตราเลขหมายละ 200 บาทต่อเดือนในระบบโพสต์เพด และ 18% ของรายได้ในระบบพรีเพด
       
       “ผมเกรงว่าตอนนี้มีความเข้าใจเรื่องไอซี กับเอซี ที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง และเจตนารมณ์ของกฎหมายซึ่งผมเคยมีส่วนร่วมในการพิจารณากม.เกี่ยวกับด้านโทร-คมนาคมตอนเป็นกรรมาธิการวิสามัญ สภาผู้แทนราษฎร์ในช่วงปี 2542-2543 ในฐานะตัวแทนสหภาพฯ”
       
       ประเด็นค่าแอ็คเซ็สชาร์จ ที่ทีโอทีต้องเรียกเก็บจากดีแทคและทรูมูฟที่เป็นบริษัท ร่วมการงานกับกสท นั้นเป็นเพราะในช่วงต้นของการให้บริการในด้านของกสท โทรศัพท์มือถือมิได้มีเลขหมายประจำแบบในปัจจุบันในการติดต่อสื่อสารถึงกันระหว่างโทรศัพท์มือถือกับโทรศัพท์ประจำที่หรือโทรศัพท์บ้านซึ่งให้บริการโดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ในขณะนั้น)  การติดต่อสื่อสารจะต้องใช้วิธีการต่อให้จากศูนย์กลางของโทรศัพท์มือถือ โดยศูนย์กลางของโทรศัพท์มือถือจะมีการติดตั้งเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่เอาไว้เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อโทรศัพท์ประจำที่ทั่วประเทศ
       
       ต่อมาเมื่อมีการใช้งานโทรศัพท์มือถือมากขึ้น จึงทำให้ปริมาณเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่ ซึ่งใช้เป็นเป็นช่องทางในการติดต่อมีไม่เพียงพอ และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาองค์การโทรศัพท์ฯ จึงให้ความร่วมมือกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ในขณะนั้น ด้วยการกำหนดเลขหมายประจำเครื่องให้กับโทรศัพท์มือถือที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเลขหมายต่างๆที่กำหนดให้นั้นจะมีรหัสนำหน้า (01) ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าว องค์การโทรศัพท์ฯ จะมีภาระค่าใช้จ่ายด้านเทคนิคของอุปกรณ์ต่างๆ ของชุมสายโทรศัพท์ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของค่าแอ็คเซ็สชาร์จเลขหมายละ 200 บาทต่อเดือน
       
       ส่วนกรณีของเอไอเอสนั้นเนื่องจากเป็นการดำเนินการภายใต้สัญญาร่วมการงานกับองค์การโทรศัพท์ฯ ซึ่งเอไอเอสก็มีการใช้เลขหมายโทรศัพท์มือถือภายใต้รหัส 01 เช่นเดียวกับการให้บริการของบริษัทคู่สัญญาของการสื่อสารฯ เพียงแต่องค์การโทรศัพท์ฯไม่ได้คิดค่าแอ็คเซ็สชาร์จเพราะเอไอเอสจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ทุกปีอยู่แล้ว
       
       “เดิมดีแทคใช้เลขหมายเดียวกับโทรศัพท์บ้าน ผู้ใช้บริการมือถือของดีแทครับสายเข้าก็เสียเงิน โทร.ออกก็เสียเงิน แต่เมื่อมาใช้รหัส 01 นำหน้า ทำให้ไม่ต้องเสียเงินตอนรับสายเข้า ซึ่งดีแทคก็รับรู้และยินดีจ่ายค่าแอ็คเซ็สชาร์จเลขหมายละ 200 บาทต่อเดือนให้องค์การโทรศัพท์ฯ”
       
       แต่อย่างไรก็ตามทั้งเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ ซึ่งทำสัญญาร่วมการงานกับองค์การโทรศัพท์ฯและการสื่อสารฯ ในลักษณะบีทีโอ หรือสร้างโครงข่ายเสร็จแล้วยกให้รัฐหลังจากนั้นจึงได้สิทธินำโครงข่ายไปให้บริการเพื่อให้เกิดรายได้และต้องมีหน้าที่จ่ายส่วนแบ่งให้รัฐ ซึ่งหมายถึงเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟไม่ได้เป็นเจ้าของโครงข่าย ตามสัญญาร่วมการงาน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเจ้าของโครงข่ายจะมีเพียงทีโอทีและกสทเท่านั้น ดังนั้นทุกบริษัทที่ร่วมให้บริการจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ทีโอทีตกลงสัญญากับกสท ซึ่งทุกบริษัทก็รับรู้ก่อนที่จะร่วมให้บริการ ดังนั้นการที่ดีแทคและทรูมูฟ เรียกร้องที่จะขอยกเลิกการจ่ายแอ็คเซ็สชาร์จนั้น จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง การจะเปลี่ยนแปลงใดๆควรเป็นเรื่องของทีโอทีกับกสท ซึ่งกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% ทั้ง 2 องค์กร
       
       นอกจากนี้ ถ้าพิจารณาเจตนารมณ์ของการแข่งขันโดยการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมนั้น ในข้อตกลงพันธะสัญญาที่รัฐบาลไทยทำไว้กับ WTO ไม่มีการเปิดเสรีโทรศัพท์มือถือและถ้าพิจารณาจากกม.รัฐธรรมนูญ 2540 บทเฉพาะกาล มาตรา 335(2) จะมีความชัดเจนว่าการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคมนั้น กฎเกณฑ์ต่างๆ จะบังคับใช้กับผู้ให้บริการรายใหม่ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีและยังมีการระบุอย่างชัดเจนถึงกม.ที่จะตราขึ้นใช้ต้องสอดคล้องกับกม.หลักคือบทบัญญัติมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ 2540 โดยต้องไม่กระทบกระเทือนถึงการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญา ซึ่งมีผลสมบูรณ์อยู่ในขณะนี้ กม. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับจนกว่าการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญานั้นจะสิ้นผล นั่นก็คือกฎ ระเบียบ ประกาศต่างๆ ที่ออกโดยอำนาจของกม.ที่ตราขึ้นต้องสอดคล้องกันด้วย
       
       ส่วนการที่ดีแทค ทรูมูฟและเอไอเอส ให้บริการภายใต้สิทธิแห่งสัญญาร่วมการงานในขณะนี้นั้น ไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นผู้ให้บริการรายใหม่ เพราะผู้ให้บริการรายใหม่ หมายถึงต้องได้รับใบอนุญาตและได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่จากกทช.เพื่อมาให้บริการ การที่ทรูมูฟ ดีแทค ออกมาเรียกร้องยกเลิกแอ็คเซ็สชาร์จเพราะไม่เป็นธรรมและต้องการมาใช้ไอซีก็เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่ผู้ให้บริการรายใหม่
       
       “สรุปได้ว่าเจ้าของโครงข่ายมีแค่ทีโอที กับ กสท และจากเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ บทเฉพาะกาล 335 (2) ที่คุ้มครองสัญญาสัมปทานที่มีอยู่ ทำให้พิจารณาได้ว่ากฎเกณฑ์ต่างๆ ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมอย่างค่าไอซี กำหนดไว้สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตใหม่เท่านั้น ผู้ประกอบการเดิมต้องเจรจากันเองไม่ใช่ร้องขอความเป็นธรรมในการแข่งขันของผู้รับสัมปทานที่มีที่มาแตกต่างกันระหว่างองค์กร และกทช.ประกาศใช้กฎระเบียบต่างๆ ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ทำให้เกิดความสับสนและเกิดช่องว่างในการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรของรัฐได้”
       
       นายพรชัยตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมกสทในฐานะเป็นผู้ให้สัมปทานดีแทคและทรูมูฟและเป็นองค์กรของรัฐจึงเพิกเฉยไม่สร้างความเข้าใจกับเอกชน ทำให้สาธารณะชนเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับทีโอที นอกจากนี้ ทรูมูฟซึ่งให้บริการโทรศัพท์มือถือและทรูผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานมีเจ้าของเป็นนิติบุคคลเดียวกัน มีการเคลื่อนไหวในเรื่องแอ็คเซ็สชาร์จเหมือนกัน แต่ต่างวัตถุประสงค์
       
       ก่อนที่ทรูมูฟจะเรียกร้องให้ยกเลิกแอ็คเซ็สชาร์จ ก่อนหน้านี้ทรูได้เรียกร้องส่วนแบ่งค่าแอ็คเซ็สชาร์จจากทีโอที ขณะนี้เรื่องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง เพราะการตัดสินในชั้นอนุญาโตตุลาการตัดสินให้ทีโอที ต้องจ่ายเงินให้ทรูมากกว่า 9 พันล้านบาท หลังจากนั้นทรูมูฟจึงเรียกร้องที่จะไม่จ่ายแอ็คเซ็สชาร์จ ทั้ง 2 กรณีเห็นได้ชัดว่าเอกชนทำธุรกิจเอาแต่ได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว ถ้าเสียประโยชน์จะไม่ยอม ทั้งๆ ที่เอกชนรู้เงื่อนไขตั้งแต่เริ่มต้นรับสัมปทาน แล้วว่าจะไม่ได้ส่วนแบ่งและต้องเสียค่าแอ็คเซ็สชาร์จ แต่ด้วยผลประโยชน์มหาศาล จึงทำให้มีการฟ้องร้องและผลการตัดสินกับข้อเท็จจริงเป็นที่คลางแคลงใจของสาธารณะชนจนทุกวันนี้
       
       “ผมอยากจะเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้ทีโอทีบ้าง สำหรับการตัดสินของอนุญาโตฯในช่วงระบอบทักษิณที่ผ่านมา”
       
       นายพรชัยกล่าวว่า หากรัฐจะพยายามแก้ไขเรื่องแอ็คเซ็สชาร์จ และเรื่องไอซีให้ได้ ก็ควรต้องพิจารณาในภาพรวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่มีความเหลื่อมล้ำกันด้วยอย่างกรณีเรื่องคลื่นความถี่ในย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทีโอทีได้รับจัดสรรน้อยกว่ากสท ในย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์
       
       “เข้าใจว่ามีการร้องเรียนเรื่องความถี่ที่ไม่เป็นธรรม แต่ทำไมเรื่องถึงเงียบไป รวมทั้งเรื่องการที่เอกชนเรียกรับผลประโยชน์ที่มิพึงได้จากเอกชนด้วยกันในเรื่องความถี่ ทำให้รัฐเสียหาย ก็ไม่มีการชี้แจง ธุรกิจโทรคมนาคมยังมีอะไรที่ลึกลับอยู่อีกมาก รัฐจะคิดแค่เรื่องไอซี เอซี ภาษีสรรพสามิตเท่านั้นยังไม่พอ ต้องคิดเรื่องคลื่นความถี่ด้วย”
 
 
 
Posted by นสพ.ผู้จัดการ on Tuesday, December 12, 2006 at 10:20 Comments (3)