เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => สนทนาภาษาปืน => ข้อความที่เริ่มโดย: bannok ที่ มกราคม 13, 2007, 03:07:34 PM



หัวข้อ: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: bannok ที่ มกราคม 13, 2007, 03:07:34 PM
ลูก 9mm,.45 จะมีวิธีเก็บยังไงครับถึงจะอยู่กับเราได้นานๆครับโดยที่ลูกไม่ด้านครับ เพราะถ้าลูกด้านเวลาซ้อมยิงก็คงไม่เป็นไรแต่ถ้าด้านในเวลาคับขันคงหมายถึงชีวิตเราเหมือนกัน ถ้าจะซื้อลูกบ่อยๆก็งบน้อยครับ จึงอยากทราบว่าจะเก็บยังไงดีที่โอกาสลูกจะด้านน้อยที่สุดครับ
ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: นายอันตราย ที่ มกราคม 13, 2007, 03:52:07 PM
อื่ม.....ผมใส่กล่องกันอากาศเข้าพร้อมซองกันชื้นหลายซองครับ เฉพาะลูกที่ต้องการเก็บครับ เพราะส่วนใหญ่ผมยิงหมดภายใน 2 เดือนทุกที จะเก็บแต่ลูกแปลก ๆ พวก ไฮดร้าช๊อก ลูกปลาย อะไรอย่างนั้นครับ

คำแนะนำแรกคือ เก็บให้ห่างไกลจากความชื้นให้ได้มากที่สุดครับ


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ห ม า ย จั น ท ร์ ที่ มกราคม 13, 2007, 04:25:31 PM
ใส่กล่อง พลาสติกครับกล่องละ 100 นัด ปิดสนินวางในตู้หรือลิ้นชักใส่ซองกันชื้นรอบๆสัก 2-3 ห่อ ;D


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: JJ-รักในหลวง ที่ มกราคม 13, 2007, 04:59:38 PM
ผมใส่ไว้ในถุงซิป  (หาซื้อจากโลตัส) และก็เก็บไว้ในกล่องกันชื้น (ในกล่องมีสารดูดความชื้น) ครับ


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: FUFUFUFU ที่ มกราคม 13, 2007, 07:21:44 PM
    เก็บนานขนาดไหนละครับ จขกท 2 เดือน 2 ปี หรือ 20 ปี
  ถ้าเก็บแค่ไม่เกิน 2-3 ปี ก็เอาใส่กล่องของมันที่มาแหละครับ เอาไว้ที่ลิ้นชักหรือในตู้ก็ได้
 ผมเชื่อว่าเอาออกมายิง ไม่มีด้านซักนัดครับ กลัวจะไม่ถึง 2 ปีด้วยซ้ำครับ เอาออกมายิงซ้อมมือหมด


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: thanit83 ที่ มกราคม 13, 2007, 07:42:56 PM
 ;D ;D เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น (อุณหภูมิห้องปกติ) ถ้ามีวัสดุดูดความชื้นด้วยก็จะดีมากครับ  ;D ;D


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: c.tong - รักในหลวง ที่ มกราคม 13, 2007, 07:50:11 PM
เคยเก็บลูก.38 ร้อยกว่าลูกใว้ในตู้กาลเวลาผ่านไป10ปีก็ยังสับแตกทุกนัดครับ


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: sigsax ที่ มกราคม 13, 2007, 08:21:00 PM
ใส่ถุงพลาสติก+ใส่ซองกันความชื้นครับ


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: kornkzj95 ที่ มกราคม 13, 2007, 09:13:07 PM
ใส่ในกล่องกระสุนเหล็กสีเขียวครับ  :)


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: e.k.1911 ที่ มกราคม 13, 2007, 09:18:25 PM
ใส่กล่อง ใส่ถุง ข้างในใส่สารกันความชื้น  ครับ
พวกไม่มีกล่อง ก็หากล่องใส่ ผมใช้กล่องไอศครีม ข้างในใส่สารกันความชื้น ครับ


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: cz83 ที่ มกราคม 13, 2007, 09:23:56 PM
เห็นด้วยกับคุณ jj  และ คุณ e.k.1911  ในการเก็บรักษา  แต่สำหรับผมซ้อมสัปดาห์ละ 1 กล่อง ( 50 นัด ) เลยไม่มีให้เก็บเท่าไหร่เลยครับ


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: G. BKK ที่ มกราคม 13, 2007, 09:33:18 PM
 ;) ผมเก็บ ไว้ในกล่องปรกติครับ ;D เอาซองกันชื้นจากขนม ห่อใหญ่วางไว้นิดหน่อย ;D ;D 


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ที่ มกราคม 14, 2007, 01:44:57 AM
ใส่กล่องอับอากาศ + สารดูดความชื้น

สารดูดความชื้น พวกที่ถุงเป็นกระดาษหรือเส้นใย สามารถทำให้กลับมาคงสภาพเดิมได้ด้วยการอบความร้อน จะในไมโครเวฟ หรือเตาอบ หรือจะตากแดดก็ได้ครับ พอไล่ความชื้นออกไปแล้ว ก็ทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้น


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ มกราคม 14, 2007, 01:56:27 AM
สารดูดความชื้น พวกที่ถุงเป็นกระดาษหรือเส้นใย สามารถทำให้กลับมาคงสภาพเดิมได้ด้วยการอบความร้อน จะในไมโครเวฟ หรือเตาอบ หรือจะตากแดดก็ได้ครับ พอไล่ความชื้นออกไปแล้ว ก็ทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้น
ความรู้ใหม่ครับ ว่าแต่ถามต่ออีกนิดมีบางคนเขาแกะถุงกระดาษออกนี่ได้หรือไม่ครับ เขาให้เหตุผลว่า มันดูดความชื่นได้ดีกว่า ไอ้ผมก็ งง ว่า จริงหรือ


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: babygun ที่ มกราคม 14, 2007, 01:56:52 AM
เก็บไว้ในที่แห้งและเย็นครับ ถ้าลูกแพงๆต้องการใช้ในบางภารกิจ ก็เก็บใส่กล่อง ใส่สารดูดความชื้น แล้วห่อด้วยถุงพลาสติกอีกทีก็พอครับ :VOV:


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ที่ มกราคม 14, 2007, 02:32:47 AM
ค่อยๆอบให้ความร้อนช้าๆ ครับเพื่อไล่น้ำออกไป ส่วนเรื่องแกะจากถุงนั้น ก็อาจทำได้ครับ เท่าที่เห็ฯคือพวกทำดอกไม้แห้ง จะใส่สารให้ท่วมครับ  แต่ถ้าใช้กับกระสุน น่าจะมีปัญหาเรื่องกระจัดกระจาย และถ้ามีผิวสัมผัสกับโลหะ ก็มีโอกาสที่สารดูดความชื้นจะคายความชื้นกลับออกมาได้ ยกเว้นว่าเป็นสารใหม่และมีการเปลี่ยนในเวลาที่เหมาะสม เพราะถ้าอุณภูมิบริเวณนั้นสูง และสารอุ้มน้ำไว้จนใกล้อิ่มตัว น้ำจะระเหยกลับออกมา  ทางที่ดีใส่ซองวางไว้ข้างๆก็พอแล้วครับ นานๆทีก็นำไปอบไล่ความชื้นสักครัง


จาก http://www.dud-d.com/type.htm ลองอ่านดูคร่าวๆครับ

ชนิดของสารดูดความชื้น

สารดูดความชื้นมีทั้งหมด 4 ประเภทดังนี้

1. ซิลิก้า เจล (Silica Gel)
ซิลิก้าเจลคือ สารสังเคราะห์ที่สกัดจากทรายขาวผสมกรดกำมะถันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซิลิกอน ไดออกไซด์ (Silicon Dioxide)
มีลักษณะเป็นเม็ดกลม โดยทั่วไป ซิลิก้าเจล จะมีลักษะณะเป็นโพรงมีรูพรุนทำให้มีพื้นผิวที่ใช้ในการดูดความชื้นเป็นจำนวนมาก
ประมาณ 800 ตารางเมตรต่อน้ำหนัก 1 กรัม หรือประมาณ 40 % ของน้ำหนักตัวเอง


ซิลิก้าเจล (Silica Gel) มี 3 ชนิดคือ

ชนิดเม็ดใส มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นตามที่กล่าวมาตอนต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแต่ละเม็ดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร

ชนิดเม็ดสีน้ำเงิน มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นเหมือนกับเม็ดใสทุกประการ เพียงแต่มีการเพิ่มสารชนิดพิเศษเพื่อตรวจวัด
ปริมาณความชื้นที่กักเก็บไว้ ทำให้ผู้ใช้รู้ว่ามีการเก็บความชื้นไว้ในปริมาณเท่าไร โดยจะแสดงเป็นสีน้ำเงินและสีชมพู
หากเม็ดที่แสดงเป็นสีน้ำเงิน หมายความว่า สารดูดความชื้นนั้นยังไม่ได้ใช้งานหรือแสดงว่ายังสามารถใช้งานได้ ส่วนเม็ด
ที่เป็นสีชมพูหรือสีม่วงอ่อน แสดงว่าหมดอายุในการใช้งาน ควรเปลี่ยน สารดูดความชื้นใหม่

ชนิดเม็ดทราย(Silica Sand) มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นเหมือนกับเม็ดใสทุกประการแตกต่างกันที่ ขนาดของเม็ดของสารดูด
ซึ่งสารดูดความชื้น ชนิดเม็ดทราย มีขนาดเล็กกว่า ชนิดเม็ดใส


2. เพาเวอร์ ดราย (Power Dry)
ผลิตจากดินไดอะตอมเมเชียล เอิธ์ท (ดินเบา) มีลักษณะคล้ายกรวดขนาดเล็กสีเทา หรือสีน้ำตาล ผ่านกระบวนการผลิตอย่าง
พิถีพิถัน จึงทำให้ ดิน Power Dry มีประสิทธิภาพในการดูดความชื้นได้สูงกว่า ซิลิก้าเจล เนื่องดิน Power Dry เป็นสารจาก
ธรรมชาติ จึงไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ภายในอนูของดิน Power Dry มีรูพรุนนับล้าน ๆ รู ทำให้มีประสิทธิภาพ
ในการดูดซับ และเก็บกักน้ำ ไว้ได้มากกว่า มีประสิทธิภาพ ในการดูดความชื้นได้ ประมาณ 50 % ของน้ำหนักตัวเอง
มีความเร็วในการดูดและคายความชื้นต่ำกว่าซิลิก้าเจล ทำให้ ดิน Power Dry เหมาะสำหรับใช้ในงานที่ต้องใช้ระยะเวลา นาน ๆ
เช่นการส่งสินค้าระหว่างประเทศ

3. อีโค ดราย ( Eco Dry )
ผลิตจากดินธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีรูพรุน ผ่านกระบวนการผลิต ทำให้สามารถดูดความชื้นได้ดี และต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ
การดูดความชื้น สูงกว่า ซิลิก้าเจล จุดเด่นของ สารดูดความชื้นชนิดนี้ คือ การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นตราย ต่อมนุษย์
สามารถดูดความชื้นได้ประมาณ 50 % ของน้ำหนักตัวเอง สารดูดความชื้นชนิดนี้ จึงเป็นที่นิยนกันแพร่หลายเกือบทุก อุตสาหกรรม
เช่น อาหาร ยา ข้าว ชา แกแฟ ตู้คอนเทนเนอร์ อุปกรณ์ อิเล็คทรอนิค คอมพิวเตอร์ หม้อแปลงไฟฟ้า ชิ้นส่วนยายยนต์ต่าง ๆ
อุตสาหกรรมเหล็ก ไม้ และ อื่น ๆที่ต้องการให้ สินค้า ปราศจาก ความชื้น

4. สารดูดความชื้นชนิดอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการดูดความชื้นน้อยกว่า 30 %

แคลเซี่ยมอ๊อกไซด์

เป็นสารดูดความชื้นที่ผลิตจากหินปูนที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้มากกว่า 28.5 % ของน้ำหนักตัวเอง มีลักษณะเป็นผงสีขาว
สารชนิดนี้มีคุณสมบัติเด่นในการดูดความชื้นได้ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ข้อด้อยของสารชนิดนี้คือระยะเวลาที่ใช้ในการ
ดูดความชื้นช้า เมื่อเปรียบเทียบกับสารชนิดอื่น ๆ และเมื่อมีการดูดความชื้นจนอิ่มตัว จะมีสภาพเป็นสารกึ่งเหลว

แคลเซียม ซัลเฟต (Calcium Sulfate, CaSo4) เป็นสาร ที่ได้จากแร่ยิปซั่ม โดยมีคุณสมบัติ ในการดูดความชื้น ค่อนข้างต่ำประมาณ
10% ของน้ำหนักตัวเอง เป็นสารที่ คงสถานะได้ดี ไม่เป็นพิษ และ ไม่กัดกร่อน

โมเลกุลลาร์ ซีฟ (Molecular Sieve) หรือ ที่เรียกว่า Synthetic Zeolite เป็นสารสังเคราะห์ ที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้น ที่ดีมากๆ
ภายใต้ ความชื้นสัมพัทธ์ รอบข้าง ในระดับต่ำ (10%-30%) โดยมีประสิทธิภาพ ในการดูดความชื้น ประมาณ 22% ของน้ำหนักตัวเอง
โครงสร้างพิเศษ ทำให้โมเลกุลลาร์ ซีฟ มีพื้นผิวสัมผัส ประมาณ 7-800 ตารางเมตร ต่อ 1 กรัม และ มีแรงดึงดูดความชื้น ที่สูงมาก
ข้อดีดังกล่าว ทำให้ปัญหา การคายความชื้น น้อยกว่าซิลิกา เจล และ มอนต์โมริลโลไนต์ เคลย์ เมื่ออุณหภูมิรอบข้างสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม
โมเลกุลลาร์ ซีฟ ยังไม่ได้รับ การรับรอง จากหน่วยงาน ของรัฐ ในการใช้งาน กับ อาหารและยา จึงทำให้สารชนิดนี้ ยังไม่แพร่หลายมากนัก

แคลเซียม ออกไซด์ (Calcium Oxide, CaO) หรือที่เรียกว่า Caustic Lime / Quick Lime เป็นสารที่มีคุณสมบัติ ในการดูดความชื้น
ได้มากกว่า 28.5% ของน้ำหนัก ตัวเอง สารชนิดนี้ มีคุณสมบัติเด่น ในการดูดความชื้น ที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ และ มีอัตราการคาย
ความชื้นที่ต่ำ เช่นเดียวกับ โมเลกุลลาร์ ซีฟ อย่างไรก็ตาม ความเร็ว ในการดูดความชื้น ค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับ สารชนิดอื่นๆ
และ จะกลายเป็น สารกึ่งเหลว (swell) เมื่อดูดความชื้น จนกระทั่งอิ่มตัว สารดูดความชื้นประเภทนี้ มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนสูง
(corrosive) ดังนั้น บรรจุภัณฑ์ของ สารดูดความชื้น ประเภทนี้ ต้องป้องกันไม่ให้สารดูดความชื้น หลุดรอดออกมาได้โดยเด็ดขาด





หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ มกราคม 14, 2007, 02:44:52 AM
ค่อยๆอบให้ความร้อนช้าๆ ครับเพื่อไล่น้ำออกไป ส่วนเรื่องแกะจากถุงนั้น ก็อาจทำได้ครับ เท่าที่เห็ฯคือพวกทำดอกไม้แห้ง จะใส่สารให้ท่วมครับ แต่ถ้าใช้กับกระสุน น่าจะมีปัญหาเรื่องกระจัดกระจาย และถ้ามีผิวสัมผัสกับโลหะ ก็มีโอกาสที่สารดูดความชื้นจะคายความชื้นกลับออกมาได้ ยกเว้นว่าเป็นสารใหม่และมีการเปลี่ยนในเวลาที่เหมาะสม เพราะถ้าอุณภูมิบริเวณนั้นสูง และสารอุ้มน้ำไว้จนใกล้อิ่มตัว น้ำจะระเหยกลับออกมา ทางที่ดีใส่ซองวางไว้ข้างๆก็พอแล้วครับ นานๆทีก็นำไปอบไล่ความชื้นสักครัง


จาก http://www.dud-d.com/type.htm ลองอ่านดูคร่าวๆครับ

ชนิดของสารดูดความชื้น

สารดูดความชื้นมีทั้งหมด 4 ประเภทดังนี้

1. ซิลิก้า เจล (Silica Gel)
ซิลิก้าเจลคือ สารสังเคราะห์ที่สกัดจากทรายขาวผสมกรดกำมะถันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซิลิกอน ไดออกไซด์ (Silicon Dioxide)
มีลักษณะเป็นเม็ดกลม โดยทั่วไป ซิลิก้าเจล จะมีลักษะณะเป็นโพรงมีรูพรุนทำให้มีพื้นผิวที่ใช้ในการดูดความชื้นเป็นจำนวนมาก
ประมาณ 800 ตารางเมตรต่อน้ำหนัก 1 กรัม หรือประมาณ 40 % ของน้ำหนักตัวเอง


ซิลิก้าเจล (Silica Gel) มี 3 ชนิดคือ

ชนิดเม็ดใส มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นตามที่กล่าวมาตอนต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแต่ละเม็ดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร

ชนิดเม็ดสีน้ำเงิน มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นเหมือนกับเม็ดใสทุกประการ เพียงแต่มีการเพิ่มสารชนิดพิเศษเพื่อตรวจวัด
ปริมาณความชื้นที่กักเก็บไว้ ทำให้ผู้ใช้รู้ว่ามีการเก็บความชื้นไว้ในปริมาณเท่าไร โดยจะแสดงเป็นสีน้ำเงินและสีชมพู
หากเม็ดที่แสดงเป็นสีน้ำเงิน หมายความว่า สารดูดความชื้นนั้นยังไม่ได้ใช้งานหรือแสดงว่ายังสามารถใช้งานได้ ส่วนเม็ด
ที่เป็นสีชมพูหรือสีม่วงอ่อน แสดงว่าหมดอายุในการใช้งาน ควรเปลี่ยน สารดูดความชื้นใหม่

ชนิดเม็ดทราย(Silica Sand) มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นเหมือนกับเม็ดใสทุกประการแตกต่างกันที่ ขนาดของเม็ดของสารดูด
ซึ่งสารดูดความชื้น ชนิดเม็ดทราย มีขนาดเล็กกว่า ชนิดเม็ดใส


2. เพาเวอร์ ดราย (Power Dry)
ผลิตจากดินไดอะตอมเมเชียล เอิธ์ท (ดินเบา) มีลักษณะคล้ายกรวดขนาดเล็กสีเทา หรือสีน้ำตาล ผ่านกระบวนการผลิตอย่าง
พิถีพิถัน จึงทำให้ ดิน Power Dry มีประสิทธิภาพในการดูดความชื้นได้สูงกว่า ซิลิก้าเจล เนื่องดิน Power Dry เป็นสารจาก
ธรรมชาติ จึงไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ภายในอนูของดิน Power Dry มีรูพรุนนับล้าน ๆ รู ทำให้มีประสิทธิภาพ
ในการดูดซับ และเก็บกักน้ำ ไว้ได้มากกว่า มีประสิทธิภาพ ในการดูดความชื้นได้ ประมาณ 50 % ของน้ำหนักตัวเอง
มีความเร็วในการดูดและคายความชื้นต่ำกว่าซิลิก้าเจล ทำให้ ดิน Power Dry เหมาะสำหรับใช้ในงานที่ต้องใช้ระยะเวลา นาน ๆ
เช่นการส่งสินค้าระหว่างประเทศ

3. อีโค ดราย ( Eco Dry )
ผลิตจากดินธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีรูพรุน ผ่านกระบวนการผลิต ทำให้สามารถดูดความชื้นได้ดี และต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ
การดูดความชื้น สูงกว่า ซิลิก้าเจล จุดเด่นของ สารดูดความชื้นชนิดนี้ คือ การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นตราย ต่อมนุษย์
สามารถดูดความชื้นได้ประมาณ 50 % ของน้ำหนักตัวเอง สารดูดความชื้นชนิดนี้ จึงเป็นที่นิยนกันแพร่หลายเกือบทุก อุตสาหกรรม
เช่น อาหาร ยา ข้าว ชา แกแฟ ตู้คอนเทนเนอร์ อุปกรณ์ อิเล็คทรอนิค คอมพิวเตอร์ หม้อแปลงไฟฟ้า ชิ้นส่วนยายยนต์ต่าง ๆ
อุตสาหกรรมเหล็ก ไม้ และ อื่น ๆที่ต้องการให้ สินค้า ปราศจาก ความชื้น

4. สารดูดความชื้นชนิดอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการดูดความชื้นน้อยกว่า 30 %

แคลเซี่ยมอ๊อกไซด์

เป็นสารดูดความชื้นที่ผลิตจากหินปูนที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้มากกว่า 28.5 % ของน้ำหนักตัวเอง มีลักษณะเป็นผงสีขาว
สารชนิดนี้มีคุณสมบัติเด่นในการดูดความชื้นได้ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ข้อด้อยของสารชนิดนี้คือระยะเวลาที่ใช้ในการ
ดูดความชื้นช้า เมื่อเปรียบเทียบกับสารชนิดอื่น ๆ และเมื่อมีการดูดความชื้นจนอิ่มตัว จะมีสภาพเป็นสารกึ่งเหลว

แคลเซียม ซัลเฟต (Calcium Sulfate, CaSo4) เป็นสาร ที่ได้จากแร่ยิปซั่ม โดยมีคุณสมบัติ ในการดูดความชื้น ค่อนข้างต่ำประมาณ
10% ของน้ำหนักตัวเอง เป็นสารที่ คงสถานะได้ดี ไม่เป็นพิษ และ ไม่กัดกร่อน

โมเลกุลลาร์ ซีฟ (Molecular Sieve) หรือ ที่เรียกว่า Synthetic Zeolite เป็นสารสังเคราะห์ ที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้น ที่ดีมากๆ
ภายใต้ ความชื้นสัมพัทธ์ รอบข้าง ในระดับต่ำ (10%-30%) โดยมีประสิทธิภาพ ในการดูดความชื้น ประมาณ 22% ของน้ำหนักตัวเอง
โครงสร้างพิเศษ ทำให้โมเลกุลลาร์ ซีฟ มีพื้นผิวสัมผัส ประมาณ 7-800 ตารางเมตร ต่อ 1 กรัม และ มีแรงดึงดูดความชื้น ที่สูงมาก
ข้อดีดังกล่าว ทำให้ปัญหา การคายความชื้น น้อยกว่าซิลิกา เจล และ มอนต์โมริลโลไนต์ เคลย์ เมื่ออุณหภูมิรอบข้างสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม
โมเลกุลลาร์ ซีฟ ยังไม่ได้รับ การรับรอง จากหน่วยงาน ของรัฐ ในการใช้งาน กับ อาหารและยา จึงทำให้สารชนิดนี้ ยังไม่แพร่หลายมากนัก

แคลเซียม ออกไซด์ (Calcium Oxide, CaO) หรือที่เรียกว่า Caustic Lime / Quick Lime เป็นสารที่มีคุณสมบัติ ในการดูดความชื้น
ได้มากกว่า 28.5% ของน้ำหนัก ตัวเอง สารชนิดนี้ มีคุณสมบัติเด่น ในการดูดความชื้น ที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ และ มีอัตราการคาย
ความชื้นที่ต่ำ เช่นเดียวกับ โมเลกุลลาร์ ซีฟ อย่างไรก็ตาม ความเร็ว ในการดูดความชื้น ค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับ สารชนิดอื่นๆ
และ จะกลายเป็น สารกึ่งเหลว (swell) เมื่อดูดความชื้น จนกระทั่งอิ่มตัว สารดูดความชื้นประเภทนี้ มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนสูง
(corrosive) ดังนั้น บรรจุภัณฑ์ของ สารดูดความชื้น ประเภทนี้ ต้องป้องกันไม่ให้สารดูดความชื้น หลุดรอดออกมาได้โดยเด็ดขาด




ขอบคุณครับ และต้องรีบเตือนเพราะเขาเอาสารดูดความชื่นไปใช้ร่วมกับการเก็บพระ(ล่าสุดเอาไปใส่พระผง และพระเนื้อตะกั่วขึ้นสนิมแดง)............มีหวั่งถ้ามันคายความชื่นกลับมาละ อิ๋บอ่ายแน่ ๆ ครับ


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ขี้เมา เล่นปืน ที่ มกราคม 17, 2007, 07:14:51 PM
ใช้ยาทาเล็บทาที่ท้ายลูกปืนบางๆตรงจอกแก๊ป สีแดงก็ดีชัดเจนครับ


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: โทน73 -รักในหลวง- ที่ มกราคม 17, 2007, 07:47:26 PM
ผมฝากเขาเก็บครับ ฝากไว้แถวๆหลังวัง  แล้วค่อยทะยอยไปเบิกมาที่ละ กล่อง ครึ่งกล่อง ... ;D


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: สตางค์ ที่ มกราคม 17, 2007, 08:04:04 PM
ผมเอาใส่ตู้ดูดความชื้นความคุมอัตโนมัตแบบที่เอาไว้เก็บกล้องถ่ายรูปครับ ควบคุมความชื้นไว้ที่ 40-45% แต่ก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะเก็บเอ้าไว้ได้นานขนาดไหนเพราะเอามายิงหมดก่อนทุกที ;D


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: makarms ที่ มกราคม 17, 2007, 08:20:33 PM
ใช้ยาทาเล็บทาที่ท้ายลูกปืนบางๆตรงจอกแก๊ป สีแดงก็ดีชัดเจนครับ
เหมือนกันเลยครับ ;D ;D


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ มกราคม 17, 2007, 08:37:35 PM
 :).. ของผมง่าย ง่ายครับ.
      ขวดน้ำพลาสติก ที่ใช้แล้วทิ้ง. หรือขวดนม เลือกเอาอย่างที่หนา

      เทกระสุนขวดละ ๕๐ นัด  แล้วปิดปากขวด ..
      เวลาจะใช้ ก็จับโยน ใส่ท้ายรถ..  ;D
 
      เก็บกระสุนให้พ้นจากน้ำมัน ทุกชนิด ..
      กระสุนปืนสั้น ลูกจริง  ตั้งแต่ยิงมาตั้งแต่นัดแรก จนบัดเดี๋ยวนี้  ;D
      ไม่เคยด้านสักนัด
      เว้นแต่ .๓๘ หัวตะกั่ว.. เคย ๒-๓ นัด  ครับ.  :)
     


หัวข้อ: Re: เก็บลูกปืนยังไงดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: นาจา™รักในหลวง ที่ มกราคม 17, 2007, 08:48:35 PM
....ใช้...ไม่ค่อยเหลือเก็บครับ.... ;D

ที่มีอยู่ลังสองลัง ก็เก็บอุณหภูมิปกติแหล่ะครับ
หากนานหน่อยก็ใช้ถุงกันชื้นใส่ไว้หน่อย....แต่ไม่นาน หมดซะก่อน ;D