หัวข้อ: ช่วยกันวางโครงสร้างอนาคตประเทศกันครับ เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2007, 02:23:27 AM [2 ก.พ. 50 - 18:59]
กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เริ่มแล้ว แต่ร่างเสร็จ...ประกาศใช้...จัดให้มีการเลือกตั้ง...ประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ บ้านเมืองจะสงบเรียบร้อยได้แค่ไหน? นักการเมืองจะไม่โกงกิน การเลือกตั้งจะบริสุทธิ์ยุติธรรม ปราศจากการซื้อขายเสียง คนต่างจังหวัดเลือกมาแล้ว คนเมืองไม่พอใจประท้วงขับไล่ รวมทั้งแก้ปัญหาซื้อเสียงรูปแบบใหม่ ที่วันนี้นักการเมืองทุกพรรคอยากเลียนแบบรัฐบาลทักษิณ เอาเงินภาษี งบประมาณซื้อเสียงผ่านนโยบายประชานิยม เพราะเห็นผลช่วยให้ได้รับความนิยมได้ไม่เสื่อมคลาย แม้จะโกงจะกิน แต่ขอให้มีของมีเงินทุ่มแจก...คนชนบทรับได้และปลาบปลื้ม นี่คือ...ปัญหาท้าทายของการร่างกติกาประชาธิปไตยใหม่ ไม่เพียงต้องแก้ปัญหาสะสมเก่าๆ ยังต้องแก้ปัญหาใหม่ ที่ทำให้พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทยเปลี่ยนไปในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนรัฐธรรมนูญที่กำลังยกร่าง...สังคมไทยไม่อาจจะฝากความหวังอะไรได้ แค่เริ่มต้น กรอบแนวคิดผู้เกี่ยวข้องในการยกร่างยังวนเวียนอยู่กับปัญหาเดิมๆ...ส.ส.จะมีกี่คน, นายกรัฐมนตรีจะมาจากไหน เลือกตั้งหรือคนนอกก็เป็นได้, ส.ว.น่าจะมาจากการแต่งตั้ง ฯลฯ 30-40 ปีที่แล้ว คิดยังไง...วันนี้...ก็ยังคิดอย่างนั้น เมื่อคิดได้แค่นี้ ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะออกมายังไง สุดท้ายปัญหาก็อยู่ในวังวนเดิม...เลือกตั้ง-นักการเมืองคอรัปชัน-ชุมนุมประท้วงขับไล่-ปฏิวัติ รัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แล้ววนกลับไปสู่การเลือกตั้ง หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ เนื่องจากประชาธิปไตยของไทยมีปัญหาสำคัญ ที่ยังแก้ไม่ได้ นั่นก็คือ...การเลือกตั้งของเราไม่มีคุณภาพ หรือพูดตรงๆอีกนัย...คนไทยส่วนใหญ่มีคุณภาพไม่พร้อมในการใช้สิทธิเลือกตั้ง " เลือก ส.ส. ส.ว. ให้ได้คนดี มีคุณภาพ คนไทยยังเลือกไม่ได้ ด้วยคนไทยบางส่วนยังเห็นแก่อามิสสินจ้าง " นี่คือปัญหาหลักของประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งมีอายุเกือบจะครบ 75 ปี เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะการร่างรัฐธรรมนูญที่แล้วมา ตั้งโจทย์ผิด ไม่ตรงความเป็นจริงในวิถีทางการเมือง ที่ผ่านมาตั้งโจทย์ มองประชาธิปไตยมีการเลือกตั้ง...เลือกตั้ง ส.ส. ไปทำหน้าที่นิติบัญญัติ ร่างกฎหมายดูแลทุกข์ของประชาชน จริงๆแล้ว...ชาวบ้านเลือก เพราะต้องการให้ ส.ส.ทำหน้าที่นี้จริงหรือไม่? และตัว ส.ส.ที่ชาวบ้านเลือกไปนั้น ตั้งใจอาสาที่จะเข้าไปทำหน้าที่นี้ จริงหรือเปล่า คำตอบทุกคนรู้ดี...สิ่งเหล่านี้เป็นแค่เรื่องเพ้อฝัน เป็นแค่หลักการ คำพูดที่สวยหรูเท่านั้น พฤติกรรมเลือกตั้งของคนไทยที่แท้จริงในวันนี้นั้น...ชาวบ้านเลือก ส.ส. เพราะต้องการให้ ส.ส.ช่วยเหลือในเกือบทุกๆเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการทำหน้าที่นิติบัญญัติเลย รวมทั้งเลือกเพื่อ ส.ส.จะได้หางบประมาณมาพัฒนาหมู่บ้าน สร้างโน้น สร้างนี่ ส.ส.ที่ชาวบ้านเลือกไปก็...ไม่ได้ตั้งใจอาสาที่เข้าไปร่างกฎหมายแต่อย่างใดหากต้องการเข้าไปเป็นรัฐบาล เป็นรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี เพื่อจะได้ มีอำนาจในการเอาเงินภาษีมาใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์กับพวกตัวเอง นักการเมืองทุกระดับ ตั้งแต่ล่างสุดจนสูงสุด อบต. เทศบาล อบจ. รัฐบาล...ล้วนแต่ต้องการได้อำนาจตรงนี้ทั้งสิ้น ไม่เพียงแต่นักการเมือง...ข้าราชการทุกหมู่เหล่า ตำรวจ ทหาร ข้าราชการพลเรือน ต่างต้องการอำนาจที่จะเอาเงินภาษีนี้ไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของตัวเอง เมื่อความเป็นจริงเป็นเช่นนี้ โจทย์ร่างรัฐธรรมนูญ เลือกตั้งตัวแทนประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ในสภา จำเป็นต้องยึดหลัก... เลือกเข้าไปเพื่อทำหน้าที่ปกป้อง ควบคุม ดูแลการใช้จ่ายเงินภาษีอากร ที่จะนำมาจัดทำงบประมาณผู้ที่จะทำหน้าที่นี้ได้ดีที่สุด...เจ้าของเงิน หรือคนเสียภาษี ฉะนั้น กฎกติการัฐธรรมนูญ ที่จะทำให้การเลือกตั้งมีคุณภาพ สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมือง ตัวแทนที่จะเข้าไปทำหน้าที่ในสภา จะต้องมาจากฐานการเสียภาษี ประชากรในพื้นที่มีการเสียภาษีสูง... ย่อมต้องมีตัวแทนเข้าไปปกป้องภาษีมากตามสัดส่วนการเสียภาษี ไม่ใช่กฎกติกาเดิมๆที่คิดจากฐานเลือกตั้ง เพื่อหาตัวแทนมาทำหน้าที่นิติบัญญัติ ถ้าการเมืองมีเป้าหมายแค่เพียงเลือกตั้งตัวแทน เข้าไปทำหน้าที่ออกกฎหมายใช้บังคับประชาชนโดยเท่าเทียม... การให้สิทธิประชาชนมีตัวแทนตามสัดส่วนจำนวนประชากร ตามกติกาแบบเดิมๆเหมือนที่ผ่านมา ย่อมเป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบด้วยเหตุผล แต่ในโลกความเป็นจริงของการเมือง การออกกฎหมายเป็นแค่เรื่องรอง... การหาประโยชน์จากเงินภาษีเป็นเป้าหมายหลัก ฉะนั้น กฎกติกาที่จะแก้ปัญหาการเมืองไทย จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิด... จำนวนตัวแทนที่จะเข้าปกป้องเงินภาษี จะต้องคิดจากฐานการเสียภาษี แต่คนไทย สังคมไทย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ... จะรับความจริงในประเด็นนี้ได้หรือ? การให้คนเสียภาษีมากมีตัวแทนได้มาก ไม่ใช่เรื่องแปลกของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด ความจริงแล้วเป็นรากฐานดั้งเดิมของการเมืองแบบประชาธิปไตยด้วยซ้ำไป ประชาธิปไตยรุ่นแรก ยุคกรีกโบราณก็ใช้แบบนี้ ถึงจะเป็นประชาธิปไตยโดยตรง แต่ไม่ใช่ว่าเป็นพลเมืองกรีกแล้วจะได้เข้าไปนั่งในสภากันทุกคน คนที่จะเข้าไปนั่งในสภาได้ จะมีแค่ผู้ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นเจ้าของที่ดิน มีที่ดินเป็นของตัวเอง คนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ เปรียบกับสมัยนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับให้สิทธิคนเสียภาษีเข้าไปนั่งในสภา รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ภาคีสมาชิกสาขารัฐศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน ยังได้ยกตัวอย่าง ประชาธิปไตยในอังกฤษที่คนไทย ไปลอกแบบมาใช้ในบ้านเราให้เห็นด้วยว่า...ก็มีรากฐานไม่ต่างกัน แรกเริ่มเดิมทีของการมีสภาคอมมอน สภาสามัญ หรือสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษ คนที่มีสิทธิเลือก ส.ส.เข้าไปนั่งในสภานอกจากจะต้องเป็นเจ้าของที่ดินแล้ว ยังจะต้องมีประวัติเสียภาษีให้รัฐด้วย พูดง่ายๆ ไม่มีที่ดิน ไม่ได้จ่ายภาษีให้รัฐ ไม่มีสิทธิได้เลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ในสภา รากฐานของระบอบประชาธิปไตยของฝรั่ง ที่เราไปลอกแบบมา ล้วนแต่มีพื้นฐานมาจากการให้สิทธิเฉพาะเจ้าของที่ดินหรือผู้ที่เสียภาษี จากนั้นก็ค่อยพัฒนามาให้สิทธิเฉพาะผู้ชาย พัฒนาเพิ่มสิทธิให้กับทาสผู้ชาย แล้วพัฒนามาให้สิทธิกับผู้หญิง การให้สิทธิเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ล้วนแต่การพัฒนามาเป็นขั้นเป็นตอน การที่จะได้สิทธิมาก็ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ ผ่านการต่อสู้เรียกร้องมาเป็นเวลานานทั้งสิ้น ไม่เหมือนกับประชาธิปไตยของไทย ที่มาจากพื้นฐานความไม่พร้อม ไม่รู้อะไรเลย จากเดิมทีเราปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แล้วเปลี่ยนมาเป็นประชาธิปไตยแบบฉับพลันทันที ให้สิทธิกับประชาชนที่ไม่พร้อม ไม่รู้เลยว่าประชาธิปไตยคืออะไร...เลือกตั้งไปทำอะไร...เพื่ออะไรก็ยังไม่รู้ ประชาชนไม่พร้อม ถูกอ้างเป็นเครื่องมือในการเข้ามาหาประโยชน์จากเงินภาษี ส่งผลให้ประชาธิปไตยของเรา ล้มลุกคลุกคลานมาจนถึงทุกวันนี้ http://www.thairath.co.th/news.php?section=hotnews02&content=35472 หัวข้อ: Re: ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปฏิวัติสิทธิผู้เสียภาษี เริ่มหัวข้อโดย: joonjan ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2007, 08:52:46 PM ขนาดเลือกประธานก็เริ่มชั่วกันแล้วจะไปหวังอะไรนักหนากับกลุ่มคนชั่ว
ถ้าไม่อยากให้ ส.ส.ซื้อเสียงต้องไม่ให้ ส.ส.เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเงินงบประมาณ ให้ ส.ส.มีหน้าที่บัญญัติกฏหมายออกมาใช้ แล้วรับเงินเดือนเพียงอย่างเดียวก็พอ ส่วนเรื่องเงินงบประมาณให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังเขาเป็นผู้บริหารเอง ถ้า ส.ส.ไม่หวังเข้าไปกอบโกยโกงกินผลประโยชน์ของประเทศชาติ คงไม่กล้าทุ่มเงินซื้อเสียงหรอก อยากรู้จริงๆว่าคนที่จะอาสามาเป็นผู้แทนให้กับประชาชนอย่างจริงใจจะมีใหม คงจะไม่มีใครลงสมัครเป็น ส.ส.ออกมาแหกปากหาเสียงเพื่อให้ประชาชนมีความอยู่ดีมีสุขอีกต่อไป หัวข้อ: Re: ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปฏิวัติสิทธิผู้เสียภาษี เริ่มหัวข้อโดย: E_mail ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2007, 09:04:34 PM [2 ก.พ. 50 - 18:59] ฉะนั้น กฎกติการัฐธรรมนูญ ที่จะทำให้การเลือกตั้งมีคุณภาพ สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมือง ตัวแทนที่จะเข้าไปทำหน้าที่ในสภา จะต้องมาจากฐานการเสียภาษี ประชากรในพื้นที่มีการเสียภาษีสูง... ย่อมต้องมีตัวแทนเข้าไปปกป้องภาษีมากตามสัดส่วนการเสียภาษี ฉะนั้น กฎกติกาที่จะแก้ปัญหาการเมืองไทย จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิด... จำนวนตัวแทนที่จะเข้าปกป้องเงินภาษี จะต้องคิดจากฐานการเสียภาษีให้สิทธิกับประชาชนที่ไม่พร้อม ไม่รู้เลยว่าประชาธิปไตยคืออะไร...เลือกตั้งไปทำอะไร...เพื่ออะไรก็ยังไม่รู้ http://www.thairath.co.th/news.php?section=hotnews02&content=35472 ผมเกลียดการซื้อ/ขายเสียง เกลียดสส.ที่ขายตัว....แต่ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ครับ คนที่งัดทฤษฏีนี้ขึ้นมาปลุกผีช่างเพ้อเจ้อสิ้นดี ติดนิสัยนักวิชาการนั่งเทียนคิดเองเออเองเป็นตุเป็นตะ คนแบบนี้ถ้าให้มีอำนาจในองค์กรไหนก็บรรลัยที่นั่น คอลัมบ์นิสต์ก็เหมือนกัน ถ้าผมเดินไปบอกว่าเงินเดือนเอ็งอย่างเก่งก็ไม่ถึงแสน แสดงว่าเอ็งมีค่าต่อระบอบประชาธิปไตย/มีศักดิ์ศรีในความเป็นคนไทยน้อยกว่าข้า.....มันจะรู้สึกยังไง? เสียชาติเกิดมารู้หนังสือจริงๆ >:( หัวข้อ: Re: ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปฏิวัติสิทธิผู้เสียภาษี เริ่มหัวข้อโดย: นายอันตราย ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2007, 01:56:15 AM :(
หัวข้อ: Re: ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปฏิวัติสิทธิผู้เสียภาษี เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ กุมภาพันธ์ 06, 2007, 05:08:02 PM [2 ก.พ. 50 - 18:59] ฉะนั้น กฎกติการัฐธรรมนูญ ที่จะทำให้การเลือกตั้งมีคุณภาพ สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมือง ตัวแทนที่จะเข้าไปทำหน้าที่ในสภา จะต้องมาจากฐานการเสียภาษี ประชากรในพื้นที่มีการเสียภาษีสูง... ย่อมต้องมีตัวแทนเข้าไปปกป้องภาษีมากตามสัดส่วนการเสียภาษี ฉะนั้น กฎกติกาที่จะแก้ปัญหาการเมืองไทย จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิด... จำนวนตัวแทนที่จะเข้าปกป้องเงินภาษี จะต้องคิดจากฐานการเสียภาษีให้สิทธิกับประชาชนที่ไม่พร้อม ไม่รู้เลยว่าประชาธิปไตยคืออะไร...เลือกตั้งไปทำอะไร...เพื่ออะไรก็ยังไม่รู้ http://www.thairath.co.th/news.php?section=hotnews02&content=35472 ผมเกลียดการซื้อ/ขายเสียง เกลียดสส.ที่ขายตัว....แต่ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ครับ คนที่งัดทฤษฏีนี้ขึ้นมาปลุกผีช่างเพ้อเจ้อสิ้นดี ติดนิสัยนักวิชาการนั่งเทียนคิดเองเออเองเป็นตุเป็นตะ คนแบบนี้ถ้าให้มีอำนาจในองค์กรไหนก็บรรลัยที่นั่น คอลัมบ์นิสต์ก็เหมือนกัน ถ้าผมเดินไปบอกว่าเงินเดือนเอ็งอย่างเก่งก็ไม่ถึงแสน แสดงว่าเอ็งมีค่าต่อระบอบประชาธิปไตย/มีศักดิ์ศรีในความเป็นคนไทยน้อยกว่าข้า.....มันจะรู้สึกยังไง? เสียชาติเกิดมารู้หนังสือจริงๆ >:( หัวข้อ: Re: ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปฏิวัติสิทธิผู้เสียภาษี เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ กุมภาพันธ์ 06, 2007, 05:19:45 PM รัฐธรรมนูญป้องภาษี เป็นได้..เลือกตั้ง ส.ว. [3 ก.พ. 50 - 18:31]
เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเกือบ 75 ปี...แต่ประชาธิปไตยไทยไปไม่ถึงไหน ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏจักรเดิมๆ...ร่างรัฐธรรมนูญใหม่-เลือกตั้ง-นักการเมืองขี้ฉ้อ-ชุมนุมประท้วงขับไล่-ปฏิวัติฉีกรัฐธรรมนูญ วนกลับมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และแทบทุกครั้งที่เกิดเหตุอย่างนี้...ประเด็นที่ถกเถียงกันไม่จบสิ้น ทำยังไงเราถึงจะได้นักการเมือง ส.ส. ส.ว. มีคุณภาพ จะให้มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกันดี ร่างรัฐธรรมนูญกันมาไม่รู้กี่ฉบับ ผ่านมาไม่รู้กี่สิบปี...ยังพูดเถียงเรื่องเดิมๆ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ปลายเหตุ...ปัญหาที่ต้นเหตุ วิธีการที่ทำให้ได้คนดีมีคุณภาพเข้าสู่แวดวงการเมืองได้ กลับไม่กล้าพูดฟันธงให้ตรงประเด็น เพราะหลักการที่ปฏิเสธไม่ได้ หนีไม่พ้น...หนทางได้อำนาจการเมืองปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยแบบทั่วโลก และคนไทยด้วยกันเองยอมรับอย่างสมานฉันท์ หนทางนั้น มีอยู่ประตูเดียว...เลือกตั้ง...วิธีอื่นไม่ต้องไปพูดถึง ตรงนี้ต่างหาก...เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไข ทำยังไงการเลือกตั้งจะได้มีคุณภาพ ได้คนมีคุณภาพเพื่อประชาธิปไตยจะได้เลิกวนเวียนอยู่ในวงจรแบบเดิมๆซะที การเลือกตั้งที่จะให้ผลเช่นนั้น...ผู้ใช้สิทธิต้องมีคุณภาพเหมือนกัน นี่คือความจริง และเป็นหลักการง่ายๆที่คนไทยบางส่วนไม่กล้ายอมรับ ถึงวันนี้เรากล้ายอมรับความจริง รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ถูกฉีก ถูกรื้อ... เราให้สิทธิเลือกตั้งพร่ำเพรื่อ และให้สิทธิแบบไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของการเมืองไทย เป็นที่รู้กัน...เป้าหมายหลักของนักการเมืองผู้อ้างตัว ขออาสาเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนในสภา ไม่ได้มีเจตนาเข้ามาทำหน้าที่นิติบัญญัติ ออกกฎหมายตามหลักการแต่อย่างใด แต่ตั้งใจเข้ามาเป็นรัฐบาล เป็นรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี เพื่อจะได้มีอำนาจในการเอาเงินภาษีมาใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์กับพวกตัวเอง ธรรมชาติความจริงของการเมืองเป็นเช่นนี้... แทนที่การกำหนดกติกาให้ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามสัดส่วนการเสียภาษี พื้นที่ไหนเสียภาษีมาก มีสิทธิมีตัวแทนเข้าไปปกป้อง ดูแลเงินภาษีในสภาได้มาก แต่รัฐธรรมนูญทุกฉบับ ไม่ได้นำสิ่งเหล่านี้มาใช้ให้สมเหตุสมผลและชอบธรรม... กลับให้สิทธิในแบบพื้นที่ไหนมีประชากรมาก ที่นั่นมีตัวแทนได้มาก ประชาธิปไตยเลยมีปัญหาล้มลุกคลุกคลานมาตลอด เลยคิดแก้ปัญหาแบบง่ายๆ ลดจำนวน ส.ส. หรือให้มี ส.ว. แต่งตั้งมาถ่วงดุล...ทั้งที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตย แม้กฎกติกาให้สิทธิเลือกตัวแทนตามสัดส่วนการเสียภาษี จะเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจก็ตาม แต่มีคำถามว่า มีหลักประกันอะไร ใช้กติกา แบบนี้แล้วจะทำให้การเลือกตั้งมีคุณภาพมากขึ้น ปัญหาเดิมๆจะหมดไป? พิสูจน์ได้จากการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ที่ศาลสั่งให้เป็นโมฆะมาเปรียบเทียบกับรายงานผลการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร พอจะเห็นภาพ...คุณภาพการเลือกตั้งเป็นอย่างไร เลือกตั้งครั้งนั้นแทบจะเรียกได้ว่า พรรคไทยรักไทย...ลงสมัครพรรคเดียว ผลการลงคะแนนเลยออกมาเป็นแบบ...รู้ทัน กับรู้ไม่ทันทักษิณ รู้ทัน...ลงคะแนนโนโหวต หรือไม่ประสงค์ลงคะแนน...รู้ไม่ทัน เลือกไทยรักไทย ได้ผลออกมาว่า กทม. ซึ่งมี ส.ส.ได้ 36 เขตเลือกตั้ง...มีคะแนนโนโหวตชนะมากถึง 27 เขต และถ้าเอาคะแนนบัตรเสียที่มีมากล้น แบบผิดสังเกตมารวมด้วย จะทำให้การเลือกตั้งใน กทม. มีคนรู้ทัน ไม่เลือก ส.ส.ไทยรักไทยมากถึง 29 เขตเลือกตั้ง หรือ 80% สอดคล้องกับรายงานการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร ปี 2548... สำนักงานสรรพากรทั้ง 12 ภาค เก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 7.94 แสนล้านบาท พื้นที่ กทม. สำนักงานสรรพากรภาค 1-3 เก็บได้ 4.73 แสนล้านบาท หรือ 59.7%...เป็นจังหวัดที่เก็บภาษีได้สูงที่สุดในประเทศ พื้นที่มีประชากรเสียภาษีสูงสุด...รู้ทันและไม่เลือกมากที่สุด พื้นที่เก็บภาษีได้รองลงมา สำนักงานสรรพากรภาค 6 อันประกอบด้วย 9 จังหวัดภาคตะวันออก...จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ตราด, นครนายก, ปราจีนบุรี, ระยอง, สระแก้ว และสมุทรปราการ เก็บภาษีได้ในสัดส่วน 21.9% พื้นที่นี้มี ส.ส.ได้ 35 เขตเลือกตั้ง...คะแนนโนโหวตชนะ 11 เขต และถ้าเอาบัตรเสียมารวมด้วย จะทำให้มีคนไม่เลือก เพราะรู้ทันถึง 19 เขตเลือกตั้ง หรือ 54% ถ้าคัดมาเฉพาะ 3 จังหวัดที่มีเศรษฐกิจดี เสียภาษีสูงอย่างจันทบุรี, ชลบุรี, ระยอง ที่มี ส.ส.ได้ 14 เขตเลือกตั้ง โนโหวตชนะ 10 เขต...ถ้ารวมบัตรเสียด้วย จะมีคนรู้ทันทุกเขตเลือกตั้งเลยทีเดียว ในทางกลับกันพื้นที่เสียภาษีน้อย...16 จังหวัดภาคเหนือ สรรพากรเก็บภาษีได้แค่ 2%...19 จังหวัดภาคอีสาน สรรพากรเก็บได้แค่ 1.9% ผลการลงคะแนน...ไทยรักไทยชนะขาดลอย ส่วนภาคใต้ 14 จังหวัด สรรพากรเก็บได้ 2.4% ไม่ขอพูดถึง เพราะเป็นกรณีพิเศษ ที่นำมาเปรียบเทียบไม่ได้ ทุกอย่างเห็นชัด...พื้นที่เสียภาษีมาก รู้ทันมาก การให้สิทธิเลือกตั้งตามสัดส่วนการเสียภาษี...การเลือกตั้งจะมีคุณภาพมากขึ้น โดยทฤษฎีแล้ว กฎกติกาการเลือกตั้งแบบนี้น่าจะเหมาะกับการเมืองไทย แต่ในทางปฏิบัติ รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ภาคีสมาชิกสาขารัฐศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน ให้ข้อคิด... คงนำมาใช้กับการเลือกตั้ง ส.ส.ของบ้านเราไม่ได้ ไม่ใช่ไม่ดี แต่เหตุผลมาจากการเลือกตั้ง ส.ส.ของบ้านเรา ใช้กฎกติกาเงื่อนไขให้สิทธิแบบเดิมมานานมาก จนเป็นวัฒนธรรมประเพณีของการเลือกตั้ง ส.ส.ไปแล้ว เราให้สิทธินี้กับชาวบ้านไปแล้ว จะเอาสิทธินั้นกลับคืนมาไม่ใช่เรื่องง่าย เหมือนอย่างที่เขาพูดกันว่า ของอะไรที่ให้เขาไป จะมาขอเอาคืนทีหลังชาวบ้านคงไม่ยอม แต่ก็ยังพอมีหนทางแก้ไข...ใช้กฎกติกาคิดตามสัดส่วนการเสียภาษี ส.ว.แทน เพราะการเลือกตั้ง ส.ว. เป็นของใหม่ ที่คนไทยยังไม่คุ้นเคย และการเลือกตั้ง ส.ว.ก็ยังดีกว่าการแต่งตั้ง ใช้กฎกติกาพื้นที่ไหนเสียภาษีมาก มี ส.ว.ได้มาก สามารถแก้ ข้อครหา สภาผัวเมียได้ สังเกตได้สภาผัวเมีย...มักจะเกิดในพื้นที่เสียภาษีน้อย การเลือกตั้งด้วยเงื่อนไขนี้ ยังสามารถแก้ปัญหาเรื่องการให้ ส.ว. สรรหาแต่งตั้งกรรมการองค์กรอิสระได้อีกด้วย เพราะสภาผัวเมียไม่ได้เกิด และ ส.ว.ด้อยคุณภาพมีน้อยลง และเพื่อให้สมเหตุสมผลมากขึ้น ควรเพิ่มอำนาจในการปกป้อง คุ้มครองดูแลเงินภาษีให้กับ ส.ว.ชุดใหม่...รัฐบาลจะเอางบประมาณไปใช้จ่ายทำอะไร ต้องขออนุมัติจากวุฒิสภา ไม่ใช่จากสภาผู้แทนฯเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจาก ส.ว.ชุดใหม่ มาจากรากฐานยึดโยงเป็นตัวแทนของผู้เสียภาษี ซึ่งเป็นเจ้าของเงินที่นักการเมืองจ้องจะไปถลุงใช้จ่าย ส่วนภาระหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายไม่จำเป็นต้องมี...คืนให้ ส.ส. จะรับไหมล่ะท่าน...เมื่ออำนาจหอมหวาน ดึงเงินภาษีมาถลุงหลุดลอยไป. http://www.thairath.co.th/news.php?section=hotnews02&content=35583 หัวข้อ: Re: ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปฏิวัติสิทธิผู้เสียภาษี เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ กุมภาพันธ์ 06, 2007, 05:55:13 PM ในประเด็นกำหนดสส.สว. จากฐานภาษีซึ่งประชากรในเขตฐานภาษีสูงก็จะมีการศึกษาสูงและจะไม่ชอบนักการเมืองที่โกงกินประเทศ แต่ถ้าเราทำอย่างนั้นช่องว่างทางสังคมก็จะเยอะขึ้น ความแบ่งเขาแบ่งเราก็จะเกิดในประเทศไทย แต่จะทำอย่างไรให้เราได้นักการเมืองที่มีคุณภาพนี่คือปัญหาที่แก้ได้ยากมากๆ เพราะคนในชนบทเราเลือกผู้แทนส่วนใหญ่ที่เป็นประเภทนั้นจริงๆ ยกตัวอย่าง จังหวัดสุพรรณบุรี และเชียงใหม่ แม้ว่านักการเมืองในจังหวัดนั้นโกงกินประเทศทำเลวกับประเทศอย่างไร ประชาชนในเขตเลือกตั้งนั้นก็ยังเลือกผู้แทนขาประจำคนนั้นอยู่ดีเพียงเพราะเชียงใหม่และสุพรรณเจริญ โดยการเบียดบังสัดส่วนงบประมาณส่วนอื่นของประเทศมาใช้ที่เชียงใหม่และสุพรรณ
เวลามาเลย์สิงค์โปร์เวียดนาม เจริญก้าวหน้า คนไทยจะคิดแต่ว่าเขามีผู้นำดี เราก็อยากมีผู้นำดีๆบ้าง แต่ผู้นำที่ดีก็ต้องมาจากการเลือกตั้งที่ดี การเลือกตั้งที่ดีก็ต้องมาจากประชาชนที่มีคุณภาพ แต่เราไม่สามารถทำให้การเลือกตั้งทุกส่วนของประเทศได้ผู้แทนที่มีคุณภาพได้หากยังจำนวนประชากรเป็นตัวตั้งในการกำหนดผู้แทน แต่ถ้าเราจะกำหนดการได้มาซึ่งผู้แทนจากการศึกษา หรือรายได้ ช่องว่างทางสังคมก็จะยิ่งเกิดรอยร้าวนี่เป็นปัญหาที่แก้ยากที่สุดของประเทศไทยครับ ช่วยๆกันออกความที่สามารถใช้จริงได้เกียวกับรธน.ใหม่หน่อยครับ ผมจะรวบนำเสนอผู้ใหญ่ให้เสนอในที่ประชุมสสร.ครับ ใครอยากได้อนาคตประเทศอย่างไรช่วยกันวางโครงสร้างประเทศกันเลยครับ หัวข้อ: Re: ช่วยกันวางโครงสร้างอนาคตประเทศกันครับ เริ่มหัวข้อโดย: A B A C U S รั ก ใ น ห ล ว ง ที่ กุมภาพันธ์ 06, 2007, 05:58:44 PM :VOV:
หัวข้อ: Re: ช่วยกันวางโครงสร้างอนาคตประเทศกันครับ เริ่มหัวข้อโดย: ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ที่ กุมภาพันธ์ 06, 2007, 07:01:58 PM กลับมาหาจุดเริ่มต้นก่อนครับว่าเราต้องการอะไร
ผู้ปกครอง หรือ การเลือกตั้ง .............เราต้องการผู้ปกครองที่ดีต่างหาก การเลือกตั้ง หรือ การแต่งตั้งเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้ผู้ปกครอง...... อ่านมาหลายๆกระทู้ เหมือนหลงทางไปยึดแค่ว่า เลือกตั้ง แต่งตั้ง หรือแม้แต่ รัฐประหาร จะเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง หรือ รัฐประหารก็ตามที ถ้าทำให้ได้บุคคลากรที่ดี ก็ไม่ได้มีความหมายใดๆเลยครับว่าจะมาจากแหล่งไหน แล้วจะทำยังไงให้มีวิธีการคัดกรองให้ได้บุคคลากรที่ดี .....นี่ต่างหากคือ.....หัวใจที่ต้องนำมาคิด อย่าคิดแค่ว่าเลือกตั้งแล้วจะจบ เพราะเรามีทั้งนักการเมือง นักเลือกตั้ง มีคนมีอุดมการณ์ มีคนแสวงหาผลประโยชน์ สุดท้ายแล้ว การกระทำของพวกเค้าเองจะเป็นตัวกำหนดว่า เค้าจะยืนอย่ที่ไหนบนผืนแผ่นดินไทย หัวข้อ: Re: ช่วยกันวางโครงสร้างอนาคตประเทศกันครับ เริ่มหัวข้อโดย: ..GlockGlack.. ที่ กุมภาพันธ์ 06, 2007, 07:18:07 PM การเมืองไทยกำลังจะเข้าอีหรอบเดิม คือเน้นที่ รูปแบบ และ วิธีการ แบบ สากล เพื่อให้ถึง เป้าหมาย ที่ คิดว่าจะเป็น
จะให้เป็นสากลได้อย่างไร? ในเมื่อระบบการคิดของคนไทยยังเป็นแบบนี้อยู่ค่อนประเทศ :P ทำตัวเหมือนเถรส่องบาตร ส่องมันทั้งที่ไม่รู้ว่าส่องทำไม รู้แต่ว่าพระท่านส่องก็ส่องบ้าง ประชาธิปไตยเดินมา 75 ปี ถ้าเป็นคนก็แก่จวนตายแล้ว นี่ยังต้องมุดกลับเข้าไปในท้องเพื่อทำคลอดใหม่อีก หัวข้อ: Re: ช่วยกันวางโครงสร้างอนาคตประเทศกันครับ เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ กุมภาพันธ์ 06, 2007, 07:53:42 PM การเมืองไทยกำลังจะเข้าอีหรอบเดิม คือเน้นที่ รูปแบบ และ วิธีการ แบบ สากล เพื่อให้ถึง เป้าหมาย ที่ คิดว่าจะเป็น จะให้เป็นสากลได้อย่างไร? ในเมื่อระบบการคิดของคนไทยยังเป็นแบบนี้อยู่ค่อนประเทศ :P ทำตัวเหมือนเถรส่องบาตร ส่องมันทั้งที่ไม่รู้ว่าส่องทำไม รู้แต่ว่าพระท่านส่องก็ส่องบ้าง ประชาธิปไตยเดินมา 75 ปี ถ้าเป็นคนก็แก่จวนตายแล้ว นี่ยังต้องมุดกลับเข้าไปในท้องเพื่อทำคลอดใหม่อีก มีคนนําความมั่งคั่งมาเรียงกัน สหรัฐอรับเอมิเรตส์รวยเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่ถ้าเป็นเรื่องมีนํ้ามันดิบสํารองมาก ก็เป็นลําดับ 2 ของโลกรองจากซาอุดีอาระเบียและอิรักเช่นเดียวกัน ถ้าถามถึงสํารองก๊าซธรรมชาติที่มีมากถึง 212 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ก็เป็นลําดับ 5 ของโลก เศรษฐกิจของรัฐอาบูดาบีกับรัฐดูไบมีที่มาแตกต่างกัน รัฐอาบูดาบีรวยเพราะขายนํ้ามันอย่างเดียว เฉพาะรัฐนี้ผลิตนํ้ามันได้ถึงวันละ 2.2 ล้านบาร์เรล ส่งออกมากถึงวันละ 2.1 ล้านบาร์เรล ส่วนรัฐดูไบถูกพัฒนาให้เป็นรัฐที่มีเขตเศรษฐกิจแบบเสรี หรือ Free Trade Zone แรกๆก็ยังไม่เท่าใดหรอกครับ แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ดูไบบูมมาก กลายเป็นโซนเศรษฐกิจเสรีที่มีขนาดใหญ่ลําดับ 5 ของโลก มีบริษัทต่างประเทศหอบเงินเข้าไปลงทุนมากกว่า 900 บริษัทแล้วในขณะนี้ แม้ว่าจะมีนํ้ามันมาก แต่สหรัฐอรับเอมิเรตส์ก็เร่งให้ประชาชน คนของตนทํามาหากินโดยไม่ต้องพึ่งพานํ้ามัน ด้วยความพยายามอย่างหนักและต่อเนื่องของรัฐบาล ผู้อ่านท่านเชื่อไหมครับ ว่า " ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เศรษฐกิจของประเทศนี้เปลี่ยนจากการส่งออกนํ้ามันเป็นหลัก มาเป็นจากภาคบริการเป็นหลัก " ถ้าผู้อ่านท่านนึกถึงสายการบินดีๆชั้นหนึ่งซักสายการบินหนึ่ง ท่านก็ต้องนึกสายการบินเอมิเรตส์ซึ่งครองอันดับ 1 ด้านการบริการของโลกมาเกือบทุกปี แหล่งทําเงินมหาศาลอีกแห่งหนึ่งก็คือท่าเรือที่ดียอดเยี่ยม ผมเรียนรับใช้ไปตั้งแต่เมื่อวานแล้ว ว่าสหรัฐอรับเอมิเรตส์มีท่าเรือขนาดใหญ่ตั้ง 9 แห่ง แต่ละแห่งก็ประสบความสําเร็จสุดยอดทั้งนั้น ใครจะเชื่อว่า ประเทศที่มีแต่ทะเลทรายจะพัฒนาผืน ทรายสุดลูกหูลูกตาให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆของโลกได้ อีก 3 ธุรกิจที่สหรัฐอรับเอมิเรตส์ประสบความสําเร็จอย่างมากก็คือ การธนาคาร การเงินและเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ผมไปสหรัฐอรับเอมิเรตส์หลายครั้ง แต่ละครั้งก็จะมีพลังจากตัวอย่างของการพัฒนาประเทศ ผู้นําประเทศนี้มองอนาคตไปได้ไกลมาก ทั้งๆที่นํ้ามันยังเลี้ยงผู้คนได้อีกตั้ง 100 ปี แต่รัฐบาลของสหรัฐอรับเอมิเรตส์ก็ไม่นิ่งดูดาย ฝึกฝนคนของตนให้เก่งทางด้านอื่น ตั้งแต่ พ.ศ.2543-2547 ในระยะ 5 ปีนี่ เป็นประเทศนี้ส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่นํ้ามันดิบได้มากถึง 52.3% ของการส่งออกทั้งหมด ทุกทีที่ราคานํ้ามันลดลงหลายประเทศที่ส่งออกนํ้ามันมีปัญหา แต่สหรัฐอรับเอมิเรตส์ไม่กระทบมาก ธรรมนูญแห่งสหรัฐอรับเอมิเรตส์กําหนด ให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งสหรัฐอรับเอมิเรตส์ แต่อํานาจการปกครองท้องถิ่นยังอยู่กับผู้ปกครองรัฐทั้งหลาย เรียนซะก่อนนะครับว่า ในสหรัฐอรับ- เอมิเรตส์ไม่มีพรรคการเมือง ไม่มีการเลือกตั้ง เมื่อดูโครงสร้างรัฐบาลก็เหมือนกับของรัฐบาลทั่วโลก แต่อํานาจปกครองของประเทศ ยังคงเป็นอํานาจที่สืบทอดกันมาตามประเพณี ขึ้นอยู่กับตระกูล ผู้ปกครองรัฐ องค์กรปกครองสูงสุดของสหรัฐอรับเอมิเรตส์คือ สภาสูงสุดแห่งรัฐ ที่ประกอบด้วยผู้ปกครองรัฐทั้งเจ็ด มีการประชุมปีละ 4 ครั้ง ทุกรัฐมีสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงเท่ากัน แต่รัฐอาบูดาบีและรัฐดูไบมีสิทธิ์วีโต้หรือยับยั้ง สภาสูงสุดแห่งรัฐนี่แหละครับ เป็นผู้คัดเลือกคนที่จะไปเป็นประธานาธิบดีของประเทศ ฝ่ายบริหารสูงสุดของประเทศคือ สภามนตรีแห่งรัฐ สภานี้ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นรัฐมนตรีที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ฝ่ายนิติบัญญัติ ก็คือ สมัชชาแห่งชาติ แต่ไม่มีบทบาท เป็นเพียงสภาที่ปรึกษา มีสมาชิก 40 คน แต่งตั้งมาจากประธานาธิบดีเช่นเดียวกับพวกรัฐมนตรี ฝ่ายตุลาการ หรือระบบยุติธรรมของประเทศนี้มีรากฐาน มาจากกฎหมายอิสลาม+กฎหมายประเพณี+กฎหมายตะวันตก คนที่ดูแลระบบยุติธรรมของสหรัฐอรับเอมิเรตส์ก็เป็นผู้ปกครองรัฐในแต่ละรัฐนั่นเอง. http://www.thairath.co.th/news.php?section=international01&content=35895 ใช่ครับเฮียกล็อกแกล็กระบบไหนก็ไม่สำคัญ สำคัญที่ต้องทำระบบให้ได้ผู้ปกครองที่ดีครับ uae ไม่มีการเลือกตั้ง ปกครองแบบราชาธิปไตย แต่พัฒนาประเทศจนรายได้สูงสุดของประเทศมาจากภาคบริการ การค้า ชนชาติเชื้อสายคอเคซอยเป็นชนชาติประหลาด มีผลประโยชน์ด้านน้ำมันการค้าและยุทธศาสตร์กับ ซาอุ uae ปากีสถาน แต่กับคบค้ากันสนิทสนม แต่เลือกปฏิบัติกับไทยอีกแบบครับ ตั้งแต่คณะราษฎร์ปฏิวัติ ประเทศไทยพัฒนาไปได้ช้ามากจนประเทศที่เคยล้าหลังเราอย่าง มาเลย์ไต้หวัน เกาหลีแซงหน้าเราไปหมดแล้วครับ อยากได้ประชาธิปไตยแต่ใช้ประชาธิปไตยกันไม่เป็นเลยครับ หัวข้อ: Re: ช่วยกันวางโครงสร้างอนาคตประเทศกันครับ เริ่มหัวข้อโดย: สตางค์ ที่ กุมภาพันธ์ 06, 2007, 10:36:24 PM :~) :~) :~)เคลียด เคลียด เคลียด :~) :~) :~)
หัวข้อ: Re: ช่วยกันวางโครงสร้างอนาคตประเทศกันครับ เริ่มหัวข้อโดย: หนานปั๋น ที่ กุมภาพันธ์ 06, 2007, 11:04:12 PM กระทู้นี้เครียดน่าดูครับ ดืมนมแล้วนอนดีกว่าครับ
แนวทางการแก้ปัญหานี้คือการส่งเสริมการศึกษา และจริยธรรม + คุณธรรม +มโนธรรม สร้างจิตสำนึกให้แก่เด็ก ๆ รุ่นลูกหลานเราในอนาคตครับ ตอนนี้ผมไม่มีอำนาจวาสนาไปทำอะไรใครได้ครับเป็น แค่มนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งแต่ผมจะสอนลูกหลาน ผมต่อไปในอนาคตเรืองความซื้อสัตย์ และคุณธรรม ตอนนี้พวกแก่ ๆ กะโหลกกะลา ปล่อยเขาไปตามเรื่อง ตามราว อีกหน่อยก็แก่ตายไปเองครับ แต่นักการเมืองยุคใหม่ที่ผมเห็นและศรัทธา มีหลายคนครับ คนรุ่นใหม่ และรุ่นเก่า ๆ ที่มีความคิด ดี ๆ หลายคน เมืองไทยก็จะพัฒนาการเมืองขึ้นทีละนิด ก็ยังดีครับ ตามที่เขาบอกน้ำดีไล่น้ำเสีย แต่ผมกลัวว่าน้ำดีไปอยู่กับน้ำเสีย จะกลายเป็นน้ำเสียเองครับ หัวข้อ: Re: ช่วยกันวางโครงสร้างอนาคตประเทศกันครับ เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2007, 04:31:37 PM :) ตราบใดที่ผลประโยชน์ยังถูกผูกโยงกับนักเลือกตั้ง คงจะแก้กันยากครับ
|