เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => สนทนาภาษาปืน => ข้อความที่เริ่มโดย: หลวงริน - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 19, 2007, 07:23:56 AM



หัวข้อ: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: หลวงริน - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 19, 2007, 07:23:56 AM
กรณีปืนสวัสดิการที่ระบุ"ห้ามโอนยกเว้นเป็นมรดก"

เจ้าของปืนยังมีชีวิตอยู่สามารถโอนให้บุตรได้หรือไม่

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ ( 1 คะแนนสำหรับทุกคำตอบครับ  อิอิ) ;) :D


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: krudam ที่ ตุลาคม 19, 2007, 07:42:26 AM
ผมว่า "ไม่" นะครับ


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: น้าพงษ์...รักในหลวง ที่ ตุลาคม 19, 2007, 07:45:07 AM
ผมก็ว่า.ไม่.ครับ.เพราะคำว่า.มรดก.นี่แหละ..... ;D


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: ครูชรา ที่ ตุลาคม 19, 2007, 07:54:50 AM
ยืนยันว่าไม่ ครับ ท่านหลวงฯคงจะอยู่ในว้ย ฉ-กรรจ์ กลัวบุตรจะรอนาน ถ้าจะโอนจริงๆก็ได้ครับ โดยอนุมัติของ รมว.มหาดไทย  ครับผม


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: Prathet ที่ ตุลาคม 19, 2007, 08:07:33 AM
คำว่า "มรดก" ในที่นี้หมายถึงเจ้ามรดกต้องถึงแก่ความตายแล้วเท่านั้นครับ :-[


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ ตุลาคม 19, 2007, 08:08:54 AM

    น่าจะได้นะในกรณีที่เจ้าของมีอายุมากแล้ว เช่น 70 ปีขึ้นไป คล้ายๆกับการยกทรัพย์มรดกให้ก่อนจากไป

    แต่ถ้าอายุน้อยๆแค่ 40 นิดๆอย่างหลวงต้อยนี่ นายทะเบียนคงไม่เห็นสมด้วยแหละ รออีก 30 ปีนะจ๊ะหลวง



หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: มะขิ่น ที่ ตุลาคม 19, 2007, 08:09:33 AM
ยังไม่ได้ศึกษาคำสั่ง มท. ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้เลยครับ.......................

แต่ในคำว่าเป็นมรดก ผมเข้าใจว่า สามารถมอบให้ทายาทได้ โดยที่เจ้าของยังมีชีวิตอยู่ได้.................เช่นในกรณี บิดายกที่ดินให้บุตร ในขณะที่บิดามีชีวิตอยู่............การโอนที่ดิน กรมที่ดินยังเก็บค่าธรรมเนียมการโอนเป็นอัตราการโอนแบบเป็นมรดกเลย.................ไม่ได้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราธุรกิจ

กรณีปืนสวัสดิการหากจะโอนเป็นมรดกให้ทายาทตาม กม.จริงๆ .................และทายาทเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ....................ผมมีความเห็นว่าทำได้

เว้นแต่ นายทะเบียนจะอนุญาตหรือไม่เท่านั้น................


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: KENG 92FS ที่ ตุลาคม 19, 2007, 08:16:32 AM
ส่วนตัวคิดว่าไม่ได้  เพราะไม่งั้น พ่อ แม่ ที่เป็นข้าราชการ คงซื้อให้ลูกที่ทำงานเอกชนกันเยอะแยะแล้ว  น่าจะต้องเสียชีวิตก่อน แล้วเขียนพินัยกรรมไว้

อย่างไรก็ตาม ต้องศึกษากฎหมายให้ละเอียดอีกทีครับ  ;D


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: หลวงริน - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 19, 2007, 08:21:03 AM
ขอบคุณทุกคำตอบครับ

ท่านละ 1คะแนน ::002::


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: FWGF14 ที่ ตุลาคม 19, 2007, 08:34:31 AM
มรดกว่ากันเมื่อตาย  ทรัพย์จึงตกทอดแก่ทายาท  กรณีปืนมรดกจะตกทอดได้ก็คิดว่าต้องสิ้นลมแล้ว ครับผม 


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: pvjt ที่ ตุลาคม 19, 2007, 08:42:09 AM
อ้างถึง
ส่วนตัวคิดว่าไม่ได้  เพราะไม่งั้น พ่อ แม่ ที่เป็นข้าราชการ คงซื้อให้ลูกที่ทำงานเอกชนกันเยอะแยะแล้ว  น่าจะต้องเสียชีวิตก่อน แล้วเขียนพินัยกรรมไว้
เห็นด้วยครับ...ส่วนกรณีทำพินัยกรรมยกให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ทายาทเช่นยกให้เพื่อน...จะได่ไหมครับ  เพราะระบุไว้แต่ว่าตกทอดมรดกแต่ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นทายาท ???


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: มะขิ่น ที่ ตุลาคม 19, 2007, 08:42:52 AM
มรดกว่ากันเมื่อตาย  ทรัพย์จึงตกทอดแก่ทายาท  กรณีปืนมรดกจะตกทอดได้ก็คิดว่าต้องสิ้นลมแล้ว ครับผม 

ข้อความนี้ ตีความกันตามกฏหมายหรือเปล่าครับ......................ผมสงสัย

เพราะผมได้รับโอนทรัพย์สิน ที่เป็นทั้ง สังหาฯและ อสังหาฯ จากบุพการี โดยที่ท่านมีชีวิตอยู่..............โดยระบุว่า โอนให้เป็นมรดก...............อัตราค่าธรรมเนียมถูกเรียกเก็บในอัตราค่าธรรมเนียมมรดก เช่น ที่ดิน

รถยนต์ ผมไม่ถูกเรียกเก็บอากรมูลค่าทรัพย์สินด้วย เพราะ โอนจากมารดา มาเป็นชื่อผม..............

ซึ่งแสดงว่า ตาม กม. ทายาทสามารถรับทรัพย์สิน ที่ระบุว่าเป็นมรดกจากบุพการีได้ ตั้งแต่เจ้าของยังไม่เสียชีวิต.................เขาก็เรียกว่า รับมรดก

กรณีปืน..................ผมไม่ทราบว่ามีพิเศษอะไรหรือเปล่า หรือคำสั่ง มท. ที่ออกมาอาจจะออกโดยมิชอบก็ได้ ...................

แต่มากล่าวรวมๆว่า ที่เรียกว่ารับมรดกนั้น เจ้าของต้องเสียชีวิต สถานเดียว ................ผมคิดว่าไม่ใช่


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: หลวงริน - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 19, 2007, 08:52:33 AM
โลโก้สวยจังครับเสธฯ :VOV: :D~


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: มะขิ่น ที่ ตุลาคม 19, 2007, 08:55:16 AM
โลโก้สวยจังครับเสธฯ :VOV: :D~

รับมรดกมาครับ................เจ้าของยังมีชีวิตอยู่ด้วย (ฮา)


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: pvjt ที่ ตุลาคม 19, 2007, 09:01:31 AM
ถ้างั้น..กรณีพี่ชายเป็นข้าราชการซื้อปืนสวัสดิการ  ต่อมาทำพินัยกรรมยกให้น้องชายเป็นบุคคลธรรมดา  จะโอนได้เลยไหมครับ  ???


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 19, 2007, 09:02:48 AM
ตอนผมไปโอนปืนของพ่อยังมีชีวิตอยู่ จนท. (กองทะเบียน ตร.) เขาก็ให้เขียน ป.1 ว่ารับ "โอนมรดก" ครับ ::008::


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมพระจุลฯ 24 ที่ ตุลาคม 19, 2007, 09:05:48 AM
ของผมระบุเช่นนี้ครับ

"ห้ามโอนเว้นแต่ตกทอดทางมรดก"

ด้วยความเคารพครับ


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: thewan ที่ ตุลาคม 19, 2007, 09:17:58 AM
กรณีโอนโดยเจ้าของยังมีชีวิตอยู่ ตามกฎหมายจะเป็นการให้โดยเสน่ห์หา แต่วิธีปฏิบัติอาจจะนำคำว่าโอนมรดกมาใช้ ซึ่งอาจจะไม่ค่อยถูกต้องนัก ซึ่ง ตาม ปพพ. มาตรา 1599 วรรค 1 บัญญัติว่า "เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท" ครับ  :D


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: โป้ง*กันบอย - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 19, 2007, 09:18:43 AM
ผมค้นเจอมาครับพี่ต้อย

http://www.det.ago.go.th/page011.htm

http://e-fpo.fpo.go.th/e-law/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%81.asp

ด้วยความเคารพครับ


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: มะเอ็ม ที่ ตุลาคม 19, 2007, 09:23:20 AM
เข้ามาดูครับตีความปวดหัวจริงๆ


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: Snaka ที่ ตุลาคม 19, 2007, 09:34:02 AM
เรื่องโอนแบบรับมรดกนี่ ผมโอนมาแล้วครับ บิดาอายุเกือบ 60 ปีครับ


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: โป้ง*กันบอย - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 19, 2007, 09:35:45 AM
เรื่องโอนแบบรับมรดกนี่ ผมโอนมาแล้วครับ บิดาอายุเกือบ 60 ปีครับ

ใบป.4ระบุว่าอย่างไรครับและเป็นโครงการไหนครับพี่ แบบนี้พอมีหวัง^^


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: MadFroG ที่ ตุลาคม 19, 2007, 09:47:52 AM
โลโก้สวยจังครับเสธฯ :VOV: :D~

รับมรดกมาครับ................เจ้าของยังมีชีวิตอยู่ด้วย (ฮา)

กระบอกนี้ ที่ขึ้นปก........ เล่มล่าสุดหรือเปล่าครับพี่


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: เห่าดง - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 19, 2007, 09:50:01 AM
คิดว่าได้ครับ


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: MadFroG ที่ ตุลาคม 19, 2007, 09:57:51 AM
ลืมออกความเห็นเรื่องมรดก :~)

ฟังดูเหมือนว่า
หน่วยงานของรัฐ เช่น กรมที่ดิน ,สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ,
กรมการปกครอง , ฯลฯ

ตีความคำว่า มรดก แตกต่างกัน :OO

ผมเลยอยากถามต่อว่า
ตีความแตกต่างกัน ได้หรือไม่ครับ

















หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ ตุลาคม 19, 2007, 10:48:40 AM
 :) ผมไม่ทราบว่าที่ ป.4 ระบุว่าอย่างไร? ถ้าบอกแค่ว่า "ห้ามโอนยกเว้นเป็นมรดก" อันนี้น่าจะโอนได้ครับ

 :) แต่ถ้าเขียนไว้ว่า "ห้ามโอนยกเว้นมรดกตกทอด" อันนี้โอนไม่ได้ยกเว้นเจ้าของเสียชีวิต แล้วตกทอดให้ทายาท

มรดก คืออะไร
มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ
เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวผู้ตายโดยแท้ อย่างไรก็ดี
ความรับผิดของทายาทจะมีขอบเขตจำกัด คือ  กฎหมายกำหนดว่าทายาทไม่ต้อง
รับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
         
มรดกจะตกทอดแก่ทายาทเมื่อใด
มรดกจะตกทอดแก่ทายาท  เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ความตาย   ในที่นี้หมาย
ความรวมถึงความตายซึ่งตามกฎหมายถือว่าบุคคลนั้นได้ตายแล้วด้วย   เมื่อบุคคล
ใดต้องถึงแก่ความตายดังกล่าว กองมรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดย
สิทธิตามกฎหมาย หรือโดยพินัยกรรม   โดยทายาทซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายเรียกว่า
ทายาทโดยธรรม ทายาทซึ่งมีสิทธิตามพินัยกรรมเรียกว่าผู้รับพินัยกรรม มรดกซึ่ง
ไม่มีพินัยกรรมเมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของ
บุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาทในกรณีที่มีทายาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเรียก
ว่า ทายาทโดยธรรม ได้แก่ ญาติและคู่สมรส            

การเป็นทายาท
บุคคลที่จะเป็นทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกนั้น    ถ้าเป็นทายาทโดยธรรมต้องเป็น
บุคคลธรรมดา และบุคคลธรรมดาที่จะเป็นทายาทได้ต้องมีสภาพบุคคล ซึ่งสภาพ
บุคคลนี้ย่อมเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อบุคคลนั้นได้คลอดออกมาแล้วอยู่รอดเป็นทารก
          ทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก ได้แก่
          1. ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื้อ
          2. บิดามารดา
          3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
          4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
          5. ปู่ ย่า ตา ยาย
          6. ลุง ป้า น้า อา
          7. คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย
          การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง ๆ
          1. ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมในลำดับชั้นต่าง ๆ หลายชั้น ทายาท
โดยธรรมในลำดับต้นจะได้รับมรดกไปก่อน ส่วนทายาทโดยธรรมในลำดับรอง
ลงมาไม่มีสิทธิได้รับมรดก
          2. กรณีที่ผู้ตายมีคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งยังมีชีวิตอยู่   แม้ผู้
ตายจะมีทายาทโดยธรรมในลำดับใดก็ตาม คู่สมรสของผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดก
เสมอ ส่วนจะได้ส่วนแบ่งเป็นจำนวนเท่าใด ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
กล่าวคือ
             (1) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดาน และมี
คู่สมรส    กรณีเช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นบุตรของผู้
ตาย
             (2) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 3 คือ      พี่น้องร่วมบิดา
มารดาเดียวกันหรือมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 2 คือ บิดามารดาและผู้ตายมีคู่
สมรสซึ่งยังมีชีวิตอยู่ กรณีเช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง
             (3) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 4 คือ    พี่น้องร่วมบิดาหรือ
ร่วมมารดาเดียวกันหรือมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 5 คือ  ปู่  ย่า  ตา ยาย หรือมี
ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 6 คือ ลุง ป้า น้า อา  และมีคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่  กรณี
เช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดก 2 ใน 3 ส่วน
             (4) ถ้าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมอยู่เลย      คงมีแต่คู่สมรสเท่านั้น
กรณีเช่นนี้คู่สมรสได้รับมรดกทั้งหมด
          3.ในกรณีที่มีทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันหลายคน   ทายาทโดย
ธรรมเหล่านั้นจะได้รับมรดกคนละส่วนเท่า ๆ กัน
          4. ในกรณีที่มีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดานหลายชั้น เช่น
เจ้ามรดกมีทั้งลูกและหลาน ลูกมีสิทธิได้รับมรดกก่อน    หลานจะไม่มีสิทธิได้รับ
มรดก เว้นแต่ ลูกจะได้ตายไปก่อนเจ้ามรดก   หลานจึงจะเข้ารับมรดกได้โดยการ
รับมรดกแทนที่
          5. ทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดานนั้นในกรณีที่เป็นบุตร
บุตรซึ่งจะมีสิทธิได้รับมรดกจะต้องเป็นบุตรในกรณีดังต่อไปนี้ คือ
             (1) บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ได้จด
ทะเบียนสมรสกัน
             (2) บุตรบุญธรรม    ซึ่งผู้รับบุตรบุญธรรมได้จดทะเบียนรับเด็กเป็น
บุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
             (3) บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
          6. ในกรณีที่สามีภริยาร้างกัน    หรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่าขาดจากกัน
ตามกฎหมาย กรณีเช่นนี้ทั้งสามีและภริยายังคงมีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกัน
          7. ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรบุญธรรม   แต่บุตร
บุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม     และทั้งมีสิทธิได้รับมรดก
ของบิดามารดาเดิม
          8. บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของคู่สมรส    ของผู้รับบุตรบุญ
ธรรม เว้นแต่คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมจะได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญ
ธรรมด้วย
           9. ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมอยู่เลย และผู้ตายก็มิได้ทำพินัย
กรรมไว้ กรณีเช่นนี้มรดกจะตกทอดได้แก่แผ่นดินแบบพินัยกรรม
              1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
                 (1) ต้องทำพินัยกรรมเป็นหนังสือ
                 (2) พินัยกรรมที่ทำขึ้นต้องลงวันที่ เดือน ปี  ขณะที่ทำพินัยกรรม
ถ้าไม่ลงไว้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
                 (3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
พร้อมกัน แล้วให้พยานทั้งสองนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมใน
ขณะนั้นด้วย ซึ่งพยานที่ลงลายมือชื่อรับรองดังกล่าว    จะต้องเขียนชื่อตัวเองเป็น
มิฉะนั้นแล้วไม่สามารถเป็นพยานในพินัยกรรมได้
                 (4) ถ้าจะมีการแก้ไขพินัยกรรมโดยการขูดลบตกเติมจะต้องทำเป็น
หนังสือ ลงวัน เดือน ปี  และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่าง
น้อย 2 คนพร้อมกัน
              2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
                 (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมเป็นหนังสือด้วย
ลายมือตนเองจะให้ผู้อื่นเขียนให้มิได้
                 (2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงวันที่ เดือน ปี    และลายมือชื่อของตนใน
พินัยกรรม จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานรับรอง 2 คนไม่ได้
                 (3) กรณีที่จะมีการขูดลบ ตกเติม  หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรม
ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องทำเอง แล้วลงลายมือชื่อกำกับ มิฉะนั้นพินัยกรรมในส่วนนี้ไม่
สมบูรณ์
             3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
                 (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ลงไว้ใน
พินัยกรรมของตนต่อนายอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน
                 (2) การแจ้งข้อความตามข้อ (1) ก็เพื่อให้ผู้อำนวยการเขต หรือนาย
อำเภอจดข้อความเสร็จแล้วต้องอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
                 (3) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความนั้นถูกต้อง
แล้ว ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
                 (4) ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ ต้องลงลายมือชื่อและลงวัน เดือน
ปี พร้อมกับเขียนลงไปในพินัยกรรมด้วยว่า      พินัยกรรมนั้นได้ทำถูกต้องเสร็จแล้ว
ประทับตราประจำตำแหน่ง
                 (5) กรณีที่มีการขูดลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแบบ
เอกสารฝ่ายเมืองนี้ ผู้ทำพินัยกรรม พยาน   และผู้อำนวยการเขต   หรือนายอำเภอจะ
ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ มิฉะนั้น พินัยกรรมในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์
             4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
                 (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม
                 (2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมใส่ซองแล้วปิดผนึก เสร็จแล้วลง
ลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น
                 (3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น  ไปแสดงต่อผู้อำนวย
การเขต หรือนายอำเภอ   และพยานอีกอย่างน้อย 2 คน       และให้ถ้อยคำต่อบุคคล
ทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน  ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้เป็น
ผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งชื่อและที่อยู่ของผู้เขียนให้ทราบด้วย
                 (4) เมื่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ จดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม
และวัน เดือน ปี  ที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซอง และประทับตราประจำตำแหน่ง
แล้ว ผู้ทำพินัยกรรม พยานและผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอต้องลงลายมือชื่อ
                 (5) การขูดลบ ตกเติม หรือแก้ไขพินัยกรรมแบบเอกสารลับ  ผู้ทำพินัย
กรรมต้องลงลายมือกำกับไว้ มิฉะนั้นพินัยกรรมในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์
              5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
                 (1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงความประสงค์จะทำพินัยกรรมต่อหน้า
พยาน 2 คนพร้อมกัน ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น
                 (2) พยานทั้ง 2 คนนั้นต้องไปแสดงตัวต่อผู้อำนวยการเขต  หรือนาย
อำเภอโดยไม่ชักช้าและแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา   ทั้งต้องแจ้ง
วัน เดือน ปี สถานที่ทำพินัยกรรมและ พฤติการณ์พิเศษด้วย
                 (3) ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ      ต้องจดข้อความที่พยานแจ้ง
ดังกล่าว
                 (4) พยานทั้ง 2 คนต้องลงลายมือชื่อไว้ ถ้าเขียนชื่อตนเองไม่เป็นจะลง
ลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออย่างน้อย 2 คนก็ได้


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: Khajohnsak ที่ ตุลาคม 19, 2007, 11:08:59 AM
พี่ ทุกๆ คำตอบ มีค่าในทางความรู้ ผม ไม่มีความรู้เรื่องนี้ ไม่กล้าออกความคิดเห็นครับ แต่ปืนผมก็เป็นปืนโครงการ
(ห้ามโอนเหมือนกัน) ดีๆ ครับ จะรู้ความรู้ใหม่ๆ   ;D


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: หลวงริน - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 19, 2007, 11:11:38 AM
ขอบคุณทุกๆคำตอบ.......ท่านละ 1 แต้มครับ ;D


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: visith ที่ ตุลาคม 19, 2007, 11:52:46 AM

ผมคิดว่าน่าจะได้ หากผู้ที่ครอบครองยังมีชีวิตอยู่ แต่อาจมีความจำเป็นบางประการที่สามารถชี้แจงได้ หรือมีคุณสมบัติไม่ครบตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน สามารถโอนได้ โดย มท.1 เป็นผุ้อนุมัติ..

..ตอบแบบชาวบ้าน ๆ นะครับ...


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: coda ที่ ตุลาคม 19, 2007, 01:31:02 PM
คำว่า "มรดก" ในที่นี้หมายถึงเจ้ามรดกต้องถึงแก่ความตายแล้วเท่านั้นครับ :-[

มรดกว่ากันเมื่อตาย  ทรัพย์จึงตกทอดแก่ทายาท  กรณีปืนมรดกจะตกทอดได้ก็คิดว่าต้องสิ้นลมแล้ว ครับผม 

...น่าจะเป็นเช่นนั้น  ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ฯลฯ

อ้างถึง
ส่วนตัวคิดว่าไม่ได้  เพราะไม่งั้น พ่อ แม่ ที่เป็นข้าราชการ คงซื้อให้ลูกที่ทำงานเอกชนกันเยอะแยะแล้ว  น่าจะต้องเสียชีวิตก่อน แล้วเขียนพินัยกรรมไว้
เห็นด้วยครับ...ส่วนกรณีทำพินัยกรรมยกให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ทายาทเช่นยกให้เพื่อน...จะได่ไหมครับ  เพราะระบุไว้แต่ว่าตกทอดมรดกแต่ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นทายาท ???

...มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า "ทายาทโดยธรรม"
ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม"


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: 51 ที่ ตุลาคม 19, 2007, 01:46:14 PM
กรณีที่บิดา...โอนอาวุธปืนให้บุตร...นั้น

ตาม ป.แพ่งฯ มาตรา 15 ระบุว่า....
สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้
หากว่าภายหลัง คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก


มาตรา 521 ระบุไว้ว่า...อันว่า ให้ นั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้
โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับ
และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น

มาตรา 523 ระบุว่า...
การให้นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สิน ที่ให้

มาตรา 536 ระบุไว้ว่า....
การให้อันจะให้เป็นผลต่อเนื่องเมื่อผู้ให้ตายนั้น  
ท่านให้บังคับด้วยบทกฎหมายว่าด้วยมรดกและพินัยกรรม

มาตรา 1599 ระบุว่า....เมื่อบุคคลใดตาย  มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้ 
แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น






ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใด  การให้...นั้น
ต้องอาศัยตาม ป.แพ่งฯ นี้ ครับ

ซึ่งมาตรา 3 แห่ง ป. วิฯ แพ่งฯ ระบุว่า....
ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามที่ได้ตราไว้ต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2478 เป็นต้นไป
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ให้ใช้ในศาลทั่วไปตลอดราชอาณาจักร
ยกเว้นแต่ในศาลพิเศษที่มีข้อบังคับสำหรับศาลนั้น
และถ้ามีกฎหมายให้ใช้ธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมายทางศาสนาในศาลใด  
ให้ศาลนั้นยกธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมายนั้น ๆ มาใช้แทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
เว้นแต่คู่ความจะได้ตกลงกันไว้ให้ใช้ประมวลกฎหมายนี้...





ส่วนกรณี ที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ระบุว่า มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้  "ที่ดิน" หมายความว่า
พื้นที่ดินทั่วไป และให้หมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ
และที่ ชายทะเลด้วย


ดังนั้น การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ในการนี้
จะต้องเป็นไปตาม หมวด 11 ค่าธรรมเนียม มาตรา 103 ถึง มาตรา 105 อัฏฐ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ครับ




จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: model36 ๐๐รักในหลวง๐๐ ที่ ตุลาคม 19, 2007, 02:00:12 PM
15/10/50 ผมพารุ่นพี่ เป็นนายทหาร  จะโอนปืนให้ลูกชาย (Bennelli M 3สวัสดิการ กองบัญชาการทหารสูงสุด ปั้มห้ามโอน)    ทางเจ้าหน้าที่ ที่กอง แจ้งว่า ต้องโอนมรดก  (เจ้าของเสียชีวิต) เท่านั้น  ผมเลยต้องพากันแบกปืนกลับ    >:( >:( >:(


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: 51 ที่ ตุลาคม 19, 2007, 02:05:21 PM
ตามพจนานุกรม   คำว่า มรดก
หมายถึง   สิ่งที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษหรือที่สืบทอดมาแต่บรรพกาล;
ทรัพย์สินทุกชนิด ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย
เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้ว  เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย เรียกรวม ๆ ว่า กองมรดก

คำว่า  ตกทอด  หมายถึง  ตกสืบกันมาเป็นทอด ๆ, สืบจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง,
เช่น  มรดกตกทอด;
เรียกบําเหน็จบํานาญที่ตกแก่ทายาทของผู้รับ บําเหน็จบํานาญว่า บําเหน็จตกทอด หรือ บํานาญตกทอด

จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: 51 ที่ ตุลาคม 19, 2007, 02:21:27 PM
หากบิดามีความประสงค์พึงที่จะโอนอาวุธปืน ดังกล่าว ให้บุตรโดยเสน่หา
ถึงแม้จะมิได้มีการซื้อ ขาย กันก็ตาม

โดยตาม ป.แพ่งฯ มาตรา 368 ระบุว่า...
สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต
โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย






หากมีการลงลายมือชื่อ สลักหลังในใบแบบ ป.4
โดยมีข้อความ ห้ามโอนยกเว้นมรดกตกทอด  ด้วยแล้ว
ถือว่า เป็น สัญญา ตามกฎหมาย

ซึ่ง มาตรา 459 ระบุว่า...
ถ้าสัญญาซื้อขาย มีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาบังคับไว้
ท่านว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปจนกว่า
การจะได้เป็นไป ตามเงื่อนไข หรือถึงกำหนดเงื่อนไขเวลานั้น

จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: 51 ที่ ตุลาคม 19, 2007, 03:11:34 PM
รวมถึงการเสียอากร  ถ้าอาศัยความในมาตรา 3 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ก็เป็นไปตามประมวลกฎหมายรัษฎากร ครับ

จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...





หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: rockguns ที่ ตุลาคม 19, 2007, 03:31:29 PM
                  ทำไปทำมาแล้วคงต้องพึ่งการตีความจากทางอนุญาโตตุลาการอีกกระมังครับ ให้ต้องตีเป็นบรรทัดฐานว่ากรณีนี้สมควรเป็นเช่นไร เดี๋ยวเหมือนกับสั้นหนึ่งยาวหนึ่ง ข้าราชการนอกเมืองหลวงตีความกันเป็นหลักยึดกันเป็นบรรทัดฐานเลย เพียงแค่คำเอ่ยของร.ม.ต.เท่านั้น
                   เหตุผลทุกท่านมีเหตุผลดีครับ


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: pvjt ที่ ตุลาคม 19, 2007, 03:33:37 PM
อ้างถึง
มรดกจะตกทอดแก่ทายาทเมื่อใด
มรดกจะตกทอดแก่ทายาท  เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ความตาย   ในที่นี้หมาย
ความรวมถึงความตายซึ่งตามกฎหมายถือว่าบุคคลนั้นได้ตายแล้วด้วย   เมื่อบุคคล
ใดต้องถึงแก่ความตายดังกล่าว กองมรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดย
สิทธิตามกฎหมาย หรือโดยพินัยกรรม   โดยทายาทซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายเรียกว่า
ทายาทโดยธรรม ทายาทซึ่งมีสิทธิตามพินัยกรรมเรียกว่าผู้รับพินัยกรรม มรดกซึ่ง
ไม่มีพินัยกรรมเมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของ
บุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาทในกรณีที่มีทายาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเรียก
ว่า ทายาทโดยธรรม ได้แก่ ญาติและคู่สมรส            
ตามปพพ.ชัดเจนครับ...ต้องรอเจ้าของตาย...กรณีที่โอนให้กันตอนมีชีวิตอยู่เป็นการให้โดยสเน่หา.


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: peedta - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 19, 2007, 09:00:08 PM
 :D ขออนุญาตครับ  เข้ามาอ่านกระทู้นี้แล้วได้รับความรู้ดีมากครับ   ::002::
     จขกท.  ( พี่ต้อย ) รับไป 1 แต้มครับ    ขอบคุณครับ   ;D


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: หลวงริน - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 20, 2007, 06:01:41 AM
ขอบคุณทุกคำตอบ

รับไปท่านละ 1 แต้ม ;D


หัวข้อ: Re: ปืนสวัสดิการ+ปืนมรดก
เริ่มหัวข้อโดย: จ่าหมู ที่ ตุลาคม 20, 2007, 06:20:26 PM
ยังไงๆผมว่าไม่ได้ถ้าท่านใดโอนได้ขอเบอร์โทรหน่อยครับ