เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: Charoon รักในหลวงครับ ที่ มีนาคม 24, 2008, 07:29:50 AM



หัวข้อ: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: Charoon รักในหลวงครับ ที่ มีนาคม 24, 2008, 07:29:50 AM
(http://hilight.kapook.com/admin_hilight/spaw2/newimg/other/brain_naewna_2.jpg)

 หน่วยของความจำคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือกล้องถ่ายรูปว่า "กิ๊กกะไบต์" หรือ "จิ๊กกะไบต์" บ้าง จริงๆ แล้วเขาเรียกว่าอย่างไร ก็คงต้องดูความหมายทีละคำ


คำว่า "กิ๊ก" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง "กิ๊กของขาโจ๋" ที่เป็นคำเรียกความสัมพันธ์ระยะสั้นระหว่างบุคคล (short-term relationship) โดยจะแตกต่างกับคำว่าความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เรียกว่า แฟน(เขาละไว้เป็นที่เข้าใจ)...มาต่อกันที่คำวันนี้ของเรากันดีกว่า


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: Charoon รักในหลวงครับ ที่ มีนาคม 24, 2008, 07:30:32 AM
ความจริงแล้วคำนี้มาจากภาษาอังกฤษว่า "gigabyte" อ่านว่า "กิกะไบต์" ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230 หรือ 10243 หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ ฯ) คำว่า "giga" มีค่าเท่ากับ "พันล้าน"

          ส่วนคำว่า "ไบต์" เป็นหน่วยความจำของตัวเลขฐานสองเท่ากับ 8 บิต โดยที่บิต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล โดยข้อมูลหนึ่งบิตมีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ 0 (ปิด) และ 1 (เปิด) โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit)


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: Charoon รักในหลวงครับ ที่ มีนาคม 24, 2008, 07:31:03 AM
ที่กล่าวมาเป็นความจุของข้อมูลในรูปดิจิตอล แต่ความจุในสมองของคนเรามีมากมายมหาศาล ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ให้เป็นประโยชน์หรือไม่ หากไม่ใช้สมองคิดก็จะทำให้ความจุยิ่งลดลง ดังนั้นหากต้องการให้สมองมีความจำมากเท่าไรก็ต้องรู้จักคิด...ใช่มั๊ยละขอรับ(กระผม)!!!


ดร.หนู


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: jakrit97 - รักในหลวง - ที่ มีนาคม 24, 2008, 01:32:03 PM
ทำไม 1K ของคอมพิวเตอร์จึงเป็น 1024 ไม่ใช่ 1000 ....

ท่านใดตอบได้เอ่ย (คนเรียนคอมฯ แล้วไม่รู้ ต้องพิจารณาตัวเอง ... ::008:: ::008:: )

 ;D

ปล. .... ผมก็พิจารณาตัวเองแล้ว เลยเอามาถามดีกว่า  ::005::


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ มีนาคม 24, 2008, 01:47:58 PM
สองยกกำลังสิบ


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: jakrit97 - รักในหลวง - ที่ มีนาคม 24, 2008, 02:11:24 PM
สองยกกำลังสิบ

แล้วทำไมไม่เป็น สองยกกำลังแปดครับ ;D ;D ;D ตอนเรียน อ. บอกว่าเป็นสิบ เพราะมันใกล้ 1000 มากที่สุดแล้ว ....

ตอนคอมพิวเตอร์ PC 16 บิทรุ่นแรก ๆ ... Intel 8086/8088 สื่อสารข้อมูลกัน 8บิท แต่มีสมองเก็บเลขได้ 16 บิท และมีสัญญาณอ้างอิงหน่วยความจำสิบเส้น ใส่แรมได้ 1 MB พอดี

แต่หน่วยมันเกิดก่อน เอาไว้ผมหาคำอธิบายที่น่าจะใช่ได้มากกว่านี้จะเอามาเล่าอีกครับ ;D ;D


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ มีนาคม 24, 2008, 02:18:28 PM
 ;D ;D   ;D   ..เป็นอีกเรื่องที่ ผมยัง ง่าวอยู่มาก สมองไม่เปิดรับ เรื่องนี้.. ขอใช้อย่างเดียวครับ  ;D


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: jakrit97 - รักในหลวง - ที่ มีนาคม 24, 2008, 02:38:02 PM
http://en.wikipedia.org/wiki/Binary_prefix .... ดูคร่าว ๆ อันนี้น่าจะพอตอบได้ ...

เท่าที่มองผ่าน ๆ ต้องสรุปว่าเรื่องหน่วยของคอมฯ มันมั่ว ๆ กันมาแต่ต้น (ก็ของใหม่ยังไม่มีมาตรฐาน) ...

แม้ปัจจุบันจะมีการกำหนดมาตรฐานแล้ว ... แต่ในการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของคอมฯ ก็ยังมั่วอยู่ (คือมีทั้ง K ที่เป็น 1024 หรือ 1000)

ถ้าจะอ้าง The IEEE standard IEEE 1541-2002 (Prefixes for Binary Multiples) ... ต่อไปจะเขียน 1024 ต้องเขียน Ki แทน .... 1024 Bytes => 1KiB

;D ;D


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: wasanami ที่ มีนาคม 24, 2008, 02:56:41 PM
;D ;D   ;D   ..เป็นอีกเรื่องที่ ผมยัง ง่าวอยู่มาก สมองไม่เปิดรับ เรื่องนี้.. ขอใช้อย่างเดียวครับ  ;D

เหมือนกันครับ.....  ::005:: ::005:: ::005::


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ มีนาคม 24, 2008, 03:28:15 PM
ผมเป็นเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ครับ.....(ปัจจุบันก็ยังเป็นอยู่ รักษาไม่หาย)

เชื่อไหมครับ ว่า บางคำถาม  ผมยังต้องเปิดหนังสืออยู่เลย  ด้วยว่าไม่มั่นใจ

ตอนเริ่มเรียน เรื่องพวกนี้ปวดหัวมาก เพราะไม่เข้าใจ ว่า จะรู้ไปทำไม

เจอสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์กับดิจิตอลเข้า หายปวดหัวเลย ....มึนงงแทน.. :~)

ปัจจุบัน ตำราเก่า ๆ ที่ผมเคยเข้าใจทั้งเล่มพวกนั้น ..กลายเป็นตำราที่เปิดหน้าไหนก็ไม่รู่เรื่อง..


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: salin - รักในหลวง ที่ มีนาคม 24, 2008, 04:37:13 PM
ระดับสัญญาณไฟฟ้าในคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลจะทำงานอยู่ที่สองระดับซึ่งแทนข้อมูลที่แตกต่างกันได้เพียงสองค่าเท่านั้น
ที่เราใช้กันคือแทน 1 และ 0 จึงเรียกแต่ละสัญญาณนี้ว่าบิท (Bit) ซึ่งการที่แต่ละหลัก (Digit) นี้มีค่าได้เพียงสองค่าจึงเรียกว่าเป็นเลขฐานสอง (Binary Number) ต่างจากเลขที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันที่เป็นเลขฐานสิบเพราะแต่ละหลักมีเลขต่างกันได้ 10 ค่าคือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9
การที่แต่ละหลักของเลขฐานสองมีได้ 2 ค่าหากจะแทนค่าที่มากกว่านี้ก็ต้องเพิ่มหลักเข้าไปเช่น
หากมีเลขฐานสอง 2 บิทก็จะแสดงข้อมูลที่แตกต่างกันได้  4 ค่าคือ 00 01 10 11
ดังนั้นหากมีข้อมูล 10 บิท ก็จะแสดงค่าแตกต่างกันได้ 1024 ค่า (2 ยกกำลัง 10 = 1024)

การใช้คำเติมหน้า (Prefix) หน่วยตามมาตรฐาน SI มีการกำหนดไว้แน่นอนเช่น k(กิโล) = 10 ยกกำลัง 3
k ต้องเป็นตัวพิมพ์เล็กด้วยเพราะถ้าเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ K จะหมายถึง เคลวิน (Kelvin) ซึ่งเป็นอุณหภูมิ
หรือ  G(กิกะ) = 10 ยกกำลัง 9
เมื่อเอาไปเขียนนำหน้าหน่วยเช่นกิโลกรัมจึงหมายถึง 1000 กรัม
คำเติมหน้าเหล่านี้ใช้เฉพาะกับหน่วย SI ที่เป็นระบบเลขฐานสิบเท่านั้น ไม่สามารถเอาไปใช้กับระบบเลขฐานสอง
ดังนั้นหากพูดถึง kbit จึงยังหมายถึง 1000 บิท เช่นความเร็วโมเด็มเป็น 64 กิโลบิทต่อวินาทีก็หมายถึง 64000 บิทต่อวินาที
แต่เมื่อในระยะแรกยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานคำเติมหน้าของระบบเลขฐานสองมาใช้ จึงมักใช้คำเติมหน้าของ SI มาใช้ไปพลางเพื่อความสะดวก
เช่น 1024 บิทก็บอกว่าเป็น 1 กิโลบิทเพราะ 1024 เป็นเลขที่ใกล้เคียงกับ 1000 มากที่สุด
แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจกันทั้งผู้เขียนและผู้อ่านนะครับ เคยมีการเถียงกันเรื่อง Spec. มาแล้ว คนเขียนบอก 1 k หมายถึง 1000 อีกคนบอกหมายถึง
1024..... ;D


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: salin - รักในหลวง ที่ มีนาคม 24, 2008, 04:40:43 PM
การวัดในยุคแรกๆ จะใช้การเปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆ เช่นการวัดน้ำหนักเทียบกับน้ำหนักของเมล็ดพืชจำนวนหนึ่ง การวัดความยาวก็จะเปรียบเทียบกับความยาวส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่นความยาวของเท้า ความกว้างของมือ หรือข้อนิ้วเป็นต้น ในยุคต้นๆ นั้นแต่ละสังคมก็จะกำหนดระบบการวัดของตัวเองทำให้มีความแตกต่างกันอย่างมาก ที่มีการบันทึกกันไว้เช่นในราว 3000 ปี ก่อนคริสตศักราช ชาวอียิปต์มีหน่วยวัดความยาวหนึ่งศอก (Cubit) ซึ่งเป็นความยาวที่วัดจากข้อศอกถึงปลายนิ้วที่เหยีดตรง แต่เนื่องจากคนมีร่างกายที่แตกต่างกัน การวัดความยาวด้วยวิธีนี้จึงไม่เท่ากัน ชาวอียิปต์จึงได้กำหนดความยาวหนึ่งศอกมาตรฐานของราชสำนักขึ้นมาแล้วเก็บไว้ในรูปแบบของแท่งหินแกรนิตสีดำ เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้เป็นตัวเทียบหน่วยวัดของตนให้เท่ากัน หนึ่งศอกของชาวอียิปต์นี้ยาว 524 มิลลิเมตร ต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้น ในราวปี 1700 ปีก่อนคริสตศักราช ชาวบาบิโลนได้ปรับปรุงความยาว 1 ศอกนี้เสียใหม่เป็น 530 มิลลิเมตร และแบ่งความยาวให้สามารถใช้วัดโดยละเอียดขึ้นออกเป็น 30 ส่วน เรียกว่า kus ซึ่งเท่ากับประมาณ 1 ข้อนิ้วมือ ต่อมามนุษย์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดหน่วยมาตรฐานสำหรับการวัดปริมาณต่างๆขึ้นมา เพื่อใช้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบเดียวกันทั้งโลก

   ระบเมตริก (Metric system) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในประเทศฝรั่งเศสในยุคของนโปเลียนช่วงทศวรรษ 1790 และเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับใช้งานมาก มีการสร้างแท่งน้ำหนักมาตรฐานและความยาวมาตรฐานจากโลหะพลาตินัม (Platinum) เมื่อ 22 มิถุนายน ค.ศ.1799 ซึ่งถือว่าเป็นขั้นแรกของการพัฒนาหน่วยมาตรฐานสากลในปัจจุบันนี้ ช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศสนี้ทำให้ระบบเมตริกกระจายออกไปทั่วโลก เริ่มจากประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษก่อนแพร่ไปยังประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ หน่วยเมตริกที่เป็นพหุคูณ (Multiple) และพหุคูณย่อย (Submultiple) จะสัมพันธ์กันด้วยกำลังของสิบโดยใช้คำเติมหน้า (Prefix) ซึ่งความสัมพันธ์แบบนี้จะสอดคล้องกับระบบเลขฐานสิบ ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ระบบเมตริกช่วงแรกมีหน่วยหลักมูล (Fundamental Unit) เพียงสองหน่วยคือ เมตร (Meter) และ กรัม (Gram) สำหรับความยาวและมวลตามลำดับ หน่วยอื่นๆ ของความยาว มวล พื้นที่ ปริมาตร และหน่วยประกอบ (Compound Unit) เช่นความหนาแน่นก็เป็นอนุพัทธ์ของสองหน่วยนี้ ระบบเมตริกได้ถูกนำไปปรับใช้ในแบบต่างๆ เช่น ในปี ค.ศ.1832 Johann Carl Friedrich Gauss เป็นคนแรกที่วัดแรงสนามแม่เหล็กโลกในระบบเซนติเมตร-กรัม-วินาที (cgs) และต่อมา Gauss กับ Weber ก็ได้ขยายการใช้ระบบนี้ไปวัดปรากฏการณ์ทางไฟฟ้า นอกจากนี้ยังได้นำระบบเมตริกไปใช้ในระบบเมตร-กิโลกรัม-วินาที (mks) ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
   ในปัจจุบันหน่วยวัดที่ยอมรับและใช้กันเป็นมาตรฐานคือ The International System of Units หรือเรียกย่อๆ ว่า SI (มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Le Système International d'Unités) เป็นหน่วยวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ในระบบหน่วย mks เมื่อปี ค.ศ. 1960 จากการประชุมทั่วไปการชั่งและวัดครั้งที่ 11 (the 11th General Conference on Weights and Measures (CGPM มาจาก Conférence Générale des Poids et Mesures) ซึ่ง CGPM นี้เป็นองค์กรสากลระหว่างรัฐที่เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาทางการฑูตที่เรียกว่า อนุสัญญามาตรา (Meter Convention หรือ Convention du Mètre) ซึ่งมักเรียกว่า สนธิสัญญามิเตอร์สหรัฐเอมริกา ( Treaty of the Meter in the United States) อนุสัญญามาตราลงนามกันที่ปารีสในปี ค.ศ. 1875 หรือเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว โดยประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ 7 ประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา และมีการแก้ไขเล็กน้อยในปี ค.ศ. 1921 ละยังคงคงพื้นฐานของความตกลงในเรื่องหน่วยของการวัดไว้ CGPM ทำหน้าที่เผยแพร่และปรับปรุงให้หน่วย SI มีความทันสมัยตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  อนุสัญญามาตรายังทำให้เกิด the International Bureau of Weights and Measures (BIPM มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Bureau International des Poids et Mesures) และ the International Committee for Weights and Measures (CIPM มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Comité International des Poids et Mesures) เป็นหน่วยงานภายใต้ CGPM BIPM ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Sèvres ชานกรุงปารีสมีหน้าที่กำกับดูแลให้ใช้หน่วยการวัดทั่วโลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน CPGM ประกอบด้วยผู้แทนจากรัฐสมาชิกของอนุสัญญามาตราและมีการประชุมทุกๆ 4 ปี ครั้งล่าสุดประชุมเมื่อเตือนตุลาคมปี ค.ศ.2003 CIPM ประกอบด้วยสมาชิกจากรัฐต่างๆ 18 ประเทศ ปัจจุบันมีการประชุมทุกปีในราวเดือนกันยายนหรือตุลาคมที่ BIPM ข้อแนะนำในการปรับปรุง SI จะถูกเสนอไปยัง CPGM โดย CIPM เพื่อให้การการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อสัญญา CIPM อาจใช้อำนาจผ่านข้อมติ (Resolution) และให้คำแนะนำเกี่ยวกับหน่วย SI ได้เอง (โดยทั่วไปข้อมติหรือคำแนะนำนี้จะเกี่ยวกับการแปลความหมายและการใช้งาน)


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: Sig228-kolok ที่ มีนาคม 24, 2008, 04:54:13 PM
แค่ 1 กิ๊ก ถ้าเมียรู้ก็ลำบากแล้วครับ อ.จรูญ ...   ::008::

ว่าแต่ ดร.หนู นี่ใช่อาจารย์ที่ ABAC รึเปล่าครับ เป็นเพื่อนของเพื่อนผม จบตรีฯบริหาร แต่ด้วยใจรักคอมป์ เลยไปต่อจนจบ ดร. ครับ  ::002::


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ มีนาคม 24, 2008, 04:57:55 PM
ขอบคุณครับ    ท่านสาริน


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: Udomkd ที่ มีนาคม 24, 2008, 05:44:54 PM
ผมเป็นเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ครับ.....(ปัจจุบันก็ยังเป็นอยู่ รักษาไม่หาย)

เชื่อไหมครับ ว่า บางคำถาม  ผมยังต้องเปิดหนังสืออยู่เลย  ด้วยว่าไม่มั่นใจ

ตอนเริ่มเรียน เรื่องพวกนี้ปวดหัวมาก เพราะไม่เข้าใจ ว่า จะรู้ไปทำไม

เจอสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์กับดิจิตอลเข้า หายปวดหัวเลย ....มึนงงแทน.. :~)

ปัจจุบัน ตำราเก่า ๆ ที่ผมเคยเข้าใจทั้งเล่มพวกนั้น ..กลายเป็นตำราที่เปิดหน้าไหนก็ไม่รู่เรื่อง..


อ้าวเรอะ...นึกว่าเป็นนินจา (หาเกียง)

ผมไม่รู้เรื่องเลยครับ ใช้มันเป็นก็เพราะความจำเป็นบังคับ ก็แค่ใช้โปรแกรม สำเร็จรูปเท่านั้น จะซ่อมสร้าง ไม่ได้ เพราะสมัยเรียน ไม่มี เพิ่งมามีตอนหลังทำงานแล้ว สัก10กว่าปี นี่เอง แต่ก่อนเห็นเครื่องครั้งแรกๆของเพื่อน ไม่กล้าจับของเขา กลัวว่าของเขาจะเสีย(มันแพง) คริๆ


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ มีนาคม 24, 2008, 05:52:10 PM

        ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ ..... แต่มันเกินสมองผมที่จะรับได้เสียแล้ว ..... ขอเป็นผู้ใช้ที่ดีครับ



หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: แมวบ้า(น) ที่ มีนาคม 24, 2008, 06:00:53 PM
 ::012:: ขอเป็นuserพอหละครับ  ::012::


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: xiehua dun ที่ มีนาคม 24, 2008, 08:56:11 PM
โห่ย ขอผมใช้อย่างเดียวก็พอแล้วครับ


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: tip1976 - รักในหลวง ที่ มีนาคม 24, 2008, 09:18:40 PM
คืนอาจารย์ไปหมดแล้วครับ ::012::


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ มีนาคม 25, 2008, 12:16:21 AM
ทำไม 1K ของคอมพิวเตอร์จึงเป็น 1024 ไม่ใช่ 1000 ....

ท่านใดตอบได้เอ่ย (คนเรียนคอมฯ แล้วไม่รู้ ต้องพิจารณาตัวเอง ... ::008:: ::008:: )

 ;D

ปล. .... ผมก็พิจารณาตัวเองแล้ว เลยเอามาถามดีกว่า  ::005::




ที่มา ทำไม 1K ของคอมพิวเตอร์จึงเป็น 1024 ไม่ใช่ 1000
การแปลงเลขฐานสอง เป็นฐาน สิบ
 1x2 ยกกำลัง 0  = 1
 1x2 ยกกำลัง 1  = 2
 1x2 ยกกำลัง 2  = 4
 1x2 ยกกำลัง 3  = 8
 1x2ยกกำลัง 4  = 16
 1x2 ยกกำลัง 5  = 32
 1x2 ยกกำลัง 6  = 64
 1x2 ยกกำลัง 7  = 128
 1x2 ยกกำลัง 8  = 256
 1x2 ยกกำลัง 9  = 512
 1x2 ยกกำลัง 10  = 1024

เป็นพื้นฐานของพีชคณิตบูลีน Boolean algebra ยังมีเลขอีกหลายฐานเช่น ฐาน 8 แต่ไม่เกินฐาน 16
และแปลงไปมาระหว่างฐานเป็นวิชาหลักอย่างหนึ่งเลยสำหรับผู้ที่คิดจะเรียนทางด้านวิศวกรไฟฟ้า.อิเลคทรอนิคส์.คอมพิวเตอร์

แต่ฐานที่น้อยที่สุดคือ............................ฐานเงินเดือนครับ


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: Charoon รักในหลวงครับ ที่ มีนาคม 25, 2008, 04:39:06 AM
หนูก็ใช้เป็นอย่างเดียวเหมือนน้าเข้มเลยค่ะ

(http://1.3qdc.com/ber5/2007/07/20/ber5_sslt_0.out.JPG)


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: a lone wolf ที่ มีนาคม 25, 2008, 07:34:05 AM
 ;D
ตอนอยู่ ม.4 เมื่อ 21 ปีที่แล้ว
สัปดาห์แรกของการเรียนฟิสิกส์ อาจารย์ให้ท่องคำเรียกPrefix
ยังจำได้จนบัดนี้ (จากมากไปน้อย)

เทอรา
จิกะ
เมกกะ
กิโล
เฮกโต
เดคะ
เดซิ
เซนติ
มิลลิ
ไมโคร
นาโน
พิโค
เฟมโต
อัตโต

พอสอบเข้ามหาวิทยาลัย ติดคณะบัญชี เลยม่ายด้ายใช้ ;D


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: Ramsjai ที่ มีนาคม 25, 2008, 07:39:03 AM
แต่ฐานที่น้อยที่สุดคือ............................ฐานเงินเดือนครับ


เห็นด้วยกับข้อนี้ค่ะ  ;D


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: NatthaphoN_ ที่ มีนาคม 25, 2008, 07:59:56 AM
หนูก็ใช้เป็นอย่างเดียวเหมือนน้าเข้มเลยค่ะ

(http://1.3qdc.com/ber5/2007/07/20/ber5_sslt_0.out.JPG)
อะ....เครื่องสีขาวแจ๋วครับอา ;D


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ มีนาคม 25, 2008, 08:26:09 AM
แต่ฐานที่น้อยที่สุดคือ............................ฐานเงินเดือนครับ


เห็นด้วยกับข้อนี้ค่ะ  ;D

 :D อืม..อันนี้จริงครับ


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: jakrit97 - รักในหลวง - ที่ มีนาคม 25, 2008, 08:49:10 AM
ทำไม 1K ของคอมพิวเตอร์จึงเป็น 1024 ไม่ใช่ 1000 ....

ท่านใดตอบได้เอ่ย (คนเรียนคอมฯ แล้วไม่รู้ ต้องพิจารณาตัวเอง ... ::008:: ::008:: )

 ;D

ปล. .... ผมก็พิจารณาตัวเองแล้ว เลยเอามาถามดีกว่า  ::005::




ที่มา ทำไม 1K ของคอมพิวเตอร์จึงเป็น 1024 ไม่ใช่ 1000
การแปลงเลขฐานสอง เป็นฐาน สิบ
 1x2 ยกกำลัง 0  = 1
 1x2 ยกกำลัง 1  = 2
 1x2 ยกกำลัง 2  = 4
 1x2 ยกกำลัง 3  = 8
 1x2ยกกำลัง 4  = 16
 1x2 ยกกำลัง 5  = 32
 1x2 ยกกำลัง 6  = 64
 1x2 ยกกำลัง 7  = 128
 1x2 ยกกำลัง 8  = 256
 1x2 ยกกำลัง 9  = 512
 1x2 ยกกำลัง 10  = 1024

เป็นพื้นฐานของพีชคณิตบูลีน Boolean algebra ยังมีเลขอีกหลายฐานเช่น ฐาน 8 แต่ไม่เกินฐาน 16
และแปลงไปมาระหว่างฐานเป็นวิชาหลักอย่างหนึ่งเลยสำหรับผู้ที่คิดจะเรียนทางด้านวิศวกรไฟฟ้า.อิเลคทรอนิคส์.คอมพิวเตอร์

แต่ฐานที่น้อยที่สุดคือ............................ฐานเงินเดือนครับ

History

Early computers used one of two addressing methods to access the system memory; binary (base-2) or decimal (base-10). For instance, the IBM 701 (1952) used binary and could address 2,048 36-bit words, while the IBM 702 (1953) used decimal and could address 10,000 7-bit words.

One of the most successful early computers was the IBM 1401. It was introduced in 1959 and by 1961 one out of every four electronic stored-program computers was an IBM 1401. It used decimal addressing and could have 1400, 2000, 4000, 8000, 12000 or 16000 characters of 8-bit core storage.[4] In the 1950s, computer engineers were familiar with the terms kilo (k) and mega (M). It was common to see 4.7k for a 4700 ohm resistor or 10Mc for a 10 megacycle (megahertz) frequency. It was natural to borrow the term k to express large quantities of storage. A reference to a "4k IBM 1401" meant 4,000 characters of storage (memory).[5]

เรื่องเลขฐานผมก็ทราบ เพียงแต่ผมสงสัยย้อนกลับไปว่า คอมฯเลือกใช้หน่วยใกล้เคียง SI ทำไม (จริง ๆ จะบอก SI ของคอม K = 1024 ก็ไม่ถูกอีก ... 1024 คือ Ki )

เพราะเรื่องตัวเลขต่าง ๆ ในคอม มันสามารถกำหนดได้โดยอิสระอยู่แล้ว ขนาดของจำนวนเต็มอาจจะถูกจำกัดโดยวงจร (เพราะเป็นวงจรคิดเลข) แต่ขนาดของจำนวนจริง มันก็พอจะเรียกว่ากำหนดเองได้อยู่ (แต่ต้องไปเขียน code คิดเลขเอง) .....

By the mid 1960s, binary addressing had become the standard architecture in computer design. The computer system documentation would specify the memory size with an exact number such as 32,768, 65,536 or 131,072 words of storage (all powers of 2). There were several methods used to abbreviate these quantities. The use of K in the binary sense as in a "32K store" can be found as early as 1960.

Gene Amdahl's seminal 1964 article on IBM System/360 used 1K to mean 1024.[7] This style was used by other computer vendors, the CDC 7600 System Description (1968) made extensive use of K as 1024.

Another style was to truncate the last 3 digits and append K. The exact values 32,768, 65,536 and 131,072 would then become 32K, 65K and 131K.

พอได้อ่าน จึงรู้ว่า ใคร ๆ (ผู้ผลิตคอม) ก็มีความคิดเป็นของตัวเองทั้งนั้น ....

ทำเอาเด็กยุคหลังมึนกันไป  ::005:: ::005::


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: Major ที่ มีนาคม 29, 2008, 05:16:50 PM
แต่ฐานที่น้อยที่สุดคือ............................ฐานเงินเดือนครับ


เห็นด้วยกับข้อนี้ค่ะ  ;D

 :D อืม..อันนี้จริงครับ

เห็นด้วยอีกคนครับ    :~) :~) :~) มนุษย์เงินเดือน  :~) :~) :~)


หัวข้อ: Re: ความหมายของ กิกะไบต์
เริ่มหัวข้อโดย: Charoon รักในหลวงครับ ที่ มีนาคม 29, 2008, 06:35:39 PM
ครม.เอาใจข้าราชการปรับเงินเดือนเพิ่ม 4% ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้ ดึงเงินงบประมาณรองรับ 1.7 หมื่นล้านบาท เตรียมแผนระยะยาวปรับโครงสร้างใหม่แก้ความเหลื่อมล้ำ มองช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้อีกทาง ไฟเขียวกรอบงบประมาณปี 51 เพิ่มรายจ่าย 2.5 หมื่นล้านบาท