เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ มีนาคม 29, 2008, 04:38:38 PM



หัวข้อ: จะผิดจะถูก...ก็ชาติของข้า...
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ มีนาคม 29, 2008, 04:38:38 PM
แฮะๆ เอามาให้คนที่ยังไม่เคยอ่านนะครับ  ;D ;D
เมื่อยิวขโมยแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ 
หลังสงครามคลองสุเอช  ประเทศอาหรับรอบๆ อิสราเอลได้ซื้ออาวุธที่ทันสมัยจากเชคโกสโลวาเกีย  และรัสเซีย  ซึ่งรวมถึงเครื่องบินมิก  ส่วนอิสราเอลได้ซื้อเครื่องบินมิราจจากฝรั่งเศส  และได้ทำการดัดแปลงปรับปรุงเครื่องบินมิราจให้เหมาะกับภูมิอากาศของตะวันออกกลางรวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอาวุธที่ทันสมัยมีกำลังในการทำลายสูง  จึงทำให้มิราจมีสมรรถนะและอำนาจการทำลายสูงกว่ามิกของรัสเซียมาก
...ในทันทีที่สงคราม 6 วันสิ้นสุดลง  ประธานาธิบดีเดอ โกลล์ ได้สั่งให้งดขายอาวุธต่างๆรวมทั้งเครื่องบินมิราจ 3-s จำนวน 15 เครื่องให้อิสราเอล ซึ่งอิสราเอลได้จ่ายเงินให้ไปแล้ว โดยความจริงแล้วกองทัพอากาศอิสราเอลได้ติดแน่นอยู่กับระบบต่างๆ ของเครื่องบินมิราข แม้ว่าอเมริกาได้ยื่นเสนอจะขายอาวุธให้ โดยจะจัดส่งเครื่องบินแฟนธอมมาให้ทันที แต่มันก็ไม่ได้แก้ปัญหาใดๆ เลย เพราะอิสราเอลได้พัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ไว้สำหรับเครื่องบินมิราจแล้ว อิสราเอลได้ลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงที่มุ่งจะใช้กับระบบของมิราจไปเป็นจำนวนมหาศาล และไม่ได้พัฒนาระบบอื่นเลย
...นี่เป็นปัญหาระยะสั้นที่ทำให้รัฐบาลและกองทัพอิสราเอลต้องคิดหาทางออกอย่างหนัก  และปัญหาระยะยาวที่จะตามมาอีกเล่า  นั่นคือการซ่อมบำรุงเครื่องบินมิราจที่มีอยู่แล้วจะทำอย่างไร ความสามารถในการป้องกันประเทศของอิสราเอลขึ้นอยู่กับอาวุธที่ได้รับจากประเทศเดียวเท่านั้น ถ้าประเทศนั้นเกิดเปลี่ยนใจไม่ส่งอาวุธมาให้โดยไปเข้ากับศัตรูในขณะวิกฤต อิสราเอลจะทำอย่างไร เหมือนยืมจมูกคนอื่นหายใจฉะนั้น
...คณะรัฐมนตรีได้มีมติด่วนให้จัดหางบประมาณให้แก่อุตสาหกรรเครื่องบินของอิสราเอลเพื่อสร้างเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดที่สามารถต่อกรกับเครื่องบินชั้นเยี่ยมของชาติอื่นๆ มีการตั้งคระกรรมการขึ้นมาพิจารณาปัญหาต่างๆ ที่เผชิญหน้าอยู่
...คณะกรรมการได้รายงานว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในการสร้างเครื่องบินสัญชาติอิสราเอลให้ขึ้นยินได้ทั้งนี้ เพราะอิสราเอลจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ ก ไก่ ขึ้นไป  นอกจากนั้นยังไม่อาจประกันได้ว่าเครื่องบินที่ผลิตออกมานั้น จะสามารถเทียบชั้นกับเครื่องบินของรัสเซีย อังกฤษ อเมริกา หรือฝรั่งเศสได้
...วิธีแก้ปัญหานี้ให้ได้รวดเร็วคือสร้างเครื่องบินที่ลอกแบบจากมิราจซึ่งวิศวกรและเทคนิเชียนของอิสราเอลมีความชำนาญและคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่วิธีนี้ก็ยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่ดี เนื่องจากเครื่องบินขับไล่สมัยใหม่แต่ละเครื่องมีชิ้นส่วนประมาณ 1 ล้านกว่าชิ้น และทุกชิ้นส่วนได้รับการทดสอบมาแล้วเป็นอย่างดี ถ้าจะลอกแบบจากเครื่องบินจริงย่อมไม่ได้คุณภาพเท่าของแท้ นอกเสียจากจะมีพิมพ์เขียวของวิศวกรผู้สร้างมิราจเอง ตัวอย่างที่อิสราเอลรู้ดีก็คือ สวิตเซอร์แลนด์ได้ผลิตเครื่องบินมิราจภายใต้สิทธิบัตรที่ได้รับอนุญาตจากฝรั่งเศส ซึ่งสามารถใช้แบบพิมพ์เขียนและเทคนิคเชียนของฝรั่งเศสอีกด้วย แม้กระนั้นยังต้องใช้เวลาถึง 6 ปี เครื่องบินมิราจที่สร้างในสวิตเซอร์แลนด์จึงขึ้นบินได้
...เดือนธันวาคม 1967 ฝรั่งเศสได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือสิทธิบัตรในการผลิตเครื่องบินมิราขทั้งลำหรือบางส่วนขึ้นในปารีส โดยปกติแล้วเครื่องบินหรือเครื่องยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับเครื่องบินจะไม่ค่อยเป็นไปตามรายการประกอบแบบ (Specifications) ที่เขียนขึ้นโดยยืนยันสมรรถนะหรือเพื่อประกันความปลอดภัยเครื่องบินมิราจมิได้มีข้อยกเว้น บริษัท ดาสโซลท์ ผู้ผลิตลำตัวเครื่องบินและบริษัทเซนิกามา ผู้ผลิตเครื่องยนต์ ATA-9 ทั้งสองบริษัทเป็นเจ้าภาพร่วมกัน จัดให้มีการประชุมสำหรับผู้ใช้งานเครื่องบินมิราจทั้งหลายในครั้งนี้ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากรัฐบาลและอุตสาหกรรมสร้างเครื่องบินของชาติต่างๆ ที่เป็นลูกค้า วัตถุประสงค์ก็เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ โดยออสเตรเลียและสวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้ผลิตมิราจทั้งตัวเครื่องบินและเครื่องยนต์ ส่วนอิสราเอลและเบลเยี่ยมนั้น นำชิ้นส่วนไปประกอบและผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นขึ้นเอง ทั้งหมดภายใต้สิทธิบัตรที่ได้รับอนุญาต นอกจากนั้นก็ยังมีแอฟริกาใต้ เลบานอน และเปรู ซึ่งซื้อเครื่องบินมิราจที่ประกอบสำเร็จรูปไปใช้ ในการประชุมครั้งนี้อิสราเอลได้ส่งพลจัตวาโดฟ ไซเยี่ย (Dov Syion) แห่งกองทัพอากาศอิสราเอลเข้าร่วมประชุม  ไซเยี่ยนไม่ได้ออกความเห็นอะไรมากนัก เพราะเขานั่งติดกับผู้แทนจากเลบานอนซึ่งถือเป็นศัตรู และอิสราเอลยังไม่พอใจฝรั่งเศสที่ไม่ยอมส่งอาวุธให้อิสราเอล ดังนั้น ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการใช้เครื่องบินมิราจในสงคราม 6 วันที่เตรียมมาจึงไม่ได้เสนอในที่ประชุมแต่อย่างใด....(ยังไม่จบนะ...ติดตามต่อในครั้งหน้า)
 


หัวข้อ: Re: จะผิดจะถูก...ก็ชาติของข้า...
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ มีนาคม 29, 2008, 04:40:33 PM
เมื่อยิวขโมยแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ (ตอน 2)
...ในการประชุมนั้นผู้ผลิตเครื่อยนต์ ATA-9 บริษัท เซนิกามา ได้รับความกดดันจากลูกค้าที่ใช้มิราขเป็นอันมากเพราะต่างผิดหวังกับเครื่องยนต์ ATA-9 ที่ติดตั้งอยู่ในมิราจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัลเฟรด ฟรอเอนค์เนคท์ (Alfred Frauenknecht) ผู้แทนจากบริษัทโซลเซอร์ บราเดอร์ส์ (Solzer Brothers) แห่งสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งได้สิทธิบัตรในการสร้างมิราจ ได้วิจารณ์เครื่องยนต์ ATA-9 อย่างหนัก สำหรับโดฟ ไซเยี่ยนแล้วทุกสิ่งที่ฟรอเอนค์เนคท์พูดนั้นได้เกิดขึ้นกับเครื่องบินมิราจของอิสราเอลเช่นเดียวกัน หลังการประชุมไซเยี่ยนได้หาโอกาสพบและรับประทานอาหารกับฟรอเอนค์เนคท์ และได้บอกกับผู้แทนบริษัทสวิสว่าเขาจงใจที่จะไม่เสนอข้อมูลในการใช้งานมิราจของอิสราเอลเข้าที่ประชุม
...โดฟ ไซเยียน กลับอิสราเอลพร้อมกับข่าวดี ฟรอเอนค์เนคท์ได้เปิดเผยกับเขาว่ารัฐบาลสวิสได้สังชิ้นส่วนมิราจ III  จำนวน 100 เครื่อง แต่เนื่องจากราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลสวิสขึงตัดสินใจสร้างเพียง53 เครื่อง ชิ้นส่วนที่เหลือนั้นจึงพอที่จะสร้างอีก 47 เครื่องได้อย่างสบาย แถมยังมีแบบพิมพ์เขียวและรายการอย่างละเอียดที่อยุ่ในสวิสเซอร์แลนด์อีกด้วย ถ้าอิสราเอลได้เป็นเจ้าของชิ้นส่วนและแบบพิมพ์เขียวเหล่านั้นก็สามารถสร้างเครื่องบินมิราจได้อีกประมาณ 50 เครื่อง เพื่อทดแทนจำนวนที่สั่งจากฝรั่งเศส แต่ถูกรัฐบาลฝรั่งเศสกักเอาไว้
...มิตรใหม่ทั้งสองติดต่อกันทางจดหมายเรื่อยมาก แม้ว่าฟลอเอนค์เนคท์ จะไม่ใช่คนยิว แต่ก็มีความเห็นอกเห็นใจยิวอยู่เป็นอันมาก ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยิวได้หนีตายจากฮิตเลอร์เข้ามาพึงสวิตเซอร์แลนด์เหมือนหนีร้อนมาพึ่งเย็น แต่สวิตเซอร์แลนด์กลับขับไล่ไสส่งชาวยิวเหล่านั้นให้ไปพบกับความตาย ซึ่งฟรอเอนค์เนทค์ถือว่าเป็นความผิดของสวิตเซอร์แลนด์ที่ไม่อาจล้างบาปได้ ฟรอเอนค์เนทค์เป็นวิศวกรฝ่ายพัฒนา อายุเพียง 40 ปี เขาได้ไต่เต้าขึ้นมาอยู่ในระดับสูงของบริษัทโซลเซอร์ บราเดอส์แล้ว
...อิสราเอลได้พบช่องโหว่ของการรักษาความปลอดภัยที่หนาแน่นของฝรั่งเศสเข้าแล้ว ต่อไปนี้ต้องหาทางทะลุทะลวงช่องโหว่นี้ให้กว้างขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือทำให้ฟรอเอนค์เนคท์จงรักภักดีให้ได้เสียก่อน โดย โดฟ ไซเยี่ยน และนายทหารอิสราเอลอื่นๆ ได้ส่งข้อมูลในการปรับแต่งเครื่องยนต์ ATA-9 ให้ฟรอเอนค์เนทค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฟรอเอนค์เนคท์มีความต้องการเป็นอย่างมากอยู่แล้ว ในที่สุดการติดต่อกันทางจดหมายระหว่างฟรอเอนค์เนทค์ กับเพื่อนทหารอิสราเอลทำให้มิตรภาพแน่นแฟ้นขึ้น
...คณะกรรมการชุดหนึ่งได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อควบคุมและติดตามกรณีของอัลเฟรด ฟรอเอนค์เนคท์ โดยมี นายพลอาฮารอน ยาริฟ หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับอิสราเอลเป็นประธาน ประกอบไปด้วยคนของกองทัพอากาศและอุตสาหกรสร้างเครื่องบินเป็นกรรมการ ผู้ที่สมควรกล่าวถึงอีกสองคนคือ เมียร์ อมิท อดีตหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับ และ อัลชวิมเม (Al Schwimme) อเมริกันยิวผู้ซึ่งได้วางรากฐานของอุตสาหกรรมเครื่องบินในอิสราเอลตั้งแต่ 1947 ร่วมกันรับผิดชอบในด้านปฏิบัติการ
...ตอนแรกคณะกรรมการตกลงว่าจะติดต่อกับรัฐบาลสวิสอย่างเปิดเผยผ่านทางฟรอเอนค์เนคท์ก่อน โดยอัลสวิมเม ได้เสนอกับรัฐบาลสวิสว่า อิสราเอลจะขอซื้อส่วนประกอบของมิราจจำนวน 47 เครื่อง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนที่ทางอิสราเอลจะมอบความลับอันสำคัญในการปรับแต่งเครื่องยนต์ ATA-9 ให้แก่รัฐบาลสวิสเป็นการตอบแทน
...รัฐบาลสวิสได้ติดต่อกับฝรั่งเศสและคำตอบจากฝรั่งเศสนั้นทำให้อิสราเอลผิดหวัง คือไม่ให้สวิสขายชิ้นส่วนให้กับอิสราเอล
แต่คณะกรรมการเดาว่าคำตอบน่าจะออกมาในด้านลบอยู่ก่อนแล้ว จึงได้เตรียมแผนสองเอาไว้
...ในปี 1958 ฟรอเอนค์เนทค์ ได้รับจดหมายขออนุญาตให้พันเอกซูฮาน นายทหารอิสราเอล เข้าชมโรงงานของบริษัทโซลเซอร์ บราเดอร์ส์ เพื่อนำไปดัดแปลงใช้กับโรงงานของอิสราเอล หลังจากได้รับอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทแล้ว ฟรอเอนค์เนทค์ได้แจ้งให้ทางอิสราเอลทราบ หลังจากนั้นไม่นานสถานฑูตอิสราเอลในกรุงโรมก็ได้ติดต่อไปยังฟรอเอนค์เนทค์ แนะให้มีการพบกันก่อนเพื่อจัดเตรียมการมาเยือนของพันเอกซูซาน
...ที่ซูริค ฟรอเอนค์เนคท์ ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับชาวอิสราเอล 2 คน คือ พันเอก อเบล แห่งกองทัพอากาศอิสราเอล และนายบาเดอร์ ซึ่งเป็นตัวแทนของคณะกรรมการจัดซื้ออาวุธของกระทรวงกลาโหมอิสราเอล ซึ่งความจริงแล้วบุคคลทั้งสองก็คือ อัลชวิมเม ที่แสดงตัวเป็นนายบาเดอร์ และพันเอกอเบลก็คือพันเอกเคน (Cain) ซึ่งเป็นสายลับที่ทำงานในยุโรปและมีฐานอยู่ที่สถานฑูตอิสราเอล ณ กรุงโรม
...บุคคลทั้งสองได้พูดตรงจุดทันที อิสราเอลจำเป็นต้องมีเครื่องบินขับไล่เพื่อป้องกันประเทศ จะมีทางใดบ้างหรือไม่ที่อิสราเอลจะติดต่อโดยตรงกับบริษัทโซลเซอร์ บราเดอร์ส์ โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาลสวิส? ฟรอเอนค์เนทค์แนะนำว่า เรื่องนี้อาจเป็นไปได้ ถ้าหากว่าอิสราเอลจะซื้อแบบพิมพ์เขียนในราคา 150 ล้านฟรังสวิส แล้วสั่งซื้อสิ่งอื่นๆ ผสมเข้าไป อาจเป็นเทอร์ไบน์หรืออะไรทำนองนั้นอีก 100 ล้านฟรังสวิส บุคคลทั้งสองได้ขอร้องให้ฟรอเอนค์เนทค์ช่วยติดต่อบริษัทให้ด้วย
...บริษัทได้ยืนตามมติของรัฐบาล ที่จะไม่ขายชิ้นส่วนและแบบพิมพ์เขียวของเครื่องบินมิราจให้กับอิสราเอล
...อย่างไรก็ดี อัล ชวิมเม รู้ดีว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์แท้ๆ ก็เพื่อจะรู่ว่าวิศวกรสวิสผู้นี้เกี่ยวข้องกับอะไรบ้างคำตอบก็คือแบบพิมพ์เขียวทุกแผ่นจะต้องผ่านสำนักงานของเขานั่นคือฟรอเอนค์เนทค์อยู่ในตำแหน่งที่จัดหาข่าวสารที่จำเป็นสำหรับอิสราเอลในการสร้างมิราจภายในระบะเวลาเพียง 5 ปีได้อย่างแน่นอน แทนที่จะต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี
...ปัญหาที่บุคคลทั้งสองเผชิญอยู่ในขณะนั้นคือ แม้ว่าฟรอเอนค์เนคท์จะให้ความเป็นมิตรแก่พวกเขา แต่คงไม่ง่ายเลยที่จะให้ฟรอเอนค์เนทค์ทรยศต่อประเทศ และบริษัทที่เขาเป็นลูกจ้างอยู่ จนกระทั่งมีการพบกันครั้งที่สาม ภายใต้แสงสีแดงของบาร์แห่งหนึ่งในซูริค อัล ชวิมเม ได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ฟรอเอนค์เนทค์ช่วย เรื่องจึงได้ขมวดเกลียวสู่ความสำเร็จ
...เบื้องหลังความสำเร็จของ อัล ชวิมเม......(ติดตามต่อในตอน 3)
 


หัวข้อ: Re: จะผิดจะถูก...ก็ชาติของข้า...
เริ่มหัวข้อโดย: E_mail ที่ มีนาคม 29, 2008, 04:45:39 PM
เรือรบทั้งกองเรือ สั่งต่อเสร็จแล้วตังค์ก็จ่ายแล้ว ดันไม่ยอมให้มาใช้ ยิวยังจิ๊กออกมาได้เลยครับ  ::002::


หัวข้อ: Re: จะผิดจะถูก...ก็ชาติของข้า...
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ มีนาคม 29, 2008, 05:13:42 PM
เมื่อยิวขโมยแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ (ตอน 3)
...เบื้องหลังความสำเร็จของอัล ชวิมเม ในครั้งนี้มีบุคคลที่อยู่เบื้องหลังพวกเขาก็คือ เมียร์ อมิท และอาฮารอน ยาริฟ ซึ่งได้จัดหานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งช่วยวางแผนในการโน้มน้าววิศวกรสวิสให้ร่วมมือด้งย ในที่สุดฟรอเอนค์เนทค์ก็ตกอยู่ในภาวะที่รู้สึกว่าภาระทั้งหมดนั้นเป็นของตน และสำคัญต่อตนในการที่จะช่วยให้กองทัพอากาศอิสราเอลมีมิราจไว้ป้องกันประเทศแน่นอนเรื่องนี้มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ฟรอเอนค์เนทค์รู้ว่าเขาจะได้เงินก้อนใหญ่จากการทำสำเนาของแบบพิมพ์เขียวและส่งให้อิสราเอล ซึ่งทุกอย่างดูไม่ยากเย็นอะไร และแบบพิมพ์เขียวนั้นอยู่ในความดูแลของเขาอยู่แล้ว เพื่อเป็นการประกันกับฟรอเอนค์เนทค์ ทางอิสราเอลจะจ่ายให้ล่วงหน้า 2 แสนคอลลาห์แก่เขา
...เท่านั้นเองวิศวกรสวิส ฟรอเอนค์เนทค์ ก็เสมือนปลางับเหยื่อเข้าแล้ว  แบบพิมพ์เขียวสำหรับการผลิตชิ้นส่วนด้วนเครื่องจักรกลมีจำนวน 45,000 แผ่น และอีก 150,000 แผ่นสำหรับเครื่องบิน มีน้ำหนักรวมกันประมาณ 2 ตัน ฟรอเอนค์เนทค์คิดว่าเขาต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งปีจึงจะทำทุกอย่างสำเร็จ ดังนั้น เจาจึงรายงานผุ้บังคับบัญชาว่า แบบจำนวนมากนี้สมควรถ่ายเข้าไมโครฟิล์มไว้แล้วทำลายแบบพิมพ์เขียวเสีย จะทำให้เก็บรักษาง่ายไม่เปลืองที่และปลอดภัยกว่า เจ้านายอนุมัติตามเสนอทันที เมื่อมีแบบถึงสองชุด-แบบพิมพ์เขียวและไมโครฟิลม์-ชุดพิมพ์เขียวก็จะถูกส่งไปอิสราเอล แต่ปัญหาก็คือจะส่งอย่างไร?
...โรงงานของบริษัทโซลเซอร์ บราเดอรส์ เป็นของเอกชนก็จริง แต่การผลิตเครื่องบินมิราจภายใต้สิทธิบัตรจากฝรั่งเศสถือว่าเป็นความลับสุดยอด ทางการสวิสจึงได้ส่งทหารมารักษาความปลอดภัย ทุกๆ การเคลื่อนไหวมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดเสมอ การนำพิมพ์เขียวมาถ่ายลงในไมโครฟิล์มก็เช่นเดียวกัน จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำก๊อปปี้พิเศษจากการถ่ายไมโครฟิล์มสำหรับส่งให้อิสราเอล
...ภายใต้กฎหมานของสวิตเซอร์แลนด์ แบบพิมพ์เขียวที่ได้สิทธิบัตราจะต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 50 ปีจึงจะนำออกมาขายได้  ฟรอเอนค์เนทค์จึงได้ใช้หลายชายที่ชื่อว่า โจเซฟ ฟรอเอนค์เนทค์ ไปติดต่อสำนักงานทะเบียนสิทธิบัตรซึ่งเก็บรักษาพิมพ์เขียวเก่าเอาไว้  และขอซื้อพิมพ์เขียวที่อายุเกิน 50 ปีเหล่านั้น
...ฟรอเอนค์เนทค์ได้จัดการให้ตนเองเป็นผู้รับผิดชอบในการถ่ายไมโครฟิล์ม เมื่อถ่ายเสร็จแล้วเขาจะนำพิมพ์เขียวใส่กล่องกระดาษ ทุกการเคลื่อนไหวอยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้งสิ้น ต่อจากนั้นกล่องกระดาษจะถูกขนไปขึ้นรถโฟล์คตู้ ซึ่งเขาซื้อในนามของหลานชายเพื่อใช้ในการขนกล่องกระดาษเอาไปเผาที่เตาเผาเศษขยะกลางของเมือง และจะมีเจ้าหน้าที่จดบันทึกทุกครั้งที่กล่องกระดาษที่เผานั้นบรรจุไว้ด้วยพิมพ์เขียว ฟรอเอนค์เนทค์ได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบว่าเพื่อความปลอดภัยของแบบพิมพ์เขียวมิให้ตกอยู่ในมือของผู้อื่น เขาจะต้องทำหน้าที่ควบคุมการขนย้ายแบบพิมพ์เขียวเพื่อนำไปเผาด้วยตนเอง  เขาได้เช่าโกดังไว้แห่งหนึ่งระหว่างทางจากบริษัทไปยังเตาเผาที่อยู่กลางเมือง กล่องกระดาษซึ่งบรรจะไว้ด้วยพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจได้ถูกนำไปไว้ที่โกดังนั้น และเขาก็คว้ากล่องกระดาษที่บรรจุพิมพ์เขียวเก่าเกิน 50 ปี ซึ่งหลานชายได้ซื่อมาจากสำนักงานทะเบียนสิทธิบัตรและนำไปขึ้นรถตู้เพื่อนำไปเผาต่อไป กล่องที่ใช้บรรจุพิมพ์เขียวที่เก่าเกิน 50 ปีนั้นเหมือนกับกล่องที่ใช้อยู่ในบริษัททุกประการ เมื่อกล่องถูกตรวจก่อนที่จะโยนเข้าเตาเผาจึงไม่มีใครสงสังอะไรเลย
...ฟรอเอนค์เนทค์จะนำกล่องบรรจุแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจไปให้กับเจ้าหน้าที่อิสราเอลซึ่งนัดพบกันในที่ต่างๆ เช่นที่โฮเต็ล ร้านอาหาร หรือที่จอดรถ ซึ่งไม่ซ้ำกัน เพื่อไม่ให้เป้นที่สังเกตของคนทั่วไป
...แต่ปัญหาก็งไม่หมดไป นันคือการนำแบบพิมพ์เขียวออกจากสวิตเซอร์แลนด์ ถ้าฟรอเอนค์เนทค์จะส่งทางเครื่องบิน ครั้งแรกๆ คงไม่เป็นที่สงสัยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสวิส แต่ถ้าจัดส่งโดยวิธีนี้นานๆ เข้าก็อาจเป็นที่สงสัย และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสวิสนั้นเป็นหน่วยที่มีประสิทธิภาพสูงเสียด้วย
...ในที่สุด ยาริฟก็ตกลงใจว่าแทนที่จะส่งแบบพิมพ์เขียวออกทางฝรั่งเศส เขาได้สั่งให้ส่งแบบพิมพ์เขียวผ่านชายแดนสวิสออกทางเยอรมัน สายลับอิสราเอลสี่คนถูกส่งไปยังสะพานข้ามแม่น้ำไรน์ เพื่อคอยดูว่าเมื่อไรการจราจรจะน้อยลง กิจกรรมของเจ้าหน้าที่ศุลกากรเป็นอย่างไร เฉพาะอย่างยิ่งจะสามารถติดสินบนเจ้าหน้าที่ได้หรือไม่ เพื่อทำให้การส่งออกง่ายขึ้น
...ยาริฟได้รับรายชื่อของผู้ที่น่าจะถูกเลือกให้ทำหน้าที่ขนแบบพิมพ์เขียวผ่านชายแดนสวิสออกไปยังเยอรมันและคนหนึ่งดูเหมือนจะเหมาะกว่าคนอื่นๆ เขาคือ ฮานส์ สเตรคเกอร์ ซึ่งเป็นคนเยอรมันและขณะนั้นเขาทำงานอยู่กับบริษัทขนส่งสวิสขื่อบริษัท รอทซิงเจอร์ (Rotzinger) หน้าที่ของ
สเตรคเกอร์คือ นำสินค้าผ่านกระบวการศุลกากร อันว่าบริษัทรอทซิงเจอร์นั้น แม้จะเป็นบริษัทขนส่งเล็กๆ แต่ก็ได้รับความเชื่อถือมานานแล้ว จึงเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ


หัวข้อ: Re: จะผิดจะถูก...ก็ชาติของข้า...
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ มีนาคม 29, 2008, 05:14:30 PM
เมื่อยิวขโมยแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจ(ตอนจบ)
...สายลับของอิสราเอลได้ผูกมิตรกับสเตคเกอร์ จนสเตรคเกอร์ได้กลายเป็นเพื่อนสนิทกับสายลับผู้จ่ายไม่อั้น  ครั้นแล้วเมื่อสเตรคเกอร์เอ่ยถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ขึ้นมา เพื่อนชาวอิสราเอลได้ยื่นข้อเสนอกับสเตรคเกอร์ทันที สเตรคเกอร์จะได้รับเงินพิเศษถ้าทำงานให้กับเพื่อนคนหนึ่งของเขา เป็นงานง่ายๆ และไม่มีอันตรายแต่อย่างใด แค่ขนของข้ามชายแดนสวิสไปยังเยอรมันเท่านั้น เพียงแต่ต้องทำต่อเนื่องกันหลายเดือน สเตรคเกอร์จะได้รับเงินประมาณหนึ่งแสนดอลลาห์ สเตรคเกอร์รับงานนี้ทันที
...ฟรอเอนค์เนทค์พบสเตรคเกอร์เพียงครั้งเดียวเพื่อรับกุญแจของโกดังเล็กๆ ซึ่งเป็นของบริษัทรอทซิงเจอร์ทุกๆ วันเสาร์ฟรอเอนค์เนทค์จะขับรถโฟล์คตู้เพื่อนำกล่องกระดาษไปไว้ยังโกดัง หลังจากนั้นเขากับหลานชายก็จะไปดื่มที่บาร์ชื่อเฮอร์เช่น ถ้าเขาสามารถนำกล่องกระดาษไปไว้ในโกดังเขาจะผงกศรีษะเป็นเชิงทักทายให้กับสเตรคเกอร์ เป็นที่รู้กันว่าทุกอย่างเรียบร้อย สินค้าพร้อมที่สเตรคเกอร์จะไปขนย้ายได้แล้ว สเตรคเกอร์จะไปขนกล่องกระดาษที่โกดังขึ้นรถเบนซ์สีดำขับออกไป เมื่อผ่านชายแดนสวิสแล้วสเตรคเกอร์จะต้องขึ้นเหนือผ่านแบคลฟอเรสต์เข้าสตุทท์การ์ท ที่นั่นมีสนามบินส่วนตัวแห่งหนึ่ง กล่องกระดาษจะถูกขนขึ้นเครื่องบินเซสน่าสองเครื่องยนต์ซึ่งขึ้นทะเบียนในอิตาลีที่รออยู่ เครื่องบินเซสน่าจะบินออกจากสนามนั้นทันที มุ่งตรงไปยังปลายส้นเท้าของบู๊ทอิตาลี ซึ่งจะมีเครื่องบินของอิสราเอลมารับกล่องกระดาษไปยังอิสราเอลอีกต่อหนึ่ง
...การขนกล่องกระดาษที่บรรจุแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจซึ่งหนัก 50 กิโลกรัมได้ถูกขนส่งไปยังอิสราเอลครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 1968 ปฏิบัติการนี้ดำเนินการมาด้วยดีเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม
...จนกระทั่งเดือนกันยายน 1969 เมื่อฮานส์ สเตรคเกอร์ ได้ทำการหละหลวม ประการแรกเขาทำให้คนเห็นขณะนำกล่องบรรจุพิมพ์เขียวขึ้นรถเบนซ์สีดำ และประการทีสองเขาลืมกล่องอีกหนึ่งกล่องไว้ในโกดัง ซึ่งเป็นที่สังเกตของคาร์ล รอทซิงเจอร์ เจ้าของบริษัทขนส่งชื่อเดียวกับชื่อของเขา คาร์ลจึงได้ดึงแบบออกจากกล่องหนึ่งแผ่น และได้พบกับคำว่า Solzer ซึ่งเป็นชื่อของบริษัทสวิสที่ทำธุรกิจในด้านวิจัย และผลิตเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบิน ข้างใต้ชื่อบริษัทเขาพบคำว่า License-Senikama ซึ่งหมายถึงบริษัทโซลเซอร์ ได้รับสิทธิบัครจากบริษัทเซนิกามาของฝรั่งเศส และที่สำคัญคือ ข้อความอีกบรรทัดหนึ่งที่มีความหมายว่า "ตามประมวลกฎหมายอาญา ให้รักษาความลับในทางทหารไว้อย่างสูง" คาร์ลได้ทราบจากคนงานที่ทำงานใกล้เคียงว่า สเตรคเกอร์ได้เคลื่อนย้ายกล่องกระดาออกไปเป็นระยะเวลาหลายเดือนมาแล้ว  เขาจึงรายงานให้ตำรวจทราบ
...ทางฝ่ายอิสราเอลลซึ่งได้จับตามอย่ตลอดเวลา เมื่อได้ทราบถึงความหละหลวมและพลาดท่าของสเตรคเกอร์ จึงโทรศัพท์ ความว่า "ดอกไม้ได้ร่วงโรยเสียแล้ว" เพื่อให้เวลากับฟรอเอนค์เนทค์ได้หนีทัน
...ฟรอเอนค์เนทค์ตัดสินใจไม่หนี เขาติดคุกในระหว่างคดี 1 ปีเต็ม ทั้งนี้ก็เพราะว่าทางการสวิสต้องการทราบว่าความเสียหายมีขนาดแค่ไหนจึงต้องใช้เวลาในการพิจารณาคดี และในที่สุดได้ข้อสรุปว่าฟรอเอนค์เนทค์ได้ส่งแบบพิมพ์เขียวเครื่องบินมิราจไปให้อิสราเอลเป็นจำนวนดังต่อไปนี้
...2,000 แผ่น สำหรับชิ้นส่วนเครื่องยนต์  80,000-100,000 แผ่น สำหรับจิ๊ก (Jigs-เครื่องมือประกอบการผลิตชิ้นส่วน)  35,000-40,000 แผ่น สำหรับเครื่องมือ (Tools)  80-100 แผ่น สำหรับตัวเครื่องบิน  1,500 แผ่นสำหรับรายการประกอบแบบ (Specifications)
...วันที่ 23 เมษายน 1971 ศาลสวิตเซอร์แลนด์ได้พิพากษาให้อัลเฟรด ฟรอเอนค์เนทค์ จำคุก 4 ปี 6 เดือน จากการที่ฟรอเอนค์เนทค์ได้ถูกจองจำระหว่างการสอบสวนและประกอบกับการประพฤติตัวดีเขาจึงได้รับอิสรภาพเมื่อ 21 กันยายน 1972
...สองปีครึ่งหลังจากที่ออกจากคุกฟรอเอนค์เนทค์ได้เดินทางไปอิสราเอล เพื่อชมการบินของเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดความเร็ว 2.2 มัค ชื่อว่า คเฟอร์ (Kfir) ซึ่งมีพื้นฐานมาจากมิราจ III และคเฟอร์ได้เป็นกำลังสำคัญของกองทัพอิสราเอลต่อมา


หัวข้อ: Re: จะผิดจะถูก...ก็ชาติของข้า...
เริ่มหัวข้อโดย: ฝุ่น-รักในหลวง ที่ มีนาคม 29, 2008, 05:56:46 PM
ยอมติดคุกเพื่อประเทศชาติ เยี่ยมจริงๆครับ สำหรับตัวบุคคลท่านนี้ ::002::


หัวข้อ: Re: จะผิดจะถูก...ก็ชาติของข้า...
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ มีนาคม 29, 2008, 06:01:23 PM
ยอมติดคุกเพื่อประเทศชาติ เยี่ยมจริงๆครับ สำหรับตัวบุคคลท่านนี้ ::002::

 
คนที่ติดคุกเป็นคนสวิสครับ คิดคุกเพราะช่วยยิวขโมยพิมพ์เขียว  ::011:: ::011::


หัวข้อ: Re: จะผิดจะถูก...ก็ชาติของข้า...
เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ มีนาคม 31, 2008, 01:55:09 PM
เบื้องหลังชัยชนะในสงคราม 6 วันของยิว...ใครคือวีรบุรุษตัวจริงของอิสราเอลในสงคราม 6 วัน สงครามที่อิสราเอลมัชัยต่อศัครูชาติอาหรับ 3 ประเทศ ได้แก่ อียิปต์ ซีเรีย และจอร์แดน ซึ่งมีอาวุธยุทโธปกรณ์และประชากรรวมกันมากกว่าอิสราเอลหลายเท่า
...ถ้าท่านเดาว่าวีรบุรุษตัวจริงของอิสราเอลในสงครามครั้งนี้ คือ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม นายพลโมเช่ ดายันหรือแม่ทัพอากาศ แม่ทัพบก แม่ทัพเรือคนใดคนหนึ่งละก้อ...ท่านเดาผิดแล้วครับ
...วีรบุรุษตัวจริงที่มีบทบาททำให้อิสราเอลมีชัยต่อศัตรู โดยใช้เวลาเพียง 6 วันก็คืออาฮารอน ยาริฟ (Aharon Yariv) หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับมอสสาด (Mossad)  ของอิสราเอลในขณะนั้น
...ก่อนที่จะเล่าเรื่องของอาฮารอน ยาริฟ ขอพูดถึงความเป็นมาของสงคราม 6 วันพอสังเขปเสียก่อน
...คลองสุเอชเปิดใช้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1897 ตามข้อตกลงคอนสแนดิโนเปิด 1888 คลองสุเอชจะต้องเปิดให้เรือของทุกชาติผ่านได้ไม่ว่าจะเป็นเวลาสันติหรือสงคราก็ตาม
...ประเทศอิสราเอลได้เกิดใหม่เมื่อปี 1948 ในดินแดนซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวปาเลสไตน์ ท่ามกลางความไม่พอใจของรัฐอาหรับรอบๆ อันได้แก่อียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน อิรัก และเลบานอน จึงทำให้เกิดการรบพุ่งชิงดินแดนกันขึ้น
...อิยิปต์ ได้ห้ามเรือสัญชาติอิสราเอลผ่านคลองสุเอชในปี 1955
....ค.ศ.1965 กามาล อับเดล นาสเซอร์  ประธานาธิบดีของอียิปต์ได้ประกาศยึดคลองสุเอชเป็นของอียิปต์ทำให้ถูกคัดค้านจากประเทศตะวันตกที่มีผลประโยชน์โดยตรง อันได้แก่ อังกฤษและฝรั่งเศส
...กำลังของอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ายึดส่วนหนือของคลองสุเอช อิสราเอลได้โดดเข้าร่วมสงคราม และได้ยึดฉนวนกาซา และคาบสมุทรไซนาย รวมทั้งเกาะไทรานซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญอันเป็นทางออกทะเลทางอ่าวอกาบาอีกด้วย
...ร้อนถึงสหประชาชาติต้องเข้ามาแทรกแซง  โดยสั่งให้กองกำลังของทั้งสามประเทศถอยออกจากการยึดครองดินแดนของอียิปต์  และส่งกองกำลีงนานาชาติเข้าไปแทนในนามของสหประชาชาติ
...สงคราม 6 วันได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อประธานาธิบดีนาสเซอร์แห่งอียิปต์ได้สั่งให้กองกำลังนานาชาติภายใต้การบัญชาของสหประชาชาติ ซึ่งทำหน้าที่เป็นกันชนระหว่างอิยิปต์และอิสราเอลถอนออกจากอียิปต์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 1967 แล้วเคลื่อนกำลังของอียิปต์อันประกอบด้วยทหาร 100,000 คน พร้อมรถถังอีก 900 คัน เข้ามายังทะเลทรายไซนาย ทางซีเรียได้ส่งทหาร 6 กองพลน้อยพร้อมด้วยรถถัง 300 คัน เข้าประชิดทางที่ราบสูงโกลาน (ตอนแรกจอร์แดนไม่ได้ร่วมส่งครามด้วย)  เพื่อล้อมกรอบอิสราเอลให้อยู่หมัด
...หกวันต่อมา วันที่ 22 พฤษภาคม นาเซอร์ได้สั่งปิดช่องแคบไทราน ซึ่งเป็นช่องทางที่อิสราเอลใช้ออกสู่ทะเลแดง อิสราเอลถือว่าเป็นเส้นทางเดินเรืออันเป็นน่านน้ำสากลได้รับการประกันโดยมหาอำนาจทางทะเลได้แก่สหรัฐอังกฤษ แคนาดา และฝรั่งเศส มาตั้งแต่ 1956 แล้ว อิสราเอลจึงยอมไม่ได้
...ในบรรยากาศของสงครามเช่นนั้น เลวี เอสคอล (Levi Eskhol)  นายกรัฐมนตรีอิสราเอลลังเลที่จะให้อิสราเอลทำสงคราครั้งนี้  ด้วยเหตุผลที่ว่านับตั้งแต่อิสราเอลได้ตั้งประเทศขึ้นมาใหม่ อิสราเอลยังไม่เคยสู้รบกับอาหรับชาติใดตัวต่อตัว และเป็นสงครามเต็มรูปแบบมาก่อนเลย สำหรับเอสคอลแล้วสงครามมันเป็นเรื่องล้าสมัย สมควรจะลองเจรจาทางการทูตดูก่อน แต่พวกนายพลสายเหยี่ยวเห็นว่าการเสียเวลาเจรจาทางการพูตจะทำให้อิสราเอลสูญเสียโอกาสในการโจมตีศัตรูก่อนเอสคอลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักทั้งจากสื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ในที่สุดเอสคอลต้องเปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม โดยแต่งตั้ง นายพล (นอกราชการ) โมเช่ ดายัน ซึ่งเป็นสายเหยี่ยวเช่นกัน ขึ้นส่าการกลาโหมแทนคนเก่า  จึงทำให้เกิดความมั่นใจในหมู่ประชาชนและทำให้พวกนายทหารคลายกังวลลงได้.......(ไว้ต่อตอน 2 นะครับ)