เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: boon(เสือไบ) ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 12:59:08 PM



หัวข้อ: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: boon(เสือไบ) ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 12:59:08 PM
เมื่อสองวันที่แล้ว เข้าเว๊ปฝรั่งเช่าแผ่นดีวีดีมาดู พบหนังเรื่องOverture เขียนบอกว่าเป็นหนังไทย
ผมก็ไม่รู้ว่าแปลเป็นไทยว่าอย่างไร ก็ลองเช่ามา เปิดดูแล้วยอมรับว่าได้ความบันเทิงและเนื้อหาสาระมากกว่าหนังไทย
หลายๆเรื่องที่เคยดูมา สร้างได้เยี่ยมมากๆ ดูแล้วทำให้อยากศึกษาประวัติประเทศไทยในช่องนั้นๆเป็นอย่างมาก
ยุคมาลานำไทย เดินตามท่านผู้ผู้นำ พัฒนาประเทศให้เป็นอาริยะ  ::001:: เพื่อนทานใดได้ชมหนังเรื่องนี้บ้างครับ ชมแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง
เขียนมาคุยกันแก้เหงาครับ   Overture หนังไทยชื่อเรื่องว่า โหมโรง ;D


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: จอยฮันเตอร์ ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 01:03:12 PM
เกลียดผู้กองลูกน้องของพงษ์พัฒน์ คนนั้นจังครับพี่บุญ

(http://img525.imageshack.us/img525/9119/1655fh2.jpg) (http://imageshack.us)
(http://img525.imageshack.us/img525/9119/1655fh2.82202be83d.jpg) (http://g.imageshack.us/g.php?h=525&i=1655fh2.jpg)


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: boon(เสือไบ) ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 01:12:56 PM
http://www.youtube.com/watch?v=ZUKLYYERL1w&feature=related
พึ่งรู้ว่ามีในนี้ด้วย ;D


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: PsanP_IT.31(ไพศาล ๓) ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 01:25:04 PM
หนังดีครับเรื่องนี้...
ผมยังมีซื้อเพลงประกอบภาพยนต์ไว้เลยครับ....


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: tube ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 01:25:40 PM
ผมมีความเห็นว่าเราสูญเสียวัฒนธรรมอันดีงามหลายๆอย่างไปในยุคนั้น เพื่อการเป็นอารยะในสายตาท่านผู้นำครับ ผมซื้อดีวีดีเก็บไว้และซื้อแผ่นซีดีเพลงประกอบด้วยครับ

ปล.ผมไม่ได้ตำหนิท่านผู้นำนะครับแต่นี่คือมุมมองด้านวัฒนธรรมของผม


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: จอยฮันเตอร์ ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 01:30:13 PM
ผมมีความเห็นว่าเราสูญเสียวัฒนธรรมอันดีงามหลายๆอย่างไปในยุคนั้น เพื่อการเป็นอารยะในสายตาท่านผู้นำครับ ผมซื้อดีวีดีเก็บไว้และซื้อแผ่นซีดีเพลงประกอบด้วยครับ

ปล.ผมไม่ได้ตำหนิท่านผู้นำนะครับแต่นี่คือมุมมองด้านวัฒนธรรมของผม
หากผู้นำต้องการเปลียนแปลงระบบหรือวัฒนธรรมที่ดี เราก็สามารถคัดค้านได้ครับ ;D


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: wasanami ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 01:33:30 PM
ชอบมากครับ..ดนตรีเล่นได้ไพเราะมากผมซื้อเพลงประกอบเก็บไว้เลย

ยังตามซื้อผลงานของขุนอินอีกหลายชุด..

เพลงในฉากที่ชอบ ก็มีฉากที่พระเอกของเรื่องสีซอเกี้ยวนางเอก

กับฉากท้ายๆ ที่พ่อกับลูกเล่นดนตรีด้วยกัน คุณพ่อตีระนาด คุณลูกเล่นเปียโน

ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นเพลงลาวดวงเดือน... :D :D :D

ว่าแล้วเดี๋ยวกลับไปเปิดเพลงประกอบหนังเรื่องนี้ฟังอีกรอบ.... :D :D :D


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: boon(เสือไบ) ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 01:35:52 PM
ผมมีความเห็นว่าเราสูญเสียวัฒนธรรมอันดีงามหลายๆอย่างไปในยุคนั้น เพื่อการเป็นอารยะในสายตาท่านผู้นำครับ ผมซื้อดีวีดีเก็บไว้และซื้อแผ่นซีดีเพลงประกอบด้วยครับ

ปล.ผมไม่ได้ตำหนิท่านผู้นำนะครับแต่นี่คือมุมมองด้านวัฒนธรรมของผม
หากผู้นำต้องการเปลียนแปลงระบบหรือวัฒนธรรมที่ดี เราก็สามารถคัดค้านได้ครับ ;D
ยุคสมัยนั้นเราคัดด้านได้ครับ แต่เราคงอยู่บ้านได้ไม่กี่วัน ;D


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 01:40:36 PM
ยุคสมัยนั้นเราคัดด้านได้ครับ แต่เราคงอยู่บ้านได้ไม่กี่วัน ;D

อยู่ไม่กี่วันครับแป๊บเดียว วันรุ่งขึ้นประหาร ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: Major ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 01:53:26 PM
แหะ แหะ เกิดไม่ทันในยุคนั้น

แต่ก็ได้ดูอยู่ในยุคนี้ เหมือนกัน   ::008:: ::008:: ::008::

ด้วยความเคารพครับ



หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: -Joke- ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 01:55:35 PM
ยังไม่ได้ดูเลยครับเรื่องนี้ กะว่าจะหามาดูอยู่เหมือนกัน


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: boon(เสือไบ) ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 02:39:51 PM
หลังจากได้ดูหนังก็เลยลองเข้าไปหาข้อมูลจากเว๊ปมาครับ
 เบื้องหลัง & บทสัมภาษณ์

   http://movie.sanook.com/behind/behind_09596.php
 
Behind the Scene :
กว่าจะมาเป็นภาพยนตร์เรื่อง “โหมโรง”

แรงบันดาลใจและที่มาของภาพยนตร์เรื่อง “โหมโรง”
(http://movie.sanook.com/story_picture/m/09596_003.jpg)
 
นับตั้งแต่ “ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด” ภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตของอดีตซูโม่สำอางอย่าง อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ ออกฉายในปี 2536 ถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จทางรายได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ หนังดราม่าที่มีส่วนผสมของความเป็นภาพยนตร์ไลฟ์แอ็คชั่นแฟนตาซีเรื่องนี้กลับสามารถเฉือนหนังเต็งหลายต่อหลายเรื่องจากฝีมือของผู้กำกับระดับหัวกะทิในปีนั้นไปได้สำเร็จไม่ว่าจะเป็น สาละวินของท่านมุ้ย , คนแซ่ลี้ของชูชัย องอาจชัย , ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผม จากฝีมือของคิง สมจริง ศรีสุภาพ โดยสามารถคว้ารางวัลใหญ่ ๆจากชมรมวิจารณ์บันเทิงอย่างไปเป็นผลสำเร็จ ทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม เขียนบทยอดเยี่ยมและลำดับภาพยอดเยี่ยม หลังจากนั้นเป็นต้นมาชื่อเสียงของอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ก็เป็นที่จับตามองเพียงทว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยกลับอยู่ในภาวะตกต่ำ อิทธิสุนทร ยังคงมีผลงานต่อเนื่องแต่เป็นงานละครทางโทรทัศน์อย่าง ปู่ครับผมรักพ่อ และยังได้รับรางวัลเมขลา สาขาละครดีเด่นสร้างสรรค์สังคมในปี 2542 จากละครโทรทัศน์เรื่อง พระจันทร์ลายกระต่าย

จนกระทั่งช่วงกลางปี 2544 จึงได้เริ่มต้นกลับมาจับงานภาพยนตร์อีกครั้งโดยเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์เรื่องใหม่ขึ้น โดยในระหว่างที่กำลังรวบรวมข้อมูลก็ได้มีโอกาสสัมผัสกับประวัติของครูทางดนตรีไทยหลายท่านรวมทั้งประวัติของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) จนเกิดเป็นความประทับใจ ในรายละเอียดของชีวิตซึ่งเต็มไปด้วยสีสันสะท้อนภาพความเป็นมาของดนตรีไทย ในแง่มุมที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจว่าถ้ามีโอกาสน่าจะทำภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรีไทย จนกระทั่งได้ชมการแสดง“มหาราชาคอนแชร์โต “ของวง BSO ซึ่งเป็นคอนแชร์โตที่แต่งขึ้นเพื่อโซโลระนาดเอกโดยเฉพาะ เหมือนมีแรงดึงดูดบางอย่างในระหว่างที่ได้เห็นภาพของระนาดเอกวางเด่นอยู่หน้าวงออร์เครสตร้าเกือบร้อยชิ้น มันเป็นภาพและความรู้สึกที่ทั้งยิ่งใหญ่และเต็มไปด้วยความตระการตา ตลอดความยาว19 นาทีแห่งความมหัศจรรย์ของระนาดเอก ภาพแห่งความตื่นตะลึงทำให้ อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ตัดสินใจว่า เรื่องราวความยิ่งใหญ่แห่งดนตรีไทย จะเป็นโปรเจ็คต์ภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาในรอบ 10 ปี

เอ่ยชื่อ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลายคนอาจจะรู้ว่าท่านเป็นบรมครูทางด้านดนตรีไทยในสมัยรัชกาลที่ 8 รวมไปถึงความเป็นอัจฉริยะและการต่อสู้ของท่านเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้กับผู้กำกับอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ จนตัดสินใจนำมาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์เรื่อง “โหมโรง”


“ ก่อนจะสร้างภาพยนตร์เรื่องโหมโรง ผมได้บังเอิญไปอ่านเรื่องราวของท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ซึ่งพบว่าสนุก มีเกร็ดประวัติที่น่าสนใจ รู้สึกว่าในเมืองไทยไม่เคยมีภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไทยมาก่อน จึงเป็นสาเหตุที่คิดสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ จากนั้นผมก็เริ่มค้นคว้าประวัติครูดนตรีท่านอื่นประกอบ จึงพบว่ามีความน่าสนใจยิ่งขึ้นทั้งเรื่องของการเรียน การฝึกวิชา ผมก็เริ่มหาไอเดียในการทำหนัง ได้เข้าไปคุยกับครูดนตรีไทยที่มูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะและครูดนตรีไทยอาวุโสท่านอื่นและถือเป็นความบังเอิญอีกเช่นกันที่ผมได้มีโอกาสไปดูคอนเสริต์บางกอกซิมโฟนีออเคสตร้าที่โซโลโดยระนาดเอกเพื่อเทิดพระเกีรยติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงรู้สึกมหัศจรรย์ใจที่เครื่องดนตรีชิ้นนี้ จึงเข้าไปคุยกับคนทำเพลงและผู้เล่นระนาดเอก หาข้อมูลที่จะเป็นไปได้ในการสร้างภาพยนตร์อย่างจริงจัง”
(http://movie.sanook.com/story_picture/m/09596_013.jpg)
หลวงประดิษฐไพเราะ

การคัดเลือกนักแสดง ในหนัง “โหมโรง”

เนื่องด้วยเรื่องราวของภาพยนตร์ดำเนินขึ้นในยุคสมัยรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่8 ทำให้ทุกองค์ประกอบของภาพยนตร์จะต้องผ่านการค้นคว้าและเตรียมงานในส่วนของการพรีโพรดักชั่นอย่างละเอียดที่สุดเพื่อความสมจริง ด้วยระยะเวลาแรมปีที่หมดไปตั้งแต่การแคสท์ติ้งคัดเลือกตัวนักแสดงเนื่องด้วยตัวเอกของเรื่องเป็นนักระนาด ดังนั้นตัวผู้กำกับจึงวางโจทย์ไว้ที่ว่าพระเอกของเรื่องนี้ต้องเป็นนักระนาดตัวจริง ส่งผลให้ฝ่ายแคสติ้ง ต้องออกตระเวนเสาะหานักระนาดจากจากทุกสารทิศ ทั้งชมรมดนตรี สถาบันการศึกษา เวทีประกวด แต่กลายเป็นว่านับร้อยคนที่เข้ามาไร้ข้อกังขาในเรื่องฝีมือการตีระนาด แต่ยังติดอยู่ที่บุคลิก หน้าตา ที่จะมารับบทเป็น ศรระนาดหนุ่มมือ1ของแผ่นดิน จนต้องมีการเปลี่ยนไปคัดเลือกจากนักแสดงที่มีบุคลิกตรงตามความต้องการ แล้วจึงค่อยไปฝึกซ้อมการเรียนตีระนาด

“ตอนแรกตั้งใจหานักดนตรีที่เล่นระนาดได้จริง หามาทั่วทุกสถาบัน การแข่งขันประชัน หรือชมรมที่ไหนก็จะตามไปหมด ไปถามอาจารย์ว่ามีลูกศิษย์ที่จะมาCAST ไหม จนผ่านไปหลายเดือนCAST แล้วก็ยังไม่ได้นักแสดง ส่วนใหญ่ที่มาตีระนาดได้เก่งมา แต่พอมาถึงเรื่ององค์ประกอบอื่น ๆ เช่นการแสดง คาแรคเตอร์หน้าตาก็ไม่โดนใจ จึงหันไปหานักแสดงที่มีเวลาพอที่จะมาทุ่มเทและมีพรสวรรค์พอที่จะพัฒนาการเรียนดนตรีไทยได้”



(http://movie.sanook.com/story_picture/m/09596_004.jpg)









อิทธิสุนทรขอเวลา 3 วันส่งนักแสดงที่หมายตาไปให้ อาจารย์ถาวร ศรีผ่อง ผู้เล่นระนาดเอกให้กับมหาราชาคอนแชร์โต และเป็นมือระนาดที่สามารถเล่นระนาดโชว์พร้อมกันทีเดียว 4 รางซึ่งเป็นผู้ฝึกสอนดนตรีแก่นักแสดงที่โรงเรียนจิตลดาซึ่งแกเป็นอาจารย์สอนดนตรีไทยอยู่ เพื่อดูทักษะ และแววเพื่อที่จะพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้การตีระนาดทางลัดให้ได้สำหรับการฝึกคนที่ไม่เป็นดนตรีมาก่อน ให้เล่นระนาดได้เหมือนอัจฉริยะภายใน 6 เดือนโดยมี โอ อนุชิต สพันธุ์พงษ์ ( ศร ในวัยหนุ่ม) นายแบบที่โดดเด่นจากโฆษณาน้ำอัดลม (ที่ล่าสุดหลายคนอาจผ่านตาแล้วกับฝีไม้ลายมือทางการแสดงในบท “บักคาน” จากภาพยนตร์ไทยเรื่อง15 ค่ำเดือน 11) ซึ่งผ่านการคัดเลือกการแสดงรอบที่3เป็นตัวเลือกที่ได้รับการเห็นชอบจากทุกคน ซึ่งการที่ตัวโอเองเคยเป็นแดนเซอร์มาก่อน ทำให้รู้จักจังหวะของเพลง แต่ที่ส่งผลให้โอสามารถคว้าบทนี้มาได้น่าจะอยู่ที่ความเป็นนักแสดงที่มีความตั้งใจในการทำงานสูงมากกว่า ในที่สุดก็ได้ “ศร”ตอนหนุ่ม ด้วยภาพพจน์ที่ดูดีมีสง่า ฝีมือการแสดงชั้นครู รวมทั้งโครงหน้าที่ใกล้เคียงกับโอ อนุชิต ในขณะที่บทท่านครูหรือศรตอนบั้นปลายของชีวิตทางผู้กำกับเล็งคุณอาอดุลย์ ดุลยรัตน์ ( ศร ในวัยชรา) นักแสดงผู้กำกับรุ่นครูที่รับประกันได้ในฝีไม้ลายมือเพื่อให้มารับบทเดียวกับโอ แต่ในอีกยุคสมัยเป็นพระเอกช่วงชรา

แต่ผู้กำกับเองก็ยังไม่วายที่จะกังวลว่าเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องให้อาอดุลย์ต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งในการฝึกซ้อมทางด้านดนตรี กลัวว่าด้วยคิวการทำงาน และไหนต้องลองฝึกดนตรีก่อนนับสิบวันจะทำให้นักแสดงรุ่นใหญ่อย่าง คุณอดุลย์ปฏิเสธบทนี้ไปก่อนเสียด้วยซ้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าคุณอายินดีมาหัดเรียน และพร้อมเสนอตัวขอให้บอกยกเลิกได้ทันที ถ้าเห็นว่าฝีมือตีระนาดไปไม่รอด จากวันแรก ๆ ที่คุณอาอดุลย์เริ่มเรียน หลังจากนั่งหน้าระนาดได้ไม่นาน ก็เกิดอาการเหน็บชาไปทั้งขา ปรากฎว่าทางทีมงานใจคอไม่ดี แต่ด้วยสปิริตของนักแสดงอย่างคุณอา ที่ยิ้มและขอเพียงพัก แล้วนั่งเรียนต่อด้วยความตั้งใจ แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับนักแสดงวัย 70 กว่าอย่างอาอดุลย์ที่ยอมทุ่มเทในการแสดงอย่างเต็มที่ และเมื่อได้มีโอกาสได้เห็นอาอดลุย์บนแผ่นฟิล์มก็คุ้มค่าแล้ว

ในขณะที่ตัวละครคู่ปรับพระเอกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้สายเลือดครูนักดนตรีไทยอย่าง อาจารย์ ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า ( ขุนอิน ) อดีตสมาชิกวงบอยไทยมารับบทขุนอินระนาดเอกมือ1 แห่งบางกอกที่ทำให้ศรเรียนรู้กับความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรก ทางผู้กำกับได้มีโอกาสดูเทปการแสดงตีระนาดของที่ฝ่ายแคสติ้งถ่ายมา แน่นอนว่าฝีมือในเชิงระนาดหายห่วง เหมาะสมสำหรับขุนอิน เจ้าของเสียงระนาดดุดัน เกรี้ยวกราด บาดหูตามที่ผู้กำกับจินตนาการ เพียงทว่าการที่อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ ซึ่งอยู่ในตระกูลนักระนาดที่มีชื่อเสียง และเป็นมือวางอันดับหนึ่งอีกคนในวงการดนตรีไทย จะเป็นไปได้หรือกับการแสดงบทที่ค่อนข้างมีภาพพจน์ไปในทางร้าย ผู้กำกับเองก็หวั่นใจกลัวว่าจะได้รับการปฏิเสธ แต่ถ้าไม่ได้อ.ณรงค์ฤทธิ์ คงนึกไม่ออกเหมือนกันว่าตัวละครขุนอินจะเป็นอย่างไร แต่หลังจากที่ตัวอาจารย์ได้พูดคุยกับผู้กำกับถึงลักษณะของตัวละครตัวนี้ คำตอบที่ได้ยินคือ บทขุนอินนี้แหละคือตัวแกเอง

มีอยู่อีกหนึ่งตัวละครสำคัญที่เดินเรื่องในช่วง “ศร” วัยหนุ่มนั้นคือ แม่โชติ สาวชาววังในสมัยรัชกาลที่ 5 หญิงสาวคนเดียวที่อยู่ในใจของศร คือกำลังใจสำคัญที่คอยอยู่เบื้องหลังให้กับ “ศร เป็นตัวละครผู้หญิงที่มาช่วยสร้างความอ่อนหวานให้กับภาพยนตร์นอกเหนือจากการประชันกันระนาดที่ค่อนข้างออกบู๊ในทางผู้ชายกว่า ซึ่งผู้กำกับได้ น้องเมย์ อาระตี ตันมหาพราน (แม่โชติ วัยสาว) เอกการแสดงและภาพยนตร์จากรั้วมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ซึ่งผ่านงานโฆษณามาแล้วมากมาย อาทิ สีICI พิซซ่าฮัท one-2-call แบรนด์รังนกชุดซูการ์ฟรี ทั้งยังมีมิวสิควิดีโอเพลงห่วงเธอจังเลยของทีนคิม เพลงเมื่อมีเธอของ BLUE DOCK และเป็นหนึ่งในนักแสดงละครเวทีเรื่อง อลวน-คน-เครื่องบิน และเรื่อง BLESS CHILD (EU FESTIVAL) ถึงแม้ว่าจะไม่เคยมีประสบการณ์ทางด้านการแสดงภาพยนตร์มาก่อน แต่ก็อาศัยความทุ่มเทและตั้งใจ รวมทั้งการตัดผมทรงดอกกระพุ่ม นุ่งโจงกระเบน แต่กว่าจะได้ก็ต้องมีการ casting อยู่หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ผู้กำกับตัดสินใจเลือกน้องเมย์เพราะว่าตัวละครแม่โชติ เป็นหญิงไทยในยุคก่อนที่ย่อมต้องเน้นการแสดงออกทางแววตาและท่าทางเลยทีเดียว

“ผมชอบนัยน์ตาที่สวยและดูโดดเด่น แม้ในยามนิ่งๆ บวกกับโครงหน้าไทยๆ เมย์เขาเหมาะทุกอย่าง ด้วยวัยที่ใกล้เคียงกับโอด้วยและผมก็ต้องการนางเอกที่เป็นสาวในวังและดูแรกรุ่น เพราะว่าฉากเปิดตัวถือเป็นฉากที่สำคัญเช่นเดียวกัน นางเอกต้องดูสดใส ต้องเป็นคนที่งดงาม สง่า จนกระทั่งพระเอกสามารถถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็นเพลงได้ ส่วนในเรื่องของการแสดงเขาก็เหมาะกับบทบาทที่ได้รับคืออ่อนช้อย งดงามและเรียบร้อย”

นอกจากนี้ในภาพยนตร์เรื่อง “โหมโรง” ยังมีตัวละครที่น่าสนใจอยู่อีกหลายตัวละคร โดยเฉพาะตัวละครที่เดินเรื่องในยุคสมัยรัชกาลที่8 ไม่ว่าจะเป็นตัวพันโทวีระ เป็นตัวละครที่สะท้อนถึงความแตกต่างที่อยู่ตรงข้ามกับตัวท่านครูหรือศรในบั้นปลายอย่างชัดเจน ผู้กำกับได้นักแสดงรุ่นใหญ่ที่มากฝีมืออย่าง พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง (นายทหาร) ว่ากันว่าถ้าจะมองตัวตนของนักแสดงในวัยหลัก 4 ต้น ๆอย่างพงษ์พัฒน์ ให้ดูจากผลงานที่ทำหรือสังเกตจากการเลือกบท พงษ์พัฒน์เป็นนักแสดงที่ไม่เกี่ยงงอนว่าบทที่ได้รับจะเป็นพระเอกหรือผู้ร้าย คนดีหรือคนเลว บทนำหรือบทสมทบเพียงทว่าท่าบทๆ นั้นมีอะไรอยู่ในตัว เหมือนที่ครั้งหนึ่งได้ร่วมงานกับผู้กำกับอิทธิสุนทรมาแล้วในละครคุณภาพอย่าง“พระจันทร์ลายกระต่าย”

 (http://movie.sanook.com/story_picture/m/09596_008.jpg)












“เกรงใจอยู่เหมือนกันที่ชวนมาเล่นแต่บทรับเชิญอยู่เรื่อย ครั้งที่ทำละคร “พระจันทร์ลายกระต่าย “ แกก็ยอมมาเล่นบทสมทบให้ บางฉากต้องนั่งเป็นแบคกราวนด์เฉยๆ ไม่มีบทพูดอะไรเลย แต่บทผู้พันใน The Overture นี้ แม้จะปรากฏตัวเพียงไม่กี่ฉาก แต่เป็นส่วนสำคัญที่สุดของเรื่อง ต้องการการแสดงที่เรียบง่ายแต่เข้มข้น ซึ่งถ้าผมเดาไม่ผิด คุณพงษ์พัฒน์น่าจะสนใจ”

ตัวบทพันโทวีระที่แสดงโดยพงษ์พัฒน์เข้าข่ายในลักษณะเนื้อ ๆ และเน้น ๆ เพราะทุกฉากที่พันโทวีระปรากฏตัวจะสะท้อนถึงอารมณ์อันแข็งกร้าวตลอดเวลา ซึ่งแตกต่างจากท่านครู หลาย ๆ ฉากเน้นการแสดงออกทางสีหน้า แววตา และอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าฉากกับอาอดุลย์ในการเผชิญหน้ากันนั้น บ่งบอกให้รู้ว่าการแสดงของรุ่นใหญ่ประกบกันนั้นเป็นอย่างไรได้เลย

หนังเรื่องโหมโรงได้นักร้องนำเสียงนุ่มในแนว Easy Listening ของวงดูโอชื่อดังอย่างสุเมธ องอาจจากสุเมธแอนด์ เดอะปั๋ง มาเล่นเป็น ประสิทธิ์ ( ลูกชายของท่านครู ศร ) อีกหนึ่งตัวละครสำคัญของโหมโรง สุเมธเป็นอีกหนึ่งคนคุณภาพที่อยู่เบื้องหลังสปอตโฆษณา งานพากย์เสียงภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่องนอกเหนือจากเป็นนักร้องนักดนตรี แต่จริง ๆ แล้วตัวสุเมธเองเป็นคนที่ค่อนข้างสนใจในศาสตร์ของเพลงและภาพยนตร์ คนใกล้ชิดจะรู้ว่าเขามีไอเดียหลาย ๆ อย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาพยนตร์ จุดเริ่มต้นของโหมโรงกับ สุเมธมาจากการที่เสนอตัวมาวาดสตอรี่บอร์ดให้ผู้กำกับรวมไปถึงยินดีช่วยงานในส่วนของเบื้องหลัง ก่อนจะมาลงตัวที่ บทลูกชายของท่านครูที่จบการศึกษาทางด้านดนตรีจากญี่ปุ่น แน่นอนว่าบทดังกล่าวนอกจากจะมีเป็นตัวละครสำคัญที่นำความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เข้ามามีอิทธิพลต่อมุมมองทางด้านดนตรีไทยของท่านครูแล้วยังเป็นตัวละครที่ต้องเล่นเปียโน แต่กับดนตรีค่อนข้างจะถนัดทางกีตาร์มากกว่า ทำให้สุเมธลงทุนหาคีย์บอร์ด มาไว้ฝึกมือเพื่อความสมจริงในภาพยนตร์เลยทีเดียว

นอกจากนี้ยังมี ว่าน ภูวฤทธิ์ พุ่มพวง (เทิด) พระเอกโอเคเบตง มาร่วมสร้างสีสันสำคัญในบทเทิด ลูกชายของทิวเพื่อนรักของท่านครู จากอัมพวาที่ถูกฝากฝังมาให้รับใช้ท่านครูในบางกอก กล่าวได้ว่าคนดูจะได้พบกับเรื่องราวของ “ศร” ในช่วงบั้นปลายชีวิต ผ่านตัวละครของเทิด เป็นอีกหนึ่งตัวละครที่นำเสนอแง่มุมในเชิงดราม่าของเรื่องราวในภาพยนตร์


โลเกชั่นในการถ่ายทำ และท่วงทำนองแห่งความงดงามของดนตรีไทยใน โหมโรง

กล่าวได้ว่าในทุกรายละเอียดงานสร้างของภาพยนตร์เรื่องโหมโรงล้วนเต็มไปด้วยความพิถีพิถันในเนื้องาน และความใส่ใจในรายละเอียดทุกองค์ประกอบของภาพยนตร์จากตัวผู้กำกับเอง อิฏฐสิทธิ์และอุกฤษณ์ ทองระอา 2 พี่น้องนักวาดภาพประกอบจึงถูกดึงตัวมาเพื่อวาดโปรดักชั่นดีไซน์ฉากสำคัญ ๆในภาพยนตร์ก่อนการถ่ายทำ อาทิ ฉากดนตรี นำไปตัดต่อออกมาเป็นมิวสิควิดีโอ เพื่อเป็นไกด์ล่วงหน้าสำหรับการถ่ายทำ รวมทั้งการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับยุคสมัย เพื่อนำมาประกอบในงานด้านเสื้อผ้า ทรงผม เครื่องแต่งกาย รวมไปถึงพร้อพหรืออุปกรณ์ประกอบฉากต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละฉากแต่ละเหตุการณ์ ในขณะเดียวกันกับงานด้านโลเคชั่นสำหรับฝ่ายที่รับผิดชอบการหาสถานที่เพื่อใช้ในการถ่ายทำเนื่องจากภาพยนตร์เดินเรื่อง 2 ยุคสมัย


โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคของ“ศร”วัยหนุ่มกับเส้นทางการมุ่งหน้าสู่ความเป็นนักระนาดเอกมือ1 ในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 โดยทางผู้กำกับต้องตระเวนเลือกสวนมะพร้าวแถวอัมพวานับ10 แห่งเพื่อหาโลเกชั่นสำหรับถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงเรียนรู้และลับฝีมือในเชิงระนาดของ “ศร”งานนี้ถึงกับต้องใช้วิธีล่องเรือเข้าไปตามคลองแยกเล็กๆ ตามสวนมะพร้าวเพื่อเสาะหาโลเกชั่น โดยต้องเลือกวันเวลาเดินทางตามเวลาน้ำขึ้นน้ำลงเป็นหลัก นอกจากนั้นยังใช้โลเกชั่นโบสถ์ร้างแถวจ.ราชบุรี เพื่อใช้เป็นฉากฝึกซ้อมและเกิดอาการคุ้มคลั่งของตัวเอกหลังจากเผชิญความพ่ายแพ้จากการประชันระนาดกับ “ขุนอิน” รวมไปถึงป้อมพระกาฬ ถนนราชดำเนิน หรือที่ตะกั่วป่า พังงา เพื่อถ่ายฉากถนนและบ้านเรือนในยุครัชกาลที่8 ซึ่งจะต้องมีฉากใหญ่อย่างเหตุการณ์ที่เครื่องบินญี่ปุ่นทิ้งบอมบ์ระเบิดในช่วงสงครามโลก หรือบ้านท่านครูในช่วงบั้นปลายก็มีการยกกองไปถ่ายทำโดยใช้โลเกชั่นที่อ.ปากช่อง ฯลฯ

http://movie.sanook.com/story_picture/m/09596_010.jpg











ในขณะที่งานทางด้านภาคดนตรีประกอบซึ่งเป็นส่วนที่ผู้กำกับค่อนข้างพิถีพิถันและให้ความสำคัญค่อนข้างมากซึ่งแบ่งเป็นดนตรีประกอบที่ใช้ในการสร้างอารมณ์กับฉาก เหตุการณ์และภาพที่ปรากฏขึ้นบนจอได้ชาติชาย พงษ์ประภาพันธุ์ ผู้ที่คร่ำหวอดและมีส่วนร่วมในการทำดนตรีประกอบภาพยนตร์หลายเรื่องของบ้านเรา อาทิ นางนาก,จันดารา,มนต์รักทรานซิสเตอร์,บางระจันฯลฯมารับผิดชอบ ส่วนเพลงดนตรีไทยที่นำเสนอในภาพยนตร์ ทั้งในส่วนที่นักแสดงต้องเล่น ทั้งหมดได้ครูเอ้ อัษฏาวุธ สาคริก อาจารย์ผู้สอนและทำงานเผยแพร่ดนตรีไทยในมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะมาเป็นที่ปรึกษาทางด้านดนตรี เริ่มตั้งแต่การทำเดโมและคัดเลือกเพลงให้ลง

ตัวกับฉากต่างๆ คุณนิค ชัยภัค และวงกอไผ่ ซึ่งเป็นวงดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงระดับแถวหน้ามาทำดนตรีไทยให้ แต่ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่อง่ายเลยกับการหยิบ คัดเลือกเพลงดนตรีไทยเพื่อนำมาใช้ในภาพยนตร์ที่ค่อนข้างมีข้อจำกัดในการนำเสนออย่างมากมาย ตั้งแต่การเรียงเพลงในหนัง ต้องมีลำดับขั้นของอารมณ์ ต้องดูการเติบโตของตัวละคร การเล่าเรื่องในฉากและเวลาที่จำกัด ทำให้ต้องเข้มงวดกับความยาวของเพลง แค่ไหนยาวเกินไป แค่ไหนสั้นจนผิดแบบแผนดนตรีไทย รวมไปถึงความยากง่ายในการฟังก็เป็นเงื่อนไขที่ผู้กำกับกังวลว่าผู้ชมจะไม่มีส่วนร่วม เกรงว่าถ้าเลือกเพลงไม่น่าภิรมย์หรือสร้างความสนใจอาจทำให้คนฟังไม่เกิดความสนุกได้ เพราะฉะนั้นท่วงทำนอง จังหวะ หรือความโดดเด่นของชิ้นดนตรีไทยในเพลงก็มีส่วนสำคัญที่กว่าจะลงตัวในภาพยนตร์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงที่เลือกใช้ในการดวลระนาดแต่ละครั้ง สำหรับเพลงที่ใช้ประกอบในภาพยนตร์ที่คนรุ่นใหม่พอจะคุ้นหูก็จะมี อาทิเช่น ลาวดวงเดือน ลาวเสี่ยงเทียน ต้นวรเชษฐ์หรือเพลงสนุกๆอย่างค้างคาวกินกล้วย
 
 
 
 


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: supreme ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 03:17:54 PM
หนังเรื่องนี้ตอนที่ฉายสัปดาห์แรกๆที่เรียกว่า ๓ วันอันตราย  แทบจะเอาตัวไม่รอดครับ  แต่แล้วจู่ๆก็มีกระแสในอินเตอร์เนตบอกกันปากต่อปากมีคนแห่กันไปดู  จนทำให้ต้องขยายจำนวนโรงที่ฉาย  ฉายต่อไปได้เป็นเดือน ผู้กำกับเองก็ดีใจยิ่งกว่าถูกหวยซะอีก ตอนนั้นอะไรที่เกี่ยวกับดนตรีไทยจะได้รับความสนใจมากครับ  ไม่ว่าจะซีดี สมัครเข้าเรียน ฯลฯ(ลูกของเพื่อนที่ทำงานเขาสอนดนตรีไทยบอกมาอีกที)

ส่วนตัวหนัง  ผมชอบที่ภาพเขาถ่ายมาสวยดี กับเพลงคำหวาน เขาสีซอได้หวานดี  (ทั้งๆที่หนังเขาเน้นระนาด  ::005::) ส่วนฉากที่ประทับใจก็คือฉากสีซอกับฉากที่พระเอกยกมือไห้วรูปต่างๆ  ซึ่งมีรูปขุนอินด้วย   เสียดายว่าทั้ง ๒ฉากนี้ เขาไม่ขยายความให้มากกว่านี้ :)


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: NatthaphoN_ ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 04:16:09 PM
ชอบขุนอิน ครับ ::002::


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: Sig228-kolok ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 04:18:58 PM
ซื้อแผ่นเก็บไว้แล้วครับ .. หนังดีที่ไม่ทำเงินในบ้านเราครับ


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: ห ม า ย จั น ท ร์ ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 09:16:23 PM
แสนคำนึงครับ   


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: ครูแอม-ทีมซึมเศร้าฯ ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 10:39:05 PM
 ;D ไปดูตั้งแต่เข้าฉายใหม่ๆ ยังไม่ดังค่ะ พอคนเริ่มพูดถึง
ต่อคิวซื้อตั๋วกันยาวเลยค่ะ...แต่ยินดีค่ะ ถึงจะเป็นการนิยมตามกระแส
แต่ก็ทำให้เด็กๆรู้จักภูมิใจในมรดกของไทยบ้างก็ยังดีค่ะ :D
มาร่วมสนับสนุน :DD อีกแรงค่ะ


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: Little Jack ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 10:58:26 PM
 ::002:: ::002::


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: รัตตรา ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 11:11:06 PM
เป็นหนังที่ดีอีกเรื่อง ที่เก้บไว้ดูครับ... ::002::


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: boon(เสือไบ) ที่ พฤษภาคม 22, 2008, 12:57:31 AM
เป็นหนังที่ดีอีกเรื่อง ที่เก้บไว้ดูครับ... ::002::
นึกว่าท่านรัตตราเก็บแต่หนังเรื่องจันดารา


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: Ramsjai ที่ พฤษภาคม 22, 2008, 01:07:17 AM
ชอบฉากที่ตัวเอกตอนชราเล่นระนาดกับลูกชายที่เล่นเปียนโน

ดนตรีไม่แบ่งว่าอยู่ยุคใดสมัยใด ยังไงก็เข้ากันได้ดีเสมอ  ::002::


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 22, 2008, 01:17:53 AM
หนังดีมากครับพี่บุญ...

แต่ผมดูครั้งสุดท้ายก็หลายปีมาแล้วครับ...:D


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 22, 2008, 02:40:27 AM
ผมมีความเห็นว่าเราสูญเสียวัฒนธรรมอันดีงามหลายๆอย่างไปในยุคนั้น เพื่อการเป็นอารยะในสายตาท่านผู้นำครับ ผมซื้อดีวีดีเก็บไว้และซื้อแผ่นซีดีเพลงประกอบด้วยครับ

ปล.ผมไม่ได้ตำหนิท่านผู้นำนะครับแต่นี่คือมุมมองด้านวัฒนธรรมของผม

เราต้องพิจารณา เรื่องภูมิหลังของประเทศไทยในช่วงนั้น   กับการเมืองระหว่างประเทศด้วย


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: ...อภิสิทธิ์ ... ที่ พฤษภาคม 24, 2008, 12:34:45 PM
ขุนอินพูดว่า ."ผมมาตีระนาด" (ไม่ได้มาแข่งกับใคร)  ตอนมาประชันกับ จางวางศร  และผมเองก็จะพูดว่า  "ผมมายิงปืน"  ในวันแข่งขันยิงปืน  ยิงอย่างตั้งใจ  ไม่มองใครด้วย ยิงเสร็จก็เก็บของกลับ ผลแพ้ชนะ--นอกประเด็น


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: tube ที่ พฤษภาคม 24, 2008, 01:08:36 PM
แสนคำนึงครับ   

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้เพลง โหมโรงจีนตอกไม้ กลับมากระหึ่มในใจคนไทยอีกครั้งกับสรรพสำเนียงการเรีบเรียงของ
อ.ชัยภัค ภัทรจินดา(นิค กอไผ่) ซึ่งเป็นผู้ขับขานดนตรีระดับออดิโอไฟล์ในชื่ออัลบั้ม แสนคำนึง ซึ่งมีเพลง
แสนคำนึงอยู่ด้วย


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: Iron ที่ พฤษภาคม 24, 2008, 09:34:59 PM
เรื่องนี้ดูแล้วสนุกมาก ชอบครับ


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: ป๊อกแมน ที่ พฤษภาคม 26, 2008, 06:31:47 PM
ชอบฉากที่ตัวเอกตอนชราเล่นระนาดกับลูกชายที่เล่นเปียนโน

ดนตรีไม่แบ่งว่าอยู่ยุคใดสมัยใด ยังไงก็เข้ากันได้ดีเสมอ  ::002::

ผมชอบตอนนี้เหมือนกันครับ ยอมรับว่าฟังครั้งแรกน้ำตาซึมครับ เพราะตอนแรกที่ขนขึ้นมาบ้านไม่รู้ว่าคุณหลวงท่านจะมีอารมณ์ตอบรับกับเครื่องดนตรีฝรั่งนี้ยังไง
แต่พอเห็นว่าแจมกันได้ก็รู้สึกปลื้ม ทั้งในเสียงเพลงและัสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกครับ


หัวข้อ: Re: Overture
เริ่มหัวข้อโดย: นายขม รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 26, 2008, 08:02:17 PM
  ;D นี่เป็นหนังไทยเรื่องหนึ่งที่ผมหยิบออกมาดูบ่อยๆ  ::002::  ::002:: แต่ดูแล้วคิดถิงบ้าน  ::004::