หัวข้อ: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 04:26:59 PM :D ผู้ใช้บางคนรู้สึกแย่มากๆ ที่อยู่ดีๆ ฮาร์ดดิสก์สุดที่รักก็จากไปอย่างไม่หวนคืน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นมันมีสัญญาณเตือนให้ทราบอยู่ตลอดเวลา แต่ก็หาได้สังเกตไม่... ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็จะไม่มีนิสัยรักการแบ็กอัพ ประเภทรักเดียวใจเดียวไม่สำรองข้อมูลไว้ที่อื่นกันบ้างเลย ประเด็นที่อยากจะเตือนผู้ใช้ก็คือ อย่ามั่นใจเทคโนโลยีมากเกินไป ควรสังเกตสังกามันบ้าง
- ต่อไปนี้คือ ลางบอกเหตุสำหรับฮาร์ดดิสก์ที่ใกล้ตาย ซึ่งมีอยู่ 6 ข้อด้วยกัน อ่านทิปนี้จบแล้วลองพิจารณาดูด้วยนะครับว่า ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่มีอาการตามนี้บ้างหรือไม่ ? 1. LED แสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ไม่ยอมดับ แม้มันจะฟังดูเกินเหตุ เนื่องจากบางทีมันอาจจะมาจาก LED มีปัญหาก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว การที่ LED แสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์สว่างอยู่ตลอดเวลา ค่อนข้างจะชัดเจนว่า มันมีบางสิ่งบางอย่างผิดปกติ โดยเฉพาะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และยิ่งปล่อยเนิ่นนานไป ปัญหาจะลุกลามไปจนแก้ไม่ได้ในที่สุด 2. ฮาร์ดดิสก์ใช้เวลานานกว่าจะพร้อมทำงาน ฮาร์ดดิสก์ของคุณใช้เวลาในการบูตนานเกินไปหรือเปล่า ? จริงอยู่ที่มันอาจจากการที่ต้องโหลดโปรแกรมเริ่มต้นการทำงานหลายตัว แต่ถึงนั้นก็เถอะ ถ้ามันใช้เวลาเกินกว่าสองนาทีก็ถือว่า มีพิรุธแล้ว เพราะนั่นอาจเกิดจากการอ่าน หรือเขียนข้อความที่ผิดพลาดบนฮาร์ดดิสก์อยู่ก็ได้ 3. ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถหา File Table ได้ ถ้าฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถหา Windows Master File Table (MFT) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังเกิดการล่มของการทำงานอย่างไม่คาดฝัน กรณีนี้แทบจะเรียกได้ว่า ฮาร์ดดิสก์ของคุณเข้าขั้นโคม่าเต็มทีแล้ว 4. CHKDSK แสดงเซกเตอร์เสีย หรือแบดเซกเตอร์ (Bad sector) แบดเซกเตอร์คือความจริงของชีวิต การที่ยูทิลิตีแสดงว่า ฮาร์ดดิสก์ของคุณมีแบดเซกเตอร์ นั่นหมายความว่า ความเสื่อมสภาพกำลังคืบคลานเข้ามาสู่ฮาร์ดดิสก์ของคุณทีละก้าวๆ แม้มันจะช้ามาก แต่เป็นสัญญาณเตือนที่คอยบอกคุณว่า ความหายนะกำลังใกล้เข้ามาเยือนฮาร์ดดิสก์ของคุณแล้ว 5. ฮาร์ดดิสก์ร้อนขึ้นเรื่อยๆ ปกติฮาร์ดดิสก์เวลาทำงานจะอุ่นๆ อยู่แล้ว แต่ถ้ามันร้อนมากจนรู้สึกได้ บางครั้งมีกลิ่นออกมาเลย ถ้ามีอาการเช่นนี้ก็เตรียมทำพิธีได้เลย ฮาร์ดดิสก์ของคุณใกล้ตายเต็มทีแล้ว 6. ประวัติของฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ที่เคยตกบนพื้นแข็ง (ขณะที่มันยังคงทำอยู่ หรือไม่ก็ตาม) หรือได้รับความร้อนมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อฮาร์ดดิสก์ได้รับการติดตั้งไว้ใกล้กับพัดลมระบายความร้อนซีพียู หรือพัดลมเสีย ซึ่งทั้งสองกรณีทำให้ความร้อนภายในสูงขึ้น ความร้อนนี้จะส่งผลให้ฮาร์ดดิสก์เริ่มมีอาการเอ๋อ อย่างเช่น มีปัญหาในการอ่าน หรือเขียนไฟล์ ปล่อยให้เป็นเช่นนี้เรื่อยๆ อายุของฮาร์ดดิสก์จะสั้นลงอย่างไม่ต้องสงสัย และหากฮาร์ดดิสก์มีประวัติทำนองนี้อยู่ล่ะก็ อายุของมันไม่ยืดแน่นอนครับ หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 04:32:36 PM 10 วิธี ดูแลฮาร์ดดิสก์ ให้มีสุขภาพดี
- การบำรุงรักษาอุปกรณ์สำคัญของคอมพิวเตอร์นั่นก็คือ ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งสำหรับใครที่ยังมีฮาร์ดดิสก์ อยู่กับตัว ไม่พังไปเสียก่อน อ่านบทความนี้แล้วหมั่นปฏิบัติตามนะคะ รับรองว่าดีต่อฮาร์ดดิสก์ของคุณแน่นอน โปรแกรมที่คุณใช้งานอยู่เป็นประจำทำงานช้าลงหรือเปล่า? หรือพีซีอายุใช้งาน 4 เดือนของคุณมีอาการงอแงหรือไม่? ต่อไปนี้คือวิธีการแก้ปัญหาและเพิ่มความเร็วให้กับฮาร์ดดิสก์ตัวเก่งของคุณ - การเป็นเจ้าของและใช้งานฮาร์ดดิสก์โดยไม่เคยสแกนตรวจสอบก็เหมือนกับการมีรถยนต์คันหรูที่เอาแต่ขับอย่างเดียวไม่เคยเข้า ศูนย์บริการ ซึ่งทิปต่อไปนี้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องลงแรงมากนัก เพียงแค่เจียดเวลาสักนิดในการปฏิบัติตาม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ ฮาร์ดดิสก์ของคุณกลับมามีชีวิตชีวาเหมือนใหม่และทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ - สแกนหาไวรัส จัดเป็นข้อควรปฏิบัติที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่คุณควรให้ความสำคัญและหมั่นทำเป็นประจำ เราคงไม่ต้องบอกคุณแล้วว่าไวรัสในปัจจุบันนั้นมีฤทธิ์เดช ร้ายแรงแค่ไหน เอาเป็นว่าให้คุณลองนึกถึงตอนที่ไฟล์ข้อมูลสำคัญในฮาร์ดดิสก์ถูกทำลายหรือเสียหายเพียงแค่เพราะว่าคุณไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมป้องกัน ไวรัสเอาไว้ในเครื่อง หรือใครที่ติดตั้งเอาไว้แล้วก็ไม่ควรชะล่าใจ ลองตรวจสอบวันที่ของฐานข้อมูลไวรัส (Virus Definition) ถ้าเก่า เกินกว่า 30 วัน ก็ควรรีบทำการอัพเดตให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบันเพื่อการป้องกันที่เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นทำการสแกนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่ในระบบ ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้กำหนดตารางเวลาในการสแกนเป็นประจำทุกสัปดาห์ ปัดกวาดไฟล์หรือขยะที่ไม่ได้ใช้ - ยิ่งใช้งานเครื่องมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ หรือขยะในเครื่องก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลเก่า โปรแกรมเก่า ไฟล์ชั่วคราว ที่หลงเหลือจากการท่องอินเทอร์เน็ตรวมทั้งไฟล์ที่ตกค้างจากการติดตั้งโปรแกรมในโฟลเดอร์เก็บไฟล์ชั่วคราวของวินโดว์ส ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการ กำจัดไฟล์ขยะเหล่า นี้ก็คือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดว์สหรือจากออปชันทำความสะอาดไฟล์ในโปรแกรม IE โดยตรง (Tools -> Internet Options) กำจัดขยะในซอกหลืบ - แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษขยะที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณอีกมากมาย โดยเศษขยะในที่นี้ หมายถึงบรรดา สปายแวร์หรือแอดแวร์ต่างๆ ด้วย ซึ่งวิธีการตรวจสอบหาขยะเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษคือโปรแกรมอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่ม ทำการสแกนระบบด้วย หมั่นใช้สแกนดิสก์ - เมื่อใดก็ตามที่พื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เกิดบกพร่องเสียหาย เรามักจะใช้คำแทนจุดบกพร่องนั้นๆ ว่า Bad Sector ซึ่งมีความหมายว่า บริเวณพื้นผิวของจาน แม่เหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถทำการอ่านข้อมูลได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นคือการใช้ยูทิลิตี้ Scandisk ของวินโดว์ส ในการตรวจสอบหาจุดที่เกิด Bad Sector และย้ายข้อมูลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ไปยังเซกเตอร์อื่นๆ ที่ปกติทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูล โดยในหน้าต่างยูทิลิตี้ Scandisk นั้นให้คุณเลือกออปชัน Scan for and attempt recovery of bad sectors ด้วยก่อนเริ่มทำการสแกน นอกจากนี้หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 98/Me แนะนำให้ปิดการทำงาน ของสกรีนเซฟเวอร์ก่อนเริ่ม Scandisk ด้วย จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ - โปรแกรม Defragmenter จะช่วยในการจัดเรียงข้อมูลที่ถูกเขียนลงฮาร์ดดิสก์ อย่างสะเปะสะปะ ให้มีระเบียบและเป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไม่ต้องทำงานหนักและใช้เวลาในการอ่านข้อมูลสั้นลง และโปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าโปรแกรม จะจับไฟล์ในโฟลเดอร์ของคุณไปสลับสับเปลี่ยนหรือเรียงไว้ในโฟลเดอร์อื่นๆ จนหาไม่เจอ เพราะการ Defrag นั้นจะทำการจัดเรียงไฟล์ข้อมูลบนดิสก์เท่านั้นไม่ส่งผล กระทบต่อโครงสร้างการเก็บไฟล์ในวินโดว์สแต่อย่างใด เก็บทุกอย่างให้เข้าที่ - ขั้นตอนนี้จะเรียกว่าเป็นวินัยส่วนตัวก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นลิ้นชักตู้เสื้อผ้าหรือฮาร์ดดิสก์ก็ล้วนต้องการระบบระเบียบในการจัดเก็บที่ดีด้วยกันทั้งนั้น ฟังดูอาจเป็นงานที่น่าเบื่อ แต่ถ้าฝึกให้เป็นนิสัยตั้งแต่แรกก็แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย ส่วนใครที่ยังเก็บไฟล์ทุกชนิดทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เพลง ฯลฯ ปนกันมั่วไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน เตรียมตัวเตรียมใจกับเรื่องปวดหัวในการค้นหาไฟล์เมื่อต้องการใช้งานให้ดี แต่ถ้าไม่อยากก็สละเวลาจัดการจัดไฟล์ลงโฟลเดอร์ให้เรียบร้อยเสียตั้งแต่วันนี้ แบ็กอัพข้อมูล - ไม่มีฮาร์ดดิสก์รุ่นไหน ยี่ห้อใด ที่จะมีอายุยืนยาวอยู่กับคุณไปตลอดกาล แต่ถึงแม้ในที่สุดฮาร์ดดิสก์ของคุณจะหมดอายุขัย ก็ไม่ได้หมายความว่าข้อมูล ทั้งหมดที่เก็บอยู่ในนั้นจะสูญหายไปด้วย เพียงแต่สิ่งที่คุณควรต้องหมั่นทำเป็นกิจวัตรก็คือการแบ็กอัพไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ เก็บไว้ในฟล๊อบปี้ดิสก์ แผ่นซีดี ดีวีดี หรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ใช้งานอยู่ หรือถ้าที่กล่าวมานั้นมันยุ่งยากหรือทำให้คุณลำบากเกินไป แนะนำให้ใช้ทัมป์ไดรฟ์ที่ปัจจุบันมีราคา แสนถูก และถ้าไม่ลำบากเงินในกระเป๋าจนเกินไปเลือกรุ่นที่จุ 128MB ขึ้นไปจะดีมาก เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง - เมื่อคุณกดปุ่ม Delete เพื่อลบไฟล์ ซึ่งในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าไฟล์ข้อมูลของคุณจะถูกลบออกไป แต่ในทางทฤษฎีนั้นไฟล์ของคุณจะยังไม่ถูกลบ ออก ไปจริงๆ เพียงแต่วินโดว์สจะทำเครื่องหมายไว้ในพื้นที่ส่วนนั้นๆ ว่าเป็นที่ว่างและเมื่อใดที่มีการเขียนไฟล์ข้อมูลก็สามารถเขียนทับตำแหน่งนั้นๆ ได้ นอกจากนี้วินโดว์สจะนำไฟล์ที่คุณลบไปใส่ไว้ในถังขยะ (Recycle Bin) เผื่อกรณีที่คุณเกิดเปลี่ยนใจหรือตัดสินใจพลาด หากใครช่างสังเกตจะพบว่า แม้จะลบไฟล์ข้อมูลไปแล้วแต่พื้นที่ว่างในอาร์ดดิสก์นั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เพราะข้อมูลนั้นๆ ยังนอนรอชะตากรรมอยู่ในถังขยะ (Recycle Bin) นั่นเอง ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่าไม่ใช้งานแล้ว หรือไม่ต้องการให้ใครมาแอบคุ้ยถังขยะเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณไป แนะให้คลิกขวาที่ไอคอน Recycle Bin แล้วเลือกคำสั่ง Empty Recycle Bin เพื่อกำจัดขยะในถังให้สิ้นซาก แบ่งพาร์ทิชันเพื่อเก็บข้อมูล - ฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปที่ออกมาจากโรงงานนั้นจะไม่มีการแบ่งพาร์ทิชันเอาไว้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือซื้อ 80GB ก็จะได้ไดรฟ์ C: ความจุ 80GB มาใช้งาน แต่ถ้าจะให้ดี แนะนำให้คุณทำการแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่าการแบ่งพาร์ทิชันนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ 80GB นำมาแบ่งเป็น 2 พาร์ทิชัน พาร์ทิชันละ 40GB ซึ่งคุณก็จะได้ไดรฟ์มาใช้งาน 2 ไดรฟ์คือไดรฟ์ C: และไดรฟ์ D: ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนอกจากจะช่วย ลดภาระของหัวอ่านและเพิ่มความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์แล้ว คุณยังสามารถแยกไฟล์สำคัญๆ มาเก็บไว้ในไดรฟ์แยกต่างหากจากไดรฟ์ที่ติดตั้ง วินโดว์สซึ่งอาจโดนไวรัสเล่นงานจนเสียหายได้อีกด้วย ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนั้นคุณสามารถทำได้ในขณะที่ติดตั้ง Windows XP เลย แต่ถ้าไม่ได้ทำ ก็ไม่เป็นไรเพราะปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับการนี้มากมายซึ่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่โปรแกรม Partition Magic เลือกความเร็วให้เหมาะกับงาน - วิธีการที่ผ่านมานั้นสามารถช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ของคุณสามารถทำงานได้เร็วขึ้นได้อีกเล็กน้อย อย่างไรก็ดี หากคุณกำลังมองหาหรือตัดสินใจซื้อฮาร์ดดิสก์ ใหม่ แนะนำให้พิจารณาเลือกรุ่นความเร็วที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่คุณต้องการใช้งาน เช่น เลือกรุ่นที่มีความเร็วในการหมุนจานแม่เหล็ก 5,400 RPM (รอบ/นาที) ที่มีราคาถูกถ้าคุณใช้เพียงโปรแกรมทั่วๆ ไปเช่น เล่นอินเทอร์เน็ต รับ-ส่งอีเมล์ หรือพิมพ์งานด้วยโปรแกรมเวิร์ด หรือถ้างานของคุณ เกี่ยวกับการตกแต่งภาพถ่าย เล่นเกม ก็อาจเลือกซื้อรุ่น 7200 RPM หรืออาจจะเป็น 10,000 RPM เลยก็ได้หากทำงานประเภทตัดต่อวิดีโอเป็นหลัก ซึ่งฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการหมุนจานแม่เหล็กสูง หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 05:00:42 PM :D ผมมีโปรแกรมเอาไว้กู้ข้อมูลมาฝาก R-Studio Ver. 4.5 เมืองนอกนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเลย ล่าสุดออกเมื่อ 4 ก.ค. ที่ผ่านมา
ราคาขายในเว็บอยู่ที่ 179.99 USD เชียวนะครับ แพงมากกกกกกกกกก อยากชม ตามลิ้งค์นี้ไปเลยจ้า : https://secure.r-tt.com/cgi-bin/Store?p=1 ::008:: แต่สำหรับเราชาวคอปืน คลิ๊กเบาๆที่รูปครับ (http://img229.imageshack.us/img229/4766/95069608fu7.jpg) (http://www.mediafire.com/?nmzlftemmdy) คุณสมบัติ R-Studio utilities recover files : สิ่งที่โปรแกรมสามารถทำได้ Deleted without Recycle Bin or when Recycle Bin has been emptied Removed by virus attack or power failure After the partition with the files was reformatted even for different file system When the partition structure on a hard disk was changed or damaged. In this case R-Studio utilities can scan the hard disk trying to find previously existed partitions and recover files from found partitions. From hard disk with bad sectors. R-Studio Data Recovery Software can first copy the entire disk or its part into an image file and then process such image file. This is especially useful when new bad sectors are constantly appearing on the hard disk and remaining information must be immediately saved. R-Studio Data Recovery Features : คุณสมบัติของโปรแกรม Standard Windows Explorer - style interface. Data recovery over the Network. Files can be recovered on network computers running Win95/98/ME/NT/2000/XP/2003/Vista Macintosh Linux and UNIX. Supported file systems : FAT12 FAT16 FAT32 NTFS NTFS5 (created or updated by Win2000/XP/2003/Vista) HFS/HFS+ (Macintosh) Little and Big Endian variants of UFS1/UFS2 (FreeBSD/OpenBSD/NetBSD/Solaris) and Ext2FS/Ext3FS (Linux). Recognition and parsing Dynamic (Windows 2000/XP/2003/Vista) Basic(MBR) and BSD (UNIX) partitions layout schema and Apple partition map. Dynamic partitions over GPT are supported as well as dynamic partitions over MBR. Damaged RAID recovery. If OS cannot recognize your RAID you can create a virtual RAID from its components. Such virtual RAID can be processed like a real one. Creates IMAGE FILES for an entire Hard Disk Partition or its part. Such image files can be compressed and split into several files to put it on CD/DVD/Flash or FAT16/FAT32. Then the image files can be processed like regular disks. Data recovery on damaged or deleted partitions encrypted files (NTFS 5) alternative data streams (NTFS NTFS 5). Recovering data if : FDISK or other disk utilities have been run VIRUS has invaded FAT is damaged MBR is destroyed. Recognizes localized names. Recovered files can be saved on any (including network) disks accessible by the host operating system. File or disk content can be viewed and edited with the advanced hexadecimal editor. The editor supports NTFS file attribute editing. New R-Studio features in version 4.5 : มีอะไรเพิ่มเข้ามาในเวอร์ชั่นนี้บ้าง HFS and HFS+ file systems support. In addition to FAT/NTFS/ExtFS2/ExtFS3/UFS1/UFS2 R-Studio supports HFS and HFS+ file systems developed by Apple Computer for use on computers running Mac OS. R-Studio can not be installed under Mac OS but a hard drive with HFS and/or HFS+ partitions can be attached to Windows machine and processed by R-Studio. Apple Computers support. New R-Studio Emergency version can be run from CD on Intel-based Macintosh computers. Big Endian variant of UFS support. GPT partition layout schema support. This schema is used in 64-bit Windows OS. APM support. Apple Partition Map (APM) is a partition scheme used to define the low-level organization of data on disks formatted for use with Macintosh computers. R-Studio Technician Portable was added to R-Studio Technician package. The portable version can be run from a USB storage device. Compressed image format support. When R-Studio creates an image of the disk or its part the image can be compressed and split into several files to put it on CD/DVD/Flash Drive or FAT16/FAT32. R-Studio reads and opens the created image only for the purpose of data recovery. For disk imaging and restoration tasks (http://images.torrentmove.com/ia/470ss.jpg) (http://images.torrentmove.com/ia/470ss.jpg) (http://images.torrentmove.com/iz/97ss1.jpg) ::014:: ขอบคุณทุกท่านทีเข้ามาเยี่ยมชมกันครับ หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: โจ ™ ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 05:04:43 PM ขอบพระคุณครับพี่
หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: แจ็ค ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 05:20:41 PM .... สาระดี มีประโยชน์อีกแล้วครับ อาจารย์ผม ...... หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: big__jod - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 05:25:17 PM ::014:: ::014:: ::014:: ::014:: ::014::
+ ขอบคุณมากๆ ครับ หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: อรชุน-รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 06:22:21 PM กำจัดขยะในซอกหลืบ
- แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษขยะที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณอีกมากมาย โดยเศษขยะในที่นี้ หมายถึงบรรดา สปายแวร์หรือแอดแวร์ต่างๆ ด้วย ซึ่งวิธีการตรวจสอบหาขยะเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษคือโปรแกรมอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่ม ทำการสแกนระบบด้วย เพิ่มเติมครับ Spybot Search & Destroy เป็นโปรแกรมที่ดีมากผมอีกคนแนะนำให้พี่ๆเพื่อนๆทุกคนหามาติดเครื่องไว้จะเป็นประโยชน์อย่างมากยิ่งถ้าเครื่องของเรามีสแกนไวรัสดีๆแล้วล่ะก็มันจะทำงานร่วมกันได้อย่างดีเยี่ยม ยกตัวอย่างมีอยู่วันนึงเพื่อนมาที่บ้านแล้วท่องเน็ทไปเรื่อยๆพวกไปเจอเว็บเด้งขึ้นมาพร้อมๆกับ Kaspersky ตัวแดงเด้งฟ้องว่าเจอไวรัสเราก็ทำการปิดเว็บพร้อมกับฆ่าไวรัส(เสียงไวรัสโดนแคสเปอร์ฆ่าร้องกริ๊ดสะใจจริงๆ) พอฆ่าเสร็จเว็บเจ้ากรรมนั่นก็ยังไม่หยุดคราวนี้ Spybot เด้งพร้อมกับแจ้งว่า มีโปรแกรมพยามยามจะเปลี่ยนค่ารีจิสทรีของวินโดวส์ (ไวรัสมันพยายามจะติดตั้งตัวเองในเครื่องเรา)คุณจะยินยอมรึไม่ หึหึ มีเหรอเราจะยอมก็จิ้มไม่ยินยอมซะเว็บเจ้ากรรมนั้นก็ไม่สามารถคุกคามเราได้อีกต่อไป แต่ถ้าไปเจอเว็บที่มีไวรัสขั้นเทพไปกว่านั้นเครื่องผมยังมีปราการด่านสุดท้ายครับเจอ Deep Freeze ซะกดรีสตารท์เครื่องซะ1รอบทุกอย่างจะกลับมาเป็นปกติก่อนหน้าที่จะมีการติดตั้งอะไรในแบบที่เราไม่ยินยอม ::010:: ::010:: Deep Freeze จะทำงานคล้ายกับ Norton Goback แต่จะทำงานเร็วกว่ากันมากแบบเทียบกันไม่ได้เลย แถมกินทรัพยากรเครื่องน้อยกว่ากันมาก หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: SaSa ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 06:38:12 PM ขอบคุณครับ...
หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: Τσρ Κσρ รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 06:46:17 PM ขอบคุณ พี่วัฒน์ มากครับ ;D
หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: vichai01++รักในหลวง++ ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 06:50:19 PM ::014:: ::014::ขอบพระคุณมากครับ
หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: พ่อลีโอ-รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 06:51:07 PM ขอบคุณครับ ::014:: ::014::
หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 08:03:37 PM ขอบคุณครับ...::014::
หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 08:22:21 PM เรื่องแบดเซ็กเตอร์ (Bad sector) นี่... มีแค่อันเดียวก็ต้องเปลี่ยนฮาร์ดิสก์ทันทีนะครับ...
ดิสด์สมัยใหม่นี่ห้ามมี มีเมื่อไหร่ไม่เกินวันสองวันพังทั้งลูกครับ... ซ่อมไม่ได้ เสียแล้วเสียเลย ของใหม่ราคาไม่แพง... หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: sopon7 ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 08:26:53 PM ขอบคุณ ครับ
หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: Audy452 ♥ รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 08:47:49 PM ขอบคุณครับลุงวัฒน์
หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: ไม่ค่อยแม่น รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 09:31:44 PM ขอบคุณมากครับพี่ ;D
หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: ต้นหนาว ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 09:55:37 PM ขอบคุณครับ....
หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: peedta - รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 20, 2008, 10:15:22 PM ::014:: ขอบคุณครับ อาจารย์วัฒน์ มีประโยชน์มากๆๆ ครับ ::014::
หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: น้าพงษ์...รักในหลวง ที่ กรกฎาคม 21, 2008, 07:21:54 AM ..ขอบคุณครับ.... ::002::
หัวข้อ: Re: 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย (ไร้สาระ..ไปวันๆ) เริ่มหัวข้อโดย: Ramsjai ที่ กรกฎาคม 21, 2008, 07:29:09 AM ขอบคุณค่ะพี่วัฒน์
|