หัวข้อ: ทฤษฎีเงินในถุงขนม และคำถามเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาล เริ่มหัวข้อโดย: a lone wolf ที่ สิงหาคม 01, 2008, 12:36:35 PM จำได้ว่าเคยอ่านผ่านตา น่าจะเป็นความเห็นเชิงรำพึงของผู้การสุพินท์
ท่านเขียนทำนองว่า เงินสองล้าน จำนวนมันน่าคิดมาก เพราะดูเหมือนจะมากเกินไปที่จะติดสินบนระดับเจ้าหน้าที่ธุรการของศาล ซึ่งไม่มีหน้าที่หรืออิทธิพลใดๆต่อการตัดสินคดี แต่ก็ดูน้อยเกินไปหากบังอาจคิดติดสินบนผู้พิพากษา ผมมองเห็นทฤษฎีขึ้นมาว่า เงินสองล้าน มุ่งให้เจ้าหน้าที่ธุรการนั่นแหละ อาจจะดูมาก แต่เดิมพันของคนที่จ่ายเงินมันสูงจนคุ้ม มันเกี่ยวกับการมาปรากฏตัวฟังคำพิพากษา ซึ่งไม่มี 3 ศาลเหมือนคดีเลี่ยงภาษีของคุณหญิงเมื่อวานนี้ ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินแล้วมีผลทันที ถ้าผิดต้องเข้าคุก ตอนเช้าใส่สูท ตอนเย็นก็เปลี่ยนไปเป็นชุดนักโทษได้แบบทำใจไม่ทัน ถ้าเงินสองล้านนั่นสามารถเปิดทางให้เข้าถึงกลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการกลุ่มหนึ่ง อาจมีการจ่ายเพิ่มอีก หรืออาจพอเพียงด้วยเงินสองล้านนั่นแหละ เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้น่าจะมีโอกาสได้เห็น หรืออาจจะได้พิมพ์ ได้ตรวจทานเอกสารคำพิพากษาของศาล สมมติว่าข้อมูลนี้รั่วออกมาก่อนไม่ต้องนานมาก สัก 8 ชั่วโมงก่อนกำหนดนัดอ่านคำพิพากษา ผู้จ่ายเงินก็ตัดสินใจได้ทันทีว่าจะไปศาล หรือจะไปขึ้นเรือเร็วที่จังหวัดสมุทรปราการดี เงินสองล้านหรือสิบล้าน สำหรับคนที่มีเป็นแสนล้านคิดยังไงยังไงก็คุ้มอยู่ดี ปล. ทฤษฎีนี้คิดโดยคนที่ไม่เคยรู้ว่าเวลาองค์คณะผุ้พิพากษาท่านพิมพ์คำพิพากษาท่านพิมพ์เอง หรือมีเจ้าหน้าที่ศาลช่วยพิมพ์นะครับ หากมีผู้รู้ช่วยไขจุดที่ผมไม่รู้นี้ด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง และมีคำถามเรื่องการดำเนินคดีของศาลเพิ่มเติมครับ 1. ถ้าจำเลยถูกนัดมารายงานตัววันที่ 11 สิงหาคม แต่ไม่กลับมาจากต่างประเทศ คดีที่ค้างอยุ่ในศาลดำเนินต่อลับหลังจำเลยได้ไหมครับ หรือต้องหยุดไว้ก่อนจนกว่าจะตามตัวจำเลยมาได้ ทั้งคดีที่ดินรัชดา คดีหวยบนดิน และคดีเงินกู้เอกซิมแบงค์ 2. ถ้าจำเลยคนที่ต้องคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ถูกจำคุก 3 ปี หายตัวไปจากเมืองไทย ตามหาไม่พบ เขาหรือกลุ่มทนายยังมีสิทธิ์อุทธรณ์คดีที่ศาลชั้นต้นตัดสินไปและมีกำหนดอุทธรณ์ภายใน 30 วันได้อยู่หรือเปล่า อันนี้แยกเป็นสองประเด็นว่าได้ยื่นอุทธรณ์ก่อนที่จะตามหาตัวไม่พบ หรือตามหาตัวไม่พบแล้วแต่ได้มอบให้ทนายมายื่นอุทธรณ์ภายหลังการหายตัว หากเขาไม่ยอมกลับมาขึ้นศาล การอุทธรณ์จะยังมีผลไหม เฮ่อ ขอรำพึงหน่อยเถอะครับ ตอนนี้ดูเหมือนสังคมไทยจะเริ่มพูดกันแล้วว่า มีรายการ กำนันเป๊าะภาค2 หรือมีรายการวัฒนาภาค2 แน่นอน และก็ดูเหมือนจะพูดกันจนเชื่อกันไปทั้งสังคมว่าถ้าเป็นอย่างนั้น สังคมก็ต้องยอมรับสภาพ ทำอะไรบ่มิได้ กลไกของตำรวจ หรือของ ตม. ไม่มีทางป้องกันเหตุการณ์แบบนี้เลยหรือครับ เราขอร้องหรือกดดันตำรวจไม่ได้เลยเชียวหรือ ::004:: หัวข้อ: Re: ทฤษฎีเงินในถุงขนม และคำถามเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาล เริ่มหัวข้อโดย: คนแปลกหน้า - รักในหลวง ที่ สิงหาคม 01, 2008, 03:37:36 PM เรื่องจำเลยหนีไม่มาฟังคำตัดสินของศาลนี้..ส่วนตัวผมเชื่อมาตลอดว่าจะต้องมีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองรู้เห็นเป็นใจแน่นอน...โดยเฉพาะตำรวจ (แม้ว่าวันที่ศาลนัดจะไม่เกี่ยวกับตำรวจก็ตาม) เพราะโดยหลักการทั่วไปแล้วเมื่อรู้ว่าจำเลยจะต้องไปฟังคำตัดสินของศาลนี่...ทางตำรวจจะต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวแล้วครับว่าจะหนีหรือไม่?...โดยเฉพาะจำเลยเป็นคนใหญ่คนโตและคดีใหญ่อยู่ในความสนใจของคนทั่วไป..
ยกตัวอย่าง เจ้าพ่อคนที่ ๑ นี่ศาลฏีกาแล้ว.....ยังหนีไปได้..โดยตำรวจและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่ระแคะระคายแม้แต่นิดเดียว(แต่ผมไม่แปลกใจครับ เพราะว่าคนระดับนี้ย่อมมีบุญคุณเคยช่วยเหลือคนอื่นไว้มากมาย ซึ่งย่อมเป็นที่รักและเคารพเช่นกัน เจ้าพ่อคนที่ ๒ ก็ยังไปได้อีก....คิดว่าเหตุผลเดียวกับบคนที่ ๑ แต่คนนี้ไปตั้งแต่ศาลชั้นต้นเลย เจ้าพ่อคนที่ ๓ ยังอยู่ดีมีสุข (คิดว่าถ้าเจ้าพ่อรุ่นนี้ตายหมด จะตายด้วยเหตุใดก็ตาม แผ่นดินจะสูงขึ้นเยอะเพราะรุ่นลูกบารมีสู้รุ่นพ่อไม่ได้ ส่วนคนที่เป็นนักธุรกิจและอดีตผู้นำของประเทศนี้...คิดว่าคงจะออกมาในรูปเดียวกัน แต่คนนี้คงวางแผนออกนอกประเทศโดยเปิดเผยมากกว่า..เพราะยังได้รับอนุญาตให้ออกนอกประเทศได้อยู่ ซึ่งเมื่อใดที่มั้นใจว่าไม่รอดคุกแน่...คงไปแล้วไปเลยไม่กลับแน่นอนซึ่งก็คงเป็นไปตาม "แนวทาง"ที่หลายฝ่ายอยากให้เป็นเพื่อป้องกันเหตุรุนแรงในบ้านเมือง ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ผมเองก็รับได้อยู่(แต่ถ้ารับไม่ได้ก็ไม่รู้ว่าจะทำไรได้อีกนั่นแหละ ) แต่อย่าให้กลับเข้ามาได้อีกแล้วกัน ขนาด ท่านปรีดี ท่านป๋วย ไม่ได้ทำผิดคิดร้ายอะไรกับบ้านเมือง ท่านยังไม่มีโอกาศได้กลับมาเลยครับ ส่วนเรื่องทางกฏหมายผมไม่ทราบเช่นกันครับ หัวข้อ: Re: ทฤษฎีเงินในถุงขนม และคำถามเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาล เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ สิงหาคม 01, 2008, 04:13:46 PM เอาเท่าที่ทราบนะครับ :D
1. ถ้าจำเลยถูกนัดมารายงานตัววันที่ 11 สิงหาคม แต่ไม่กลับมาจากต่างประเทศ คดีที่ค้างอยุ่ในศาลดำเนินต่อลับหลังจำเลยได้ไหมครับ หรือต้องหยุดไว้ก่อนจนกว่าจะตามตัวจำเลยมาได้ ทั้งคดีที่ดินรัชดา คดีหวยบนดิน และคดีเงินกู้เอกซิมแบงค์ นัดรายงายตัว .....หมายถึงจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเนื่องจากประกันตัวต่อศาลและศาลมีเงื่อนไขกำหนดให้จำเลยต้องมารายงานตัวต่อศาลตามกำหนดนัดใช่ไหมครับ ซึ่งหมายถึงคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณา ในกรณีที่จำเลยไม่มารายงานตัวต่อศาลตามเงื่อนไขในการให้ประกันตัว ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญาประกันทันที ศาลต้องทำการออกหมายจับกุมตัวจำเลยและปรับตามสัญญประกันทันทีครับ กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้วางหลักไว้ชัดเจนว่า การพิจารณาคดีอาญาและการสืบพยานในศาล จะต้องกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยเท่านั้น โดยหลักจำเลยจึงต้องมาศาลทุกนัด ที่มีการพิจารณาคดีเรื่องที่ตนถูกฟ้อง เว้นแต่ ๑. ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสิบปี จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือในคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว เมื่อจำเลยมีทนายและจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลที่จะไม่มาฟังการพิจารณาและการสืบพยาน ๒. ในกรณีที่มีจำเลยหลายคน ถ้าศาลพอใจตามคำแถลงของโจทก์ว่าการพิจารณาและการสืบพยานตามที่โจทก์ขอให้กระทำ ไม่เกี่ยวแก่จำเลยคนใดศาลจะพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยคนนั้นก็ได้ ๓. ในคดีที่มีจำเลยหลายคน ถ้าศาลเห็นสมควรจะพิจารณาและสืบพยานจำเลยคนหนึ่งลับหลังจำเลยคนอื่นก็ได้ แต่อย่างไรก็ดี ในคดีที่ศาลพิจารณาและสืบพยานตาม (๒) (๓) ลับหลังจำเลยคนใด ห้ามมิให้ศาลรับฟังการพิจารณาและการสืบพยาน ที่กระทำลับหลังนั้นเป็นผลเสียหายแก่จำเลยคนนั้น จึงสามารถสรุปได้พอสังเขปว่า ระว่างการพิจารณาคดี หากไม่เข้าข้อยกเว้น (๑)-(๓) ศาลจะพิจารณาคดีโดยลับหลังไม่ได้ ต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราวจนกว่าจะนำตัวจำเลยต้องออกหมายจับจำเลยและตามจับกุมจำเลยให้ได้ต่อไปครับ ซึ่งสอกคล้องกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นกันครับ ส่วนอีกกรณีหนึ่ง คือ กรณีนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งถือว่าเป็นการพิจารณาคดีอย่างหนึ่ง แต่จำเลยไม่มาในวันอ่านคำพิพากษา หากเป็นที่เชื่อได้ว่าจำเลยน่าจะหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษา กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาวางหลักไว้ว่า จำเลยต้องมาฟังคำพิพากษาตามวันเวลาที่ศาลนัด ถ้าจำเลยไม่มา ให้ศาลอาจออกหมายจับจำเลยทันที หากไม่ได้ตัวจำเลยมาภายใน ๑ เดือนหลังออกหมายจับ ศาลมีอำนาจออ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นลับหลังจำเลยได้ทันทีครับ ::002:: หัวข้อ: Re: ทฤษฎีเงินในถุงขนม และคำถามเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาล เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ สิงหาคม 01, 2008, 04:27:06 PM 2. ถ้าจำเลยคนที่ต้องคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ถูกจำคุก 3 ปี หายตัวไปจากเมืองไทย ตามหาไม่พบ เขาหรือกลุ่มทนายยังมีสิทธิ์อุทธรณ์คดีที่ศาลชั้นต้นตัดสินไปและมีกำหนดอุทธรณ์ภายใน 30 วันได้อยู่หรือเปล่า อันนี้แยกเป็นสองประเด็นว่าได้ยื่นอุทธรณ์ก่อนที่จะตามหาตัวไม่พบ หรือตามหาตัวไม่พบแล้วแต่ได้มอบให้ทนายมายื่นอุทธรณ์ภายหลังการหายตัว หากเขาไม่ยอมกลับมาขึ้นศาล การอุทธรณ์จะยังมีผลไหม
ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาในคดีเรื่องนั้นแล้ว เช่นกรณีจำเลยไม่มาศาลในวันนัดฟังคำพิพากษาและศาลได้ออกหมายจับโดยชอบแล้ว ภายใน ๑ เดือน นับแต่ศาลออกหมายจับ ศาลจึงสามารถอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยได้ตามที่เรียนไว้ข้างต้น แม้จำเลยจะหลบหนีก็ตาม แต่สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษานั้น เป็นสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คู่ความในคดีโดยเฉพาะ ยกเว้นคดีดังกล่าวต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา ดังนั้นแม้แต่ตัวจำเลยเองหรือทนายผู้ได้รับการแต่งตั้ง ย่อมมีสิทธิ์ที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาคดีนั้นได้ภายใน ๑ เดือน นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาครับ และแม้จำเลยจะหลบหนีก็ตาม ก็ไม่ทำให้อุทธรณ์ที่ยื่นโดยทนายความเสียไปแม้แต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์หรือฎีกามีคำพิพากษาอย่างไร ศาลจะมีหมายแจ้งกำหนดวันฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกที เมื่อถึงกำหนดแล้ว จำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาศาล ก็ต้องงดการอ่านคำพิพากษาไว้ก่อน และออกหมายจับจำเลยต่อไป เมื่อครบ ๑ เดือนนับแต่ออกหมายจับ แล้วยังไม่ได้ตัวจำเลยมา ศาลก็มีอำนาจอ่านคำพิพากษาชั้นอุทธรณ์ลับหลังจำเลยได้ครับ :D :D หัวข้อ: Re: ทฤษฎีเงินในถุงขนม และคำถามเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาล เริ่มหัวข้อโดย: พ่อบักเขตต์...รักในหลวง ที่ สิงหาคม 01, 2008, 07:04:01 PM ผมไม่มีความรู้ในหลักการต่างๆๆ หวังเพียงว่า คนทำผิดต้องได้รับผลที่ตัวเองทำ ...ก็เท่านั้นครับ หวังว่าฟ้า คงไม่เข้าข้างคนผิด.คนผิดคิดหนีทางฟ้าก็ขอให้บินไม่ขึ้น....หนีทางนำก็ขอให้ พายุ หอบเข้าฝั่ง....ดำดินก็ขอให้ เจอ ลาวาเหลว..เพื่อบ้านเมืองครับ ::014::
หัวข้อ: Re: ทฤษฎีเงินในถุงขนม และคำถามเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาล เริ่มหัวข้อโดย: BSW ที่ สิงหาคม 01, 2008, 09:17:03 PM วินิจฉัยได้เยี่ยม ::002:: :VOV: ::002::
หัวข้อ: Re: ทฤษฎีเงินในถุงขนม และคำถามเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาล เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ สิงหาคม 01, 2008, 09:21:42 PM ค่าประกันน่าจะซัก10%ของมูลฟ้องนะครับ แต่ผมว่าจำเลยหายตัวหมดแน่ๆ
หัวข้อ: Re: ทฤษฎีเงินในถุงขนม และคำถามเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาล เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ สิงหาคม 02, 2008, 11:54:45 PM ปัญหาที่ต้องคิดกันต่อไป ::005::
ผมเชื่อว่า คดีนี้คุณหญิงพจมานคงยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาอย่างแน่นอนครับ เพราะคดีนี้ไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยในคดีอาญาอุทธรณ์อยู่แล้ว แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาเสร็จและนัดวันให้คุณหญิงมาฟังคำพิพากษา............คุณหญิงฯจะมาฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือไม่นั้น ไม่มั่นใจครับ เพราะเมื่อคุณหญิงทำการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีนี้ หากศาลอุทธรณ์ยังคงมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยหลักคดีนี้ย่อมหมดสิทธิไปสู่ศาลฎีกา ตามบทบัญญัติเรื่องคดีที่ต้องห้ามฎีกา มาตรา ๒๑๙ " มาตรา ๒๑๙ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติว่า ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.... " เรามาย้อนดูคำพิพากษาของศาลอาญาในคดีกันสักนิดครับ :D " พิพากษาว่า จำเลยทั้งสาม มีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๓๗ (๒) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ และจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ มีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๓๗ (๑) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ การกระทำของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๙๑ ฐานร่วมกันโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง หรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๓๗ (๒) จำคุกจำเลยทั้งสามคนละ ๒ ปี ฐานโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจ ร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๓๗ (๑) จำคุกจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ คนละ ๑ ปี รวมจำคุกจำเลยที่ ๑และที่ ๒ คนละ ๓ ปี จำเลยที่ ๓ ลงโทษจำคุก ๒ ปี คำขอในส่วนอื่นให้ยก " จะเห็นได้ว่าคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษคุณหญิง จำนวน ๒ ข้อหา กระทงแรก ตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๓๗ (๒) จำคุก ๒ ปี กระทงที่สอง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๓๗ (๑) จำคุก ๑ ปี ซึ่งการพิจารณาว่าคดีไหนจะฏีกาได้หรือไม่นั้น ต้องดูเป็นรายกระทงไป เมื่อทั้งสองกระทง ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น งานนี้น่าคิดครับ ;) หากในวันฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คุณหญิงใจถึง ไม่หลบหนีไปไหน และมาฟังคำพิพากษาอย่างนี้ เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เสร็จ และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ยังคงยืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น คุณหญิงก็น่าจะหมดสิทธิที่จะได้เดินทางกลับบ้านไปเก็บของทันที และเชื่อว่าแม้จะยื่นคำขอประกันตัว ศาลย่อมไม่อนุญาตแน่นอน เพราะพฤติการณ์เชื่อได้ว่า คุณหญิงต้องหลบหนีแน่นอน ซึ่งการลี้ภัยไปประเทศที่สามเป็นทางออกของครอบครัวนี้ >:( แต่ถึงอย่างไรก็ดี คดีของคุณหญิงก็มิใช่ว่าจะจบลงทันที เพราะคุณหญิงอาจจะยื่นฏีกาคดีนี้ได้ (บทยกเว้น) หาก ๑. คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ เป็นการแก้ไขมาก ( แก้ทั้งฐานความผิดและแก้ไขโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย) และได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยจากเดิม หรือ ๒.ฎีกาของคุณหญิง เป็นฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฏหมาย ( แต่การฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดนี้ ถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาครับ ) หรือ ๓. ผู้พิพากษาซึ่งได้พิจารณาคดีนี้ ทั้งศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ลงลายมือชื่อรับรองให้ฎีกาได้ หรือ ๔. อัยการสูงสุด ลงลายมือชื่อรับรองให้ฎีกาได้ คงต้องคอยดูกันต่อไปครับ ;D หมายเหตุ บทบัญัติมาตรา ๓๗ ตามประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า ผู้ใด (๑) โดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะนี้ หรือ (๒) โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะนี้ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท หัวข้อ: Re: ทฤษฎีเงินในถุงขนม และคำถามเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาล เริ่มหัวข้อโดย: sig_surath7171 ที่ สิงหาคม 03, 2008, 01:09:17 AM ผมท่องไว้เสมอก่อนออกจากบ้าน ว่า ''คุก คุก คุก ขอให้คนชั่วที่ทำเวรกรรมให้กับบ้านเมือง อยู่ที่ คุกๆๆๆ ;D'' ::007::
|