เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: naisomchai ที่ กันยายน 25, 2008, 08:54:00 AM



หัวข้อ: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ กันยายน 25, 2008, 08:54:00 AM
นายสมชายยกบทความของคนอื่นมาให้อ่าน ไม่ใช่เพราะศรัทธาเห็นเป็นศาสดานะครับ... คือต้องแยกเป็นเรื่องๆไป...
เรื่องนี้เป็นประเด็นศึกษาสถาบันชั้นสูงสำหรับข้าราชการไทยมานาน ทั้งสถาบันพลเรือนและทหารฯ... ในบทความนี้ก็แค่เรียบเรียงใหม่และเพิ่มข้อมูลตามเหตุการณ์ปัจจุบันที่สอดคล้องกันลงไป...

แต่ที่นายสมชายยกมาให้อ่านกัน เพราะเขาเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย เท่านั้นเองครับ...

นายสมชายเอามาจากนี่... http://www.manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9510000113331

ขอออกตัวไว้ตั้งแต่ต้น สิ่งที่จะนำเสนอต่อไปนี้ไม่ได้เจาะจงชี้ชัดว่ามหาอำนาจ ไม่ว่าจีน อเมริกา หรือชาติตะวันตกอื่นใดมีส่วนเกี่ยวข้องหรืออยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
      
       ถึงจะมีจริง หรือไม่มีเลย ก็ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของงานชิ้นนี้
      
       เป้าหมายที่แท้จริงคือ การพยายามหาข้อมูล และตั้งคำถามต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่รอบด้าน
      
       บางประเด็น จึงเป็นเพียงสมมติฐาน
      
       บางประเด็น เป็นแค่ทฤษฎีความเป็นไปได้เท่านั้น !
      
       อันที่จริงแล้ว คุณสนธิ เริ่มสนใจในสมมติฐานเรื่องผลประโยชน์ด้านพลังงานว่าอาจจะเกี่ยวกับเหตุการณ์ในภาคใต้มาตั้งแต่ปี 2549 ในตอนนั้นมีรายงานข่าวของสันติบาลหลาย ๆ ชิ้นว่ามีคนชาติตะวันตกเข้าไปในพื้นที่ ถึงกับมีข้อมูลเผยแพร่ว่ามีแหล่งน้ำมันดิบที่ตากใบ ที่นราธิวาส ฯลฯ ไปจนถึงมีการพูดถึงทฤษฎีแกนโลกเอียง ขั้วแม่เหล็กกลับด้านส่งผลให้น้ำมันดิบแถบบรูไนไหลเข้ามาในเขตภาคใต้ของไทย
      
       ปกติมากสำหรับคนที่อยู่ในวงการข่าวได้ยินก็ต้องตรวจสอบ .. คุณสนธิ ให้ทีมงานซึ่งประกอบด้วยศูนย์ข่าวหาดใหญ่เป็นกำลังสำคัญเพื่อตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
      
       จึงนำมาสู่การได้ข้อมูลชุดหนึ่งที่น่าสนใจมาก ว่า ภูมิรัฐศาสตร์พิกัดที่ตั้งของสามจังหวัดภาคใต้นั้น เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของการเมืองว่าด้วยพลังงานในเอเชียอาคเนย์ ซึ่งห้วงเวลานั้นเริ่มเป็นที่สนใจของมหาอำนาจโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ นับจากการขายยูโนแคล และการที่จีนพยายามหาทางแก้ปัญหาพลังงานของตนเอง
      
       สามจังหวัดใต้ อยู่ตรงกันข้ามกับปลายแหลมญวนพอดี ลากเส้นขนานจากตะวันตกไปตะวันออกจะสามารถปิดอ่าวไทยและทะเลเขมรทั้งหมด
      
       สามจังหวัดใต้ เป็นจุดควบคุมการเดินเรือหากว่ามีการขุดคอคอดกระ หรือ แลนด์บริดจ์ขนส่งน้ำมันเส้นทางใหม่ที่หวังแข่งกับช่องแคบมะละกา-ลอมบ็อก ซึ่งก่อนหน้านั้นจีนเคยให้ความสนใจโครงการนี้มาก
      
       ที่น่าตระหนกที่สุด ทีมงานได้จำลองเหตุการณ์ (Scenario) สมมติหากสามจังหวัดใต้หลุดไปจะเกิดอะไรขึ้นกับเส้นพรมแดนทางทะเล โดยยึดเอาเขตแดนปกติที่สากลยอมรับเช่นสันปันน้ำ หรือ ปากแม่น้ำเป็นหลัก กรณีนี้สมมติว่ามีการแยกปัตตานีออกไป ดังนั้นแม่น้ำเล็ก ๆ ระหว่างปัตตานี กับ สงขลา จะเป็นเส้นพรมแดน
      
       น่าตกใจครับ เพราะชายฝั่งระหว่างหาดใหญ่ กับ ปัตตานี ไม่เหมือนกับชายฝั่งทะเลอ่าวไทยที่เริ่มจากทิศเหนือสู่ใต้เป็นแนวฉาก หากแต่ชายฝั่งตรงเขตนั้นตั้งขนานกับอ่าวไทย เริ่มจากตะวันตกไปสู่ตะวันออก และแม่น้ำบริเวณดังกล่าวไหลจากใต้ขึ้นเหนือ
      
       จากปากแม่น้ำขีดเส้นขึ้นไป ผ่าอ่าวไทยออกเป็นสองเสี่ยงทันที !
      
       ซึ่งหมายถึงว่า เขตพื้นที่เศรษฐกิจทางทะเลของสามจังหวัดจะกินไปถึงแหล่งพลังงานในอ่าวไทยเกือบทั้งหมดด้วย
      
       ที่จำเป็นต้องจำลองเส้นพรมแดนแบบนี้ไม่ได้อยากจะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ แต่เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคการเมืองเรื่องพลังงานระดับโลกเข้ามาเกี่ยวข้องกับเราถึงในพื้นที่
      
       ถึงไม่อยากเกี่ยวก็ถูกบังคับให้เกี่ยววันยังค่ำ !
      
       กรณียูโนแคล, การเข้ามาแทนของเชฟรอนในอ่าวไทยและเขมร,การประลองของมหาอำนาจอเมริกา-จีนในทะเลเขมร และในพม่า, โครงการคอคอดกระ-แลนด์บริดจ์,การเร่งรัดเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-เขมร ของทักษิณ, โครงการเช่าเกาะกงและมีโรงกลั่นน้ำมันของทักษิณที่เคยวางไว้ รวมไปถึง การเร่งรัดเรื่องเขาพระวิหาร ล้วนแต่เป็นเรื่องเดียวกันทั้งสิ้น หากมองในมุมของการเมืองเรื่องพลังงาน
      
       ข้อมูลเหล่านี้ เป็นความรู้อีกด้านหนึ่ง-มุมมองหนึ่ง ให้คนไทยเจ้าของประเทศไทยรู้ ได้เห็น ได้ทราบเอาไว้ เพราะอย่างน้อยเจ้าของประเทศจะได้รู้เท่าทันนักการเมืองที่เข้ามาหาประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเอง
      
       และที่สำคัญ หากสามารถทำให้ผู้อ่านรู้สึกหวงแหนพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้มากขึ้น ๆ ก็จะเป็นประโยชน์ในระดับหนึ่ง !
      
       หมายเหตุ
      
       1.ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไป มีความยาวพอสมควร รวมถึงมีรูปภาพประกอบ ซึ่งเป็นภาพจำลองตามแนวคิดเท่านั้น ไม่สามารถใช้อ้างอิงอย่างเป็นทางการใด ๆ
      
       2. ขอย้ำอีกครั้งว่าการที่บทความได้เอ่ยถึงอเมริกาบ่อยครั้ง ก็ไม่ได้หมายถึงการพุ่งเป้าชี้ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังใด ๆ หากแต่เป็นการนำเสนอการเคลื่อนไหวที่เกิดในพื้นที่และบังเอิญคาบเกี่ยวกับเหตุการณ์เท่านั้น
      
       ..........................................
      
       คอคอดกระ กับ จีน
      
       @ โครงการ สะพานเศรษฐกิจภาคใต้ : Southern Land Bridge
       @ ถึงไม่มีคอคอดกระ ก็มีเส้นขนส่งน้ำมันใหม่ไม่ผ่านช่องแคบมะละกา
       @ จีน-มาเลเซีย กระโดดร่วมยุคทักษิณ
      
       การผลักดันขุดคอคอดกระ หรือ คลองกระ หรือ คลองไทย ดำเนินมายาวนานรวมถึงโครงการก่อสร้าง สะพานเศรษฐกิจ Southern Land Bridge ที่เริ่มมีการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานไปแล้วบางส่วน
      
       การผลักดันดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องจากยุครัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ต่อเนื่องถึงยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็มีการผลักดันทั้งจากฝ่ายบริหาร และ ในวุฒิสภาอย่างต่อเนื่อง
      
       ในส่วนของคลองกระ ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเกิดเมื่อ มกราคม 2546 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี และ นายอดิศักดิ์ เตชะอดิศักดิ์ ประธานบริษัท ภูเก็ต พาส โปรเจ็ค จำกัด ฮ่องกง เซ็นสัญญาศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระ (คอคอดกระ) โดยมี นายพิเชษฐ สถิรชวาล รมช.คมนาคม เป็นสักขีพยาน โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทต้องจ่ายเงินจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (คิดเป็นเงินไทย 2,000 ล้านบาท) กำหนดแนวจุด 9A หัวไทร-สิเกา จ.ตรัง ภายใต้ชื่อคลองไทยที่มีระยะทาง 120 กม.
      
       นอกจากคลองกระ ที่เป็นข่าวเคลื่อนไหวไปตั้งแต่ปี 2546 แล้วยังมี โครงการแลนด์บริดจ์ที่ดำเนินการต่อเนื่อง
      
       ข่าวดังกล่าว เป็นที่รับรู้กันทั่วไปในวงการขนส่งน้ำมันโลก ....ว่า จีน มาเลเซีย เข้ามามีส่วนในโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ : Southern Land Bridge
      
       ภาพการฟื้นแนวคิดสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ Southern Land Bridge ดูเหมือนจะเป็นจริงและเกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อปลายปี 2549 ในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร มีรายงานข่าวออกมาเป็นที่จับตาจากวงการขนส่งน้ำมันทั่วโลกว่า กลุ่มธุรกิจจากประเทศจีน ออสเตรเลีย มาเลเซียและไทย ร่วมทุนในโครงการมูลค่ากว่า 4,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 165,000 ล้านบาท) เพื่อเสนอตัวสร้างโรงงานกลั่นน้ำมันที่มีกำลังผลิต 300,000 ลิตร 1 โรง โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้ากำลังการผลิต 700 เมกะวัตต์ 1 โรง ท่าเรือน้ำลึก 1 แห่ง และเขตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี บนพื้นที่ 5,000 ไร่ในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งการลงทุนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานเขตชายฝั่งทะเลภาคใต้
      
       นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังตั้งเป้าร่วมมือกับ บริษัทปตท. เพื่อสร้างคลังเก็บน้ำมัน ท่าเรือน้ำลึก และสถานีปลายทางชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการก่อสร้างที่จังหวัดพังงาของไทย ทั้งนี้ นาย เหลียว จื้อ จง ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ เมืองซูโจว เป็นผู้บริหารกลุ่มธุรกิจร่วมทุนดังกล่าว
      
       ตามแผนคาดการณ์ว่า โครงการนี้จะสามารถขนส่งน้ำมันดิบประมาณวันละ 500,000 – 1,000,000 บาร์เรล และมีถังเก็บที่สำรองการจ่ายน้ำมันได้ประมาณ 5 วัน ทั้งทางฝั่งตะวันตกและตะวันออก โดยระยะแรกมีแผนให้เริ่มจากการเป็น Trade Crude และพัฒนาเป็น Trade Product ในภายหลัง ทั้งนี้คาดการณ์ว่าโครงการดังกล่าวจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2556 หากรัฐบาลอนุมัติและสามารถเปิดประมูลได้ภายในปี 2549
      
       การเจรจาผลักดันไปไกลถึงขั้นเจรจากับนักลงทุนรายอื่นๆ มาร่วมทุน
      
       …เหล่านี้คือการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานในยุครัฐบาลทักษิณ 1 !
      
       ทั้งจีน และ สหรัฐฯ เพิ่มบทบาทในช่องแคบมะละกา
      
       ภัยคุกคามต่อเส้นทางการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกาคือภัยจากการก่อการร้ายและภัยจากอุบัติเหตุในการเดินเรือภัยจากการก่อการร้าย เนื่องจากผู้ก่อการร้ายจะมองหาเป้าหมายที่ง่ายต่อการก่อการร้าย สามารถส่งผลกระทบทั้งทางด้านจิตวิทยาและทางการเมืองที่สำคัญ การขนส่งทางทะเลไม่ว่าจะเป็นเรือหรือท่าเรือ จึงเป็นเป้าหมายที่ผู้ก่อการร้ายสนใจ
      
       ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพราะตั้งแต่เหตุการณ์ 11 ก.ย. 2001 (911) สหรัฐฯได้ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของเส้นทางเดินเรือทางทะเลมากขึ้น รวมทั้งประเทศในสหภาพยุโรปด้วย
      
       กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า หากช่องแคบมะละกากับช่องแคบสิงคโปร์ถูกปิด เรือจะต้องแล่นอ้อมเป็นระยะทางไกลขึ้น ค่าขนส่งทางเรือก็จะแพงขึ้น เศรษฐกิจของจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวันซึ่งมีการนำเข้าและส่งออกขยายตัวอย่างรวดเร็วของเอเชียก็จะหดตัวอย่างรุนแรง สถาบันศึกษาวิจัยเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะของสหรัฐฯ ได้แสดงให้เห็นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้อาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูงกับเรือบรรทุก LPG/LNG หรือน้ำมัน จะมีมากกว่า 10 เท่าของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตึก World Trade Center เมื่อ11 ก.ย. 2001
      
       ไม่น่าแปลกใจที่ประเทศสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีกลุ่มหนึ่ง จีน และกลุ่มประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ที่ถือว่าเป็นเจ้าของช่องแคบ จึงมีท่าทีที่ต้องการเข้าไปมีบทบาทเพิ่มขึ้นในเรื่องนี้โดยเฉพาะ 2 ประเทศ คือ สหรัฐฯและจีน ต่างพยายามเข้ามามีบทบาทด้านความปลอดภัยของช่องแคบมะละกา
      
       ประเทศจีน ได้มีการเพิ่มกำลังทางเรือและเพิ่มการลงทุนด้านพลังงานในประเทศตะวันออกกลางและประเทศอินโดนีเซีย การลงทุนขุดเจาะผลิตน้ำมันในประเทศอินโดนีเซีย ทำให้จีนมีเหตุผลที่จะนำเรือรบเข้ามาดูแลผลประโยชน์ของตน ซึ่งเท่ากับเพิ่มความกดดันทางทหารในภูมิภาค ส่วนสหรัฐฯเองได้เสนอความริเริ่มเพื่อความมั่นคงในการเดินเรือของภูมิภาค ซึ่งจีนได้ออกมาปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือในเรื่องนี้
      
       ชัยภูมิ 3 จังหวัดใต้ คุมผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยและกัมพูชา รวมถึง คอคอดกระ
      
      
       3 จังหวัดภาคใต้ หรือ อาจจะรวมพื้นที่บางส่วนในจังหวัดสงขลา 4 อำเภอคือ จะนะ เทพา นาทวี และ สะบ้าย้อย ถือเป็นเขตที่กลุ่มโจรใต้มีการเคลื่อนไหว และมีปฏิบัติการเหนืออำนาจรัฐมาโดยตลอด
      
       มีผู้มองว่า เขตดังกล่าว เป็นเขตที่ไม่มีทรัพยากร เป็นเขตยากจน - - ซึ่งไม่จริง
      
       ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่ 3 จังหวัด ซึ่งมีพื้นที่รวมกันประมาณ 10,900 ตร.กม. อยู่ที่
      
       1. ทำเลที่ตั้งอย่างเหมาะสมบนคาบสมุทรมลายู หากประกาศตนเป็นอิสระ (และมีนานาชาติรับรอง) จะสามารถอ้างสิทธิ์เหนือน่านน้ำไทย (ประกาศเขตน่านน้ำและเขตเศรษฐกิจจำเพาะ) ที่คาดว่าจะกินครึ่งหนึ่งของอ่าวไทย และยัง ครอบคลุมไปถึงเขตพัฒนาร่วมในทะเล ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม เนื้อที่ประมาณ 32,000 ตร.กม. ไม่เพียงเท่านั้น ยังอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA) เดิมด้วย
      
       2. ควบคุมพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางทะเล ในทางการทหาร สามารถครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน ได้ทั้งหมด และที่สำคัญ เป็นปากทางออกของเส้นทาง คอคอดกระ/แลนด์บริดจ์ ที่ จีนสนใจลงทุน
      
       อธิบายความ
      
       1.ทำเลที่ตั้งของจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นจังหวัดเหนือสุดของสามจังหวัด มีไหล่ทวีปที่โผล่ยื่นเข้ามาในอ่าวไทย หากยึดตามอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยเขตไหล่ทวีปปี ค.ศ. 1958 พื้นที่ดังกล่าวเป็นทำเลที่ได้เปรียบมาก โดยปกติแล้ว การแบ่งเขตแดนมักจะยึดแนวแม่น้ำ หรือ สันปันน้ำเป็นหลัก ปรากฏว่า ธรรมชาติของกระแสน้ำในอ่าวไทยนั้นนั้นหมุนตามเข็มนาฬิกา ม้วนจากชายทะเลตะวันออกขึ้นไปบนอ่าวไทย แล้วย้อนลงมาทางด้านประเทศกัมพูชา ลักษณะดังกล่าวทำให้ ปากแม่น้ำทางชายทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนมาก จะเฉียงขึ้นไปทางทิศเหนือ
      
       2. ปากแม่น้ำที่อยู่ในข่ายเป็นเส้นแบ่งดินแดนคือ ปากน้ำสะกอม และ ปากน้ำนาทับ จุดใดจุดหนึ่ง ทั้งสองแห่งมีลักษณะเหมือนกันคือ เฉียงขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ดังนั้นผู้ที่ครองดินแดนสามจังหวัดสามารถขีดเส้นอ้างสิทธิ์ เฉียงขึ้นมากินแดนเขตของไทยในอ่าวไทยได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
      
       จากการไหลเวียนของกระแสน้ำในอ่าวไทยดังกล่าวจะส่งผลให้ตามแนวชายฝั่งทะเล หากเกิดมีปากแม้น้ำ หรืออ่าว หรือแหลม จะส่งผลให้เกิดการทบถมของทราย หรือเกิดเป็นแผ่นดินในลักษณะที่เป็นแหลมพุ่งขึ้นไปทางทิศเหนือตามแนวของการไหลเวียนของกระแสน้ำ และที่สำคัญปลายแหลมส่วนใหญ่จะงองุ้มไปทางทิศตะวันตกเสียด้วย สิ่งนี้ยืนยันได้จากบริเวณอ่าวปัตตานี หรือบริเวณปากทางเข้าสู่ทะเลสาบสงขลา ซึ่งปลายแหลมจะงองุ้มชี้เข้าสู่แผ่นดินไทยอย่างชัดเจน
      
       จากปรากฏการทางธรรมชาติดังกล่าว สิ่งนี้จะส่งผลให้การใช้ “แนวปากน้ำสะกอม” หรือ “แนวปากน้ำนาทับ” เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับรัฐปัตตานี แนวกึ่งกลางสายน้ำที่จะถูกลากโยงเข้าสู่เส้นแบ่งแนวน่านนำในท้องทะเลนั้น แนวนี้ก็จะถูกชี้ขึ้นไปทางทิศเหนือและที่สำคัญจะเอียงซ้ายกินเขตแดนเข้าหาแผ่นดินของประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลให้น่านน้ำในอ่าวไทยอันเป็นเขตแดนไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทยหายเกือบจะทั้งหมด

(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=551000012219401)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=551000012219402)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=551000012219403)
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=551000012219404)



มีต่อครับ...


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ กันยายน 25, 2008, 08:54:56 AM
       3.(เกร็ดควรรู้ต่อเนื่องจากข้อ 2.) พรมแดนไทยตอนล่างที่ ตากใบ นราธิวาส ใช้แม่น้ำโก-ลก เป็นเส้นแบ่ง จุดดังกล่าวเคยเป็นปัญหาใหญ่ระหว่างไทย-มาเลเซียมาแล้ว กล่าวคือ บริเวณปากแม่น้ำโก-ลกที่จุดแบ่งเขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ในสมัยก่อนเคยเกิดปัญหาแนวปากแม่น้ำชี้ขึ้นเหนือและเอียงซ้ายเข้าไปกินดินแดนประเทศไทย ว่ากันว่า หากยึดเอาตามนั้นเส้นแนวเขตแดนไทย-มาเลเซียจะพุ่งตรงจากปากแม่น้ำโก-ลก สู่แผ่นดินไทยบริเวณจังหวัดเพชรบุรีเลยทีเดียว
       
       แต่ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้มีพระราชดำริให้รัฐไทยสร้างแนวกั้นกระแสน้ำบริเวณปากแม่น้ำโกลกในพื้นที่ฝั่งไทยขึ้น ปรากฏว่าหลังจากนั้นได้เกิดการเหของแนวการทับถมของทรายและเกิดแผ่นดินงอกขึ้นใหม่ ส่งผลให้แนวเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซียเบี่ยงจากเหไปทางซ้ายมือ เป็นเอียงกลับมาทางขวามือ ทำให้ไทยเราไม่สูญเสียทั้งเขตแดนและทรัพยากรในทะเลจำนวนมากมายมหาศาลจวบจนปัจจุบัน
       
       จะทำให้เห็นว่า เส้นเขตแดนทางทะเลที่มาเลเซียอ้างสิทธิ์ จนกระทั่งมีข้อตกลงจนทำให้เกิด JDA นั้นเฉียงชี้ขึ้นกินแดนเลยเส้นระนาบแนวนอนขึ้นมาอย่างชัดเจน นี่เป็นเพราะลักษณะธรรมชาติของแม่น้ำในเขตนี้
       
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=551000012219405)

       4. ในมิติของการทหาร - - ปัตตานี อยู่ส่วนล่างของคาบสมุทรมลายู ที่ตรงกับ ส่วนปลายของแหลมญวน จุดดังกล่าวสามารถอ้างสิทธิ์น่านน้ำครึ่งหนึ่ง ต่อแดนกับ เวียดนาม ทำให้สามารถ ปิดปากอ่าวไทยได้โดยปริยาย
       
       ทรัพยากรในอ่าวไทย –
       
       แหล่งพลังงานที่สำคัญในอ่าวไทย ต่อเนื่องกับประเทศมาเลเซีย มีแอ่งพลังงานสำคัญ 2 แหล่งใหญ่ คือ
       
       แอ่งมาเลย์ (Malay Basins) และ แอ่งปัตตานี (Pattani Basins)
       
       แอ่งมาเลย์ มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตประเทศมาเลเซีย มีเพียงส่วนตอนเหนือที่เรียกว่า แอ่งมาเลย์ตอนเหนือเท่านั้นที่ยื่นล้ำเข้ามาในเขตของประเทศไทย และจุดดังกล่าวก็คือพื้นที่พัฒนาร่วม JDA นั่นเอง
       
       แอ่งปัตตานี เป็นแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของไทย ในภาพเริ่มต้นจากบริเวณปัตตานี ขึ้นมาทางเหนือถึงบริเวณจังหวัดเพชรบุรี และบางส่วนอยู่ในเขตพัฒนาร่วม 3 ประเทศ ไทย กัมพูชา เวียดนาม
       
       การวิเคราะห์ของ Greg Croft Inc. บอกว่า แอ่งปัตตานีเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ดีที่สุด โดยเฉพาะแหล่งอาทิตย์ และแหล่งบงกช และยังมีน้ำมันดิบรวมอยู่ด้วย ขณะที่แอ่งมาเลย์ มีปริมาณน้ำมันดิบมากกว่า
       
       นับจากยุคชาติช่วงชัชวาลจนปัจจุบัน มีแท่นประกอบการผลิตปิโตรเลียมประมาณ 166 แท่น ส่วนใหญ่จะเป็นแท่นขนาดเล็ก มีแท่นหลุมผลิต (Wellhead Platform) 132 แท่น และแท่นขนาดใหญ่ คือ แท่นกระบวนการผลิต (Processing Platform) 13 แท่น รวมทั้งแท่นที่พักอาศัย (Living Quarter Platform) และแท่นอื่นๆ (Riser/Flare Platform) อีก 21 แท่น
       
       ปัจจุบัน(2548)ประเทศไทยผลิตพลังงานใช้เองประมาณ 35% ที่เหลือต้องหาจากต่างประเทศ
       
       แหล่งพลังงานในอ่าวไทย ซึ่งถือเป็นประมาณ 30% ที่ใช้กันอยู่ (ที่เหลือมาจากบนบก) ปัจจุบันมีการผลิตพลังงานโดยประมาณดังนี้
       
       1.ก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 8 แสนล้าน ลูกบาศก์ฟุต/ปี
       
       2.น้ำมันดิบ 3.5 ล้านบาร์เรล/ปี
       
       มูลค่าของปิโตรเลียมที่ผลิตได้ในประเทศ ประมาณ 1 ล้านล้านบาท/ปี
       ภาษีเงินได้และค่าภาคหลวง ประมาณกว่า 2 แสนล้านบาท/ปี
       
       ผลประโยชน์อเมริกา กับ ปัญหาภาคใต้ ?
       
       ในเชิงธุรกิจ กลุ่มเชฟรอน-ยูโนแคล คือ ผู้ผลิตหลักที่ป้อนก๊าซธรรมชาติ 1 ใน 3 ของการบริโภคทั้งประเทศ และยังป้อนน้ำมันดิบให้กับโรงกลั่นต่างๆ ในไทยอีกประมาณ 1 แสนบาร์เรล/วัน
       
       เมื่อพิจารณาจาก ฐานการผลิตในอ่าวไทย เดิมนั้น เชฟรอน มีอิทธิพลในเขตตอนเหนือคือ บริเวณแหล่งเอราวัณ ต่อมาขยายต่อไปยังกัมพูชา ล่าสุด เป็นผู้ขุดเจาะรายแรกที่ประกาศว่าค้าพบน้ำมันดิบและพร้อมจะขุดเจาะขึ้นมาในปี 2551 วงการข่าวประโคมว่า กัมพูชาจะพ้นจากประเทศยากจนเพราะการค้นพบน้ำมันครั้งนี้
       
       ขณะที่ ยูโนแคล ที่เพิ่งซื้อเข้ามา มีฐานการผลิตทางตอนใต้ คือแหล่งบงกช และ ในเขต JDA
       
       เชฟรอน จึงต้องมีภาระที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนในพื้นที่ใหม่ ซึ่งอยู่ในเขตความไม่สงบภาคใต้ไปด้วย
       
       จึงพบว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ปรากฏการเคลื่อนไหวของ ชาวอเมริกันในพื้นที่ภาคใต้ อย่างน่าจับตา
       
       การเคลื่อนไหวของอเมริกันในภาคใต้
       
       กลุ่มธุรกิจของอเมริกา ได้ใช้บริการของบริษัทด้านความปลอดภัย ส่งเจ้าหน้าที่อเมริกันลงมาในพื้นที่ภาคใต้สม่ำเสมอในช่วง 2-3 ปีมานี้
       
       แม้ฝ่ายทหารปฏิเสธว่า ไม่ใช่ ซีไอเอ. เป็นความเข้าใจผิด แต่ เมื่อตรวจสอบประวัติบุคคล และ กิจการที่ใช้อ้างในการลงพื้นที่ พบว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องเกือบทั้งหมด เคยอยู่ในวงการข่าว และความมั่นคงแทบทั้งสิ้น ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2546 – 2547 ) มีอเมริกันหนึ่งคน และคนไทยอีกหนึ่งนาย เดินทางลงมาเยือนพร้อมกับคณะอยู่เป็นระยะ
       
       หนึ่งนั้นที่แสดงตนในที่ต่างๆ ชื่อ พอล แอล. ควาเกลีย (Pual L. Quaglia) เดินทางล่องใต้ในนามของบริษัทแปซิฟิก สตราทีจีส์ แอนด์แอสแซสเม้นท์ จำกัด ในชื่อย่อ “พีเอสเอกรุ๊ป ” ภายใต้ภารกิจ เคลียร์ปัญหาท่อก๊าซ ทั้งในส่วนของมวลชนในพื้นที่ และหน่วยงานภาครัฐ ในฐานะบริษัทที่ปรึกษา ที่ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทอเมราดา เฮสส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้รับช่วงขุดเจาะก๊าซแหล่งเจดีเอ สืบต่อจากบริษัทไตรตันออยล์ สัญชาติอเมริกัน ซึ่งจะต่อท่อมาขึ้นฝั่งพร้อมกับสร้างโรงแยกก๊าซที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ส่งต่อไปยังมาเลเซีย
       
       ประเด็นที่ทั้งสองคนให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ โอกาสที่จะเกิดเหตุวินาศกรรมในท้องถิ่น
       
       แปซิฟิกสตราทีจีส์แอนด์แอสเซสเม้นท์ หรือ พีเอสเอ (Pacific Strategies & .sments / PSA) ดำเนินธุรกิจอยู่ในแถบญี่ปุ่น ตลอดอนุทวีปอินเดีย มีสำนักงานประจำอยู่ที่ฮ่องกง กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และกรุงเทพมหานคร เป็นบริษัทที่ปรึกษา ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้
       
       ตามประวัติ พอล แอล. ควาเกลีย (Pual L. Quaglia) คือ รองผู้อำนวยการของพีเอสเอ รับงานในแถบเอเชียทั้งหมด ทำงานกับซีไอเอนาน 20 ปี ช่วงปี 2525 - 2539 อยู่ใน 6 ประเทศ ย่านเอเชียตะวันออกกลาง เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก อินเดีย เนปาล เป็นหัวหน้าหน่วยประจำการต่างประเทศ 3 ครั้ง เชี่ยวชาญพิเศษในปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายและต่อต้านยาเสพติด รับผิดชอบปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติดของซีไอเอในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำของไทย ปี 2541 - 2543 เป็นผู้บริหารให้คำปรึกษาเจ้าหน้าที่ร่วมอเมริกัน - ไทย รับผิดชอบงบประมาณหลายล้านเหรียญ เป็นหัวหน้าหน่วยต่อต้านข่าวกรอง สาขาเอเชียตะวันออก ช่วงปี 2539 - 2541 งานตำแหน่งนี้ทำให้มีโอกาสปฏิบัติภารกิจที่ละเอียดอ่อน และมีความอ่อนไหวหลายครั้งทั่วเอเชีย ตั้งแต่จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์
       
       แฟ้มประวัติยังระบุว่า พอล แอล. ควาเกลีย มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ต่างประเทศ ด้านความมั่นคงและข้อมูลลับทำงานใกล้ชิดกับเอฟบีไอและกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ ในการสืบสวนและสอบสวนด้านการจารกรรม ก่อนทำงานกับซีไอเอ เคยเป็นทนายความ ช่วงปี 2515 - 2522 เป็นตำรวจเมืองดีทรอยต์ รับผิดชอบงานปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด
       
       อายุ 54 ปี พูดไทยคล่อง พูดอาหรับ ฝรั่งเศสได้บ้าง
       
       ทั้งนี้ พีเอสเอกรุ๊ป มีกรรมการผู้จัดการ ชื่อ สกอตต์ แฮร์ริสัน (Scott Harrison) เป็นอดีตผู้บริหารซีไอเอ ขณะทำงานซีไอเอ รับผิดชอบงานด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงแห่งชาติ ของแอฟริกาและเอเชียนาน 30 ปี อยู่ในภูมิภาคเอเชีย 5 ประเทศ และภูมิภาคแอฟริกา 3 ประเทศ พูดภาษาฟิลิปปินส์ได้บ้าง เคยเป็นหัวหน้าหน่วยประจำการต่างประเทศ 3 ครั้ง รองหัวหน้าหน่วยประจำการต่างประเทศ 2 ครั้ง ช่วงปี 2513 - 2540 ทำงานให้สถานทูตอเมริกันในลาว ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย จีน รวมทั้งแทนซาเนีย เซียราลีออน และเอธิโอเปีย
       
       ครึ่งหลังของปี 2540 และปี 2541 สกอตต์ แฮร์ริสัน เป็นหัวหน้าคณะสืบค้นความจริงทางการเมืองถึง 3 ครั้งในยูโกสลาเวีย เป็นรองประธานคณะผู้บริหารที่รับผิดชอบการทบทวนยุทธศาสตร์การต่อต้านยาเสพติดของซีไอเอในเอเชีย และได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจฉุกเฉินเพื่อความมั่นคงแห่งชาติเป็นเวลา 2 เดือน ในสาธารณรัฐเอเชียกลางแห่งหนึ่ง
       
       การเคลื่อนไหวทางการทหาร
       สหรัฐเสนอตัวฝึกทหารไทยสู้ภัยใต้
       
       สำนักข่าวเอพี รายงานเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2551 อ้างถ้อยแถลงของพล.ต.เดวิด ฟริโดวิช ผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐประจำภาคพื้นแปซิฟิก ที่แถลงนอกรอบในการประชุมการปฏิบัติการพิเศษที่หาดไวกิกิ บนเกาะฮอนโนลูลู รัฐฮาวาย ว่ากองทัพสหรัฐพร้อมจะฝึกทหารไทยเพื่อช่วยลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้หากทางไทยร้องขอ โดยเน้นว่า แม้หน่วยซีล หน่วยจู่โจม และหน่วยปฏิบัติการพิเศษอื่นๆของสหรัฐจะไม่เคยเข้าไปยังพื้นที่ภาคใต้ของไทย แต่สามารถสอนให้ทหารไทยใช้"ไม้อ่อน" เพื่อเอาชนะใจผู้คนในพื้นที่ตลอดจนโดดเดี่ยวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบออกไปได้
       
       พล.ต.ฟริโดวิช กล่าวต่อว่าหากรัฐบาลไทยให้โอกาสไปช่วยในเรื่องสถานการณ์ภาคใต้ก็ยินดี แต่สหรัฐไม่มีความปรารถนาที่จะวางแผนการใดๆ เกี่ยวกับไทยโดยกล่าวว่าขึ้นอยู่กับไทยที่จะร้องขอมาว่าให้ทำอะไร พร้อมยอมรับว่าได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่จากกองทัพไทยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นขณะเข้าร่วมการประชุมด้วย แต่ไม่มีการหารืออย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
       
       ท่าทีทางการไทย-ปฏิเสธ
       
       พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน กล่าวว่าทางการไทยยินดีรับความช่วยเหลือจากอเมริกาในด้านข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากอเมริกามีประสบการณ์จัดการกับสถานการณ์ในตะวันออกกลางและอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะการตรวจสอบเส้นทางการเงินสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้ายจากภายนอกประเทศ พร้อมย้ำว่า ทางการไทยยินดี และขอบคุณสหรัฐแต่ก็ยังมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องภายในประเทศ
       
       ขอย้ำว่าไม่มีการส่งกองกำลังทหารสหรัฐฯเข้าไปจัดการกับกรณีปัญหาภาคใต้ของไทย
       
       พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ตอบกรณีดังกล่าวา ทางสหรัฐฯ ไม่มีการประสานมา แต่ที่อยากจะบอกก็คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาภายในของเรา และเราสามารถแก้ไขได้ และส่วนตัวตนคิดว่า สหรัฐฯ ก็มีปัญหาอยู่เช่นกัน
       
       สรุป
       
       1. กรณีอเมริกาให้ บริษัท เชฟรอน ซื้อ ยูโนแคล แข่งกับ ซีนุคของจีน เมื่อปี 2548 ถือเป็นการขัดขวางกระบวนการตลาดเสรีที่คนเองถือเป็นคัมภีร์นั้น ตอกย้ำให้เห็นว่า อเมริกามองว่าธุรกิจพลังงานผูกติดกับผลประโยชน์และอำนาจทางการเมือง การทหารอย่างแยกไม่ออก
       
       กรณียูโนแคล เป็นข้อบ่งชี้ชัดเจนว่า อเมริกาต้องการขัดขวางไม่ให้จีนมามีบทบาททางพลังงานในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะยูโนแคล ถือสัญญาสำคัญใน 3 ประเทศใหญ่คือ ไทย พม่า และ อินโดนีเซีย
       
       2. เชฟรอน-ยูโนแคล กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตพลังงานก๊าซธรรมชาติและปิโตรเลียม อันดับ 7 ของโลก และ อันดับ 1 ในไทย พื้นที่ ผลประโยชน์ครอบคลุมอ่าวไทยทั้งหมดรวมถึง กัมพูชา ด้วย ไม่เพียงเท่านั้น จากสัญญาที่ ยูโนแคล ได้ในเขต JDA ยังหมายถึง ได้แหล่งปิโตรเลียมสำคัญของแอ่งมาเลย์ ด้วย (เจดีเอ.อยู่ใน Malay Basin ขณะที่แหล่งอื่นๆ อยู่ในแอ่ง Pattani Basin ซึ่งอยู่ในเขตประเทศไทยและพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย กัมพูชา เวียดนาม) ซึ่งในเชิงยุทธศาสตร์การพลังงานควบคู่กับความมั่นคงทางการทหาร เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า เชฟรอน-ยูโนแคล คือหัวหอกสกัดจีนในประเทศไทยได้
       
       3. เมื่อย้อนดูกลวิธีการปกป้องผลประโยชน์แหล่งพลังงานของอเมริกาในย่านนี้ โดยเฉพาะจากกรณีศึกษาอินโดนีเซีย และ ติมอร์ตะวันออก จะพบว่า ในยุคแรก อเมริกา สนับสนุนให้ ซูฮาร์โต้ เข้ายึดครองติมอร์ เพื่อตนเองได้สิทธิ์ในแหล่งน้ำมันของอินโดนีเซีย พร้อมกันกับ ได้รัฐบาลทหารที่ปฏิเสธคอมมิวนิสต์ (ผลประโยชน์สองต่อ) พร้อมกันนั้นบริษัทอเมริกันได้สัญญาในเขต Timor Gap ซึ่งเป็นน่านน้ำของติมอร์ตะวันออกผ่านรัฐบาลอินโดนีเซีย ...... ในยุคท้ายของซูฮาร์โต้ สงครามเย็นสิ้นสุด รัฐบาลทหารหมดความหมาย อเมริกา และ ออสเตรเลีย จับมือกันเพื่อให้ ติมอร์ตะวันออก แยกตนเองได้สำเร็จ ขณะที่ บริษัทน้ำมันของอเมริกา ซึ่งมีผลประโยชน์ในน่านน้ำของติมอร์ฯ ก็ยังอยู่ได้ แถมยังได้สัญญาใหม่ ตักตวงผลประโยชน์ร่วมกับ ออสเตรเลีย และชาติที่ร่วมมือ เช่นญี่ปุ่น ได้ต่อไป
       
       ในทางความมั่นคง อเมริการู้ว่า อินโดนีเซียเริ่มมีกลุ่มก่อการร้าย แถมมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก ฐานอำนาจเดิมซูฮาร์โตเริ่มสั่นคลอน จึงต้องหันมาเล่นหมากติมอร์ ที่มีประชากรเป็นคริสต์ มาเป็นตัวคาน ..ขณะเดียวกัน ผลประโยชน์ในธุรกิจน้ำมัน ก็ยังรักษาได้อยู่ ทั้งในอินโดนีเซีย และ ติมอร์ตะวันออก ด้วย
       
       ............................
       
       ตามรอยความคิดสนธิ 2 : ตอน เชฟรอนในอ่าวไทย http://www.manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9510000112891       
       ตามรอยความคิดสนธิ 1 ตอน พลังงานในทะเล http://www.manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9510000112370


อ่านแล้วพิจารณาครับ... เย้


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: จอยฮันเตอร์ ที่ กันยายน 25, 2008, 09:02:45 AM
ความรู้ใหม่ขอบคุณครับ ;D


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: EAK1980 รักในหลวง ที่ กันยายน 25, 2008, 09:05:39 AM
สนับสนุนรถพลังงาน"ไฮโดรเจน"แล้วเลิกใช้น้ำมันซิครับแก้ได้ 100% ::002::
เมื่อไม่ต้องการน้ำมันก็ปล่อยให้มันอยู่ใต้ดินเหมือนเดิมจะได้ไม่ต้องแย่งกัน ::008::
แต่สงสัยจะยาก ::010::


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: Sig228-kolok ที่ กันยายน 25, 2008, 09:11:50 AM
ขอบคุณครับ ... :D


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: คมขวาน รักในหลวง ที่ กันยายน 25, 2008, 09:51:57 AM
ขอบคุณครับ  สำหรับข้อมูล
หลาย ๆ เรื่องพึ่งจะทราบ


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: jakrit97 - รักในหลวง - ที่ กันยายน 25, 2008, 09:59:24 AM
แนวคิดน่าสนใจครับ ;D


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: C.J. - รักในหลวง ที่ กันยายน 25, 2008, 10:14:38 AM
เป็นข้อมูลที่ดี....  ผมพึ่งอ่านจบเมื่อคืน..

หากมีข้อมูลเพิ่ม... ช่วยเอามาลงอีกนะครับ..

ผมเคยหาข้อมูลไว้.. http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=58420.1575

ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: Choro - รักในหลวง ที่ กันยายน 25, 2008, 10:57:55 AM
ขอบคุณครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ กันยายน 25, 2008, 01:31:22 PM
 ::002:: ข้อมูลยอดเยี่ยมเลยครับพี่สมฃาย (ฮา) นี่แหละที่ครับความหวังลึกๆ ของใครบางคน...
นี่เรากำลังมีรองนายกฯด้านความมั่นคง เจ้าของเมกกะโปรเจก โครงการขุดคลองคอดกระ

 :) เห้อ..ไปฟังเพลงพี่เต๋อดีกว่า.....มีคนเค้าอยู่เมืองนอก ไม่ต้องบอกว่าชื่ออะไร.....


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: nogun ที่ กันยายน 25, 2008, 01:55:45 PM
    แต่ไทยก็เติมน้ำมันแพง เหมือนกับไม่มีแหล่งพลังงานของตัวเองอยู่ดี   ถึงบ้านเราจะได้เงินมามากมายจากไหนก็ตาม จะจากพลังงานเองก็เถอะ  ก็ไม่ได้นำมาพัฒนชาติให้ มั่นคง เจริญก้าวหน้า อยู่ดี     


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนต้นน้ำ ที่ กันยายน 25, 2008, 02:32:41 PM
ขอบคุณน้าสมชาย(ฮา) ครับ::014::ที่มีข่าวสารดีๆมาให้อ่านครับ  ;D


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: สหายอ๋อง เซียนปลาซิว ที่ กันยายน 25, 2008, 06:24:12 PM
ยังมีเรื่องทองคำ  อีก  ครับ

สายแร่ทองคำในบาง  พท.ของ นราฯ  ที่ยังหลง สำรวจ 

ป.ล.  ฟังจากคนแก่ๆ  คนนึงมาอีกทีครับ


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ กันยายน 25, 2008, 06:32:26 PM

        ขอบคุณครับน้าสมชาย (ฮา) ....... ยังมีอีกหลายเรื่องที่ยังไม่เปิดเผย แบบน้ากระเจี๊ยบกระซิบไว้



หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: SEEZ ..รักในหลวง.. ที่ กันยายน 25, 2008, 07:30:19 PM
ขอบคุญครับ  นี้เป็นข้อมูลที่ผมไม่เคยรู้ครับ ::014:: ::014::


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: degwatmooj ที่ กันยายน 25, 2008, 08:05:45 PM
  ความจริงเรื่องน้ำนันดิบนี้  หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยทราบมานานแล้วครับ  และในขณะเดี่ยวกัน  เรื่องนี้ก็มีอยู่ในหลักฐาน ของขบวนการแบ่งแยกดินแดน  ที่เจ้าหน้าที่ สามารถยึดมาได้  จากการเข้าตรวจค้นโรงเรียนสอนศาสนา แห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาสครับ  แต่ไม่เป็นที่เปิดเผย ออกมาให้คนทั่วไป ได้รับรู้เท่านั้นเองครับ   และเมื่อปลายปีที่แล้ว  ก็ได้มีการสำรวจแหล่งพลังงานดังกล่าว  ข้อมูลที่ได้รับ  ก็ไม่ได้เปิดเผยออกมาเช่นกัน  แต่ที่น่าสังเกตุคือ มีการพูดกันใน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า  น้ำทะเลในอ่าวไทย  มีความใสขึ้น จนเป็นที่ผิดปกติ  และในหลักฐานเดี่ยวกันที่ยึดมาได้  มีการกล่าวถึง  แหล่งพลังงานต่างๆ  ที่มีอยู่ ในเขตภาคใต้  ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงมาด้วยครับ


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: thutsayu - รักในหลวง ที่ กันยายน 25, 2008, 08:14:36 PM
ขอบคุณครับ
ที่ช่วยขยายมุมมองให้กว้างขึ้นครับ


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 25, 2008, 11:43:06 PM
ขอบคุณครับพี่สมชาย...::014::


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 11:38:12 AM
ยกกระทู้ครับ... เย้...


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: มะเอ็ม ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 12:00:51 PM
ถึงจะลงมานานอ่านแล้วนึกภาพออกเลยครับพี่สมชาย


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: ต่อครับ ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 12:18:41 PM
ขอบคุณมากๆเลยครับ...

::014::


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 12:33:27 PM
ขอบคุณครับ  เพิ่มเติมได้เยอะครับ  ::014::
+5 โลด  ::002::


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 12:37:41 PM
ทุกวันนี้ ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาสามจังหวัดชายแดนฯ ... มีมากมายเหลือเกิน

แต่กระนั้น ก็ยังไม่เห็น ความชัดเจน ... ว่าทฤษฎีไหน จะใกล้เคียงความเป็นจริง หรือชัดเจนขึ้นมาซะที

ยังคงลึกลับดำมืดอยู่ต่อไป    ::003::  ...... ขอบคุณข้อมูลครับ


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 02:56:07 PM
ทุกวันนี้ ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาสามจังหวัดชายแดนฯ ... มีมากมายเหลือเกิน

แต่กระนั้น ก็ยังไม่เห็น ความชัดเจน ... ว่าทฤษฎีไหน จะใกล้เคียงความเป็นจริง หรือชัดเจนขึ้นมาซะที

ยังคงลึกลับดำมืดอยู่ต่อไป    ::003::  ...... ขอบคุณข้อมูลครับ

สาเหตุใหญ่ๆ มันก็หนีไม่พ้นเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ(ชาติไหนก็ไม่รู้)... แต่พอปัญหามันบานปลายมาเรื่อยๆ มันก็นัวเนียแยกไม่ออกครับ...


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 04:17:56 PM
ผมมองว่าปัญหาตรงนี้เหมือนเอาเอ็นตกปลามาขยุ่มๆครับ


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: Rath72 รักในหลวง ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 05:39:07 PM
ขอบคุณที่แบ่งปันข้อมูลที่น่าสนใจครับพี่สมชาย  ::014:: ::002::


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: รักปืน-รักในหลวง ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 06:23:09 PM
ผมตามข้อมูลนี้มาตั้งแต่ปี 47  แล้วครับ  เรื่องแหล่งพลังงาน ที่ดาวเทียม อเมริกามันสำรวจเจอ  แต่มีแต่คนว่าผมบ้าครับ  พวกซีไอซะมาแอ พวกนี้มีจริงครับ

แต่ผมแปลกใจว่าทำไม เราไม่ไห้ดาวเทียมที่สำรวจพลังงานของรัสเซีย มาส่องดูบางละครับ  แล้วเอาความจริง มาบอกกับประชาชนว่า เรื่องมันเป็นยังไง

ปล่อยไห้พวกเรามานั่งสมุติฐาน กันไปเรื่อยๆ มันก็ออกทะเลนะครับ  รัฐบาลไทยน่าจะทำอะไรบางนะครับ ตั้งงบวิจัยสัก  สองสามพันล้านบาทไปเลยครับ

ดีกว่าเอางบ สองสามพันล้าน ไปแก้กฏหมาย  หรือเอามาเลือกตั้งใหม่  ผมดูแล้วมันไรสาระมากๆครับ

ป่วยการที่จะคุยเรื่องนี้ครับ  หนักสมองเปล่าๆ   ::004:: ::004::

+ ขอบคุณ จขกท  ที่เอามาไห้อ่านนะครับ ::014::


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: ban.cha ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 06:55:26 PM
เรื่องทรัพยากรและ แหล่งพลังงานของชาติ
มีอีกมากมาย ที่ต่างชาติจ้องจะเข้ามาเอาไป
เราคนไทยทุกคนต้องหวงแหน...ครับ ::002::


หัวข้อ: Re: สามจังหวัดภาคใต้กับพลังงาน ยุทธ์ศาสตร์เบื้องหลังไฟใต้...
เริ่มหัวข้อโดย: PsanP_IT.31(ไพศาล ๓) ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2011, 09:31:48 PM
ขอบคุณนายสมชาย(ฮา) - รักในหลวง ครับ.... ::014::