หัวข้อ: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: doud ♥ รักในหลวง ♥ ทรงพระเจริญ ♥ ที่ ตุลาคม 02, 2008, 09:45:34 PM ธีออส (THEOS) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศ ในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลาในประเทศไทย 13:37:16 น. หรือ 6:37:16 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (UTC) โดยจรวดนำส่ง "เนปเปอร์" (Dnepr) จากฐานส่งจรวดเมืองยาสนี (Yasny) ประเทศรัสเซีย
ดาวเทียม THEOS (THailand Earth Observation Satellite) มีคุณลักษณะและความสามารถดังนี้ สามารถนำภาพจากดาวเทียมไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการหลายด้านเพื่อพัฒนาประเทศ ดาวเทียม THEOS เป็นดวงแรกของภูมิภาคอาเซียน อันจะเป็นการเปลี่ยนบทบาทของประเทศไทยในเวทีอวกาศโลก จากการสั่งซื้อภาพจากดาวเทียมของต่างประเทศ มาเป็นเจ้าของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่สามารถควบคุมและสั่งถ่ายภาพ ตลอดจนให้บริการข้อมูลดาวเทียม THEOS แก่ผู้ใช้ทั่วโลกอีกด้วย ทั้งนี้ โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการดาวเทียม THEOS และ บริษัท อีเอดีเอส แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้สร้างดาวเทียม ซึ่งได้ลงนามในสัญญาการดำเนินโครงการดาวเทียม THEOS ภายใต้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2547 ตามกำหนดเดิมของการส่งดาวเทียม THEOS เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2551 แต่ต้องเลื่อนการส่งออกไป เนื่องจากการส่งดาวเทียมที่ฐานส่งจรวดเมืองยาสนี (Yasny) ประเทศรัสเซีย เขตพื้นที่ที่จรวดนำส่งท่อนที่ 1 จะตกลง (Drop Zone Agreement) ในประเทศคาซัคสถาน แต่เนื่องจากรัฐบาลคาซัคสถาน ไม่อนุญาตให้ Drop Zone ในเขตประเทศได้ ดังนั้น บริษัท อีเอดีเอส แอสเตรียม ได้แจ้งมายัง สทอภ. ขอเลื่อนส่งดาวเทียม THEOS ออกไป และจะแจ้งกำหนดการส่งดาวเทียมอีกครั้งเมื่อมีความพร้อม สำหรับเขตพื้นที่ที่จรวดนำส่งท่องที่ 1 จะตก ประเทศรัสเซียได้ดำเนินการเจรจากับประเทศคาซัคสถานอีกครั้งหนึ่ง และผลการเจรจาเป็นไปด้วยดี ดังนั้น อีเอดีเอสแอสเตรียม จึงได้แจ้งกำหนดการส่งดาวเทียม เป็นวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 มายัง สทอภ. และบริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อมของดาวเทียม โดยการตรวจสถานภาพของดาวเทียม THEOS ในด้านต่างๆ การอัดประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่ (Battery Charger) ตลอดจนการเติมเชื้อเพลิงสำหรับดาวเทียม (Propulsion filling) เรียบร้อยแล้ว บัดนี้ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. (เวลาในประเทศไทย) โดยจรวดนำส่ง เนปเปอร์ (Dnepr) ซึ่งเป็นของบริษัท ISC Kosmotras ประเทศรัสเซีย จากฐานส่งจรวดที่เมืองยาสนี ในการส่งดาวเทียม THEOS ครั้งนี้ ไม่สามารถถ่ายทอดสดได้ เนื่องจากฐานส่งจรวดที่เมืองยาสนี ประเทศรัสเซียเป็นเขตทหาร ดังนั้น จึงเป็นการรายงานสดทางโทรศัพท์จากเมืองยาสนี มายังสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียม THEOS ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดย ดร.ดาราศรี ดาวเรือง รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ซึ่งได้เดินทางไปพร้อมกับผู้บริหารของ สทอภ. เพื่อร่วมกิจกรรมการส่งดาวเทียม THEOS ขึ้นสู่วงโคจร (THEOS Launch Event) เมื่อเวลาในประเทศไทย 13:37 น. หรือ 6:37 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (UTC) ณ ฐานส่งจรวดเมืองยาสนี ประเทศรัสเซีย จรวดเนปเปอร์ (Dnepr) พร้อมด้วยดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยได้ทะยานขึ้น (Lift-off) สู่ท้องฟ้าจากไซโลด้วยแรงขับเคลื่อนของจรวดท่อนที่ 1 ไปทางทิศใต้ตามแนวขั้วโลกมีมุมเอียงไปทางตะวันตก 8.9 องศา จรวดท่อนที่ 1 ขับเคลื่อนจากพื้นดินเป็นเวลา 110 วินาทีขึ้นไปที่ระดับสูง 60 กิโลเมตร แล้วแยกตัวออกและตกลงสู่พื้นโลกที่ประเทศคาซัคสถาน ต่อจากนั้นจรวดท่อนที่ 2 ขับเคลื่อนและนำดาวเทียมขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลา 180 วินาที ได้ระดับความสูง 300 กิโลเมตร หรือเมื่อผ่านไป 290 วินาทีจาก Lift-off แล้วจรวดท่อนที่ 2 แยกตัวและตกลงในมหาสมุทรอินเดีย จรวดส่วนสุดท้าย (Upper Stage) พร้อมดาวเทียม วิ่งต่อไปตามวิถีการส่งจนถึงระดับความสูง 690 กิโลเมตร ดาวเทียมแยกตัวออกมาโคจรเป็นอิสระจากจรวดส่วนสุดท้าย ที่เวลาในประเทศไทย 15:09 น. สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมที่เมืองคิรูนา (Kiruna) ประเทศสวีเดน จะเป็นสถานีแรกที่ติดต่อกับดาวเทียมได้ (First Contact) ต่อจากนั้นดาวเทียมโคจรผ่านประเทศไทยครั้งแรก ณ เวลา 21:16 น. ซึ่งสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียม THEOS อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เริ่มปฏิบัติการควบคุมการโคจรดาวเทียมและตรวจสอบการทำงานต่างๆ เพื่อให้ดาวเทียม THEOS มีความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน อันเป็นงานและภารกิจหลักในการให้บริการข้อมูลดาวเทียมแก่หน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ (http://www.gistda.or.th/Gistda/HtmlGistda/theos_img/p12.jpg) (http://www.gistda.or.th/Gistda/HtmlGistda/theos_img/p11.jpg) (http://www.gistda.or.th/Gistda/HtmlGistda/theos_img/p11.jpg) (http://www.gistda.or.th/Gistda/HtmlGistda/theos_img/12.jpg) ดาวเทียม THEOS มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม ถ่ายภาพโดยใช้แหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ มีวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun-synchronous) สูงจากพื้นโลก 822 กิโลเมตร โดยจะถ่ายภาพในเวลาประมาณ 10.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น ใช้ระยะเวลาในการโคจรรอบโลก (Period) 101.46 นาทีต่อรอบ ใช้เวลาสร้าง 3 ปี และออกแบบให้มีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี ดาวเทียม THEOS มีกล้องถ่ายภาพ 2 กล้อง คือ กล้องถ่ายภาพขาวดำรายละเอียดสูง ( Panchromatic telescope) มีรายละเอียดภาพ 2 เมตร ความกว้างแนวถ่ายภาพ ( Swath width) 22 กิโลเมตร สามารถถ่ายภาพได้รอบโลกภายในเวลา 130 วัน ส่วนกล้องถ่ายภาพสี (Multispectral camera) มีรายละเอียดภาพ 15 เมตร ความกว้างแนวถ่ายภาพ 90 กิโลเมตร สามารถถ่ายภาพได้รอบโลกภายใน 35 วัน นอกจากนี้ ดาวเทียมยังสามารถปรับเอียงเพื่อถ่ายภาพซ้ำตรงตำแหน่งเดิมได้ทุก 1-5 วัน ดาวเทียม THEOS มีหน่วยความจำอยู่บนดาวเทียม จึงทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้ทั่วโลก ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากดาวเทียม THEOS หลายด้าน นับตั้งแต่การวางรากฐานการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาบุคลากรของไทยให้มีศักยภาพด้านเทคโนโลยีอวกาศ และการมีดาวเทียมของตนเองสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และสร้างการเรียนรู้และองค์ความรู้ด้านภูมิสารสนเทศเพื่อ การพัฒนาประเทศ ตลอดจนให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้ทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลดาวเทียม THEOS จะเป็นเครื่องมือใหม่ในการบริหารจัดการทรัพยากรในด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งด้านการเกษตร, การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง, การตรวจสอบมลพิษทางทะเล เช่นการหาคราบน้ำมันที่เรือเดินทะเลปล่อยทิ้งไว้, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, การวางแผนการสร้างเขื่อน, การทำแผนที่, การวางผังเมือง, ป่าไม้, ความมั่นคง, การเก็บภาษี, อุทกภัย, การสำรวจหาพื้นที่ที่เกิดไฟป่า และการสำรวจหาพื้นที่ที่เกิดภัยแล้ง ตลอดจนการสร้างธุรกิจใหม่แก่ภาคเอกชนในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการบริการใหม่ให้แก่หน่วยงานในภาครัฐ ภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงระดับภูมิภาค ทั้งนี้เพราะดาวเทียม THEOS เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกในกลุ่มประเทศอาเซียน และสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั่วโลก THEOS ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยในอันที่จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ทำให้บุคลากรไทยมีความรู้ความสามารถและถ่ายทอดเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อเป็นพื้นฐานและสร้างความต่อเนื่องในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของไทย อีกทั้งยัง เป็นการเพิ่มบทบาทของไทยในเวทีอวกาศโลก จากการสั่งซื้อภาพจากดาวเทียมมาเป็นเจ้าของดาวเทียมที่สามารถควบคุมและสั่งถ่ายภาพ ตลอดจนให้บริการข้อมูลดาวเทียมแก่ผู้ใช้ในประเทศ ซึ่งสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้แก่ ป่าไม้, การเกษตร, การทำแผนที่, ผังเมือง, การจัดการแหล่งน้ำ, ความมั่นคง และภัยพิบัติ นอกจากนี้ ยังให้บริการข้อมูลดาวเทียม THEOS แก่ผู้ใช้ทั่วโลก ตลอดจน เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศ ค่าตำแหน่งที่สามารถนำไปคำนวณบนโปรแกรมติดตามการเคลื่อนทีของดาวเทียม THEOS 1 33396U 08049A 08276.55293811 -.00000055 00000-0 51000-9 0 89 2 33396 098.7976 339.9618 0014182 287.4738 072.4916 14.63188886 198 หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ ตุลาคม 02, 2008, 11:08:16 PM ::002:: ขอบคุณครับ ต่อไปนี้เราคงได้ประโยชน์หลายๆด้านจากดาวเทียมดวงนี้ นอกจากดาวเทียมสื่อสารที่ให้คนอื่นเช่าช่องสัญญาณ
หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 03, 2008, 12:56:40 AM ขอบคุณครับ...::014::
หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: EAK1980 รักในหลวง ที่ ตุลาคม 03, 2008, 08:27:01 AM ::002::คนไทยเก่งครับ...ถ้าเราจะทำเราไม่แพ้ใครอยู่แล้ว ::002::
หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ ตุลาคม 03, 2008, 11:38:18 AM นับเป็นข่าวดีทีชุ่มชื่นหัวใจขึ้นมาบ้างหลังจากรับแต่ข่าวเครียดๆการเมืองมานาน
ขอบคุณครับ หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: dig5712 ที่ ตุลาคม 03, 2008, 12:43:48 PM ขอบคุณครับ..สำหรับข่าวสาร ;D
เอ้า.. บินขึ้นไปแล้ว ติดสัญลักษณ์ไตรรงค์แล้ว ห้ามเปลี่ยนสัญชาติทีหลังนะครับ ;D หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: pb&glock19 ที่ ตุลาคม 03, 2008, 02:34:01 PM รู้สึกภาคภูมิใจนะครับ ::002::
หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: ART ที่ ตุลาคม 03, 2008, 07:24:17 PM ตกลง ตอนนี้เข้าวงโคจร เรียบร้อยแล้วใช่ไหมครับ
หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: doud ♥ รักในหลวง ♥ ทรงพระเจริญ ♥ ที่ ตุลาคม 03, 2008, 09:57:34 PM ดร. สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ พลเอก ดร.วิชิต สาทรานนท์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ได้แถลงข่าว ความสำเร็จการส่งดาวเทียมธีออส : ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย โดยมี ดร.ธงชัย จารุพพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และ Mr. Daniel Galindo, Head of Civil Programs บริษัท อีเอดีเอส แอสเตรียม ประเทศฝรั่งเศส ร่วมแถลงข่าวด้วย ซึ่งสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. ได้จัดการแถลงข่าว ความสำเร็จการส่งดาวเทียมธีออส : ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 10:00-12:00 น. ที่อาคารพระจอมเกล้า ห้องโถง ชั้น 1 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามที่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินโครงการดาวเทียมธีออส (THailand Earth Observation Satellite: THEOS) ร่วมกับ บริษัท อีเอดีเอส แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส โดยได้มีการลงนามโครงการดาวเทียมธีออส ภายใต้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2547 บัดนี้ ธีออส ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันพุธที่ 1 ตุลาคม 2551 เวลาในประเทศไทย 13.37 หรือ 6.37 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (UTC) โดยจรวดนำส่ง เนปเปอร์ (Dnepr) จากฐานส่งจรวดเมืองยาสนี (Yasny) ประเทศรัสเซีย และที่เวลาในประเทศไทย 15.09 น. สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมที่เมืองคิรูนา (Kiruna) ประเทศสวีเดน เป็นสถานีแรกที่ติดต่อกับดาวเทียมได้ (First Contact) ต่อจากนั้น ดาวเทียมโคจรผ่านประเทศไทยครั้งแรก ณ เวลา 21.16 น. ซึ่งสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เริ่มปฏิบัติการควบคุมการโคจรดาวเทียมและตรวจสอบการทำงานต่างๆ เพื่อให้ดาวเทียมธีออส มีความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน อันเป็นงานและภารกิจหลักในการให้บริการข้อมูลดาวเทียมแก่หน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ และในวันที่ 3 ตุลาคม 2551 เวลา 10:00 น. ดาวเทียมธีออสจะทดลองถ่ายภาพครั้งแรกบริเวณกรุงเทพมหานคร เพื่อทดสอบการทำงานของกล้องบันทึกภาพ ภายหลังจากที่ดาวเทียมธีออสขึ้นสู่วงโคจรและปฏิบัติงานแล้ว ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากดาวเทียมธีออส หลายด้าน นับตั้งแต่การวางรากฐาน การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาบุคลากรของไทยให้มีศักยภาพด้านเทคโนโลยีอวกาศ และการมีดาวเทียมของตนเองสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ตลอดจนให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้ทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลดาวเทียมธีออส สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรในด้านต่างๆ ได้แก่ การเกษตร, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, การทำแผนที่, การวางผังเมือง, ป่าไม้, ความมั่นคง, การเก็บภาษี, อุทกภัย, การสำรวจหาพื้นที่ที่เกิดไฟป่า การสำรวจหาพื้นที่ที่เกิดภัยแล้ง เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเหตุการณ์ ดร. สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กล่าวถึงความสำร็จในการส่งดาวเทียมธีออส ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยครั้งนี้ว่า นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยในอันที่จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และเป็นการเพิ่มบทบาทของไทยในเวทีอวกาศโลก จากการสั่งซื้อภาพจากดาวเทียมมาเป็นเจ้าของดาวเทียมที่สามารถควบคุมและสั่งถ่ายภาพ ตลอดจนให้บริการข้อมูลดาวเทียมแก่ผู้ใช้ในประเทศ ซึ่งสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้แก่ ป่าไม้, การเกษตร, การทำแผนที่, ผังเมือง, การจัดการแหล่งน้ำ, ความมั่นคง และภัยพิบัติ นอกจากนี้ ยังให้บริการข้อมูลดาวเทียม THEOS แก่ผู้ใช้ทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย
การยิงดาวเทียมเข้าสู่วงโครจร (http://www.axecompany.com/download/ham/ro1.jpg) ข้อมูลจรวดที่ใช้ยิงดาวเทียม THEOS ซึ่งก็คือขีปนาวุธยิงนิวเคลียรพิสัยไกลของรัสเซีย ที่สร้างในสมัยสงครามเย็นนั่นเอง (http://www.axecompany.com/download/ham/r2.jpg) ขั้นตอนการ Load ดาวเทียมเข้าหัวจรวด (http://www.axecompany.com/download/ham/r3.jpg) ไซโลจรวด เดิมก็ท่อยิงขีปนาวุธนิงเคลียร (http://www.axecompany.com/download/ham/r4.jpg) ตำแหน่งสถานที่ปล่อยดาวเทียมที่ประเทศรัสเซีย (http://www.axecompany.com/download/ham/r5.jpg) หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: doud ♥ รักในหลวง ♥ ทรงพระเจริญ ♥ ที่ ตุลาคม 04, 2008, 12:44:38 AM ต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครับถึงจะเข้าที ดาวเทียมดวงนี้จัดเป็นดาวเทียมวงโครจรต่ำหรือ Low Earth Orbit แบบ Sun Synchronous Orbit ถ้าอธิบายง่ายๆ ก็คือเวลาผ่านประเทศไทย เหมือนกับพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก คือถ้าเข้าที่เข้าทางแล้ว จะผ่านประเทศไทย วันล่ะประมาณ 4 รอบ เช้า 2 รอบและเย็น 2 รอบ สำหรับการคำนวณตำแหน่งของดาวเทียมให้ download โปรแกรมติดตามการเคลื่อนทีของดาวเทียม สามารถดูข้อมูลได้ที่ http://www.hs9dmc.com/Orbitron/ โดยนำค่าวงโครจรไปใส่ในโปรแกรมติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเทียม
THEOS 1 33396U 08049A 08276.55293811 -.00000055 00000-0 51000-9 0 89 2 33396 098.7976 339.9618 0014182 287.4738 072.4916 14.63188886 198 ตกลง ตอนนี้เข้าวงโคจร เรียบร้อยแล้วใช่ไหมครับ หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: doud ♥ รักในหลวง ♥ ทรงพระเจริญ ♥ ที่ ตุลาคม 04, 2008, 12:55:17 AM อีกข่าวนะครับ ช่วงนี้ประเทศไทยยิงดาวเทียมเดือนล่ะดวงเลยครับ แล้วส่วนใหญ่เป็นดาวเทียมถ่ายภาพเสียด้วย ซึ่งคงเป็นประโยชน์กับประเทศชาติเรามากขึ้น
(http://www.space.mict.go.th/activity/img/smms51_02.jpg) (http://www.space.mict.go.th/activity/img/smms51_01.jpg) กระทรวงไอซีทีส่งดาวเทียม SMMS ขึ้นสู่วงโคจร 6 กันยายนนี้ นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการร่วมสร้างดาวเทียมเอนกประสงค์ขนาดเล็ก(Small Multi Mission Satellite :SMMS)หรือ SMMS ว่าเป็นอีกผลงานการวิจัยของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเกิดจากความร่วมมือพหุภาคีด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในภูมิภาคและเอเชียแปซิฟิก (AsiaPacific Multilateral Cooperation in Space Technology and Application :AP-MCSTA) ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ให้ประเทศไทย เข้าร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ประโยชน์ในโครงการร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์(Memorandum of Understanding for Small Multi-Mission Satellite Project and Related Activities :SMMS) มีประเทศสมาชิกลงนาม 6 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน มองโกเลีย ปากีสถาน บังคลาเทศและอิหร่าน โครงการร่วมสร้างดาวเทียมเอนกประสงค์ SMMS ความภาคภูมิใจของคนไทย ...ความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ฤกษ์ยิงขึ้นสู่วงโคจรต้นเดือนกันยายนนี้ ในที่สุดโครงการร่วมสร้างดาวเทียมเอนกประสงค์ หรือ Small Multi-Mission Satellite (SMMS) ซึ่งดำเนินการโดยภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การนำของ รองศาสตราจารย์ ดร.ศานติ วิริยะวิทย์ ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยกำหนดยิงขึ้นสู่วงโคจร ในวันที่ 5 กันยายน 2551 นี้ ณ Taiyuan Satellite Launching Center (TSLC) เมืองไท่หยวน ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงปักกิ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 500 กิโลเมตร ซึ่งนอกเหนือจากคณะทำงานโครงการแล้ว ยังมีตัวแทนจากสถาบันสมาชิกขององค์กรเครือข่ายวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และอธิการบดี ร่วมเดินทางไปกับรัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง เพื่อร่วมเป็นสักขีพยานในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ แนวทางการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม HJ-1A (SMMS) ดาวเทียม HJ-1A เป็นดาวเทียมสำรวจสภาพแวดล้อม (Environmental Observation Satellite) ที่ถูกจัดสร้างขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อจัดสร้างดาวเทียมเอนกประสงค์ขนาดเล็ก (Small Multi-Mission Satellite-SMMS) ระหว่างประเทศไทยซึ่งดำเนินการในการจัดสร้างระบบสื่อสารย่าน Ka-Band เพื่อใช้ในการทดลอง และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างกล้อง CCD และ Infrared Multispectral รวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ โดยมีกำหนดส่งขึ้นสู่วงโคจรราวปลายเดือนกรกฎาคม 2551 นี้ ซึ่งประเทศไทยในฐานะผู้ร่วมสร้างจะสามารถร้องขอข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม HJ-1A เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ได้หลากหลาย หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: salin - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 04, 2008, 09:13:39 AM อีกข่าวนะครับ ช่วงนี้ประเทศไทยยิงดาวเทียมเดือนล่ะดวงเลยครับ แล้วส่วนใหญ่เป็นดาวเทียมถ่ายภาพเสียด้วย ซึ่งคงเป็นประโยชน์กับประเทศชาติเรามากขึ้น แนวทางการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม HJ-1A (SMMS) ดาวเทียม HJ-1A เป็นดาวเทียมสำรวจสภาพแวดล้อม (Environmental Observation Satellite) ที่ถูกจัดสร้างขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อจัดสร้างดาวเทียมเอนกประสงค์ขนาดเล็ก (Small Multi-Mission Satellite-SMMS) ระหว่างประเทศไทยซึ่งดำเนินการในการจัดสร้างระบบสื่อสารย่าน Ka-Band เพื่อใช้ในการทดลอง และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างกล้อง CCD และ Infrared Multispectral รวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ โดยมีกำหนดส่งขึ้นสู่วงโคจรราวปลายเดือนกรกฎาคม 2551 นี้ ซึ่งประเทศไทยในฐานะผู้ร่วมสร้างจะสามารถร้องขอข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม HJ-1A เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ได้หลากหลาย SMMS เป็นดาวเทียมของจีนที่ไทยเราเอา Payload ของการสื่อสารในย่าน Ka Band ไปติดตั้งและเราใช้ได้เฉพาะในการทดลองเรื่องการสื่อสาร Ka Band นี้เท่านั้นครับ จีนก็ไม่ได้ใช้ Payload นี้ด้วย สังเกตุตรงที่ระบายสีไว้ครับ ร้องขอได้แต่ให้หรือไม่ก็ขึ้นกับทางจีน อันนี้เป็นเรื่องที่ดาวเทียมทุกดวงก็ปฏิบัติเช่นนี้อยู่แล้ว หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: C.J. - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 04, 2008, 11:17:59 AM ::002::... เยี่ยม
หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: doud ♥ รักในหลวง ♥ ทรงพระเจริญ ♥ ที่ ตุลาคม 04, 2008, 10:51:38 PM มีโอกาสได้คุยกับ อ.สุธี อ.กีรติ อ.ครรชิต ทำให้พอทราบว่าเราจ้างจีนสร้าง Module สื่อสาร Ka-Band เพื่อการวิจัยเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านดาวเทียมในย่านความถี่ ที่ยังไม่มีใครใช้งานมาก่อน ทดสอบปัญหาการสื่อสารในสภาวะต่างๆ โดยเฉพาะทดสอบการสื่อสารผ่านเม็ดฝน ที่มีปัญหาใน Ku-Band สำหรับพวกกล้องหรือ Module อื่นๆ นอกเหนือจากนี้เป็นการร่วมมือกับทางการจีน ที่ต้องการขายเทคโนโลยีให้เรา ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้ใช้จึงเป็นไปได้สูงมาก เปรียบเสมือนจะขายกล้อง แต่ไม่มีกล้องตัวอย่างให้ลอง เป็นท่านจะซื้อไหมจะเชื่อไหมหรือแค่เชื่อตามแค่คำโฆษณา ก็ซื้อแล้วทั้งที่ยังไม่ได้ลองใช้ ทราบว่ามีการตั้งสถานีรับสัญญาณที่ม.เกษตรฯ กำแพงแสนเพื่อทดสอบ ในอนาคตมีการคิดออกแบบดาวเทียมที่โครจรในแนวเส้นศูนย์สูตร ที่ทำให้สามารถใช้ประโยชน์มากกว่าดาวเทียมที่โครจรแบบ Sun Syn เพราะจะสามารถทำให้ใช้งานได้มากขึ้น โดยการยิงดาวเทียมอาศัยเทคโนโลยีจรวดขีปนาวุธ ที่มีอยู่มากมายเพราะเป็นของเหลือสมัยสงครามเย็นจากอดีตสหภาพโซเวียตที่บัดนี้ถูกแยกตัวเป็นประเทศเล็กๆมายมาย ซึ่งนักวิจัยชาวไทยมีศักยภาพสูงที่จะพัฒนา ขอเพียงรัฐบาลส่งเสริมและให้เงินทุนมากกว่าปัจจุบันเท่านั้น
ดาวเทียม SMMS เป็นดาวเทียมร่วมสร้างระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิจัย ออกแบบ เทคโนโลยีอวกาศและพัฒนาบุคลากรไทย ให้มีศักยภาพในการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์กับงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปได้ โดยประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบการจัดสร้างอุปกรณ์สื่อสาร ระบบ Ka-Band บรรจุในตัวดาวเทียม SMMS สร้างสถานีภาคพื้นดินประจำที่ และสถานีภาคพื้นดินเคลื่อนที่ พร้อมอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณและระบบควบคุมติดตามดาวเทียม ทั้งนี้สำหรับประเทศไทยโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากดาวเทียมตัวนี้ถือว่าสูง โดยเฉพาะในด้านการเตือนภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเกิดสึนามิ หรือแผ่นดินไหว เพราะประเทศไทยตั้งอยู่บนแนวของภูเขาไฟแม้จะมีส่วนใหญ่ที่ดับไปแล้ว แต่ว่าการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ยังคงมีอย่างต่อเนื่องเสมอ นอกจากนี้คือด้านการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์แผนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการระบบ GIS โดยซอฟต์แวร์พาร์ค ที่จะช่วยพัฒนาระบบแผนที่ไทยให้มีการพัฒนาได้ก้าวไกลยิ่งขึ้น เพราะทุกวันนี้ซอฟต์แวร์หลายต่อหลายตัวด้านแผนที่ล้วนเป็นผลงานคนไทยทั้งสิ้น อีกข่าวนะครับ ช่วงนี้ประเทศไทยยิงดาวเทียมเดือนล่ะดวงเลยครับ แล้วส่วนใหญ่เป็นดาวเทียมถ่ายภาพเสียด้วย ซึ่งคงเป็นประโยชน์กับประเทศชาติเรามากขึ้น SMMS เป็นดาวเทียมของจีนที่ไทยเราเอา Payload ของการสื่อสารในย่าน Ka Band ไปติดตั้งและเราใช้ได้เฉพาะในการทดลองเรื่องการสื่อสาร Ka Band นี้เท่านั้นครับ จีนก็ไม่ได้ใช้ Payload นี้ด้วย สังเกตุตรงที่ระบายสีไว้ครับ ร้องขอได้แต่ให้หรือไม่ก็ขึ้นกับทางจีน อันนี้เป็นเรื่องที่ดาวเทียมทุกดวงก็ปฏิบัติเช่นนี้อยู่แล้วแนวทางการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม HJ-1A (SMMS) ดาวเทียม HJ-1A เป็นดาวเทียมสำรวจสภาพแวดล้อม (Environmental Observation Satellite) ที่ถูกจัดสร้างขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อจัดสร้างดาวเทียมเอนกประสงค์ขนาดเล็ก (Small Multi-Mission Satellite-SMMS) ระหว่างประเทศไทยซึ่งดำเนินการในการจัดสร้างระบบสื่อสารย่าน Ka-Band เพื่อใช้ในการทดลอง และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างกล้อง CCD และ Infrared Multispectral รวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ โดยมีกำหนดส่งขึ้นสู่วงโคจรราวปลายเดือนกรกฎาคม 2551 นี้ ซึ่งประเทศไทยในฐานะผู้ร่วมสร้างจะสามารถร้องขอข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม HJ-1A เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ได้หลากหลาย หัวข้อ: Re: ดาวเทียม THEOS ได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรในวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 13:37 น. เริ่มหัวข้อโดย: doud ♥ รักในหลวง ♥ ทรงพระเจริญ ♥ ที่ ตุลาคม 08, 2008, 08:42:29 AM สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. ได้จัดแถลงข่าว ภาพแรกจากดาวเทียมธีออส (THEOS First Image) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2551 เวลา 14:00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 5 อาคาร สทอภ. โดย พลเอก ดร.วิชิต สาทรานนท์ ประธานกรรมการบริหาร สทอภ. และดร.ธงชัย จารุพพัฒน์ ผู้อำนวยการ สทอภ. ร่วมแถลงข่าว ดาวเทียมธีออส ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยได้ส่งขึ้นสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 จากฐานส่งจรวดเมืองยาสนี ประเทศรัสเซีย ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดี และเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมานี้ ดาวเทียมธีออสได้ทดลองถ่ายภาพครั้งแรก เพื่อทดสอบการทำงานของกล้องบันทึกภาพ ซึ่งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ทำหน้าที่รับสัญญาณจากดาวเทียมธีออส อย่างไรก็ตามจะมีการทดสอบการทำงานของกล้อง โดยถ่ายไต่ระดับความสูงจาก 690 กิโลเมตรไปจนถึง 822 กิโลเมตรจากพื้นโลกจากทั่วโลก ก่อนจะถ่ายภาพจริง โดยเฉพาะพื้นที่ประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ภายในเดือนธันวาคมนี้ และจะนำภาพถ่ายทั้งหมดขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อทรงใช้ประโยชน์ต่อไป
ภาพแรก (First Image) จากดาวเทียมธีออส เป็นภาพสีบริเวณเกาะภูเก็ต รายละเอียดภาพ 15 เมตร (http://www.gistda.or.th/Gistda/HtmlGistda/Html/HtmlTraining/Images/20081006_theos1stimg/2.jpg) ภาพขาวดำบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะภูเก็ต คือ หาดกะตะใหญ่ และหาดกะตะน้อย รายละเอียดภาพ 2 เมตร บันทึกภาพเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2551 เวลา 10.11 น. (http://www.gistda.or.th/Gistda/HtmlGistda/Html/HtmlTraining/Images/20081006_theos1stimg/3.3.jpg) |