หัวข้อ: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 03, 2008, 01:12:55 PM ย้อนรอยวิกฤติการเงินสหรัฐฯ [3 ต.ค. 51 - 19:48]
ไหนๆก็เขียนเรื่องวิกฤติการเงินสหรัฐฯมาหลายวันแล้ว วันนี้ผมขอ ย้อนรอยวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ให้เห็นกันตั้งแต่จุดเริ่มต้นว่า วิกฤตินี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ข้อมูลนี้ผมไปค้นมาจากวารสาร การเงินธนาคาร ฉบับเก่าของปีที่แล้ว ซึ่ง ดร.สุธี โมกขะเวส ผู้เชี่ยวชาญการบริหารความเสี่ยง ได้บรรยายไว้เป็นฉากๆอย่างละเอียดเลยทีเดียว เมื่อหยิบขึ้นมาอ่านใหม่ แล้วเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ ก็ยิ่งขนลุก นึกไม่ถึงว่าตลาดเงินในโลกทุนนิยมตะวันตกจะชั่วร้ายขนาดนี้ จุดเริ่มต้นของปัญหา ซับไพร์ม ที่เป็นต้นตอวิกฤติการเงินยุคใหม่ เกิดจากคนอเมริกัน 6 ล้านคน ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีเงินได้ แต่ไปขอกู้เงินซื้อบ้านจากสถาบันการเงิน ด้วยวิธีการกู้ที่เรียกว่า Loan to Value สินเชื่อตามมูลค่าบ้าน โดยกู้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ของราคาบ้าน แถมยังไม่ต้องมีเงินดาวน์อีกต่างหาก เงินกู้แบบนี้เรียกว่า No Doc Loan หรือ No Document Loan เป็นการกู้เงินที่ไม่ต้องมีเอกสาร ไม่ต้องบอกว่ามีเงินเดือนเท่าไร สามารถผ่อนส่งบ้านได้หรือไม่ ที่สำคัญคือสามารถกู้ได้เท่ากับมูลค่าบ้าน ไม่น่าเชื่อว่าระบบสินเชื่อบ้านในสหรัฐฯจะเหลวแหลกขนาดนี้ ฝ่ายสถาบันการเงินผู้ให้กู้ ก็มีรายได้จากค่าธรรมเนียมการปล่อยกู้ และไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงของลูกหนี้เหล่านี้จะเบี้ยวหนี้ เพราะเมื่อปล่อยกู้ออกไปแล้ว ก็นำสินเชื่อบ้านพวกนี้ไปทำ Securitization เป็นตราสารหนี้ที่เรียกว่า Mortgage Back Securities หรือ MBS ตราสารนี้ที่มีบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน จากนั้นก็ขายสินเชื่อพวกนี้ออกไปจากบัญชี ความเสี่ยงจากการถูกเบี้ยวหนี้ก็ถูกขายออกไปให้กับสถาบันการเงินที่รับซื้อตราสารหนี้เหล่านี้ไป ด้วยวิธีนี้ทำให้การปล่อยสินเชื่อบ้านในสหรัฐฯ เป็นไปอย่างไร้ความรับผิดชอบ เพราะสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ก็ไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากขายออกไปแล้ว สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้ ซับไพร์ม จะเร่งขาย MBS ออกไป เพื่อให้ได้เงินสดก้อนใหม่มาปล่อยกู้ต่ออีกรอบ หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ทีนี้ก็มาถึง Investment Bank หรือ วานิจธนกิจ หรือ ธนาคารเพื่อการลงทุน แล้วแต่จะเรียก เป็นสถาบันการเงินที่ทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไป มีความเชี่ยวชาญในการขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างมากกว่าการปล่อยกู้ เมื่อเห็นว่าตราสารหนี้ MBS มีกำไรดี ก็ไปซื้อมา แล้วแบ่งออกเป็นกองๆ ตั้งชื่อเสียใหม่อย่างโก้หรูว่า Collateral Debt Obligations หรือ CDOs ที่คนไทยเรารู้จักกันดี เพราะมีแบงก์ไทยเจอไปหลายแบงก์ ซีดีโอเหล่านี้มีทั้งความเสี่ยงสูง ความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงต่ำ ดังนี้ 1. Equity กลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง แต่ถ้าตลาดบ้านตก กลุ่มนี้จะถูกเทขายก่อน แต่สภาพคล่องไม่มีเงินลงทุนในก้อนนี้ก็จะหายไปทันที 2. Mezzanine เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลาง จะถูกเทขายตามมา 3. Investment Grade Bond เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ มีสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของตราสาร MBS ถ้าเกิดวิกฤติตลาดบ้านตก ก็ยังขายได้เงินคืนบ้าง ซีดีโอกลุ่มนี้แหละที่วานิจธนกิจนำไปให้สถาบันจัดอันดับอย่าง มูดี้ส์ หรือ เอส แอนด์ พี จัดเรตติ้งให้สูงในระดับ AAA ทำให้ธนาคารแห่ไปซื้อลงทุนกันมาก ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ราคาบ้านในสหรัฐฯขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลูกหนี้จึงไม่มีการผิดนัดชำระหนี้ ซีดีโอเหล่านี้ก็ขายดิบขายดี จนมีมากถึง 62 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ยิ่งได้ Hedge Fund กองทุนความเสี่ยงเข้ามาปั่นด้วย ราคาและวงเงินก็ยิ่งบานไปใหญ่ ธนาคารที่ปล่อยกู้ให้เฮดจ์ฟันด์ เมื่อเห็นราคาหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ก็ยิ่งปล่อยกู้ให้มากขึ้น เฮดจ์ฟันด์ก็ได้เงินไปซื้อ CDOs จากวานิจธนกิจมากขึ้น สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ ซับไพร์ม ก็เร่งปล่อยกู้มากขึ้น เพื่อนำสินเชื่อบ้านมาขายเป็นซีดีโอได้มากขึ้น เพื่อนำเงินมาปล่อยกู้ให้มากขึ้น กลายเป็นวงจรวิบัติอย่างนี้ สุดท้ายก็พังพินาศอย่างที่เห็น. http://www.thairath.co.th/news.php?section=society03&content=106276 62 ล้านล้าน us$ หรือ 2100 ล้านล้านบาทที่กระจายอยู่ในตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก ใครบอกว่าไม่กระทบไทยโกหกแล้วครับหนักยิ่งกว่าต้มยำกุ้งปี 40 อีกครับ หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: แมวบ้า(น) ที่ ตุลาคม 03, 2008, 01:49:15 PM ขอบคุณครับ ::014:: ....... ตาย ตาย ตาย ตาย :~)
หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: wasanami ที่ ตุลาคม 03, 2008, 02:04:49 PM เวรกรรม..
ฉ้อฉล และ ความโลภแท้ๆ เลย หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: ...อภิสิทธิ์ ... ที่ ตุลาคม 03, 2008, 02:15:19 PM ว่ากันว่าลงถึงก้นเหวแล้วครับพี่แมวเพราะ วอเรนบัพเฟ็ทเจ้าสำนักเต่าพิฆาต( value investment) เข้ามาช๊อปปิ้งของถูกๆกันแล้วสองวันก่อนก็ ซื้อGoldman sack เมื่อวานก็ซื้อ GE เดี๋ยวพี่ฮาก็มาฟันธงว่าถึงกันเหวหรือยังครับ
หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 03, 2008, 02:48:49 PM ว่ากันว่าลงถึงก้นเหวแล้วครับพี่แมวเพราะ วอเรนบัพเฟ็ทเจ้าสำนักเต่าพิฆาต( value investment) เข้ามาช๊อปปิ้งของถูกๆกันแล้วสองวันก่อนก็ ซื้อGoldman sack เมื่อวานก็ซื้อ GE เดี๋ยวพี่ฮาก็มาฟันธงว่าถึงกันเหวหรือยังครับ 62 million million us$ ถ้าถึงก้นเหวต้องหนักกว่านี้ครับหัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: ตี๋ br ที่ ตุลาคม 03, 2008, 03:19:25 PM กลัวมันจะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยด้วยครับ ::003:: ::014::
หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: Chayanin-We love the king ที่ ตุลาคม 03, 2008, 04:44:10 PM ขอบคุณครับ
ตังค์ไม่ได้หายไปไหน แล้วตังค์ไปอยู่ที่ใคร ห่วงแต่เงินนั้นจะถูกกักเอาไว้ ไม่ให้ไหลเข้าไปทำงานในระบบเศรษฐกิจ บริโภคลด ยอดขายลด เงินเดือนลด ไล่ออก รายได้ต่อหัวลด ความเชื่อมันลด วนไปมา รู้แต่งานนี้ คนรวยยิ้ม คนรากหญ้าอ๊วก ใครร้องเพลง ฝนเอยทำไมจึงตกได้คงเข้าใจ หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: น้าพงษ์...รักในหลวง ที่ ตุลาคม 03, 2008, 04:53:22 PM ...ขอบคุณครับ.. ::014::
หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: ก๊วยเจ๋ง ที่ ตุลาคม 03, 2008, 05:03:20 PM ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ ตุลาคม 03, 2008, 05:29:27 PM กลัวมันจะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยด้วยครับ ::003:: ::014:: ไม่ต้องกลัวมันกระทบการส่งออกแน่ครับ ;D ;D ;D หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 03, 2008, 06:43:20 PM กลัวมันจะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยด้วยครับ ::003:: ::014:: ไม่ต้องกลัวมันกระทบการส่งออกแน่ครับ ;D ;D ;D หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: Earthworm ที่ ตุลาคม 03, 2008, 08:13:36 PM บางแห่ง ก็แจ้งมาว่า 500ล.บ้าง 3000ล.บ้าง คงไม่ค่อยมีผลกระทบ หรอก แฮ่ๆๆๆๆๆ ถ้า สามพันล้านแล้วเฮียยังบอกว่าไม่กระทบกับกองทุนเนี่ย เอาส่วนไหนคิดครับ ที่มันหายไม่ใช่แค่ดอกนะจ๊ะ ต้นละจะเอาคืนมาได้บ้างไหมละครับ ผลประกอบการที่แจ้งว่ากำไรเท่านู้นเท่านี้ บวกลบคูณหารให้ดีๆละกัน และไอ้ สามร้อย ห้าร้อย หรือสามพันล้านนี่ มันเป็นตัวเลขจริงหรือเปล่าครับ ที่ห่วงไม่ใช่ของแบงค์หรอก ห่วงพวก ประกันสังคม กบข. อะไรพวกนั้นมากกว่าครับ ว่าเอาไปลงมากน้อยแค่ไหน อีกหน่อยคงมีข่าวเอา อึ! มาราดประท้วงให้เห็นอีกมั้งครับ หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: หนวดหิน ที่ ตุลาคม 03, 2008, 08:20:36 PM ขอบคุณครับ..เปิดหูเปิดตาจริงๆ
หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 03, 2008, 09:27:52 PM โอ้... ตายแน่ครับ...
ขอบคุณคุณขวัญมากครับ... หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 03, 2008, 09:55:58 PM จุดเริ่มต้นของปัญหา ซับไพร์ม ที่เป็นต้นตอวิกฤติการเงินยุคใหม่ เกิดจากคนอเมริกัน 6 ล้านคน ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีเงินได้ แต่ไปขอกู้เงินซื้อบ้านจากสถาบันการเงิน ด้วยวิธีการกู้ที่เรียกว่า Loan to Value สินเชื่อตามมูลค่าบ้าน โดยกู้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ของราคาบ้าน แถมยังไม่ต้องมีเงินดาวน์อีกต่างหาก เงินกู้แบบนี้เรียกว่า No Doc Loan หรือ No Document Loan เป็นการกู้เงินที่ไม่ต้องมีเอกสาร ไม่ต้องบอกว่ามีเงินเดือนเท่าไร สามารถผ่อนส่งบ้านได้หรือไม่ ที่สำคัญคือสามารถกู้ได้เท่ากับมูลค่าบ้าน ไม่น่าเชื่อว่าระบบสินเชื่อบ้านในสหรัฐฯจะเหลวแหลกขนาดนี้ มันเป็นกลไกของการปั่นราคาอสังหาริมทรัพย์ อเมริกา ถึงจุดอิ่มตัวในธุรกิจนี้ จึงต้องเล่นกับเงินด้วยการปั่นราคาให้สูงเกินจริง สร้างค่านิยม เปลี่ยนงาน รายได้สูงขึ้น ต้องเปลี่ยนบ้านหลังใหญ่ขึ้น ในเมื่อปั่นราคาให้บ้านแพงขึ้นทุกวัน จึงให้กู้ได้ง่ายขึ้น วงเงินสูงขึ้น และยึดบ้านง่ายขึ้น เพราะยึดแล้วขายต่อได้กำไร หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: visith ที่ ตุลาคม 04, 2008, 07:43:12 AM ...แล้วในฐานะคนไทย..ทั้งผู้ประกอบการและมนุษย์เงินเดือน..
...ควรเตรียมการณ์รับมืออย่างไรในสภาพการณ์อย่างนี้ครับ.. หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: C.J. - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 04, 2008, 08:33:03 AM คนส่วนใหญ่ของไทย...ยังกินอยู่ แบบพอเพียง.. พอมีกิน...
ผมว่าไม่น่ากลัวครับ... หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ ตุลาคม 04, 2008, 08:35:24 AM แต่ถ้าโรงงาน (ส่งออก) ต้องปิด คนตกงานจำนวนมาก ...... บ้านเมืองก็คงไม่ไหวเช่นกัน มีผลกระทบถ้วนหน้า หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: C.J. - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 04, 2008, 08:40:53 AM แต่ถ้าโรงงาน (ส่งออก) ต้องปิด คนตกงานจำนวนมาก ...... บ้านเมืองก็คงไม่ไหวเช่นกัน มีผลกระทบถ้วนหน้า ครับ... แย่.. แต่.. เรายังอยู่กันได้... แย่อย่างไร... ก็ยังต้องกินข้าว... หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ ตุลาคม 04, 2008, 08:53:54 AM หวังว่าคงไม่รุนแรงครับ ...... แต่ตอนนี้ธุรกิจท่องเที่ยว พนักงานโรงแรม ๕ ดาวหลายแห่งต้องให้พนักงานสลับกันหยุดงาน จ่ายค่าแรง หรือ เงินเดือนครึ่งเดียว ...... ต่อไปมีชาวโรงงานมาเพิ่มเติมอีก ...... รายได้ลดลง ...... ค่าใช้จ่ายคงที่ ทั้งที่ทำ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ จักรยานยนต์ และอื่นๆ ........ คงมีการดำเนินการตามกฎหมาย หนี้สูญโดยสภาพจำใจ ล้มละลายโดยจำเป็น ได้แต่ภาวนาว่าไทยเราคงอยู่รอดปลอดภัย คนเก๋งๆก็ร่ำเรียนมาจากบ้านเขาเมืองเขาทั้งสิ้น คงต้องตามเขาอยู่ดี ...... โอย กลุ้ม หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: bigbang ที่ ตุลาคม 04, 2008, 10:25:59 AM ขอบคุณคุณขวัญครับ
ผมไม่ห่วงและได้เตรียมตัวมานานแล้วครับ ตั้งแต่ในหลวงท่านทรงเตื่อน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ตอนนั้นผมเริ่มสังเกตุได้ว่า คนไทยใช้เงินเกินตัว และความจำเป็นหลังจากฟี้นวิกฤติเศรษฐกิจได้ไม่นาน ขอให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงท่าน รอดแน่ครับ หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: ทิดเป้า ที่ ตุลาคม 04, 2008, 11:54:50 AM แต่ถ้าโรงงาน (ส่งออก) ต้องปิด คนตกงานจำนวนมาก ...... บ้านเมืองก็คงไม่ไหวเช่นกัน มีผลกระทบถ้วนหน้า ::012::ผู้บริหารระดับสูงที่บ.ผม ...ย้ำว่า ขอให้ พนง.ที่มีหนี้สิน นำโบนัสที่จะได้ในสิ้นปีนี้ ไปใช้หนี้...และอย่าสร้างหนี้เพิ่ม ..มิฉะนั้น ปีหน้า และปีต่อๆไป จะลำบากมากครับ หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: C-bird รักในหลวง ที่ ตุลาคม 04, 2008, 12:20:59 PM ขอบคุณคุณขวัญครับ เห็นด้วยที่สุดครับ มีน้อยกินน้อย มีมากกินพอดี เลิกกินเลือกใช้ในสิ่งที่จำเป็น และก็อย่าประมาทครับ ผมไม่ห่วงและได้เตรียมตัวมานานแล้วครับ ตั้งแต่ในหลวงท่านทรงเตื่อน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ตอนนั้นผมเริ่มสังเกตุได้ว่า คนไทยใช้เงินเกินตัว และความจำเป็นหลังจากฟี้นวิกฤติเศรษฐกิจได้ไม่นาน ขอให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงท่าน รอดแน่ครับ หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 04, 2008, 01:06:04 PM ภัยภายนอกมาไม่เตรียมการ แล้วยังแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเองอีก ประเทศที่เป็นอย่างนี้คงอยู่รอดในโลกที่หมุนทุกวันใบนี้ได้ยาก ที่ยืนคงเหลือน้อยลงไป ทุกทีๆ
ประเทศไทยน่าจะอยู่ในประเภทน้ำมาไม่ก่อทำนบกั้นแถมยังทะเลาะกันเองรอน้ำมาท่วมอีก หลังจากลดเงื่อนไขต่างๆทางการเมืองลงไปจนกลุ่มผู้ชุมนุมทีทำเนียบลดจำนวนลงไปมาก แต่นายทักษิณได้ให้ โกวิท วัฒฯ ดำเนินแผนก่อกวนไม่ให้สงบยั่วยุฝ่ายตรงข้ามโดยการไปจับ แกนนำพันธมิตรอีกสร้างเงื่อนไขโดยไม่มีเหตุอันควรชี้ให้เห็นถึงเจตนาของทักกี้ได้เป็นอย่างดีว่ามีเป้าหมายชั่วๆอยู่เบื้องหลังครับ ประชาธิปไตยไม่เหมาะสมกับลักษณะนิสัยคนไทยด้วยประการทั้งปวง พฤษภาทมิฬคนไทยเรียกร้องเลือกตั้ง 100 % ปี51 คนไทยเรียกร้องเลือกตั้งบางส่วน อีก10 ปีข้างหน้าก็เจอฤทธิ์นักลากตั้งกลับมาขอเลือกตั้ง100% อีก " การพัฒนาประเทศสิ่งสำคัญที่สุดคือคนระบบเป็นเรื่องรองลงไป " ไม่ว่าระบบไหนก็เจริญได้ ดูไบ จีน เวียดนาม ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยและสังคมนิยม ก็ยังเจริญได้ ชาติยุโรปที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยก็เจริญ เติ้งเสี่ยวผิงเคยกล่าวว่า " ไม่ว่าแมวดำหรือแมวขาวขอให้จับหนูได้เป็นพอ " ระบอบไม่สำคัญเท่ากับคน นักการเมืองมาจากประชาชน " แต่นักการเมืองไทยไม่ว่าฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลชนะการเลือกตั้งด้วยเงื่อนไขเดียวกันจากประชาชน " เวลามีปัญหาก็โทษนักการเมือง แต่คนไทยลืมโทษตัวเอง เพราะคนที่เลือกคนที่ขายเสียงคือคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศครับ หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: Soraphong-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 04, 2008, 01:26:57 PM จงเตรียมพร้อม.... ::014::
หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: Choro - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 04, 2008, 03:15:50 PM ขอบคุณครับ ::014::
เอาอีกแล้ว จะดี จะดี ก็เอาอีกแล้ว ::004:: หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: โซ้ยตี๋ ที่ ตุลาคม 04, 2008, 05:12:36 PM ขอบคุณคุณขวัญครับ เห็นด้วยที่สุดครับ มีน้อยกินน้อย มีมากกินพอดี เลิกกินเลือกใช้ในสิ่งที่จำเป็น และก็อย่าประมาทครับ ผมไม่ห่วงและได้เตรียมตัวมานานแล้วครับ ตั้งแต่ในหลวงท่านทรงเตื่อน เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ตอนนั้นผมเริ่มสังเกตุได้ว่า คนไทยใช้เงินเกินตัว และความจำเป็นหลังจากฟี้นวิกฤติเศรษฐกิจได้ไม่นาน ขอให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงท่าน รอดแน่ครับ หลักปฏิบัติที่ดีที่สุดครับ อ่าน ฟัง คิด สิ่งที่ในหลวงท่านพระราชทานให้กับเราทุกคนครับ เชื่อในหลวง ง่ายที่สุด ดีที่สุดครับ หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: Udomkd ที่ ตุลาคม 04, 2008, 08:44:03 PM "นั่งคิด คำนวนตัวเลข ทุกค่ำทุกเช้า เฝ้าแต่เอากำไร"
คนรวยเดือดร้อน คนจนลำบาก คนรวย รำ่รวย คนจนลำบาก สรุปว่า อย่างไรก็ลำบาก ฉะนั้น จะเป็นอย่างไร ก็ไม่น่ากลัว เพราะยังไงๆ ก็ลำบาก ปล.ขอบคุณข้อมูลที่ได้อ่านครับ หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 04, 2008, 10:24:36 PM แต่ถ้าโรงงาน (ส่งออก) ต้องปิด คนตกงานจำนวนมาก ...... บ้านเมืองก็คงไม่ไหวเช่นกัน มีผลกระทบถ้วนหน้า ผมมองตรงกันข้าม ราวสิบปีมาแล้ว มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งบอกผมว่าอีกสิบปี จะถึงยุคที่ 8 ประเทศตะวันตกจะล่มจม ประเทศตะวันออกจะเฟื่องฟู ตอนนั้นผมไม่เข้าใจ แถมยังไม่เชื่ออีกด้วย แต่ในอีกสามปีต่อมา จีนใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 5 เท่าตัว ต่อมาอีกสามปี จีนกลายเป็นประเทศที่สะสมเงินยูเอส ดอลล่าห์ มากที่สุดในโลก จนเกิดปรากฏการ์ณตลก ๆ ว่าจีนต้องเอาเงินอเมริกัน ออกไปลงทุนนอกประเทศ ทั้ง ๆ ที่มีค่าแรงสูงกว่าประเทศตัวเองสองเท่า เหตุผลก็คือ ผลตอบแทนสูงกว่าการนำเงินดอลล่าห์ไปซื้อพันธบัตรของประเทศตะวันตก วิกฤติครั้งนี้ จีนกับญี่ปุ่นต้องกระทบกระเทือนแน่ ๆ แต่ก็เป็นโอกาสที่จะพลิกฟื้น และเจรจาตกลงกติกาการค้าระหว่างประเทศกันใหม่ ส่วนไทยเราเอง ถ้าประคองตัวดี ๆ ก็คงไม่เจ็บตัวมากนัก หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 06, 2008, 02:29:43 AM วันเสาร์ที่ผ่านมา หลังจากที่ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายกอบกู้สถาบันการเงินสหรัฐฯมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ ไปเมื่อวันศุกร์ และ ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายในเวลาอีกสองชั่วโมงต่อมาในวันเดียวกัน
ดร.โอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ก็ชวนผม ไปนั่งคุยเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และ แผนรับมือในปัจจุบันและอนาคตของไทย นั่งถกกันกว่าสองชั่วโมง แม้จะรู้ว่ามีเวลาไม่มาก ไม่รู้ว่ารัฐบาลนี้จะอยู่อีกนานเท่าไร แต่ฟังเสียง รองนายกฯโอฬาร แล้วก็รู้สึกสบายใจ เพราะไม่มีอาการถอดใจ ตรงกันข้ามกลับแสดงความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่าที่จะทำได้ และเตรียมแผนระยะยาวในอนาคต เพื่อรับมือกับคลื่นวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินจากสหรัฐฯ ที่จะทยอยตามมาในปีหน้า ซึ่งมันมาแน่นอน ไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะไม่มา ข้อที่ได้เปรียบและถือเป็นโชคดีของประเทศไทยก็คือ ไทยมีเงินกู้ต่างประเทศที่ เป็นเงินดอลลาร์น้อยมาก และ มีเงินทุนสำรองที่เป็นเงินดอลลาร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ ดังนั้น ใครที่เป็นห่วงว่านักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไม่เลิก แล้วแลกเป็นเงินดอลลาร์ออกนอก ประเทศจะกระทบค่าเงินบาทและเศรษฐกิจไทย คงไม่ต้องเป็นห่วง ตั้งแต่ต้นปีมาถึงวันนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปแล้ว 120,000 ล้านบาท ตอนนี้ ยังเหลือเงินลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นอีกประมาณ 120,000 ล้านบาท เชื่อว่าต่างชาติต้องทยอยขาย จนหมดพอร์ต เพื่อนำเงินกลับไปเสริมสภาพคล่องบริษัทแม่ ดร.โอฬาร บอกว่า เงิน 120,000 ล้านบาท เมื่อ แลกเป็นดอลลาร์ก็แค่ 3,500 ล้านดอลลาร์ นิดเดียวเอง ไม่กระทบต่อทุนสำรองอันแข็งแกร่งของไทยแน่ นอน สำหรับ ตลาดหุ้นไทย กำลังมีการเจรจากับ เวียดนาม ลาว และ กัมพูชา เพื่อชักนำบริษัทขนาดใหญ่ที่ ลงทุนในสามประเทศนี้ ให้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ขณะเดียวกันก็เจรจากับ มาเลเซีย และ สิงคโปร์ เรื่องการซื้อขายหุ้นข้ามชาติ เพื่อสร้างนักลงทุนในเอเชียขึ้นมาแทนที่นักลงทุนสหรัฐฯและยุโรป โดยจะทำควบคู่ไป Asean Bond เพื่อระดมเงินทุนใน ภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ถ้าไม่มีอะไรติดขัด ประเทศไทยจะนำเสนอต่อ ที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในปลายปีนี้ ดร.โอฬาร มองว่า ในอนาคตอันไม่ไกลจากนี้ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯตกอยู่ในสภาพ ถดถอย จะส่งผลให้สหรัฐฯไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลกอีกต่อไป และ ศูนย์กลางการ เงินของโลก จะเคลื่อนย้ายจาก มหานครนิวยอร์ก มาอยู่ในเอเชียที่ จีน และ ญี่ปุ่น แทน ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า โหรโอฬาร จะแม่นหรือไม่ ผมจำได้ว่า หลายปีก่อน อาจารย์วิศิษฎ์ เตชะเกษม เคยเขียนไว้ในวารสาร การ เงินธนาคาร ทำนายไว้ว่า โลกยุคปัจจุบันตกอยู่ในอิทธิพลของ กลุ่มดาวยุคที่ 8 ทำให้ ความมั่งคั่งจาก สหรัฐฯและยุโรปเสื่อมถอย และ ความมั่งคั่งจะโยกย้ายมาอยู่ที่เอเชียแทน โดยมีจีนและญี่ปุ่นเป็นหลัก และ ความมั่งคั่งร่ำรวยนี้จะอยู่กับชาวเอเชียไปนานถึง 20 ปี ช่วงที่ อาจารย์วิศิษฎ์ เขียนคำทำนายนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯยังรุ่งโรจน์ จีนเพิ่งจะโผล่รัศมีขึ้นมาเท่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าผ่านไปไม่กี่ปี คำทำนายนี้กลับเป็น จริง เมืองไทยวันนี้ยังโชคดีที่สินค้าเกษตรมีราคาดี ทำให้เกษตรกรมีฐานะดี ซึ่ง ดร. โอฬาร บอกว่า เศรษฐกิจไทยปีหน้าคงจะต้องพึ่งพาภาคการเกษตรอย่างมาก เพื่อทดแทนภาคอุตสาหกรรมซึ่ง จะถดถอยลง ผมฟังแล้วก็ชักเป็นห่วงรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่เหลือแต่ละคนขี้ริ้วขี้เหร่เหลือเกิน กลัวจะ ทำโอกาสให้เป็นวิกฤติ เหมือนยุคสมัคร ข้าวราคาดีๆกลับทำให้ราคา ตกได้อย่างเหลือเชื่อ เวลานี้กำลังจะมาอีหรอบเดียวกันอีกแล้ว. http://www.thairath.co.th/news.php?section=society03&content=106608 รู้สึกว่า ดร.โอฬารจะเข้าใจว่า ตลาดทุน(หุ้น) กับตลาดเงิน เป็นตลาดเดียวกัน แต่วิกฤติที่เกิดคราวนี้เกิดกับตลาดเงินโดยตรงตลาดหุ้นแค่ได้รับผลกระทบตามมาครับ ก่อนจะถึงยุคที่จีนกับญี่ปุ่นเป็นศูนย์กลางการเงินโลกแทนนิวยอร์คในช่วงระหว่างการย้ายศูนย์อำนาจเงิน ทั่วโลกคงต้องต่อสู้กับวิกฤติภาวะเงินฝืดหลายปีอยู่ครับ หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 06, 2008, 02:59:42 AM วิกฤติการเงินสหรัฐฯ บ่อเกิด ผลกระทบ จนถึงจุดสิ้นสุด ตอบทุกคำถาม และความเกี่ยวโยง [6 ต.ค. 51 - 17:25]
ในช่วง 20 กว่าวันที่ผ่านมา โลกทั้งใบดูจะถูกปกคลุมไปด้วยความหวาดผวา จากข่าวการล้มละลายของวาณิชธนกิจขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลลุกลามบานปลายเป็น วิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกครั้งใหญ่อีก ขณะเดียวกัน ก็มีคำถามและข้อเคลือบแคลงสงสัยมากมายว่า เหตุใดสหรัฐอเมริกาซึ่งควรจะ เป็นประเทศต้นแบบของนวัตกรรมการเงินที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ ไม่ใช่แต่เพียงดึงดูดการลงทุนเท่านั้น จึงล้มเหลว สร้างความผิดหวัง และผลการขาดทุนอย่างใหญ่หลวงให้แก่ชาวโลกได้ถึงเพียงนี้ เพื่อให้ได้คำตอบที่สามารถอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุมในทุกแง่มุม ทีมเศรษฐกิจ จึงขอนำเสนอบทความเชิงวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของ สหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์สตีเวนท์ เดวิด ลีวิตต์ (Professor Steven D.Levitt) ซึ่งได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 100 บุคคล ที่ทรงอิทธิพลต่อโลกในนิตยสารไทม์ ที่ได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทม์ เมื่อไม่นานมานี้ มาให้อ่านกัน โดยเฉพาะในคำถามที่มักจะถูกถามบ่อยที่สุดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 1. เกิดอะไรขึ้น เรื่องราวเริ่มขึ้นจากการที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯได้ประกาศนำ แฟนนี เม และเฟรดดี แมค (Fannie mae and Freddie Mac : สมาคมจำนองแห่งชาติ และบรรษัทจำนองสินเชื่อบ้านของรัฐบาลกลาง) เข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 8 ก.ย.2551 สินทรัพย์ของทั้งสองรวมกันมีมูลค่ามากกว่า 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 170 ล้านล้านบาท (34 บาทต่อดอลลาร์) เนื่องจากเป็นสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อการเคหะส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา โดยกระทรวงการคลังได้ขออนุมัติการเข้าไปให้ความช่วยเหลือจากสภาคองเกรสเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา แต่ขณะนั้นสภาฯไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเข้าแทรกแซง กิจการของทั้งสองบริษัทแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ต่อมาทางการตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนทีมผู้บริหาร รวมทั้งเข้าควบคุมการดำเนินงานของบริษัท สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาที่ กำลังเกิดขึ้นกับตลาดเงิน ตลาดทุน และสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาแล้ว ต่อมาในวันจันทร์ที่ 15 ก.ย. เลห์แมน บราเธอร์ส (Lehman Brothers) ได้ประกาศ ล้มละลาย สร้างสถิติการล้มละลายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ อเมริกา ด้วยสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 600,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 20 ล้านล้านบาท พนักงานทั้งหมด 25,000 คน (ลบสถิติเดิมเป็นของเวิลด์คอมซึ่งมีสินทรัพย์ ประมาณ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ น้อยกว่าเลห์แมน 6 เท่า) ถัดมาอีกวัน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศให้เงินกู้ระยะสั้นแก่ เอไอจี A.I.G. บริษัทประกันอันดับ 1 ของโลก ด้วยสินทรัพย์มากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (34 ล้านล้านบาท) มีจำนวนพนักงานมากกว่า 100,000 คนทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไขข้างต้น เอไอจีจะต้องพยายามขายสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้หนี้ภายใน 2 ปี ข้างหน้า หากทำไม่สำเร็จ เฟดอาจยินยอมเปลี่ยนหนี้เป็นทุน เพื่อเข้าถือหุ้น 80% ในเอไอจี และรื้อทีมผู้บริหาร แต่ ณ สถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่มีแผนที่จะกระทำการดังกล่าว 2. ทำไม และเพราะอะไร ข้อบ่งชี้ที่เหมือนกันของปัญหาที่เกิดขึ้นกับแฟนนี เม และเฟรดดี แมค ตลอดจนเลห์แมน บราเธอร์ส และเอไอจี คือ หน่วยงานเหล่านี้หมดความสามารถในการหา แหล่งเงินทุน แม้จะมาจากเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป กรณีของแฟนนี เม และเฟรดดี แมค เป็นผลมาจากบทบาทพิเศษของทั้งสองที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อ สนับสนุนการปล่อยสินเชื่อบ้าน รับประกันเงินกู้สินเชื่อการเคหะ ออกพันธบัตรที่ผ่านการค้ำประกันจากรัฐบาล ซึ่งทำให้แฟนนี เม และเฟรดดี แมค ออกพันธบัตรได้เต็มที่กว่าบริษัทเอกชนทั่วไป โดยหลักการแฟนนี เม และเฟรดดี แมค ควรที่จะใช้ประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐบาลไปปรับลด ต้นทุนให้แก่ผู้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อบ้าน แต่ในความเป็นจริง ทั้งสองหน่วยงานกลับใช้ประโยชน์จากการค้ำประกันของรัฐบาล เพิ่มผลกำไรให้ตนเอง และบีบคู่แข่งในตลาด นักลงทุน และรัฐบาลต่างประเทศที่ไม่ทราบข้อเท็จจริง ต่างกระหายที่จะครอบครอง พันธบัตรที่ออกโดยแฟนนี เม และเฟรดดี แมค เพราะมั่นคงดุจดั่งพันธบัตรที่ออกโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ที่สำคัญ แฟนนี เม และเฟรดดี แมค แทบไม่ได้รับการตรวจสอบเลย มิหนำซ้ำยังดำเนินธุรกรรมที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ด้วยการนำเงินไปซื้อสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งมีความเสี่ยงเกินมาตรฐานด้วย ในช่วงปีที่ผ่านมา เงินทุนที่ 2 บริษัทมีเพียงน้อยนิด จึงไม่พอเพียงกับการชดเชยการขาดทุน จากการลงทุนในตลาดสินเชื่อ ด้อยคุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ (ซับไพร์ม) และเมื่อเห็นว่าการขาดทุนจำนวนมหาศาลดังกล่าว อาจก่อให้เกิดความเสียหายที่แพร่กระจายในวงกว้าง เฟดจึงตัดสินใจเข้าช่วยเหลือแฟนนี เม และเฟรดดี แมค ด้วยการเข้าค้ำประกันหนี้ให้ อย่างไรก็ตาม แม้หนี้จะได้รับการค้ำประกัน แต่กรณีนี้เชื่อว่าที่สุดคงไม่มีนักลงทุนรายใด สนใจเข้ามาซื้อกิจการ หรือแบกรับภาระหนี้ และคงไม่พ้นที่เฟดจะต้องเข้าเทกโอเวอร์ในที่สุด กรณีของเลห์แมน บราเธอร์ส เกิดขึ้นจากการที่บริษัทไม่สามารถหาแหล่งเงินกู้ได้ ปกติเลห์แมนต้องการเงินหมุนเวียนขั้นต่ำเดือน 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (3.4 ล้านล้านบาท) เพื่อใช้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ พันธบัตร หุ้น และธุรกรรมการเงินอื่นๆ เวลาที่เจ้าหนี้พบว่า เข้าไปตรวจสอบและติดตามเงินที่ให้กู้ยืมไปได้อย่างลำบาก และลูกหนี้ดำเนินธุรกิจที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง เจ้าหนี้มักจะปรับวิธีการให้ยืมเป็นปล่อยเงินกู้ ระยะสั้นให้แทน หากเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น รวมทั้งมาตรการทางกฎหมาย การปฏิเสธให้เงินกู้ ถือเป็นวิธีการควบคุมลูกหนี้ไม่ให้แตกแถวที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด โดยเฉพาะกับเลห์แมน ในฐานะวาณิชธนกิจ เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ เลห์แมนควรที่จะปรับการลงทุนใหม่ ลดธุรกรรมที่มีความเสี่ยงลง ดังนั้น สำหรับเลห์แมน (รวมทั้งวาณิชธนกิจอื่น) การถูกลดความน่าเชื่อถือจากเจ้าหนี้ ด้วยการปล่อยกู้ระยะสั้นให้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือเป็นอุบัติเหตุ แต่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ต่างหาก สถานการณ์ยิ่งย่ำแย่ เมื่อเจ้าหนี้ถูกพูดกรอกหูอยู่ตลอดหลายเดือนว่า การลงทุนของเลห์แมนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ขาดทุนมากกว่าที่ทุกคนคิด ประกอบกับวิกฤติซับไพร์ม และกรณีของแฟนนี เม และเฟรดดี แมค ยิ่งตอกย้ำให้สถานการณ์ รุนแรงขึ้น! เจอเหตุการณ์เช่นนี้ ต้นทุนการกู้ยืมของเลห์แมนจึงสูงลิบลิ่ว ในขณะที่ราคาหุ้นลดลงฮวบฮาบ แถมยังถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือ สถาบันการเงินส่วนใหญ่ถูกกฎเหล็กควบคุมไม่ได้ปล่อยกู้ ให้เลห์แมนเพราะมีความเสี่ยงสูง ส่วนรายที่พอจะปล่อยกู้ให้ได้ ก็ตัดสินใจไม่ปล่อย เพราะคาดว่าเลห์แมนน่าจะล้มละลายในที่สุด เนื่องจากสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อที่ฝืดเคืองขึ้นเรื่อยๆ ส่วนกรณีของเอไอจี เอไอจีต้องการเงินทุนเพราะต้องนำไปค้ำประกันสัญญาจำนวน 57,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาค้ำประกัน ที่ขาดทุนยับเยินเนื่องจากเป็นสินเชื่อซับไพร์มทั้งสิ้น สัญญาดังกล่าวเรียกว่า สัญญาการค้ำประกันหนี้เสีย (Credit Default Swaps : C.D.S.) อันนับว่าสร้างความเสียหายให้แก่เอไอจีมหาศาล ขณะที่ธุรกิจหลักอย่างธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต และอื่นๆ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด หนักกว่านั้น ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาลงอย่างหนัก ยังทำให้บริษัทจัดอันดับความน่า เชื่อถือปรับลดความน่าเชื่อถือในหนี้ของเอไอจีลง ซึ่งทำให้เอไอจีต้องแสดงหลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญาที่อยู่ในมือมูลค่าเบื้องต้นโดยประมาณ 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 510,000 ล้านบาท) ทันที ปัญหาต่อมาก็คือ หากเอไอจีไม่สามารถหาหลักทรัพย์มาค้ำประกันสัญญา C.D.S. ได้สำเร็จ เอไอจีก็จะถูกบังคับให้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ซึ่งภายใต้สัญญา หากบริษัทล้มละลาย ลูกค้าภายใต้สัญญาอื่นๆสามารถเรียกคืนเงินเคลมประกัน ล่วงหน้าได้ สิ่งนี้ย่อมจะเกิดปัญหาและความเสียหายเพิ่มเติมตามมาอีกมาก โดยเอไอจีไม่สามารถนำเงินกำไรจากธุรกิจประกันที่มีสภาพคล่องหมุนเวียนกว่า 380,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 12 ล้านล้านบาท) มาอุดการขาดทุนในธุรกิจ C.D.S.ได้ ขณะที่ไม่มีสถาบันการเงินใดยอมยื่นมือเข้ามาช่วย เมื่อหาหลักทรัพย์มาค้ำประกันไม่ได้ พันธบัตรของเอไอจีที่ออกขายทั่วโลกมูลค่ารวมกว่า 160,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (5.4 ล้านล้านบาท) ย่อมมีเสถียรภาพสั่นคลอน และแน่นอนว่า จะสร้างความไม่เชื่อมั่นให้แพร่กระจายออกไปทั่วโลกได้โดยไม่ยาก ยิ่งเมื่อกองทุนเพื่อการลงทุนในพันธบัตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Pimco หรือ Pacific Investment Management Company เข้ามาลงทุนใน พันธบัตรของเอไอจีเป็นจำนวนมาก โอกาสในการเกิดทฤษฎีโดมิโนก็ยิ่งสูงขึ้นไปอีก!! พิจารณาจากสภาพแวดล้อมจากมูลค่าสัญญาจำนวนมหาศาล และสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ที่ เข้ามาเกี่ยวพัน ที่สุดเฟดจึงตัดสินใจปล่อยกู้ให้แก่เอไอจีจำนวน 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (2.8 ล้านล้านบาท) เพื่อนำไปค้ำประกัน C.D.S. และรักษาระบบการเงินไม่ให้ล่มสลาย หรือแพร่กระจายไปในวงกว้าง 3. ทำไมจึงปล่อยเลห์แมนล้มละลาย แต่อุ้มแบร์ สเติร์น แฟนนี เม และเฟรดดี แมค รวมทั้งเอไอจี เหตุผลที่ต้องอุ้มแฟนนี เม และเฟรดดี แมค รวมทั้งเอไอจีนั้น ได้อธิบายไปแล้ว แต่สำหรับ แบร์ สเติร์น (Bear Stearns) ซึ่งเกิดเหตุเมื่อเดือน มี.ค. 2551 ด้วยปัญหาคล้ายคลึงกันกับเลห์แมน เพียงแต่แบร์ สเติร์นได้รับการช่วยเหลือ แต่เลห์แมนไม่ สาเหตุที่ทำให้แบร์ สเติร์นรอดตาย มีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ ประการแรก มาจากการที่เฟดได้รับข้อมูลไม่เพียงพอ และไม่ใช่ผู้กำกับดูแลแบร์ สเติร์น อีกทั้งข้อมูลที่ปรากฏสู่สาธารณะ และการที่พนักงานไม่ค่อยยอมเปิดปาก ทำให้ยากที่จะโยงว่าแบร์ สเติร์นเกี่ยวพันกับระบบการเงินในภาพใหญ่มากน้อยเพียงใด ประการที่ 2 มาจากปัญหาที่เกิดขึ้นของแบร์ สเติร์นเป็นลักษณะปัจจุบันทันด่วน คู่ค้าไม่มีโอกาสตั้งตัว สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนั้นก็คือ การบังคับขายสินทรัพย์ที่แบร์ค้ำประกันอยู่ ซึ่งย่อมจะนำไปสู่ความอลหม่าน สับสน ตื่นตระหนกไปทั่วตลาด เฟดจึงไม่มีทางออก นอกจากเข้าช่วยเหลือ แต่ก็ออกตัวว่า การเข้าช่วยเหลือแบร์นั้น เป็นเรื่องไม่ปกติ และอาจเกิดขึ้นครั้งนี้ครั้งเดียว ช่วงที่เข้าช่วยเหลือแบร์ เฟดได้กำหนดเงื่อนไขการกู้ยืมใหม่ เพื่อปรับปรุงกฎการทำธุรกรรมการเงิน ระหว่างวาณิชธนกิจด้วยกันเอง และบังคับใช้ในทันที เนื่องจากเฟดต้องการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นซ้ำกับเลห์แมน รวมทั้งสถาบันการเงินอื่น เดือนเดียวกัน เฟดยังศึกษาแนวทางแก้ไขหากปัญหาเกิดขึ้นซ้ำ และสรุปว่า การปรับเครื่องมือการกู้ยืมเงินเล็กน้อย จะแก้ปัญหาล้มละลายได้ และเฟดก็ได้ดำเนินการดังกล่าว ดังนั้น การเข้าช่วยเหลือเลห์แมนนอกจากจะเป็นการกลืนน้ำลายตัวเอง ตามที่เคยพูดเอาไว้ว่า การช่วยเหลือแบร์เป็นกรณีพิเศษ และอาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวแล้ว ยังจะเป็นการยืนยันด้วยว่าตลอด 6 เดือนหลังแบร์ล้ม มาตรการ กฎเกณฑ์ใหม่ๆที่เฟดคิดค้นขึ้น รวมทั้งการปรับเครื่องมือการกู้ยืมเงินที่หวังจะช่วยกระตุ้นตลาดนั้น ไม่ได้ผล ที่สำคัญ ยังจะทำให้เฟด และกระทรวงการคลังยอมรับโดยปริยายว่า พูดไม่จริง หรือไร้ความสามารถในการสร้างเสถียรภาพในระบบการเงิน หรือทั้งสองอย่าง จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ทางการจะตัดสินใจไม่อุ้มเลห์แมน เพราะข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชน โดยละเอียดบ่งชี้ว่า เลห์แมนไม่สมควรได้รับความช่วยเหลือ 4. เราไปเกี่ยวอะไร มองเผินๆ ผู้คนทั่วไปอาจไม่รู้สึกว่า ได้รับผลกระทบทางตรงต่อกรณีดังกล่าวข้างต้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็แค่แสดงให้เห็นถึงปัญหาของสถาบันการเงิน ที่ไม่มีปัญญาจะหาเงินทุนเท่านั้น แต่ด้วยสภาพคล่องที่หดหายไปในตลาดหลายล้านล้านเหรียญ สหรัฐฯนั้น ทำให้สถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ ระมัดระวังในการปล่อยกู้มากขึ้น รวมทั้งการปล่อยกู้ให้บุคคลธรรมดา และบริษัทห้างร้านทั่วไป แม้แต่กับคนที่เกี่ยวเนื่องน้อยที่สุด เขาก็จะได้รับผลกระทบจากต้นทุนด้านสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น สำหรับบุคคล หรือธุรกิจที่มีปัญหาด้านการผ่อนชำระสินเชื่อ หรือต้องการสินเชื่อระยะสั้นอัดฉีด ธุรกิจ จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ก็จะพบว่า เข้าถึงสินเชื่อได้ยากลำบากขึ้นกว่าปีก่อนๆ ปัญหาเหล่านี้ ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง และน่าจะเป็นครั้งใหญ่อีกครั้ง หลัง The Great Depression (ปี ค.ศ.1930 ฟองสบู่เศรษฐกิจสหรัฐฯแตก) แต่ก็ยังบอกไม่ได้ว่า จะถดถอยลงมากน้อยขนาดไหน ผลศึกษาล่าสุดของโกลด์แมนแซคส์บอกว่า จีดีพีน่าจะลดลงสัก 2% ในช่วงปีนี้และปีหน้า แต่ก็เป็นการประมาณการที่ไม่แน่นอนมากๆ 5. เฟด และกระทรวงการคลังจะทำอย่างไรต่อไป กฎง่ายๆซึ่งรวบรวมจากสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ หากสถาบันการเงินหนึ่งกำลังยืนอยู่บนปากเหว จวนเจียนจะล้มละลาย และจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงิน กระทบชิ่งเป็นลูกโซ่ สถาบันการเงินนั้นจะได้รับการช่วยเหลืออย่างไม่ต้องสงสัย สถาบันการเงินจะได้รับอนุญาตให้ล้ม ก็ต่อเมื่อส่งผลกระทบในแวดวงจำกัดเท่านั้น ถ้ายิ่งครึกโครมเท่าใด โอกาสที่เฟดต้องออกโรงก็มีมากเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การเข้าช่วยเหลือเอไอจี ทำให้มีคำถามกลับมามากมายหลายข้อด้วยกัน อาทิ การกำหนดประเภทของธุรกิจที่จะเข้าช่วยเหลืออย่างเอไอจี เป็นบริษัทประกันไม่ใช่แบงก์ หรือแม้แต่โบรกเกอร์ และเฟด ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องที่ต้องไปดูแล จึงเป็นที่น่าขบคิดว่า หากกรณีเดียวกันเกิดขึ้นกับธุรกิจแอร์ไลน์ หรือรถยนต์ ซึ่งเข้าไปเกี่ยวข้องในตลาด C.D.S เงื่อนไขในการเข้าช่วยเหลือ อาจไม่ใช่ในแบบเดียวกับเอไอจี คำถามต่อมาคือ ระดับความรุนแรงของความตื่นตระหนกในตลาด เราคงจินตนาการไม่ได้ เลยว่า จะเกิดอะไรขึ้น หากปล่อยให้เอไอจีล้ม แต่ก็มีเหตุผลพอที่จะเชื่อว่า การอุ้มเอไอจี อาจไม่ได้ช่วยลดแรงกดดันพื้นฐานของระบบการเงิน และหากการช่วยเหลือไม่ได้ผล อาจกลายเป็นว่า ทางการผลาญเงินภาษีประชาชนไปอย่างไร้ ประโยชน์ ประการสุดท้าย ขณะนี้เอไอจีถือว่าเจ๊งไปแล้ว กฎระเบียบต่างๆจะปรับเปลี่ยนใหม่กันอย่าง ไร?! แน่นอนว่า เฟดคงไม่สามารถเข้าไปอุ้มบริษัทที่จะล้มได้ทุกบริษัท เพราะมีมากมายก่ายกอง แต่จะหาทางป้องกันอย่างไร โดยที่เฟดจะไม่สำลักกับการตามล้อมคอก นวัตกรรมทางการเงินในตลาดเงินตลาดทุนที่เกิดขึ้นใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง 6. ตลาดจะเป็นอย่างไรต่อไป และเมื่อไรจะสิ้นสุด การล้มละลายของเลห์แมน จะเป็นบทเรียนให้แก่สถาบันการเงินอื่นๆที่จะต้องให้บริการความ เสี่ยงด้วยความระมัดระวัง รวมไปถึงความสามารถในการหาแหล่งเงินทุนที่เพียงพอ และการเลือกหาคู่ค้าด้วยความรอบคอบ และระมัดระวัง หากวาณิชธนกิจที่เหลือ อย่าง โกลด์แมนแซคส์ และ มอร์แกน สแตนเลย์ ไม่สามารถหาเงินทุนได้พอเพียง ก็อาจต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงในการล้มละลาย ท่ามกลางสถานการณ์ ดังกล่าว การพึ่งพาเงินกู้ระยะสั้นเพียงอย่างเดียวเป็นเรื่องอันตรายยิ่ง แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ทำได้ก็ตาม ส่วนที่ว่าเมื่อไรจะสิ้นสุด การขาดเงินทุนเป็นปัญหาสำคัญ ตราบใดที่สถาบันการเงินยังขาด เงินทุน ปัญหาจะยังคงดำรงอยู่ต่อเนื่อง สัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงภาวะขาดแคลนเงินทุน ได้แก่ 1. การที่มีคนเสนอซื้อเลห์แมนเพียง 2 รายเท่านั้น ทั้งๆที่ราคาขายต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง มากมาย แต่ก็ยังไม่มีคนต้องการซื้อ 2. ต้นทุนการกู้ยืมระหว่างแบงก์ที่อยู่ในระดับสูง และ 3. การไม่ยอมรับความเสี่ยงในสัญญา เงินกู้บางอย่าง ซึ่งทำให้ต้นทุนกู้ยืมในสัญญาดังกล่าวอยู่ในระดับสูง บทเรียนจากเลห์แมน ทำให้สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่เชื่อว่า องค์กรของตนต้องการเงินทุน เพิ่มขึ้น แม้จะมีมากมายอยู่แล้ว แต่การเพิ่มทุนโดยตรงก็มีต้นทุนสูงเกินไป ทางเลือกที่เหลือก็คือ การขายกิจการหรือขอล้มละลาย. http://www.thairath.co.th/news.php?section=economic02&content=106614 ตอนนี้ยักษ์ใหญ่ที่เหลือ นอกจากเลห์แมนที่ล้มละลายไปแล้ว ก็เหลือ โกลด์แมนซาค กับ มอร์แกนสแตนเลย์ก็มีโอกาสล้มละลายสูงมากเพราะต้นทุนด้านสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนสูงยากและหาเงินทุนได้ยากขึ้นครับ :D หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: ..GlockGlack.. ที่ ตุลาคม 06, 2008, 06:41:42 AM ผมมีคำถามว่า เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ดังกล่าวเหล่านี้อยู่ในยุคเฟื่องฟู เหล่าผู้บริหารย่อมได้รับผลตอบแทนที่สูงลิ่ว แต่เมื่อบริษัทประสบกับปัญหาซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลกเช่นนี้แล้ว เหล่าผู้บริหารจะต้องรับผิดชอบอะไรและอย่างไรบ้างครับ?
หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 06, 2008, 12:26:58 PM ผมมีคำถามว่า เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ดังกล่าวเหล่านี้อยู่ในยุคเฟื่องฟู เหล่าผู้บริหารย่อมได้รับผลตอบแทนที่สูงลิ่ว แต่เมื่อบริษัทประสบกับปัญหาซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลกเช่นนี้แล้ว เหล่าผู้บริหารจะต้องรับผิดชอบอะไรและอย่างไรบ้างครับ? Company .,Limited. หรือบริษัท จำกัด หมายความว่า ความรับผิดชอบจำกัดแค่ทุนจดทะเบียนครับ :Dหัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 06, 2008, 06:33:58 PM ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประจำวันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม 2551 ปิดที่ 551.80 จุด ลดลง 38.25 จุด
http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=106744 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ร่วงลงมาปิดที่ 500 จุด ก่อนสิ้นเดือนคงหลุด500 ลงไปที่เลข 4 ระมัดระวังกันด้วยนะครับ :D หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: C.J. - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 06, 2008, 08:13:27 PM วิกฤตมะกันลาม-เยอรมนีอุ้มแบงก์
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม รัฐบาลเยอรมนีได้ออกมาตรการอุ้มธนาคารไฮโป เรียลเอสเตท (เอชอาร์อี) ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ใหญ่อันดับ 4 ของเยอรมนี เป็นวงเงิน 5 หมื่นล้านยูโร (ประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท) นับเป็นวงเงินสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเยอรมนีที่ใช้ช่วยเหลือธนาคาร หลังจากธนาคารแห่งนี้ขาดสภาพคล่อง พร้อมกันนี้ได้ประกาศคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินทุกธนาคารในเยอรมนี 100% เพื่อสร้างความมั่นใจ โดยคาดว่ามูลค่าการคุ้มครองเงินฝากจะอยู่ที่ 5.68 แสนล้านยูโร (ประมาณ 28.4 ล้านล้านบาท) ข่าวแจ้งว่า เนื่องจากเยอรมนีมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป ดังนั้น รัฐบาลเยอรมนีจึงไม่สามารถปล่อยให้ธนาคารเอชอาร์อีล้มลงได้ เพราะเกรงจะสร้างความตื่นตระหนกและเกิดความเสียหายจนไม่สามารถหยั่งได้ ซึ่งหลังจากรัฐบาลเยอรมนีประกาศมาตรการคุ้มครองเงินฝากออกไป ส่งผลให้ประเทศอื่นในยุโรป อาทิ เดนมาร์ก สวีเดน ออสเตรีย ต่างประกาศเพิ่มความคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินเพื่อสร้างความมั่นใจ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1223298446&grpid=00&catid=05) หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 06, 2008, 08:37:07 PM ในภูมิภาคเอเชีย ประเทศที่มีโอกาสที่จะมีสถาบันการเงินล้มตามทฤษฎีโดมิโน ต่อจากอเมริกัน ยุโรป จะอยู่ที่สิงค์โปร์ หรือฮ่องกง เพราะ 2 แห่งนี้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับซับไพรม์มากครับ :D
หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: SOAP47 รักในหลวง ที่ ตุลาคม 06, 2008, 09:01:35 PM มีผลกระทบไปถึงเยอรมันนี คราวนี้คงต้องยกเลิกเรื่องไม่ส่งปืนมาไทยแน่ๆ อิอิ
หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: Udomkd ที่ ตุลาคม 06, 2008, 09:37:02 PM มีผลกระทบไปถึงเยอรมันนี คราวนี้คงต้องยกเลิกเรื่องไม่ส่งปืนมาไทยแน่ๆ อิอิ ชอบ HK หรือครับ (ใช่เปล่าไม่แน่ใจผม เดาๆมั่วๆไป แก้เครียด เท่านั้นเอง อิๆ) หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: SOAP47 รักในหลวง ที่ ตุลาคม 06, 2008, 09:43:42 PM มีผลกระทบไปถึงเยอรมันนี คราวนี้คงต้องยกเลิกเรื่องไม่ส่งปืนมาไทยแน่ๆ อิอิ ชอบมากครับชอบ HK หรือครับ (ใช่เปล่าไม่แน่ใจผม เดาๆมั่วๆไป แก้เครียด เท่านั้นเอง อิๆ) หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: carrera ที่ ตุลาคม 07, 2008, 04:06:37 AM หุ้นต่างประเทศยังตกไม่หยุด ;D ;D ;D
หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: ...อภิสิทธิ์ ... ที่ ตุลาคม 07, 2008, 10:39:50 AM อย่างนี้เตรียมตังค์ไว้ได้เลย พี่คาร์ ประมาณปลายๆปีพวกเครื่องเล่นบลูเรย์ ไฮเด็ปDVD LCD เป็นได้ลดราคาระเบิดเถิดเทิง ปืนสั้น สมิท โคลท์ ก็คงลงราคาแต่ในไทยไม่ต้องหวังครับราคาปืนไม่มีเหตุผลในการตั้งราคาครับ
หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 07, 2008, 06:45:54 PM ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประจำวันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2551 ปิดที่ 528.71 จุด ลดลง 23.09 จุด โดยมีปริมาณการซื้อขายทั้งสิ้น 16,313.39 ล้านบาท
http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=106840 สงสัยจะหลุดลงไปต่ำกว่า500จุด อาทิตย์นี้แทนที่จะเป็นสิ้นเดือนครับ :D หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ตุลาคม 08, 2008, 01:29:25 PM วันนี้หลุด500 จุดเรียบร้อยแล้ว ลงไปที่ 496 จุดแล้วครับตอนนี้ :D
http://www.settrade.com/S09_MarketSummary.jsp?txtBrokerId=IPO หัวข้อ: Re: มารู้จักซับไพรม์กัน รู้แล้วจะหนาว! เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 08, 2008, 03:52:43 PM แต่ถ้าโรงงาน (ส่งออก) ต้องปิด คนตกงานจำนวนมาก ...... บ้านเมืองก็คงไม่ไหวเช่นกัน มีผลกระทบถ้วนหน้า ผมมองตรงกันข้าม ราวสิบปีมาแล้ว มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งบอกผมว่าอีกสิบปี จะถึงยุคที่ 8 ประเทศตะวันตกจะล่มจม ประเทศตะวันออกจะเฟื่องฟู ตอนนั้นผมไม่เข้าใจ แถมยังไม่เชื่ออีกด้วย แต่ในอีกสามปีต่อมา จีนใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 5 เท่าตัว ต่อมาอีกสามปี จีนกลายเป็นประเทศที่สะสมเงินยูเอส ดอลล่าห์ มากที่สุดในโลก จนเกิดปรากฏการ์ณตลก ๆ ว่าจีนต้องเอาเงินอเมริกัน ออกไปลงทุนนอกประเทศ ทั้ง ๆ ที่มีค่าแรงสูงกว่าประเทศตัวเองสองเท่า เหตุผลก็คือ ผลตอบแทนสูงกว่าการนำเงินดอลล่าห์ไปซื้อพันธบัตรของประเทศตะวันตก วิกฤติครั้งนี้ จีนกับญี่ปุ่นต้องกระทบกระเทือนแน่ ๆ แต่ก็เป็นโอกาสที่จะพลิกฟื้น และเจรจาตกลงกติกาการค้าระหว่างประเทศกันใหม่ ส่วนไทยเราเอง ถ้าประคองตัวดี ๆ ก็คงไม่เจ็บตัวมากนัก อย่างนี้คล้ายๆ กับญี่ปุ่นสมัยทศวรรษ 80 หรือเปล่าครับท่านผู้การ ค้าขายมีดอลมากไปจนต้องเอาไปซื้อสังหา หุ้นในเมกาเอง? ผมรู้สึกว่าจีนต่างกับญี่ปุ่นอย่างหนึ่ง คือญี่ปุ่นคนน้อยเมื่อเทียบกับขนาดของระบบเศรษฐกิจ และญี่ปุ่นรักษาระดับสวัสดิการทำงานของคนในประเทศ ญี่ปุ่นเลยต้องลงทุนต่างชาติ ใช้แรงงานต่างชาติ ใช้สิ่งแวดล้อมต่างชาติ ส่วนจีนคนมาก เหลือเป็นแรงงานราคาถูกในประเทศเอง รวมทั้งจีนคุมการเมืองได้ทุกระดับ เลือกพัฒนาบางจุดก่อนได้ จีนเลยมีทางเลือกมากกว่า |