เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: BIGFISH ที่ ตุลาคม 11, 2008, 07:18:27 PM



หัวข้อ: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: BIGFISH ที่ ตุลาคม 11, 2008, 07:18:27 PM
ออกก้าวเดินต่อไปในภายหน้า ต้องสร้างศรัทธาในประชาธิปไตย


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิทยาธร ท่อแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำว่า “ประชาธิปไตย” อาจจะแยกได้เป็น 2 คำ คือ “ประชา” ซึ่งหมายถึง “ประชาชน”
และคำว่า “อธิปไตย” ซึ่งแปลว่า “อำนาจสูงสุดของแผ่นดิน” เมื่อรวมกันจึงหมายถึง “การปก
ครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนหรือมาจากประชาชน”
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าประชาธิปไตย จึงเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และ
เพื่อประชาชน ซึ่งประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองตนเอง
หลักประชาธิปไตย
1. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ
2. การปกครองแบบมีส่วนร่วม
3. ผลประโยชน์เป็นของประชาชน ความมุ่งหมายของการปกครองหรือรัฐบาล ซึ่งใช้อำนาจปกครองนั้นจะต้องถือเอาผล
ประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง พึงละเว้นประโยชน์ส่วนบุคคลหรือกลุ่ม
4. รับฟังความคิดเห็นและความต้องการ ความคิดเห็นและความต้องการของประชา
ชนนี้ หมายถึง ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ ซึ่งในทางแนวคิดของประเทศ
ตะวันตกถือว่าเป็นสิ่ง “ศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งรัฐบาลจะต้องรับฟังด้วยดี และต้องนำไปปฏิบัติ เพื่อให้
บังเกิดผลตามความต้องการของประชาชน ดังที่เรียกกันว่า “เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์”
ความต้องการของประชาชนที่จะถือเป็นหลัก ก็คือ ความต้องการที่เป็นของประชาชนส่วนใหญ่
ในประเทศจริง ๆ ซึ่งหมายถึง การสนองความต้องการของประชาชน ความต้องการนั้นมีเหตุผล
และแสดงออกมาให้ปรากฏรู้เห็นได้
ทำไมจะทำประชามติไม่ได้
5. ยึดมั่นเสียงส่วนใหญ่ โดยคึงนึงถึงหลักการปกครองโดยเสียงข้างมากโดยไม่ละเมิด
สิทธิของฝ่ายข้างน้อย หมายความว่าการแก้ปัญหาก็ดี การหาข้อยุติก็ดี และการตัดสินใจก็ดี จะ
ต้องใช้หลักเสียงข้างมาก ดังนั้นในการปฏิบัติใด ๆ ก็ต้องดูว่าเป็นความต้องการของคนหมู่มาก
หรือไม่ การตัดสินปัญหาต่าง ๆ หรือการแสวงหาทางออกใด ๆ จะต้องใช้วิธีการแสวงหาความ
ต้องการของคนหมู่มากเป็นแนวทางสำคัญ เช่น การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร หรือกฎเกณฑ์ทั้งปวง
ที่จะใช้บังคับในประเทศ ก็จะต้องพิจารณาจากเสียงข้างมาก
6. ความเห็นพ้องต้องกันหรือความยินยอม ระบอบประชาธิปไตยถือว่าความเห็น
พ้องหรือความยินยอมจำเป็นต่อการดำเนินงานของรัฐบาล ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการที่ประชาชนใช้หลักกฏ
หมายเป็นเครื่องกำหนดความสัมพันธ์ต่อกัน หลักกฎหมายจะเป็นกติกาที่กำหนดให้ความขัด
แย้งระหว่างกลุ่มของประชาชนอยู่ภายในวงกรอบที่เหมาะสม ไม่ให้มีการกระทำที่เกินเลย รัฐ
บาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐก็จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตจำกัดในการใช้อำนาจตามกฎหมายข้าราช
การพลเรือน ทหาร ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประเภทอื่นจะต้องปฏิบัติตามกระบวนกฎหมายที่
กำหนดขึ้นไว้อย่างชัดแจ้งไม่อาจที่จะปฏิบัติตามอำเภอใจได้ สำหรับประชาชนทั่วไปกฎหมายก็
มีส่วนจำกัดขอบเขตเสรีภาพของประชาชนโดยทั่วถึงและเท่าเทียมกัน รัฐบาลจะต้องถือเป็น
ภาระหน้าที่ที่จะไม่ละเมิดสิทธิประโยชน์ของประชาชนโดยทั่วไป
7. หลักการใช้เหตุและผล เชื่อกันว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีเหตุผล การใช้เหตุผลนั้น
นับเป็นความสามารถอันสูงยิ่งของมนุษย์ ซึ่งได้แสดงออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนจากความ
ก้าวหน้าด้านต่าง ๆ ซึ่งมนุษย์สามารถพัฒนาขึ้น ทั้งในด้านจิตใจและวัตถุ ประชาธิปไตย
ต้องการให้บุคคลใช้เหตุผลในการแสดงออกและในการดำเนินงานรวมตลอดถึงความสัมพันธ์
ต่อกัน การกำหนดนโยบาย การแสดงความคิดเห็น การแก้ปัญหา การพัฒนา การเปลี่ยนแปลง
และการปรับปรุง เชื่อกันว่าถ้าใช้หลักเหตุผลอย่างเต็มที่ก็จะช่วยให้เกิดความสงบเรียบร้อย
ความเจริญก้าวหน้า และความมีเสถียรภาพยั่งยืน
ต้องไม่ดูถูกเสียงประชาชน ว่าตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดๆง่ายๆ

8. มีความเสมอภาค ซึ่งหมายถึง ความเท่าเทียมกันในทางการเมือง กฎหมายและ
โอกาส ความเท่าเทียมในโอกาส ความคุ้มครองและการให้หลักประกันแก่พลเมืองของชาติจะ
ต้องเป็นไปในลักษณะที่มีความเสมอภาค
9. มีเสรีภาพ เสรีภาพ หมายถึง โอกาสที่บุคคลเลือกปฏิบัติได้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่
ตนมากที่สุด ระบอบประชาธิปไตยมีความมุ่งหมายที่จะให้ได้มาซึ่งเสรีภาพ และพร้อมกันนั้นก็
จะให้ความคุ้มครองเสรีภาพของบุคคลให้มีความมั่นคง เสรีภาพที่เป็นพื้นฐานนั้น ได้แก่ เสรี
ภาพที่เกี่ยวข้องกับบุคคล คือ ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ชื่อเสียง ความก้าวหน้า และเสรีภาพใน
ทางการเมืองของบุคคล ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง
10. ยึดมั่นในกฎหมายหรือหลักนิติธรรม ซึ่งหมายถึง การยึดถือกฎหมายเป็นกฎ
เกณฑ์หรือกติกาการดำเนินการต่าง ๆ การถือกฎหมายเป็นหลักนี้ ถือกันว่าเป็นนโยบายและ
ความต้องการของประชาชน เพราะกฎหมายได้กำหนดขึ้นโดยผู้แทนของประชาชน จึงถือว่ามา
จากประชาชนนั่นเอง การที่รัฐบาลของประชาชนออกกฎหมายเพื่อปกครองประเทศ ต้องถือ
เสมือนว่าประชาชนเป็นผู้ออกกฎหมายเหล่านั้น เพราะประชาชนเป็นผู้ให้ความยินยอมในการ
จัดตั้งรัฐบาล หรือการปกครองของตนเองขึ้น
ไม่เคารพกฏหมาย แล้วจะสร้างสังคมใหม่หรือแก้ไขสังคมเดิมให้ถูกต้องได้อย่างไร
11. หลักความชอบธรรม ในระบบการเมืองประชาธิปไตย ผู้ปกครองประเทศจะต้องมี
ความชอบธรรมในการดำเนินงานต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของระบบการปกครองและเพื่อ
สิทธิเสรีภาพของปวงชน ความชอบธรรมเกิดจากการยอมรับของประชาชนซึ่งจะช่วยให้เกิดดุลย
หลักประชาธิปไตยสำหรับผู้นำชุมชนและประชาชน
ภาพระหว่างความขัดแย้งและความเห็นพ้องต้องกัน คือ ทั้งสองส่วนจะต้องปรากฏแต่ไม่ทำให้
ระบบการเมืองต้องแตกสลาย ที่ใดที่มีความชอบธรรมประชาชนจะไม่ต่อต้านอำนาจที่ถูกต้อง
ของรัฐบาล ประชาชนมีความเชื่อมั่นในรัฐบาลและองค์การปกครอง แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมที่
จะวิพากษ์วิจารณ์การดำเนินงานของรัฐบาลอย่างมีเหตุผล พลเมืองดีมีความสามารถวิเคราะห์
ข่าวสารของรัฐบาลหรือราชการโดยยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่
โปรดพิจารณา
12. หลักการพัฒนาและปกครองตนเอง ระบอบประชาธิปไตยนั้นเชื่อว่า มนุษย์มี
ความสามารถในการปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าทั้งในด้านความคิด สติปัญญา และการกระทำ
ต่าง ๆ จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะให้บุคคลได้กำหนดการปกครองที่ประชาชนสามารถแก้
ปัญหาของตนเองได้เพื่อความเจริญก้าวหน้า และเพื่อการปกครองตนเอง โดยเปิดโอกาสให้มี
การแสดงความคิดเห็นมีเสรีภาพในการเลือกองค์การ เพื่อทำหน้าที่ปกครองแทนประชาชน และ
วิธีการต่างๆ เพื่อให้ความต้องการของคนส่วนใหญ่สามารถใช้เป็นหลักในการปกครองได้
จะร่วมกำหนดกันใหม่อย่างไรดี คงไม่ใช่แต่งตั้ง 70 เลือกตั้ง 30 ความเห็นผมถ้ากลุ่มพลังต่างๆเตามเกณฑ์จัดตั้งที่จะกำหนด ส่งตัวแทนเข้าสภาแล้วให้สมาชิกใช้สิทธิ์เลือกตั้งว่าจะผ่านพรรคการเมืองหรือใช้สิทธิ์ผ่านกลุ่มพลังของตนเอง เช่นสหภาพ สถาบันต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่งก้อคงดี เพราะตัวเลือกผ่านพรรคการเมืองผ่านการแบ่งเขต ไม่ใช่ผู้แทนที่อยากเลือก)
13. รัฐบาลมีอำนาจจำกัด ประชาธิปไตยไม่ต้องการให้รัฐบาลมีอำนาจล้นฟ้าอาจจะ
ละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐานของประชาชน จึงได้มีวิธีจำกัดอำนาจของรัฐบาลไว้ในกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ หรือให้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ สามารถที่จะถ่วงรั้งกันได้ตามควร ให้
ประชาชนมีเสรีภาพในการตั้งพรรคการเมือง หรือ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อคอยติดตามงาน
ของรัฐบาล ใช้หลักการกระจายอำนาจ คือ การปกครองท้องถิ่น เพื่อไม่ให้มีการรวมอำนาจไว้ที่
รัฐบาลกลางมากจนเกินไป กำหนดให้มีการจำกัดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของฝ่ายนิติ
บัญญัติและฝ่ายบริหาร เหล่านี้ล้วนเป็นวิธีการที่จะบังคับให้รัฐบาลมีอำนาจในลักษณะและ
ปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 11, 2008, 08:32:20 PM
สรุปว่าอย่างไรหรือครับ... แล้วประเด็นว่าอะไรครับ...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 11, 2008, 08:52:59 PM
อ้อ...

ที่จริงมีอีกประเด็นครับ... เรื่องการเสียภาษี...

คือคนเงินเดือนตั้งแต่ 1 - 2 แสน ในประเทศไทยมีไม่น้อยนะครับ... เช่นหมอ, ทนายความ, สถาปนิก, เจ้าของกิจการขนาดเล็ก ฯลฯ...

ลองดูคนที่ผ่อนรถยนต์ราคาล้านกว่าๆ เช่น Honda Accord... ผ่อนเดือนละ 2 หมื่นกว่าบาท
พร้อมกับผ่อนบ้านเดี่ยว 100 ตรว. ราคา 10 ล้านกว่า... จะผ่อนเดือนละแสนนิดๆ...

คนกลุ่มนี้รายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 - 2 แสนครับ... เสียภาษีเดือนละ 3 - 4 หมื่นบาท ทุกเดือน...

ประเด็นที่อยากบอกคือคนกลุ่มนี้รู้สึกเจ็บปวดกับภาษีที่เสียไปทุกเดือนแล้วถูกนักการเมืองโกง...
ในขณะที่คนกลุ่มใหญ่ของประเทศไม่เคยเสียภาษี มีแต่รับอย่างเดียวจากรัฐบาล... จึงไม่เคยเจ็บปวดเมื่อมีใครโกงภาษี...

แล้วต่างก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน... โดยไม่มีใครทวงความยุติธรรมให้เมื่อเห็นคนโกงเงินภาษีเอาไปถลุงเล่นแจกแลกคะแนนเสียง...

คำถามคือหลักการประชาธิปไตยถูกหรือไม่ ว่าหนึ่งเสียงเท่ากัน...

หนึ่งคนเกิดมา... เริ่มจากจุดศูนย์เท่ากัน เรียนโรงเรียนวัดเหมือนคนอื่น สอบเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมเหมือนคนอื่น ขยันและสู้ชีวิตเรียนมหาลัยเปิดเหมือนคนอื่น... หมั่นศึกษาหาความรู้ไต่จนมีรายได้เดือนละแสนกว่า เสียภาษีแยะ...

คนอื่นก็ทำได้ ทำไมไม่ทำบ้าง... หวังแต่เศษเงินกระเด็นจากการคอรัปชั่น หวังแบมือขอของฟรีจากนักการเมือง...

ตรงนี้จะแก้อย่างไรเล่าครับ...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 11, 2008, 08:55:20 PM
บอกก่อน... นายสมชายยังไม่มีรายได้ขนาดนั้นนะครับ...

แต่อยากให้ดูรายชื่อและอาชีพคนที่บาดเจ็บจากการปะทะครับ...
หากไม่ใช่คนอาชีพอย่างที่นายสมชายว่า... ก็มักเป็นเจ้าของกิจการ...

ลองดูคุณพ่อน้องโบว์ไงครับ... ตัวอย่างที่เห็นชัดเลย...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 11, 2008, 09:46:10 PM
มีอีกกลุ่มครับ... กลุ่มข้าราชการที่มีการศึกษา มีความรู้และได้รับการศึกษาดี...
กลุ่มนี้ทำหน้าที่ค้ำจุนโครงสร้างของประเทศไทยมาตลอดตั้งแต่สมัยก่อนมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย...

ประเทศไทยมีประเทศอยู่ได้ด้วยสำนึกของข้าราชการกลุ่มนี้ครับ... กลุ่มที่อีกฝ่ายมักประชดว่า"อมาตยาธิปไตย"...
แต่ถ้าข้าราชการกลุ่มนี้ไม่ทำหน้าที่ดังข้างต้น... ประเทศไทยไม่เป็นประเทศไปแล้วครับ...

คำถามคือ พวกเขามีหนึ่งเสียงเท่ากับคนที่รู้จักประชาธิปไตยแค่ไม่กี่นาที... มันถูกต้องแล้วหรือครับ...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 11, 2008, 09:50:57 PM
คนที่รู้จักประชาธิปไตยแค่ไม่กี่นาที... กาแล้วก็จบกัน...

จากนั้นตั้งหน้าตั้งตารอผลประโยชน์ที่จะได้รับจากผลการกา ไม่ว่าประโยชน์โดยตรงจากขายเสียง ประโยชน์โดยอ้อมจากนโยบายประชานิยมที่มีผลกระทบด้านอื่น... และถูกปลุกปั่นจากนโยบายการตลาดตามเข้ามาอีก...

นี่ไม่นับการทุจริตเชิงนโยบายที่เข้าใจยากเกินสติปัญญาของพวกเขา... ที่ไม่เคยเจ็บปวดจากการเห็นคนกำลังโกง เพราะไม่เข้าใจเรื่องซับซ้อน...

แต่มีหนึ่งเสียงเท่ากันแหละครับ...

คำถามคือยุติธรรมหรือไม่...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ ตุลาคม 11, 2008, 09:55:58 PM
 ::014:: เยี่ยมครับท่านนายสมชาย(ฮา)  ::002::


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 11, 2008, 10:00:45 PM
จะเพียรกดแต้ม ให้นายสมชาย(ฮา) ๑๐ แต้ม..  ::002::


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: lek ที่ ตุลาคม 11, 2008, 10:10:58 PM
เอาภาษีที่เราจ่ายไปหาวิธีโกงอย่างหน้าด้านๆ   แค่เรื่องรถดับเพลิงเรื่องเดียวก็เสียความรู้สึกมากๆ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Tiger wut ที่ ตุลาคม 11, 2008, 10:50:08 PM
อ้อ...

ที่จริงมีอีกประเด็นครับ... เรื่องการเสียภาษี...

คือคนเงินเดือนตั้งแต่ 1 - 2 แสน ในประเทศไทยมีไม่น้อยนะครับ... เช่นหมอ, ทนายความ, สถาปนิก, เจ้าของกิจการขนาดเล็ก ฯลฯ...

ลองดูคนที่ผ่อนรถยนต์ราคาล้านกว่าๆ เช่น Honda Accord... ผ่อนเดือนละ 2 หมื่นกว่าบาท
พร้อมกับผ่อนบ้านเดี่ยว 100 ตรว. ราคา 10 ล้านกว่า... จะผ่อนเดือนละแสนนิดๆ...

คนกลุ่มนี้รายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 - 2 แสนครับ... เสียภาษีเดือนละ 3 - 4 หมื่นบาท ทุกเดือน...

ประเด็นที่อยากบอกคือคนกลุ่มนี้รู้สึกเจ็บปวดกับภาษีที่เสียไปทุกเดือนแล้วถูกนักการเมืองโกง...
ในขณะที่คนกลุ่มใหญ่ของประเทศไม่เคยเสียภาษี มีแต่รับอย่างเดียวจากรัฐบาล... จึงไม่เคยเจ็บปวดเมื่อมีใครโกงภาษี...

แล้วต่างก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน... โดยไม่มีใครทวงความยุติธรรมให้เมื่อเห็นคนโกงเงินภาษีเอาไปถลุงเล่นแจกแลกคะแนนเสียง...

คำถามคือหลักการประชาธิปไตยถูกหรือไม่ ว่าหนึ่งเสียงเท่ากัน...

หนึ่งคนเกิดมา... เริ่มจากจุดศูนย์เท่ากัน เรียนโรงเรียนวัดเหมือนคนอื่น สอบเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมเหมือนคนอื่น ขยันและสู้ชีวิตเรียนมหาลัยเปิดเหมือนคนอื่น... หมั่นศึกษาหาความรู้ไต่จนมีรายได้เดือนละแสนกว่า เสียภาษีแยะ...

คนอื่นก็ทำได้ ทำไมไม่ทำบ้าง... หวังแต่เศษเงินกระเด็นจากการคอรัปชั่น หวังแบมือขอของฟรีจากนักการเมือง...

ตรงนี้จะแก้อย่างไรเล่าครับ...


ผมไม่เห็นด้วยพี่สมชายเลยครับ    ยังไง คนจนรวยก็ ๑ เสียงเท่ากันครับ   


ผมว่าผิดประเด็น  ไม่เกียวกับกระทู้ที่เจ้าของกระทู้ตั้งเลยครับ


อย่าเอาเรื่องการเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทยเลยครับ


ทำไมครับ  ชาวนา  ชาวไร่  ไม่เสียภาษี แล้วไม่มีสิทธิ ไม่เสียงหรอครับ? ???






หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: flyingkob-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 11, 2008, 11:01:14 PM
แล้ว ประชาธิปไตย คืออะไร
สังคมนิยม คืออะไร
คอมมิวนิสต์ คืออะไร

ทั้งหมดมันแตกต่างกันอย่างไร

แล้วเราเข้าใจได้แค่ไหน...ในระดับของคนที่รู้หนังสือ ......คนที่เขียนมานั้นมันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของตำรา...ที่ไปลอกเขามา
ทำไมไม่พยายามเขียนที่มันอ่านแล้วเข้าใจง่ายๆ เหมือนกับ....ผมให้ป้าสองร้อย...ป้าอย่าลืมเลือกผมนะกาเบอร์........ ถ้าทำให้คนอย่างป้าเข้าใจได้อย่างนี้ วันนี้มันคงไม่เกิดเรื่องหรอกครับ

บ้านเมืองของเรามักชอบที่จะทำอะไรให้ยากไว้ก่อน ถ้าแก้ไขได้ก็คือคนเก่ง หรือทำออกมาให้คนมันงง....คือแทนที่จะคิดว่า 1+1 = 2 ดันต้องไปเอาสมการบ้าง สแควรูทบ้าง มาคิดคำนวน กว่าจะได้คำตอบมา...ก็สายไปแล้ว

อันที่จริง บ้านเมืองของเราปกครองแบบประชาธิปไตยมายาวนานแล้ว....ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ลองไปอ่านในหลักศิลาจารึกเอาดูครับ
พอเราติดต่อกับฝรั่ง.......ไปเรียนเมืองฝรั่ง....แต่งตัวแบบฝรั่ง...แล้วมาดูถูกคนไทยด้วยกันเอง...ต้องทำให้เหมือนฝรั่ง....ใครไม่ทำเป็นคนไม่ทันสมัย...ลบล้างความเป็นคนไทยไปเกือบหมดจนถึงทุกวันนี้.....ก็เพราะการยัดเยียดแบบ "เอ็งต้องทำ" แต่ไม่เคยทำความเข้าใจกับผู้รับว่ามีระดับการรับแค่ไหนอย่างไรกว่าจะเข้าใจ



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ ตุลาคม 11, 2008, 11:31:00 PM


ผมไม่เห็นด้วยพี่สมชายเลยครับ    ยังไง คนจนรวยก็ ๑ เสียงเท่ากันครับ   


ผมว่าผิดประเด็น  ไม่เกียวกับกระทู้ที่เจ้าของกระทู้ตั้งเลยครับ


อย่าเอาเรื่องการเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทยเลยครับ


ทำไมครับ  ชาวนา  ชาวไร่  ไม่เสียภาษี แล้วไม่มีสิทธิ ไม่เสียงหรอครับ? ???





ผมกลับเห็นด้วยกับพี่สมชาย(ฮา)ครับ

ประเด็นนี้เป็น ปัญหาเชิงฐานรากของประชาธิปไตยไทย

ดูจากข้อความ พี่สมชายไม่ได้บอกว่าคนจนไม่มีสิทธิ หรือมีสิทธิน้อยกว่านะครับ
แล้วก็ไม่ได้บอกด้วยว่า คนจนเป็นคนเลว

ประเด็นมันอยู่ตรงประโยคสุดท้ายที่ว่า... ตรงนี้จะแก้อย่างไรเล่าครับ ?





หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: สราโท ที่ ตุลาคม 11, 2008, 11:34:56 PM
คนเรากำหนดกรอบขึ้นเพื่อปกครองและใช้สิทธิตามควร


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 11, 2008, 11:35:22 PM
อ้อ...

ที่จริงมีอีกประเด็นครับ... เรื่องการเสียภาษี...

คือคนเงินเดือนตั้งแต่ 1 - 2 แสน ในประเทศไทยมีไม่น้อยนะครับ... เช่นหมอ, ทนายความ, สถาปนิก, เจ้าของกิจการขนาดเล็ก ฯลฯ...

ลองดูคนที่ผ่อนรถยนต์ราคาล้านกว่าๆ เช่น Honda Accord... ผ่อนเดือนละ 2 หมื่นกว่าบาท
พร้อมกับผ่อนบ้านเดี่ยว 100 ตรว. ราคา 10 ล้านกว่า... จะผ่อนเดือนละแสนนิดๆ...

คนกลุ่มนี้รายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 - 2 แสนครับ... เสียภาษีเดือนละ 3 - 4 หมื่นบาท ทุกเดือน...

ประเด็นที่อยากบอกคือคนกลุ่มนี้รู้สึกเจ็บปวดกับภาษีที่เสียไปทุกเดือนแล้วถูกนักการเมืองโกง...
ในขณะที่คนกลุ่มใหญ่ของประเทศไม่เคยเสียภาษี มีแต่รับอย่างเดียวจากรัฐบาล... จึงไม่เคยเจ็บปวดเมื่อมีใครโกงภาษี...

แล้วต่างก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน... โดยไม่มีใครทวงความยุติธรรมให้เมื่อเห็นคนโกงเงินภาษีเอาไปถลุงเล่นแจกแลกคะแนนเสียง...

คำถามคือหลักการประชาธิปไตยถูกหรือไม่ ว่าหนึ่งเสียงเท่ากัน...

หนึ่งคนเกิดมา... เริ่มจากจุดศูนย์เท่ากัน เรียนโรงเรียนวัดเหมือนคนอื่น สอบเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมเหมือนคนอื่น ขยันและสู้ชีวิตเรียนมหาลัยเปิดเหมือนคนอื่น... หมั่นศึกษาหาความรู้ไต่จนมีรายได้เดือนละแสนกว่า เสียภาษีแยะ...

คนอื่นก็ทำได้ ทำไมไม่ทำบ้าง... หวังแต่เศษเงินกระเด็นจากการคอรัปชั่น หวังแบมือขอของฟรีจากนักการเมือง...

ตรงนี้จะแก้อย่างไรเล่าครับ...

ผมไม่เห็นด้วยพี่สมชายเลยครับ    ยังไง คนจนรวยก็ ๑ เสียงเท่ากันครับ    

ผมว่าผิดประเด็น  ไม่เกียวกับกระทู้ที่เจ้าของกระทู้ตั้งเลยครับ

อย่าเอาเรื่องการเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทยเลยครับ

ทำไมครับ  ชาวนา  ชาวไร่  ไม่เสียภาษี แล้วไม่มีสิทธิ ไม่เสียงหรอครับ? ???

มีสองเรื่องครับ...

เรื่องแรก เรื่องผิดประเด็นกระทู้...
หากจะตั้งกระทู้ใหม่เป็นประเด็นที่นายสมชายตอบ นายสมชายก็จะคัดลอกเอาไปไว้ที่กระทู้ใหม่ครับ...

เรื่องที่สองเรื่อง คนไม่ได้เสียภาษีแล้วไม่มีสิทธิไม่มีเสียงหรือไม่...
เรื่องนี้เป็นคำถามที่ดีครับ... ลองดูข้อความของนายสมชาย Post เอาไว้นะครับ...
นายสมชายถามว่าถูกหรือไม่ ว่ามีหนึ่งเสียงเท่ากันครับ ถ้าเห็นว่าถูกต้องดีแล้ว ก็ลองดูเรื่องเกี่ยวข้องครับ...

เรื่องเกี่ยวข้องคือว่า จะทำอย่างไรให้คนกลุ่มที่ไม่เคยเสียภาษี เกิดสำนึกในการปกป้องเงินหลวงที่มาจากการเสียภาษีของผู้อื่นครับ...
ดังนั้นประเด็นไม่ใช่การเอาเรื่อง "การเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทย"...
แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า... ทำอย่างไรให้"คนไทยมีความเสียดายที่เงินภาษีในคลังหลวงไม่ถูกโกง"ครับ...

รากของเรื่องทั้งหมดเกิดจากมีคนโกงครับ... แล้วประเด็นเกิดเพราะคนที่เลือกนักการเมืองเข้ามาบอกว่า"ไม่เห็นโกงสักหน่อย"...
กับบอกว่า"ถึงโกงมั่งก็ไม่เป็นไร"เพราะประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ามาแล้ว... ประชาชนใหญ่สุด มีเสียงเลือกมากที่สุด...

ดังนั้น... แก้อย่างไรดีครับ...  



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 11, 2008, 11:39:22 PM


ผมไม่เห็นด้วยพี่สมชายเลยครับ    ยังไง คนจนรวยก็ ๑ เสียงเท่ากันครับ   


ผมว่าผิดประเด็น  ไม่เกียวกับกระทู้ที่เจ้าของกระทู้ตั้งเลยครับ


อย่าเอาเรื่องการเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทยเลยครับ


ทำไมครับ  ชาวนา  ชาวไร่  ไม่เสียภาษี แล้วไม่มีสิทธิ ไม่เสียงหรอครับ? ???





ผมกลับเห็นด้วยกับพี่สมชาย(ฮา)ครับ

ประเด็นนี้เป็น ปัญหาเชิงฐานรากของประชาธิปไตยไทย

ดูจากข้อความ พี่สมชายไม่ได้บอกว่าคนจนไม่มีสิทธิ หรือมีสิทธิน้อยกว่านะครับ
แล้วก็ไม่ได้บอกด้วยว่า คนจนเป็นคนเลว

ประเด็นมันอยู่ตรงประโยคสุดท้ายที่ว่า... ตรงนี้จะแก้อย่างไรเล่าครับ ?





Post ชนกันครับ...
และคุณ Bird ขมวดปมข้อความของนายสมชายได้ตรงประเด็นครับ...

แก้อย่างไรดีครับ... แฮ่ๆ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ ตุลาคม 11, 2008, 11:42:15 PM
ท่านจขกท. ได้ยกบทความที่อ้างไปถึง คุณวิทยาธร ท่อแก้ว
บทความอ้างถึง "หลักประชาธิปไตย"
ผมฟัง แต่ยังไม่ให้เครดิตกับ คุณวิทยาธร ท่อแก้ว
เพราะเธอไม่ใช่นักวิชาการเต็มตัว แต่แฝงอำนาจการเมืองไปในรัฐวิสาหกิจด้วย

ท่านสมชาย(ฮา) ไม่ได้ปฎิเสธสิทธิและความเสมอภาคของบุคคล
แต่ยกให้เห็นถึงความรู้สึก+ความเข้าใจกลุ่มคนที่เสียภาษีมาก เข้าใจการเมือง แล้วได้เห็นการปู้ยี้ปู้ยำ
กระทั่งนำเงินไปสร้างความนิยมในกลุ่มผู้ที่ชักจูงได้ง่าย หรือกระทั่งการซื้อเสียงแบบตรงๆ
การเดินตามแบบแผน หนึ่งคนหนึ่งเสียง + เสียงข้างมากเป็นใหญ่ + ผู้ชนะกินทั้งหมด ..... จึงเป็นข้อกังขา
ว่าเหมาะควรเพียงไร กับสังคมนี้

ผมมองเงินสองร้อย กับคนที่ถูกซื้อเสียงได้ ด้วยความเจ็บปวด
เพราะแต่ละปี เงินที่ผมใช้จ่ายส่วนตัว น้อยกว่าเงินที่ผมเสียภาษี
ภาษีของผม ถูกเบียดบัง เพื่อตนเพื่อพวกพ้อง และเพื่อการครองอำนาจรัฐ

คำถามที่ท่านสมชาย(ฮา) ยกขึ้นมา จึงเป็นคำถามของผมด้วย  ::014::




หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 11, 2008, 11:48:28 PM
ท่านจขกท. ได้ยกบทความที่อ้างไปถึง คุณวิทยาธร ท่อแก้ว
บทความอ้างถึง "หลักประชาธิปไตย"
ผมฟัง แต่ยังไม่ให้เครดิตกับ คุณวิทยาธร ท่อแก้ว
เพราะเธอไม่ใช่นักวิชาการเต็มตัว แต่แฝงอำนาจการเมืองไปในรัฐวิสาหกิจด้วย

ท่านสมชาย(ฮา) ไม่ได้ปฎิเสธสิทธิและความเสมอภาคของบุคคล
แต่ยกให้เห็นถึงความรู้สึก+ความเข้าใจกลุ่มคนที่เสียภาษีมาก เข้าใจการเมือง แล้วได้เห็นการปู้ยี้ปู้ยำ
กระทั่งนำเงินไปสร้างความนิยมในกลุ่มผู้ที่ชักจูงได้ง่าย หรือกระทั่งการซื้อเสียงแบบตรงๆ
การเดินตามแบบแผน หนึ่งคนหนึ่งเสียง + เสียงข้างมากเป็นใหญ่ + ผู้ชนะกินทั้งหมด ..... จึงเป็นข้อกังขา
ว่าเหมาะควรเพียงไร กับสังคมนี้

ผมมองเงินสองร้อย กับคนที่ถูกซื้อเสียงได้ ด้วยความเจ็บปวด
เพราะแต่ละปี เงินที่ผมใช้จ่ายส่วนตัว น้อยกว่าเงินที่ผมเสียภาษี
ภาษีของผม ถูกเบียดบัง เพื่อตนเพื่อพวกพ้อง และเพื่อการครองอำนาจรัฐ

คำถามที่ท่านสมชาย(ฮา) ยกขึ้นมา จึงเป็นคำถามของผมด้วย  ::014::




ขอบพระคุณครับ... แฮ่ๆ

ขมวดประเด็นของนายสมชายชัดเจนเลยครับ...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: kiss686 ที่ ตุลาคม 12, 2008, 02:05:00 AM
ต้นเหตุ ก็มาจาก คนที่เลือกนักการเมือง นั่นแหละครับ แต่จะทำอย่างไรให้คนที่เลือกนักการเมืองเข้ามา มีสำนึก มันก็เป็นคำถามต่ออีก ??? ??? ;D  ที่ไม่สงบทุกวันนี้ เพราะมาแก้ที่ปลายเหตุกัน ถ้าสำเร็จ แล้วจะไปยังไงต่อดี  ถ้าสมัยหน้า เค้าได้เข้ามาบริหารอีก ......ต่อไปสงสัย ต้อง จับฉลากเลือก  สส กันแล้วครับ  กลับทำให้ สงสัยต่ออีก ว่า อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส  รากฐานกฎหมายก็คล้ายๆกับเรา แต่ทำไมเค้าไม่มีปัญหา เหมือนเรา ไม่เข้าใจครับ:P


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ที่ ตุลาคม 12, 2008, 03:10:10 AM
ปัญหาทั้งหมดแก้ด้วยการศึกษา................


เคยสงสัยหรือไม่ ทำไมประเทศที่พัฒนาแล้ว งบการศึกษาสูงเท่าหรือมากกว่างบป้องกันประเทศ


แต่ทำไม ประเทศไทย งบการศึกษาต่ำติดดิน.............


คนรู้น้อย หลอกง่าย แยกแยะยาก จ่ายสองร้อยได้ 1 เสียง..........


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: CyberMan ที่ ตุลาคม 12, 2008, 04:31:16 AM
ผมเห็นด้วยกับที่พี่สมชายว่ามานะครับ  ตรงใจ.. ตรงตามความรู้สึกที่อัดอั้นมานาน...

ทุกวันนี้ที่บ้านเมืองมีปัญหา สาเหตุก็มาจากการที่มีผู้คนจำนวนหนึ่ง (ที่จริงอาจเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ)
ซึ่งใช้ชีวิตโดยไม่สนใจติดตามข้อมูลข่าวสาร ไม่มีความรู้เรื่องเหตุบ้านการเมืองใดๆ ไม่ต้องเสียภาษีอากรให้รัฐ
แต่จะหวังรอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐไปวันๆ  เมื่อถึงเวลาเลือกตั้ง คนกลุ่มนี้ก็พร้อมที่จะขายสิทธิขายเสียง 
พร้อมที่จะเลือกใครก็ได้ เพื่อแลกกับเงินเพียงไม่กี่ร้อย  พร้อมที่จะเลือกตามที่ถูกชี้นำ โดยไม่มีจิตสำนึก
ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง ฯลฯ  น่าเศร้าที่คนกลุ่มนี้มีสิทธิมีเสียง และเป็นผู้กำหนดชะตาของประเทศชาติ
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ความจนความรวย แต่อยู่ที่คุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งครับ

นิยามของคำว่าประชาธิปไตย ที่ผมเคยท่องตอนเด็กๆ คือระบอบการปกครองที่ทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน
แต่ทุกวันนี้ผมเริ่มไม่เห็นด้วยกับนิยามที่ว่า...  มันเหมาะสมสำหรับประเทศที่ได้มีการพัฒนาประชากร
ให้มีคุณภาพถึงจุดๆ หนึ่งแล้ว 

ผมคิดเห็นอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าผมดูถูกเหยียบย่ำคนระดับล่างนะครับ  เพราะเขาก็มีคุณค่าความเป็นคนเหมือนกัน
และเป็นกลไกที่สำคัญของประเทศในเรื่องอื่นๆ   แต่ว่าสำหรับสิทธิในเรื่องที่เขาไม่มีคุณสมบัติเหมาะสม
ก็ยังไม่สมควรได้รับสิทธินั้นครับ  แล้วก็จบที่คำถามเดียวกันคือ จะทำอย่างไรและใช้เวลาอีกนานแค่ไหน
ที่จะพัฒนาประชากรให้มีความพร้อมกับระบอบประชาธิปไตยตามนิยามที่ว่าครับ   ::004::


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: พราน ที่ ตุลาคม 12, 2008, 08:25:35 AM
ถ้าคิดและมองด้วยบริบทของชนชั้นกลางก็จะคิดเหมือนคุณสมชายและสมาชิกท่านอื่นๆที่โพสมาแล้ว
แต่ทางมองจากมุมมองของชนชั้นล่างเขาก็จะมองในอีกแบบหนึ่ง แต่มีอีกอย่างที่ผมเห็นที่พวกเราชอบพูดกันว่าชาวบ้านซื้อได้ด้วยเงินร้อยสองร้อยผมกลับเห็นว่ามันไม่ง่ายอย่างที่ว่ากันมันมีอะไรที่ซับซ้อนกว่านั้นซึ่งเป็นปัญหาโครงสร้างทางสังคม และด้วยมุมมองที่ต่างกันผมว่ามันส่งผลกระทบแล้วทุกวันนี้ว่าช่องว่างทางชนชั้นและรายได้นับวันจะห่างกันขึ้นซึ่งเป็นเรื่องอันตรายสำหรับสังคม อีกอย่างเรื่องโอกาสของคนในสังคมไม่เท่ากัน ผมเคยอึ้งกับคำถามของชาวบ้านที่ว่า ระหว่างเขาที่ทำนา ทำสวนวันหนึ่งใช้เงินไม่กี่บาท กับคนชั้นกลาง ชั้นสูงที่ทำธุรกิจกู้เงินเป็นแสนล้านบาทใครมีโอกาสทำให้บ้านเมืองเสียหายได้มากกว่ากัน ;D


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 12, 2008, 08:36:54 AM
มีอีกกลุ่มครับ... กลุ่มข้าราชการที่มีการศึกษา มีความรู้และได้รับการศึกษาดี...
กลุ่มนี้ทำหน้าที่ค้ำจุนโครงสร้างของประเทศไทยมาตลอดตั้งแต่สมัยก่อนมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย...

ประเทศไทยมีประเทศอยู่ได้ด้วยสำนึกของข้าราชการกลุ่มนี้ครับ... กลุ่มที่อีกฝ่ายมักประชดว่า"อมาตยาธิปไตย"...
แต่ถ้าข้าราชการกลุ่มนี้ไม่ทำหน้าที่ดังข้างต้น... ประเทศไทยไม่เป็นประเทศไปแล้วครับ...

คำถามคือ พวกเขามีหนึ่งเสียงเท่ากับคนที่รู้จักประชาธิปไตยแค่ไม่กี่นาที... มันถูกต้องแล้วหรือครับ...


วันนี้ คุณสมชายคงนอนเต็มอิ่ม
เลยมีแรงเรียบเรียงถ้อยคำได้หลักแหลม  ครบถ้วน  เติมเต็มสิ่งที่สังคมมองข้ามไปนาน
ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: C.J. - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 12, 2008, 08:43:32 AM
ปัญหาทั้งหมดแก้ด้วยการศึกษา................


เคยสงสัยหรือไม่ ทำไมประเทศที่พัฒนาแล้ว งบการศึกษาสูงเท่าหรือมากกว่างบป้องกันประเทศ


แต่ทำไม ประเทศไทย งบการศึกษาต่ำติดดิน.............


คนรู้น้อย หลอกง่าย แยกแยะยาก จ่ายสองร้อยได้ 1 เสียง..........

สำหรับ ผม ขอเพิ่ม ความเป็นอยู่ ของประชาชนด้วยครับ...

บางคนเขาไม่มีกินจริงๆ สองร้อย ก็มีค่ามาก เพียงพอ...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ ตุลาคม 12, 2008, 09:13:53 AM
ผมว่าสิ่งที่ท่านสมชายได้กล่าวมาเป็นมิติที่มีความชัดเจนมาก มันสะท้อนปัญหาต่าง ๆ ให้เห็นได้อย่างแจ่มชัด
ผมคิดว่าเราคงหาทางแก้ไขปัญหาที่ท่านสมชายยกมาได้ยากอย่างยิ่ง  มันเป็นปัญหาวัวพันหลัก

แต่ถ้าเราเพ่งมองกันสักนิด ปัญหาจริง ๆ มันอยู่ที่ตัวนักการเมืองมากที่สุด ที่ผ่าน ๆ มามีกี่ครั้งก็ไม่รู้ที่เราได้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครที่เราเชื่ออย่างสนิทใจว่าเป็นคนดี มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรักชาติรักแผ่นดิน  พอผมระลึกชาติย้อนกลับไป คำตอบของผมคือ ไม่เคยมีเลยสักครั้ง

การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ผ่าน ๆ มา ผมเลือกได้แค่ลงคะแนนให้คนที่ดูแล้วเห็นว่ามันเลวน้อยที่สุด  หรือดีที่สุดก็ลงคะแนนให้กับผู้สมัครธรรมดา ไร้ต้นทุนทางสังคมที่อยู่อีกฝั่ง โดยหวังแค่ว่าจะลดโอกาสไม่ให้อีกฝ่ายที่แสนเลวได้รับชัยชนะอย่างง่ายดายเกินไป

สำหรับผมนะครับ กลไก ตรวจสอบที่เป็นอิสระจากการเมืองที่เข้มแข็ง น่าจะเป็นหนทางที่อาจจะผ่อนเทาทุเลาปัญหาความเลวของนักการเมือง ข้าราชการ ได้บ้างไม่มากก็น้อย

ผมดีใจที่รัฐธรรมนูญ 40 เปิดโอกาสให้ ประชาชนสามารถเข้าชื่อเพื่อใช้อำนาจถ่วงดุลย์ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารได้ แต่จำนวนคนมันก็มากพอสมควร รัฐธรรมนูญ 50 ลดจำนวนคนลงมา 40 เปอร์เซ็นต์ ก็น่าจะทำให้การใช้อำนาจของประชาชนเพื่อคานอำนาจบริหารหรืออำนาจนิติบัญญัติกระทำได้ง่ายขึ้น

แล้วที่แน่ ๆ นะครับ ผมไม่เห็นด้วยกับ สส. หรือ สว. ระบบแต่งตั้ง เท่าไรนัก มันเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: มะขิ่น ที่ ตุลาคม 12, 2008, 09:25:31 AM
ผมเคยอ่านการ์ตูนล้อการเมืองหรือล้อชีวิตคนไทยระดับรายได้น้อย(จน) ใน น.ส.พ. ฉบับหนึ่ง ............นานมาแล้ว ........เจ็บๆแสบๆคันๆ ความรู้สึกพิลึก ...........

เขาเขียนล้อวัฐจักรความจนครับ ........สำหรับคนส่วนใหญ่ในประเทศ ที่สังคมเรียกว่า"คนจน"

คนสองคนคุยกันว่า ทำไมเราถึงจน ตามนี้

ทำไมเราถึงจน -------> เพราะเรามีรายได้น้อย

ทำไมเราจึงมีรายได้น้อย --------> เพราะเรามีอาชีพที่หาเงินได้น้อย

ทำไมเราจึงมีอาชีพที่หาเงินได้น้อย -----------> เพราะเราด้อยโอกาส

ทำไมเราจึงด้อยโอกาส-------------> เพราะเราเรียนน้อย ไม่รู้จักผู้คนมากมาย

ทำไมเราจึงเรียนน้อยและไม่รู้จักผู้คนมากมาย ----------------> เพราะเราจน

ผมเข้าใจว่าผู้เขียนวัฐจักรนี้ ต้องการสื่อความหมายให้นักการเมือง หาวิธีการที่จะอุดช่องว่าง เหล่านี้ ให้มากที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทั้งหมด และสาเหตุจะไม่ได้เกิดขึ้นตามวัฐจักรนี้ทั้งหมด .............

ดูมานานมากแล้วครับ 4-5 รัฐบาลแล้ว...........ผมว่าคงไม่มีใครทำ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ยูจีน ที่ ตุลาคม 12, 2008, 10:29:55 AM
ประชาชนคนไทย ทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่ากันครับแต่  การเมืองบ้านเรามีเสียงที่เกิดจากการซื้อสิทธิขายเสียง เสียงที่ได้มาจากการทุจริตแบบนี้ไม่น่าจะถือเป็นเสียงประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ปัญหาคือเรื่องปากท้อง คนจน ขาดการศึกษา ขาดการรับข่าวสารข้อมูล   ถ้าสามารถแก้ได้ ปัญหาอย่างที่ประสบอยู่อย่างทุกวันนี้คงไม่เกิด


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 12, 2008, 10:44:47 AM
ผมเคยอ่านการ์ตูนล้อการเมืองหรือล้อชีวิตคนไทยระดับรายได้น้อย(จน) ใน น.ส.พ. ฉบับหนึ่ง ............นานมาแล้ว ........เจ็บๆแสบๆคันๆ ความรู้สึกพิลึก ...........

เขาเขียนล้อวัฐจักรความจนครับ ........สำหรับคนส่วนใหญ่ในประเทศ ที่สังคมเรียกว่า"คนจน"

คนสองคนคุยกันว่า ทำไมเราถึงจน ตามนี้

ทำไมเราถึงจน -------> เพราะเรามีรายได้น้อย

ทำไมเราจึงมีรายได้น้อย --------> เพราะเรามีอาชีพที่หาเงินได้น้อย

ทำไมเราจึงมีอาชีพที่หาเงินได้น้อย -----------> เพราะเราด้อยโอกาส

ทำไมเราจึงด้อยโอกาส-------------> เพราะเราเรียนน้อย ไม่รู้จักผู้คนมากมาย

ทำไมเราจึงเรียนน้อยและไม่รู้จักผู้คนมากมาย ----------------> เพราะเราจน

ผมเข้าใจว่าผู้เขียนวัฐจักรนี้ ต้องการสื่อความหมายให้นักการเมือง หาวิธีการที่จะอุดช่องว่าง เหล่านี้ ให้มากที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทั้งหมด และสาเหตุจะไม่ได้เกิดขึ้นตามวัฐจักรนี้ทั้งหมด .............

ดูมานานมากแล้วครับ 4-5 รัฐบาลแล้ว...........ผมว่าคงไม่มีใครทำ
ขอตอบพี่มะขิ่นประมาณนี้นะครับ
การออม
ขนาดกินก็ยังไม่มีจะกินแล้วจะเอาเงินที่ไหนไปออม  
วันละบาทครับ แค่วันละบาท
แค่วันละบาทมันจะไปทำอะไรได้ ปีหนึ่งมี 300 กว่าวันก็ได้แค่ 300 กว่าบาท  
ก็รวมกลุ่มสิ วันละบาท ถ้ารวมกันได้ 100 คนก็วันละ 300 ปีหนึ่งได้ 90,000
แล้วจะเอาเงินที่ออมได้ไปทำอะไร
ทำอะไรก็ได้ที่มันจะออกดอกออกผล
งั้นเอาไปปล่อยกู้ในกลุ่มได้มั้ย
ได้ แต่คนที่จะกู้นั้นต้องนำเงินไปใช้เพื่อประกอบอาชีพ โดยคนในกลุ่มจะต้องช่วยกันดูแล
โอ๊ยเดี๋ยวมันก็มีการโกงกัน ช่วยเหลือพรรคพวกของมัน คนที่ไม่มีพรรคพวกหรือเสียงส่วนน้อยก็ไม่ได้เงินสิ
ก็เลือกหรือคัดสรรหาคณะทำงาน ที่จะสละเวลามาทำให้และมีคุณธรรมสิ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้นำชุมชน ไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้แยะ คนแก่หากมีคุณธรรมก็เป็นผู้นำของกลุ่มได้

ผมโพสจากความจำครับ ตอนได้มีโอกาศได้ร่วมประชุมสวัสดิการชุมชน ที่ มสธ. ชาวบ้านรวมตัวกันเพื่อเก็บออม ย้ำนะครับเจตนาคือเก็บออม ไม่ใช้ตั้งสหกรณ์ที่ใช้ชื่อว่าออมทรัพย์นำหน้า แต่ทุกคนที่เป็นสมาชิกหวังกู้เงินจากสหกรณ์  เขารวมตัวกันโดยไม่มีใครมาบังคับ เขาเก็บออมเงิน นำเงินที่ได้ไปใช้ให้มันออกดอกออกผล โดยการส่งเสริมอาชีพ รวมกลุ่มกันทำอาชีพ จากวันละบาท กลุ่มบางกลุ่มมีเงินทุนนับสิบล้าน เมื่อเอาทุก ๆ กลุ่มมารวมกัน เขาก็มีเงินหลายร้อยล้าน  สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นจากกลุ่มเหล่านี้คือระบบคุณธรรม  อาจเรียกได้ว่าพวกเขาปกครองกันเอง ภายใต้กฎหมายของบ้านเมือง :)


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ๏แก้วเดียวจุก๏รักในหลวง ที่ ตุลาคม 12, 2008, 11:06:37 AM
    ผมไม่เคยสงสัยใน ข้อความ บทวิเคราะห์ของ พี่ สมชาย(ฮา) เลยซักครั้ง
ยิ่งครั้งนี้ ยอมรับเลยว่าอ่านแล้วตรงใจ
 
    ด้วยจิตคารวะ ขอมอบความเคารพแด่พี่ สมชาย(ฮา) ครับ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ๏แก้วเดียวจุก๏รักในหลวง ที่ ตุลาคม 12, 2008, 11:25:57 AM
::010::

สงสารประไทยจังเลยครับที่มีคนคิดแบบคุณสมชาย

ดูถูกคนจน ไม่เคารพในความเสมอภาค เห็นว่าตนดีเลิศกว่าคนอื่น

ถ้าเป็นเมืองนอกเค้าเรียกว่า discrimination .....  ::008::

ถามหน่อยว่าคนรวยๆ ทั้งหลายเค้าหากินกับใคร ใครเป็นแหล่งรายได้ของเค้า

CP, AIS, ช้าง, รายได้เค้าไม่ได้มาจากคนที่คุณดูถูกหรือ คิดดีๆ ครับประชาชนที่คุณดูถูกนะ

เค้านั้นแหละคือ รากฐานของระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกนี้

เลิกดูถูกคนจน ได้แล้วครับ

คนเราควรจะคิดอะไรให้มันรอบด้าน

สงสารประเทศไทยจริงๆ

 ::010:: ::010:: ::010::

หึหึ...... ::009::


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ธำรง ที่ ตุลาคม 12, 2008, 11:37:38 AM
 ::008:: หึหึ ... กับสมาชิกเฉพาะกิจ ด้วยคน ..... จบจ๊ะ  :-X


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: คนแปลกหน้า - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 12, 2008, 11:55:14 AM
::010::

สงสารประไทยจังเลยครับที่มีคนคิดแบบคุณสมชาย

ดูถูกคนจน ไม่เคารพในความเสมอภาค เห็นว่าตนดีเลิศกว่าคนอื่น

ถ้าเป็นเมืองนอกเค้าเรียกว่า discrimination .....  ::008::

ถามหน่อยว่าคนรวยๆ ทั้งหลายเค้าหากินกับใคร ใครเป็นแหล่งรายได้ของเค้า

CP, AIS, ช้าง, รายได้เค้าไม่ได้มาจากคนที่คุณดูถูกหรือ คิดดีๆ ครับประชาชนที่คุณดูถูกนะ

เค้านั้นแหละคือ รากฐานของระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกนี้

เลิกดูถูกคนจน ได้แล้วครับ

คนเราควรจะคิดอะไรให้มันรอบด้าน

สงสารประเทศไทยจริงๆ

 ::010:: ::010:: ::010::
ผมอยากให้มีคนคิดแบบพี่สมชาย(ฮา)เยอะๆครับแต่ไม่อยากให้มีคนที่มีความคิดอย่างคุณอยู่ในเวปฯปืนนี้เลย ???


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ที่ ตุลาคม 12, 2008, 12:19:37 PM
สมาชิกเฉพาะกิจอย่าลืมเอา kilt คลุมหัวด้วย.....


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: BIGFISH ที่ ตุลาคม 12, 2008, 01:15:40 PM
เราจะสร้างศรัทธาในประชาธิปไตยกันอย่างไร

ถามใจเราดูว่า ความรู้สึกว่าเคารพในสิทธิเสรีภาพ รับฟังความเห็นที่แตกต่างและยอมรับกฏกติกาที่สมาชิกส่วนใหญ่ในการแสวงหาทางออก ว่าความรู้สึกดังกล่าวมีเพียงพอหรือไม่  ความรู้สึกรักชาตินี่มันขนาดไหน ยอมเสียสละได้แค่ไหน เป้นพื้นฐานก่อน จากนั้นจะทำกันอย่างไร มีข้อเสนอหรือเห็นด้วยหรือจะเห็นแตกต่างกันอย่างไร  ผมยกเครดิตเรื่องนี้ให้พันธมิตรที่จุดประกายต้องการแก้ไข แต่ไม่ได้เห็นด้วยในทุกเรื่อง ทางแก้ปัญหา ไม่ง่าย คงไม่ใช่ ลาออก ยุบสภา แล้วจบเรื่อง ถ้าจิตสำนึกของผู้คนส่วนใหญ่ในชาติ ยังประชาธิปไตยไม่พอ

 
ประวัติศาสตร์ที่การเมืองของไทย ตั้งแต่ 2475 ทุกครั้งที่ที่ได้รับอำนาจ  มีกี่ครั้งที่ไม่เหลิงอำนาจ ผมว่าเรามาไกลแล้วจากยุคมืด คณะราษฎร์ ทีปล่อยปละละเลยคดีสำคัญของชาติ จนทหารต้องมายึดอำนาจ เข้าสู่ยุคเผด็จการทหาร นักศึกษาประชาชนต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย คอมมิสนิสต์เหิมเกริม ทหารปฏิวัติอีกครั้ง ยุคครึ่งใบที่ท่านผู้นำเป็นคนดี ผมรู้สึกว่าช่วงนั้นสงบดี แม้ช่วงนั้นยังไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง แต่ประชาชนไปเลือกตั้งแล้วไม่รู้ว่าอำนาจจะตกอยู่กับใคร   จนถึงยุคประชาธิปไตยเต็มใบดีกว่าเดิมเพราะพอจะรู้ว่าใครจะเป็นนายกที่ประเทศเราได้บทเรียนจากสงครามเศรษฐกิจ และยุคเผด็จการทางรัฐสภา  ก่อนที่จะเกิดความวุ่นวายถึงขั้นมีข่าววางแผนสังหารผู้นำ เกิดการแตกแยกในสังคมจนกระทั่งทหารยึดอำนาจ และคืนอำนาจให้ประชาชนอีก จนป่านนี้เรายังไปกันไม่เป็น (ถ้าเรื่องราวในที่ผมกล่าวผิดเพี้ยนไป จากความเห็นส่วนตัว ยินดีรับฟังครับ)
เรามาไกลมากแล้ว เราจะไปต่ออย่างไรดี 
ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว โทรทัศน์มีดูกันทุกบ้าน คนยุคพ่อแม่ผมจบ ป4 อายุจะ 70 ดู ASTV  แล้วคิดได้ครับว่าอะไรถูกผิด  พ่อผมอายุ 70 กว่า วิถีชีวิต ยังออกทะเลหาปลา มีนักการเมืองจะนำเอาที่สาธารณะของโรงเรียนในไปแสวงหาประโยชน์แกเป็นตัวตั้งตัวตีในการต่อสู้คัดค้าน  ที่จังหวัดผมเล่นนอกเกมส์กันถึงตายกันง่ายๆ  เสี่ยงกับลูกปืนที่กลไกของรัฐคุ้มครองไม่ได้ แต่เหตุผลที่พ่อโหวตรับร่างเพราะต้องการเลือกตั้ง   ชาวบ้านหรือคนในเมืองสามารถรับรู้และตัดสินใจกันได้ ถ้าเขายังไม่เข้าใจ ไม่ใช่ว่าเขาผิด เราต้องช่วยกันสร้างจิตสำนึกให้พวกเขาเข้าใจได้จ่ายๆ  สถาบันหลักของประเทศเช่น ครูบาอาจารย์  นักวิชาการ ทหาร สื่อ สหภาพแรงงาน ที่เป็นสถาบันหลักของชาติบ้านเมือง น่าจะมีโควต้าในสภานิติบัญญัติ ไม่ใช่สภาสูงอย่างเดียว หรือมีส่วนดูแลคานอำนาจบริหาร โดยให้ประชาชนมีทางเลือกมอบอำนาจเลือกตั้งให้ผ่านสถาบันต่างๆได้เพิ่มจากพรรคการเมือง  ให้ดูแลปกป้องในสภาบ้าง แทนที่จะให้พรรคการเมืองครองสภากันอย่างเดียว แล้วต้องมาต่อสู้นอกสภา นอกวิถีทางของประชาธิปไตย  จนปิดประตูที่จะคุยกัน
มันไม่ถูกแน่ๆ

มีคำพูดอยู่คำหนึ่ง

สร้างรูปแบบกำหนดจิตสำนึก เพราะไม่ใช่จิตสำนึกเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิต แต่รูปแบบวิถีชีวิตกำหนดจิตสำนึก

ขอแสดงความนับถือครับ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: +kAriN+ ที่ ตุลาคม 12, 2008, 02:07:57 PM
คุณสมชายอาจจะพยายามหาทางคิดให้กับสังคมไทย..นะครับ..ก็ันับถือในความพยายาม...

แต่อย่างที่ จขกท.บอก  พื้นฐาน ของความเป็นมนุษย์ ตามหลักประชาธิปไตย..มันควรจะแยกด้วยความคิด Discrimination อย่างนี้เหรอครับ

พวกที่ discriminate คนด้วย... การศึกษา วรรณะ ตระกูล อาชีพ.... มันไม่ต่างกับการแบ่งคนตามสีผิวเลยนะครับ




หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: +kAriN+ ที่ ตุลาคม 12, 2008, 02:08:53 PM
 “คำถามคือหลักการประชาธิปไตยถูกหรือไม่ ว่าหนึ่งเสียงเท่ากัน...”



นั่นเป็นสิทธิ เข้าใจคำว่าสิทธิ์ไหมครับ...  พวกที่คุณกล่าวหาว่าทำบ้างไม่ทำบ้าง...หวังเศษเงินจากการคอรัปชั่นน่ะ... มันไม่ทำให้พวกเขาอิ่มได้ตลอดชีวิตเขาหรอกครับ... ถ้ามีโอกาส ทำไมคนเขาจะไม่สู้... คุณเล่นเสนอบอกว่า คุณอาชีพ ชาวนา ชาวไร่ รับจ้าง มีสิทธิ์น้อยกว่า มันใช่หรือ


ให้ความรู้สิ... ให้การศึกษาสิ... เริ่มจากไหนดีล่ะ

เริ่มจากสอนให้เขารู้จัก   “ทำตามกฎหมาย” ก่อนดีไหม.....

หรือว่า.. สอนว่า “กฎหมายมันต้องอยู่เหนือกฎหมู่”....



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: +kAriN+ ที่ ตุลาคม 12, 2008, 02:18:05 PM
ถามต่อ... ถ้าสักวัน...

กลุ่มคนที่คุณเรียกกันว่าชาวนา มีรายได้ต่อหัวมากกว่าอาจารย์ มากกว่าคุณหมอ มากกว่าคุณๆ

แล้วคุณจะให้สิ่ทธิ์พวกเขาเหล่านั้นเยอะขึ้นไหม


.
.
.

ความคิดแบบนี้ สรุปได้อย่างเดียวว่า เป็นความคิดของคนที่ไม่สามารถรับความเปลี่ยนแปลงได้ ชาวนาไม่เหมือนก่อนแล้วครับ

มีทีวีทุกบ้าน... ถ้าเขามีกำไีร... เขาก็จะมีเงินพอใช้... "พอดี" แล้วนะครับ...

ตอนนี้ ชาวนาส่วนใหญ่ไม่พอดีครับ... มันขาด...

มันขาดเพราะคนกลุ่มอย่างคุณสมชาย... ไม่ให้โอกาสครับ...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: +kAriN+ ที่ ตุลาคม 12, 2008, 02:19:22 PM
-   แต่คุณกำลังเอาคนมาแบ่งประเภท แล้วบอกว่าคนกลุ่มหนึ่งควรมีสิทธิมากกว่า คนอีกกลุ่มหนึ่งโดยอาศัยบรรทัดฐานทางการศึกษา ใบปริญญา การเงิน การเสียภาษี ... โดยไม่สนใจความเป็น “คน” ที่มีสิทธิ์เรียกร้องเลยหรือ

-   เอาอะไรมาวัดว่า คนกลุ่มไหนควรจะมีสิทธิ์มากกว่าอีกกลุ่ม

-   ชาวนา 1 เสียง มีค่าน้อยกว่า หมอ 1 เสียงหรือ เขาใช้อากาศหายใจไม่เท่ากับคุณหมอเหรอ

-   ชาวนาไม่มีโอกาสที่สร้างความมั่งคั่ง ด้วยโอกาสที่คุณหมอมีแล้วชาวนายังไม่มีหรือ... บางทีเขาไม่ต้องการเงินอย่างเดียว เขาไม่ได้โง่ เขามีความฉลาดในการใช้ชีวิต หรือตัดสินใจ มากกว่าคุณหมอซะอีก



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ScaRECroW ที่ ตุลาคม 12, 2008, 02:20:21 PM
สมาชิกเฉพาะกิจอย่าลืมเอา kilt คลุมหัวด้วย.....

อิอิ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ ตุลาคม 12, 2008, 09:55:16 PM
คุณ Karin ร่ายมา 4 กระทู้ติดกัน...


ผมยังยืนยันอีกทีครับว่า  ข้อความของคุณสมชาย(ฮา) ไม่มีตรงไหนบอกว่าคนจนหรือชาวนามีสิทธิน้อยกว่าคนกรุง  แล้วก็ไม่ได้พยายามที่จะลดทอนสิทธิเหล่านั้น


คำถามอยู่ที่ว่า  จะแก้ไขป้องกันอย่างไรกับปัญหาเชิงสังคมที่กล่าวมา ?  ต่างหาก

*** ย้ำ... โปรดกลับไปอ่าน 3 บันทัดข้างบนอีกรอบ ***


ถ้าคุณยังมีปัญหาด้านการตีความ  ผมแนะนำให้ ออกไปพักก่อนครับ

รอให้มี "วุฒิภาวะ" มากกว่านี้อีกหน่อย ค่อยกลับมา

ใกล้ชิดพ่อแม่มากหน่อย  ฟังคำที่ท่านสอนนะครับ...





หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 12, 2008, 10:03:43 PM
โอ้... ปลดล็อกแล้ว... เย้


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 12, 2008, 10:13:41 PM
คุณ Karin ร่ายมา 4 กระทู้ติดกัน...


ผมยังยืนยันอีกทีครับว่า  ข้อความของคุณสมชาย(ฮา) ไม่มีตรงไหนบอกว่าคนจนหรือชาวนามีสิทธิน้อยกว่าคนกรุง  แล้วก็ไม่ได้พยายามที่จะลดทอนสิทธิเหล่านั้น


คำถามอยู่ที่ว่า  จะแก้ไขป้องกันอย่างไรกับปัญหาเชิงสังคมที่กล่าวมา ?  ต่างหาก

*** ย้ำ... โปรดกลับไปอ่าน 3 บันทัดข้างบนอีกรอบ ***


ถ้าคุณยังมีปัญหาด้านการตีความ  ผมแนะนำให้ ออกไปพักก่อนครับ

รอให้มี "วุฒิภาวะ" มากกว่านี้อีกหน่อย ค่อยกลับมา

ใกล้ชิดพ่อแม่มากหน่อย  ฟังคำที่ท่านสอนนะครับ...

ประเด็นไม่ใช่เรื่องการตีความอะไรหรอก
ต่อให้คุณสมชาย  ใช้ข้อความวิเคราะห์ว่า  "1 เสียงที่ซื้อได้   กับ 1 เสียงที่เงินซื้อไม่ได้"   คนพวกนี้ ก็ต้องหาเรื่องอื่นได้อยู่ดี


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 12, 2008, 10:16:19 PM
คุณสมชายอาจจะพยายามหาทางคิดให้กับสังคมไทย..นะครับ..ก็ันับถือในความพยายาม...

แต่อย่างที่ จขกท.บอก  พื้นฐาน ของความเป็นมนุษย์ ตามหลักประชาธิปไตย..มันควรจะแยกด้วยความคิด Discrimination อย่างนี้เหรอครับ

พวกที่ discriminate คนด้วย... การศึกษา วรรณะ ตระกูล อาชีพ.... มันไม่ต่างกับการแบ่งคนตามสีผิวเลยนะครับ

ท่านน่ะ... บอกว่าเถียงกับบุพการีมาแล้ว ในกระทู้อื่น...

นายสมชายจะมีปัญญาอะไรชี้แจงท่านเล่าครับ... แฮ่ๆ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 12, 2008, 10:19:59 PM
“คำถามคือหลักการประชาธิปไตยถูกหรือไม่ ว่าหนึ่งเสียงเท่ากัน...”

นั่นเป็นสิทธิ เข้าใจคำว่าสิทธิ์ไหมครับ...  พวกที่คุณกล่าวหาว่าทำบ้างไม่ทำบ้าง...หวังเศษเงินจากการคอรัปชั่นน่ะ... มันไม่ทำให้พวกเขาอิ่มได้ตลอดชีวิตเขาหรอกครับ... ถ้ามีโอกาส ทำไมคนเขาจะไม่สู้... คุณเล่นเสนอบอกว่า คุณอาชีพ ชาวนา ชาวไร่ รับจ้าง มีสิทธิ์น้อยกว่า มันใช่หรือ

ให้ความรู้สิ... ให้การศึกษาสิ... เริ่มจากไหนดีล่ะ

เริ่มจากสอนให้เขารู้จัก  “ทำตามกฎหมาย” ก่อนดีไหม.....

หรือว่า.. สอนว่า “กฎหมายมันต้องอยู่เหนือกฎหมู่”....

ฮา ครับ...

ขอรายละเอียดเพิ่ม... เพราะประเดี๋ยวจะมีประเด็นแหกออกไปอีกครับ... ฮา

ก่อนหน้านี้ก็มีเรื่องดูถูกคนจน... ทั้งที่ไม่ได้บอกเล๊ย บอกเรื่องทำไงให้คนเกลียดคนโกง...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 12, 2008, 10:24:01 PM
ถามต่อ... ถ้าสักวัน...

กลุ่มคนที่คุณเรียกกันว่าชาวนา มีรายได้ต่อหัวมากกว่าอาจารย์ มากกว่าคุณหมอ มากกว่าคุณๆ

แล้วคุณจะให้สิ่ทธิ์พวกเขาเหล่านั้นเยอะขึ้นไหม


.
.
.

ความคิดแบบนี้ สรุปได้อย่างเดียวว่า เป็นความคิดของคนที่ไม่สามารถรับความเปลี่ยนแปลงได้ ชาวนาไม่เหมือนก่อนแล้วครับ

มีทีวีทุกบ้าน... ถ้าเขามีกำไีร... เขาก็จะมีเงินพอใช้... "พอดี" แล้วนะครับ...

ตอนนี้ ชาวนาส่วนใหญ่ไม่พอดีครับ... มันขาด...

มันขาดเพราะคนกลุ่มอย่างคุณสมชาย... ไม่ให้โอกาสครับ...


มาได้ไงครับ เรื่องนี้... ฮาอีกแล้ว...

เหมือนเถียงกับเด็กพูดวนไปก็วนมา... ไม่จบเรื่อง...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 12, 2008, 10:31:33 PM
-   แต่คุณกำลังเอาคนมาแบ่งประเภท แล้วบอกว่าคนกลุ่มหนึ่งควรมีสิทธิมากกว่า คนอีกกลุ่มหนึ่งโดยอาศัยบรรทัดฐานทางการศึกษา ใบปริญญา การเงิน การเสียภาษี ... โดยไม่สนใจความเป็น “คน” ที่มีสิทธิ์เรียกร้องเลยหรือ

-   เอาอะไรมาวัดว่า คนกลุ่มไหนควรจะมีสิทธิ์มากกว่าอีกกลุ่ม

-   ชาวนา 1 เสียง มีค่าน้อยกว่า หมอ 1 เสียงหรือ เขาใช้อากาศหายใจไม่เท่ากับคุณหมอเหรอ

-   ชาวนาไม่มีโอกาสที่สร้างความมั่งคั่ง ด้วยโอกาสที่คุณหมอมีแล้วชาวนายังไม่มีหรือ... บางทีเขาไม่ต้องการเงินอย่างเดียว เขาไม่ได้โง่ เขามีความฉลาดในการใช้ชีวิต หรือตัดสินใจ มากกว่าคุณหมอซะอีก

ตรรกะชวนงง... คุยเรื่องหาวิธีแก้ไม่ให้คนโกง...

ท่านก็บอกว่าเกลียดการดูถูกคนจน... รักสายลม แสงแดด...

ชักขี้เกียจเถียงครับ... ไม่รู้จะเถียงอย่างไร แตกประเด็นไปได้ร้อยแปดพันเรื่องไม่รู้จบ...

คุยเรื่องนี้เดี๋ยวก็มีเรื่องโน้น... เชื่อเหอะ ประเดี๋ยวจะเอาเรื่องหลุมดำมาอ้างแน่เชียว... ฮา


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 12, 2008, 10:32:42 PM
คุณ Karin ร่ายมา 4 กระทู้ติดกัน...


ผมยังยืนยันอีกทีครับว่า  ข้อความของคุณสมชาย(ฮา) ไม่มีตรงไหนบอกว่าคนจนหรือชาวนามีสิทธิน้อยกว่าคนกรุง  แล้วก็ไม่ได้พยายามที่จะลดทอนสิทธิเหล่านั้น


คำถามอยู่ที่ว่า  จะแก้ไขป้องกันอย่างไรกับปัญหาเชิงสังคมที่กล่าวมา ?  ต่างหาก

*** ย้ำ... โปรดกลับไปอ่าน 3 บันทัดข้างบนอีกรอบ ***


ถ้าคุณยังมีปัญหาด้านการตีความ  ผมแนะนำให้ ออกไปพักก่อนครับ

รอให้มี "วุฒิภาวะ" มากกว่านี้อีกหน่อย ค่อยกลับมา

ใกล้ชิดพ่อแม่มากหน่อย  ฟังคำที่ท่านสอนนะครับ...

ประเด็นไม่ใช่เรื่องการตีความอะไรหรอก
ต่อให้คุณสมชาย  ใช้ข้อความวิเคราะห์ว่า  "1 เสียงที่ซื้อได้   กับ 1 เสียงที่เงินซื้อไม่ได้"   คนพวกนี้ ก็ต้องหาเรื่องอื่นได้อยู่ดี

ขอบพระคุณครับ... เย้


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: PATEE ที่ ตุลาคม 12, 2008, 10:47:44 PM
ไม่น่ามีกระทู้การเมืองในเวปนี้ เราพี่น้องกันทั้งนั้น


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: พ่อบักเขตต์...รักในหลวง ที่ ตุลาคม 12, 2008, 10:54:15 PM
ไม่น่ามีกระทู้การเมืองในเวปนี้ เราพี่น้องกันทั้งนั้น

น่าจะมี ครับ อย่างน้อยก็เป็นวิธีหนึ่งทำให้ ได้แสดงออกทางความคิดของคนที่ อย่างน้อยก็เรื่องปืนที่ชอบ เหมือนกัน...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 12, 2008, 11:04:28 PM
ไม่น่ามีกระทู้การเมืองในเวปนี้ เราพี่น้องกันทั้งนั้น

น่าจะมี ครับ อย่างน้อยก็เป็นวิธีหนึ่งทำให้ ได้แสดงออกทางความคิดของคนที่ อย่างน้อยก็เรื่องปืนที่ชอบ เหมือนกัน...

อย่างที่ พ่อน้องขิง บอกละครับ. ในเวปนี้ มีกติกา ที่เคร่งครัด ท่านใดออกความเห็น ก้าวล่วงละเมิด เพื่อนสมาชิก .. ผู้ดูแล จะลากไปทิ้งถังขยะ เองละครับ.

แต่ถ้าไม่ชอบ ก็เลี่ยง อย่าไปเข้า่ไปดู.. เพราะชื่อกระทู้ทางการเมือง เห็นก็ทราบแล้ว ครับ  ;D



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: flyingkob-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 13, 2008, 12:37:54 AM
“คำถามคือหลักการประชาธิปไตยถูกหรือไม่ ว่าหนึ่งเสียงเท่ากัน...”



นั่นเป็นสิทธิ เข้าใจคำว่าสิทธิ์ไหมครับ...  พวกที่คุณกล่าวหาว่าทำบ้างไม่ทำบ้าง...หวังเศษเงินจากการคอรัปชั่นน่ะ... มันไม่ทำให้พวกเขาอิ่มได้ตลอดชีวิตเขาหรอกครับ... ถ้ามีโอกาส ทำไมคนเขาจะไม่สู้... คุณเล่นเสนอบอกว่า คุณอาชีพ ชาวนา ชาวไร่ รับจ้าง มีสิทธิ์น้อยกว่า มันใช่หรือ


ให้ความรู้สิ... ให้การศึกษาสิ... เริ่มจากไหนดีล่ะ

เริ่มจากสอนให้เขารู้จัก   “ทำตามกฎหมาย” ก่อนดีไหม.....

หรือว่า.. สอนว่า “กฎหมายมันต้องอยู่เหนือกฎหมู่”....



อ่านแล้วไม่ได้มานั่งไล่บี้คุณหรอก
การศึกษา..เริ่มจากในครอบครัวก่อน..รู้หนังสือก่อน...อ่านออกเขียนได้..เข้าในความหมาย...
คุณไปสอนให้เขารู้กฎหมาย....ใครที่ไหนจะเข้าใจ..ถ้าไม่รู้หนังสือ..


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: <<Z80>> ที่ ตุลาคม 13, 2008, 03:12:07 AM
ประเทศไทยอาจจะกำลังก้าวย่างเข้าสูระบบเผด็จการ จากแนวคิดการเมืองใหม่


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ ตุลาคม 13, 2008, 04:13:01 AM
คุณ <<Z80>>เข้าใจความคิดการเมืองไหม่ว่าอย่าง  ลองขยายความให้ฟังซิครับ
เอาแบบแสดงความรู้ และวิจารณญาณนะครับ  จะได้ไม่ขายหน้าใคร

ถ้ายังไม่มีก็อย่าโพสเล่นสำนวน แขวะไปมา ตีหัวเข้าบ้านเลย
อย่าทำตัวไร้ค่าอย่างนั้น

ที่นี่ไม่มีคะแนนจากการปั่นกระทู้นะครับ




หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: terry ที่ ตุลาคม 13, 2008, 09:38:24 AM
แหม คิดว่า ประชาธิปไตย คือไอ้ 10 กว่าล้านเสียงที่พรรคพลังประชาชน และไทยรักไทย คอยพูดกรอกหูประชาชนอยู่ตลอดเวลาซะอีก


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: <<Z80>> ที่ ตุลาคม 13, 2008, 09:56:30 AM
แล้วประชาธิปไตย คือการที่คนกลุ่มหนึ่งปลุกระดมคนออกมาปิดล้อมตรงนั้น ยึดตรงนี้เพื่อต่อรองให้ได้ตามที่ตัวเองต้องการกระนั้นหรือ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ ตุลาคม 13, 2008, 09:57:45 AM
แล้วประชาธิปไตย คือการที่คนกลุ่มหนึ่งปลุกระดมคนออกมาปิดล้อมตรงนั้น ยึดตรงนี้เพื่อต่อรองให้ได้ตามที่ตัวเองต้องการกระนั้นหรือ
แล้วประชาธิปไตยของคุณคืออะไรครับ อยากรู้จัง


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: <<Z80>> ที่ ตุลาคม 13, 2008, 10:02:19 AM
ของผมไม่ใช่แบบที่พันธมิตรฯครับ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 13, 2008, 10:15:41 AM
อย่าไปโต้ตอบทุกเรื่องเลยครับ... พวกนี้ชอบเพ้อเจ้อ แตกประเด็นใหม่ไปเรื่อย คุยแล้วจบไม่ลง...

ลองนึกถึงเพลงเฉลียงครับ... "ฉันชอบกล้วยไข่ เพราะมันไม่มีกระดูก"... ฮา

ถ้าจะเอาเหตุผล... จะได้ทำนองนี้ครับ...

เป็นเพราะแมวกัดกับหมา พาให้ช้างขี่แมลงหวี่... ดัชนีเศรษฐกิจดิ่งเหว...
มันเปลวกิโลละกี่บาท... กิ้งกือขาขาดหกล้มหงายท้องตึงร้องไห้จ้า พ่อหนูหล่อเอายาหม่องทาให้พร้อมยาดม...
ยาดมตาโป๊ยเซียน ทั้งดมทั้งทาในหลอดเดียวกัน... วิงเวียนหัวกลัวข้าวต้มมัด...
ขัดให้สะอาดแล้วเอาไปพาดไฟฉาย... ท้องลายเพราะคลอดลูก...

ฮา...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ที่ ตุลาคม 13, 2008, 10:48:59 AM
แบบสิงคโปร์ก็ดีนะครับพี่สมชาย

เผด็จการจากลีกวนยู คนเดียวคุมเบ็ดเสร็จ

แต่ทำเพื่อนประเทศชาติ ประชาชน

ไม่ได้ทำเพื่อโคตรกูและพวกพ้อง



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 13, 2008, 11:44:09 AM
ถ้าเจอพวกลูกกบ ลูกเ่ต่า. ที่มาเกรียน ต้องไม่วางเฉย ..
การวางเฉย นั้นใช้ได้กับคนที่มีสำนึกดี

แต่จะใช้ไม่ได้กับคนที่ มีสำนึกติดอยู่กับ นาย ๒๓ ที่แอบไว้ในใจมัน..
คนที่มันติดว่้า่เป็นบิดา ที่ใครจะแตะต้องไม่ได้ .. ท่านขืนวางเฉย เท่ากับไปส่งเสริมให้
มันเกิดความคึก .. มันย่อม จะสร้า่งความเสื่อม .. ตามมา.

การแถของปลาดุก เงี่ยง ย่อมทำความเสียหายกับ สิ่งรอบข้างได้..
จะต้องเอื้อมมือไปจับตรงหัว และล๊อคเงี่ยง จับมันโยนลงคลองไปเสีย.

นี่อาจเป็นครรลอง.. ถ้าปล่อยไว้ ก็จะมีวิถีอย่างนี้.  เหมือนการขจัดความเลวในจิตใจตน
จะต้องมีจิตใจที่มั่นคง จะยอมไม่ได้กับความคิดใฝ่ต่ำ นิดเดียวก็ยอมไม่ได้.. ไม่อย่างนั้น
จิตใจท่านจะ อ่อนไหวไปในทางต่ำ โดยไม่รู้ตัว

และนี่คือครรลอง ของสุภาพชนในเวปนี้ ยึดถือความถูกต้อง ตรงความจริง
ไม่ยอมให้มีการบิดเบือน ไม่ยอมให้ใครมาสนตะพาย  .

เกิดเป็นครรลอง ในคอการเมืองในเวปนี้ ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๔ . แล้ว ครับ.  ::002::


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 13, 2008, 11:52:22 AM
ขออธิบายความ  คำว่า
ลูกกบ  กบในกะลา  แม่กบ ยังหนีออกไม่ได้ แล้ว เป็นลูก จะมีความสามารถพลิกกะลา ไหม

ลูกเต่า. มันนอนอบอุ่น ซุกตัวอยู่ในเปลือกไข่ ใต้หลุมทรายลึก .. เมื่อได้ยินเสียงขุดสะเืทือน
มันนึกว่า แม่มันมาช่วยให้ออกจากหลุม.. แต่ที่แท้ เป็นสัตว์เลือยคลานอื่นจะมาเขมือบ
เมื่อเห็นแสงดาว ก็ถึงเวลาเป็นอาหาร..   แม่เต่าไข่แล้วไม่เฝ้า จะหนีลงทะเล .  :OO


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: C.J. - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 13, 2008, 12:31:40 PM
ถ้าเจอพวกลูกกบ ลูกเ่ต่า. ที่มาเกรียน ต้องไม่วางเฉย ..
การวางเฉย นั้นใช้ได้กับคนที่มีสำนึกดี

แต่จะใช้ไม่ได้กับคนที่ มีสำนึกติดอยู่กับ นาย ๒๓ ที่แอบไว้ในใจมัน..
คนที่มันติดว่้า่เป็นบิดา ที่ใครจะแตะต้องไม่ได้ .. ท่านขืนวางเฉย เท่ากับไปส่งเสริมให้
มันเกิดความคึก .. มันย่อม จะสร้า่งความเสื่อม .. ตามมา.

การแถของปลาดุก เงี่ยง ย่อมทำความเสียหายกับ สิ่งรอบข้างได้..
จะต้องเอื้อมมือไปจับตรงหัว และล๊อคเงี่ยง จับมันโยนลงคลองไปเสีย.

นี่อาจเป็นครรลอง.. ถ้าปล่อยไว้ ก็จะมีวิถีอย่างนี้.  เหมือนการขจัดความเลวในจิตใจตน
จะต้องมีจิตใจที่มั่นคง จะยอมไม่ได้กับความคิดใฝ่ต่ำ นิดเดียวก็ยอมไม่ได้.. ไม่อย่างนั้น
จิตใจท่านจะ อ่อนไหวไปในทางต่ำ โดยไม่รู้ตัว

และนี่คือครรลอง ของสุภาพชนในเวปนี้ ยึดถือความถูกต้อง ตรงความจริง
ไม่ยอมให้มีการบิดเบือน ไม่ยอมให้ใครมาสนตะพาย  .

เกิดเป็นครรลอง ในคอการเมืองในเวปนี้ ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๔ . แล้ว ครับ.  ::002::

 ::002::...  ::014::


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ...อภิสิทธิ์ ... ที่ ตุลาคม 13, 2008, 01:26:10 PM
สวัสดีครับ คุณแซ่ด80 คุณการิน และทุกท่าน

         ประเด็นของคุณฮาเพียงแต่อยากจะคิวซีผู้ที่จะเข้าไปกาบัตรน่ะครับ  ว่าได้เคยติดตามการเมืองหรือการบริหารงานราชการแผ่นดินมาบ้างไหม หรือเพียงแต่ดูละครน้าเน่าจบแล้วเข้านอน  ประเทศนี้ไม่เคยกีดกันคนชนบทไม่ให้ขับรถยนตร์แต่ต้องผ่านข้อสอบทั้งข้อเขียนและปฎิบัติเพื่อเอาใบขับขี่  การเลือกตั้งก็เช่นกันในเมื่อไม่มีแก่ใจจะไปเลือกตั้งจนต้องบังคับกะเกณฑ์แถมยังไม่มีความรู้ไม่มีข้อมูลทางการเมืองวันๆอ่านแต่ข่าวอาชญากรรม รมต.กระทรวงไหนชื่ออะไรยังไม่รู้แล้วยังจะให้ไปเลือกตั้งอีกอย่างงี้ก็จะพาประเทศลงเหวหมดซีครับ  ก่อนไปกาบัตรต้องรู้เรื่องการเมือง-การปกครอง   คุรุสภาควรพิมพ์หนังสือคู่มือสอบเข้ารับบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนสักเล่มครับ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Chayanin-We love the king ที่ ตุลาคม 13, 2008, 02:23:24 PM
คนไทยหลายคนไม่เคยตั้งคำถามกับหลักการที่สำคัญ
ก่อนที่จะยัดเยียดอำนาจให้ใคร
หรือผมจะรับอำนาจเปลี่ยนมือจากใคร
ก็ต้องถามตัวเองก่อนว่าต้องการอำนาจนั้นหรือเปล่า
ประชาธิปไตย  หมายความว่า  อำนาจของประชาชน
พอดีบังเอิญผมไม่ใช่ประชาชนที่ต้องการอำนาจ   เพราะฉนั้นในช่วงเวลาหนึ่งถ้าผู้มีอำนาจ  จะมาจากแหล่งไหนก็ตาม ใช้อำนาจนั้นถูกต้องทำนองคลองธรรม  ผมก็ไม่เคยมีปัญหาอะไรกับเขาเหล่านั้น
เว้นแต่อำนาจนั้นถูกใช้ไปในทางที่ผิดเราก็ต้องขีดกรอบให้อำนาจนั้นเดินไปตามครรลองที่อยู่ร่วมกันได้ทั้งผู้ปกครอง  และผู้ถุกปกครอง
เพราะฉนั้นคำว่าระบอบการปกครอง  จึงไม่มีความหมายอย่างที่สุดสำหรับผม
ที่สำคัญคือ  คุณธรรมในการปกครองมากกว่า

ทำไมต้อง
ทุนนิยม
ประชาธิปไตย
คอมมิวนิสต์
กษัตริย์
เปิดประเทศ
เงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ
แทรกแซงตลาดเงิน ตลาดทุน

ไม่ได้ห้ามแต่อยากให้ใช้สมองคิดหน่อย
การคิดทำให้เราเข้าใจอะไรหลากหลายมากขึ้น

ทำไปทำมาตอนนี้  ผมเกลียดประชาธิปไตยอย่างที่บางกลุ่มแสดงออกเทิดทูนเหลือเกิน
มันเหมือนหมา  ไล่งับเงาที่ไม่มีวันจะสำเร็จ
เหมือนตะเข้ที่สะเออะไปหลงรสไวน์
เหมือนคนตาบอดที่เอาหนังสือมานั่งกางและส่งเสียงบ่นงึมงำ








หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: E_mail ที่ ตุลาคม 13, 2008, 02:33:41 PM
อ้อ...

ที่จริงมีอีกประเด็นครับ... เรื่องการเสียภาษี...

คือคนเงินเดือนตั้งแต่ 1 - 2 แสน ในประเทศไทยมีไม่น้อยนะครับ... เช่นหมอ, ทนายความ, สถาปนิก, เจ้าของกิจการขนาดเล็ก ฯลฯ...

ลองดูคนที่ผ่อนรถยนต์ราคาล้านกว่าๆ เช่น Honda Accord... ผ่อนเดือนละ 2 หมื่นกว่าบาท
พร้อมกับผ่อนบ้านเดี่ยว 100 ตรว. ราคา 10 ล้านกว่า... จะผ่อนเดือนละแสนนิดๆ...

คนกลุ่มนี้รายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 - 2 แสนครับ... เสียภาษีเดือนละ 3 - 4 หมื่นบาท ทุกเดือน...

ประเด็นที่อยากบอกคือคนกลุ่มนี้รู้สึกเจ็บปวดกับภาษีที่เสียไปทุกเดือนแล้วถูกนักการเมืองโกง...
ในขณะที่คนกลุ่มใหญ่ของประเทศไม่เคยเสียภาษี มีแต่รับอย่างเดียวจากรัฐบาล... จึงไม่เคยเจ็บปวดเมื่อมีใครโกงภาษี...

แล้วต่างก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน... โดยไม่มีใครทวงความยุติธรรมให้เมื่อเห็นคนโกงเงินภาษีเอาไปถลุงเล่นแจกแลกคะแนนเสียง...

คำถามคือหลักการประชาธิปไตยถูกหรือไม่ ว่าหนึ่งเสียงเท่ากัน...

หนึ่งคนเกิดมา... เริ่มจากจุดศูนย์เท่ากัน เรียนโรงเรียนวัดเหมือนคนอื่น สอบเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมเหมือนคนอื่น ขยันและสู้ชีวิตเรียนมหาลัยเปิดเหมือนคนอื่น... หมั่นศึกษาหาความรู้ไต่จนมีรายได้เดือนละแสนกว่า เสียภาษีแยะ...

คนอื่นก็ทำได้ ทำไมไม่ทำบ้าง... หวังแต่เศษเงินกระเด็นจากการคอรัปชั่น หวังแบมือขอของฟรีจากนักการเมือง...

ตรงนี้จะแก้อย่างไรเล่าครับ...

ผมไม่เห็นด้วยพี่สมชายเลยครับ    ยังไง คนจนรวยก็ ๑ เสียงเท่ากันครับ    

ผมว่าผิดประเด็น  ไม่เกียวกับกระทู้ที่เจ้าของกระทู้ตั้งเลยครับ

อย่าเอาเรื่องการเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทยเลยครับ

ทำไมครับ  ชาวนา  ชาวไร่  ไม่เสียภาษี แล้วไม่มีสิทธิ ไม่เสียงหรอครับ? ???

มีสองเรื่องครับ...

เรื่องแรก เรื่องผิดประเด็นกระทู้...
หากจะตั้งกระทู้ใหม่เป็นประเด็นที่นายสมชายตอบ นายสมชายก็จะคัดลอกเอาไปไว้ที่กระทู้ใหม่ครับ...

เรื่องที่สองเรื่อง คนไม่ได้เสียภาษีแล้วไม่มีสิทธิไม่มีเสียงหรือไม่...
เรื่องนี้เป็นคำถามที่ดีครับ... ลองดูข้อความของนายสมชาย Post เอาไว้นะครับ...
นายสมชายถามว่าถูกหรือไม่ ว่ามีหนึ่งเสียงเท่ากันครับ ถ้าเห็นว่าถูกต้องดีแล้ว ก็ลองดูเรื่องเกี่ยวข้องครับ...

เรื่องเกี่ยวข้องคือว่า จะทำอย่างไรให้คนกลุ่มที่ไม่เคยเสียภาษี เกิดสำนึกในการปกป้องเงินหลวงที่มาจากการเสียภาษีของผู้อื่นครับ...
ดังนั้นประเด็นไม่ใช่การเอาเรื่อง "การเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทย"...
แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า... ทำอย่างไรให้"คนไทยมีความเสียดายที่เงินภาษีในคลังหลวงไม่ถูกโกง"ครับ...

รากของเรื่องทั้งหมดเกิดจากมีคนโกงครับ... แล้วประเด็นเกิดเพราะคนที่เลือกนักการเมืองเข้ามาบอกว่า"ไม่เห็นโกงสักหน่อย"...
กับบอกว่า"ถึงโกงมั่งก็ไม่เป็นไร"เพราะประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ามาแล้ว... ประชาชนใหญ่สุด มีเสียงเลือกมากที่สุด...

ดังนั้น... แก้อย่างไรดีครับ...  



อยากให้ชาวเวบฯดูพี่วุฒิกับพี่สมชายไว้เป็นตัวอย่างครับ

ทั้ง2คน มีมุมมองต่างกัน

ชอบ-ชังคนละขั้วกันโดยสิ้นเชิง

แต่ทั้ง2คน"คุยกันด้วยเหตุด้วยผล" ถกมุมมองของกันและกัน

ไม่มีใครตั้งแง่ กวนตี*ใส่ใคร

ไม่ได้หลับหูหลับตาเอาเรื่องหยุมหยิมมาตะแบงให้อีกฝ่ายต้องผิดให้ได้

ไม่มีการประชดประชันอยู่ในอารมณ์ , ไม่มีการใส่อารมณ์

ทั้ง2ท่านคิดได้แบบนี้ ตั้งสติ-จำกัดอารมณ์ได้แบบนี้ ถึงจะมี"คุณสมบัติในการถกประเด็นการเมืองร่วมกันได้

ท่านที่ยังทำไม่ได้

หยุดพิมพ์ก่อนก็ดีครับ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: krajong ที่ ตุลาคม 13, 2008, 02:47:54 PM
อ้อ...

ที่จริงมีอีกประเด็นครับ... เรื่องการเสียภาษี...

คือคนเงินเดือนตั้งแต่ 1 - 2 แสน ในประเทศไทยมีไม่น้อยนะครับ... เช่นหมอ, ทนายความ, สถาปนิก, เจ้าของกิจการขนาดเล็ก ฯลฯ...

ลองดูคนที่ผ่อนรถยนต์ราคาล้านกว่าๆ เช่น Honda Accord... ผ่อนเดือนละ 2 หมื่นกว่าบาท
พร้อมกับผ่อนบ้านเดี่ยว 100 ตรว. ราคา 10 ล้านกว่า... จะผ่อนเดือนละแสนนิดๆ...

คนกลุ่มนี้รายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 - 2 แสนครับ... เสียภาษีเดือนละ 3 - 4 หมื่นบาท ทุกเดือน...

ประเด็นที่อยากบอกคือคนกลุ่มนี้รู้สึกเจ็บปวดกับภาษีที่เสียไปทุกเดือนแล้วถูกนักการเมืองโกง...
ในขณะที่คนกลุ่มใหญ่ของประเทศไม่เคยเสียภาษี มีแต่รับอย่างเดียวจากรัฐบาล... จึงไม่เคยเจ็บปวดเมื่อมีใครโกงภาษี...

แล้วต่างก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน... โดยไม่มีใครทวงความยุติธรรมให้เมื่อเห็นคนโกงเงินภาษีเอาไปถลุงเล่นแจกแลกคะแนนเสียง...

คำถามคือหลักการประชาธิปไตยถูกหรือไม่ ว่าหนึ่งเสียงเท่ากัน...

หนึ่งคนเกิดมา... เริ่มจากจุดศูนย์เท่ากัน เรียนโรงเรียนวัดเหมือนคนอื่น สอบเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมเหมือนคนอื่น ขยันและสู้ชีวิตเรียนมหาลัยเปิดเหมือนคนอื่น... หมั่นศึกษาหาความรู้ไต่จนมีรายได้เดือนละแสนกว่า เสียภาษีแยะ...

คนอื่นก็ทำได้ ทำไมไม่ทำบ้าง... หวังแต่เศษเงินกระเด็นจากการคอรัปชั่น หวังแบมือขอของฟรีจากนักการเมือง...

ตรงนี้จะแก้อย่างไรเล่าครับ...


ผมไม่เห็นด้วยพี่สมชายเลยครับ    ยังไง คนจนรวยก็ ๑ เสียงเท่ากันครับ   


ผมว่าผิดประเด็น  ไม่เกียวกับกระทู้ที่เจ้าของกระทู้ตั้งเลยครับ


อย่าเอาเรื่องการเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทยเลยครับ


ทำไมครับ  ชาวนา  ชาวไร่  ไม่เสียภาษี แล้วไม่มีสิทธิ ไม่เสียงหรอครับ? ???





ขอเสริมครับ
แล้วคนที่ถูกปิดหูปิดตาจากการเมืองและเรื่องความเป็นไปของบ้านเมือง ท่านจะนับเขาเป็น1เสียงด้วยหรือไงครับ

ที่บ้านผมยังไม่มีปัญญาชื่อ TV LCD ครับ แต่ผมดูดาวเทียมได้แล้วครับ
ถามว่า แล้วคนที่ไม่มีความคิดที่จะเปิดใจต่อสื่อต่างๆยังเชื่ออยู่กับ 3-5-7-9... ก็มีไม่น้อย อย่าลืมมองถึงเขาด้วยครับ หากเขามีเท่าเรารู้เท่าเรา เรื่องคนทรยศ ทรราช ไม่มีวันได้เกิดครับ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: birdwhistle...รักในหลวง ที่ ตุลาคม 13, 2008, 03:06:41 PM
ประชาธิปไตยของเราพิการก็เพราะคนไทยส่วนหนึ่งที่มากกว่าครึ่ง ไม่มีสำนึกและไม่เข้าใจหลักการใด ๆ ซึ่งจะเกิดจากมูลเหตุใดก็ตาม ทำให้เรามองเห็นเสมอว่า

"คุณภาพของ สส. จังหวัดไหน เขตไหน เป็นอย่างไร มันบ่งบอกถึงคุณภาพของคนในจังหวัดนั้น เขตนั้น"

ผมเห็นด้วยกับผู้การสุพินท์  คุณสมชาย คุณ Ro@d คุณทัดมาลา และอีกหลาย ๆ ท่านครับ

หลัง 14 ต.ค. 16 เป็นต้นมา ก็ดีใจเป็นประชาธิปไตย แต่สิ่งที่พบเห็นมาตลอดก็คือ คุณภาพของนักการเมืองที่ประชาชนเลือกมาปกครองพวกเรา

เราได้คนที่ผมเขียนไว้ในเครื่องหมายคำพูดเหล่านั้นเข้ามาปกครอง เข้ามาถอนทุน โดยที่หลายคนรวมทั้งตัวผมต้องจำยอมและกลั้นใจคิดว่า นี่แหละประชาธิปไตยที่สมบูรณ์  ไม่ว่าจะโกงเงินหลวงที่ได้จากภาษีโดยตรง หรือโกงโดยอ้อมด้วยการออกกฎหมายเอื้ออำนวยต่อพวกพ้องและญาติพี่น้อง เพื่อรับโปรเจ็คใหญ๋ ๆ ที่ทำทางเอาไว้

เคยหวังว่าระบบการศึกษาภาคบังคับ (ป.1-ป.6)จะปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตยแก่ประชาชนได้ ซึ่งความหวังก็พังทลายอีก

ครูในท้องถิ่นไม่กล้าสอนและปลูกฝังให้ลูกศิษย์กลับไปบอกพ่อแม่หรอกครับว่า อย่าเลือก...........ที่มันเอาเงินมาแจกมันเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย  เพราะผลที่ได้ นอกจากจะโดนผู้ปกครองด่ากลับมาว่าครูสอนให้เนรคุณเพราะผู้สมัครพวกนั้นมีบุญคุณและยังให้เงินใช้เวลาเลือกตั้ง ยังมีหวังโดนพายุใหญ่จากอิทธิพลท้องถิ่นอีกไม่โดนดองเค็มก็กลายเป้นตัวประหลาดในสังคม ไม่ต้องไปไกลครับ แค่จังหวัดติด กทม.นี่แหละห่างกทม.เพียง 40 กม.ก็เจอปัญหานี้แล้ว ที่อื่นไม่ต้องพูดถึง  

เด็ก ๆ เมื่อเห็นคนรุ่นก่อนทำอย่างไร เมื่อตนเองจบภาคบังคับแล้วอยู่ในสังคมนั้นต่อมาก็รับเอามรดกความคิดของคนรุ่นพ่อ-แม่ต่อมา  สำนึกประชาธิปไตยจึงไม่มีเพราะไม่เห้นประโยชน์ที่จะเกิดกับตนเอง

ปัญหานี้แก้อย่างไรครับ.......

หากคงวิธีเดิม ก็ได้นักการเมืองแบบเดิม ๆ เข้าสภา.........

 


  



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: นิ น น า ท ที่ ตุลาคม 13, 2008, 03:21:42 PM
...ขออนุญาตฝากความเห็นเป็นข้อคิดไว้ที่นี่สักนิดนะครับ


การเลือกตั้ง คือ "การให้ความไว้วางใจ"...

เปรียบแล้วก็เหมือนกับ....การแต่งงาน เห็นด้วยไหมครับ?


การแต่งงาน  ยังต้องตรองเสียยิ่งกว่า การเลือกตั้ง...ซะอีก

เมื่อเวลาผ่านไป  ...ความไว้วางใจ...  เปลี่ยนตาม

ไม่จำเป็นจะต้อง..ทนอยู่  จนตายจากกัน


...จะหย่ากัน...   ก็ไม่เห็นจะแปลก  ใช่ไหม?


ในสถานการณ์ที่ผ่านมา...เช่นนี้

เลิกพล่ามเสียที  ว่า... มาจาก"การเลือกตั้ง"

เพื่อจะทุเรศอยู่...  หน้าด้าน ให้ครบเทอม เชียวหรือ ??



...หนทาง มีให้เลือก ทั้งยุบสภา ทั้งลาออก




ซึ่งกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนของทุกชาติ...ในโลกนี้...

อยู่ที่ข้าราชการประจำ และภาคเอกชน ครับ

...ไม่ใช่นักการเมือง ที่ชอบอ้างความสำคัญของตนเอง

โดยเฉพาะ ...นักการเมือง ไร้สามัญสำนึก ไร้จริยธรรม...

หรือ รัฐบาล ที่สูญสิ้นความน่าเชื่อถือจากพฤติกรรมส่อเจตนา..

        ...ที่ก่อปัญหา...ขึ้นมาเอง  ...ล้วนๆ...

   


ลองตรึกตรอง และทบทวนดูเอง  ..เถิดครับ  เห็นด้วยกับผมไหม?


....    ....    ....


 และขอเพิ่มเติมอีกเรื่อง..คือสนับสนุนสร้างโอกาสที่คนไทยทุกคน...

 ...จำเป็นจะต้องได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อ..ครบรอบด้าน เสมอภาคกัน


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ ตุลาคม 13, 2008, 03:25:19 PM
คุณ <<Z80>>เข้าใจแนวคิดการเมืองไหม่ว่าอย่าง  ลองขยายความให้ฟังซิครับ
เอาแบบแสดงความรู้ และวิจารณญาณนะครับ  จะได้ไม่ขายหน้าใคร


คุณ <<Z80>> ยังไม่ตอบผมเลย
ยังคิดคำตอบไม่ออกหรือครับ ??



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 13, 2008, 03:30:15 PM
ผมเห็นด้วยกับ กับความเห็นนายสมชาย(ฮา) และเข้าใจถึงเจตนา ที่ต้องการชี้ให้เห็นปัญหา.เท่านั้น.. และนายสมชาย(ฮา) อยู่ในกรอบของการร่วมแชร์ความเห็น.

แต่ผมก็ยังเห็นว่า สิทธิทางการเมือง เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ที่จักต้องมีความเสมอภาค ๑ คน คือ ๑ เสียงสวรรค์ .   ที่ สุภาพบุรุษนักการเมือง พึงปฎิบัติต่อกัน โดยไม่ซื้อเสียไม่ใช้วิชามาร..  แม้จะเป็นเรื่องยาก. แต่ก็ใช่ว่า จะเป็นไปไม่ได้.

จะต้องแยก ออกมาจาก กลยุทธที่เลว ต่ำทรามของนักเลือกตั้ง. ที่ รธม. ๕๐  ที่มุ่งกำจัดที่ นักการเมืองเลว ไม่ใช่ปิดทางของพลเมือง ผู้ลงคะแนน.

จะต้องแยก นักการเมืองที่ขึ้นมายึดกุมอำนาจรัฐ..  จะต้องมีระบบตรวจสอบที่มีคุณภาพ
เข้าไปแทรกไม่ได้ และคนที่เกี่ยวข้องกับระบบนี้ หากกระทำผิดกฎหมาย จะต้องถูกลงโทษอย่างรวดเร็ว ให้เกิดความรังเกียจ ประเภท ถ้าทำเลว มันย่อมฉุดคนอื่นลงไปด้วย
สำนึกจะเกิด ระบบการตรวจสอบพวกกันขึ้นมาไม่ให้ถลำลึก ทั้งหมดนี้ รธม.๕๐ มีอยู่

ระบบจะต้องกำจัด นักการเมืองที่เลว ให้สิ้นการกระทำที่เลว ไม่ใช่เพียงให้มันเกิดการแก้ตัวได้
อีก .. จะต้่องใช้ไม้แข็ง ต้องยุบพรรค .. และให้เกิดระบบควบคุมกันเองในพรรคการเมืองขึ้น
ไม่ใช่้ให้มันมาเกี่ยง ลงโทษเฉพาะคนที่เลว เท่านั้น. ถ้าคนที่เลวเป็นกรรมการพรรค
จะต้องล้มพรรคมันเสีย ไม่แยกว่าจะเคยเป็นพรรคเทพ มาก่อนหรือไม่  
ตรงนี้ คือความเสมอภาค เมื่อกระทำความเลว

มันต้องยอมเจ็บปวด รวดร้าว กันบ้าง ลดความเห็นแก่ตัวทำเพื่อตนเพื่อพวกพ้อง เพื่อโคตรของบิดา มันลงไปบ้าง

คนการเมือง มอง นักการเมืิอง คือผู้ที่ต้องมีคุณธรรม เป็นผู้รับอาสา จะต้องมีความมเสียสละ
ให้มากกว่าชา่วบ้านเขา .. เสนอตัวมาเป็นผู้รับใช้ จะต้องเกิดสำนึกให้สอดคล้องด้วย

ไม่ใช่ให้มาเป็นนายประชาชน อย่างที่ นักการเมืองเลว มันกระทำอยู่นี้.

ดีสนับสนุน. เลว ต้องกล้าคัดค้าน . ไปจนถึงโค่นมันลงจากอำนาจ เพราะขืนปล่อยไว้
มันย่อม ก่อความเีสียหายให้กับบ้านเมือง กระทบไปทั้งประเทศ ให้กับคนที่เลือก
และไม่ได้เลือก..  

จุดนี้ คือระบบจะส่วงเสริมให้ นักการเมือง จะยิ่งแข่งกันอาสาทำดีให้กับชาติบ้านเมือง
เป็นด้านหลักขึ้นมา ที่จักข่มให้นักการเมืองที่ยังคิดเลว หาเวที สำหรับพวกมันยากยิ่ง  ::002::






หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: meethai ที่ ตุลาคม 13, 2008, 04:26:35 PM
ขอเรียนถามครับ คนที่เขาได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนี่ เขาควรจะมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือเปล่าครับ ความจริงผมเห็นว่าถ้าให้คนจนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง พวกนักการเมืองคงจะชอบมากเลยครับ เพราะมีโอกาสซื้อเสียงได้มากขึ้น ต้องขออภัยนะครับถ้าความเห็นไม่เข้าท่า


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: E_mail ที่ ตุลาคม 13, 2008, 04:42:10 PM
ขอเรียนถามครับ คนที่เขาได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนี่ เขาควรจะมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือเปล่าครับ ความจริงผมเห็นว่าถ้าให้คนจนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง พวกนักการเมืองคงจะชอบมากเลยครับ เพราะมีโอกาสซื้อเสียงได้มากขึ้น ต้องขออภัยนะครับถ้าความเห็นไม่เข้าท่า

ผมเห็นว่า"ควร"ครับ ควรมีสิทธิ/ไม่มีสิทธิประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าคนๆนั้นมีเงิน มีรายได้มากพอที่จะต้องเสียภาษีหรือไม่

ควรมองประเด็นไปที่ ทำอย่างไรให้"ทุกคน"ที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีจิตสำนึกที่จะเลือกอย่างมีความรู้ รู้จักแยกแยะ รู้จักใช้เสียงของตัวเองให้เป็นเสียงที่บริสุทธิ์

เหตุที่ทำให้เกิดการตั้งแง่เรื่องนี้ขึ้นมา เพราะเห็นกันมาครั้งแล้วครั้งเล่าแล้วว่า คนที่อ้างว่าจน หรือผู้ที่ได้รับผลรับจากนักการเมืองเป็นจำนวนมาก ไปลงคะแนนโดยไม่ได้ใช้"สำนึก"หากไปเพื่อเศษเงิน , เพื่อตอบแทนกองทุนกู้ยืม.....กู้มาซื้อทีวี กู้มาดองไว้ซื้อเหล้าขาว กู้มาจ่ายค่าทองผ่อน , เพื่อตอบแทนบุญคุณที่ผู้สมัครเคยมาล้มควายแจกในงานแต่ง

คนพวกนี้จะถือว่ามีจิตสำนึกก็พอนับได้เหมือนกัน แต่เป็นสำนึกแบบขี้ข้า  ::009::

แต่ยังยืนยัน ว่าเค้าต้องมีสิทธิครับ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: C.J. - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 13, 2008, 04:52:25 PM


ปัญหา อีก ด้าน คือ ตัวผู้ถูกเลือก... พวกนี้มักเป็น ผู้มีอิทธิพลในท้องที่นั้นๆ... คนเหล่านี้มักจะเลว เป็นสันดาน...

รธน. ปี 50 คือ ยาแรง... แต่ก็ยังไม่สามารถ ป้องกันคนเหล่านี้เข้ามาได้...

การป้องกันพวกนี้เขามา ผมอยากเห็นใน " การเมืองใหม่''


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ที่ ตุลาคม 13, 2008, 05:59:38 PM
คิดเล่นๆครับ ทำการเลือกตั้งเป็นข้อสอบอัตนัย....


ท่านต้องการเลือกใครเป็นผู้แทนฯในเขตของท่าน

และเพราะอะไร

ให้แสดงเหตุผลประกอบ........

เอาเหตุผลมาทำคำตอบรวม จะได้รู้กันว่า ทุกวันนี้ที่เลือกตั้ง ท่านเลือกเพราะอะไร



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: <<Z80>> ที่ ตุลาคม 13, 2008, 06:02:36 PM
คุณ <<Z80>>เข้าใจแนวคิดการเมืองไหม่ว่าอย่าง  ลองขยายความให้ฟังซิครับ
เอาแบบแสดงความรู้ และวิจารณญาณนะครับ  จะได้ไม่ขายหน้าใคร


คุณ <<Z80>> ยังไม่ตอบผมเลย
ยังคิดคำตอบไม่ออกหรือครับ ??



อยากทราบจริงๆหรือครับ อย่าเลยคุณรู้มากแล้ว  ยังไงๆมันก็ไม่ตรงใจคุณหรอก


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ ตุลาคม 13, 2008, 06:06:10 PM
คุณ <<Z80>>เข้าใจแนวคิดการเมืองไหม่ว่าอย่าง  ลองขยายความให้ฟังซิครับ
เอาแบบแสดงความรู้ และวิจารณญาณนะครับ  จะได้ไม่ขายหน้าใคร


คุณ <<Z80>> ยังไม่ตอบผมเลย
ยังคิดคำตอบไม่ออกหรือครับ ??



อยากทราบจริงๆหรือครับ อย่าเลยคุณรู้มากแล้ว  ยังไงๆมันก็ไม่ตรงใจคุณหรอก

 :) ไม่ตรงใจไม่เป็นไรครับ ตอบมาเถอะ ผมเองก็อยากรู้เหมือนกัน


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ที่ ตุลาคม 13, 2008, 06:08:36 PM
คุณ <<Z80>>เข้าใจแนวคิดการเมืองไหม่ว่าอย่าง  ลองขยายความให้ฟังซิครับ
เอาแบบแสดงความรู้ และวิจารณญาณนะครับ  จะได้ไม่ขายหน้าใคร


คุณ <<Z80>> ยังไม่ตอบผมเลย
ยังคิดคำตอบไม่ออกหรือครับ ??



อยากทราบจริงๆหรือครับ อย่าเลยคุณรู้มากแล้ว  ยังไงๆมันก็ไม่ตรงใจคุณหรอก

 :) ไม่ตรงใจไม่เป็นไรครับ ตอบมาเถอะ ผมเองก็อยากรู้เหมือนกัน

พนัน 100 เอา 1ไม่ตอบ

เพราะไม่เคยมีคำตอบ แค่มาแหย่เล่นๆ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ ตุลาคม 13, 2008, 06:29:16 PM
คุณ <<Z80>>เข้าใจแนวคิดการเมืองไหม่ว่าอย่าง  ลองขยายความให้ฟังซิครับ
เอาแบบแสดงความรู้ และวิจารณญาณนะครับ  จะได้ไม่ขายหน้าใคร


คุณ <<Z80>> ยังไม่ตอบผมเลย
ยังคิดคำตอบไม่ออกหรือครับ ??



อยากทราบจริงๆหรือครับ อย่าเลยคุณรู้มากแล้ว  ยังไงๆมันก็ไม่ตรงใจคุณหรอก

 :) ไม่ตรงใจไม่เป็นไรครับ ตอบมาเถอะ ผมเองก็อยากรู้เหมือนกัน

พนัน 100 เอา 1ไม่ตอบ

เพราะไม่เคยมีคำตอบ แค่มาแหย่เล่นๆ

 :D จะมีคนรองมั๊ยเนี๊ยะ....

 :) เอาแบบยกทีมเลยก็ได้ พลพรรครักรัฐบาลมาช่วยกันตอบก็ได้ อย่ามาทำให้อยากแล้วจากไป....
 


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: E_mail ที่ ตุลาคม 13, 2008, 07:38:44 PM
ไม่กล้ารองอ่ะ บาทเดียวก็ตังค์  ::009::



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 13, 2008, 07:58:48 PM

คนการเมืองในเวปนี้. อยู่ในสายตาผม ตลอด .. ตั้งแต่มีความเห็นในเรื่องของบ้านเมือง
แต่เริ่มแรก

ความเห็นที่ีจำแนกชัดเจน ถึง ผิด-ถูก ดี-ชั่ว.. เคารพในความเป็นจริง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ไม่คิดแทนคนอื่นเขา. จะเหมือนเป็น Packet ที่ครบเครื่อง.
 
คนการเมืองที่มีมุมมองอย่างนี้ จะยึดถือผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง และสถาบันฯเป็นที่ตั้ง ในสายตาผม คือ ฝ่ายธรรมะ

ผมมองเห็นถึง คุณภาพที่มีพัฒนาอย่างสูง จากจุดที่เคยแลกเปลี่ยน.. ที่สามารถจับประเด็นได้ไว และ วิเคราะห์ได้ด้วยตัวตนของแต่ละท่าน. ที่ไม่มีทางที่ใครจะมาหลอกกินตับ ได้ .. 

หลายความเห็น ที่หลุดเข้ามาใหม่ โดยไม่รู้จักตัวตนของคอการเมืองในเวปนี้ และไม่รู้จักประเมินตน จึงมักจะพบกับสิ่งที่ เกินกว่าเขาจะคาดคิดไปถึง ..
ในทางความคิดเห็นอาจถือว่ามีความ ก้าวหน้ากว่าฝ่ายที่มาปะทะ ด้วย  มากมายนักครับ . ::002::





หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: foxbat.....รักในหลวง ที่ ตุลาคม 13, 2008, 08:22:37 PM
คุณ <<Z80>>เข้าใจแนวคิดการเมืองไหม่ว่าอย่าง  ลองขยายความให้ฟังซิครับ
เอาแบบแสดงความรู้ และวิจารณญาณนะครับ  จะได้ไม่ขายหน้าใคร


คุณ <<Z80>> ยังไม่ตอบผมเลย
ยังคิดคำตอบไม่ออกหรือครับ ??



อยากทราบจริงๆหรือครับ อย่าเลยคุณรู้มากแล้ว  ยังไงๆมันก็ไม่ตรงใจคุณหรอก

 :) ไม่ตรงใจไม่เป็นไรครับ ตอบมาเถอะ ผมเองก็อยากรู้เหมือนกัน

พนัน 100 เอา 1ไม่ตอบ

เพราะไม่เคยมีคำตอบ แค่มาแหย่เล่นๆ
                                                                                                                                                                           ท้าแบบนี้มาล้วงตังค์ในกระเป๋าไปเลยง่ายกว่า   ก็เล่นรู้ผลก่อนแข่งนี่


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 13, 2008, 09:42:02 PM
คุณ <<Z80>>เข้าใจแนวคิดการเมืองไหม่ว่าอย่าง  ลองขยายความให้ฟังซิครับ
เอาแบบแสดงความรู้ และวิจารณญาณนะครับ  จะได้ไม่ขายหน้าใคร


คุณ <<Z80>> ยังไม่ตอบผมเลย
ยังคิดคำตอบไม่ออกหรือครับ ??



อยากทราบจริงๆหรือครับ อย่าเลยคุณรู้มากแล้ว  ยังไงๆมันก็ไม่ตรงใจคุณหรอก

 :) ไม่ตรงใจไม่เป็นไรครับ ตอบมาเถอะ ผมเองก็อยากรู้เหมือนกัน

พนัน 100 เอา 1ไม่ตอบ

เพราะไม่เคยมีคำตอบ แค่มาแหย่เล่นๆ

...แล้วก็ไม่รู้จะตอบอะไรด้วยครับ แค่มาซ้ายก็เบี่ยงขวา ไปหน้าก็ดึงหลัง เลยต้องรอคนอื่นอภิปรายบรรยายความก่อนอย่างเดียว เวลาไม่มีใครบรรยายอะไรก็ตั้งความสั้นเลอะเทอะ ไว้ล่อเป้า


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 13, 2008, 09:51:58 PM
ความเห็นของผมตามกระทู้ครับ

รากฐานของประชาธิปไตยคือ "กระบวนการ มาตรการทั้งหลายทั้งปวงเพื่อระบอบที่ป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมต่อประชาชน"

เพราะประชาธิปไตยคือ "ระบอบที่ใช้อำนาจอย่างเป็นธรรมเพื่อประชาชน"


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ๏แก้วเดียวจุก๏รักในหลวง ที่ ตุลาคม 13, 2008, 10:19:07 PM
คุณ <<Z80>>เข้าใจแนวคิดการเมืองไหม่ว่าอย่าง  ลองขยายความให้ฟังซิครับ
เอาแบบแสดงความรู้ และวิจารณญาณนะครับ  จะได้ไม่ขายหน้าใคร


คุณ <<Z80>> ยังไม่ตอบผมเลย
ยังคิดคำตอบไม่ออกหรือครับ ??



อยากทราบจริงๆหรือครับ อย่าเลยคุณรู้มากแล้ว  ยังไงๆมันก็ไม่ตรงใจคุณหรอก

กร๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ นี่ไง ถามโว๊ยตอบ.....   วา
ถาม ......... หมา ........ตอบแมว.........
    กริ๊กๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ นี่แหละ กินแต่หญ้าแห้ง.......... ใส่แว่นไม่มียี่ห้อ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: BIGFISH ที่ ตุลาคม 13, 2008, 10:44:24 PM
ขอแสดงความเลื่อมใสในทรรศนะของคุณ Road คุณ Wilhelm

อยากให้มองที่หลักการที่ยกมามีข้อใด ว่าแต่ละท่านมีความเห็นอย่างไร มากกว่าว่าบทความมาจากนักวิชาการเต็มตัวหรือไม่

ลองตอบคำถามว่าหลักการข้อใดที่ท่านไม่เห็นด้วย ให้เพื่อนสมาชิกฟัง ผมเชื่อว่าบรรยากาศในเวปนี้ เวทีนี้เรายังรับฟังกันความเห็นที่แตกต่างกันได้ด้วยความเคารพและนับถือกัน

จากหลักการมาสู่จิตสำนึกที่ถูกต้อง แต่ถ้าจิตสำนึกไม่ถูกต้อง เราจะวางรูปแบบสร้างจิตสำนึกอย่างไร

ผมว่ารูปแบบนั้นสำคัญ เป็นเรื่องเดียวกับความเห็นท่าน Wilhelm ว่ารากฐานของประชาธิปไตยคือ "กระบวนการ มาตรการทั้งหลายทั้งปวงเพื่อระบอบที่ป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมต่อประชาชน
ตอบคำถามแรก คุณสมชาย ฮานะครับ
วันนี้ ถ้าเราจะร่วมกันแก้ไข ร่วมกันพัฒนา ไม่ง่าย คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกคนพร้อมสำหรับประชาธิปไตยแล้ว  ประเด็นคือ ผมไม่เห็นด้วยกับรูปแบบที่แย้งกับหลักการครับ



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ ตุลาคม 14, 2008, 01:59:48 AM
ปัญหาแบบนี้เป็นวัวพันหลัก

กติกา    ผู้ถูกเลือก     คนเลือก   แก้เท่าไรไม่รู้จบ

พรรคการเมืองที่มีอยู่     ส่งตัวแทนแต่ละบุคคล   เหอะ ๆๆ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ROJ.KT ที่ ตุลาคม 14, 2008, 02:07:56 AM
                คนไทยต้องช่วยกันครับ ไทยไม่ช่วยไทย แล้วจะ ร้องเพลงชาติไทยไห้ไครฟัง ครับ
เกิดเป็นคนไทยต้องรักกันไว้ครับ ย้อนไปดูอดีตของไทยซิครับ แล้วจะรู้

 ผมเป็นคนหนึ่งครับ ที่รัก พระนเรศวร,พระเจ้าตากสิน,กรมหลวงชุมพร ครับ ท่านรักแผ่นดินไทย มาก มาก ครับ ........


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 14, 2008, 03:02:47 AM
ขอแสดงความเลื่อมใสในทรรศนะของคุณ Road คุณ Wilhelm

อยากให้มองที่หลักการที่ยกมามีข้อใด ว่าแต่ละท่านมีความเห็นอย่างไร มากกว่าว่าบทความมาจากนักวิชาการเต็มตัวหรือไม่

ลองตอบคำถามว่าหลักการข้อใดที่ท่านไม่เห็นด้วย ให้เพื่อนสมาชิกฟัง ผมเชื่อว่าบรรยากาศในเวปนี้ เวทีนี้เรายังรับฟังกันความเห็นที่แตกต่างกันได้ด้วยความเคารพและนับถือกัน

จากหลักการมาสู่จิตสำนึกที่ถูกต้อง แต่ถ้าจิตสำนึกไม่ถูกต้อง เราจะวางรูปแบบสร้างจิตสำนึกอย่างไร

ผมว่ารูปแบบนั้นสำคัญ เป็นเรื่องเดียวกับความเห็นท่าน Wilhelm ว่ารากฐานของประชาธิปไตยคือ "กระบวนการ มาตรการทั้งหลายทั้งปวงเพื่อระบอบที่ป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมต่อประชาชน
ตอบคำถามแรก คุณสมชาย ฮานะครับ
วันนี้ ถ้าเราจะร่วมกันแก้ไข ร่วมกันพัฒนา ไม่ง่าย คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกคนพร้อมสำหรับประชาธิปไตยแล้ว  ประเด็นคือ ผมไม่เห็นด้วยกับรูปแบบที่แย้งกับหลักการครับ



ขอบคุณครับ คุณ BIGFISH .

และจะต้องขอทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า การให้ความเห็นนี้ เป็นมุมมองส่วนตัวของแต่ละท่าน
ไม่ใช่การไปหยิบ ความคิดของคนอื่น มาแอบอ้างเป็นของตนเอง.
หากข้อความใดหยิบมา คอการเมืองในเวปนี้ จะบอกว่าหยิบมาจากที่ใด
ท่านควร ได้เข้าใจในจุดนี้ไว้ ก่อน.

บรรดาความเห็นของ คอการเมืองในแต่ละท่าน . ท่านจะไม่มีสิทธิไปก้าวล่วง ไปชี้ว่า
ทำได้หรือไม่ เพื่อไปลดเครดิต ของผู้ร่วมแชร์กระทู้. ท่านควรใช้ท่าทีรับฟัง ความเห็นที่หลากหลายนี้ไว้ . เว้นแต่ว่า มีการถาม - ตอบ เพื่อขอความเห็น เพิ่ม เติม.

หลักการ ตามมุมมองของผมชัดเจน ในแบบของผม
สำหรับ สส.
ไม่มองไปที่ ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ถือว่าที่เป็นอยู่  ๑ คน ๑ เสียง นั้นคือความเสมอภาค ที่เป็นสากล    แต่เลือกมอง และเลือกจัดการกับผู้เสนอตัว เป็นผู้เลือกตั้ง จะต้อง การควบคุม มีระบบ การจัดการกับ นักการเมืองที่เลว แบบไม้แข็ง อย่างรุนแรง อย่างรวดเร็วทันที

ผมมีความเห็นเป็นหลักการ ส่วนวิธีการ นั้น ไม่สำคัญสำหรับผม ถ้ามีหลักการที่คิดว่าเหมาะสม
วิธีการ นั้นเป็นส่วนปลีกย่อย จะถูกกำหนดตามมาได้เอง.

จากหลักการมาสู่จิตสำนึกที่ถูกต้อง แต่ถ้าจิตสำนึกไม่ถูกต้อง เราจะวางรูปแบบสร้างจิตสำนึกอย่างไร


ผมเป็นคนเดือนตุลา เป็นคนคอการเมือง ในสมัยผมจะใช้หลักการ วิพากษ์วิธี ในการมองปัญหา ที่จะนำมามองและวิเคราะห์ ทางการเมือง  แต่จะมีหลักอยู่อย่างไร คงต้องไปค้นคว้าเอาเอง ..

ผมใช้หลักวิพากษ์วิธีมามอง ทุกเรื่องราว และทุกปัญหาที่เกิด

ต่อคำของ คุณ BIGFISH ที่ยกมา..
คำนี้ ถ้ามองอย่างเข้าใจ  ท่านเพียง สร้างหลักการที่ถูกต้องขึ้นมาก่อน. แล้วจะเกิดครรลอง คือจิตสำนึกที่ดีเป็นด้านหลัก ตามมาได้เอง  แต่ขณะเดียวกัน ก็จะมีความคิดที่เลว ตามติดมาด้วย แต่จะมีจำนวนที่ด้อยกว่า ไม่ใช่ด้านหลักของสังคม.

เมื่อหลักการดี จะสร้างจิตสำนึกที่ดีขึ้นมาเป็นด้านหลัก และขณะเดียวกัน
เมื่อมีจิตสำนักดี ก็จะสร้างหลักการที่ดีขึ้นมาเป็นด้านหลักด้วย เป็นการสวนทาง ส่งเสริมกัน

แต่ขณะเดียวกัน หลักการที่เลว ก็จะสร้างจิตสำนึกที่เลว ขึ้นมาเช่นเดียวกัน

แต่เมื่ออยู่ในสังคมที่ดี  ความดีจะเป็นด้านหลัก. ในขณะเดียวกันความเลว ก็ยังมีอยู่ แต่จะมีจำนวนที่น้อย กว่า จึงเรียกว่าเป็นด้านรอง ทั้งสังคมจึงเป็นสังคมที่ดีงาม

ปัจจุบันในสังคม ของเรา มี รธม.๕๐ ถือว่ามีหลักการที่ดี ที่ต่อยอดจาก รธม.๔๐ แต่ตึงมากพอสมควร  และยังมาอยู่ในบรรยากาศ  อำนาจของความไม่ดี นั้นมีอิทธิพลอยู่เป็นหลัก ในสังคม ที่มีความขัดแย้งกันอยู่

เมื่อ นักการเมืองที่เลว เป็นหลักในสถาบันของเขา  สิ่งที่เขาต้องกระทำ คือสร้างหลักการที่รับใช้เขา ที่เหมาะกับพวกเขา ขึ้นมา คือการพยายาม เข้าไปแก้ไขหลักการที่ขัด และทำลายพวกเขานี่คือครรลอง ที่จะต้องเกิดมีขึ้น ถ้าไม่ถูกคนในสังคมที่เป็นการเมืองสายตรง  ที่อยู่นอกสถาบันของเขา ออกมาคัดค้าน

เมื่อหลักการดี แต่ขัดกับจิตสำนึกที่เลว  .. จำเป็นจะต้องยึดถือหลักการ ไว้เป็นหลัก ถ้าคนคิดจะอยู่กันอย่างสงบสุข จะต้องยึดถือหลักการที่ดี เป็นที่ตั้ง  เพราะหลักการที่ดี นั้นยึดถือผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมเป็นหลัก..  ไม่ใช่หลักกู  ที่ยึดพวกกู ของกู เป็นหลัก (กู ในการเลือกใช้ไม่นี้ใช่คำหยาบ เพราะไม่ได้ใช้ ว่ากล่าว กับคู่กรณี)

ผมขอมีความเห็นเพียงนี้ .ไม่ได้บอกให้ต้องมาเชื่อ นะครับ ..  ให้ถือว่าเป็นการร่วมแชร์ความเห็นหนึ่ง  เท่านั้น..  :)



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 14, 2008, 03:07:39 AM
นายสมชายถามว่า...

สรุปว่าอย่างไรหรือครับ... แล้วประเด็นว่าอะไรครับ...

จขกท. ตอบว่า...

ตอบคำถามแรก คุณสมชาย ฮานะครับ
วันนี้ ถ้าเราจะร่วมกันแก้ไข ร่วมกันพัฒนา ไม่ง่าย คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกคนพร้อมสำหรับประชาธิปไตยแล้ว  ประเด็นคือ ผมไม่เห็นด้วยกับรูปแบบที่แย้งกับหลักการครับ

ก็เลยอยากให้ขยายความต่อครับ... เพราะที่ตอบมาเหมือนกับทิ้งประเด็นเอาไว้ให้ตีความอีกครับ...

"ร่วมกันแก้ไข ร่วมกันพัฒนา ไม่ง่าย "... แก้ไขอย่างไรหรือครับ, ร่วมกันพัฒนาอย่างไรครับ, ทำไมไม่ง่ายครับ...

"คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกคนพร้อมสำหรับประชาธิปไตยแล้ว"... มีตัวชี้วัดอย่างไรที่ปฏิเสธไม่ได้ ว่าพร้อมแล้วครับ...

"ประเด็นคือ ผมไม่เห็นด้วยกับรูปแบบที่แย้งกับหลักการ"... หลักการใดหรือครับ เพราะทั้งบทความมีหลายหลักการ รบกวนขมวดปมหน่อยครับ...



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 14, 2008, 03:22:01 AM
ขอแสดงความเลื่อมใสในทรรศนะของคุณ Road คุณ Wilhelm

อยากให้มองที่หลักการที่ยกมามีข้อใด ว่าแต่ละท่านมีความเห็นอย่างไร มากกว่าว่าบทความมาจากนักวิชาการเต็มตัวหรือไม่

ลองตอบคำถามว่าหลักการข้อใดที่ท่านไม่เห็นด้วย ให้เพื่อนสมาชิกฟัง ผมเชื่อว่าบรรยากาศในเวปนี้ เวทีนี้เรายังรับฟังกันความเห็นที่แตกต่างกันได้ด้วยความเคารพและนับถือกัน

จากหลักการมาสู่จิตสำนึกที่ถูกต้อง แต่ถ้าจิตสำนึกไม่ถูกต้อง เราจะวางรูปแบบสร้างจิตสำนึกอย่างไร

ผมว่ารูปแบบนั้นสำคัญ เป็นเรื่องเดียวกับความเห็นท่าน Wilhelm ว่ารากฐานของประชาธิปไตยคือ "กระบวนการ มาตรการทั้งหลายทั้งปวงเพื่อระบอบที่ป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมต่อประชาชน
ตอบคำถามแรก คุณสมชาย ฮานะครับ
วันนี้ ถ้าเราจะร่วมกันแก้ไข ร่วมกันพัฒนา ไม่ง่าย คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกคนพร้อมสำหรับประชาธิปไตยแล้ว  ประเด็นคือ ผมไม่เห็นด้วยกับรูปแบบที่แย้งกับหลักการครับ



มีอีกครับ ตรงตัวสีแดงนะครับ... มีความเห็น"มากกว่า"นักวิชาการเต็มตัว...

ขยายความหน่อยครับ... ทำไมมากกว่า ทำไมน้อยกว่า...
มากกว่าหมายถึงเสรีมากกว่า ในแง่ให้สิทธิแก่ประชาชนมากกว่า... หรือมากกว่าในแง่ของการให้ความเห็นแยะๆครับ...

มีอีกครับ... "จากหลักการมาสู่จิตสำนึก"... มันเป็นอย่างไรหรือครับ ไม่ทราบจริงๆ...
จะหมายถึงกระบวนการ Imprint พฤติกรรมลงใน Subconscious อย่างนั้นหรือเปล่าครับ...
ถ้าอย่างนั้น... กำลังพูดถึงวัฒนธรรมทางการเมือง ที่ inculcate มาจากปทัสถาน, ค่านิยม, และความเชื่อหรือครับ...

อ่านแล้วงงจริงครับ... ไม่ได้ล้อเล่น เพราะภาษาไทยลึกซึ้งจริงๆ...
หรือหาก จขกท. ถนัดภาษาอังกฤษก็ไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทยให้ความหมายเข้าใจยากครับ... สามารถเขียนมาเป็นภาษาอังกฤษก็ไหว...

นายสมชายจะพยายามเปิดดิกฯ ทำความเข้าใจครับ... แฮ่ๆ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ...อภิสิทธิ์ ... ที่ ตุลาคม 14, 2008, 10:15:19 AM


ปัญหา อีก ด้าน คือ ตัวผู้ถูกเลือก... พวกนี้มักเป็น ผู้มีอิทธิพลในท้องที่นั้นๆ... คนเหล่านี้มักจะเลว เป็นสันดาน...

รธน. ปี 50 คือ ยาแรง... แต่ก็ยังไม่สามารถ ป้องกันคนเหล่านี้เข้ามาได้...

การป้องกันพวกนี้เขามา ผมอยากเห็นใน " การเมืองใหม่''

 ::002:: ::002::การเมืองใหม่นั้นเกินไฝ่ฝัน ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50   ก็พอใจครับ  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50  ขออย่าแก้รัฐธรรมนูญ50 


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: BIGFISH ที่ ตุลาคม 14, 2008, 02:52:11 PM
ขอยอมรับผิด

ต้องการสื่อความเห็นว่า ไม่ทุกคนที่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย

คำถามอื่น ต้องเข้าใจได้เองครับ โดยเฉพาะถ้าพยายาม





หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ...อภิสิทธิ์ ... ที่ ตุลาคม 14, 2008, 06:08:37 PM


ต้องการสื่อความเห็นว่า ไม่ทุกคนที่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย







l ::002:: ::002:: ::002:: ::002::เดี๋ยวผมจะทยอยบวกแต้มให้สี่แต้มเลย


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 14, 2008, 06:42:46 PM
ขอยอมรับผิด

ต้องการสื่อความเห็นว่า ไม่ทุกคนที่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย

คำถามอื่น ต้องเข้าใจได้เองครับ โดยเฉพาะถ้าพยายาม

ไม่เห็นผิดตรงไหนเลยครับ...
ที่จริงแล้วคิดเหมือนกันแหละครับ... ว่า"ไม่ทุกคนที่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย"

"คำถามอื่น ต้องเข้าใจได้เองครับ โดยเฉพาะถ้าพยายาม"...
นายสมชายเข้าใจครับ... เพียงแต่ครั้งแรกนึกว่าเข้าใจไม่ตรงกัน...

เย้...


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ตุลาคม 15, 2008, 03:08:18 PM
ขอแสดงความเลื่อมใสในทรรศนะของคุณ Road คุณ Wilhelm

อยากให้มองที่หลักการที่ยกมามีข้อใด ว่าแต่ละท่านมีความเห็นอย่างไร มากกว่าว่าบทความมาจากนักวิชาการเต็มตัวหรือไม่

ลองตอบคำถามว่าหลักการข้อใดที่ท่านไม่เห็นด้วย ให้เพื่อนสมาชิกฟัง ผมเชื่อว่าบรรยากาศในเวปนี้ เวทีนี้เรายังรับฟังกันความเห็นที่แตกต่างกันได้ด้วยความเคารพและนับถือกัน

จากหลักการมาสู่จิตสำนึกที่ถูกต้อง แต่ถ้าจิตสำนึกไม่ถูกต้อง เราจะวางรูปแบบสร้างจิตสำนึกอย่างไร

ผมว่ารูปแบบนั้นสำคัญ เป็นเรื่องเดียวกับความเห็นท่าน Wilhelm ว่ารากฐานของประชาธิปไตยคือ "กระบวนการ มาตรการทั้งหลายทั้งปวงเพื่อระบอบที่ป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมต่อประชาชน
ตอบคำถามแรก คุณสมชาย ฮานะครับ
วันนี้ ถ้าเราจะร่วมกันแก้ไข ร่วมกันพัฒนา ไม่ง่าย คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกคนพร้อมสำหรับประชาธิปไตยแล้ว  ประเด็นคือ ผมไม่เห็นด้วยกับรูปแบบที่แย้งกับหลักการครับ



ชอบคุณครับ

เรื่องเลือกตั้ง ผมว่ายังไงก้ต้องเลือกกันอยู่ครับ ทั้งที่ไม่สมบูรณ์นี่แหละ จะเปลี่ยนอะไรต้องคิดถึงจุดอ่อน และผลในทางปฏิบัติไว้ก่อนโดยเอาผู้คนเดิมๆ มาเป็นปัจจับคำนวน เพราะ ตอนนี้ "เราเปลี่ยนคนไม่ค่อยได้ เปลี่ยนได้แค่มาตรการที่จะตีกรอบพฤติกรรมของคนเดิมๆ" ความเห็นของผมตอนนี้ คือ

1.
ในสถานการณ์ที่โกงแม้แต่เลือกตั้ง หรือสังคมเลือกโดยยังเข้สใจบทบาทไม่ถูกต้อง เช่น เลือกฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ใช่เลือกคนที่ไปขนเงินเข้าพื้นที่  หากใช้ "วิธีอื่น" หรือมาตรฐานอื่นนอกจาก 1 หัว 1 เสียง ก็จะมีจุดอ่อนไม่แพ้กัน หรือมากกว่า เพราะวิธีอื่นนั้นก้จะไปอิงเกณฑ์อำนาจอื่นไม่ว่าทางใดทางหนึ่งเช่น รายได้ มาตรการตรวจสอบอื่น ซึ่งผู้มีอิทธิพลก็จะจัดการให้คนของคนมีสิทธิจนได้

สมัยก่อนฝรั่งก็ใช้เกณฑ์ทำนองนี้ เช่น ให้ขุนนางมี เครดิต มากกว่าคนติดที่ดิน ในศาลก็มีเสียงในการสาบานมากกว่า หรือไม่ก็คนมีทรัพย์สินเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งระบบเหล่านี้ไม่ใช่ขั้นแรกที่พัฒนามาเป็นระบบปัจจุบันที่เขาใช้ได้ผล แต่ระบบเหล่านี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในสังคมฝรั่งจนบางสังคมบังเกิดสังคมนิยมรวบอำนาจเข้าสู่กลุ่มเล็กกว่าเดิมโดยหลอกว่าทำเพื่อประชาชน

ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือสร้างระบบการตรวจสอบให้เข้มแข็งจริงๆ เช่น ใบเหลือง ใบแดง เพิ่มเติมบทลงโทษสำหรับคนหน้าด้าน เช่น รมต. ที่ขาดคุณสมบัติไป แต่พอออกไปแล้วก็กลับมาใหม่ได้ทันที ควรตัดสิทธิ 2-3 ปี และมีบทลงโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำผิด รธน. ด้วยครับ

2.
กำหนดให้รัฐต้องชี้แจงการทำงาน "โดยยึดประเด็นเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ" รัฐต้องประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง ใช้สื่อทีวีฟรีวันละ 1 ชม. ก็พอแล้ว  เวปไซด์ของหน่วยงานด้วย ชี้แจงให้หมดว่ามีงบเท่าไหร่ ใช้เรื่องอะไร เท่าไหร่ ใครรับผิดชอบ ไม่ใช่แค่มี กม. ข้อมูลฯ แล้วให้ประชาชนบางคนที่สงสัยไปร้องขอเอง

ขอเสนอแค่นี้ก่อนครับ เดี๋ยวมาใหม่


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: deang ที่ ตุลาคม 15, 2008, 09:43:28 PM
มีอีกกลุ่มครับ... กลุ่มข้าราชการที่มีการศึกษา มีความรู้และได้รับการศึกษาดี...
กลุ่มนี้ทำหน้าที่ค้ำจุนโครงสร้างของประเทศไทยมาตลอดตั้งแต่สมัยก่อนมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย...

ประเทศไทยมีประเทศอยู่ได้ด้วยสำนึกของข้าราชการกลุ่มนี้ครับ... กลุ่มที่อีกฝ่ายมักประชดว่า"อมาตยาธิปไตย"...
แต่ถ้าข้าราชการกลุ่มนี้ไม่ทำหน้าที่ดังข้างต้น... ประเทศไทยไม่เป็นประเทศไปแล้วครับ...

คำถามคือ พวกเขามีหนึ่งเสียงเท่ากับคนที่รู้จักประชาธิปไตยแค่ไม่กี่นาที... มันถูกต้องแล้วหรือครับ...


ชอบ ที่ ท่าน สมชาย (ฮา ๆ) ว่ามา แฮะ ....   

ทุกวัน ตกเย็นมา  .. ท่าน รศ.ดร.เดช .. คณะบดี  รศ.ดร. พิเชษฐ์  รองคณะบดี  นักวิจัยอาวุโส ... สาขา ฟิสิกส์ / วิศวกรรมเครื่องกล ...
เป็นทีมผู้บรรยาย และที่ปรึกษา Thesis  ระดับ ปริญาโท ปริญาเอก ทั้ง สามีภรรยา ต้องมาประจำการ ที่ ทำเนียบ  ....
ติดตาม ความ เคลื่อนไหว เอาใจช่วย พธม

ท่าน เหล่านี้ อายุเกิน 60 แล้วทั้งสิ้น ... เคยเล่าให้ฟังว่า ยุค 14 - 6 ตุลา ท่านเป็น ผู้นำนักเรียนทุน ที่ Penn State เคยถาม นาย สมัคร
รมต มหาดไทย เมื่อไปเยี่ยม นักเรียนไทยใน เมกา เรื่องกรณี 6 ตุลา 19 โดนด่าสวน แรง ๆ แล้วกลับทันที

รึว่า บางที ท่านเหล่านี้ อาจคิดใด้ น้อย กว่า หลาย ๆ ท่าน ใน ชุมชนแห่งนี้ กระมัง ...
คห แตกต่าง และ ลากยาว จึงมีมากมาย




หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ ตุลาคม 16, 2008, 09:31:32 AM
 :) ประเด็นหนึ่งที่ไม่อยากให้มองข้าม ลองมองทางพรรคการเมืองบ้างครับ พรรคการเมืองทั้งในอดีต และปัจจุบัน พัฒนาไปในทิศทางประชาธิปไตยเท่าไหร่ ลองหาหนทางพัฒนาแก้ไข กำหนดให้พรรคการเมืองมีประสิทธิ์ภาพ ในขณะเดียวกันก็พัฒนาการศึกษาของคนในชาติ ปลูกจิตสำนึก


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: chew - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 16, 2008, 04:14:26 PM
ผมว่าเราต้องช่วยกันคิดว่าทำอย่างไร ทั้งนักการเมืองและข้าราชการจะสามารถเข้าใจหน้าที่ของเขาเองครับ
ข้าราชการหลายๆท่านคิดว่าตัวเองเป็นใหญ่มากเวลาประชาชนเดือดร้อน หรือต้องการความช่วยเหลือจากเขา ก็ไม่ช่วยเหลือตามหน้าที่นอกจากจะมีใต้โต๊ะ นอกในก่อน
นักการเมืองก็ถูกเลือก(อาจจะจ้างให้มาเลือก) จากประชาชน  แต่พอเข้ามาก็ทำตัวเป็นเจ้านายประชาชนเช่นเดิม 

ดูแค่ตอนเกิดน้ำท่วมหรืออะไรพวกนี้แล้วข้าราชการผู้ใหญ่ทำข่าวไปแจกของ  ให้ผู้เฒ่าผู้แก่มารอ  แล้วก็ยังต้องไหว้เขาตอนรับของแจก  บอกตรงๆนะครับ  ผมอยากถีบพวกข้าราชการและนักการเมืองพวกนั้นมากที่ไม่เข้าใจว่าเรื่องวัยวุฒิในสังคมไทยเลย   ของแจกก็ไม่ใช่เงินคุณ ยังไปเอาบาปให้คนแก่ลำบากอยู่แล้วต้องรู้สึกแย่ๆอีก :'( 

ประชาชนโดยมากก็ยังไม่เข้าใจสิทธิ(และหน้าที)ของตัวเอง ยอมลงให้ชนขั้นผู้ปกครอง(ทั้งที่มีตำแหน่ง และ เป็นโดยธรรมชาติ-บางทีเรียกผู้มีอิทธิพล) เพราะเขาไม่อยากจะมีเรื่องตามประสาประชาชนผู้สุจริตทั่วไป

ในประเทศที่เจริญแล้วประชาชนไม่ถูกข่มขี่ง่ายๆครับ  ตร. ก็มีไว้สู้กับคนเลว ไม่ใช่ตีผู้หญิงและเด็กมือเปล่า :(

ผมเข้าใจว่ามันต้องมีการเปลี่ยนแปลง และคงไม่มีใคร 2-3 คนทำได้เองครับ ต้องช่วยๆกัน  เอาง่ายๆครับเราถามตัวเราเองว่าเราจะยอมเสียผลประโยชน์บ้าง เพื่อให้คนอื่นได้บ้าง โดยไม่เอาทุกอย่างคนเดียว ไม่ฉวยโอกาสทั้งๆที่เราเห็นและแนะนำให้คนอื่นที่ด้อยโอกาสกว่าได้บ้าง  หลายๆครั้งมันก็ค้านกับความรู้สึกตามธรรมชาติเราแล้วครับ

แต่ถ้าเราคิดว่าเราทำเพื่อชาติ ศาสนา(ไม่ว่าศาสนาอะไร)และสถาบันสูงสุด เราก็ทำได้ง่ายขึ้นครับ เราลองๆมาช่วยกันทำมั้ยครับ  เอาง่ายๆว่า ใน 2-3 ปีหน้าเราจะพยายามทำให้คนอื่นๆมากกว่าตัวเราเอง แค่นี้ประเทศเราไปโลดแน่นอนครับ :)


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: STeelShoTS ที่ ตุลาคม 16, 2008, 04:29:15 PM
 ดูแค่ตอนเกิดน้ำท่วมหรืออะไรพวกนี้แล้วข้าราชการผู้ใหญ่ทำข่าวไปแจกของ  ให้ผู้เฒ่าผู้แก่มารอ  แล้วก็ยังต้องไหว้เขาตอนรับของแจก  บอกตรงๆนะครับ  ผมอยากถีบพวกข้าราชการและนักการเมืองพวกนั้นมากที่ไม่เข้าใจว่าเรื่องวัยวุฒิในสังคมไทยเลย   ของแจกก็ไม่ใช่เงินคุณ ยังไปเอาบาปให้คนแก่ลำบากอยู่แล้วต้องรู้สึกแย่ๆอีก   


  ... ข้าราชการจำพวกนี้ ไม่มีสำนึกหน้าที่หรือมโนธรรม อะไรนักหรอก... เพียงแค่อาศัยสถานการณ์สร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง จิตอันเป็นสาธารณะไม่มี...........


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: ...อภิสิทธิ์ ... ที่ ตุลาคม 16, 2008, 06:39:52 PM
ไปเห็นนายก อบต.ไปเบิกตังที่แบ๊ง  เลขาปะจ๋อปะแจ๋  ท่านนายกคะนายกขา   ::013:: ::013:: ::013::  เมื่อวานยังเห็นต้อนควายอยู่เลย ::005:: ::005::


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: 4FU ที่ ตุลาคม 16, 2008, 07:23:16 PM

   อยู่ใกล้ๆกับพี่สมชาย ไอ้ฟูจะเปิดลีโอเลี้ยง 3 ลังเลยถูกใจจริงๆ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: นิ น น า ท ที่ ตุลาคม 16, 2008, 10:05:15 PM
ขอแสดงความคิด ...อีกสักครั้ง นะครับ


"การเมือง" ..คือเรื่องของการจัดสรรแบ่งปัน..

.."ผลประโยชน์" ...ล้วนๆ

จง....ยอมรับความจริงเรื่องนี้..ให้ได้เสียก่อน ..
 



ถ้าแบ่งกัน"ลงตัว"ทั้งผลประโยชน์ของส่วนรวม ..และส่วนตัว

ถือเป็น "การเมืองที่ดี" ย่อมนำมาซึ่งความก้าวหน้า มั่นคง

บังเกิดผลดี ต่อประเทศชาติ ประชาชน..

..และตนเอง.. ..แค่นี้ จริงๆ ครับ



ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้น..ส่วนมาก

ทั้งภายในและระหว่างประเทศทั่วโลก

ก็เพราะ..ความไม่ "ลงตัว" นั่นเอง...

...นี่คือกำเนิด ของ...สงคราม ..เสมอ



*คุณสมบัติของผู้นำที่ดี.. ต้องรู้จักเสียสละ เป็นอันดับแรก*

...ความสามารถอื่นๆ ใดๆนั้น ..สำคัญรองลงมา
 



มิใช่..ปิดกั้น กอบโกย กินรวบ ทับซ้อน ตอแหล

เจ้าเล่ห์ มูมมาม ตะกละตะกราม..เกินงาม ที่สำคัญ...

...ไม่รู้จักคำว่า "พอ".... .... และ

..ไม่เคยแสดงให้เห็นถึง..ความเสียสละใดๆ



ปัจจุบัน ...ความรู้ การศึกษา และ..

สื่อต่างๆ เข้าถึง"คน" ได้มากขึ้น เร็วขึ้น ..รอบด้านขึ้น

มุขเก่าๆ .. "ตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ" ...

ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ  ..อีกต่อไป

ผู้คนจึง "รู้ทัน" ได้ "ง่ายๆ" ..มากขึ้น

ขณะที่ "ผู้คน" ก็กล้าที่จะ..มักง่ายและ..เลวยิ่งขึ้น ทั้งผู้นำ และผู้ตาม

เพื่อที่จะฉกฉวยผลประโยชน์... ดังนั้น..

เรา..จึง"ยอมรับ"ได้..น้อยลง อย่าง... ง่ายๆเช่นกัน
 


วิถีทางดีที่สุด...

เรา..ต้องกล้า.. ที่จะ "มักยากและมักดี"..

ซึ่งก็คือ... เสียสละ ...นั่นเอง  






และ..สุดท้าย ใครสร้างภาพ "ความไว้วางใจ" ....ได้ "ทั่วถึง" มากกว่า

มันก็จะเป็นคำตอบ ..เหมือนกับประเด็นหัวข้อกระทู้นี้ไงครับ...
 



.....กรุงโรม มิได้สร้าง...ภายในวันเดียว.....  

                          ...อดทนนะครับ ..อดทน..  มักยากและมักดี กัน...ต่อไป


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: สราโท ที่ ตุลาคม 16, 2008, 11:17:07 PM
มีแต่นักการเมืองหน้าเก่าๆชาติถึงได้ไม่เจริญ


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ ตุลาคม 17, 2008, 05:22:12 AM
ขอแสดงความคิด ...อีกสักครั้ง นะครับ


"การเมือง" ..คือเรื่องของการจัดสรรแบ่งปัน..

.."ผลประโยชน์" ...ล้วนๆ

จง....ยอมรับความจริงเรื่องนี้..ให้ได้เสียก่อน ..
 



ถ้าแบ่งกัน"ลงตัว"ทั้งผลประโยชน์ของส่วนรวม ..และส่วนตัว

ถือเป็น "การเมืองที่ดี" ย่อมนำมาซึ่งความก้าวหน้า มั่นคง

บังเกิดผลดี ต่อประเทศชาติ ประชาชน..

..และตนเอง.. ..แค่นี้ จริงๆ ครับ



ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้น..ส่วนมาก

ทั้งภายในและระหว่างประเทศทั่วโลก

ก็เพราะ..ความไม่ "ลงตัว" นั่นเอง...

...นี่คือกำเนิด ของ...สงคราม ..เสมอ



*คุณสมบัติของผู้นำที่ดี.. ต้องรู้จักเสียสละ เป็นอันดับแรก*

...ความสามารถอื่นๆ ใดๆนั้น ..สำคัญรองลงมา
 



มิใช่..ปิดกั้น กอบโกย กินรวบ ทับซ้อน ตอแหล

เจ้าเล่ห์ มูมมาม ตะกละตะกราม..เกินงาม ที่สำคัญ...

...ไม่รู้จักคำว่า "พอ".... .... และ

..ไม่เคยแสดงให้เห็นถึง..ความเสียสละใดๆ



ปัจจุบัน ...ความรู้ การศึกษา และ..

สื่อต่างๆ เข้าถึง"คน" ได้มากขึ้น เร็วขึ้น ..รอบด้านขึ้น

มุขเก่าๆ .. "ตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ" ...

ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ  ..อีกต่อไป

ผู้คนจึง "รู้ทัน" ได้ "ง่ายๆ" ..มากขึ้น

ขณะที่ "ผู้คน" ก็กล้าที่จะ..มักง่ายและ..เลวยิ่งขึ้น ทั้งผู้นำ และผู้ตาม

เพื่อที่จะฉกฉวยผลประโยชน์... ดังนั้น..

เรา..จึง"ยอมรับ"ได้..น้อยลง อย่าง... ง่ายๆเช่นกัน
 


วิถีทางดีที่สุด...

เรา..ต้องกล้า.. ที่จะ "มักยากและมักดี"..

ซึ่งก็คือ... เสียสละ ...นั่นเอง  






และ..สุดท้าย ใครสร้างภาพ "ความไว้วางใจ" ....ได้ "ทั่วถึง" มากกว่า

มันก็จะเป็นคำตอบ ..เหมือนกับประเด็นหัวข้อกระทู้นี้ไงครับ...
 



.....กรุงโรม มิได้สร้าง...ภายในวันเดียว.....  

                          ...อดทนนะครับ ..อดทน..  มักยากและมักดี กัน...ต่อไป

.................  ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002::   :D


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: wasanami ที่ ตุลาคม 17, 2008, 08:27:30 AM
เข้ามากดแต้มให้คุณนินนาทครับ.. :D :D :D


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: BIGFISH ที่ ตุลาคม 17, 2008, 04:18:08 PM
ความเห็นของคุณวัตน์ โดนครับ

ประเทศไทย ทำไมต้องพรรคการเมือง

นอกจากควรจัดระเบียบพรรคการเมือง อย่างที่จัดไปแล้ว ทำผิด ยุบพรรค

ขอคิดนอกกรอบแต่ไม่นอกหลักการนะครับ

1. ปัญหา ทำไมไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากพรรคการเมือง ต้องเปิดโอกาสให้สถาบัน กลุ่มองค์กร ที่เป็นหลักของประเทศเข้าไปใช้อำนาจในสภาอย่างสง่าได้ด้วย
 ยกตัวอย่าง ชาวนาจัดตั้งกลุ่มชาวนา มีเสียงสนับสนุนทั่วประเทศ 5 ล้านเสียง มีสิทธิเลือกผู้แทนของตนเอง ไม่ผ่านพรรคการเมือง มีโควต้าตามเสียงที่ลงคะแนน 5 ล้านเสียง เท่ากับผู้แทน 30 คน ซึ่งชาวนาอยากจะใช้สิทธิ์ผ่านกลุ่มของตนเอง กลุ่มของผู้อื่นหรือผ่านพรรคการเมืองก้อได้
แต่ถึงอย่างไร ยังจำเป็นต้องผ่านการเลือกตั้งตามหลักครับ

2. มีส่วนร่วมในอำนาจบริหาร ยกตัวอย่างนะครับ ย้ำ ยกตัวอย่าง
สหภาพรัฐวิสาหกิจ เป็นกลุ่มพลังที่ได้เสียงข้างมาก
กลุ่มชาวนาที่ได้เสียงเป็นอันดับที่ 2 เป็นเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเช่นกัน ทำไมไม่มีสิทธิ์ที่จะได้อำนาจบริหาร อำนาจบริหารควรกระจายไปตามสัดส่วนของเสียงที่ได้รับความไว้วางใจด้วย ไม่จำเป็นต้องให้อำนาจในการบริหารกับกลุ่มผู้ชนะอย่างเดียว นี่คือหลักการของการมีส่วนร่วมกันพัฒนาอย่างแท้จริง   ส่วนกระบวนการควบคุมต้องหาหน่วยงานที่เป็นอิสระ หรือสถาบันตุลาการ ไม่ขึ้นกับอำนาจบริหารของรัฐมาควบคุม แทนการจัดตั้งฝ่ายค้าน มันไม่ได้ผล


หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ ตุลาคม 17, 2008, 07:34:42 PM
แนวคิดของคุณ BIGFISH นี่แหละครับ

ที่เป็นหนึ่งใน แนวคิดการเมืองใหม่



หัวข้อ: Re: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ
เริ่มหัวข้อโดย: สราโท ที่ ตุลาคม 22, 2008, 08:38:46 AM
ผมว่าเราต้องช่วยกันคิดว่าทำอย่างไร ทั้งนักการเมืองและข้าราชการจะสามารถเข้าใจหน้าที่ของเขาเองครับ
ข้าราชการหลายๆท่านคิดว่าตัวเองเป็นใหญ่มากเวลาประชาชนเดือดร้อน หรือต้องการความช่วยเหลือจากเขา ก็ไม่ช่วยเหลือตามหน้าที่นอกจากจะมีใต้โต๊ะ นอกในก่อน
นักการเมืองก็ถูกเลือก(อาจจะจ้างให้มาเลือก) จากประชาชน  แต่พอเข้ามาก็ทำตัวเป็นเจ้านายประชาชนเช่นเดิม 

ดูแค่ตอนเกิดน้ำท่วมหรืออะไรพวกนี้แล้วข้าราชการผู้ใหญ่ทำข่าวไปแจกของ  ให้ผู้เฒ่าผู้แก่มารอ  แล้วก็ยังต้องไหว้เขาตอนรับของแจก  บอกตรงๆนะครับ  ผมอยากถีบพวกข้าราชการและนักการเมืองพวกนั้นมากที่ไม่เข้าใจว่าเรื่องวัยวุฒิในสังคมไทยเลย   ของแจกก็ไม่ใช่เงินคุณ ยังไปเอาบาปให้คนแก่ลำบากอยู่แล้วต้องรู้สึกแย่ๆอีก :'( 

ประชาชนโดยมากก็ยังไม่เข้าใจสิทธิ(และหน้าที)ของตัวเอง ยอมลงให้ชนขั้นผู้ปกครอง(ทั้งที่มีตำแหน่ง และ เป็นโดยธรรมชาติ-บางทีเรียกผู้มีอิทธิพล) เพราะเขาไม่อยากจะมีเรื่องตามประสาประชาชนผู้สุจริตทั่วไป

ในประเทศที่เจริญแล้วประชาชนไม่ถูกข่มขี่ง่ายๆครับ  ตร. ก็มีไว้สู้กับคนเลว ไม่ใช่ตีผู้หญิงและเด็กมือเปล่า :(

ผมเข้าใจว่ามันต้องมีการเปลี่ยนแปลง และคงไม่มีใคร 2-3 คนทำได้เองครับ ต้องช่วยๆกัน  เอาง่ายๆครับเราถามตัวเราเองว่าเราจะยอมเสียผลประโยชน์บ้าง เพื่อให้คนอื่นได้บ้าง โดยไม่เอาทุกอย่างคนเดียว ไม่ฉวยโอกาสทั้งๆที่เราเห็นและแนะนำให้คนอื่นที่ด้อยโอกาสกว่าได้บ้าง  หลายๆครั้งมันก็ค้านกับความรู้สึกตามธรรมชาติเราแล้วครับ

แต่ถ้าเราคิดว่าเราทำเพื่อชาติ ศาสนา(ไม่ว่าศาสนาอะไร)และสถาบันสูงสุด เราก็ทำได้ง่ายขึ้นครับ เราลองๆมาช่วยกันทำมั้ยครับ  เอาง่ายๆว่า ใน 2-3 ปีหน้าเราจะพยายามทำให้คนอื่นๆมากกว่าตัวเราเอง แค่นี้ประเทศเราไปโลดแน่นอนครับ :)
ขอแสดงความคิด ...อีกสักครั้ง นะครับ


"การเมือง" ..คือเรื่องของการจัดสรรแบ่งปัน..

.."ผลประโยชน์" ...ล้วนๆ

จง....ยอมรับความจริงเรื่องนี้..ให้ได้เสียก่อน ..
 



ถ้าแบ่งกัน"ลงตัว"ทั้งผลประโยชน์ของส่วนรวม ..และส่วนตัว

ถือเป็น "การเมืองที่ดี" ย่อมนำมาซึ่งความก้าวหน้า มั่นคง

บังเกิดผลดี ต่อประเทศชาติ ประชาชน..

..และตนเอง.. ..แค่นี้ จริงๆ ครับ



ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้น..ส่วนมาก

ทั้งภายในและระหว่างประเทศทั่วโลก

ก็เพราะ..ความไม่ "ลงตัว" นั่นเอง...

...นี่คือกำเนิด ของ...สงคราม ..เสมอ



*คุณสมบัติของผู้นำที่ดี.. ต้องรู้จักเสียสละ เป็นอันดับแรก*

...ความสามารถอื่นๆ ใดๆนั้น ..สำคัญรองลงมา
 



มิใช่..ปิดกั้น กอบโกย กินรวบ ทับซ้อน ตอแหล

เจ้าเล่ห์ มูมมาม ตะกละตะกราม..เกินงาม ที่สำคัญ...

...ไม่รู้จักคำว่า "พอ".... .... และ

..ไม่เคยแสดงให้เห็นถึง..ความเสียสละใดๆ



ปัจจุบัน ...ความรู้ การศึกษา และ..

สื่อต่างๆ เข้าถึง"คน" ได้มากขึ้น เร็วขึ้น ..รอบด้านขึ้น

มุขเก่าๆ .. "ตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ" ...

ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ  ..อีกต่อไป

ผู้คนจึง "รู้ทัน" ได้ "ง่ายๆ" ..มากขึ้น

ขณะที่ "ผู้คน" ก็กล้าที่จะ..มักง่ายและ..เลวยิ่งขึ้น ทั้งผู้นำ และผู้ตาม

เพื่อที่จะฉกฉวยผลประโยชน์... ดังนั้น..

เรา..จึง"ยอมรับ"ได้..น้อยลง อย่าง... ง่ายๆเช่นกัน
 


วิถีทางดีที่สุด...

เรา..ต้องกล้า.. ที่จะ "มักยากและมักดี"..

ซึ่งก็คือ... เสียสละ ...นั่นเอง  






และ..สุดท้าย ใครสร้างภาพ "ความไว้วางใจ" ....ได้ "ทั่วถึง" มากกว่า

มันก็จะเป็นคำตอบ ..เหมือนกับประเด็นหัวข้อกระทู้นี้ไงครับ...
 



.....กรุงโรม มิได้สร้าง...ภายในวันเดียว.....  

                          ...อดทนนะครับ ..อดทน..  มักยากและมักดี กัน...ต่อไป
ขอแสดงความคิด ...อีกสักครั้ง นะครับ


"การเมือง" ..คือเรื่องของการจัดสรรแบ่งปัน..

.."ผลประโยชน์" ...ล้วนๆ

จง....ยอมรับความจริงเรื่องนี้..ให้ได้เสียก่อน ..
 



ถ้าแบ่งกัน"ลงตัว"ทั้งผลประโยชน์ของส่วนรวม ..และส่วนตัว

ถือเป็น "การเมืองที่ดี" ย่อมนำมาซึ่งความก้าวหน้า มั่นคง

บังเกิดผลดี ต่อประเทศชาติ ประชาชน..

..และตนเอง.. ..แค่นี้ จริงๆ ครับ



ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้น..ส่วนมาก

ทั้งภายในและระหว่างประเทศทั่วโลก

ก็เพราะ..ความไม่ "ลงตัว" นั่นเอง...

...นี่คือกำเนิด ของ...สงคราม ..เสมอ



*คุณสมบัติของผู้นำที่ดี.. ต้องรู้จักเสียสละ เป็นอันดับแรก*

...ความสามารถอื่นๆ ใดๆนั้น ..สำคัญรองลงมา
 



มิใช่..ปิดกั้น กอบโกย กินรวบ ทับซ้อน ตอแหล

เจ้าเล่ห์ มูมมาม ตะกละตะกราม..เกินงาม ที่สำคัญ...

...ไม่รู้จักคำว่า "พอ".... .... และ

..ไม่เคยแสดงให้เห็นถึง..ความเสียสละใดๆ



ปัจจุบัน ...ความรู้ การศึกษา และ..

สื่อต่างๆ เข้าถึง"คน" ได้มากขึ้น เร็วขึ้น ..รอบด้านขึ้น

มุขเก่าๆ .. "ตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ" ...

ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ  ..อีกต่อไป

ผู้คนจึง "รู้ทัน" ได้ "ง่ายๆ" ..มากขึ้น

ขณะที่ "ผู้คน" ก็กล้าที่จะ..มักง่ายและ..เลวยิ่งขึ้น ทั้งผู้นำ และผู้ตาม

เพื่อที่จะฉกฉวยผลประโยชน์... ดังนั้น..

เรา..จึง"ยอมรับ"ได้..น้อยลง อย่าง... ง่ายๆเช่นกัน
 


วิถีทางดีที่สุด...

เรา..ต้องกล้า.. ที่จะ "มักยากและมักดี"..

ซึ่งก็คือ... เสียสละ ...นั่นเอง  






และ..สุดท้าย ใครสร้างภาพ "ความไว้วางใจ" ....ได้ "ทั่วถึง" มากกว่า

มันก็จะเป็นคำตอบ ..เหมือนกับประเด็นหัวข้อกระทู้นี้ไงครับ...
 



.....กรุงโรม มิได้สร้าง...ภายในวันเดียว.....  

                          ...อดทนนะครับ ..อดทน..  มักยากและมักดี กัน...ต่อไป