หัวข้อ: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: C.J. - รักในหลวง ที่ ธันวาคม 24, 2008, 01:48:40 PM ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ
๑. ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง คนไทยมักจะยึดติดกับความเคยชินแบบเดิมๆ เคยทำมาอย่างไรก็จะทำอยู่อย่างนั้น ไม่ค่อยมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง และถ้าฝรั่งเอาวิธีใหม่ๆ เข้ามาทำให้พวกเขาต้องทำอะไรที่ต่างไปจากเดิม ก็จะถูกมองว่าเป็นการสร้างความรำคาญให้พวกเขา มักจะไม่ค่อยได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่หรือไม่ก็ถึงกับถูกต่อต้านก็มี เจฟฟรีย์ บาร์น ๒. การโต้แย้ง เมื่อมีการเจรจา คนไทยจะไม่กล้าโต้แย้งทั้งๆ ที่ตัวเองกำลังเสียเปรียบ ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้อีกฝ่ายเป็นคนคุมเกม บางคนบอกว่ามีนิสัยอย่างนี้เรียกว่า ขี้เกรงใจ แต่สำหรับฝรั่งแล้ว นิสัยนี้จะทำให้คนไทยไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ทานากะ โรบิน (จูเนียร์) ฟูจฮาระ ๓. ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของคนไทยคือ มักจะไม่ค่อยกล้าบอกความคิดของตัวเองออกมาทั้งๆ ที่คนไทยก็มีความคิดดีไม่ไม่แพ้ฝรั่งเลย แต่มักจะเก็บความสามารถไว้ ไม่บอกออกมาให้เจ้านนายได้รู้ และจะไม่กล้าตั้งคำถาม บางทีฝรั่งก็คิดว่าคนไทยรู้แล้วเลยไม่บอกเพราะเห็นว่าไม่ถามอะไร ทำให้ทำงานกันไปคนละเป้าหมาย หรือทำงานไม่สำเร็จ เพราะคนที่รับคำสั่งไม่รู้ว่าถูกสั่งให้ทำอะไร ไมเคิล วิดฟิล์ค ๔. ความรับผิดชอบ ๑. ฝรั่งมองว่าคนไทยเรามักทำไม่ค่อยกำหนดระยะเวลาในการทำงานไว้ล่วงหน้า ทั้งๆทีงานบางชิ้นต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดยิ่งงานไหนให้เวลาในการทำงานนานก็จะยิ่งทิ้งไว้ทำตอนใกล้ๆ จะถึงกำหนดส่ง เลยทำงานออกมาแบบรีบๆ ไม่ได้ผลงานดีเท่าที่ ควร ๒. ไม่ค่อยยอมผูกพันและรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าให้เซ็นชื่อรับผิดชอบงานที่ทำคนไทยจะกลัวขึ้นมาทันที เหมือนกับกลัวจะทำไม่ได้ หรือกลัวจะถูกหลอก สเตฟานี จอห์นสัน ๕. วิธีแก้ไขปัญหา คนไทยไม่ค่อยมีแผนการรองรับเวลาเกิดปัญหา แต่จะรอให้เกิดก่อนแล้วค่อยหาทางแก้ไปแบบเฉพาะหน้า หลายครั้งที่ฝรั่งพบว่าคนไทยไม่รู้จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไรต้องรอให้เจ้านายสั่งลงมาก่อนแล้วค่อยทำตามถ้านายเจ้านายไม่อยู่ทุกคนก็จะประสาทเสียไปหมด ดร.มาเรีย โรเซนเบิร์ก ๖. บอกแต่ข่าวดี คนไทยมีความเคยชินในการแจ้งข่าวที่แปลกมาก คือ ๑. จะไม่กล้าบอกผู้บังคับบัญชาชาวต่างชาติเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จนกระทั่งบานปลายไปเกินแก้ไขได้จึงค่อยเข้ามาปรึกษา ๒. จะเลือกบอกแต่สิ่งที่คิดว่าเจ้านายจะชอบ เช่น บอกแต่ข่าวดีๆ แทนที่จะเล่าไปตามความจริงหรือถ้าหากเจ้านายถามว่า จะทำงานเสร็จทันเวลาไหม ก็จะบอกว่าทัน (เพราะรู้ว่านายอยากได้ยินแบบนี้) แต่ก็ไม่เคยทำทันตามเวลาที่รับปากเลย โจนาธาน ธอมพ์สัน ๗. คำว่า ไม่เป็นไร เป็นคำพูดที่ติดปากคนไทยทุกคน ทำให้เวลามีปัญหา ก็จะไม่มีใครรับผิดชอบ และจะไม่ค่อยหาตัวคนทำผิดด้วยเพราะเกรงใจกัน แต่จะใช้คำว่า ไม่เป็นไร มาแก้ปัญญหาแทน เจนิส อิกนาโรห์ ๘.ทักษะในการทำงาน ๑. ไม่สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ ถ้าทำงานเป็นทีมมักมีปัญหาเรื่องการกินแรงกันบางคนขยันแต่บางคนไม่ทำอะไรเลย บางทีก็มีการขัดแย้งกันเองในทีม หรือเกี่ยงงานกันจนผลงานไม่คืบหน้า ๒.ไม่ค่อยมีทักษะในการทำงาน แม้จะผ่านการศึกษาในระดับสูงมาแล้ว และไม่ค่อยใช้ความพยายามอย่างเต็มทีเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด ๓. พนักงานชาวไทยที่รู้จัก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้สึกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เรื่องราวความเคลื่อนไหวของโลกเท่าไรนัก แล้ไม่ค่อยชอบหาความรู้เพิ่มเติมแม้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานก็ตาม เดวิด กิลเบิร์ก ๙. ความซื่อสัตย์ พนักงานคนไทยควรจะมีความซื่อสัตย์และตรงไปตรงมามากกว่านี้ หลายครั้งที่ชอบโกหกในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น มาสาย ขาดงานโดยอ้างว่าป่วย ออกไปข้างนอกในเวลางาน เฮเบิร์ก โอ ลิสส์ ๑๐. ระบบพวกพ้อง คนไทยมักจะนำเพื่อนฝูงมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเสมอ ผมไม่เคยชอบวิธีนี้เลย ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อข้าวของภายในสำนักงาน พวกเขามักจะแนะนำเพื่อนๆ มาก่อนโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่บริษัทควรจะได้รับ นี่เป็นประสบการณ์จริงที่ประสบมา การให้ความช่วยเหลือเพื่อนไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การที่ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเลยเป็นอะไรที่แย่มาก และเมื่อพบว่าเพื่อนพนักงานด้วยกันทุจริต คนไทยก็จะช่วยกันปกป้อง และทำให้ไม่รู้ไม่เห็นจนกว่าผู้บริหารจะตรวจสอบได้เอง มาร์ค โอเนล ฮิวจ์ ๑๑. แยกไม่ออกระหว่างเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว คนไทยมักจะไม่รู้ว่าอะไรว่าอะไรคือเรื่องงาน และอะไรที่เรียกว่าเรื่องส่วนตัว พวกเขาชอบเอาทั้งสองอย่างนี้มาปนกันจนทำให้ระบบการทำงานเสียไปหมด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งขององค์กร ๑. ชอบสอดรู้สอดเห็น โดยเฉพาะเรื่องส่วนตัวของเพื่อนร่วมงาน ๒. มักจะคุยกันเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานมากเกินไป บางครั้งทำให้บานปลายและนำไปสู่ข่าวลือ และการนินทากันภายในสำนักงาน ๓. มักจะลาออกจากบริษัทโดยไม่ยอมแจ้งล่วงหน้าตามข้อตกลง แต่กลับคาดหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์เต็มที่ ๔. ไม่ยอมรับความผิดชอบที่มีมากขึ้นในช่วงวิกฤติ ๕.ต้องการเงินมากขึ้นแต่กลับไม่ค่อยสร้างคุณค่างานอะไรเพิ่มขึ้นเลย วิลเลี่ยม แมคคินสัน http://qa.buu.ac.th/form/common/QA2.ppt ถือว่าเป็นมุมมอง เพื่อ การปรับปรุง ที่ดี ... ::002:: หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ ธันวาคม 24, 2008, 02:38:59 PM ประเทศอื่น ๆ ก็เป็นครับ ไม่ใช่แต่ประเทศไทย ;D
หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: ชยันโต ที่ ธันวาคม 24, 2008, 02:40:23 PM ขอบคุณครับ.. ::014::
หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: Skynavy ที่ ธันวาคม 24, 2008, 02:48:55 PM ฝรั่งเอาเรื่องจริงมาพูดทั้งนั้น....ขอบคุณจขกท.ครับ
หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ ธันวาคม 24, 2008, 02:53:03 PM คำวิจารย์ ก็เปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนภาพของเราในบางมุมที่เราอาจมองไม่เห็น ขอบคุณครับ ::014::
หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: coda ที่ ธันวาคม 24, 2008, 03:26:16 PM ...ขอบคุณครับ เคยอ่านแล้ว ผมว่าคนทุกชาติทุกภาษามีจุดอ่อนและจุดแข็ง การทำงานกับคนต่างชาติ (หรือแม้ชาติเดียวกัน) หากเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งเหล่านั้น ก็จะทำให้งานราบรื่นและประสบผลสำเร็จ
...สำหรับข้อความที่ยกมา "๑๑ การทำงานแบบไทย" ค่อนข้างจะเน้นเฉพาะจุดอ่อน ทำให้ผู้อ่านมองคนไทยในแง่ลบ ถ้าจะให้ดีควรเสนอทั้งสองด้านครับ ...ทั้งนี้ด้วยความเคารพ ไม่ได้ตำหนิเจ้าของกระทู้นะครับ แต่อ่านครั้งใด ในฐานะคนไทยแล้วไม่ชอบใจ เพราะไม่เป็นธรรมที่เสนอเฉพาะด้านไม่ดีด้านเดียว หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ ธันวาคม 24, 2008, 03:35:51 PM แล้วด้านไม่ดีของต่างชาติมีรึเปล่าครับ ;D
หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: C.J. - รักในหลวง ที่ ธันวาคม 24, 2008, 04:14:23 PM ...ขอบคุณครับ เคยอ่านแล้ว ผมว่าคนทุกชาติทุกภาษามีจุดอ่อนและจุดแข็ง การทำงานกับคนต่างชาติ (หรือแม้ชาติเดียวกัน) หากเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งเหล่านั้น ก็จะทำให้งานราบรื่นและประสบผลสำเร็จ ...สำหรับข้อความที่ยกมา "๑๑ การทำงานแบบไทย" ค่อนข้างจะเน้นเฉพาะจุดอ่อน ทำให้ผู้อ่านมองคนไทยในแง่ลบ ถ้าจะให้ดีควรเสนอทั้งสองด้านครับ ...ทั้งนี้ด้วยความเคารพ ไม่ได้ตำหนิเจ้าของกระทู้นะครับ แต่อ่านครั้งใด ในฐานะคนไทยแล้วไม่ชอบใจ เพราะไม่เป็นธรรมที่เสนอเฉพาะด้านไม่ดีด้านเดียว ::014:: ผมก็เช่นเดียวกัน อ่านแล้วก็ไม่ชอบ... แต่อยากให้มันเป็นกระจก คอยเตือนข้อด้อยซึ่งเราอาจจะมีข้อใดข้อหนึ่ง... ครับ แล้วด้านไม่ดีของต่างชาติมีรึเปล่าครับ ;D มีแค่นี้แหละ... ::001:: ด้านไม่ดีของต่างชาติพวกนี้คือ มองเราไม่ดีและไม่เข้าใจเรา... ::005:: หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: coda ที่ ธันวาคม 24, 2008, 04:45:14 PM ...ขอบคุณครับ เคยอ่านแล้ว ผมว่าคนทุกชาติทุกภาษามีจุดอ่อนและจุดแข็ง การทำงานกับคนต่างชาติ (หรือแม้ชาติเดียวกัน) หากเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งเหล่านั้น ก็จะทำให้งานราบรื่นและประสบผลสำเร็จ ...สำหรับข้อความที่ยกมา "๑๑ การทำงานแบบไทย" ค่อนข้างจะเน้นเฉพาะจุดอ่อน ทำให้ผู้อ่านมองคนไทยในแง่ลบ ถ้าจะให้ดีควรเสนอทั้งสองด้านครับ ...ทั้งนี้ด้วยความเคารพ ไม่ได้ตำหนิเจ้าของกระทู้นะครับ แต่อ่านครั้งใด ในฐานะคนไทยแล้วไม่ชอบใจ เพราะไม่เป็นธรรมที่เสนอเฉพาะด้านไม่ดีด้านเดียว ::014:: ผมก็เช่นเดียวกัน อ่านแล้วก็ไม่ชอบ... แต่อยากให้มันเป็นกระจก คอยเตือนข้อด้อยซึ่งเราอาจจะมีข้อใดข้อหนึ่ง... ครับ ...ครับ เรื่องการทำงานในวัฒนธรรมที่แตกต่าง ทำให้ต้องมีการศึกษาแนว "cross-culture" ครับ ...คนไทยเป็นแบบนี้เพราะลักษณะสังคมไทยที่บ่มเพาะกันมา ฝรั่งเอาวัฒนธรรมของเขามาเป็นมาตรฐานตัวชี้วัดก็ได้คำตอบเช่นนี้ ที่จริงข้อดีหรือจุดแข็งของคนไทยก็มีมากมายครับ ถ้าฝรั่งไม่เข้าใจก็ถือว่าพลาดสิ่งดีๆ ของคนไทยไป ...ต่อไปในอนาคตเมื่อทำงานกับต่างชาติมากขึ้น ลักษณะจะเปลี่ยนไปกลายเป็นคนดีแบบฝรั่ง แต่ไม่รู้ว่าดีจริงหรือเปล่าครับ หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: ตึก ที่ ธันวาคม 24, 2008, 06:41:37 PM ต้องบอกว่าต่างชาติที่เป็นประเทศที่เจริญแล้วเค้ามองเราแบบนั้น และผมยิ่งอ่านยิ่งเข้าตัวอ่ะแบบว่าตรงกับความเป็นคนไทยจริงๆ
หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: E_mail ที่ ธันวาคม 24, 2008, 07:08:47 PM ผมมองข้อด้อยของคนไทยในฐานะคนไทยอีกข้อนึงคือ....
คนไทยเรามักขาดพลังที่ต่อเนื่องในการบรรลุวัตถุประสงค์ครับ เจองานอะไรที่ต้องใช้ความอดทนยาวนาน/มองไม่เห็นฝั่งแล้ว คนไทยเราจะถอดใจเอาดื้อๆ ขอใช้วิธีอุปมาในการอธิบายมุมมอง....สมมุติให้ทุกคนเป็นกัปตันเรือ ทุกคนกำลังแล่นเรือกลางมหาสมุทร มีจุดหมายคือฝั่งเหมือนกัน มองไม่เห็นแผ่นดินเหมือนๆกัน ทุกคนมีอุปกรณ์หลักเหมือนๆกันคือเข็มทิศ(วิชาความรู้+ข้อมูลขั้นตอนการดำเนินการ)และความมุมานะ หากจับให้ล่องเรือนานซักหน่อยคนไทยเราจะถอดใจง่ายมาก หลายคนที่มีพรสวรรค์สูงลิบลิ่วก็ขาดความอหังการ์ในเชิงสร้างสรรค์ ขาดพลังต่อเนื่องในการตะกายให้ถึงยอดฝันจึงกลับต้องใช้ชีวิตแบบพนักงานระดับล่างไปจนหมดวัยทำงาน....น่าเสียดาย :P หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: บาร์ท รักในหลวง ที่ ธันวาคม 24, 2008, 09:01:28 PM ที่ว่ามาก็จริงครับ ถือว่าเป็นจุดอ่อนที่เป็นลักษณะนิสัยของคนไทย
แต่จริงๆแล้ว ทุกเชื้อชาติต่างมีจุดอ่อน มีข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะแนวคิด การแสดงออก วัฒนธรรม หรืออะไรก็แล้วแต่ เพียงแต่เราได้เคยสัมผัสหรือมองออกหรือยังครับ หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: น้าทู...รักในหลวง... ที่ ธันวาคม 24, 2008, 09:14:36 PM ภูมิใจที่เป็นคนไทยครับ ::002:: ::002::
หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: USP40 ที่ ธันวาคม 25, 2008, 01:01:52 AM มีเพิ่มอีกข้อแต่ไม่ใช่ฝรั่งบอกนะครับ ในหมู่คนไทยเรานี่แหละครับ
คือคำว่า Thai time ผมล่ะอย่างเกลียด นัดไม่เคยตรงเวลา ทำไรตามใจตู นาฬิกามีไว้ใส่อวดคน แต่ดูเวลาไม่เป็น ฮ่วย...เจอเยอะเลยครับแบบนี้ จะอ้างว่ารถติด ในเมกานี่นะ รถติด เวร..... เป็นทหารคงตายกันทั้ง หมวด หมู่ หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ ธันวาคม 25, 2008, 03:37:58 AM เคยทำงานกับฝรั่งอเมริกันสิบกว่าปี วันหนึ่งนายฝรั่งที่เป็นผู้บริหารระดับสูงมีอารมณ์ดี(ปกติจะดุ) มีเวลามาพูดจาพาทีสัพเพเหระ แล้วเขาก็บอกว่า ... ยูรู้ไหม ฝรั่งที่ไม่คุ้นกับคนไทย จะมีปัญหาในการทำงานกับคนไทยมาก เพราะ...
คนไทยไม่ค่อยแสดงออก ทั้งในเรื่องคิดเห็นและท่าที ... เห็นด้วยก็นิ่ง ไม่เห็นด้วยก็นิ่ง เข้าใจก็นื่ง ไม่เข้าใจก็นิ่ง มีปัญหาก็เงียบ ไม่ยอมปริปาก จนปัญหามันสุกงอม ระเบิดออกมาเอง หรือมาบอกก็สายไป ปัญหาลุกลามจนแก้ยาก ทำงานสไตล์ฝรั่งต้องการความชัดเจน ไม่อมพะนำ ไม่ต้องมามัวเกรงใจ ความเกรงใจในการทำงาน ทำความเสียหายต่อกระบวนงานมานักต่อนักแล้ว ความเกรงใจและการนิ่งเงียบทำให้คาดการณ์ผิดพลาด รับมือปัญหาไม่ทัน ความเกรงใจและการนิ่งเงียบมีผลกระทบต่อความสำเร็จของงานในหน้าที่ เช่น ถ้าเราต้องการความสนับสนุนจากบุคคลหรือแผนกอื่นเพื่อให้งานดำเนินต่อไปได้ คนไทยกลับเกรงใจที่จะร้องขอความสนับสนุนด้วยท่าทีที่จริงจัง(และเด็ดขาด) กลับใช้วิธีเลียบเคียงอ้อนขอความร่วมมือ เมื่อยังไม่ได้รับการตอบรับ ก็ได้แต่ยิ้ม แล้วพูดว่าไม่เป็นไร...ผมรอได้ วัฒนธรรมการทำงานเช่นนี้ มีผลเสียต่อความก้าวหน้าของกระบวนงาน นายฝรั่งท่านนั้นทิ้งท้ายไว้ว่า คนไทยต้องหัดลดความเกรงใจที่มีเหลือเฟือเกินไปลงบ้าง ต้องกล้ายืนยันหรือกดดันเพื่อให้ได้ความร่วมมือจากบุคคลอื่น ต้องกล้าแสดงออกเมื่อไม่เห็นด้วย ต้องกล้าพูดเมื่อเจอปัญหา ต้องกล้าเรียกร้องในสิทธิของตน แล้วคนไทยจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คำพูดของอดีตนายท่านนั้น ผมยังจำมาจนทุกวันนี้ และติดนิสัยกล้าที่จะ "โพล่ง" ออกมาเมื่อถึงจุดที่จำเป็น แม้มันจะขัดกับบุคลิกพื้นฐานของผมก็ตาม หลังจากพูดกับผมไม่นานนัก นายก็จับผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้จัดการขึ้นไปทุกคน เข้าคอร์สพิเศษที่มีชื่อว่า "Assertiveness and Responsibility" ซึ่งปรัชญาหลักของคอร์สนี้คือ ... ความกล้าที่จะยืนยันความต้องการของตนเอง เป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่รับผิดชอบ ... กล่าวคือสอนให้เรารู้จักก้าวร้าวมากขึ้นเพื่อให้งานในหน้าที่สำเร็จลุล่วงไป ผมว่าเป็นคอร์สที่ดีมากคอร์สหนึ่งเลยทีเดียว... หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ ธันวาคม 25, 2008, 04:47:28 AM ที่ขำๆอีกอย่างหนึ่ง คือการรายงานหรือบอกกล่าวเรื่องราวที่มีความสำคัญ...
คนไทยหลายคนติดนิสัยบอกกล่าว รายงานเรื่องราวในรูปแบบของละคร คืออารัมภบทเสียยืดยาว เล่าความเป็นฉากๆ แล้วเก็บผลสรุปไว้ให้ลุ้นตอนท้าย เช่น ... "นายครับ งานสำคัญที่ท่านสั่งให้ผมทำชิ้นนั้น ผมได้ดำเนินการโดยไปผลกับนายA พูดคุยให้เขาฟัง บราๆๆๆ ... ตอนแรกเขาไม่ค่อยยอมรับ บราๆๆๆ... แต่สุดท้ายเขาก็เข้าใจ และยอมทำตาม บราๆๆๆ... แต่เขาก็เจอปัญหา บราๆๆ... เราเลยต้องไปขอความช่วยเหลือจากนายB โดยการ บราๆๆๆ... แล้วเราก็ทำ บราๆๆๆ... ก็เจอปัญหา บราๆๆ... แต่เราก็ บราๆๆ... บราๆๆ... บราๆๆๆๆๆ..... ...... ...... สุดท้ายก็ บราๆๆ ๆๆๆ..... สรุปคือ งานยังไม่เสร็จครับ เดี๋ยวผมจะ follow up ต่อ....." ผมเคยนั่งขำในห้องประชุม ที่เห็น MD ฝรั่งนั่งเอานิ้วเคาะโต๊ะด้วยความอึดอัด รอฟังผลสรุปตอนท้ายอย่างอดทน ครั้งหลังๆแกไม่รอให้พูดจบครับ แกเบรคและยิงคำถามหาผลสรุปทันที แกมาพูดภายหลังว่าแกอึดอัดมาก ยังมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ชอบผูกเรื่องลักษณะนี้ ในการประชุมหรือรายงานที่ต้องการความกระชับในลักษณะ Executive Summary คือ รายงานผลก่อน / แล้วบอกปัญหาที่ทำให้ไม่เข้าเป้า / แล้วจึงบอกแนวทางดำเนินงานหรือแก้ไขต่อไป ในขณะที่คนไทยติดนิสัยบอกเล่าที่มาที่ไปยืดยาว เพื่อเป็นข้อสนับสนุน ขอความเห็นใจ... ผมว่านายฝรั่งต้องหัดดูละครไทยมากๆ จะได้อิน และลุ้นไปกับตอนอวสานอย่างสนุกสนาน... :D หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: น้าพงษ์...รักในหลวง ที่ ธันวาคม 25, 2008, 07:18:47 AM ...ขอบคุณครับ... ::002::
หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: bigbang ที่ ธันวาคม 25, 2008, 07:56:12 AM ขอบคุณครับ ::014::
จริงๆ คนไทยไม่น้อยนเก่งกว่าต่างชาติ มีทักษะมองปัญหาได้ดีและเร็ว รู้จักปรับปรุงแก้ไข ถึงมีคำว่า "ฝรั้งทำเกิน" จนต่างชาติทึ่งไม่น้อย แต่ข้อเสียตามที่ว่าครับ ส่วนต่างชาติเองก็ไม่ดีหรือเก่งกว่าคนไทยเท่าไรครับ เพียงแต่เขาเก่งและเอาเปรียบได้แนบเนียนกว่า ทึ่สำคัญคือ พวกเขาสามัคคีกันมากครับ หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: gms ที่ ธันวาคม 25, 2008, 10:13:09 AM มีประโยชน์มากครับ..ขอบคุณ จขกท. +1 ครับ
หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ธันวาคม 25, 2008, 10:17:45 AM ถ้าคุยกับต่างชาติที่ทำงานมาหลายประทศ เขาจะบอกครับว่าการทำงานของคนไทยหมายอย่างดี-ดีมาก และอย่างที่โพสก็มีจริงๆ
แต่ทั้งนี้ความแตกต่างของแต่ละคน แต่ละองค์กรมีมากกว่า ความแตกต่างระหว่าง แบบไทยๆ หรือแบบชาติอื่น หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ธันวาคม 25, 2008, 10:30:28 AM นายสมชายพบว่าทั้งหมดตามกระทู้ มีเรื่องเดียวกันที่เป็นแกนร่วมของทั้งหมดคือ"คนไทยเจ้าอารมณ์"ครับ... "ใช้อารมณ์เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของตนเอง"
ซึ่งเป็นคุณลักษณะตรงข้ามกับความเป็น"มืออาชีพ"ที่... "ใช้เหตุผลเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของตนเอง"... หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ธันวาคม 25, 2008, 10:39:07 AM ที่ขำๆอีกอย่างหนึ่ง คือการรายงานหรือบอกกล่าวเรื่องราวที่มีความสำคัญ... คนไทยหลายคนติดนิสัยบอกกล่าว รายงานเรื่องราวในรูปแบบของละคร คืออารัมภบทเสียยืดยาว เล่าความเป็นฉากๆ แล้วเก็บผลสรุปไว้ให้ลุ้นตอนท้าย เช่น ... "นายครับ งานสำคัญที่ท่านสั่งให้ผมทำชิ้นนั้น ผมได้ดำเนินการโดยไปผลกับนายA พูดคุยให้เขาฟัง บราๆๆๆ ... ตอนแรกเขาไม่ค่อยยอมรับ บราๆๆๆ... แต่สุดท้ายเขาก็เข้าใจ และยอมทำตาม บราๆๆๆ... แต่เขาก็เจอปัญหา บราๆๆ... เราเลยต้องไปขอความช่วยเหลือจากนายB โดยการ บราๆๆๆ... แล้วเราก็ทำ บราๆๆๆ... ก็เจอปัญหา บราๆๆ... แต่เราก็ บราๆๆ... บราๆๆ... บราๆๆๆๆๆ..... ...... ...... สุดท้ายก็ บราๆๆ ๆๆๆ..... สรุปคือ งานยังไม่เสร็จครับ เดี๋ยวผมจะ follow up ต่อ....." ผมเคยนั่งขำในห้องประชุม ที่เห็น MD ฝรั่งนั่งเอานิ้วเคาะโต๊ะด้วยความอึดอัด รอฟังผลสรุปตอนท้ายอย่างอดทน ครั้งหลังๆแกไม่รอให้พูดจบครับ แกเบรคและยิงคำถามหาผลสรุปทันที แกมาพูดภายหลังว่าแกอึดอัดมาก ยังมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ชอบผูกเรื่องลักษณะนี้ ในการประชุมหรือรายงานที่ต้องการความกระชับในลักษณะ Executive Summary คือ รายงานผลก่อน / แล้วบอกปัญหาที่ทำให้ไม่เข้าเป้า / แล้วจึงบอกแนวทางดำเนินงานหรือแก้ไขต่อไป ในขณะที่คนไทยติดนิสัยบอกเล่าที่มาที่ไปยืดยาว เพื่อเป็นข้อสนับสนุน ขอความเห็นใจ... ผมว่านายฝรั่งต้องหัดดูละครไทยมากๆ จะได้อิน และลุ้นไปกับตอนอวสานอย่างสนุกสนาน... :D ตรงนี้เป็นเรื่องของระดับสมองครับ... เป็นเหมือนกันหมดทั้งไทยทั้งฝรั่งหรือชาติไหนๆ... ความสามารถในการสรุปภาพรวมให้ออก และผูกเรื่องร้อยเรียงให้ต่อเนื่องเป็นเหตุเป็นผลกัน และเรียงลำดับความสำคัญที่มีต่อผู้ฟัง... ทั้งหมดนี่ไม่ใช่เรื่องง่ายครับ... ลองถามพนักงานระดับล่างบางคนให้อธิบายว่าผูกเชือกรองเท้าอย่างไร... จะอธิบายไม่ได้ทั้งๆที่ผูกอยู่ทุกครั้งตั้งแต่เด็ก... แต่ถ้าถามผู้บริหาร... จะจัดหมวดหมู่กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องออกมาเป็นสองหมวดคือร้อยเชือกและผูกให้แน่น... ร้อยเชือกคือร้อยรูคู่ล่างสุดวัดให้ตรงกึ่งกลางความยาวเชือก แล้วนำปลายเชือกสอดรูบนของฝั่งตรงข้ามไขว้กัน ด้านนอกทับด้านในจนถึงรูคู่บนสุด... ส่วนผูกให้แน่นคือนำมาผูกเป็นเงื่อนตายสองทบ ปล่อยชายให้เหลือสำหรับดึงให้หลุดเมื่อจะถอดรองเท้า... คำถามลักษณะนี้... นายสมชายเอาไว้ถามประเมินคนที่รู้จักใหม่เสมอ เพื่อให้ทราบว่าคนนั้น... "ระดับไหน"... หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ธันวาคม 25, 2008, 11:00:13 AM ๒. การโต้แย้ง
๓. ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด 2 เรื่องนี้ ก็คือการที่ฝรั่งคิดว่าเป็นเขาจะพูด แต่ทำไมคนไทยไม่พูด ผมว่าเป็นเพราะคนไทย เถียงแล้วไม่จบบนโต๊ะครับ มองหน้าไม่ติดผิดใจกัน แต่ในทางปฏิบัติ ฝรั่งทำงานกับคนไทยล้มเหลวมาหลายเรื่องก็เพราะพูดมากไปนี่แหละ พูดตรง พูดถูกตามเหตุผล แต่ไม่เข้าหูคนไทย สรุป ทำงานกันไม่สำเร็จ มองความจริง เพื่อบริหารจัดการให้ได้ มีประโยชน์กว่า มองเพื่อบอกว่าเป็นปัญหา เพราะเมื่อเห็นเป็นปัญหาแล้วการแก้ปัญหา อาจเป็นการแก้เฉพาะจุด หรือปลายเหตุ เพื่อให้ทำงานได้ หรือแก้ที่ต้นเหตุ ซึ่งในเรื่องการปะทะทางวัฒนธรรมหากจะอยากแก้ที่ต้นเหตุต้องตั้งต้นเหตุคือ การทำงานกันไม่ได้ ไม่ใช่เพราะ วัฒนธรรมของอีกฝ่ายไม่ถูก เพราะคุณแก้ตรงนี้ไม่ได้ นอกจากเรื่องประเด็นทางการงานจริงๆ ตามกระทู้ยังมีเรื่องเล็กๆ น่้อยๆ ที่กลายเป็นใหญ่ๆ อีกแยะ นานมาแล้ว ทีมร่วม คนไทยกับฝรั่ง ฝรั่งมาคุยที่โต๊ะทำงานคนไทย ก็มานั่งบนขอบโต๊ะ คนไทยฉุนบอกให้ลงมา "ข้าถือ" ฝรั่งก็โจ๊ก "ไม่เป็นไรไอไม่ถือ" "แกไม่ถือแต่โต๊ะข้า" ฝรั่งก็ว่า "โต๊ะข้ามั๊ง ออฟฟิตนี้เงินช่วยเหลือจากชาติไอ" เป็นเรื่องครับ ต้องผู้ใหญ่เคลียร์ หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ธันวาคม 25, 2008, 11:03:56 AM เรื่องเถียงกัน ลองเถียงกับญี่ปุ่นบนโต๊ะในห้องประชุมสิครับ เจ๊งทันที แนวเขาให้ลูกน้องมาคุย เถียง เปลี่ยน ปรับ ต่อรอง ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน เข้าห้องตบมือ จับมือ ยิ้มอย่างเดียว
หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: Earthworm ที่ ธันวาคม 25, 2008, 09:45:22 PM ทั้งหมดที่ว่ามาก็จริงทั้งนั้นละครับ แต่เท่าที่ผมเห็นบริษัทใหญ่ๆ ที่ล่มๆ เจ๊งๆ กันมา ก็ ไอ้พวกฝรั่งดั้งขอ บริหารทั้งนั้นไม่ใช่เหรอครับ หรืออ้างว่าลูกน้องคนไทยรับนโยบายไปแล้วปฏิบัติตามไม่ได้ ที่ผ่านมาผมร่วมงานกับฝรั่งมาก็หลายคน เฮงซวยเกือบทุกคนครับ ทั้งขี้ฟ้อง จ้องจับผิด ขโมยความคิด แทงข้างหลัง นินทา ลูกน้อง นินทาเจ้านาย อีกสารพัดครับ ที่ประทับใจจริงๆ ผมชอบ ญี่ปุ่นมากกว่าครับ มีระเบียบ และก็ เอาจริงเอาจัง ดีครับ หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: C.J. - รักในหลวง ที่ ธันวาคม 26, 2008, 09:10:22 AM มุมมองผม ต่อชาวต่างชาติ บ้าง เท่าที่ผมเจอๆมา... ;D
ญี่ปุ่น - ขยัน อดทน มีความพยายามสูง ระเบียบจัด ละเอียด พูดภาษาอังกฤษฟังยาก... ไม่รู้ว่าจะจริงจังอะไรนักหนา ::005:: ฟิลิปปินส์- ถนัดขี้ฟ้อง เก่งเอกสาร รายงาน เรื่องความรู้ความสามารถไม่เก่งสักอย่าง ;D มาเล - เท่าทีพบมา คล้ายๆคนไทย แต่ความตั้งใจสูงกว่า ด้อยตรงรับปากแล้วไม่ค่อยจะทำตาม... :D สิงคโปร์ - ความรู้ความสามารถดี มี มาตรฐาน ผยอง แต่งานฝีมือแย่ เห็นแก่ตัว... :D ฝรั่งรวมๆ- แบ่งเป็นสองระดับ ผู้บริหาร กับ คนงานทั่วไป, ระดับบริหาร ฝรั่งมักมีผู้บริหารที่ดี เก่ง เฉียบขาด ตรงเวลา เรื่องความปลอดภัยคือเรื่องใหญ่, สำหรับคนงานทั่วไป ทำงานสบายๆ เอางานเป็นหลัก ไม่เรื่องมาก ชอบคนไทย ชอบฝากให้เพื่อนคนไทยทำงาน ::005:: หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ ธันวาคม 26, 2008, 09:54:08 AM คนชาติไหนเวลาไปอยู่ต่างแดน ถ้ายังคิดเปรียบเทียบว่า บ้านฉันเป็นยังงี้ ทำไมที่นี่เป็นอย่างอื่น แสดงว่ายังปรับตัวไม่ได้ ขาดสติ นิดหน่อย ลืมไปว่าที่นี่ไม่ใช่ญี่ปุ่น เยอรมัน หรือเมืองไทยแล้ว...
หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: Daimyo ที่ ธันวาคม 26, 2008, 11:10:22 AM ในมุมมองของฝรั่ง.....จากที่ทํางานกับต่างชาติมาตลอดช่วงสิบกว่าปีมานี้...ทั้งญี่ปุ่น อเมริกัน แคนนาเดี้ยน สิงคโปร์ อังกฤษ...ที่เหลือนึกไม่ออกแล้ว....
ก็จริงอย่างที่ว่า....ในมุมมองของพวกนั้น.... แต่ปัญหาน่าจะมาจากช่องว่างระหว่าง...วัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ และ ความลึกซึ้งในเรื่องของภาษาและการสื่อสาร.... พวกต่างชาติเองก็ต้องเรียนรู้และปรับตัวกับช่องว่างดังกล่าว...ส่วนมากมักไม่ปรับ.... ภาษาก็อีกเช่นกัน....เห็นคนไทยพูดและฟังรู้เรื่อง...ก็คิดว่าเข้าใจทั้งหมด.... หารู้ไม่...เข้าใจไม่เข้าใจ....พี่ไทย...yesตลอด....ก็นึกว่าเข้าใจ.... หลายๆครั้ง...ที่บรรดานายฝรั่ง...ด่าลูกน้องคนไทยด้วยภาษาแสลงหรือใช้ภาษาที่ยอกย้อนเหน็บแนม...แต่ลูกน้องไม่เข้าใจ..นึกว่าชม... ดันตอบว่า....OK Thanks!!!......ฝรั่งก็เลยทําหน้างงๆ ถ้าจะทํางานกันให้ราบรื่น......การเรียนรู้ซึ่งและยอมรับความแตกต่างของกันและกันเป็นเรื่องสําคัญ....หลายๆบริษัทในเมืองไทย...มีการอบรมในรูปแบบนี้...เพื่อความเข้าใจระหว่างกัน หัวข้อ: Re: ๑๑ การทำงานแบบไทย ในมุมมองของชาวต่างชาติ เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ ธันวาคม 27, 2008, 12:12:05 AM เห็นใจคุณ chnon ที่เจอฝรั่งเฮงซวยครับ ถ้าผมเจอฝรั่งพรรค์นั้น ผมก็คงไม่นับถือ และไม่เอามาจดจำเช่นกัน...
ผมอาจโชคดีหน่อย เพราะบริษัท(US)ที่เคยร่วมงาน เป็นบริษัทการผลิตขนาดใหญ่ มีเพื่อนร่วมงานหลายชาติพันธุ์ มีสาขา/โรงงานไปทั่วโลก ฝรั่งคนไหนถ้าไม่เจ๋งจริง จะไม่ได้มาครองตำแหน่งผู้บริหารในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ซึ่งถึงเป็นฐานการผลิตใหญ่แห่งหนึ่งของสาขาทั่วโลก MD ประจำประเทศไทยจึงมักควบตำแหน่งผู้บริหารภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกด้วย การที่ได้มาทำงานและเกษียณอายุที่เมืองไทย ถือเป็นรางวัลของชีวิตการทำงานเลยทีเดียว ผู้บริหารชาวฝรั่งเหล่านี้จึงมีความสามารถเป็นที่ยอมรับ มีอาวุโส ทำงานเป็นระบบ ฉลาด เฉียบขาด แต่ยืดหยุ่นและเข้าใจสไตล์การทำงานของคนไทย เป็นนักบริหารแท้ๆ (ไม่ใช่แค่ชื่อตำแหน่ง) เน้นผลงานเป็นหลัก ที่แตกต่างกับญี่ปุ่นค่อนข้างชัดคือ ให้อิสระในความคิดและวิธีการทำงาน ไม่จุกจิกหยุมหยิม ... ให้โอกาสแสดงฝีมือ แต่อย่าวางใจนะ ... พูดคุยยิ้มแย้มกันวันนี้ พรุ่งนี้คุณอาจตกเก้าอี้หรือตกงาน ถ้าผลงานไม่เป็นที่พอใจของนาย ผมชอบสไตล์การทำงานของฝรั่งที่เป็นนักบริหารมืออาชีพ ... แต่ไม่ได้ชอบวัฒนธรรม/ปรัญชาแบบทุนนิยมขององค์กรฝรั่งครับ มีขำๆอีกเรื่องคือ บริษัทฝรั่งแตกต่างกับญี่ปุ่นคือมักไม่นิยมทำ OT ... วันหนึ่ง มีความจำเป็นต้องทำงานกันต่อหลังเลิกงาน(ไม่ได้OT) นายใหญ่บังเอิญมาเห็นเข้า แทนที่จะชมว่าขยัน กลับพูดยิ้มๆว่า พวกยูวางแผนในการทำงานและบริหารเวลาไม่ดีพอ จึงต้องอยู่กันมืดค่ำ... |