เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤษภาคม 26, 2009, 11:59:59 AM



หัวข้อ: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย ร้ายกว่าที่คิด
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤษภาคม 26, 2009, 11:59:59 AM
“ชิคุนกุนยา” ไวรัสสายพันธ์ใหม่แพร่จากยุงลาย

ชี้ไม่มียารักษาแค่ประคับประคองตามอาการเท่านั้น

(http://www.thaihealth.or.th/files/u1490/13551000006344201.jpg)


ระบาดอีกแล้ว!!! โรคที่มาพร้อมกับยุง.... เมื่อบอกอย่างนี้หลายคนคงนึกถึงโรคไข้เลือดออก  ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
ไข้มาเลเรีย  ที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค แต่ที่น่าตกใจเพราะตอนนี้ไม่ได้มีเพียงแค่นี้เท่านั้นแต่กลับมีโรคที่มีชื่อแปลกๆ
ว่า “ชิคุนกุยา” มาทำความรำคาญและแพร่ระบาดหนักอยู่ในภาคใต้ของประเทศเราอยู่

 

สถานการณ์ล่าสุด!!! หลังจากพบผู้ป่วยที่มีอาการเหมือนติดเชื้อไวรัสชิคุกุนยา ใน 2 จังหวัดภาคใต้ คือจังหวัดนราธิวาส
และปัตตานี ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค เร่งส่งเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งทีมเจ้าหน้าที่
เข้าตรวจสอบพื้นที่และเฝ้าระวังโรคดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อหาทางยุติการแพร่ระบาดของโรคนี้

 

... เชื่อได้เลยว่าหลายคนยังคงไม่คุ้นหูกับโรคชิคุนกุนยา ไม่รู้ว่ามันเป็นโรคอะไร???? บ้างก็แตกตื่นคิดว่าเป็นโรคสาย
พันธ์ใหม่ แต่จริงๆ แล้วโรคนี้มีมานานแล้ว โดยถิ่นกำเนิดแรกของมันอยู่ที่ทวีปอาฟริกา และแพร่ระบาดไปหลายๆประเทศ
ทั่วโลก หนึ่งในนั้นก็รวมประเทศไทยของเราด้วย ซึ่งตรวจพบโรคชิคุนกุนยาครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและ
เป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย

 

น.พ.หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกมาบอกถึงโรคดังกล่าวว่า “ชิคุนกุนยา” เป็นโรคที่เกิดจาก
เชื้อไวรัสชิคุนกุนยา มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ซึ่งอาการที่เด่นชัด
ในผู้ใหญ่คืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบ
ได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการ
จะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการ
ปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก ที่อาจพบ
tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้

 

สาเหตุการติดต่อ!! โรคนี้ติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่
ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้า
สู่ต่อมน้ำลายเมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัดทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้

 

ระยะการฟักตัว!!!  โดยทั่วไปจะมีการฟักตัวประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน ระยะติดต่อคือระยะไข้สูงประมาณ
วันที่ 2-4 ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก สำหรับอาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน
ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา
หรือมีเลือดออกตามผิวหนัง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว 

 

แม้อาการนำของโรคชิคุนกุนยา จะคล้ายโรคไข้เลือดออกหรือหัดเยอรมัน แต่ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อก
หรือเลือดออกมาก โรคชิคุนกุนยาพบมากในฤดูฝน และทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากโรคไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่มักพบ
ในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี

 

ดูแล้วเหมือนมันอาจจะไม่ค่อยรุนแรงเหมือนโรคไข้เลือดออกสักเท่าไหร่ แต่ถึงแม้มันจะไม่สามารถคร่าชีวิตคนเราไปได้
แต่เราก็ควรที่จะระมัดระวังเอาไว้ โดยเฉพาะลูกเด็กเล็กแดงที่อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ง่าย อีกทั้งช่วงนี้ฝนตกบ่อยทำ
ให้มีน้ำขัง เหมาะแก่การเจริญเติบโตของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคอีกด้วย

 

ส่วนวิธีป้องกันนั้น!!!  ถึงแม้ทุกวันนี้ยังไม่ยาหรือวัคซีนตัวใดที่ใช้รักษาได้โดยตรงทั้งโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา
ดังนั้นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ถ้ามีไข้สูง ก็ให้ยาลดไข้ หรือลดอาการปวดข้อ และพักผ่อนให้เพียงพอก็
สามารถบรรเทาอาการไปได้ แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันการแพร่พันธุ์ของยุงเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ต้องหมั่นตรวจดูที่เก็บกักน้ำ ไม่ว่าจะเป็น บ่อ กะละมัง เพราะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่ จึงจำเป็นต้องมีฝา
ปิด ที่ใดที่จำเป็นต้องมีน้ำขังอยู่ก็ให้ใส่ทรายอะเบทลงไปเพื่อป้องกันการวางไข่ และควรเลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้
หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เพราะปลาจะกินลูกน้ำเป็นอาหาร

 

แต่นอกเหนือจากการป้องกันการแพร่พันธ์ของยุงแล้ว ตัวเราเองก็ต้องป้องกันตัวเราไม่ให้ถูกยุงกัดด้วย ควรติดมุ้งลวด
ในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงกัดตอนกลางวัน และที่สำคัญต้องเฝ้าสังเกต
คนในบ้านว่ามีไข้และอาการคล้ายกับโรคชิคุนกุนยาหรือไม่ หากมีก็ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน

 

ถึงแม้ว่าวันนี้ โรคชิคุนกุนยาจะเป็นโรคใหม่ที่มีชื่อไม่คุ้นหูนัก แต่หากปล่อยให้แพร่ระบาดไปสู่วงกว้างอาจส่งผลกระทบ
ต่อสุขภาพและเศรษฐกิจได้ ... วันนี้เพียงป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยา
ได้ด้วยนะค่ะ

 

 

เรื่องโดย : ณัฐภัทร  ตุ้มภู่  Team Content  www.thaihealth.or.th (http://www.thaihealth.or.th)

ขอขอบคุณ
 ::014:: ::014:: ::014::
http://www.thaihealth.or.th/ (http://www.thaihealth.or.th/)



หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤษภาคม 26, 2009, 12:09:13 PM
"ชิคุนกุนยา" คืออะไร

          "โรคชิคุนกุนยา" (Chikungunya) หรือ "โรคไข้ปวดข้อยุงลาย" ไม่ใช่โรคใหม่อะไรหรอกค่ะ แต่เป็นโรคที่อุบัติขึ้นมานานแล้ว
ตั้งแต่ปี ค.ศ.1955 โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา ก่อนจะแพร่ระบาดไปหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
ซึ่งผู้ที่บรรยายลักษณะของโรคชิคุนกุนยาเป็นคนแรกคือ Marion Robinson และ W.H.R. Lumsden

          การแพร่เชื้อโรคชิคุนกุนยาในทวีปแอฟริกานั้น มี 2 วงจร คือชนิด "วงจรชนบท" คน-ยุง-ลิง ซึ่งมีการระบาดเป็นครั้งคราว
ก่อนที่คนจะนำเชื้อชนิดนี้ออกมาสู่ชุมชนเมือง ทำให้เกิด "วงจรในเมือง" คน-ยุง กลายเป็นการแพร่ระบาดจากคนสู่คน โดยมียุง
เป็นพาหะนั่นเอง

          ส่วนในทวีปเอเชียวงจรที่พบคือ "วงจรในเมือง" มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อติดต่อไปสู่คนได้ โดยเกิดการแพร่ระบาดใน
ทวีปเอเชียครั้งแรกที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ในปี ค.ศ.1963 ขณะที่ในประเทศไทยตรวจพบโรคชิคุนกุนยาครั้งแรกเมื่อ
ปี พ.ศ.2501 พร้อมๆ กับโรคไข้เลือดออกที่ระบาดเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย จากนั้นประเทศไทยก็ได้พบการแพร่ระบาดของ
โรคชิคุนกุนยามาทั้งหมด 6 ครั้ง คือในปี พ.ศ 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์, ปี พ.ศ. 2534 พบที่จังหวัดขอนแก่น และปราจีนบุรี
จากนั้นในปี พ.ศ.2536 พบว่ามีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย

          ก่อนที่ล่าสุดจะพบการระบาดอีกครั้งในช่วงต้นปี 2552 ที่จังหวัดนราธิวาส ยะลา สงขลา และปัตตานี ส่งผลให้มีผู้ป่วย
ด้วยโรคชิคุนกุนยากว่า 5,596 รายแล้ว (ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552)


ที่มาของชื่อไวรัสชิคุนกุนยา

          ชื่อของเชื้อไวรัสชิคุนกุนยานั้น มาจากคำในภาษา Makonde ซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองในแอฟริกาที่อาศัยอยู่ทาง
ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแทนซาเนีย และทางตอนเหนือของประเทศโมแซมบิก โดยรากศัพท์พื้นเมืองเดิมเรียกว่า
kungunvala ซึ่งมีความหมายเป็นภาษาอังกฤษว่า "That which bends up" สอดคล้องกับลักษณะอาการปวดข้อของโรคนี้

สาเหตุของโรคชิคุนกุนยา

          โรคชิคุนกุนยาเกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus
และ family Togaviridae ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นจึงมักพบการระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการ
เพาะพันธุ์ของยุงลาย


การติดต่อของโรคชิคุนกุนยา

          การติดต่อของโรคชิคุนกุนยาเกิดขึ้นเมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัส
อยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสนั้นจะไปเพิ่มจำนวนมากขึ้นในตัวยุง และเมื่อยุงนั้นไปกัดคนอื่นต่อ ก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด
ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคชิคุนกุนยาได้

          ทั้งนี้โรคชิคุนกุนยามีระยะฟักตัว 1-12 วัน แต่ช่วง 2-3 วันจะพบบ่อยที่สุด ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 จะเป็นช่วงที่มีไข้สูง
มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก และสามารถติดต่อกันได้หากมียุงลายมากัดผู้ป่วยในช่วงนี้ และนำเชื้อไปแพร่ยังผู้อื่นต่อ


อาการของโรคชิคุนกุนยา

          ผู้ที่เป็นโรคชิคุนกุนยาจะมีไข้สูงอย่างฉับพลัน ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ปวด
กล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดกระบอกตา หรือมีเลือดออกตามผิวหนัง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย ซึ่งดูเผินๆ คล้ายกับ
โรคไข้เลือดออก หรือหัดเยอรมัน แต่จะไม่มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นช็อก หรือเลือดออกมากเช่นโรคไข้เลือดออก

          อย่างไรก็ตามโรคชิคุนกุนยาสามารถเป็นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงกว่า คือมักจะมีอาการ
ปวดข้อทั้งข้อมือ ข้อเท้า และเป็นข้ออักเสบตามมาด้วย ซึ่งมักจะเปลี่ยนตำแหน่งที่ปวดไปเรื่อยๆ บางครั้งมีอาการรุนแรง
มากจนขยับข้อไม่ได้ แต่จะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ หรือบางคนอาจจะปวดเรื้อรังอยู่เป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้


การรักษาและป้องกันโรคชิคุนกุนยา

          ทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนสำหรับการรักษาและป้องกันโรคชิคุนกุนยา ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น
หากเป็นไข้ก็ให้ยาลดไข้ หรือหากปวดข้อก็ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น  แต่ล่าสุดได้มีผลการศึกษา
วิจัยพบว่า ยาคลอโรควิน (Chloroquin) สามารถบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคชิคุนกุนยาได้ผลดีเช่นกัน

          ทั้งนี้วิธีที่จะสามารถป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้ดีที่สุดก็คือ การกำจัดยุงลายอันเป็นตัวพาหะนำโรค โดยต้องหมั่นตรวจ
ดูแหล่งน้ำภายในบ้าน เช่น บ่อ กะละมัง ชาม โอ่งน้ำ ตุ่ม ฯลฯ ควรหาฝาปิดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่ หรือให้
ใส่ทรายอะเบทในอัตรา 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ลงไปในน้ำก็จะสามารถป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ รวมทั้งให้หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเข้ามาฉีดพ่นหมอกควันตามอาคารบ้านเรือนที่มีแหล่งน้ำขังอยู่ เพื่อเป็นการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

          นอกจากนี้ตัวเราเองก็ต้องป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยการทายากันยุง หรือใช้สารไล่ยุง และสวมเสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้
ยุงกัด รวมทั้งยังต้องเฝ้าสังเกตอาการของคนรอบข้างว่ามีอาการใกล้เคียงกับโรคชิคุนกุนยาหรือไม่ หากมีอาการคล้ายเคียง
หรือต้องสงสัยให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว


          จะเห็นว่าแม้โรคชิคุนกุนยาจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ทำให้คนป่วยได้รับความทุกข์ทรมาน และความรำคาญใจ
จากอาการปวดได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรป้องกัน และเตรียมพร้อมรับมือกับโรคชิคุนกุนยาไว้ก่อนจะดีที่สุดค่ะ

จาก

http://hilight.kapook.com/view/34749 (http://hilight.kapook.com/view/34749)










หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ พฤษภาคม 26, 2009, 12:13:27 PM
ขอบคุณครับพี่

ตอนนี้ระบาดในหมู่บ้านผมแล้วครับ


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: Choro - รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 26, 2009, 12:19:20 PM
ขอบคุณครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤษภาคม 26, 2009, 01:49:32 PM
ลำบากก็เรื่องไม่มียารักษาให้หายขาดอ่ะครับ


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 26, 2009, 04:29:31 PM
ขอบคุณครับพี่ซับฯ โดนเมียถามอยู่เหมือนกันว่าโรคพุทรา เอ๊ยชิคุนกุนยานี่มันเป็นยังไง ;D


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: ลานดาว ที่ พฤษภาคม 26, 2009, 05:02:04 PM
ถ้าเป็น ..
ต้องปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ 2-3 เดือนนี่ซิ ทรมานจัง.


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: makarms ที่ พฤษภาคม 26, 2009, 05:57:00 PM
ผมไม่ได้อ่านข้างบนนะครับ ตอบตามที่เคยสัมผัสมา...   :D

     ถ้าเป็นโรคนี้จะมีอาการเจ็บตามข้อก่อน...(ข้อมือ ข้อเท้า หัวเข่า)แต่ผมมีอาการปวดที่ข้อมือก่อนวันสองวัน หลังจากนั้นอาบน้ำตอนเช้าจะสังเกตุเห็นผื่นแดงๆขึ้นตามตัว  ผมเป็นอยู่สองสัปดาห์ สัปดาห์แรก... มีไข้ มีผื่นขึ้นตามตัว มีอาการคันตามตัวด้วย นอนอย่างเดียว ปากแตกเบื่ออาหาร แต่อยากกินเปรี้ยวๆ โดยเฉพาะผลไม้ ต่อมาสัปดาห์ที่สอง.... ผื่นหาย เวียนหัว ลุกขึ้นเดินไม่ได้เพราะมึน นอนทั้งวัน อาหารก็พอกินได้นิดๆ สัปดาห์ที่สามเริ่มทานอาหารได้ ร่างกายกลับมาฟิตเหมือนเดิม แต่เดินไกลๆไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีแรง.... สรุปเดือนนึงครับ ถึงร่างกายจะกลับมาฟิตเหมือนเดิม สำหรับผมนะ  ;D

ปล.บางคนไม่ไปหาหมอ ต้องนอนปวดข้ออยู่เป็นเดือนๆ ทรมานมาก....  :P


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: ทิดเป้า ที่ พฤษภาคม 26, 2009, 08:36:16 PM
 ::014::ขอบคุณครับน้าซับ.รูปหล่อ

 ;)ผมีใข้วิธีเขียนป้ายไว้ในบ้าน ว่า " ห้ามกัดคน ฝ่าฝืน ทั้งปรำ ทั้งจับ "


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: odd12:รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 26, 2009, 08:44:06 PM
ขอบคุณครับ จะได้ระวังเพิ่มมากขึ้น


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤษภาคม 27, 2009, 04:45:21 PM
ผมไม่ได้อ่านข้างบนนะครับ ตอบตามที่เคยสัมผัสมา...   :D

     ถ้าเป็นโรคนี้จะมีอาการเจ็บตามข้อก่อน...(ข้อมือ ข้อเท้า หัวเข่า)แต่ผมมีอาการปวดที่ข้อมือก่อนวันสองวัน หลังจากนั้นอาบน้ำตอนเช้าจะสังเกตุเห็นผื่นแดงๆขึ้นตามตัว  ผมเป็นอยู่สองสัปดาห์ สัปดาห์แรก... มีไข้ มีผื่นขึ้นตามตัว มีอาการคันตามตัวด้วย นอนอย่างเดียว ปากแตกเบื่ออาหาร แต่อยากกินเปรี้ยวๆ โดยเฉพาะผลไม้ ต่อมาสัปดาห์ที่สอง.... ผื่นหาย เวียนหัว ลุกขึ้นเดินไม่ได้เพราะมึน นอนทั้งวัน อาหารก็พอกินได้นิดๆ สัปดาห์ที่สามเริ่มทานอาหารได้ ร่างกายกลับมาฟิตเหมือนเดิม แต่เดินไกลๆไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีแรง.... สรุปเดือนนึงครับ ถึงร่างกายจะกลับมาฟิตเหมือนเดิม สำหรับผมนะ  ;D

ปล.บางคนไม่ไปหาหมอ ต้องนอนปวดข้ออยู่เป็นเดือนๆ ทรมานมาก....  :P

คุณมะขามเป็นกับเขาด้วยเหรอครับ

 :OO :OO :OO


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: makarms ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 08:03:37 AM
ไม่มีเหลือครับ น้าซับ  ::005::


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 11:43:28 AM
แถวละแวกบ้านน้ามะขามเป็นกันเยอะไหม

แล้วปีนี้ มาลาเรีย เยอะป่าวครับ


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: สหายแป๋ง คนดง ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 12:08:52 PM
  ตั้งใจจะไปนราธิวาสพอหนุ่มน้อยmakarms  มาเป้นโรคนี้เลยระงับโปรแกรมไว้ก่อนลำพังไม่เป็นโรค"ชิคุนกุนยา"  ผมก็นอนปวด...มาหลายปี


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: sorrachat - รักในหลวง ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 12:20:30 PM
ขอบคุณครับสำหรับมูล น่ากลัวนะครับมีโรคแปลกๆมาอยู่บ่อยๆเลย


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: สหายอ๋อง เซียนปลาซิว ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 12:23:05 PM
ที่หาดใหญ่ ในหมู่บ้านผม  รอดแค่ 2 ครอบครัว  คือครอบครัวผม  กับเพื่อน  ที่เหลือเป็นเกลี้ยง

ครอบครัวเพื่อน  ต้องไปกรีดยางที่สะเดา  3  วันกลับที  ไม่น่ารอด

ผมทำงานอยู่ นราฯ  กลับบ้านเดือนละ 2 ครั้ง  ก็ไม่น่ารอด


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: สหายแป๋ง คนดง ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 12:34:34 PM
ที่หาดใหญ่ ในหมู่บ้านผม  รอดแค่ 2 ครอบครัว  คือครอบครัวผม  กับเพื่อน  ที่เหลือเป็นเกลี้ยง

ครอบครัวเพื่อน  ต้องไปกรีดยางที่สะเดา  3  วันกลับที  ไม่น่ารอด

ผมทำงานอยู่ นราฯ  กลับบ้านเดือนละ 2 ครั้ง  ก็ไม่น่ารอด
   เป็นๆกะเขาไปเหอะสหายอ๋อง  จะได้ไม่น้อยหน้า  ขืนไม่เป็นเสียเปรียบครอบครัวเขาแย่เลยน่ะ  จริ๊งจริง..


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: สหายอ๋อง เซียนปลาซิว ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 01:20:24 PM
เชิญเถอะพ่อคุณ  ::014:: ::014:: ::014::

 2  ปีก่อน  ขนาดไข้หวัดใหญ่  ธรรมดา  ก็เดี้ยงไปเป็นอาทิตย์

 :~) :~) :~)


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: golek ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 01:55:15 PM
สถานะการณ์ของโรคครับ ตรวจสอบได้รายวันเลย  ;D ;D ;D

ตามได้ที่นี้ครับ http://203.157.15.4/chikun/

ใครที่เป็นแล้ว เสียใจด้วยนะครับ ท่านไม่มีโอกาสเป็นมากกว่าคนอื่นแล้วครับ
เพราะโรคนี้ เป็นแล้วมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิตครับ  ::005:: ::005:: ::005:: ::005::


แต่ถ้าให้ดี ป้องกันตัวเองไว้ดีกว่าครับ เป็นแล้วไม่ตาย แต่ทรมานครับ  ;) ;) ;)


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: สหายแป๋ง คนดง ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 02:12:47 PM
เชิญเถอะพ่อคุณ  ::014:: ::014:: ::014::

 2  ปีก่อน  ขนาดไข้หวัดใหญ่  ธรรมดา  ก็เดี้ยงไปเป็นอาทิตย์

 :~) :~) :~)
    ชะอู้ย............โดนเต็มเลยเรา  ไม่เอาแป๋งไม่เป็นกรุงเทพฯไม่มียุงลาย
มีแต่คนท้องลายอิอิอิ


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 02:21:42 PM
ที่หาดใหญ่ ในหมู่บ้านผม  รอดแค่ 2 ครอบครัว  คือครอบครัวผม  กับเพื่อน  ที่เหลือเป็นเกลี้ยง

ครอบครัวเพื่อน  ต้องไปกรีดยางที่สะเดา  3  วันกลับที  ไม่น่ารอด

ผมทำงานอยู่ นราฯ  กลับบ้านเดือนละ 2 ครั้ง  ก็ไม่น่ารอด

คตงแนะนำพวกโลชั่นกันยุง ยี่ห้อดีๆครับ  เอาแบบทาตัวนี่แหละ แบบจุด แบบฉีด ไม่ค่อยสัมฤทธิ์ผล


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: สหายอ๋อง เซียนปลาซิว ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 03:24:54 PM
ขอบคุณครับพี่ซับ

นอกจากโลชั่นแล้วผมซื้อเตาอั้งโล่แบเล็กๆมาอันนึง

หัวค่ำก็ให้แม่ก่อไฟถ่านใส่ใว้  แล้วให้ใอ้ตัวเล็กเอา ตะไคร้หอม ตัดท่อนละ 3 - 4 นิ้ว  ใส่ทีละ 2 - 3 ท่อน  ไล่ยุง


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 03:33:32 PM
ขอบคุณครับพี่ซับ

นอกจากโลชั่นแล้วผมซื้อเตาอั้งโล่แบเล็กๆมาอันนึง

หัวค่ำก็ให้แม่ก่อไฟถ่านใส่ใว้  แล้วให้ใอ้ตัวเล็กเอา ตะไคร้หอม ตัดท่อนละ 3 - 4 นิ้ว  ใส่ทีละ 2 - 3 ท่อน  ไล่ยุง

ดีครับ  อีกอย่าง ที่ไล่ยุงดี ก็เผายางรถยนต์อ่ะครับ

แต่อย่าเลย เดี๋ยว ตร.เค้าค้อนให้...


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: RUGER ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 03:46:05 PM
  ขอบพระคุณครับ 


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: makarms ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 08:13:24 PM
แถวละแวกบ้านน้ามะขามเป็นกันเยอะไหม

แล้วปีนี้ มาลาเรีย เยอะป่าวครับ

เป็นกันหมดแล้วครับ ตัวผมนึกว่าจะรอดแล้ว แต่สุดท้ายก็เป็นครับ เป็นหลังเพื่อนด้วย....  :~)

  ตั้งใจจะไปนราธิวาสพอหนุ่มน้อยmakarms  มาเป้นโรคนี้เลยระงับโปรแกรมไว้ก่อนลำพังไม่เป็นโรค"ชิคุนกุนยา"  ผมก็นอนปวด...มาหลายปี

เดี๋ยวผมจะเอาไปปล่อยให้ที่กทม.ครับลุงแป๋ง  ;D

ที่หาดใหญ่ ในหมู่บ้านผม  รอดแค่ 2 ครอบครัว  คือครอบครัวผม  กับเพื่อน  ที่เหลือเป็นเกลี้ยง

ครอบครัวเพื่อน  ต้องไปกรีดยางที่สะเดา  3  วันกลับที  ไม่น่ารอด

ผมทำงานอยู่ นราฯ  กลับบ้านเดือนละ 2 ครั้ง  ก็ไม่น่ารอด

ไม่ได้แช่ง.... ไม่รอดชัวร์  ::005::


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: สหายอ๋อง เซียนปลาซิว ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 08:45:13 PM
น่านๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ.......

นี่  ขนาด  ไม่แช่ง  นะ พี่น้อง ::012:: ::012:: ::012::

ลุ้นอยู่  ว่า  มันกับผม  ไครจะเหนียวกว่ากัน


 ::013:: ::013:: ::013::







































หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: makarms ที่ พฤษภาคม 28, 2009, 09:06:15 PM
ช่วงนี้ยังรอด พอเข้าช่วงหน้าฝน ไม่น่ารอด....  ::005:: ::005::


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: สหายอ๋อง เซียนปลาซิว ที่ พฤษภาคม 29, 2009, 09:10:52 AM
เดี๋ยวช่วงหน้าฝน  ต้องหาเรื่องขอนายไปช่วยงาน  แถวพิจิตร  ( จะได้ไปปักเบ็ด หาปลา )

 ::005:: ::005::


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤษภาคม 29, 2009, 11:18:51 AM
ช่วงนี้ยังรอด พอเข้าช่วงหน้าฝน ไม่น่ารอด....  ::005:: ::005::

หน้าฝน เมืองที่แวดล้อมด้วยดงป่า.....

ไม่อยากคิด


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: JOKER48111 **รักเมืองไทย_รักในหลวง** ที่ พฤษภาคม 29, 2009, 12:06:05 PM
ขอบคุณครับพี่



หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤษภาคม 29, 2009, 04:45:55 PM
ช่วงนี้ยังรอด พอเข้าช่วงหน้าฝน ไม่น่ารอด....  ::005:: ::005::

เพิ่งนึกออก  ก่อนฝน เราสามารถให้ จนท.ฉีดพ่นยากันไว้ก่อนได้ครับ


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤษภาคม 31, 2009, 12:45:34 PM
ทารกวัย6วันผ่าคลอดจากแม่ป่วยชิคุนกุนยาตายแล้ว

30 พค. 2552 20:37 น.


นางขวัญฤทัย สุดเมือง อายุ 28 ปี อยู่บ้านเลขที่ 154/24 ม.1 ต.ย่านตาขาว อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง
อาชีพเป็นพนักงานขายรถจักรยานยนต์ของบริษัทแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.ย่านตาขาว ได้เข้ารับการ
รักษาตัวที่โรงพยาบาลตรัง เมื่อวันที่ 23 พ.ค.52 ที่ผ่านมา เนื่องจากมีอาการป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยา
มีไข้สูง ต่อมาทางสูตินารีแพทย์ที่เป็นเจ้าของไข้ได้ตัดสินใจผ่าท้องคลอดทันที เนื่องจากนางขวัญฤทัย
มีอายุครรภ์ 38 สัปดาห์แล้ว เมื่อผ่าท้องคลอดแล้วปรากฎว่านางขวัญฤทัย ได้บุตรชาย จึงตั้งชื่อว่า
เด็กชายวรันธร จำนงค์ มีน้ำหนักตัว 2,700 กิโลกรัม และมีร่างกายสมบูรณ์

อย่างไรก็ตามเนื่องจากผู้เป็นแม่มีอาการป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยาจึงทำให้เด็กชายวรันธรมีอาการขาดออกซิเจน
เล็กน้อย อันเป็นผลมาจากเด็กมีอาการสำลักน้ำในครรภ์ ดังนั้นทีมกุมารแพทย์โรงพยาบาลตรัง นำโดยแพทย์หญิง
วันทนา ไทรงาม จึงรีบต้องนำตัวส่งไปยังห้องไอซียูเพื่อรอดูอาการและพักฟื้น โดยใช้เครื่องช่วยหายใจพร้อม
กับให้น้ำเกลือแทนการรับประทานนมมารดา ถือเป็นกรณีผู้ป่วยหญิงมีครรภ์เป็นรายที่ 2 ที่ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา
และต้องผ่าตัดช่วยทารกเป็นการด่วน โดยรายแรกคือ นางสาววราภรณ์ กะกา อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 32 ถนนวังตอ
ต.ทับเที่ยง เขตเทศบาลนครตรัง ซึ่งต้องทำการผ่าท้องคลอดก่อนกำหนด 2 สัปดาห์ แต่มีอาการปลอดภัยทั้งแม่และลูก

โดยล่าสุด นายแพทย์สมนึก เชื้อทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตรัง เปิดเผยถึงอาการของเด็กชายวรัญธร อายุ 6 วันว่า
ได้เสียชีวิตลงแล้วตั้งแต่เมื่อเวลา 11.30 น.ของวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุมาจากอาการทางปอดซึ่งเกี่ยวข้อง
กับระบบการหายใจ โดยในตอนแรกหลังจากที่สูตินารีแพทย์ได้ผ่าตัดทำคลอดเด็กออกมาแล้วพบว่า เด็กชายวรัญธรมีอาการ
ขาดออกซิเจนเล็กน้อย ทางแพทย์จึงต้องให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ด้วยการนำเข้าห้องบริบาลทารกเพื่อดูแลอาการ
อย่างใกล้ชิดและทำการเจาะเลือด ถ่ายน้ำเหลือง ใส่เครื่องช่วยหายใจ แต่หลังจากนั้นประมาณ 4 ชั่วโมง จึงพบว่าเด็กมี
อาการทางปอดจึงได้พยายามช่วยเหลืออย่างเต็มที่ แต่หนูน้อยก็ต้องมาเสียชีวิตลงในที่สุด

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตรัง กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่เด็กได้รับเชื้อไวรัสผ่านทาง
สายเลือดจากแม่ ซึ่งมีอาการป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา โดยเชื้อไวรัสตัวนี้จะผ่านเข้าร่างกายเด็กได้ประมาณ 40 % ปรากฎว่า
ส่งผลให้เด็กมีอาการแย่ลงเรื่อยๆจนกระทั่งเสียชีวิตในที่สุด ถึงแม้ทางแพทย์จะพยายามให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้ว
ก็ตาม



สำหรับการเสียชีวิตของเด็กชายวรัญธรที่ได้รับเชื้อไวรัสโรคชิคุนกุนยาผ่านทางครรภ์ของมารดาในครั้งนี้ ถือเป็นรายแรก
ที่เกิดขึ้นใน จ.ตรังและในประเทศไทย จากจำนวนเด็กที่ทางสูตินารีแพทย์ของโรงพยาบาลตรังได้เร่งผ่าตัดทำคลอดมารดา
มาแล้ว 2 ราย โดยรายแรกคือ นางสาววราภรณ์ นั้นไม่เป็นอันตราย นอกจากมีอาการผื่นขึ้นตามตัว แต่ขณะนี้อาการก็ปลอดภัย
แล้ว


ขอบพระคุณ
 ::014:: ::014:: ::014::
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=383670 (http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=383670)


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย ร้ายกว่าที่คิด
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ พฤษภาคม 31, 2009, 04:20:07 PM
พี่ซับครับ

หมู่บ้านผมเป็นกันเยอะมากครับ ไม่เห้นมีเจ้าหน้าที่ออกไปฉีดยาเลยครับ

ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย ร้ายกว่าที่คิด
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ มิถุนายน 01, 2009, 09:35:42 AM
สงสัยอยู่เหมือนกัน  ทางปลายสุดด้ามขวานยิ่งหนักเลยครับ

อาจต้องส่งข่าวถึงผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง  แต่คาดว่า ที่ใกล้ตัวที่สุดก็การปกครองส่วนท้องถิ่นล่ะครับ

อบต. ทศ. อบจ. นี่แหละครับ