เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: วัฒน์ ที่ กันยายน 10, 2009, 08:55:44 PM



หัวข้อ: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ กันยายน 10, 2009, 08:55:44 PM
(http://images.torrentmove.com/iz/h1jpg.jpg) (http://images.torrentmove.com/show.php?id=d33cca69642d1e51f21e791210b10752)


ประวัติธงชาติไทย เรื่องที่คนไทยควรรู้

- ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)


- ธงชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น 5 แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง 2 ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ 1 ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ 1 ส่วน


- ตามหลักฐานต่างๆ ปรากฏว่าตั้งแต่สมัยโบราณนั้น ไทยเรายังไม่มีธงชาติโดยเฉพาะ เมื่อเวลาจัดกองทัพไปทำสงคราม จะใช้ธงสีต่างๆ ประจำทัพเป็นเครื่องหมายทัพละสี  ต่อมาเมื่อมีการเดินเรือค้าขายกับต่างประเทศทางตะวันตกในสมัยอยุธยา ได้ใช้ธงสีแดงติดเครื่องหมายว่าเป็นเรือสินค้าของไทย


1.ธงแดงเกลี้ยง
(http://images.torrentmove.com/iy/flagred1.gif) (http://images.torrentmove.com/show.php?id=b159c1f9ee8434b4dcf6c8c0645b3f03)
 
- จดหมายเหตุของชาวต่างประเทศกล่าวว่า ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีเรือฝรั่งเศสแล่นเข้ามาสู่ปากน้าเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมของไทย ไทยชักธงชาติฮอลันดาขึ้นรับเรือฝรั่งเศส เพราะไม่มีธงชาติเป็นของตนเอง แต่เรือฝรั่งเศสไม่ยอมสลุต (ยิงปืนสลุต) รับธงฮอลันดาเพราะเคยเป็นคู่อริกันมาก่อน และถือว่าไม่ใช่ธงชาติไทย ฝ่ายไทยจึงแก้ไขโดยนาธงแดงชักขึ้นแทนธงชาติ เรือฝรั่งเศสจึงยอมสลุตคานับ ตั้งแต่นั้นมาธงสีแดงจึงกลายเป็นธงชาติของไทยเรื่อยมา 


2.ธงแดง ใช้เฉพาะเรือหลวง
(http://images.torrentmove.com/ig/flagred2.gif) (http://images.torrentmove.com/show.php?id=68edb03294c42ccc39b83f2fd7d5627d)

- ครั้นถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ยังคงใช้ธงสีแดงเกลี้ยงชักเป็นเครื่องหมายประจาเรือค้าขายกับต่างประเทศอยู่ ธงแดงนี้ใช้ชักขึ้นทั้งในเรือหลวงและเรือราษฎร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระราชดาริว่า เรือหลวงกับเรือราษฎรควรมีเครื่องหมายให้เห็นแตกต่างกัน จึงมีพระบรมราชโองการให้ทารูปจักรสีขาวติดไว้กลางธงสีแดง เป็นเครื่องหมายใช้เฉพาะเรือหลวง ส่วนเรือค้าขายของราษฎรทั่วไปนั้น ยังคงใช้สีแดงเกลี้ยงอยู่


3.ธงแดง สมัยรัชกาลที่ ๒
(http://images.torrentmove.com/ix/flagred3.gif) (http://images.torrentmove.com/show.php?id=de07f0d84480421a13bc920663e1e5d5)
 
- ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ช้างเผือกสามเชือก ซึ่งตามประเพณีไทยถือว่าเป็นเกียรติยศอย่างยิ่งจึงมีพระราชโองการให้ทา รูปช้างเผือกไว้กลางวงจักรในธงเรือหลวงด้วย สมัยนี้ธงเรือสินค้าของราษฎรก็ยังเป็นธงสีแดง


4.ธงชาติในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕  พ.ศ.๒๓๙๘ - พ.ศ.๒๔๕๙
(http://images.torrentmove.com/im/flagred4.gif) (http://images.torrentmove.com/show.php?id=c2f478359833e60c0cef523670eca818)

- รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทาหนังสือสัญญาเปิดการค้าขายกับชาวตะวันตก ใน พ.ศ. ๒๓๙๘ มีเรือสินค้าของประเทศต่างๆ ในยุโรปและอเมริกาเดินทางเข้ามาค้าขายมากขึ้น และมีสถานกงสุลตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ สถานที่เหล่านั้นล้วนชักธงชาติของตนขึ้นเป็นสาคัญ จึงจาเป็นที่ไทยจะต้องมีธงชาติที่แน่นอน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดาริว่า ธงสีแดงซึ่งเรือสินค้าของไทยใช้อยู่นั้นซ้ากับประเทศอื่น ยากแก่การสังเกตไม่สมควรใช้อีกต่อไป ควรจะใช้ธงอย่างเรือหลวงเป็นธงชาติ แต่โปรดเกล้าให้เอารูปจักรสีแดงออกเสีย เพราะเป็นเครื่องหมายเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน คงไว้แต่เป็นรูปช้างเผือกอยู่กลางธงแดงเท่านั้น
ในระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงหลายครั้ง คือ
 พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ.๑๑๐
 พระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทรศก ๑๑๖ และ
 พระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทรศก ๑๑๘
ทุกฉบับได้ยืนยันถึงลักษณะของธงชาติว่าเป็น ธงพื้นแดง กลางเป็นรูปช้างเผือกไม่ทรงเครื่อง หันหน้าเข้าเสา ทั้งสิ้น


5.ธงชาติ พ.ศ. ๒๔๕๙
(http://images.torrentmove.com/im/flagred5.gif) (http://images.torrentmove.com/show.php?id=938ec840c1c9787b8a6c2fb4a9730979)

- ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดาริว่า เมื่อมองธงชาติซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นแต่ไกล จะมีลักษณะไม่ต่างจากธงราชการเท่าไร และรูปช้างที่อยู่กลางธง ก็ไม่งดงาม จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศแก้ไขเพิ่มเติม
 พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๙ แก้ไขลักษณะธงชาติเป็น "ธงพื้นแดง กลางเป็นรูปธงช้างเผือกทรงเครื่อง ยืนแท่น หันหลังเข้าเสา" ประกาศนี้ให้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๙ เป็นต้นไป (ขณะนั้น ยังนับเดือนเมษายนเป็นเดือนเริ่มศักราชใหม่)


6.ธงริ้วแดงขาว ที่ทดลองใช้ ปี พ.ศ.๒๔๖๐
(http://images.torrentmove.com/ij/flagredwhite.gif) (http://images.torrentmove.com/show.php?id=c9161bc2f585cf68022d13cde29b23b3)

- ใน พ.ศ.๒๔๖๐ ได้มีการแก้ไขลักษณะธงชาติอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากขณะนั้น ประเทศไทยได้ประกาศตนเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อรบกับเยอรมันนี ออสเตรีย และฮังการี ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดาริว่า การประกาศสงครามครั้งนี้ นับเป็นความเจริญก้าวหน้าขั้นหนึ่งของประเทศ สมควรจะมีสิ่งเตือนใจสาหรับวาระนี้ไว้ในภายหน้า สิ่งนั้นควรได้แก่ธงชาติ ทรงเห็นว่าลักษณะที่ได้แก้ไขไปแล้วใน พ.ศ.๒๔๕๙ นั้น ยังไม่สง่างามเพียงพอ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มแถบสีน้าเงินขึ้นอีกสีหนึ่งเป็นสามสี ตามลักษณะธงชาติของนานาประเทศที่ใช้กันอยู่โดยมากในขณะนั้น เพื่อให้เป็นเครื่องหมายว่าประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกับฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อต่อต้านปราบปรามฝ่ายอธรรม อีกประการหนึ่ง สีน้าเงินก็เป็นสีประจาพระชนมวารเฉพาะของพระองค์ด้วย จึงเป็นสีที่สมควรจะประกอบไว้ในธงชาติไทยด้วยประการทั้งปวง

การเปลี่ยนธงชาติในครั้งนี้ จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ซึ่งรับราชการใกล้ชิดพระยุคลบาทในขณะนั้น ได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะของธงชาติว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดาริจะเปลี่ยนธงช้างเป็นธงแถบสี เพราะทรงเห็นความลาบากของราษฎรที่ต้องสั่งซื้อธงผ้าพิมพ์รูปช้างมาจากต่างประเทศ และบางครั้งเมื่อเกิดความสะเพร่าติดธงผิด รูปช้างกลับเอาขาชี้ขึ้น เป็นที่น่าละอาย หากเปลี่ยนเป็นธงแถบสี ราษฎรก็สามารถทาธงใช้ได้เอง และจะช่วยขจัดปัญหาการติดผิดพลาด ได้ทรงพยายามเลือกสีที่มีความหมายในทางความสามัคคีและมีความสง่างาม
ก่อนออกพระราชบัญญัติฉบับใหม่ ได้ทรงทดลองใช้ธงริ้วขาวแดงติดอยู่ที่สนามเสือป่าหลายวัน ภายหลังจึงตกลงพระทัยใช้สีน้าเงินแก่ เพิ่มขึ้นอีกสีหนึ่ง



7.ธงไตรรงค์ พ.ศ.๒๔๖๐
(http://images.torrentmove.com/ik/flagtrirong.gif) (http://images.torrentmove.com/show.php?id=457f943f87e6938a533ae387dc94f245)
 
- การเพิ่มสีน้าเงินนี้ปรากฏอยู่ในพระราชหัตถเลขาในบันทึกส่วนพระองค์ วันเสาร์ที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๖๐ ว่า ได้ทอดพระเนตรบทความแสดงความเห็นของผู้ใช้นามแฝงว่า "อะแคว์ริส" ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ ภาษาอังกฤษ ฉบับวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๐ ได้ทรงแปลข้อความนั้นลงในบันทึกด้วย มีความโดยย่อว่า
" เพื่อนชาวต่างประเทศของผู้เขียน (อะแคว์ริส) ได้ปรารภถึงธงชาติแบบใหม่ว่า ยังมีลักษณะไม่สง่างามเพียงพอ ผู้เขียนก็มีความเห็นคล้อยตามเช่นนั้น และเสนอแนะด้วยว่า ริ้วตรงกลางควรจะเป็นสีน้าเงินซึ่งเป็นสีส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งถ้าเปลี่ยนตามนี้แล้ว ธงชาติไทยก็จะประกอบด้วยสีแดง ขาว น้าเงิน มีสีเหมือนกับธงสามสีของฝรั่งเศส ธงยูเนียนแจ็คของอังกฤษ และธงดาวของสหรัฐอเมริกา ประเทศพันธมิตรทั้ง ๓ คงเพิ่มความพอใจในประเทศไทยยิ่งขึ้น เพราะเสมือนยกย่องเขา ทั้งการที่มีสีของพระมหากษัตริย์ในธงชาติ ก็จะเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงพระองค์ในวาระที่ประเทศไทยได้เข้าสู่เหตุการณ์สาคัญต่างๆ ด้วย... "

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ เมื่อทรงทดลองวาดภาพธงสามสีสงในบันทึก ทรงเห็นว่างดงามดีกว่าริ้วขาวแดงที่ใช้อยู่ ต่อมาเมื่อเจ้าพระยารามราฆพ (ขณะนั้นยังเป็นพระยาประสิทธิศุภการ) ไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้นาแบบธงไปถวายเพื่อทูลขอความเห็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถก็ทรงเห็นชอบ รับสั่งว่าถ้าเปลี่ยนในขณะนั้นจะได้เป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ ด้วย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระยาศรีภูริปรีชา ร่างประกาศแก้แบบธงชาติ และได้ทรงนาเรื่องเข้าที่ประชุมคณะเสนาบดีเพื่อฟังความเห็น ที่ประชุมลงมติเห็นชอบธงสามสีตามแบบที่คิดขึ้นใหม่

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้น เรียกว่า พระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ออกประกาศเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๐ มีผลบังคับใช้ภายหลังวันออกประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ๓๐ วัน




- ลักษณะของธงชาติ มีดังนี้คือ เป็นธงรูปสีเหลี่ยมรี ขนาดกว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน แถบสีน้าเงินแก่กว้าง ๑ ใน ๓ ของความกว้าง อยู่กลางธง มีแถบสีขาวกว้าง ๑ ใน ๖ ของความกว้างของธงข้างละแถบ แล้วมีแถบสีแดงกว้างเท่ากับแถบสีขาว ประกอบข้างนอกอีกข้างละแถบ และพระราชทานนามว่า "ธงไตรรงค์" ส่วนธงรูปช้างกลางธงพื้นแดงของเดิมนั้น ให้ยกเลิก

- ความหมายของสีธงไตรรงค์ คือ สีแดง หมายถึง ชาติและความสามัคคีของคนในชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนาซึ่งเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนจิตใจให้บริสุทธิ์ สีน้าเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศ

- พ.ศ.๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดาริว่า ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบธงชาติมาหลายครั้ง คือ จากธงพื้นแดงเกลี้ยง มาเป็นธงแดงมีช้างเผือกไม่ทรงเครื่องอยู่กลาง ธงพื้นแดงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น และธงไตรรงค์ แม้ว่าธงไตรรงค์จะให้ความสะดวกในการใช้และการสร้างขึ้นใช้ แต่ธงไตรรงค์ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของต่างประเทศโดยทั่วไปอย่างแพร่หลายว่าเป็นธงชาติไทยเช่นธงช้าง นอกจากนี้ธงไตรรงค์ยังมีสีคล้ายกับสีธงชาติของบางประเทศและคล้ายกับสีของธงบริษัทต่างประเทศบางแห่ง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย ผิดกับธงช้างซึ่งไม่ซ้ากับธงชาติใดเลย เพื่อไม่ให้ต้องเปลี่ยนธงชาติบ่อยๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชเลขาธิการบันทึกพระราชกระแสพระราชทานไปยังองคมนตรี ด้วยมีพระราชประสงค์จะทรงฟังความคิดเห็นส่วนมากประกอบพระราชวินิจฉัย บันทึกฉบับนี้ลงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๐ กาหนดให้องคมนตรีทั้งหลายทูลเกล้าฯ ถวายความคิดเห็นภายใน ๑๕ วัน นับแต่ได้รับบันทึก มีข้อควรพิจารณาดังนี้

(๑) เลิกใช้ธงไตรรงค์แล้วใช้ธงช้างแทน
(๒) ใช้ธงช้างเป็นธงราชการ ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติ
(๓) ใช้ธงช้างเป็นธงราชการและธงชาติ ใช้ธงไตรรงค์เป็นสีสาหรับประเทศ คือ ใช้ตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริง เป็นต้น
(๔) ใช้ธงไตรรงค์ผสมกับธงช้างพื้นแดงเป็นธงเดียวกัน (๕) คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติตามเดิมดังที่เป็นอยู่ขณะนั้น

- เมื่อองคมนตรีได้ทำหนังสือแสดงความคิดเห็นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว ปรากฏว่าความเห็นทั้งหมดแตกต่างกันไปและไม่ได้ชี้ขาดลงไป ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป ตามพระราชวินิจฉัย ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๐

(http://images.torrentmove.com/iz/h1jpg.jpg) (http://images.torrentmove.com/show.php?id=d33cca69642d1e51f21e791210b10752)

 ::014::

 สำหรับข้อบังคับเกี่ยวกับธงชาติ...มีดังนี้

         ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการต่อไปนี้

         1. ประดิษฐ์รูปหรือเครื่องหมายใดๆ นอกจากที่อนุญาตไว้ใน พระราชบัญญัติธง หรือกฎหมายอื่นลงบนธงชาติ

         2. ประดิษฐ์รูปหรือเครื่องหมายใด ๆ ลงในแถบสีธงชาติโดยไม่ควร

         3. ใช้ ชัก หรือ แขวนธงชาติ หรือแถบสีธงชาติที่ได้ประดิษฐ์รูปหรือเครื่องหมายใดๆ อันต้องห้ามในข้อ 1 และ 2 ลงไว้ แม้ว่าจะเป็นรูปหรือเครื่องหมายที่ปรากฏหรือมีอยู่ก่อนวันประกาศใช้ พระราชบัญญัติธง

         4. ใช้ ชัก หรือ แขวนธงชาติ หรือแถบสีธงชาติไว้ ณ สถานที่อันไม่สมควร หรือวิตถารวิธี

         5. แสดงกิริยา วาจา หรืออาการอย่างหนึ่งอย่างใด หยาบคายต่อธงชาติหรือแถบสีธงชาติ

         6. ประดิษฐ์สีธงชาติ หรือแถบสีธงชาติลง ณ สถานที่หรือสิ่งของใดๆ โดยไม่สมควร หรือแสดงหรือใช้สถานที่หรือสิ่งของอันยังมีรูปธงชาติหรือแถบสีธงชาติ ซึ่งประดิษฐ์ลงไว้โดยไม่สมควรนั้น แม้ว่ารูปธงชาติหรือแถบสีธงชาติเช่นว่านั้นจะปรากฏหรือมีอยู่ก่อนวันใช้ พระราชบัญญัติธง

         บทกำหนดโทษ

         1. ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติในข้อบังคับ 1-5 ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ

         2. ผู้ใดชักธงชาติหรือแสดงธงอย่างในอย่างหนึ่งในพระราชบัญญัติ โดยไม่มีสิทธิ ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท จำคุกไม่เกิน 2 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ

         3. ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งข้อ 7 ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำทั้งปรับ


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: oooOilooo ที่ กันยายน 10, 2009, 09:01:43 PM
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นค่ะ  +1 ค่ะคุณวัฒน์  ;D


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สมศักดิ์ : รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2009, 09:03:30 PM


  ขอบคุณครับ ::014::

ขอประวัติเพลงชาติต่อเลยนะครับ   ขอบคุณครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ กันยายน 10, 2009, 09:18:52 PM
ขอบคุณครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนปั่นไฟ ยกกำลัง 2 ที่ กันยายน 10, 2009, 09:58:47 PM
ขอบคุณครับ +ให้อีก 1 ครับพี่วัฒน์


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ กันยายน 10, 2009, 09:58:56 PM

ขอบคุณครับ พี่ วัฒน์


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สหายแป๋ง คนดง ที่ กันยายน 10, 2009, 10:06:30 PM
เป็นสิ่งที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งครับที่มีสาระดีดีมานำเสนอ  ขอบคุณครับผม


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Sig228-kolok ที่ กันยายน 10, 2009, 10:23:05 PM
ขอบคุณครับลุงวัฒน์ ทำให้นึกถึงสมัยเรียนครับ ... ::014::  เดี๋ยวค่อยลูกมาอ่านครับ ...  ::002::


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Ruk™-รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2009, 10:28:37 PM
       ได้ความรู้เพิ่ม ละเอียดดีมากครับ


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: salinee19 ที่ กันยายน 10, 2009, 10:31:07 PM
ขอบคุณค่ะ....น้าวัฒน์ ::014::


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: ชัยบึงกาฬ รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2009, 10:57:04 PM
ขอบคุณครับ พี่ วัฒน์


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2009, 11:11:55 PM
ขอบคุณครับท่านวัฒน์...::014::


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Gummy44 ที่ กันยายน 10, 2009, 11:42:43 PM
ภูมิใจที่เป็นคนไทย....
ขอบคุณครับ :)


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: chalie27 ที่ กันยายน 11, 2009, 12:43:49 AM
 ::014:: ::014:: ::014:: ::014:: ::014::


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: fink ที่ กันยายน 11, 2009, 01:09:36 AM
วันนี้เพิ่งไปถ่ายมาพอดีครับ เลยเอามาฝากกันครับ

(http://h.imagehost.org/0800/DSC_1079edit.jpg) (http://h.imagehost.org/view/0800/DSC_1079edit)

(http://h.imagehost.org/0080/DSC_1082edit.jpg) (http://h.imagehost.org/view/0080/DSC_1082edit)

(http://h.imagehost.org/0490/DSC_1088edit.jpg) (http://h.imagehost.org/view/0490/DSC_1088edit)

 :D


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: bigbang ที่ กันยายน 11, 2009, 07:36:52 AM
ขอบคุณครับ 
ผมว่าธงไตรรงค์ของเราสวยนะครับ หากดูแลกันดีๆ อย่าปล่อยให้เปรอะหรือขาด


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: จินตา <Jinta> ที่ กันยายน 11, 2009, 07:38:20 AM
ขอบคุณครับพี่


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: dig5712 ที่ กันยายน 11, 2009, 08:12:05 AM
 ::014:: ขอบคุณครับ  :D


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Choro - รักในหลวง ที่ กันยายน 11, 2009, 10:46:58 AM
ขอบคุณครับ  ::014:: 


   รูปถ่ายได้สวยครับ  ::002:: ::002::


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Twitter 125 ที่ กันยายน 11, 2009, 11:23:00 AM
ขอบคุณมากครับ


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ กันยายน 11, 2009, 12:41:41 PM
ขอบคุณน้าวัฒน์ครับ...

อ้อ...
รูปประกอบของคุณ fink งดงามจริงครับ... ถ่ายเก่งมาก ย้อนแสงแล้วไม่ดำปี๋เหมือนนายสมชายถ่ายครับ...
ถ้าเป็นนายสมชายถ่ายต้องรอเช้าตรู่ หรือเย็นย่ำ แล้วก็ต้องรอถ่ายตามแสง... ยังไง๊ก็ถ่ายมุมสูงไม่ได้ เพราะจะดำปี๋... ฮา


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Major ที่ กันยายน 11, 2009, 01:41:11 PM
ขอบคุณครับ ท่านวัฒน์

ขออนุญาตเก็บไว้ บรรยายความรู้ให้เด็ก ๆ นะครับ

ด้วยความเคารพครับ


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: วัฒน์ ที่ กันยายน 11, 2009, 02:07:29 PM

วันนี้เพิ่งไปถ่ายมาพอดีครับ เลยเอามาฝากกันครับ


 :D

 ::014:: รูปสวยมากครับ +1 ให้ครับ ขอบคุณครับ
ธงไตรรงค์ เวลาโบกสบัดบนยอดเสา ช่างเป็นภาพที่งดงามมากครับ





  ขอบคุณครับ ::014::

ขอประวัติเพลงชาติต่อเลยนะครับ   ขอบคุณครับ  ::014::

 ::014:: ได้ครับ

- เพลงชาติไทยแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถือเป็น เพลงชาติไทยลำดับที่ 7 ซึ่งประกาศใช้ในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดย รัฐนิยมฉบับที่ 6 เมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2482  ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) ตั้งแต่ ปี 2475 ประพันธ์เนื้อร้องโดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)

- ก่อนหน้านั้นมี เพลงชาติไทย ใช้มาแล้ว 6 เพลง เริ่มต้นระหว่าง ปี 2395 – 2414   ใช้ทำนองเพลง God Save the Queen ในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษ หมด ดังนั้นเพลง กอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2395 ถึง 2414  เรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพ แด่องค์พระมหากษัตริย์โดยเรียกว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ แต่ต่อมาเมื่อ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่แล้วเรียกชื่อว่า เพลงจอมราชจงเจริญ นั่นแหละจึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 1 


 “ความสุขสมบัติทั้งบริวาร เจริญพละ ปฏิภาณผ่องแผ้ว จงยืนพระชน...มาน นับรอบร้อย แฮ มีพระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์ เพี้ยง จันทร”

       
- ในยุค รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงคโปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้น ของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์ บรรเลงเพลงกอดเสฟเดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ
       
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาต ิที่มีความเป็นไทย มาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน คณะครูดนตรีไทย ได้เลือก เพลงทรง พระสุบัน หรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสม เด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็น สากลขึ้น โดย เฮวุดเซน (Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. 2414-2431
     

- เพลงชาติลำดับที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2475  และประพันธ์เนื้อร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บรรเลงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม 2475 แต่ก็ใช้อยู่เพียงระหว่าง ปี 2475 – 2477 โดยมีเนื้อร้องดังนี้

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง

ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า

สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา

รวมรักษาสามัคคีทวีไทย

บางสมัยศัตรูจู่โจมตี

ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่

เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท

สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา

อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย

น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า

เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา

เราจะสามัคคีร่วมใจ

รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี

ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้

เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย

สถาปนาสยามให้เทิดไทยไชโย


- เพลงชาติลำดับที่ 3 นั้นเกิดขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 เช่นกัน โดยประพันธ์ทำนองโดย นักประพันธ์ชาวรัสเซีย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) คำร้องเป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่าง ปี 2431 – 2475 ใช้มายาวนานเพราะมี ท่วงทำนองไพเราะ เนื้อหาสมบูรณ์ และทุกวันนี้ก็ใช้อยู่ในนามของ เพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นเอง
     


เพลงชาติลำดับที่ 4 เกิดขึ้นภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (24 มิถุนายน 2475) แล้ว เพลงชาติลำดับนี้เป็นเพลงชาติชั่วคราว (เนื่องจากมีการเตรียมการโดยสังเขปที่จะสร้างเพลงชาติขึ้นมาใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้ พระเจนดุริยางค์ เป็น ผู้ประพันธ์ แต่ยัง ไม่เสร็จ เลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม คือเพลงมหาชัย ไปพลางก่อน) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นผู้ ประพันธ์เนื้อร้อง ซึ่งมีเนื้อหาปลุกใจให้คนไทยเกิดความรักชาติ และเกิดความสามัคคี ตลอดจนให้เลื่อมใสในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้


ยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ
ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย
เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน ธรรมนูญสถาปนาพรรษาใหม่
ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า


เพลงชาติลำดับนี้ใช้ในช่วงสั้น ๆ ไม่ถึง 1 เดือน ก็เปลี่ยนแปลงไป

- กำเนิดของเพลงชาติลำดับที่ 6 นั้น สืบเนื่องมาจากการที่ในปีพุทธศักราช 2477  รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพลงชาติขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน และมีกรรมการท่านอื่นร่วมด้วยดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์ พระเจนดุริยางค์ หลวงชำนาญนิติเกษตร จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเพลงชาติโดยเฉพาะ

- ผลการตัดสินปรากฎว่า มีเพลงชาติแบบไทย และแบบสากล อย่างละเพลงคือ แบบไทยได้แก่เพลงชาติของจางวางทั่ว พาทยโกศลที่แต่งขึ้นจากเพลงไทยเดิมชิ่อว่า “ตระนิมิตร” ส่วนทางสากลได้แก่ เพลงของ พระเจนดุริยางค์ ที่แต่งไว้แล้ว

- ในเวลาต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ ได้พิจารณาว่า เพลงชาตินั้นควรจะมีลักษณะ ที่บ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีสองเพลงอาจทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ลดลง จึงร่วมกันพิจารณาใหม่ ในที่สุดตกลงว่าให้มีทางสากลเพลงเดียวคือ แบบทำนองสากลของพระเจนดุริยางค์ จึงได้จัดให้มีการประกวดบทร้องขึ้นใหม่ คณะกรรมการได้สรุปผลให้บทร้องของนายฉันท์ ขำวิไล และบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา ได้รับรางวัล และตัดสินให้บทร้องของขุนวิจิตรมาตราได้รับรางวัลชนะเลิศ

ในปีพุทธศักราช 2482 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจากคำว่า “สยาม” มาเป็น “ไทย” ทำให้จำต้องแก้ไขบทร้องในเพลงชาติด้วย รัฐบาลจึงได้จัดประกวดบทร้องเพลงชาติไทยขึ้นใหม่ผลการประกวด ปรากฎผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ส่งเข้าประกวดในนามกองทัพบก และให้ใช้ทำนองขับร้องเพลงชาติไทย ของพระเจนดุริยางค์ ตามแบบที่มีอยู่เดิม (ดังได้กล่าวแล้วในย่อหน้าแรก) กลายเป็นเพลงชาติลำดับที่ 7 (ปัจจุบัน) ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้



“ ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย ”

- พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ มีความปราบปลื้มและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับได้สั่งเสียบุตร ธิดา ไว้ว่า “ฉันได้สั่งบุตรธิดาของฉันไว้ทุกคนว่า ในกาลภายหน้าเมื่อถึงวาระที่ฉันจะต้องเกษียณอายุลาโลกไปแล้ว ขณะใกล้จะขาดอัสสาสะ ขอให้หาจานเสียงเพลงชาติอันนี้ มาเปิดให้ฟังให้จงได้ เพื่อบังเกิดความชุ่มชื่นระรื่นใจ อันไม่มีเสื่อมคลายตราบสิ้นปราณ”


- เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2475
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
แผ่นเสียงโอเดียนตราตึก บรรเลงเครื่องสายฝรั่งวงใหญ่ทหารเรือ

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/3/36/NationalAnthem(2475).ogg (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/3/36/NationalAnthem(2475).ogg)



-  เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2477 (เนื้อร้องท่อนที่ 3 และ 4)
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: ฉันท์ ขำวิไล
ขับร้องโดยนักศึกษาวิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ ม.มหิดล ในรายการถึงลูกถึงคน วันที่ 25 พ.ค. 2548

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/f/f3/ThaiNationalAnthem(2477-Chan).ogg (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/f/f3/ThaiNationalAnthem(2477-Chan).ogg)



- เพลงชาติไทยฉบับปัจจุบัน
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/f/f2/NationalAnthem(2482).ogg (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/f/f2/NationalAnthem(2482).ogg)


 ::014::  ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย…..




หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: R2D2 ที่ กันยายน 11, 2009, 09:14:32 PM
เคยอ่านเจอว่าในหลวงรัชกาลที่ 6 เสด็จไปงานอะไรสักอย่างในจังหวัดแถว ๆ อ่างทอง
ธงชาติที่เขาเอามาประดับรับเสด็จนั้นมีบางผืน เป็นช้างกลับหัว(เอาหัวลง เอาเท้าขึ้น) พระองค์จึงมี
พระราชดำริว่าควรเลิกใช้ธงช้าง  


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ ที่ กันยายน 11, 2009, 10:42:56 PM
เคยอ่านเจอว่าในหลวงรัชกาลที่ 6 เสด็จไปงานอะไรสักอย่างในจังหวัดแถว ๆ อ่างทอง
ธงชาติที่เขาเอามาประดับรับเสด็จนั้นมีบางผืน เป็นช้างกลับหัว(เอาหัวลง เอาเท้าขึ้น) พระองค์จึงมี
พระราชดำริว่าควรเลิกใช้ธงช้าง  

ไม่ใช่อ่างทองครับ แต่เป็นอุทัยธานีนี่เอง (บ้านเกิดแม่กับภรรยาผมเอง  :VOV: ) แล้วเรื่องธงช้างกลับหัวนี้เกิดในสมัยที่ ร.5 ที่พระองค์เสด็จมาประพาสต้นที่เมืองอุทัยธานีนี่เองครับ  :)


หัวข้อ: Re: ธงชาติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ กันยายน 13, 2009, 11:36:04 AM

           สุดยอดเลยครับ  ขอบคุณอาวัฒน์อีกครั้ง