เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => สนทนาภาษาปืน => ข้อความที่เริ่มโดย: nin ที่ ตุลาคม 23, 2005, 12:24:26 AM



หัวข้อ: เมนสปริง เฮาส์ซิ่ง ใน 1911 ที่มีทั้งเป็น polymer กับ โลหะ แตกต่าง...
เริ่มหัวข้อโดย: nin ที่ ตุลาคม 23, 2005, 12:24:26 AM
...กันอย่างมีนัยสำคัญไหมครับ ??? ??? ???

สงสัยมาพักหนึ่งแล้วครับ ตั้งแต่ติดตามใน webนี้

อันนี้ผมเดาเอาเองนะครับ
ที่เป็น polymer ทำให้
1. ต้นทุนถูกกว่าใช่ไหมครับ
2. เบากว่า (อันนี้ไม่ทราบว่ามีผลกับสมดุลย์ของปืนหรือเปล่า??)

ท่านใดมีข้อมูล รบกวนเล่าสู่กันฟัง เป็นวิทยาทานหน่อยครับ

ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: เมนสปริง เฮาส์ซิ่ง ใน 1911 ที่มีทั้งเป็น polymer กับ โลหะ แตกต่าง...
เริ่มหัวข้อโดย: 1911&FISHING ที่ ตุลาคม 23, 2005, 12:42:09 AM
ผมว่าไม่ต่างกันหรอกครับ ต่างกันที่ ตัวกิเลส นะครับ แหะ แหะ


หัวข้อ: Re: เมนสปริง เฮาส์ซิ่ง ใน 1911 ที่มีทั้งเป็น polymer กับ โลหะ แตกต่าง...
เริ่มหัวข้อโดย: nin ที่ ตุลาคม 23, 2005, 12:44:48 AM
หมายถึงมีอย่างหนึ่งแล้ว

ก็อยากมีอีกอย่างหรือครับ???

โหยยยยยยยย................ :P :P :P


หัวข้อ: Re: เมนสปริง เฮาส์ซิ่ง ใน 1911 ที่มีทั้งเป็น polymer กับ โลหะ แตกต่าง...
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ตุลาคม 23, 2005, 01:36:53 AM
ในแง่การทำงานของตัวปืนเอง ไม่มีผลครับ... พลาสติกกับเหล็กก็ทำงานไม่แตกต่างกัน...

ที่มีผลคือเป็นการปรับขนาดด้ามให้เข้ากับมือ และปรับมุมลำกล้องเงยหรือกดเมื่อเทียบกับแนวกระดูกแขนครับ... เมนสปริงเฮ้าซิ่งแบบโค้งมักใช้คู่กับไกสั้น แบบตรงมักใช้คู่กับไกยาวหน่อย...

ปืนทหารดั้งเดิม 1911 เมนสปริงตรงไกยาว แล้วมีคนบ่นว่าเวลาฮิบ หรือยิงไม่ดูศูนย์มักกินต่ำ(ที่จริงแล้วแต่ฝึก และสมัยก่อนคนชอบเอาไปเทียบกับมุมลำกล้องลูกโม่ฯ)... ส่วน 1911a1 เมนสปริงโค้ง ไกสั้น... เพื่อหนุนส้นมือให้แนวลำกล้องสูง และลดระยะเหนี่ยวไกเข้ามา เนื่องจากเมนสปริงทำให้ด้ามใหญ่ขึ้น...

ประสบการณ์ของนายสมชายเปลี่ยนเมนสปริงมาแล้วสามตัว...

ตัวแรกเป็นพลาสติกโค้งติดมากับปืน กำด้ามแล้วนิ้วก้อยอ้อมหน้าด้ามน้อย เวลาปืนลั่นแล้วรู้สึกว่าลำกล้องสะบัดไม่ได้แนวตั้ง มันสะบัดออกข้างๆ บ้าง บนๆ บ้าง สะเปะสะปะ แล้วแต่ว่ากำด้ามแบบไหน... ฮา

ทดลองเปลี่ยนตัวที่สองเป็นพลาสติกของโรงงานที่ติดมากับ Gold Cup แกะร่องแนวตั้งเป็นทางยาว... กำด้ามได้ดีขึ้น แต่นิ้วชี้ล้วงลึกไป ต้องโหย่งนิ้วเหนี่ยวไก... เวลากำด้ามเหนี่ยวไกต้องคอยจำตำแหน่งด้าม ตำแหน่งนิ้ว มักจำไม่ได้ครับ...

เวลายกปืนขึ้นแนวเล็งถ้ากำด้ามได้ดี กำด้ามได้เหมือนเดิม แนวศูนย์หน้าจะลอยกลางศูนย์หลังได้ทุกครั้ง... เวลารีบยิงเอาศูนย์หน้าแตะท้องน้อยเป้าแล้วลั่นไก มักไม่ค่อยพลาดครับ... วิธีแก้คือเปลี่ยนไกยาวขึ้นหรือสั้นลง ให้นิ้วชี้+ง่ามมือ+ส้นมือลงตัวได้พอดีครับ... แต่เมนสปริงตัวที่สองมีปัญหาคือเวลายิงแห้งเล่นเหงื่อออกแล้วส้นปืนลื่น ส้นมือจำตำแหน่งด้ามไม่ได้ พลาสติกเซาะร่องแนวยาวมันลื่น...

เปลี่ยนตัวที่สามเป็นแบบตรง แกะเช็กเกอร์ละเอียดและคมมาก(ยิงแห้งเล่นบ่อยๆ ส้นมือพอง)... เพราะไม่อยากเปลี่ยนหลังอ่อน "Memory Groove" ของ Ed Brown ครับ... มันต้องกัดเฟรม และหลังอ่อนยาวค้ำง่ามมือง้างนก... เลยไม่เอา...

หลังอ่อนเจ้านี้ ตั้งใจทำมาแก้ปัญหามือจำตำแหน่งด้ามไม่ได้โดยเฉพาะ คือเขาทำสันบนหลังอ่อนให้อัดกับอุ้งมือ ให้มือจำตำแหน่งด้ามได้... ตอนหลังหลายเจ้าทำตาม แต่เปลี่ยนเป็น"ตะปุ่ม"แทน "Memory Groove" ครับ... ฮา

เคยอ่านเจอคนเขียนใน American Handgunner เขาแก้ด้วยการเปลี่ยนเมนสปริงที่แกะลายเม็ดแหลมๆ แนะนำให้ของยี่ห้อวิลสัน... ลายเช็กเกอร์คมไม่ลบง่าย... ลายเช็กเกอร์อัดกับส้นมือทำให้จำตำแหน่งด้ามด้วย... นายสมชายเลยลองแล้วเห็นด้วยครับ...

ทั้งหมดนี่หากท่านใดจะลองเล่นจะต้องกำด้าม และมาร์คแขน มาร์คหัวของตัวเองให้ได้เหมือนเดิมทุกครั้งก่อนครับ จึงจะเห็นความแตกต่าง...

ขนาดเมนสปริงกับเหลาด้ามให้เหมาะมือเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกัน... รายละเอียดมากกว่านี้ต้องถามพี่ป๊อกหลังโบสถ์พราหมณ์ครับ... เย้


หัวข้อ: Re: เมนสปริง เฮาส์ซิ่ง ใน 1911 ที่มีทั้งเป็น polymer กับ โลหะ แตกต่าง...
เริ่มหัวข้อโดย: nin ที่ ตุลาคม 24, 2005, 11:21:07 AM
ขอบคุณมากครับพี่สมชาย(ฮา)

(ทำไมต้อมีฮาด้วย ???...สงสัยมีหลายสมชาย)

ได้ความรู้หลายอย่างเลยครับ  :o :o :o