หัวข้อ: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืน แนวตอบข้อสอบอาญา2 เริ่มหัวข้อโดย: oil ที่ มีนาคม 28, 2010, 08:26:57 PM ม. 371 ผู้ใด"พา"อาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดย"เปิดเผย"ไม่มีเหตุอันควร หรือ"พา"ไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทและให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น
ถ้าถูกตรวจค้นจับกุมปืนมีทะเบียนชื่อตนเอง แล้วรับสารภาพ ประกันตัวไปขึ้นศาล(ถามแบบโง่ๆนะครับ)แถลงยอมรับผิดและขอให้ศาลสั่งลงโทษตามมาตราข้างต้น เสียค่าปรับหนึ่งร้อยบาท และขอให้ศาลเมตตาคืนอาวุธปืนให้เนื่องจากเป็นความผิดลหุโทษ(มาตรานี้เป็นความผิดลหุโทษ) จำเลยไม่เคยต้องโทษมาก่อน ได้หรือไม่ครับ ขอความกระจ่างจากสมาชิกนักกฏหมาย (ทะแนะไม่ต้องก็ได่้นะครับ จะเอาไปเขียนข้อสอบอัตนัย) หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: Earthworm ที่ มีนาคม 28, 2010, 08:38:06 PM ขอโทษทีครับ อ่านไม่ได้ดูว่าใครตั้งกระทู้ ทีแรกนึกว่าเพื่อสมาชิกใหม่สงสัยเรื่องแบบชาวบ้านๆครับ ทะแนะอย่างผมต้องขอโทษและขอตัวก่อนนะครับ ::003:: มารอท่านอื่นมาเพิ่มเติมละกัน พิมพ์ไม่เก่ง ความรู้ก็น้อยครับ ::014:: หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ มีนาคม 28, 2010, 08:42:46 PM นายสมชายเป็นทะแนะครับ แต่อยากตอบเพราะเคยสงสัยเรื่องนี้มาก่อน... ขอตอบว่าศาลจะเลือกลงโทษกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามนัยฎีกาที่ 450/2551 ตาม"ตัวเขียว"ครับ...
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2551 โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและไม่มีใบอนุญาตให้พาอาวุธปืนติดตัวไปในที่เกิดเหตุ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบ จึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานพกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรได้ คงลงโทษได้เพียงในความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะ ________________________________ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2546 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจำเลยทั้งสองร่วมกันมีอาวุธปืนลูกซองสั้นขนาดเบอร์ 12 ไม่มีเบอร์ 12 จำนวน 1 นัด ซึ่งเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่มีสภาพใช้ยิงได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและจำเลยทั้งสองร่วมกันพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปบริเวณถนนกันเอง ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อันเป็นเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร และจำเลยทั้งสองร่วมกันพาอาวุธมีดปลายแหลมยาวประมาณ 1 คืบ ไปบริเวณถนนกันเอง ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตนภูมิ จังหวัดสงขลา อันเป็นเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร จากนั้นจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงนายสุนทร สุขเจริญ ผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 1 นัด โดยเจตนาฆ่าและร่วมกันใช้มีดปลายแหลมแทงนายสันติ สุขเจริญ ผู้เสียหายที่ 2 บริเวณช่องท้องอันเป็นอวัยวะสำคัญหลายครั้งโดยมีเจตนาฆ่า จำเลยทั้งสองลงมือกระทำไปโดยตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลเนื่องจากมีผู้ปัดกระบอกปืน ทำให้กระสุนปืนเฉี่ยวลำคอผู้เสียหายที่ 1 และแพทย์ช่วยทำการรักษาผู้เสียหายที่ 2 ไว้ทัน ผู้เสียหายทั้งสองจึงไม่ถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 80, 83, 91, 288, 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ และริบของกลาง จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371, 288 ประกอบมาตรา 80 (ที่ถูกประกอบมาตรา 80, 83) พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอายุ 17 ปี และ 16 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76, 75 (ที่ถูก ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 อายุ 17 ปีเศษ จำเลยที่ 2 อายุ 16 ปีเศษ เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่ง และลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 และ 75) ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นจำคุกคนละ 5 ปี ฐานมีอาวุธปืน จำคุกคนละ 1 ปี และฐานพาอาวุธปืน ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทหนัก (ที่ถูก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด) ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 6 ปี 6 เดือน อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยทั้งสองไปฝึกอบรม (ที่ถูก ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรม) ที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 (จังหวัดสงขลา) มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี 6 เดือน ขั้นสูง 2 ปี นับแต่วันพิพากษา ริบปลอกกระสุนปืนของกลาง คำขออื่นให้ยก จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 ยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 อีกกระทงหนึ่ง สำหรับความผิดฐานพาอาวุธ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 แล้ว ปรับ 50 บาท รวมกับโทษในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นเป็นจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 5 ปี และปรับ 50 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้ส่งตัวจำเลยที่ 2 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 (จังหวัดสงขลา) มีกำหนด 1 วัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 107 ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีและพาอาวุธปืน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ โจทก์ฎีกาอ้างว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติว่า จำเลยทั้งสองยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนได้ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 13 ที่ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้แก่... (4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำฟ้องในส่วนนี้ของโจทก์นั้น เห็นว่า ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19 บัญญัติว่า บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และมาตรา 20 บัญญัติว่า ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448 จากบทบัญญัติดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า นอกจากผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะโดยอายุแล้ว ผู้เยาว์อาจบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตามบทบัญญัติมาตรา 1448 ได้ ดังนั้นโจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและไม่มีใบอนุญาตให้พาอาวุธปืนติดตัวไปในที่เกิดเหตุ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่จำเลยทั้งสองใช้ในการกระทำความผิดจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้และพาติดตัวได้ตามกฎหมาย จึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานพกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรได้ คงลงโทษได้เพียงในความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าความผิดฐานพาอาวุธมีดเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพาอาวุธปืน และโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 เป็น 2 กรรม ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่อาจแก้ไขเรื่องโทษให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษามานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นพ้องด้วยบางส่วน ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองยังคงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76, 75 ปรับคนละ 50 บาท รวมลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและพาอาวุธปืน รวมจำคุก 5 ปี และปรับ 50 บาท รวมลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น พาอาวุธมีดและอาวุธปืนเป็นจำคุก 5 ปี และปรับ 50 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 9 (จังหวัดสงขลา) มีกำหนด 1 วัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 107 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: 51 ที่ มีนาคม 28, 2010, 08:44:27 PM http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=49437.msg1162573 (http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=49437.msg1162573)
หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ มีนาคม 28, 2010, 08:54:11 PM ขอบคุณครับน้าสมชาย (ฮา) น้าโอม และทุกท่านรวมถึงน้าต้อม จขกท.ด้วย ..... ขอบคุณครับ หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: oil ที่ มีนาคม 28, 2010, 08:55:57 PM คดีแบบนี้ คุณไม่มีโอกาสได้แถลงกับศาลท่านหรอกครับ มันต้องสารภาพให้เสร็จตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน ผมว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ ศาลเปิดโอกาศให้จำเลยได้ชี้แจงเหตุแห้่งการกระทำเสมอ แต่จำเลยมักจะขาดความเข้าใจกระบวนการ และได้รับคำแนะนำผิดๆจาก พสส.ให้หุบปากโทษหนักจะได้เป็นเบา (กรูจะได้ไม่ต้องถูกอัยการหรือศาลสั่งให้ไปสอบพยานหรือหาหลักฐานเพิ่มเติม) ถ้ามี(ตังค์จ้าง)ทนายที่แม่นข้อกฏหมายจะกลายเป็นหนังคนละม้วนได้เลย หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ มีนาคม 28, 2010, 10:02:00 PM ม. 371 ผู้ใด"พา"อาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดย"เปิดเผย"ไม่มีเหตุอันควร หรือ"พา"ไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทและให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น ถ้าถูกตรวจค้นจับกุมปืนมีทะเบียนชื่อตนเอง แล้วรับสารภาพ ประกันตัวไปขึ้นศาล(ถามแบบโง่ๆนะครับ)แถลงยอมรับผิดและขอให้ศาลสั่งลงโทษตามมาตราข้างต้น เสียค่าปรับหนึ่งร้อยบาท และขอให้ศาลเมตตาคืนอาวุธปืนให้เนื่องจากเป็นความผิดลหุโทษ(มาตรานี้เป็นความผิดลหุโทษ) จำเลยไม่เคยต้องโทษมาก่อน ได้หรือไม่ครับ ขอความกระจ่างจากสมาชิกนักกฏหมาย (ทะแนะไม่ต้องก็ได่้นะครับ จะเอาไปเขียนข้อสอบอัตนัย) ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่พอจะตอบได้ ก่อนอื่น คัดลอกข้อความมาผิดครับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๑ เป็นเรื่องของอาวุธทุกชนิด ไม่ใช่อาวุธปืนอย่างเดียว ดังนั้น การพกปืน จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ถ้าศาลเห็นว่าผิด ก็จะต้องรับโทษบทหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ เวลาพนักงานอัยการยื่นฟ้อง เขาจะบรรยายฟ้องว่าเป็นความผิดทั้ง พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ และประมวลกฎหมายอาญาไปด้วยกันทั้งคู่ แต่ศาลจะพิพากษาลงโทษเฉพาะบทหนัก (พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ) ดังนั้นจึงไม่อาจยกกฎหมายโทษเบามาเป็นประโยชน์ได้ เคยมีพนักงานอัยการเล่นแรง บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ กับขอให้ยึดปืนตามประมวลกฎหมายอาญา สู้กันถึงศาลฎีกา ผลสุดท้าย ศาลไม่ริบของกลาง หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ มีนาคม 28, 2010, 11:24:51 PM แห่ะ ๆ .......... เพิ่งโดนมาสดๆร้อนๆ
........ มารอฟังด้วยคนครับ ... เผื่อพลาดอีกคราวหน้า :~) หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ มีนาคม 29, 2010, 09:03:19 AM ผมเป็นนักคอมพิวเตอร์ และนักตัดยางครับ ;D มาสงสัยด้วยคน
ว่า ถ้าโทษตามมาตรา 371 เป็นโทษเบาแล้ว ไฉนบทลงโทษ ถึงขั้นริบอาวุธ ซึ่งไม่สืบราคาด้วย ว่าอาวุธนั้น ราคาเท่าไหร่ แล้ว โทษตามมาตรา อะไรหว่า ที่เขาเรียกว่า โทษหนักสุด น่ะ ผมเห็นท่านหนึ่ง ข้างบ้านผม โดนปรับมา สองพัน มันห่างกันเหลือเกินกับริบอาวุธราคาเรือนแสน แค่สงสัยครับ แง่คิดของผม ไม่กว้างเหมือนนักกฏหมาย เลยมองไม่คอยทะลุ ;D หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: มะเอ็ม ที่ มีนาคม 29, 2010, 11:00:16 AM การพกปืน จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ถ้าศาลเห็นว่าผิด ก็จะต้องรับโทษบทหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐
------------------------------------------------------------- ขอบคุณครับ ::010:: ::010:: ::010:: หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: oil ที่ มีนาคม 29, 2010, 01:09:53 PM ???
หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: cokho รักในหลวง ที่ มีนาคม 29, 2010, 02:35:54 PM มาตรา๓๗๑ ประมวลกฎหมายอาญาใช้คำว่า"ผู้ใดพาอาวุธไป......" ใช้กับอาวุธทุกชนิด ส่วนความผิดพระราชบัญญัติอาวุธปืน มาตรา๘ทวิจะจำกัดเฉพาะปืนเท่านั้น เวลาฟ้องก็จะฟ้องทั้ง๒มาตรา ซึ่งศาลจะลงโทษตามพรบ.อาวุธปืน๘ทวิ,๗๒วรรค๒ที่มีโทษจำคุก เพราะเป็นโทษที่หนักกว่า(หนักที่สุดที่ฟ้อง)ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๙๐ ศาลจะเลือกลงโทษตามมาตรา๓๗๑ไม่ได้ กฎหมายกำหนดวิธีใช้กฎหมายในลักษณะนี้ไว้อย่างนั้นครับ
หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ มีนาคม 29, 2010, 02:54:07 PM พี่ต้องจะกลัวไปใยครับ ก็พี่ต้อมมี ป.12 อยู่ไม่ใช้หรือครับ เอ๋หรือผมฟังข่าวมาผิดครับพี่ ;D
หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืนได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: oil ที่ มีนาคม 29, 2010, 04:20:08 PM พี่ต้องจะกลัวไปใยครับ ก็พี่ต้อมมี ป.12 อยู่ไม่ใช้หรือครับ เอ๋หรือผมฟังข่าวมาผิดครับพี่ ;D ฟังมาผิดครับ หากลัวไม่ แต่จะเอาไปตอบข้อสอบอัตนัย.....อ่านใหม่จะเข้าใจยิ่งขึ้น..นะจะบอกให้ อีกอย่างนึง.....พอไม่ได้เป็นสมาชิก สพป.แล้ว กลัวตกข่าวเพราะเพื่อนไม่รักนะ หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืน แนวตอบข้อสอบอาญา2 เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ มีนาคม 29, 2010, 05:23:49 PM ม. 371 ผู้ใด"พา"อาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดย"เปิดเผย"ไม่มีเหตุอันควร หรือ"พา"ไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทและให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น ถ้าถูกตรวจค้นจับกุมปืนมีทะเบียนชื่อตนเอง แล้วรับสารภาพ ประกันตัวไปขึ้นศาล(ถามแบบโง่ๆนะครับ)แถลงยอมรับผิดและขอให้ศาลสั่งลงโทษตามมาตราข้างต้น เสียค่าปรับหนึ่งร้อยบาท และขอให้ศาลเมตตาคืนอาวุธปืนให้เนื่องจากเป็นความผิดลหุโทษ(มาตรานี้เป็นความผิดลหุโทษ) จำเลยไม่เคยต้องโทษมาก่อน ได้หรือไม่ครับ ขอความกระจ่างจากสมาชิกนักกฏหมาย (ทะแนะไม่ต้องก็ได่้นะครับ จะเอาไปเขียนข้อสอบอัตนัย) ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่พอจะตอบได้ ก่อนอื่น คัดลอกข้อความมาผิดครับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๑ เป็นเรื่องของอาวุธทุกชนิด ไม่ใช่อาวุธปืนอย่างเดียว ดังนั้น การพกปืน จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ถ้าศาลเห็นว่าผิด ก็จะต้องรับโทษบทหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ เวลาพนักงานอัยการยื่นฟ้อง เขาจะบรรยายฟ้องว่าเป็นความผิดทั้ง พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ และประมวลกฎหมายอาญาไปด้วยกันทั้งคู่ แต่ศาลจะพิพากษาลงโทษเฉพาะบทหนัก (พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ) ดังนั้นจึงไม่อาจยกกฎหมายโทษเบามาเป็นประโยชน์ได้ เคยมีพนักงานอัยการเล่นแรง บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ กับขอให้ยึดปืนตามประมวลกฎหมายอาญา สู้กันถึงศาลฎีกา ผลสุดท้าย ศาลไม่ริบของกลาง ยืนยันว่าคัดลอกมาถูกต้องนะครับ เป็นประมวลกฏหมายอาญา มสธ.ฉบับปรับปรุงแก้ไขปี 2552 และได้สอบถามไปยังภาควิชาก็ได้รับการยืนยันจากอาจารย์ว่าแก้ไขตามที่ประชุมยกร่างอะไรซักอย่างที่ สอส.เป็นเจ้าภาพเมื่อต้นปี 2552 เดี๋ยวผมไปหารายละเอียดเพิ่มเติมมาให้ บอกรับราชกิจจานุเบกษาดีกว่าครับ ประมวลกฎหมายอาญา แก้ไขมาแล้ว 21 ครั้ง ครั้งที่ 17 เมื่อปี 47, และปี 50 ครั้งที่ 18, 19 และ 20 ปี 51 แก้ครั้งที่ 21 ส่วนปี 52 ไม่มีการแก้ไข หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืน แนวตอบข้อสอบอาญา2 เริ่มหัวข้อโดย: oil ที่ มีนาคม 29, 2010, 06:05:14 PM ขอบคุณครับผู้การ ทำไมแก้กันบ่อยจัง ตามไม่ทันจริงๆครับ มือใหม่มาก
หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืน แนวตอบข้อสอบอาญา2 เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ มีนาคม 29, 2010, 06:22:50 PM ป.อาญา มาตรา ๓๗๑ บัญญัติว่า "ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณ โดยเปิดเผย หรือโดยไม่มีเหตุสมควร
หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งร้อยบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น" ป.อาญา ม.๓๗๑ ที จขกท.คัดลอกมานั้นคลาดคลื่อนครับ จะใช้ได้กับ วัตถุอย่างอื่น ที่ถือเป็นอาวุธ โดยสภาพ แต่ไม่รวมถึงอาวุธปืน วัตถุระเบิด ที่จักต้องใช้ พรบ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. ๒๔๙๐ เท่านั้น. จนท. เมื่อพลาดเผลอ ไปปรับ ละก้องานเข้าเลยละ ครับ :~) หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืน แนวตอบข้อสอบอาญา2 เริ่มหัวข้อโดย: สุพินท์ - รักในหลวง ที่ มีนาคม 29, 2010, 06:51:20 PM ขอบคุณครับผู้การ ทำไมแก้กันบ่อยจัง ตามไม่ทันจริงๆครับ มือใหม่มาก ตรงที่แก้มาก ๆ ในปี 51 ไม่ค่อยอยากบอกรายละเอียดครับ มันเป็นเรื่องมิดีมิร้าย RO จะดุเอา เอาเป็นว่าเป็นเรื่องความผิดเกี่ยวกับเพศ ประเภทประตูหน้า ประตูหลัง ประตูบน ประตูล่าง อะไรแบบนั้น หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืน แนวตอบข้อสอบอาญา2 เริ่มหัวข้อโดย: oil ที่ มีนาคม 29, 2010, 08:53:24 PM ;D
หัวข้อ: Re: ยกกฏหมายอาญามาตรา 371 เป็นข้อต่อสู้เวลาโดนจับปืน แนวตอบข้อสอบอาญา2 เริ่มหัวข้อโดย: วุธ อุดร -รักในหลวง~ ที่ มีนาคม 29, 2010, 09:17:49 PM ขอบคุณในความรู้จากทุกท่านครับ ::014::
แต่เวลาผมตอบอาญา ๒ ผมยกเอาแต่มาตรา ๓๗๑ ครับ เพราะว่าเป็นกฎหมายอาญา ;D |