หัวข้อ: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 29, 2010, 08:41:41 PM ดิฉัน ตามอ่านเวปอวป.มานาน ก็เห็นสมาชิกหลายๆ ท่านมีลูกมีหลานวัยกำลังน่ารัก และก็เห็นหลายๆ ท่านชอบดู ชอบคุยวิจารณ์ภาพยนตร์กัน แต่กลับไม่ค่อยมีใครตั้งกระทู้พูดถึงหัวข้อกระทู้อะไรที่เกี่ยวกับเด็กที่เป็นลูกเป็นหลาน (นอกจากเอารูปลูกรูปหลานมาลง หรือพูดถึงเด็กๆ แบบสาวๆ เอ๊าะๆ ซึ่งอาจดูไม่ค่อยส่งเสริมสถาบันครอบครัวสักเท่าไร นอกจากจะหมายความว่าส่งเสริมลูกสาวและสถาบันครอบครัวคนอื่น) ;)
ดิฉันเป็นคนชอบดูภาพยนตร์ ชอบอ่านหนังสือ แล้วก็ชอบคุยถกกันกับคนอื่น ตามที่ได้รับการฝึกสั่งสอนมาจากครูบาอาจารย์ที่อักษรศาสตร์ แต่ดิฉันก็คิดว่า สามีก็อาจจะ(แอบ)เบื่อฟังดิฉันผู้เป็นภริยา คอยวิจารณ์ภาพยนตร์หนังสือต่างๆ ให้ฟัง พอๆ กับหลานๆ ที่ฟังจนรู้หมดแล้ว ก็เลยเอาสิ่งที่เคยเห็นเคยสังเกตได้จากหนังสือและภาพยนตร์เด็กๆ หรือแนวครอบครัวมาแบ่งปันกับเพื่อนสมาชิกดีกว่า เผื่อใครที่โดนบังคับโดยปริยายจากลูกหลานให้ดู shrek สิบรอบแล้ว หรือดู Harry Potter แปดรอบ แล้ว จะได้พอมีแง่มุมอะไรใหม่ๆ ให้ไม่เบื่อกัน ดีไหมคะ :D ทั้งนี้ ต้องขอออกตัวไว้ด้วยว่า ไม่ใช่นักวิจารณ์อาชีพ แต่เป็นมือสมัครเล่น ทฤษฎีอะไรที่เรียนๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์งานวรรณกรรมและภาพยนตร์ (film + literature appreciation) มันก็นานมาแล้ว บางอย่างอาจหลุดๆ ไป ลืมๆ ไปแล้ว ก็ต้องขออภัย แต่การดู การอ่าน ภาพยนตร์และหนังสือแนวเด็ก และครอบครัว อันที่จริงแล้วก็ไม่ต้องใช้อะไรมากนอกจากจินตนาการ กับความคิดนิดๆ หน่อย ๆ จริงไหมคะ :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 29, 2010, 09:04:45 PM Harry Potter:
เรื่องแรกที่ขอเริ่มคือ Harry Potter ค่ะ เพราะเป็นหนังสือและภาพยนตร์ยอดฮิต ใครไม่ดู ก็โดนบังคับให้ดู ใครไม่อ่านก็โดนลูกหลานบังคับให้อ่าน แต่ Harry Potter มีอะไรมากกว่าที่คนทั่วไปคิด โดยจะขอพูดถึงหนัง/ภาพยนตร์ เป็นภาคๆ ไปนะคะ Harry Potter and the Philosopher's (หรือ Sorcerer's) Stone ภาคนี้ เป็นภาคแนะนำตัวของ Harry Potter ที่ทำให้เราเห็นโลกและกฎเกณฑ์ต่างๆ ของโลกเวทย์มนตร์ที่ขนานกับโลกมนุษย์ได้ เป็นการผจญภัยครั้งแรกที่สุดของ Harry Potter ในโรงเรียนเวทย์มนตร์ เป็นครั้งแรกที่ Harry เด็กผู้ชายที่ไม่มีใครรัก ไม่มีใครสนใจในโลกมนุษย์ พบว่าตัวเองมีเพื่อนในโลกเวทย์มนตร์ และเป็นคนพิเศษที่มีประวัติที่มาที่ไป คุณค่าน่าคิดของเรื่องนี้ อยู่ตรงที่ JK Rowling ของแต่งหนังสือเล่มนี้ ต้องการแฝงแง่คิดของเรื่องการผูกมิตรกับเพื่อนใหม่และการเสียสละที่เพื่อนควรมีให้ต่อกัน (ดังจะเห็นได้จากในตอนท้ายของหนังสือ-ภาพยนตร์ ที่พูดถึงห้องกลไกที่ท้าทายให้แฮรี่และเพื่อนได้พิสูจน์ความกล้าหาญของตัวเอง) นอกจากนั้น หนังสือ-ภาพยนตร์ก็แสดงให้เด็ก/ผู้ใหญ่เห็นว่า คนแต่ละคนต่างก็มีความสามารถเฉพาะตัวที่ต่างกันออกไป เราไม่จำเป็นต้องเก่งทุกอย่าง โดยเพื่อนของเราก็อาจเก่งในสิ่งที่เราไม่เก่งก็ได้ เช่น การที่รอน วีสลี่ย์ เก่งหมากรุก และชนะแฮรี่ตลอด หรือเฮอร์ไมโอนี่เป็นเด็กที่เรียนเก่งตอบได้ทุกอย่างในทุกวิชา แต่แฮรี่เป็นคนเดียวที่ขี่ไม้กวาดได้ก่อนเพื่อน เป็นต้น นอกจากนั้น เรื่องในภาคนี้ก็พูดถึงความสามัคคีด้วยว่า ในเมื่อแต่ละคนเก่งคนละอย่าง วิธีเดียวที่จะทำอะไรได้ดีก็คือร่วมมือกัน ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ นอกจากนั้น สำหรับผู้ใหญ่ เรื่องราวในตอนนี้พูดถึงการใช้ชีวิตให้คุ้มค่าด้วย โดย philosopher's หรือ sorcerer's stone ในท้องเรื่องคือหินวิเศษที่นำมาสกัดเป็นน้ำอมฤตทำให้ผู้ที่ดื่มสามารถอยู่อย่างอมตะได้ แม้ว่าจะเป็นชีวิตที่ไม่เต็มรูปแบบ (คือเหมือนเป็นแค่เสี้ยววิญญาณของตัวตนเดิมของตัวเอง) ตัววายร้ายของเรื่องคือ Voldemort ต้องการจะกลับมามีชีวิต มีอำนาจ แม้จะต้องอยู่อย่างครึ่งวิญญาณก็เอา เพื่อทำชั่วร้ายต่อไป นั้น เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีของคนที่ต้องการใช้ชีวิตเพื่อสนองตัณหาในด้านมืดของตนเอง ซึ่งการใช้ชีวิตแบบนี้ เป็นการใช้ชีวิตที่ไม่คุ้ม ตรงข้ามกับพ่อมด Nicholas Flemmel เจ้าของหินวิเศษ ที่ใช้ชีวิตแก่เฒ่าจนพอใจแล้วก็จึงทำลายหินวิเศษทิ้ง เพราะการอยู่ตลอดไปโดยไร้เป้าหมาย หรืออยู่ตลอดไปเพื่อสนองตัณหานั้น ไม่มีประโยชน์อะไร สู้การอยู่ต่อไปอย่างเป็นที่รัก อย่างกล้าหาญ และใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าไม่ได้ นอกจากนั้น ที่ดีที่สุดคือการแสดงให้เห็นว่า ความรักของแม่คือเวทย์มนตร์ที่ดีที่สุดที่คุ้มครองเด็กหรือคนๆ นึงได้ (แม้จะออกหวานแหววพอควร) แต่ก็น่าจะทำให้เด็กคนนึงที่อ่านหรือดูหนังหากหยุดคิด มั่นใจ ไม่ขลาดกลัวพ่อมดหมอผี พอกับที่จะทำให้ผู้ใหญ่ตระหนักถึงความรักของพ่อแม่ในอดีตของตน สิ่งเดียวที่เสียดายคือภาพยนตร์ทำไม่ดีเท่าที่ควร เพราะเสียเวลากับการพยายามแนะนำทุกอย่างในโลกเวทย์มนตร์เกินไป และเด็กนักแสดงยังไม่อินกับบทมาก แต่ถ้าดูไปคิดไป จินตนาการไปก็สนุกพอใช้ได้ค่ะ :) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 29, 2010, 09:07:31 PM คั่นโฆษณา ด้วยรูปโปสเตอร์นะคะ
หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ สิงหาคม 29, 2010, 09:27:12 PM โอ้ ขอบคุณมากเลยครับ เฉพาะ Harry Potter ติดงอม ตามเก็บ อ่านรวดหกตอน แล้วรอเล่มเจ็ด ทำให้ กลายคนมีความฝัน แบบเป็นเด็ก ไปได้นาน ทีเดียว ส่วนที่ทำเป็นภาพยนต์ ทีมพากษ์ ตีบทไม่แตก พากษ์ไม่ได้อารมณ์ ไม่ตรงอารมณ์ น่าเสียดาย น่าเสียดาย จะติดตามอ่านบทวิจารณ์ต่อ นะครับ. :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 29, 2010, 09:37:05 PM Harry Potter and the Chamber of Secrets:
ในหนังสือภาค 2 นี้ ค่อนข้างจะเห็นได้ชัดว่า JK Rowling ค่อนข้างจะแน่ใจแล้วว่าจะเขียนเป็นซีรีส์ และจะให้หนังสือชุดแฮรี่ พอตเตอร์ทั้งหมดมีเรื่องราวมากกว่าเป็นแค่หนังสือเด็กธรรมดาๆ เพราะหนังสือเล่มนี้ต่างจากภาคแรกตรงที่ไม่ได้เขียนตามรูปแบบหนังสือเด็กทั่วๆ ไปที่เน้นผจญภัย ความสนุกสนาน และความตื่นเต้นของการค้นพบอะไรใหม่ๆ แล้ว แต่หนังสือเริ่มพูดถึงด้านมืดของจิตใจคนขึ้นมาแทน chamber of secrets ซึ่งแปลตรงตัวว่า ห้องแห่งความลับ ก็คือหัวใจของมนุษยน์นั้นเอง ตามท้องเรื่องในห้องแห่งความลับของโรงเรียนมีงูร้ายที่มีพ่อมดชั่วร้ายในอดีตลงคาถาไว้ให้ไล่ล่าสังหารเด็กที่เป็นลูกครึ่งมนุษย์-พ่อมด/แม่มด ซึ่งเรื่องก็จบลงโดยแฮรี่สามารถเอาชนะงูร้ายนี้ด้วยความกล้าหาญได้ แม้จะมีความสงสัยว่าตัวเองโดยที่เป็นคนที่มีสายเลือดพ่อมดชั่วร้าย จะทำให้ตัวเองชั่วร้ายหรือไม่ ในแง่ของการเป็นหนังสือเด็กอ่าน ภาคนี้ ค่อนข้างน่ากลัวทีเดียว เพราะตัวละครตาย โดนสิงสถิตย์ มีผีเข้า มีการคุยกับผีเฝ้าตึก ฯลฯ แต่ในแง่ของสิ่งที่หนังสือจะสื่อ เรื่องนี้ถือเป็นหนังสือที่ดีมาก เพราะว่า เป็นการสอนให้เด็กรู้ว่า สิ่งที่เราเป็น อาทิ เป็นสายเลือดของใครที่เป็นคนไม่ดี ไม่ได้ทำให้เราเป็นคนไม่ดีโดยอัตโนมัติ แต่อยู่ที่การกระทำของเราที่จะเลือกเป็นคนดีหรือไม่ดีต่างหาก ดังจะเห็นได้จากตอนที่ครูใหญ่ของแฮรี่พูดถึงตอนที่แฮรี่เลือกไม่อยู่ในบ้าน slytherin ขออยู่บ้าน gryffindor เพราะกลัวว่าการไปเลือกอยู่ในบ้าน slytherin จะทำให้เป็นคนไม่ดีไปด้วย นอกจากนั้น ในแง่สัญลักษณ์ตามคอนเซ็ปต์ฝรั่ง งูตามพระคัมภีร์ไบเบิลก็หมายถึงความชั่วร้าย การยั่วยวนของอำนาจด้านมืด การที่แฮรี่เอาชนะได้ก็เหมือนกับเป็นนัยของการเอาชนะความชั่วร้าย หรือการยั่วยวนของอำนาจด้านมืด ซึ่งนอกจากงูแล้ว เรื่องนี้ ยังสื่อออกมาจากไดอารี่ของ Voldemort ที่แฮรี่เขียนอะไรไปก็ตอบกลับมา แต่หลอกลวงโกหกเสียหมด นอกจากนั้น เนื้อเรื่องให้แง่คิดเกี่ยวกับการที่เด็กวัยรุ่นอาจถูกล่อหลอกจากพวกหัวรุนแรงที่พูดจาอ่อนหวานแต่โกหกชั่วร้าย ถึงได้เขียนเรื่องว่า จินนี่ น้องสาวของรอน เพื่อนสนิทของแฮรี่ หลงเชื่อไดอารี่พูดได้ของ Voldemort จนกระทั่งถูกดูดวิญญาณออกจากร่าง กว่าจะรู้ตัวก็อ่อนแอมาก และยิ่งไม่บอกใคร ก็ยิ่งไม่มีใครรู้ หรือใครช่วยกำจัดไดอารี่ที่ว่าได้ เธอยิ่งแอบเอาไปทิ้ง ก็ยิ่งทำให้ทุกอย่างเลวร้าย จนท้ายที่สุด เธอก็แทบไม่มีเรี่ยวแรง และปีศาจในไดอารี่ก็ออกมาได้ ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่ตกเป็นเหยื่อของอุดมการณ์ ลัทธิ กลุ่มหัวรุนแรงต่างๆ ที่มอมเมาเหยื่อ แรกๆ เหยื่อก็จะถุกหลอกให้ไว้ใจ และเมื่อไว้ใจมากๆ เล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟังมากๆ ความเป็นตัวตนของเหยื่อก็จะไม่เหลือ และคนที่หลอกลวงก็สามารถจะทำอะไรก็ได้ เพราะกุมความลับของเหยื่อไว้แล้ว ถ้าจะเอาอะไรไปสอนลูกหลานก็อาจเปรียบได้ว่า ไดอารี่ของจินนี่ หรือแฮรี่ในเรื่องนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับมิตรทางอินเตอร์เน็ต หรือคนแปลกหน้าที่ดูดี พูดจาดี ซึ่งก็ไม่ควรไว้ใจเล่าทุกอย่างให้ฟัง และไม่ควรปิดบังผู้ใหญ่ด้วยเมื่อรู้สึกอะไรไม่ชอบมาพากล สำหรับผู้ใหญ่แล้ว เนื้อเรื่องแฝงแง่คิดเรื่องของการไม่รังเกียจ ไม่ตั้งอคติเหยียดสีผิว หรือเหยียดหยามใครจากชาติตระกูล นอกจากการสร้างตัวละครให้มาจากหลายฐานะสังคม หลายเชื้อชาติ (เท่าที่คนอังกฤษจะพอคิดได้ โดยดูจากสังคมอังฤษ) JK Rowling ก็ต้องการให้เด็กๆ เข้าใจว่า การรังเกียจใครว่ามาจากชาติตระกูลไม่ดีก็เหมือนบอกว่าคนๆ นั้น เลือดสกปรก ซึ่งเป็นสิ่งที่หยาบคายชั่วร้าย เพราะทุกคนก็เป็นคนมีเลือดเนื้อเหมือนกัน และสำหรับผู้ใหญ่ ความผิดหวัง ความโกรธแค้น ไม่ได้อย่างใจในอดีตของตน ก็ไม่ควรเป็นสิ่งที่เราทิ้งไว้ให้แก่รุ่นน้อง รุ่นลูกรุ่นหลาน แบบพ่อมด Slytherin ที่สาปให้มีงูปีศาจในโรงเรียน หรือ แบบ Voldemort ที่จบไปแล้ว แต่ยังอุตส่าห์พยายามยุยงทิ้งปมไว้ให้สร้างความเสียหายอีก เปรียบได้กับรุ่นพี่ช่างกลที่นิสัยไม่ดี และไม่ควรยุยงให้รุ่นน้องเกเรตาม เหมือนกับพ่อแม่เหมือนกันที่ไม่ชอบใครก็ไม่ควรยุให้ลูกหลานไม่ชอบด้วย จริงไหมคะ หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 29, 2010, 09:44:42 PM คั่นด้วยใบปิดภาพยนตร์นะคะ แล้วเดี๋ยวจะกลับมาเขียนใหม่ค่ะ อิอิ โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ ;D
หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 29, 2010, 09:46:38 PM ขอบคุณค่า ::014:: ดีใจจัง ตอนแรกก็นึกว่าจะเก่าไปเสียแล้ว ... แต่เห็นว่าภาพยนตร์ก็น่าจะออกอีกไม่นาน รอไปรอมาเดี๋ยวจะเก่าไปอีกเลยเขียนดีกว่าค่า.. :D
เฉพาะ Harry Potter ติดงอม ตามเก็บ อ่านรวดหกตอน แล้วรอเล่มเจ็ด ทำให้ กลายคนมีความฝัน แบบเป็นเด็ก ไปได้นาน ทีเดียว ส่วนที่ทำเป็นภาพยนต์ ทีมพากษ์ ตีบทไม่แตก พากษ์ไม่ได้อารมณ์ ไม่ตรงอารมณ์ น่าเสียดาย น่าเสียดาย หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ สิงหาคม 31, 2010, 03:15:10 AM อีกหน่อยคงมีคนหัวการค้าทำมิวเซียม แฮรี่ พอตเตอร์ เพื่อเก็บตงังค์และขายของที่ระลึกต่อๆ ไปครับ
ตอนนี้ที่ลอนดอนมีมิวเซียม เชอร์ล๊อก โฮลม์ อยู่ที่ถนนเบเกอร์จริงๆ ติดป้ายข้างหน้าว่าเลขที่ ๑๑๒ (ที่จริงห้องที่ทำไม่ใช่เลขที่ ๑๑๒ ถนนเบเกอร์) ข้างในแสดงข้าวของสร้างเลียบแบบของในหนังสือตอนต่างๆ และมีร้านอาหารด้วย เมนูอ้างอิงนิยาย เช่น พายของคนนั้นคนนี้ อาหารในตอนนั้นตอนนี้ หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: JUNGLE ที่ สิงหาคม 31, 2010, 01:14:10 PM งั้นผมเสนอหนังสือเล่มนี้ครับ... อ่านแล้วประทับใจสุดๆ โดยเฉพาะคนที่มีอาชีพเป็นเรือจ้างเช่นผม... ::014::
(http://img716.imageshack.us/img716/6270/dscf1416n.jpg) (http://img716.imageshack.us/i/dscf1416n.jpg/) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 31, 2010, 09:37:09 PM ขอบคุณค่ะคุณ :D Jungle ดีใจที่ได้ทราบว่าชอบหนังสือ โต๊ะโตะจังเหมือนกันเลยค่ะ
ดังนั้น ขอคั่น harry potter ไว้แป๊บนะคะ เดี๋ยวจะกลับมาใหม่ และขอคั่นโฆษณาด้วยโต๊ะโตะจัง.. ::002:: ซึ่งเป็นหนังสือที่ดีมากๆ เล่มหนึ่งเลยค่ะ งั้นผมเสนอหนังสือเล่มนี้ครับ... อ่านแล้วประทับใจสุดๆ โดยเฉพาะคนที่มีอาชีพเป็นเรือจ้างเช่นผม... ::014:: ] หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 31, 2010, 09:55:17 PM ดิฉันจำได้ว่า อ่านโต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่างครั้งแรกตอนประถมปลาย ก็จำได้ว่าไม่ค่อยจะชอบเท่าไร (ตอนนั้นติดโดราเอม่อนมากกว่า) แต่พอกลับมาอ่านหลังจากทิ้งไว้สักพักถึงเห็นว่าหนังสือเล่มนี้อ่านแล้วรู้สึกดี รู้สึกประทับใจ พอกลับไปอ่านหนที่สามตอนเรียนจบแล้ว ก็พบว่าได้อะไรมากขึ้นอีกกว่าตอนที่อ่านตอนเด็กๆ นับว่า เป็นหนังสือที่โตไปกับเราได้อีกเล่มหนึ่ง
โต๊ะโตะจังสำหรับดิฉันเป็นหนังสือที่ค่อนข้างจะอ่านง่าย อาจเพราะเป็นผู้หญิง และมุมมองของโต๊ะโตะจังก็เป็นมุมมองการเล่าเรื่องแบบเด็กผู้หญิง ความน่ารักของหนังสือเล่มนี้สำหรับดิฉัน คือ นอกจากเป็นการเล่าเรื่องจากมุมมองไร้เดียงสาของเด็กๆ แล้ว ก็คือเป็นการแสดงถึงความอ่อนโยนในจิตใจและโลกส่วนตัวของเด็กด้วย :) หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนหน้าต่างส่วนหนึ่งเข้าไปสู่โลกที่แสนจะเรียบง่ายของเด็กๆ บทที่ดิฉันประทับใจที่สุดคือเรื่องที่โรงเรียนของโต๊ะโตะจังสอนให้นักเรียนพูดภาษาอังกฤษกัน และเด็กๆ ก็สนุกกันใหญ่กับการพูดภาษาอังกฤษ hello how are you เพื่อทักทายเพื่อนต่างชาติ ซึ่งฉากนี้สะท้อนอยู่ในท่ามกลางสงครามที่สหรัฐฯ และญี่ปุ่นกำลังรบกัน (อ่านจบก็รู้สึกถึงบางอ้อว่า มิน่า ถึงได้ๆ รางวัลมา) ซึ่งบทนี้แสดงว่า สำหรับเด็กนั้น มิตรภาพเป็นเรื่องบริสุทธิ์ใจ สำหรับเด็กคนหนึ่ง เด็กอีกคนจะชาติอะไร พูดภาษาอะไร หรือพิการ (เช่นในตอนที่มีการวิ่งแข่งและให้เด็กพิการร่วมด้วย) ก็เป็นเพื่อนกันได้ทั้งนั้น ซึ่งดิฉันว่าเป็นเรื่องที่น่ารักมากทีเดียว ;) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 31, 2010, 10:09:06 PM สำหรับเด็กไทยแล้ว การเปิดใจยอมรับเพื่อนที่แตกต่างอย่างโต๊ะโตะจังคงไม่ยากเท่าไร เพราะเด็กไทยโดยธรรมชาติก็เป็นเด็กยิ้มง่าย เป็นมิตรกับทุกคนอยู่แล้ว แต่สำหรับบางประเทศที่เขามีความหลากหลายในสังคมมากๆ เช่น สหรัฐฯ การสอนให้เด็กรู้จักอยู่ร่วมและผูกมิตรกับคนที่แตกต่างกับตัวเองตั้งแต่โรงเรียนเป็นเรื่องที่พ่อแม่และครูให้ความสำคัญมากค่ะ
ในอิสราเอล เริ่มมีความพยายามทางฝ่ายอิสราเอล (เอียงซ้าย) ที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งกับปาเลสไตน์ โดยตั้งโรงเรียนที่เปิดรับเด็กทุกศาสนาให้มาเรียนด้วยกัน โดยรับเข้ามาตั้งแต่อนุบาล เพื่อให้เด็กจากครอบครัวยิว มุสลิม คริสต์ รู้จักและคุ้นเคยกับความแตกต่างของประเพณีของศาสนาต่างๆ และผลที่ได้ก็น่าพอใจเพราะเด็กๆ ก็เป็นเพื่อนกันได้ และเมื่อเด็กๆ เป็นเพื่อนกันได้ พ่อแม่ก็รอมชอมกันง่ายขึ้น แต่ก็น่าเสียดายว่า เป็นแค่ส่วนเดียวเหมือนหนึ่งหยดน้ำในทะเลทรายเท่านั้น เพื่อนดิฉันเป็นคนอเมริกัน มาทำงานในไทย ก็เอาลูกชายมาเรียนโรงเรียนอินเตอร์ในไทย เขาก็บอกเล่าอย่างประทับใจว่า ลูกเขาโชคดีมากที่ได้เรียนรู้วัฒนธรรมเอเชีย และมีเพื่อนจากหลายเชื้อชาติ เขาเล่าว่า วันหนึงไปรับลูกที่โรงเรียน ลูกก็วิ่งมาบอกว่า เพื่อนให้หมูปิ้งมา เขาก็ถามว่า ใครให้ ลูกชายก็บอกเพื่อนชื่อไมค์ อยู่ตรงโน้น และพยายามชี้ให้พ่อดู เขาก็มองไปเห็นเด็กนักเรียนหน้าตาแขก หน้าตาแอฟริกัน หน้าไทย ยืนอยู่เป็นกลุ่ม เขาก็งง ก็ถามว่าคนไหน และลูกเขาก็ตอบว่า "คนที่ใส่เสื้อสีเขียวไงพ่อ" ซึ่งก็ปรากฏเป็นเด็กนักเรียนแอฟริกัน ซึ่งพอเขาเห็นเขาก็อึ้งไป เพราะสำหรับคนวัยเขา เห็นคนผิวดำ ก็ต้องบอก african american ไว้ก่อน แต่สำหรับลูกเขา ซึ่งไม่ได้โตในยุคที่เห็นการเหยียดสีผิว และต้องมี political correctness เด็กชายไมค์เป็นเพื่อนใส่เสื้อสีเขียว (ที่เผอิญผิวดำ) :) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 31, 2010, 10:28:48 PM นอกจากนั้น ก็มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่น่ารักในเรื่องที่น่าจะเป็นเรื่องพอเอามาปรับกับอะไรไทยๆ ได้ เช่น การปลูกผัก การใกล้ชิดกับธรรมชาติของเด็กๆ ซึ่งถึงแม้ธรรมชาติญี่ปุ่นจะสะอาดกว่าของไทย (เมืองร้อน แมลง เชื้อโรค ฯลฯ คงเยอะกว่า) แต่มุมมองและความรู้สึกของเด็กต่อธรรมชาติก็ไม่น่าต่างกันมาก เด็กควรจะได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ มากกว่าที่จะกลัวธรรมชาติ (รู้สึกจะมีเรื่องของใส่รองเท้าถ้าจำไม่ผิด) หรือคิดจะใช้ประโยชน์อย่างเดียว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ หากคิดดีๆ ก็เอาไปโยงสอนเด็กๆ ให้เข้าใจความคิดศก.พอเพียง ก็น่าจะโอเคนะคะ
ท้ายนี้ สำหรับผู้ใหญ่แล้ว โต๊ะโตะจัง น่าจะเป็นหนังสือที่ทำให้เราย้อนนึกไปถึงวัยเด็กๆ เราได้ และทำให้เราเข้าใจว่าสำหรับเด็กอะไรเป็นสิ่งสำคัญ และน่าจะเลี้ยงดูเขายังไง นอกจากนั้น หนังสือก็แสดงให้เราที่เป็นผู้ใหญ่เห็นว่า อะไรคือสิ่งสำคัญในชีวิต เพราะบ่อยครั้ง เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ เราประเมินตัวเราจากความสำเร็จไม่ใช่จากความสุข และประเมินคนอื่นจากสิ่งที่เราเห็นข้างนอกไม่ใช่จากสิ่งที่อยู่ในใจ ต่างกับเด็กที่มีความสุขง่ายกว่าผู้ใหญ่เพราะความสุขของเด็กเรียบง่ายกว่า สำหรับเด็ก ความสุขคือการได้กลับบ้านหลังเลิกเรียน เพื่อนคือเด็กที่เล่นด้วยกัน :) คุณครูบอก โต๊ะโตะจัง ว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในโลก คือการมีตา แต่ไม่รู้จักมองดูอะไรที่สวยงาม ไม่ฟังเพลง มีหัวใจแต่ไม่รู้ความจริง ไม่รู้สึก และไม่มีความกระตือรือร้น ซึ่งสำหรับดิฉันแล้ว หมายถึงการที่คนเราควรพยายามขัดเกลาจิตใจและความคิด เปิดใจให้รับ ให้สังเกตรอบตัว และให้มีความสนใจกระตือรือร้นให้ใช้ชีวิต ซึ่งไม่ว่าจะผู้ใหญ่หรือเด็ก ดิฉันก็ว่านำไปใช้ได้ทั้งนั้นค่ะ :) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ สิงหาคม 31, 2010, 10:33:46 PM มาติดตามอ่านด้วยคนครับ ;)
หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 31, 2010, 10:41:55 PM ขอบคุณค่า.. คุณสิงห์กลิ้ง ::014::
มาติดตามอ่านด้วยคนครับ ;) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 31, 2010, 10:53:52 PM เท่าที่นึกออกเรื่องโต๊ะโตะจังก็มีแค่นี้ค่ะ (ตัวหนังสือ รู้สึกโดนยืมไปแล้วก็หายไปเลย :~) ) ถ้านึกอะไรออก หรือมีอะไรแลกเปลียนก็เชิญนะคะ ยินดีอย่างยิ่งค่ะ :D
ตอนนี้ ขอตัดเข้าเรื่อง Harry Potter and the Prisoner of Azkhaban ค่ะ ภาค 3 ของ Harry Potter อันนี้ เป็นหนังสือเล่มทีโดยส่วนตัวแล้วชอบที่สุดในทั้งซีรี่ส์ค่ะ เพราะสนุกและหักมุมไปมา เดาแทบไม่ถูกเลย ในเรื่องนี้ JK Rowling พยายามพูดถึงความเปลี่ยนแปลงในตัวแฮรี่ที่เริ่มเป็นหนุ่ม โดยเริ่มจากเรื่องความสูง อารมณ์ร้อน (ที่เสกคุณป้าปากเสียกลายเป็นลูกโป่ง) และผลของการขาดสติ (แฮรี่ต้องร่อนเร่ขึ้นรถ Knight Bus หนีออกจากบ้าน) แต่หัวใจหลักๆ ของเรื่องคือการพูดถึงการไม่มอง/ตัดสินคนจากรูปลักษณ์ภายนอก เพราะนอกจากการรู้ใจตัวเอง เลือกที่จะไม่ทำอะไรไม่ดี (ใน Chambers of Secret) แล้ว คนเราก็ต้องเปิดโอกาสที่จะให้คนอื่นได้ทำความรู้จักกับเราด้วย การที่สอนให้เด็กไม่มองคนที่ภายนอก จะเห็นได้จากการสร้างตัวละครครู Lupin ที่สอนวิชา Defense against Dark Arts ที่เป็นมนุษย์หมาป่า ซึ่งหากมองผิวเผินจะดูเป็นคนซอมซ่อ ยากจน และยิ่งพอรู้ว่าเป็นมนุษย์หมาป่าก็จะยิ่งน่ากลัว แต่หากรู้จักหรือสนิทแล้ว เช่นแฮรี่ กับเพื่อนๆ ก็จะเห็นว่า Lupin ไม่ใช่คนไม่ดี แต่เป็นเพียงคนโชคร้าย และควรได้รับความเห็นใจ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาไม่ใช่ความผิดของเขา หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ สิงหาคม 31, 2010, 11:13:23 PM นอกจาก Lupin แล้ว หนังสือเล่มนี้ก็มี Sirius ที่เป็นพ่อบุญธรรมของแฮรี่ ที่มาเปิดเผยตัวตอนจบ ถ้าอ่านหรือดูก็จะเห็นว่า Sirius ดูเป็นผู้ร้ายตั้งแต่ต้น และดูจากภาพลักษณ์ภายนอก ที่เป็นผู้ร้ายหนีจากคุก Azkhaban แต่จริงๆ กลับเป็นคนดี ก็เป็นการย้ำถึงความพยายามของ JK Rowling ที่จะให้เด็กเรียนรู้ที่จะไม่ตัดสินคนเพียงผิวเผิน :)
นอกจากนี้แล้ว ยังมีเรื่องของการรับมือกับความทุกข์แสนสาหัสในชีวิต (Dementors) หรือความกลัวฝังใจ (ปีศาจแปลงร่าง Boggart) โดยอย่างแรกเมื่อเจอความทุกข์แสนสาหัสก็ให้รับมือด้วยการพยายามนึกถึงความทรงจำที่เป็นความสุขในอดีต (คาถา patronus) และเมื่อเจอกับความกลัวฝังใจที่ก็รู้ว่าไร้สาระก็ให้คิดว่ามันเป็นเรื่องตลก (คาถา ridiculus!) ซึ่งดูเหมือนเรื่องเล็กน้อยแต่ก็น่าจะพอเอาไว้หลอกลูกหลอกหลานให้หายกลัวผีใต้เตียงได้นะคะ ;D หรือเราผู้ใหญ่จะเอาไว้ใช้รับมือกับความเครียดบ้างก็ได้เช่นกันค่ะ อีกเรื่องที่ดูเหมือน JK Rowling จะเน้นต่อเนื่องก็คือเรื่องของมิตรภาพ แต่พอแฮรี่โตแล้ว ก็เลยสอดแทรกเรื่องของการทรยศหักหลังของเพื่อนเข้าไว้ด้วย (Wormtail) และเรื่องของการให้อภัยไม่ทำร้าย Wormtail เป็นตัวอย่างให้เด็กๆ เห็นว่า การไม่ชอบใครสักคน หรือโกรธใครสักคน ไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยการทำร้ายคนจริงๆ นอกจากนั้น ก็ยังมีเรื่องของการปล่อยวางอดีต (การใช้นาฬิกาหมุนกลับเพื่อช่วยชีวิต buckbeak) ที่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง หรือการใช้ patronus charm ของแฮรี่ ที่แฮรี่คิดว่าเป็นพ่อของตัวเอง ก็แท้ที่จริงเป็นเพียงความโหยหาในใจ (เหมือนกระจก Erised ในภาคแรก ที่ครูใหญ่บอกไว้ว่า อย่าไปจ้องหมกมุ่นมาก เพราะอาจทำให้หลงไหลเป็นบ้าไปได้) :-\ สำหรับภาพยนตร์แล้ว ภาคนี้ น่าจะทำได้สนุกสุด ทั้งมีฉากขับรถ ฉากต้นไม้ยักษ์ บ้านลับๆ ในโรงเรียน แผนที่ล่องหน แต่เหมือนผู้กำกับกลัวเรื่องไม่ต่อเนื่องกับภาคหลังๆ เลยทำออกมาดูทะมึนเกินไป และโดยเฉพาะบุคลิกของ Siriius นั้น แทบจะไม่ค่อยมีพัฒนาการเลย ชวนให้เสียดาย แต่สำหรับ ตัว Lupin แล้ว ถือว่า casting ได้ดี และฉากต่อสู้กับ Boggart ก็ทำได้ดีทีเดียว หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ สิงหาคม 31, 2010, 11:55:10 PM ผมชอบหนังสือและหนังเด็กมากครับ...
แฮรี่ พอตเตอร์ ก็เป็เรื่องที่อ่านแล้ววางไม่ลงจริงๆ... เห็นด้วยกับท่าน bluebunny ว่าภาคสามเป็นภาคที่สนุกที่สุด... และภาคสุดท้ายสนุกน้อยที่สุด...ฮา... ::005:: วันก่อนผมกำลังเก็บหนังสือเข้าตู้ ลูกสาวคนเล็ก(ข้าวหอม)เดินมาเจอพอดี... แกถามว่า"พ่อเก็บหนังสืออะไรหรือ"... ผมตอบว่า"แฮรี่ พอตเตอร์... โตขึ้นแล้วหนูจะต้องชอบเรื่อง แฮรี่ พอตเตอร์ จ๊ะ"... ข้าวหอมพูดขึ้นว่า"พ่อพูดเหมือนกับแม่เลย โตขึ้นหนูจะต้องชอบ เฮลิคอปเตอร์..."...ฮา... ::005:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ สิงหาคม 31, 2010, 11:58:39 PM ลืมบอกไปครับ...
ตอนนี้ลูกผมยังดูแฮรี่ พอตเตอร์ ไม่ค่อยรู้เรื่อง... แต่ชอบดูและให้อ่านเรื่องนี้ให้ฟังมากครับ... (http://c.static.fsanook.com/shopping/uploaded/large/2008/10/07/35/3Such1207829905-1.jpg) โรอัลด์ ดาห์ล เป็นนักแต่งเรื่องเด็กที่ผมชอบมากที่สุดคนหนึ่งครับ... :VOV: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 01, 2010, 04:04:07 AM @ คุณ rute น้องข้าวหอมตอบน่ารักจังเลยค่ะ :D :D :D ดีแล้วล่ะเลยค่ะที่เก็บหนังสือไว้ให้ลูกสาวด้วย ::002:: เวลาเขาโต เขาจะได้ดีใจที่คุณพ่อคุณแม่อุตส่าห์เก็บหนังสือใส่แคปซูลไว้รอเขามาอ่าน อืม เรื่องโรอัล ดาห์ล เคยอ่านไม่กี่เล่มเองค่ะ แค่ มาธิลด้า แม่มด แล้วก็ชาลีกับโรงงานช๊อคโกแล็ต ส่วนเรื่องลิฟต์แก้วยังไม่เคยอ่านค่ะ เรื่องชาลีกับโรงงานช็อคโกแล็ต อ่านไว้นานมากแล้ว จำไม่ได้หมดนะคะ แต่จำได้ว่าชอบเหมือนกันว่าเป็นเรื่องที่สนุกดี และชวนให้จินตนาการไปไกลๆ ได้ สำหรับเด็กแล้ว ดิฉันว่า หนังสือเล่มนี้ดีตรงที่สอนให้เด็กทำตัวเป็นเด็กดี โดยมีวิธีบอกที่เก๋กว่าหนังสือเด็กเรื่องอื่นๆ อย่างมาก แทนที่จะได้พบนางฟ้า พบพ่อมดแม่มดใจดีมาพาไปพบเจ้าชาย เจ้าหญิง กลับได้ผลรางวัลตอบแทนการทำตัวเป็นเด็กดีที่ชัดเจน และหอมหวานอร่อย ในรูปของโรงงานช็อคโกแลต ซึ่งนอกจากกินได้แล้ว ยังสามารถช่วยฐานะทางบ้านให้พ้นจากความยากจนด้วย (ฟังดูออกแนวสมจริงพอที่เด็กจะนำมาจินตนาการได้ เหมือนประเภทรายการชิงโชคต่างๆ) :) จุดที่เด่นที่สุดของเรื่องนี้ ดิฉันว่าอยู่ตรงการเปรียบเทียบชาลี กับเด็กๆ คนอื่นๆ ที่ได้รางวัลเข้าไปในโรงงาน โดยคุณดาห์ล เขียนได้สนุกตรงการบรรยายบุคลิกภาพของเด็กๆ แต่ละคน เช่น Augustus เด็กตะกละ Veruca เด็กเอาแต่ใจ หรือ Violet เด็กติดลูกอม เพราะเด็กทุกคนที่อ่านก็คงจำได้ว่ามีเพื่อนในชีวิตจริงที่เป็นอย่างนี้ และจุดจบของเด็กแต่ละคนก็ค่อนข้างสอดคล้องกับบุคลิกภาพ และการที่เด็กไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่ (ในทุกๆ ที่มีป้ายหรือไม่ Willy Wonka ก็บอกไว้แล้วว่า อะไรให้ทำหรือไม่ให้ทำ) บุคลิกเด็กแต่ละคนนอกจากนั้นก็แสดงถึงสิ่งที่ถือเป็นนิสัยเสียที่ไม่เป็นผลดีกับตัวเด็กเอง เช่น การติดทีวี การติดขนม การเห็นแก่กิน การเอาแต่ใจ ฯลฯ ซึ่งจุดจบที่คุณดาห์ลเขียนไว้ก็จะว่าโหดก็โหด เช่น การที่เด็กถูกจับตัวยืดยาวเป็นตังเม หรือกลายเป็นสีม่วง แต่ก็ถือว่าไม่ต่างจากที่ผู้ใหญ่จะชอบหลอกเด็กสักเท่าไร (เช่น ตุ๊กแกจะกินตับ ชี้รุ้งแล้วนิ้วจะขาด ฯลฯ) การลงโทษให้เด็กที่ติดทีวี (Mike) ถูกย่อส่วนให้ตัวเล็กก็เป็นตัวอย่างที่ดี แสดงให้เห็นว่า การติดทีวีมากๆ จะทำให้เด็กมองโลกความจริงรอบตัวน้อยลงไป และเมื่อเด็กไม่สนใจโลกรอบตัว โลกรอบตัวก็จะลืมว่าเด็กคนนี้ยังอยู่ ก็เปรียบได้กับการที่ถูกย่อส่วน มองแทบไม่เห็น ซึ่งเมื่อเด็กรู้ตัวมันก็จะสายไปแล้ว หากเป็นผู้ใหญ่ก็เปรียบได้กับการติดเกม ติดเน็ตมากเกินไปก็ได้ค่ะ ตัวตนของเราในโลกเกมหรือเน็ตจะยิ่งใหญ่หรือมีชื่อเสียงหรือไม่ก็ตาม ตัวจริงในโลกข้างนอกเราก็สำคัญด้วย :-\ ส่วนเด็กที่ตะกละก็สื่อได้ดีเช่นกัน Augustus ตกไปในแม่น้ำช๊อคโกแล็ตเพราะอยากดื่มน้ำช๊อคโกแล็ต ก็อธิบายผลของความละโมภได้ดี เหมือนกับนิทานอีสปเรื่องหมากับเงา ที่ใช้แม่น้ำเป็นองค์ประกอล สำหรับเด็กแล้ว เรื่องนี้สำคัญในแง่ของการสอนให้เชื่อฟังผู้ใหญ่ว่าอะไรควรทานหรือไม่ควรทาน เพราะเด็กนั้น ส่วนใหญ่ก็รู้เท่าไม่ถึงการณ์และมักจะทานอะไรโดยไม่ระมัดระวัง หรือไม่ประมาณตัว ทำให้เสียสุขภาพและเจ็บป่วย สำหรับผู้ใหญ่เองก็อาจได้แง่คิดเรื่องของการไม่กระโจนหาอะไรที่ดูล่อตาล่อใจเพียงแว่บแรก แต่อาจเกินกำลังของเราที่จะรับมือไหวค่ะ :P สำหรับน้อง Veruca ซึ่งเป็นเด็กถูกตามใจจนเสียคน อยากได้อะไรต้องได้ พอมีจุดจบต้องหล่นลงไปในที่ทิ้งขยะ ก็แสดงผลของการเอาแต่ใจว่า ไม่สามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะหากการเอาแต่ใจนั้น เป็นการเอาแต่ใจฉาบฉวย ที่เพียงแค่ต้องการของเล่นมาสนองความอยากมีเพียงชั่วคราว ในเรื่อง Veruca ต้องการกระรอกเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม แทนที่จะสังเกตว่ากระรอกทำงานอยู่ในโรงงานเป็นเหมือนคนงานมีศักดิ์ศรีไม่ใช่สัตว์เลี้ยง ดังนั้น จุดจบของการผจญภัย Veruca จึงเหมือนคนที่เอาแต่ใจมากๆ ท้ายที่สุดก็มีแต่คนรำคาญ รังเกียจเหมือนมีขยะคลุมตัว สำหรับผู้ใหญ่ที่เอาแต่ใจมากๆ ก็อาจใช้เตือนใจตัวเองว่า หากเอาแต่ใจมากๆ สักวันไม่มีคนเขาตามใจ ตัวเองก็จะเสียหน้า เสียอารมณ์เหมือนจมอยู่ในกองขยะได้ :-\ ส่วนน้อง Violet ที่ต้องเอาชนะทุกอย่าง ก็น่าจะเป็นการสอนเด็กๆ ให้เห็นว่าการดื้อจะเอาชนะในทุกเรื่องไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะการรับคำท้าทายอาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนมากกว่า (ตัวบวมกลายเป็นสีม่วง) ซึ่งจะสำคัญ เพราะเด็กจะต้องโตมาในสังคมที่มีคนเก่งกว่า หรือได้เจอกับอะไรที่เขาทำไม่ได้ ที่เกินกำลัง หากไม่ได้มีการสอนให้รู้จักแพ้ หรือยอมเสียบ้าง ก็อาจกลายเป็นว่า ความดื้อชอบเสี่ยง จะนำไปสู่ความเดือดร้อนในวัยเด็กและตอนโต เช่น การลองเล่นพนัน การลองยาเสพติด ฯลฯ ::004:: อันที่จริงในแง่ศาสนาคริสต์ เรื่องของเด็กทั้ง 4 นี้ มีกลิ่นอายของการเป็นนิทานเตือนใจ ( cautionary tales)ที่มักนิยมเล่าเพื่อเตือนเด็กๆ หากจะเปรียบให้ลึกกว่านั้น กับบาปในศาสนาคริสต์ (เพราะคุณดาห์ลเป็นคริสต์) ก็จะพบว่า ความตะกละของ Augustus คือ Gluttony ความหลง (ทีวี) ของ Mike คือ Lust ความหยิ่งจะเอาชนะของ Violet คือ pride และความเอาแต่ใจของ Veruca คือ Vanity (หากนึกไม่ออกลองดูในภาพยนตร์ Seven นะคะ) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 01, 2010, 04:31:43 AM นอกจากนั้น แง่มุมของความสัมพันธ์ของชาลีกับคุณปู่ (?) แสดงให้เห็นว่า การเลี้ยงเด็กสักคนให้ดี อาจไม่ต้องใช้อะไรมากนอกจากความเอาใจใส่ และการเลี้ยงดูเขาอย่างอบอุ่น เพราะคุณดาห์ลได้แสดงให้เห็นตัวอย่างพ่อแม่ที่ไม่ดีเปรียบเทียบให้เห็นด้วย ที่ Veruca เอาแต่ใจก็เพราะพ่อแม่ตามใจ เป็นต้น การที่ชาลีเป็นเด็กที่ดีทั้งก่อนและหลังเข้าโรงงานช็อคโกแล็ต ก็น่าจะเป็นสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กๆ และผู้ใหญ่ที่อ่านให้เชื่อว่า การทำดีย่อมได้ดี นะคะ :D
ในแง่ของการวิเคราะห์ด้วยมุมมองทางจิตวิทยา เรื่องของดาห์ลค่อนข้างซับซ้อนมีมิติแสดงจิตใจคนแต่งมากกว่าการเป็นหนังสือธรรมดาๆ (คล้าย Alice in Wonderland ของ Lewis Caroll ซึ่งถ้ามีเวลา จะคุยกันในตอนต่อไปนะคะ) สำหรับเรื่องชาลีและโรงงานช็อคโกแล็ต มี" สัญลักษณ์" (ที่คุณ Sigmund Freud คงจะสนุกที่จะเอามาถก) แฝงอยู่มาก อย่างไรก็ตาม สำหรับคนอ่านธรรมดาๆ เช่นเราๆ เนื่องจากเรื่องชาลีกับโรงงานช็อคโกแล็ตเป็นเรื่องที่คุณดาห์ล แต่งขึ้นเพื่อเล่าให้หลานของแกฟัง เราเองในฐานะผู้ใหญ่ก็น่าจะเอามาใช้เล่าสอนเด็กๆ ได้ดีทีเดียวค่ะ ไม่ต้องแต่งใหม่ ;D จะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็คงชอบฟังเรื่องโรงงานช็อคโกแล็ตแสนวิเศษเหมือนๆ กันอยู่แล้วละค่ะ หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 01, 2010, 04:52:01 AM สำหรับภาพยนตร์ เวอร์ชั่นปี 1971 นั้น ดิฉันจำได้ว่า ค่อนข้างจะดูแนว hollywood ไปนิด ตัว Willy Wonka นั้น Gene Wilder คนเล่นก้อแสดงเสียดูเป็นพ่อมดใจดี และดูทุกอย่างสวยงามหวานไสแบบฮอลีวู๊ดยุคนั้น แถมตัวเด็กที่แสดงแต่ละตัวละครก้อดูแล้วไม่น่าประทับใจหรือชวนให้จำได้สักเท่าไร
ต่างกับเวอร์ชั่นล่าสุดปี 2005 ซึ่งนอกจากสีสันแสบตากว่าแล้ว ผู้กำกับคือ Tim Burton ก็ออกแนวติสต์หลุดโลกพอจะให้ Johnny Depp แสดงเป็น Willy Wonka แบบเพี้ยนๆ เพราะว่า Willy Wonka จริงๆ ก็ควรจะเป็นคนเพี้ยน (เพราะถ้าจ้างคนแคระและกระรอกทำงานได้ก็คงไม่ค่อยปกตินัก) ที่ Johnny Depp ตีความให้ Willy Wonka ดูเหมือนรังเกียจเด็กก็ไม่น่าแปลกอะไร เพราะถ้าแกรักเด็ก (แบบนางงามรักเด็ก) แกคงไม่เย็นชา เฉยเมยทำปล่อยวางตอนเด็กๆ ทั้ง 4 คนประสบอุบัติเหตุโน่นนี่นั่นในโรงงานแก แต่แกคงพยายามคิดขนมมาทำให้เด็กเปลี่ยนนิสัยแบบเด็กไม่ต้องเจ็บตัวแทน แต่ถ้าจะมองว่า Willy Wonka ใจร้ายก็ไม่เชิง เพราะว่า แกก็ดีกับชาลี แสดงให้เห็นว่า Willy นอกจากจะเป็นคนแปลก เอาแต่ใจตัวเองแล้ว ก็เป็นคนที่เลือกรักแต่เด็กที่น่ารัก ไม่รักเด็กทุกคน ซึ่งจะดูว่าจริงใจก็ได้ หรือดูว่าเป็นการมักง่าย ถือว่าไม่ใช่ลูกฉันไม่เลี้ยงมาก็ไม่ต้องแก้นิสัยก็ได้ แล้วแต่จะมอง แต่ไม่ว่าอย่างไร Willy Wonka ก็เป็นตัวละครจากหนังสือที่ซับซ้อนและแสดงให้ดูสมเหตุผลยากมากตัวหนึ่ง ดังนั้น การแสดงบทตัวละคร Willy Wonka จะเป็นตัวตัดสินว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ดีในแง่ศิลปะมากน้อยแค่ไหน ในขณะที่การแสดงบทชาลีได้ดีจะช่วยดึงให้คนดูรู้สึกมีส่วนร่วมกับภาพยนตร์ เพราะคนดูท้ายที่สุดแล้ว แม้ในชีวิตจริงจะเหมือนเด็กๆ เกเรทั้ง 4 คน แต่ทุกคนก็อดจะเทียบตัวเองเป็นชาลีไม่ได้กันทั้งนั้น :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 01, 2010, 04:07:39 PM ผมชอบเวอร์ชั่นที่ทิมเบอร์ตันกำกับมากครับ...
เปิดให้ลูกๆดู แกก็ชอบ(คนโต)ครับ... แต่อาจเป็นเพราะเคยฟังนิทานมาก่อน พอมาดูหนังก็เข้าใจง่ายด้วยมังครับ... :D คุณ bluebunny วิจารณ์ได้ดีมากๆเลยครับ... ผมอ่านตั้งหลายรอบยังไม่สามารถวิเคราะห์วิจารณ์ได้ครบถ้วนอย่างที่คุณ bluebunny โพสท์ครับ... ::002:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ กันยายน 01, 2010, 06:57:37 PM คงต้องยอมรับครับ ว่าส่วนใหญ่ผมแทบจะไม่ได้อ่านเรื่องดีๆจากหนังสือมาก่อนเลย
มารู้จักเรื่องดีๆ อีกทีก็ในรูปแบบภาพยนต์แล้ว ไม่ว่าแฮร์รี่ฯ ชาลีกับโรงงานช็อคโกแล็ต อีกเรื่องหนึ่งซึ่งผมค่อนข้างประทับใจ เวลาเหนื่อยๆมักจะเปิดดู "อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย" (http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/lemonysnicket/unf_00.jpg) :D :D :D :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ กันยายน 01, 2010, 07:09:47 PM มาติดตามอ่านด้วยคนครับ ;) สนใจแบบนี้กะเขาด้วยเหรอ ::005:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 01, 2010, 09:25:29 PM ขอบคุณมากค่ะ ::014:: ::014:: ดีใจที่คุณ rute ชอบค่ะ ไว้หนหน้าคุณ rute กับลูกๆ ดูภาพยนตร์แล้วเห็นอะไรเพิ่มเติมก็มาคุยกันได้อีกนะคะ เพราะคนเดียวมองก็คงไม่สามารถมองได้เท่าหลายๆ คน :D
ผมชอบเวอร์ชั่นที่ทิมเบอร์ตันกำกับมากครับ... เปิดให้ลูกๆดู แกก็ชอบ(คนโต)ครับ... แต่อาจเป็นเพราะเคยฟังนิทานมาก่อน พอมาดูหนังก็เข้าใจง่ายด้วยมังครับ... :D คุณ bluebunny วิจารณ์ได้ดีมากๆเลยครับ... ผมอ่านตั้งหลายรอบยังไม่สามารถวิเคราะห์วิจารณ์ได้ครบถ้วนอย่างที่คุณ bluebunny โพสท์ครับ... ::002:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 01, 2010, 09:27:17 PM Lemony Snicket's หรืออยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้ายก็เป็นภาพยนตร์แฟนตาซีที่สนุกอีกเรื่องค่ะ ไว้เดี๋ยวขอตั้งสติ รำลึกอดีต (ที่เคยดู) ก่อนนะคะ แล้วจะมาคุยค่ะ ;D
คงต้องยอมรับครับ ว่าส่วนใหญ่ผมแทบจะไม่ได้อ่านเรื่องดีๆจากหนังสือมาก่อนเลย มารู้จักเรื่องดีๆ อีกทีก็ในรูปแบบภาพยนต์แล้ว ไม่ว่าแฮร์รี่ฯ ชาลีกับโรงงานช็อคโกแล็ต อีกเรื่องหนึ่งซึ่งผมค่อนข้างประทับใจ เวลาเหนื่อยๆมักจะเปิดดู "อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย" (http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/lemonysnicket/unf_00.jpg) :D :D :D :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 01, 2010, 10:13:27 PM คงต้องยอมรับครับ ว่าส่วนใหญ่ผมแทบจะไม่ได้อ่านเรื่องดีๆจากหนังสือมาก่อนเลย มารู้จักเรื่องดีๆ อีกทีก็ในรูปแบบภาพยนต์แล้ว ไม่ว่าแฮร์รี่ฯ ชาลีกับโรงงานช็อคโกแล็ต อีกเรื่องหนึ่งซึ่งผมค่อนข้างประทับใจ เวลาเหนื่อยๆมักจะเปิดดู "อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย" (http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/lemonysnicket/unf_00.jpg) :D :D :D :D เรื่องนี้ผมอ่านตอนเป็นหนังสือครับ... มีอยู่หลายเล่มน่าจะไม่ต่ำกว่าสี่หรือห้าเล่ม(ที่แปลเป็นไทยแล้ว)นะครับ... ในหนังสือสนุกกว่าหนังอีกครับ... เป็นเรื่องที่ดีมากๆ สอนให้เด็กอย่าหวาดกลัวกับเรื่องราวต่างๆที่ต้องเผชิญ... ไม่ว่าจะร้ายหรือดี ก็ให้เตรียมตัวเตรียมใจพร้อมที่จะเจอกับมันอย่างสงบ... ใช้สติ ความรักและความสามัคคี เป็นเครื่องมือให้ผ่านเรื่องราวๆต่างๆให้ได้... เป็นเรื่องที่ดีมากเรื่องหนึ่งครับ... ::002:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ กันยายน 01, 2010, 10:30:22 PM มาติดตามอ่านด้วยคนครับ ;) สนใจแบบนี้กะเขาด้วยเหรอ ::005:: อีกด้านของตัวตนในชีวิตประจำวันนะครับ ;D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ กันยายน 01, 2010, 10:38:12 PM คงต้องยอมรับครับ ว่าส่วนใหญ่ผมแทบจะไม่ได้อ่านเรื่องดีๆจากหนังสือมาก่อนเลย มารู้จักเรื่องดีๆ อีกทีก็ในรูปแบบภาพยนต์แล้ว ไม่ว่าแฮร์รี่ฯ ชาลีกับโรงงานช็อคโกแล็ต อีกเรื่องหนึ่งซึ่งผมค่อนข้างประทับใจ เวลาเหนื่อยๆมักจะเปิดดู "อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย" (http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/lemonysnicket/unf_00.jpg) :D :D :D :D เรื่องนี้ผมอ่านตอนเป็นหนังสือครับ... มีอยู่หลายเล่มน่าจะไม่ต่ำกว่าสี่หรือห้าเล่ม(ที่แปลเป็นไทยแล้ว)นะครับ... ในหนังสือสนุกกว่าหนังอีกครับ... เป็นเรื่องที่ดีมากๆ สอนให้เด็กอย่าหวาดกลัวกับเรื่องราวต่างๆที่ต้องเผชิญ... ไม่ว่าจะร้ายหรือดี ก็ให้เตรียมตัวเตรียมใจพร้อมที่จะเจอกับมันอย่างสงบ... ใช้สติ ความรักและความสามัคคี เป็นเครื่องมือให้ผ่านเรื่องราวๆต่างๆให้ได้... เป็นเรื่องที่ดีมากเรื่องหนึ่งครับ... ::002:: ใช่ครับ ::014:: ในเวอร์ชั่นภาพยนต์ มุมมองของผม ผมว่าเรื่องนี้ ไม่ได้สื่อถึงเรื่องความฉลาด รอบรู้ การประดิษฐ์สิ่งของจากสิ่งรอบตัว หรือความเก่งของเด็กกำพร้าโบดแลร์ แต่ภาพยนต์เรื่องนี้ คงตั้งใจสื่อถึงเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวของคำว่าครอบครัว และความสามัคคี ซึ่งนานวันในสังคมเริ่มจะเลือนลางไปทุกที คงต้องลองแสวงหาหนังสือมาอ่านหน่อยแล้วครับ ::014:: :D :D :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: โทน73 -รักในหลวง- ที่ กันยายน 02, 2010, 03:14:23 AM ผมกลับชอบ หนังจักรๆวงค์ๆ มันสอนอะไรให้เรามาก เนื้อเรื่องส่วนใหญ่มาจากของอินเดีย ซึ่งสอดคล้องกะวัฒนธรรมแนวคิดของบ้านเรา
มีคติสอนใจ จะให้ตีความในวงแคบสำหรับเด็ก หรือตีความในลึกซึ้งสำหรับผู้ใหญ่ มองได้ถึงรากฐานความเป็นมาของกลุ่มชนในชาติพันธุ์ ตอนนี้ ให้ลูกดู เคเบิล ช่อง ดาราวีดีโอ สำหรับหนังสือ สำหรับเด็ก ผมจำได้ว่า หนังสือเล่มเรื่องแรกที่ผมอ่านเป็นและอ่านจนจบ คือเรื่อง กัปตันทมิฬ ต่อมา ทอมซอวเยอร์ และ ฮัคเคอเบอรรี่ฟีน ส่วนที่เป็นหนัง และรู้สึกดีเมื่อดูตอนเป็นเด็ก ป่าเล็กในป่าใหญ่ (จำชื่อเรื่องภาษาอังกฤษไม่ได้) หนูน้อยฟันนี่โน๊ต หนังญี่ปุ่น ที่เล่าเรื่องราวของเด็กประถมที่อยากรู้เรื่องตัวไหม ครู ก็นำนักเรียนออกศึกษาด้วยตัวเอง ทดลองเลี้ยงเอง ตลอดจนถึงขั้นตอนสาวไหม หนังเรื่องนี้ทำได้น่ารักมาก ไม่ได้ดำเนินเรื่องเหมื่อนสารคดี คนดูแน่นโรง เสียดายผมไม่ทราบชื่อภษาสากลของหนังเรื่องนี้ เพราะตอนนั้นยังเด็ก แต่เห็นเทศกาลภาพยนต์ ก็พูดถึงหนังเรื่องนี้อยู่บ่อย อีกเรื่อง ที่ทำเป็นหนังแล้วผมชอบ " ลอดจ์จิม" ชอบมาก ดูสนุก แม้เรื่องราวจะเป็นเรื่องฆ่าๆแกงๆกันก็ตาม แต่ภาพที่ทำออกมา ดูเหมือนทำให้เด็กดูได้ ผมชอบสีสัน ของคนทำหนังในยุค 60 หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 02, 2010, 03:47:58 AM Lemony Snickett's นี่ ดิฉันอ่านเล่มแรกแต่ไม่จบ (ไม่ได้ซื้อมาเองก็เช่นนี้ เฮ้อ) มารู้ตอนจบของเรื่องก็ตอนที่เป็นภาพยนตร์ไปแล้ว ::008::
ค่อนข้างเห็นด้วยกับคุณหมอ rute กับคุณสิงห์กลิ้งนะคะ ที่ว่าเรื่องนี้เน้นเรื่องครอบครัวและความสามัคคีได้ดี ดิฉันว่าสิ่งที่น่ารักอย่างหนึ่งของเรื่องนี้ คือคนแต่งให้บทแสดงกับน้องตัวเล็กสุดด้วย (น้องซันนี่ ฟันคม) เพราะหนังสือเด็ก หรือแม้แต่การ์ตูนไม่ค่อยสนใจตัวละครที่เป็นเด็กทารกเท่าไร เพราะมันเขียนยาก ไม่มีอารมณ์ให้แสดงมาก แต่ในความเป็นจริง หนังสือเด็กที่พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องก็ไม่ควรจะละเลยน้องเล็กที่เป็นเด็กทารก เพราะว่าเด็กจะได้รู้สึกสนุกที่จะจินตนาการว่า น้องคนเล็กที่ตอนนี้อาจจะพูดไม่รู้เรื่องเดินไม่ค่อยได้เนี่ย จริงๆ แล้วอาจมีอะไรพิเศษอยู่ และจะได้อยากให้น้องเป็นส่วนหนึ่งของการผจญภัยของตัวเอง ดูเป็นการส่งเสริมความสามัคคีในครอบครัวดีค่ะ :D ส่วนเด็กที่เป็นลูกคนเดียว อ่านเรื่องนี้ก็น่าจะได้ภาพว่าการช่วยเหลือกันของพี่น้อง การรับผิดชอบ มีกันและกันของพี่กับน้อง และเมื่อสามารถนึกภาพออกแล้ว เด็กก็จะเกิดความเข้าใจบทบาทตัวเองและจะได้รู้ว่าจะคบกับเด็กที่แก่กว่าหรืออายุน้อยกว่าอย่างไร :) สำหรับตัวร้ายของเรื่อง ดิฉันมองว่า โรคจิตไปนิดสำหรับเป็นหนังสือเด็ก ไม่รู้ว่าอ่านตอนเป็นผู้ใหญ่หรือเปล่า เลยรู้สึกอึ้งไปหน่อยกับมุขจะให้ตัวร้ายหลอกแต่งงานกับพี่สาวในเรื่อง (ดูหัวงู pervert) และมุขการหลอกจะเอาเงินครอบครัวก็ดูชั่วร้ายไปหน่อย เช่น ให้เด็กๆ ถูกรถไฟชน จุดไฟเผา ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเรื่องนี้ต้องการสร้างบรรยากาศแนวโกธิคที่ดูลึกลับ ให้เหมือนกับที่ว่าครอบครัวนี้เหมือนต้องคำสาป คนเขียนก็เลยคงเอาแรงบันดาลใจมาจากความน่ากลัวของเทพนิยายยุโรปยุคกลาง หรือเทพนิยายกริมม์ (พี่น้องกริมม์ เป็นผู้รวบรวมเรื่องนิทานพื้นบ้านเยอรมันที่มีอยู่แล้วมาเล่าใหม่ ไม่ได้แต่งเองหมด) เพียงแต่แทนที่ในเรื่องนี้จะให้ผู้ร้ายเป็นพ่อมด แม่มด ยักษ์ แปลงร่างมา ก็ให้เป็นคน และเป็นญาติห่างๆ ที่ชั่วร้าย และปลอมตัวไปมาได้แทน ซึ่งจะว่าไปก็ใกล้กับชีวิตคนจริงๆ ที่ผู้ใหญ่ตีหลายหน้าหลายบทบาทเพื่อหาประโยชน์จากคนอื่น นั้น น่ากลัวทีเดียว ::012:: สำหรับตัวละครคุณป้า Josephine นั้น ก็เป็นตัวละครที่น่าสงสารเพราะเป็นผู้ใหญ่ก็จริง แต่ดูช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ กลัวอะไรประหลาดๆ และก็อ่อนต่อโลกยิ่งกว่าเด็กเสียอีก ถ้าจำไม่ผิด หนังสือเขียนเหมือนให้เด็กรู้สึกเห็นใจผู้ใหญ่ที่อาจเป็นคนดีแต่ทำอะไรไม่ได้ และให้เด็กเรียนรู้ที่จะไม่คาดหวังอะไรจากผู้ใหญ่มากเกินไป ซึ่งก็พอเห็นได้ในชีวิตจริง เพราะผู้ใหญ่บางคนก็ดูหน่อมแน้มเหลือเกิน จนไม่น่าจะช่วยเหลือใครได้ เพราะตัวเองยังดูแลตัวเองไม่รอด ::011:: ตัวละครผู้ใหญ่แบบที่ไว้ใจไม่ได้นี้นับว่าค่อนข้างแหวกแนว เพราะส่วนใหญ่ตัวละครผู้ใหญ่ในหนังสือผจญภัยของเด็กๆ มักไม่สนใจเด็กๆ และปล่อยเด็กๆ ตามลำพัง เช่น ซีรีส์ชุดนาร์เนีย ที่ลุง (?) เจ้าของบ้านที่มีตู้เสื้อผ้าแทบจะไม่สนใจว่าหลานๆ หายไปไหน หรือปีเตอร์แพนที่ลูกในบ้านแอบบินไปถึงเนเวอร์แลนด์ พ่อแม่ก็ยังไม่รู้เลย ไม่ค่อยมีตัวละครที่ประสงค์ดีแต่ไม่มีประโยชน์ หรือประสงค์ร้ายแต่เป็นญาติ ถือว่าเป็นความสลับซับซ้อนมีมิติของหนังสือซีรีส์นี้ สำหรับผู้ใหญ่ หนังสือ/ภาพยนตร์เรื่องนี้ น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้เห็นว่า สติปัญญาของเราสามารถช่วยเราแก้ไขปัญหาได้ทุกอย่าง เหมือนกับว่า ถ้าเด็กๆ เหล่านี้ทำได้ ทั้งๆ ที่เป็นเพียงเด็ก เราก็น่าจะทำได้เหมือนกัน ก็พอจะเข้าใจได้ที่คุณสิงห์กลิ้งหยิบเรื่องนี้มาดูตอนเหนื่อยๆ แต่สำหรับดิฉันแล้ว เรื่องนี้ดูมืดๆ หมองๆ ไปหน่อย เหมือนบรรยากาศอังกฤษยุคโกธิควิคทอเรียน เป็นบรรยากาศวังเวงๆ ซึ่งก็คงไม่แปลกเพราะถ้าจะพูดถึงเรื่องโชคลาง ของขลัง และความโชคร้าย อังกฤษก็เป็นประเทศหัวโบราณที่เชื่อถือโชคลางที่สุดประเทศหนึ่งในยุโรป (หากลองศึกษาดู คนอังกฤษเชื่ออะไรแปลกๆ เยอะแยะไปหมด ตั้งแต่ไม่ให้กางร่มในบ้าน ไม่ให้เอารองเท้าใหม่วางบนโต๊ะ ฯลฯ) ดังนั้น จะเขียนแนวนี้ เลยต้องเอาบรรยากาศอย่างนี้ละมั๊งคะ ;) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 02, 2010, 03:55:12 AM เรื่องจักรๆ วงศ์ๆ ดิฉันก็ชอบค่ะ อิอิ แต่ก่อนก็เคยดู สี่ยอดกุมาร มาเหมือนกัน แต่จำไม่ได้แล้ว เพราะเด็กมาก... ส่วนบ้านเล็กในป่าใหญ่ (ใช่ไหมคะ?) ของลอร่า อิงเกิลล์ ไว้เขียนจบซีรีส์ แฮรี่ พอตเตอร์ จะค่อยคุยกันค่ะ
ขอกลับเข้าเรื่อง Harry Potter ก่อนนะคะ หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 02, 2010, 04:47:57 AM Harry Potter and the Goblet of Fire
ภาคนี้ เป็นภาคที่ยาวพิเศษ อ่านแล้วเหนื่อยมากค่ะกว่าจะจบ แต่ก็เป็นภาคที่เข้าใจว่าเขียนยาก เพราะว่าต้องเล่าหลายๆ เรื่องพร้อมกัน ตั้งแต่การเป็นวัยรุ่นแตกเนื้อหนุ่มสุดขีด จนถึงความสัมพันธ์ของตัวละครที่เดิมเป็นเด็ก แต่ตอนนี้โตขึ้นมาและเริ่มมีอัตตา เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น จนถึงต้องสร้างโลกเวทย์มนตร์ที่กว้างใหญ่ขึ้น มีประเทศอื่นๆ และโรงเรียนเวทย์มนตร์อื่นๆ ด้วย ในเรื่องนี้ JK Rowling พูดถึงความรู้สึกอิจฉาทีเกิดจากความไม่มั่นใจในตัวเองของคน ไม่ว่าจะในตัวแฮรี่ ซึ่งตอนนี้ไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด หล่อที่สุด เด่นดังที่สุด หรือมีคนชื่นชมที่สุดแล้ว เพราะมีคู่แข่งที่ดีพอๆ กัน หรือไม่ก็ดีกว่า เช่น Viktor Krum ที่ดังด้าน Quidditch กว่า หรือ Cedric ที่หล่อกว่าแถมได้เป็นแฟนกับสาวที่แฮรี่แอบชอบอยู่ด้วย แม้แต่รอน เพื่อนสนิทของแฮรี่ที่แม้จะรักกันอย่างไรก็อดแสดงอาการอิจฉาไม่ได้ ไม่อิจฉาแฮรี่ก็อิจฉา Krum ฯลฯ อาการอิจฉานี้ เป็นเรื่องธรรมชาติของวัยรุ่น ซึ่งเกิดจากความไม่มั่นใจ แฮรี่เอาชนะความรู้สึกนี้ได้ เพราะเป็นคนที่เข้มแข็ง แต่รอนจะลำบากกว่า เพราะใจอ่อนกว่า แต่หัวใจหลักของเรื่องในภาคนี้ คือ เรื่องการรับมือกับชื่อเสียงและการเป็นวีรบุรุษ เพราะ Goblet of fire หรือถ้วยอัคคี ก็คือถ้วยรางวัลชนะเลิศอะไรสักอย่างที่สังคมยอมรับ หนังสือเรื่องนี้มีความน่าสนใจตรงที่แสดงให้เห็นด้านลบของการมีชื่อเสียงด้วย โดยให้มีตัวละคร Rita Skeeter ที่คอยรายงานข่าวโคมลอยเกี่ยวกับแฮรี่ สร้างความวุ่นวายตั้งแต่ภาคนี้จนถึงภาคต่อๆ ไป สำหรับเกร็ดที่น่าสังเกตก็คือ ภาคนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า quidditch ก็คือฟุตบอลในโลกมนุษย์นั่นเอง เพราะคุณ JK Rowling ก็เป็นคนอังกฤษ ซึ่งไม่เอาความบ้าฟุตบอลมาใช้เล่าเรื่องที่มีตัวละครเด็กผู้ชายก็คงจะแปลก ส่วนการที่โรงเรียนเวทย์มนตร์มีแค่สองโรงเรียน จากฝรั่งเศสกับบัลแกเรีย (?) ก้อน่าจะสะท้อนความจริงที่ว่า คนอังกฤษชอบล้อเลียนคนฝรั่งเศส (blame the germans and make fun of the french) เพราะสำหรับอังกฤษที่เป็นเกาะแล้ว เพื่อนบ้านยุโรปที่ใกล้ที่สุด และระดับบทบาทพอกัน ก็คือฝรั่งเศส (ดัดจริตน่าหมั่นไส้มากสำหรับคนอังกฤษ) ดังนั้น จะเขียนอะไรเชิงหยิกแกมหยอกก็ไม่ยาก ;D ส่วนเยอรมันนั้น อังกฤษเป็นคู่แข่งกับเยอรมันอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระราชินีควีนวิคตอเรีย (ซึ่งเป็นพระญาติผู้ใหญ่ของ Kaiser Wilhelm II) เพียงแต่ว่าจะเอามาใช้เลยก็ดูไม่ขลัง เพราะโรงเรียนเวทย์มนตร์ในเยอรมันที่แสนจะสะอาดเป็นระเบียบโมเดิร์น คงเขียนออกมาแล้วไม่น่าเชื่อถือ (ทำเป็นโรงเรียนแข่งต่อรถอาจพอได้) นอกจากนี้ จะเป็นการขัดใจคนอังกฤษเล็กน้อย หากจะไปยกยอให้คนเยอรมันเก่งระดับโลก (เวทย์มนตร์) และกีฬา (quidditch) มากกว่าคนอังกฤษ เลยต้องเขียนให้เป็นนาย Krum จากบัลแกเรียแทน เพื่อถนอมน้ำใจอังกฤษที่แพ้ฟุตบอลเยอรมันอยู่บ่อยๆ และอังกฤษก็ช้ำใจประจำ (......ไม่ได้ว่านะค้า) ::008:: ส่วนตอนกีฬา Quidditch World Cup อ่านแล้วดูแล้วก็เหมือนกับบอลโลก บวกเทศกาล Glastonbury festival ที่เป็นคอนเสิร์ตฮิปปี้ใหญ่ของอังกฤษ ซึ่งก็สอดคล้องกับวัยของคนแต่งทีน่าจะผ่านยุค 60 ต่อเนื่อง 70 :) ภาพยนตร์ภาคนี้ ในแง่ของการกำกับศิลป์ ทำได้ดี เพราะว่า ทำออกมาตรงกับหนังสือในส่วนของการประลองยุทธต่างๆ ของแฮรี่ จะดูต่างไปหน่อยก็ตรงฉากเต้นรำ ที่อ่านแล้วรู้สึกว่าสวยกว่านี้ นอกจากนั้น หนังสือภาคนี้ยังพูดถึงสิ่งที่ทำให้คนๆ นึงเป็นวีรบุรุษจริงๆ ซึ่งได้แก่การเสียสละเพื่อคนอื่น การเห็นใจคนอื่นและการแสดงความรับผิดชอบ เช่นตอนที่แฮรี่ยอมเสียเวลาไปช่วยน้องสาวเฟลอร์ เดอ ลากูร์ เพราะนึกว่าเธอจมน้ำตายไปจริงๆ จนตัวเองแพ้การแข่งขันกระโดดน้ำ หรือการที่แฮรี่พยายามที่จะพาศพของเซดริกกลับไปที่โรงเรียน แม้จะถูก Voldermort ไล่ทำร้าย หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: โทน73 -รักในหลวง- ที่ กันยายน 02, 2010, 10:05:24 AM เรื่องจักรๆ วงศ์ๆ ดิฉันก็ชอบค่ะ อิอิ แต่ก่อนก็เคยดู สี่ยอดกุมาร มาเหมือนกัน แต่จำไม่ได้แล้ว เพราะเด็กมาก... ส่วนบ้านเล็กในป่าใหญ่ (ใช่ไหมคะ?) ของลอร่า อิงเกิลล์ ไว้เขียนจบซีรีส์ แฮรี่ พอตเตอร์ จะค่อยคุยกันค่ะ ขอกลับเข้าเรื่อง Harry Potter ก่อนนะคะ เอ้า ... แล้วทำไมไม่ขึ้นกระทู้ Harry Potter ไปเลยละครับ ::005:: ::005:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 02, 2010, 11:11:19 PM แหม ก็เผื่อสมาชิกท่านอื่นๆ อยากจะยกเรื่องอื่นมาคุยด้วยไงคะ.. ;D ::014::
หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 03, 2010, 12:42:41 AM ผมกลับมองว่า The Goblet of Fire นั้นเจ๊ JK แกจงใจแต่งเพื่อให้สร้างหนังครับ...
โดยการเน้นให้เห็นฉากต่างๆที่สามารถใช้ CG สร้างความอลังการ์ขึ้นมาได้... ไม่ว่าจะเป็นฉากการแข่งควิชดิชเวิร์ดคัพ ฉากตรามารฉายขึ้นฟ้า ฉากถ้วยคัดเลือกตัวแทน ฉากผ่านด่านมังกร ฉากใต้ทะเลสาป ฉากในเขาวงกต และสุดท้ายฉากสู้กับโวลเดอร์มอทครับ... ในเรื่องของแง่คิดนั้น ตอนนี้เป็นการยืนยันถึงความสามารถของแฮรี่ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นวีรบุรุษด้วยตัวเองอย่างเต็มที่... โดยอาศัยความช่วยเหลืออื่นๆเพียงไม่มาก... แต่โดยรวมแล้วก็ยังถือว่าเป็นตอนที่สนุกและน่าอ่านไม่แพ้ตอนอื่นๆครับ... ::002:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 03, 2010, 12:45:42 AM สารภาพตามตรงว่าเป็นแฮรี่ พอร์เตอร์ ตอนแรกที่ซื้อเล่มภาษาอังกฤษ...
ก่อนหน้านี้อ่านภาษาไทยมาตลอด พอถึงตอนที่สี่รอแปลไม่ไหวเลยกัดฟันซื้อมาอ่าน... แต่ก็ดีครับ อ่านช้ามากกว่าจะจบภาษาไทยก็พิมพ์ออกมาพอดี...ฮา... :~) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: JUNGLE ที่ กันยายน 03, 2010, 01:34:33 AM หนังสือดีอีก(หลายๆ)เล่มที่ผมประทับใจ... และอ่านหลายรอบ... คือเพชรพระอุมาครับ... ภาคแรกครับ... ภาคสองนั้น ;D ;D ;D
(http://koratextra149.com/files/board/2009/11/29/2009112919344195.jpg) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 03, 2010, 05:36:32 PM อืม น่าจะเป็นไปได้เหมือนกันค่ะ เพราะพอเล่มแรกๆ เริ่มดัง เริ่มได้รางวัล มีคนกล่าวถึง JK Rowling ก็อาจจะเริ่มคิดแล้วว่าจะเขียนเล่ม 4 อย่างไร แต่ก็อย่างที่บอก ดิฉันก็ว่า แกก็คงอดไม่ได้เอาความบ้าฟุตบอลใส่ไปในหนังสือแกด้วย เพราะเป็นหนังสือเด็กที่มีตัวละครผู้ชาย ที่อยู่ในวัยโรงเรียน จะไม่ให้มีกีฬาเลยคงไม่ได้
ผมกลับมองว่า The Goblet of Fire นั้นเจ๊ JK แกจงใจแต่งเพื่อให้สร้างหนังครับ... โดยการเน้นให้เห็นฉากต่างๆที่สามารถใช้ CG สร้างความอลังการ์ขึ้นมาได้... ไม่ว่าจะเป็นฉากการแข่งควิชดิชเวิร์ดคัพ ฉากตรามารฉายขึ้นฟ้า ฉากถ้วยคัดเลือกตัวแทน ฉากผ่านด่านมังกร ฉากใต้ทะเลสาป ฉากในเขาวงกต และสุดท้ายฉากสู้กับโวลเดอร์มอทครับ... ในเรื่องของแง่คิดนั้น ตอนนี้เป็นการยืนยันถึงความสามารถของแฮรี่ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นวีรบุรุษด้วยตัวเองอย่างเต็มที่... โดยอาศัยความช่วยเหลืออื่นๆเพียงไม่มาก... แต่โดยรวมแล้วก็ยังถือว่าเป็นตอนที่สนุกและน่าอ่านไม่แพ้ตอนอื่นๆครับ... ::002:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 03, 2010, 05:38:16 PM อืม เพชรพระอุมา รู้สึกมีการคุยในกระทู้อื่นแล้วนะคะ คงไม่ต้องพูดซ้ำที่นี่ และจะว่าไปออกจะดูเป็นหนังสือผู้ใหญ่ไปสักนิดนึงมั้งคะ เลยขอไม่แตะแล้วกันนะคะ ::014:: (ไม่นับที่ว่า อ่านไปรอบเดียวและลืมไปแล้ว คงไม่สันทัดพอจะคุยได้ดีพอกับท่านสมาชิกอื่นๆ ) :D
หนังสือดีอีก(หลายๆ)เล่มที่ผมประทับใจ... และอ่านหลายรอบ... คือเพชรพระอุมาครับ... ภาคแรกครับ... ภาคสองนั้น ;D ;D ;D (http://koratextra149.com/files/board/2009/11/29/2009112919344195.jpg) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 03, 2010, 05:40:28 PM เพชรพระอุมามีฉากวาบหวิวครับ...
เด็กเล็กอ่านไม่เหมาะครับ... :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 03, 2010, 06:08:22 PM Little House (on the prairies) หรือ หนังสือชุดบ้านเล็กในป่าใหญ่
ในเมื่อมีท่านสมาชิกเอ่ยถึง ก็เลยขอพูดถึงสักนิดนะคะ หนังสือเซ็ตนี้ ต่างกับหนังสือเด็กอื่นๆ ที่เอ่ยถึงในข้างต้น เพราะมีลักษณะเป็นอัตชีวประวัติค่อนข้างสูง และคนเขียนเลือกจะเล่าเรื่องในทำนองการเล่าวิถีชีวิตและประวัติชีวิตอย่างค่อนข้างละเอียด ต่างจากโต๊ะโตะจัง ที่แม้จะเป็นอัตชีวประวัติ แต่คนเขียนก็มีความตั้งใจพอควรที่จะสื่อสารถึงความรู้สึก หรือมุมมอง หรือแง่คิด ที่ตัวเองได้สัมผัสในวัยเด็ก หนังสือชุดนี้ไม่ได้พยายามสื่ออะไรนอกจากเป็นการเล่าเรื่องประสบการณ์และการผจญภัยของลอร่า อิงเกิลส์ เมื่อเป็นเด็ก จนกระทั้งแต่งงาน มีครอบครัว อย่างไรก็ตาม หนังสือที่เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดีเหมือนกันค่ะ (ดิฉันอ่านครั้งแรกวางไม่ลงจนไม่ยอมไปทานข้าว โดนดุเสียยกใหญ่) และแม้จะไม่ได้มีความตั้งใจจะสื่อสารอะไรเป็นพิเศษ ผู้อ่านก็น่าจะได้อะไรจากหนังสือพอควรนอกจากความสนุกสนาน จินตนาการที่แทบจะสมจริง (โดยเฉพาะเรื่องการบรรยายวิว อากาศความอุ่นความหนาว สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม และเรื่องสูตรอาหารต่างๆ) สิ่งที่ผู้อ่านน่าจะพอสัมผัสได้ ก็น่าจะเป็นเรื่องของความรักในครอบครัว ความเสียสละ ความอดทนต่อความยากลำบาก การทำงานหนัก และการให้อภัยซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ครอบครัวลอร่า พยายามสอนลูกๆ และลอร่าก็พยายามทำตาม :) ในด้านการเมือง-สังคม หนังสือชุดนี้ ออกจะว่าไปแสดงภาพของสังคมในอุดมคติพอสมควร ซึ่งค่อนข้างต่างจากสภาพความเป็นจริงในสหรัฐฯ ตอนนั้นพอสมควร ที่เป็นช่วงที่สงครามเหนือใต้เพิ่งเลิกได้สักพัก อันที่จริงแล้วควรจะมีความซอมซ่อ ท้อแท้ ไม่เท่าเทียมในสังคมให้เห็นมากกว่าในหนังสือ แต่ในขณะเดียวกัน ก็คงจะตำหนิคนเขียนไม่ได้ เพราะหนังสือชุดนี้ เป็นประสบการณ์ของคนแต่งเอง ที่เป็นผู้หญิงและโตขึ้นมาอย่างแม้จะไม่ร่ำรวยแต่พ่อแม่ก็เลี้ยงดูมาดีพอสมควร ไม่มีการออกนอกลู่นอกทางให้ไปเจออะไรไม่ดีหรือด้านมืดของสังคมอเมริกาในยุคนั้นสักเท่าไร สำหรับภาพยนตร์ซีรีส์ จำได้ว่ามีหลายเวอร์ชั่นพอควร แต่รุ่นที่ดิฉันดูครบที่สุดเห็นจะเป็นรุ่นที่ ไมเคิลล์ แลนดอน แสดง ซึ่งก็เก่าพอควร ซีรีส์นี้ทำได้ค่อนข้างดี แต่ปัญหาคือไม่ค่อยตรงกับหนังสือเท่าไร โดยเฉพาะบทบาท เรื่องราวของตัวละครบางตัวผิดไปเยอะ เช่น เนลลี คู่ปรับของลอร่า แต่ถ้าดูเพื่อให้ได้เห็นภาพช่วยจินตนาการอเมริกาในยุคนั้น ก็นับว่าดูได้ค่ะ ไม่ถึงกับผิดประหลาดเกินไป ถ้าจำไม่ผิด หนังสือของไทยที่คล้ายๆ กันคือเรื่อง ลูกอีสาน ของคุณคำพูน บุญทวี ที่ได้รางวัลหนังสืออาเซียนด้วย และรู้สึกจะมีทำเป็นภาพยนตร์ (แต่ดิฉันยังไม่เคยดู เลยคงชวนคุยไม่ได้) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 03, 2010, 06:17:26 PM เรื่องลูกอีสาน ก็เป็นหนังสือที่ดีอีกเล่มค่ะ นานๆ ทีจะมีหนังสือให้เด็กอ่านที่ผู้ใหญ่อ่านได้และมีกลิ่นอายความเป็นไทย สักเล่มผ่านมา ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นหนังสือที่เขียนในมุมมองเด็กเมืองกรุงเสียเยอะ
เรื่องลูกอีสานก็เป็นประสบการณ์การใช้ชีวิตจริงของคนแต่ง ซึ่งก็เล่าเรื่องจากมุมมองการใช้ชีวิตธรรมดาๆ แต่ละวัน หนังสือไม่ได้พยายามสื่ออะไรเป็นพิเศษ แต่เขียนด้วยภาษาที่ดี อ่านง่าย เข้าใจง่าย นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้อ่านน่าจะสัมผัสได้ในแง่ของเนื้อหา ก็คือความรู้สึกภูมิใจของเด็กอีสานในชีวิตและความเป็นตัวตนของเขา สำหรับคนที่ไม่ใช่ลูกอีสาน หนังสือเล่มนี้น่าจะช่วยให้เข้าใจมุมมองและวิถีชีวิตเรียบง่ายของคนอีสานพื้นบ้านได้ โดยเฉพาะเรื่องการหาอาหารกิน การช่วยเหลือกัน และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติของคนอีสาน ซึ่งบ่อยครั้ง เราคนกรุงก็ไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไร หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 03, 2010, 06:24:23 PM ขยายความเรื่อง "เหมาโหลถูกกว่า" บ้างสิครับ
ผมชอบตอนที่ลูกชายเพิ่งเกิด แดดไปเยี่ยมที่ รพ. แล้วบอกลูกชายในเปลก่อนกลับบ้านว่า "ดูแลแม่ให้ดีด้วยนะ" ::005:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 03, 2010, 06:33:48 PM โอเค พูดถึงบ้านเล็กในป่าใหญ่ ลัดคิวไปแล้ว ตอนนี้ ขอกลับไปแฮรี่พอตเตอร์ต่อนะคะ...
Harry Potter and the Order of Phoenix หนังสือภาคนี้ เหมือนเป็นบทนำ หรือ prelude ของเหตุการณ์ในตอนท้ายๆ ของเรื่องมากกว่า จะจบในตอน เหมือนเล่ม 1-3 โดยในภาคนี้ หนังสือพูดถึงช่วงรอยต่อของวัยรุ่นเช่นเคย แต่เป็นช่วงรอยต่อตอนที่เด็กเริ่มจะเป็นผู้ใหญ่และก้าวเข้าสู่โลกของผู้ใหญ่จริงๆ เรื่องในภาคนี้แสดงให้เห็นแฮรี่ที่กำลังเป็นวัยรุ่นแตกเนื้อหนุ่ม เริ่มมีแฟนจริงๆ เริ่มว้าวุ่นใจต่างๆ นาๆ ตามประสาวัยรุ่นที่จะเป็นเด็กก็ยังไม่ใช่ ผู้ใหญ่ก็ยังไม่เชิง แต่ท้ายที่สุดจากเหตุการณ์ต่างๆ ในหนังสือ แฮรี่ก็ต้องถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องโตเป็นผู้ใหญ่ ต้องเผชิญหน้ากับภาระในการต่อสู้กับโวลเดอร์มอร์ และต้องรับมือกับความเจ็บปวดจากการสูญเสียสิ่งยึดเหนี่ยวในจิตใจ/การปกป้องคุ้มครองของผู้ปกครอง ซึ่งก็คือSirius ที่ตายไปนั่นเอง (JK Rowling เป็นนักเขียนที่ชอบกำจัดตัวละครทิ้งทุกภาคจริงๆ) :P นอกจากนั้น เรื่องในภาคนี้ก็แสดงถึงความซับซ้อนของโลกผู้ใหญ่ให้เด็กได้เห็นด้วย ไม่ว่าจะความไม่ลงรอยแต่ทำงานด้วยกันของสมาชิกของ Order หรือความเป็นห่วงความรักแบบผู้ใหญ่ของสามีภริยาวีสลีย์ เรื่องราวในภาคนี้ สื่อถึงความอดทน และการใช้กำลังใจต่อสู้ยืนหยัดสิ่งที่ถูกต้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นการที่แฮรี่ยอมผิดระเบียบโลกเวทย์มนตร์ เพื่อช่วยดัดลีย์ ญาติที่ชอบแกล้งเขา หรือการที่แฮรี่อดทนต่อการลงโทษร้ายกาจและไม่เป็นธรรมของคุณครูอัมบริดจ์ หรือการที่ต้องต่อสู้กับข่าวชั่วร้ายในนสพ. (สงสัยคนแต่งคงเกลียด tabloid อังกฤษเสียจริงๆ เพราะต้องแอบแขวะสื่อนสพ.พวกนี้ในแทบทุกภาคเลย) ;D นอกจากนั้น ภาคนี้ ก็ยังคงแฝงด้วยการเตือนวัยรุ่นในเรื่องการใช้อารมณ์ก่อนเหตุผล และเรื่องการไม่รังเกียจดูถูกผู้ที่ด้อยกว่า โดยเฉพาะในเรื่องของ Kreacher ซึ่งน่าจะเตือนใจได้ว่า การดูถูกว่าคนที่ต่ำต้อยกว่า ไม่มีความรู้สึกหรืออารมณ์หรือสามารถทำอะไรร้ายๆ ได้ นั้น นอกจากจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี และผิด แล้ว ยังเป็นสิ่งที่สามารถนำภัยมาสู่ตัวเราได้ด้วย หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 03, 2010, 06:57:52 PM นอกจากนั้น ในส่วนของเรื่องราวในหนังสือ ตัวละคร Luna Lovegood ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ใช้สอนเด็กๆ ได้ดี ความสัมพันธ์ระหว่างแฮรี่กับลูน่า จึงน่าจะช่วยให้แง่คิดแก่เด็กๆ ให้เป็นคนจิตใจดี มีเมตตาและไม่ตัดสินคนจากรูปลักษณ์ภายนอก โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น เด็กมักจะหลงลืมไป เพราะสำหรับวัยรุ่นแล้ว ความเห็นของเพื่อนคนอื่นๆ มีอิทธิพลมากต่อความคิดของเขา มากกว่าสิ่งที่เขารู้สึกเองเสียด้วยซ้ำ
การไม่ดูถูก ไม่ล้อเลียน และเห็นใจคนที่แปลกกว่าตัวเอง เห็นได้ชัดจากอีกตอนที่พูดถึงตอนแฮรี่ไปโรงพยาบาล St. Mungo และได้รู้เรื่องพ่อแม่ของ Neville Longbottom เพื่อนนร.ที่เป็นเด็กขาดความมั่นใจแต่เป็นคนดี จิตใจอ่อนโยน สำหรับผู้ใหญ่ บทนี้น่าจะใช้สอนเด็กๆ ในเรื่องของการทำความเข้าใจไม่ดูถูกคนที่ไม่สมประกอบ ว่า เขาอาจมีที่มาที่ไป เช่นอาจเคยทำความดีมาก่อนแต่โชคร้าย เช่นพ่อแม่เนวิลล์ที่เคยต่อสู้โวลเดอร์มอร์จนโดนคำสาปทำให้เสียสติ รวมทั้งเห็นใจเพื่อนที่มีพ่อแม่ญาติโยมอย่างนี้ด้วย ไม่ให้ไปล้อเลียนเขา สำหรับภาพยนตร์ ตอน Order of the Phoenix นี้ ก็ต้องบอกว่ากำกับศิลป์ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะฉากต่อสู้กัน (ตอนอ่านก็นึกสงสัยอยู่ว่าจะทำอย่างไร) ไม่ว่าจะตอนฝึกซ้อมของกลุ่ม DA หรือตอนท้ายในห้องคำพยากรณ์ แต่หนังอ้อยอิ่งไปนิดกับเรื่องของความรักของแฮรี่ ซึ่งนักแสดงตัวเอกทั้งแฮรี่ทั้งโช ก็ยังเล่นไม่ค่อยอินหรือชัดเจนพอจะให้คนดูคล้อยตามหรือรู้สึกมีส่วนร่วม สำหรับตัวละครที่น่าจะเล่นได้ดีที่สุด ก็น่าจะเป็นมิสซิสอัมบริดจ์ที่เล่นได้ร้ายสมกับหนังสือมากจนน่าประทับใจ (หนังจบแล้ว ยังจำได้อยู่เลย) ซึ่งคงเพราะหนังสือเขียนไว้ค่อนข้างดี (ความเป็นคุณป้าบ้าแมว หรือความชอบเครื่องประดับวับๆ แวบๆ และดูบ้าความเป็นระเบียบมากๆ ก็พอจะนึกภาพออกได้ เพราะในอังกฤษก็มีคุณป้าที่ดูเหมือนจะเป็นแนวนี้ เดินถนนให้เห็นอยู่บ้าง) ส่วนลอร์ดโวลเดมอร์ ของราลฟ์ ไฟนส์ก็ใช้ได้ ดูน่ากลัวเหมือนในหนังสือ (เสียดายความหล่อจริงๆ ไม่น่าเลย.. :~)) อันที่จริงบทโวล์เดอมอร์ มีความยากซ่อนอยู่ตรงที่ว่า เป็นตัวละครที่ไม่มีการบรรยายการพูดการเดิน กิริยา หรืออารมณ์ (เบื้องหลังคำพูด) ไว้สักเท่าไร ถ้าไม่นับว่ามีประวัติวัยเด็กเก็บกดยืดยาวแล้ว ก็แทบจะไม่มีมิติเลย เพราะมีเพียงอารมณ์แค่สองอารมณ์คือ เกลียด (ในดีกรีต่างๆ กันตามสถานการณ์)และยะโส เท่านั้น สำหรับราลฟ์ ไฟนส์ คงถือว่าบทนี้ไม่ยาก เพราะแกก็เคยเล่นเป็นตัวละครที่มีความแรงในเรื่องอารมณ์บ่อยๆ ไม่ว่าจะใน Schindler's list หรือ Red Dragon เพียงแต่เดาว่า ที่แกไม่ได้เล่นให้แรงกว่านี้ (แบบ Meryll Streep ใน the devil's wear prada ที่แม้ไม่อยู่ในฉาก คนดูยังรู้สึกกลัวแทนตัวละครอื่นๆ) เพราะผู้กำกับคงไม่อยากให้กลบแฮรี่เกินไป หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 03, 2010, 07:02:44 PM สำหรับฉากที่ชอบที่สุดในหนังภาคนี้ ก็คือ ฉากที่ป้ายประกาศระเบียบข้อห้ามต่างๆ ของคุณครูอัมบริดจ์ พังทลายลงมาจากฝีมือพี่น้องวีสลีย์ ดูแล้วเป็นสัญลักษณ์ดีค่ะ แม้จะดูมิวสิกวีดีโอเพลงร็อคไปเล็กน้อย ;D
ส่วนช็อตตอนตอกตะปูแรงๆ จนผนังสะเทือน นั้นไม่ค่อยชอบเท่าไรเพราะดูออกจะแนวอิงนิยายประวัติศาสตร์ พวกตอกตะปูตรึงไม้กางเขนมากไปนิด ;D แต่ก็เข้าใจเพราะผู้กำกับจะเล่นมุขว่า เสียงตอกตะปูมันสะท้อนเข้าไปในหัวใจเด็กๆ ที่ก็แค่อยากใช้ชีวิตมีความสุขร่าเริงเป็นนักเรียนตามปกติเท่านั้นเอง หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: newfoon ที่ กันยายน 03, 2010, 08:35:10 PM สวัสดีค่ะ ::014:: ชอบหนังสือเหมือนกันค่ะ ;D สำหรับเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ชอบพี่น้องฝาแฝดวิสลีย์ ดูเค้าไม่เคยทุกข์ใจกับเรื่องอะไรเลย มีความสุขได้ตลอด ;D
เท่าที่ตามกระทู้มา น่าสนใจทั้งนั้นเลยค่ะ บางเรื่องอ่านแล้ว บางเรื่องยังไม่เคยอ่าน แต่จะต้องไปหามาอ่านซะแล้วล่ะค่ะ ;D อีกเรื่องที่เป็นนิยายเรื่องโปรด ชุด หัวใจน้ำหมึก ทั้งสามเล่มค่ะ ;D ใครอ่านแล้ว คิดเห็นอย่างไร แบ่งปันบ้างนะคะ ::014:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: m120 ที่ กันยายน 04, 2010, 07:33:58 PM มาตามอ่านอีกคนครับ.. ;D
หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 09, 2010, 05:44:19 AM หายไปสักพัก ขออภัยค่ะ ;D ช่วงนี้มีงานเยอะค่ะ ขอขอบคุณทุกๆ ::014:: ท่านที่สนใจติดตามอ่านและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นนะคะ ไว้จะทะยอยติดตามคุยเรื่องที่ท่านสมาชิกอื่นๆ เสนอมานะคะ :D
ขอกลับไปถกเรื่อง harry potter ให้จบซีรีส์ก่อนนะคะ Harry Potter and the Half Blood Prince นิยายภาคนี้เป็นภาคที่อ่านจบแล้วออกจะกวนใจคนอ่าน เพราะดันไม่ยอมเล่าให้จบ :OO และแถมยังทำให้ครูใหญ่ของแฮรี่ที่เป็นตัวละครเดินเรื่องที่สำคัญตายเสียอีก แต่ในแง่โครงสร้างของเรื่องทั้งหมด ภาคนี้ถือว่าสำคํญ เพราะพูดถึงที่มาที่ไปของตัวละครเด่นๆ และเป็นการปูพื้นไปยังภาคสุดท้ายที่เนื้อเรื่องอัดแน่นเข้มข้นเข้าไปอีก สิ่งที่น่าเสียดายก็คือเหมือนคนแต่งพยายามรีบเล่าเรื่องมากไปหน่อย (คงกลัวใครว่าหนังสือหนาอีก) ทำให้หลายๆ ตอนที่อ่านๆ แล้วจะรู้สึกว่าตัดฉากเร็วจริง อย่างไรก็ตาม โดยรวมก็นับว่า สนุกดี และเป็นภาคที่ภาษาที่ใช้ก็เขียนดีขึ้นเยอะ ภาคนี้ชื่อว่า Half-blood prince หรือเจ้าชายลูกครึ่งพ่อมด-คนธรรมดา บรรยายถึงครูสเนป โดยให้เห็นว่า ตัวละครครูสเนปจริงแล้วมีความดีซ่อนไว้อย่างไร และเป็นคนที่น่าสงสารในวัยเด็ก ที่โดนรังแก ล้อเลียน และมีเพียงแม่ของแฮรี่ที่เป็นเพื่อนที่มีเมตตามีมิตรภาพยื่นให้เขา กลายเป็นว่ามิตรภาพของแม่ของแฮรี่เป็นสิ่งที่ทำให้ครูสเนป (หรือความแอบรักของครูสเนป) ทำให้เขาไม่ออกนอกลู่นอกทางและยังมีความดีในใจพอจะไม่หลงละเมอไปกับโวลเดอร์มอร์ ซึงก็เป็นการพูดถึงตัวละครอย่างลึกซึ้งมากขึ้น และทำให้เด็กๆ ที่อ่านน่าจะรู้สึกมีความเข้าใจตัวละครตัวนี้ และในที่สุด เมื่อถึงเล่มสุดท้ายก็จะเข้าใจและเห็นใจว่าทำไมแฮรี่ถึงกลับกลายเป็นชื่นชมครูสเนปที่แสนจะเกลียดมาก่อน นอกจากนั้น ภาคนี้ก็บรรยายถึงความชั่วร้ายที่สั่งสมตามวัยของโวลเดอร์มอร์ นอกจากภาคที่ผ่านๆ มาที่แสดงให้เห็นแล้วว่า มีวัยเด็กที่ประหลาดโรคจิต (รังแกสัตว์ตัวเล็กๆ ทำร้ายแกล้งเด็กอื่นๆ ตอนเป็นเด็กกำพร้า หรือ มักใหญ่ใฝ่สูงกระหายอำนาจด้านมืดตอนเป็นวัยรุ่น ในภาค 2) ในภาคนี้ก็เห็นว่าแม้แต่เป็นผู้ใหญ่โวลเดอร์มอร์ก็ไม่คิดจะปรับปรุงจิตใจ โดยยังคงเดินหน้าทำชั่วต่อไปเรื่อยๆ และคิดค้นหาทางจะทำชั่วได้นานๆ อีกตะหาก แถมในภาคนี้ โวลเดอร์มอร์ยังทำตัวเหมือนคนที่มีปมเขื่องต้องการลบอดีตยากจนลำบากในวัยเด็กด้วยการพยายามไปปลุกเสกสิ่งของๆ คนดังๆ ประมาณว่าขอรัศมีบารมีคนดังมาทาบนั่นเอง (รู้สึกคุ้นๆ เหมือนนักการเมืองไทยหลายคน...) ภาคนี้ เรื่องที่เด่นน่าสนใจคือเรื่องของการทำความชั่วว่า ทำแล้วมีผลต่อจิตใจ วิญญาณ และความเป็นตัวตนของเราอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องของเวทย์มนตร์ Horcrux หรือการถอดดวงใจ (แบบทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์) ซึ่งในท้องเรื่องบรรยายว่า จะถอดวิญญาณให้ตัวเองไม่ตายได้ หากทำความชั่วมากๆ ซ้ำๆ ไปมาจนหัวใจ/วิญญาณแตกเป็นเสี้ยวเล็กๆ ในแง่จิตวิทยาก็คงคล้ายกับการทำความชั่วจนเห็นว่าความชั่วเป็นเรื่องธรรมดา จนจิตใจแข็งกระด้างไม่เจ็บ ไม่รู้สึก เย็นชา และเมื่อไม่รู้สึกอะไรเลยก็เท่ากับเหมือนหัวใจตายไป หรือไม่มีหัวใจในร่างนั่นเอง ซึ่งคนแต่งก็เหมือนต้องการให้ผู้ใหญ่และเด็กเห็นว่า หากจิตใจเราเป็นมนุษย์ปกติไม่ได้เคยทำอะไรชั่วร้ายมากๆ แค่พยายามจะทำ เราก็ทุกข์ทรมานแล้ว ไม่ว่าจะเรื่องที่ดราโก มัลฟอย คู่อริแฮรี่ ที่ถูกสั่งให้ฆ่าครูใหญ่แฮรี่ หรือ RAB น้องชายของซีริอุส ที่โดนโวลเดอร์มอร์ หลอกให้ทำชั่วจนทนไม่ได้ เลยขอตายแบบประท้วงๆ ด้วยการทิ้งกับดักไว้จัดการกับโวลเดอร์มอร์ทีหลัง ในส่วนของเรื่องโรงเรียน สิ่งที่ค่อนข้างจะเป็นมุข คือเรื่องของการโกงวิชา potions ซึ่งแฮรี่ลอกเอามาจากตำราเรียนเล่มเก่าของสเนป แล้วก็โดนจับได้ คุณพ่อคุณแม่จะเอาไว้สอนลูกก็ได้นะคะว่าอย่าลอกการบ้านเพื่อน เพราะคุณครูส่วนใหญ่ย่อมรู้อยู่ดี ::008:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 09, 2010, 02:08:07 PM ขอบคุณมากครับ คุณ bluebunny รักในหลวง ชอบมาก กับบทวิจารณ์ ทีหาอ่านจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว
ยิ่งกับเรื่อง Harry Potter ทำให้เข้าใจ หนังสือที่อ่านมากขึ้น ตอนนี้ จำได้แต่เค้าโครงเรื่อง คาดว่า คราวออกท่องเที่ยวต้นปี จะนำกลับมาอ่านซ้ำอีกทั้ง ๗ เล่ม :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 02:41:43 AM ขอบคุณค่ะคุณ Ro@d ดีใจจังค่ะ มีคนตามอ่านด้วย เย้ ::014:: ::014::
ด้วยมีกำลังใจจากคนอ่านกระทู้ ก็ขอชวนคุยถึง Harry Potter and the Deathly Hallows ภาคสุดท้ายแล้วกันนะคะ เพราะเป็นภาคที่มีอะไรน่าสนใจพอสมควร ภาคนี้ เป็นตอนที่แฮรี่เป็นผู้ใหญ่ที่ต้องต่อสู้ในโลกเวทย์มนตร์ตามลำพังแล้ว พอขาดครูใหญ่ดัมเบิลดอร์ ขาดซีริอุส แม้กระทั่งนกฮูกเฮ็ดจ์วิคก็จากไป (คนแต่งนี่ก็ขยันกำจัดตัวละครจริงๆ) ในภาคนี้ เนื้อเรื่องรวดเร็วมากและมีการผจญภัยตื่นเต้นมากที่สุดในทุกภาค มีทั้งการตามล่า ไล่ล่า ทั้งในโลกมนุษย์และโลกเวทย์มนตร์ โดย JK Rowling บรรยายฉากสถานที่ต่างๆ ได้สมจริงมากขึ้นเยอะ (คงจะรู้แล้วว่าต้องสร้างเป็นภาพยนตร์เลยต้องทำให้ละเอียดๆ ) ภาคนี้ จะรู้สึกได้เมื่ออ่านว่า แฮรี่เป็นวัยรุ่นที่มีความเป็นผู้ใหญ่มากพอสมควร และมีความเป็นผู้นำ เข้มแข็ง กล้าหาญ โดยยังคงความดีในจิตใจไว้ได้ :) สิ่งที่เด่นในเรื่องนี้คือ Deathly Hallows ซึ่งเป็นนิทานปรัมปราในโลกเวทย์มนตร์ที่กล่าวถึงของวิเศษสามอย่างของพ่อมดสามพี่น้อง (ที่ต่อมาก็พบว่ามีอยู่จริงๆ) นิทานเล่าว่า มีพ่อมดสามพี่น้องที่วันหนึ่งไปเจอพญามัจจุราชและสามารถเอาชนะได้ พญามัจจุราชก็เลยบอกให้ขอของแลกเปลี่ยนได้ คนนึงขอคทาวิเศษให้เอาชนะทุกอย่างได้ เพราะคิดว่าสามารถจะเอาชนะความตายได้หากต้องเจอกันอีก แต่ก็กลายเป็นว่า คทานั้นมีชื่อเสียงมากทำให้คนมาลอบฆ่าเขาเพื่อชิงคทา คนต่อมาขอสิ่งที่ชุบชีวิตความตายได้ เพราะคิดว่าสามารถจะเอาชนะความตายได้เช่นกัน ความตายก็เลยให้หินวิเศษ หรือ Sorcerer's stone (ภาคแรกของแฮรี่ พอตเตอร์) แต่เมื่อพยายามชุบชีวิตหญิงคนรักก็พบว่า เมื่อเธอฟื้นกลับมาเธอก็ไม่ได้มีชีวิตชีวาเหมือนเดิมแล้ว ท้ายที่สุดตัวเองก็เศร้าหมองและตายไปในที่สุด ความตายก็เอาเขาไปได้อยู่ดี คนสุดท้ายฉลาดที่สุด ขอสิ่งที่ทำให้ตัวเองล่องหน ก็เลยได้ผ้าคลุมวิเศษล่องหน (ของมรดกตกทอดของแฮรี่นั่นเอง) เพราะขอเสี่ยงหลบไปหลบมาจากความตายดีกว่า ปรากฏว่าคนสุดท้ายคือคนที่ใช้ชีวิตคุ้มค่าที่สุด ได้ท่องเที่ยวผจญภัยมากที่สุด และสามารถใช้ชีวิตได้นานจนกระทั่งพอใจ เมื่อเขารู้สึกว่าใช้ชีวิตคุ้มค่าแล้ว จึงได้เก็บผ้าวิเศษและกอดคอเฮฮาเดินไปกับพญามัจจุราช เมื่อความตายมาเยือน ;) นิทานเรื่องนี้ น่าจะสื่อถึงหัวใจของหนังสือชุดแฮรี่ พอตเตอร์ ได้ใกล้ที่สุด โดยเป็นการพูดถึงการใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า คทาในนิทานเป็นเรื่องของอำนาจ ซึ่งคนที่แสวงหาโดยคิดว่าจะทำให้ตัวเองได้ใช้ชีวิตอยู่ได้นานๆ อย่างมีความสุข แต่ที่จริงแล้วอำนาจก็เป็นสิ่งที่นำภัยมาให้ตนเอง หากใช้ในทางที่ผิด (คทานี้กลายเป็นของดัมบัลดอร์ในที่สุด ก็เลยสงบลงไม่ได้นำภัยมาให้ผู้ใช้อีก) หินวิเศษชุบชีวิตก็คือ การพยายามจะอยู่กับอดีต การยึดติด ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ช่วยนำความสุขมาให้เราอยู่ดี แต่จะนำมาซึ่งความโศกเศร้า เพราะสิ่งที่เสียไปแล้วก็ไม่มีใครนำกลับมาให้ได้เหมือนเดิม ดังนั้น ผ้าคลุมวิเศษ ซึ่งทำให้คนเราเป็นอิสระ จะไปไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องยึดติดกับอะไร ไม่ต้องเป็นคนสำคัญโด่งดังพิเศษ (ล่องหนในแง่งานวรรณกรรมมักมีนัยหมายถึง การไม่มีตัวตนทางสังคม เหมือนเรื่อง The Invisible Man ของ Ralph Elison นักเขียนอเมริกันยุค 1952) การผจญภัย การไปค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตคุ้มค่าที่สุดแล้ว ::002:: ตัวละครอย่างแฮรี่และโวลเดอร์มอร์ ก็มองนิทานเรื่องนี้ต่างกัน (ตามบุคลิกที่ต่างกัน) แฮรี่กับเพื่อนๆ ประทับใจเรื่องของผ้าคลุมวิเศษ และรู้ได้เองว่า ครูใหญ่ดัมเบิลดอร์อยากให้ตนตามหาของวิเศษชิ้นไหนในนิทานเรื่องนี้ ในขณะที่โวลเดอร์มอร์ ซึ่งอยากดังอยากชั่วร้ายแต่เด็ก ก็พุ่งหาทั้งหินวิเศษ และทั้งคทาวิเศษ เพราะผ้าคลุมวิเศษที่ทำให้ตนล่องหนนั้น ไม่เจ๋งพอกับอัตตาตัวเอง (ก็นึกถึงนักการเมืองไทยใครสักคนอีกนะแหละว่าไหมคะ อิอิ) ;D จุดจบของตัวละครทั้งสองเป็นอย่างไร คงจะไม่เล่า (เผื่อท่านสมาชิกยังไม่ได้อ่าน) แต่ก็คงบอกได้ว่า นอกจากความดีในใจจะทำให้แฮรี่ประสบความสำเร็จแล้ว การมองโลกและความเข้าใจโลกของแฮรี่ ก็สำคัญด้วย ;) นอกจากนั้น หัวใจของหนังสือภาคนี้อีกอย่างคือเรื่องของการเสียสละ ไม่ว่าจะเป็นดัมบัลดอร์ ครูในโรงเรียนเวทย์มนตร์ หรือ ตัวละครใน order of phoenix หรือแฮรี่ ต่างก็ต้องเสียสละไม่มากก็น้อยในการต่อสู้กับความชั่วร้าย แฮรี่เองถือเป็นตัวละครที่เสียสละมากที่สุด โดยยอมตาย เพื่อจะได้สามารถสังหารโวลเดอร์มอร์ (แม้ฉากต่อสู้ตอนนี้จะบรรยายเหตุผลได้งงๆ หน่อย) ซึ่งอารมณ์ตอนนี้เหมือนกับการที่คนเราตระหนักถึงความรับผิดชอบของเราอย่างแท้จริง และมีความกล้าหาญในใจมากพอที่จะเผชิญหน้ากับความรับผิดชอบที่มีอยู่ โดยไม่กลัว ไม่หวั่นสิ่งใดแม้กระทั่งความตาย (โดยส่วนตัว ดิฉันอ่านดูแล้วก็เกือบจะรู้สึกได้ว่า JK Rowling อาจไปแอบนั่งสมาธิแบบพุทธมาจนเกิดความสงบ และปลงชีวิตได้จนเอาอารมณ์การปล่อยวางมาเขียนให้แฮรี่ในตอนนี้ได้) ความกล้าหาญเช่นนี้ น่าจะเป็นแรงบันดาลใจที่ดีได้ทั้งสำหรับเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่อ่าน แม้ว่าศัตรูของเราจะไม่ใช่พ่อมดโวลเดอร์มอร์ก็ตาม นอกจากนี้ ในภาคนี้ ก็มีแง่มุมมองที่น่าสนใจในเรื่องความแตกต่างของพี่น้อง ซีริอุสกับ RAB ที่แม้จะบุคลิกต่างกัน มีมุมมองการเมืองที่ต่างกัน (คนละขั้วประมาณพรรคมารกับพรรคธรรมะ) แต่เนื้อเรื่องก็แสดงให้เห็นว่า ความแตกต่างไม่ได้ทำให้มีใครเป็นผู้ร้ายเต็มตัวจนคบไม่ได้ เพราะอย่าง RAB แม้จะไปหลงไหลกับโวลเดอร์มอร์ในตอนแรก แต่ก็เป็นคนที่มีเมตตากับ Kreacher ในบ้าน หรือเป็นลูกที่รักพ่อรักแม่ (เป็นความดีอย่างหนึ่งก็ว่าได้) ต่างกับซีริอุสที่เห็นว่า Kreacher ไม่มีหัวใจ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องปฏิบัติดีด้วย แม้จะเป็นคนดีที่ชื่นชมศรัทธาในสิ่งที่ดีแม้จะไม่มีใครในบ้านเห็นด้วยเลย :) บทที่พูดถึงความเมตตาที่แฮรี่มีต่อ Kreacher ก็สำคัญ เพราะน่าจะใช้สอนเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่อ่านได้ว่า การเป็นฝ่ายหยิบยื่นความเมตตาให้กับคนอื่นก่อน ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย และอาจทำให้ใครสักคนปฏิบัติต่อเราดีขึ้นด้วย และการทำดีต่อเนื่องย่อมดีกับเรา เช่นตอนที่แฮรี่ฝังศพ Dobby และเป็นที่ประทับใจของพวก goblins จนยอมให้ความช่วยเหลือแฮรี่ :) (เป็นการบอกว่า ความเมตตา ความดี เอาชนะใจศัตรูได้) สำหรับดิฉันแล้ว ภาคนี้มีเนื้อหาอัดแน่นดี บทบางช่วงเยิ่นเย้อไปหน่อย เช่นตอนที่แฮรี่กับเพื่อนๆ หลงทางไปมาไม่รู้เรื่องในโลกเวทย์มนตร์เลย แต่รวมๆ แล้วก็ตื่นเต้นดี และถ้าให้เดาคนเขียนคงอยากเขียนเป็นเล่ม 7 และ 8 มากกว่า เพราะเนื้อหาเยอะเหลือเกิน ทำให้พอเข้าใจว่าทำไมภาพยนตร์ถึงต้องแบ่งเป็นสองช่วง สำหรับเรื่อง locket ที่เก็บเสี้ยววิญญาณของโวลเดอร์มอร์ไว้ ก็เป็นสิ่งที่น่าจะให้แง่คิดในเรื่องของการปล่อยให้ความพยาบาทหรือความขุ่นเคืองใจ ขังอยู่ในใจนานๆ ว่า นอกจากจะทำให้จิตใจเศร้าหมองแล้ว จะทำให้เรากลายเป็นคนโกรธเกรี้ยว และร้ายกาจกับคนอื่นด้วย โดยส่วนตัวแล้ว ดิฉันชอบบทส่งท้ายของเรื่องนี้พอสมควร เพราะไม่มากไม่น้อยเกินไปกำลังพอดี แม้จะออกร่าเริงไปนิด (เหมือนจะกะให้คนดูภาพยนตร์ยิ้มกับจอ) เนื้อหาเป็นอย่างไรไม่พูดถึงแล้วกันนะคะ เดี๋ยวจะทำให้หมดสนุกตอนภาพยนตร์เข้าโรงค่ะ ;D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ กันยายน 10, 2010, 07:00:33 AM อ่านบทวิจารณ์ในภาคสุดท้ายแล้ว อยากทราบจริงๆว่าเรื่องนี้จะจบลงในรูปแบบใด
แต่จะไปหยิบมาอ่านตอนนี้ คงไม่ไหวแล้ว ต้องรอชมในรูปแบบภาพยนต์อยู่ดี ::005:: ขอบคุณมากครับ ::002:: :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 12:18:37 PM อ่านบทวิจารณ์ แล้ว ทำให้อยากไปอ่านเล่ม ๗ แบบอ่านเก็บรายละเอียดใหม่ อีกครั้ง..
ความเป็นอิสระ คือการได้ท่องเที่ยวแบบไร้ตัวตนที่เป็นอยู่ เป็นเช่นบุรุษคนหนึ่ง ที่ท่องไปในโลกกว้าง ถึงห่างไกลบ้านเกิด แต่ได้อยู่ใกล้กับสิ่งที่ตนเองรัก "ผ้าคลุมวิเศษ ซึ่งทำให้คนเราเป็นอิสระ จะไปไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องยึดติดกับอะไร" เป็นเหมือนดั่ง บุรุษท่านนั้น :D ขอบคุณมาก นะครับ คุณbluebunny รักในหลวง :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ กันยายน 10, 2010, 12:55:19 PM อิ อิ
ระหว่างรอแฮรี่ พ็อตเตอร์จบ ผมขอเสนอ "ฟ้าบ่กั้น" ของปราชญ์อีสาน ลาว คำหอม(คำสิงห์ สีนอก) เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นสะท้อนการปกครองของรัฐในยุคลัทธิการปกครองร้อนระอุได้งดงามมาก ความโง่เขลาของคนบ้านนอก และความฉลาดแพรวพราวของนักการเมือง เอามาผสมได้ลงตัว และน่ารักดี เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่เชื่อว่า คนอายุเท่าๆผมหรือมากกว่าผมขึ้นไปต้องเคยอ่าน ได้รับการแปลเป็นหลายภาษาด้วย (http://nongpangbook.tarad.com/shop/n/nongpangbook/img-lib/spd_2008113015511_b.jpg) "ห่างกันสุดขอบฟ้าเขาเขียว เสมออยู่หอแห่งเดียวร่วมห้อง" หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ กันยายน 10, 2010, 01:03:19 PM เรื่องลูกอีสาน ก็เป็นหนังสือที่ดีอีกเล่มค่ะ นานๆ ทีจะมีหนังสือให้เด็กอ่านที่ผู้ใหญ่อ่านได้และมีกลิ่นอายความเป็นไทย สักเล่มผ่านมา ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นหนังสือที่เขียนในมุมมองเด็กเมืองกรุงเสียเยอะ เรื่องลูกอีสานก็เป็นประสบการณ์การใช้ชีวิตจริงของคนแต่ง ซึ่งก็เล่าเรื่องจากมุมมองการใช้ชีวิตธรรมดาๆ แต่ละวัน หนังสือไม่ได้พยายามสื่ออะไรเป็นพิเศษ แต่เขียนด้วยภาษาที่ดี อ่านง่าย เข้าใจง่าย นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้อ่านน่าจะสัมผัสได้ในแง่ของเนื้อหา ก็คือความรู้สึกภูมิใจของเด็กอีสานในชีวิตและความเป็นตัวตนของเขา สำหรับคนที่ไม่ใช่ลูกอีสาน หนังสือเล่มนี้น่าจะช่วยให้เข้าใจมุมมองและวิถีชีวิตเรียบง่ายของคนอีสานพื้นบ้านได้ โดยเฉพาะเรื่องการหาอาหารกิน การช่วยเหลือกัน และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติของคนอีสาน ซึ่งบ่อยครั้ง เราคนกรุงก็ไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไร หนังสือเล่มนี้มีแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยเจ้านายผมที่ปลดเกษียณแล้วไปซื้อมาอ่านเพราะแกชอบศึกษาเรื่องราวต่างๆของเมืองไทย เสร็จแล้วพูดกับผมยิ้มๆ ว่า ทั้งเรื่องมีแต่ของกิน ::005:: ::005:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 01:43:56 PM เรื่องลูกอีสาน ก็เป็นหนังสือที่ดีอีกเล่มค่ะ นานๆ ทีจะมีหนังสือให้เด็กอ่านที่ผู้ใหญ่อ่านได้และมีกลิ่นอายความเป็นไทย สักเล่มผ่านมา ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นหนังสือที่เขียนในมุมมองเด็กเมืองกรุงเสียเยอะ เรื่องลูกอีสานก็เป็นประสบการณ์การใช้ชีวิตจริงของคนแต่ง ซึ่งก็เล่าเรื่องจากมุมมองการใช้ชีวิตธรรมดาๆ แต่ละวัน หนังสือไม่ได้พยายามสื่ออะไรเป็นพิเศษ แต่เขียนด้วยภาษาที่ดี อ่านง่าย เข้าใจง่าย นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้อ่านน่าจะสัมผัสได้ในแง่ของเนื้อหา ก็คือความรู้สึกภูมิใจของเด็กอีสานในชีวิตและความเป็นตัวตนของเขา สำหรับคนที่ไม่ใช่ลูกอีสาน หนังสือเล่มนี้น่าจะช่วยให้เข้าใจมุมมองและวิถีชีวิตเรียบง่ายของคนอีสานพื้นบ้านได้ โดยเฉพาะเรื่องการหาอาหารกิน การช่วยเหลือกัน และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติของคนอีสาน ซึ่งบ่อยครั้ง เราคนกรุงก็ไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไร ลูกอีสาน เป็นวิถีชาวอีสาน ที่ต้องต่อสู้ หากิน เพื่อปากท้อง ไปวัน ๆ .. ผมอ่านจบเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อสัก ๒ เดือนมานี้ ทิ้งห่างกันไว้ ๕ ปี จากครั้งแรก :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ กันยายน 10, 2010, 01:46:38 PM เรื่องลูกอีสาน ก็เป็นหนังสือที่ดีอีกเล่มค่ะ นานๆ ทีจะมีหนังสือให้เด็กอ่านที่ผู้ใหญ่อ่านได้และมีกลิ่นอายความเป็นไทย สักเล่มผ่านมา ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นหนังสือที่เขียนในมุมมองเด็กเมืองกรุงเสียเยอะ เรื่องลูกอีสานก็เป็นประสบการณ์การใช้ชีวิตจริงของคนแต่ง ซึ่งก็เล่าเรื่องจากมุมมองการใช้ชีวิตธรรมดาๆ แต่ละวัน หนังสือไม่ได้พยายามสื่ออะไรเป็นพิเศษ แต่เขียนด้วยภาษาที่ดี อ่านง่าย เข้าใจง่าย นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้อ่านน่าจะสัมผัสได้ในแง่ของเนื้อหา ก็คือความรู้สึกภูมิใจของเด็กอีสานในชีวิตและความเป็นตัวตนของเขา สำหรับคนที่ไม่ใช่ลูกอีสาน หนังสือเล่มนี้น่าจะช่วยให้เข้าใจมุมมองและวิถีชีวิตเรียบง่ายของคนอีสานพื้นบ้านได้ โดยเฉพาะเรื่องการหาอาหารกิน การช่วยเหลือกัน และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติของคนอีสาน ซึ่งบ่อยครั้ง เราคนกรุงก็ไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไร ลูกอีสาน เป็นวิถีชาวอีสาน ที่ต้องต่อสู้ หากิน เพื่อปากท้อง ไปวัน ๆ .. ผมอ่านจบเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อสัก ๒ เดือนมานี้ ทิ้งห่างกันไว้ ๕ ปี จากครั้งแรก :D ได้เมนูไข่มดแดงไปเยอะไม๊ครับพี่ ;D ;D ผมเคยอ่านตอน ม.ต้น เพราะเป็นหนังสือนอกเวลาบังคับอ่านของวิชาภาษาไทยสนุกดีครับ แต่เลือนๆไปแล้ว อาจต้องหามาซ้ำอีกรอบ หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ กันยายน 10, 2010, 01:48:34 PM หนังสือไทยๆที่มีแต่ของกินจริงๆน่าจะเป็น"เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก"ของทิพย์วาณี สนิทวงศ์มากกว่าครับ
แต่เจ้านายพี่อาจยังไม่ได้อ่าน เพราะอาจไม่ได้รับการแปล ผมจำได้ตอนหนึ่งว่า ตอนที่เก็บมะขามสุกมาปอกเปลือกเก็บไว้เป็นมะขามเปียก เวลานั้นจะเอาเมล็ดมะขามออก และเก็บเมล็ดไว้ด้วย เพราะเวลาฤดูอื่นๆนอกฤดูฝน อยากกินยอดมะขามอ่อนต้มกะทิปลาเค็ม ก็เอากระด้งมาปูผ้าที่แช่น้ำมาจนชุ่ม เอาเมล็ดมะขามมาใส่ แล้วใช้กระด้งอีกอันมาปิด ผ่านไป4-5วัน เปิดมาอีกที เมล็ดมะขามจะงอก เด็ดเอายอดที่งอกมาเป็นยอดมะขามประกอบอาหารได้ (จำได้ราวๆนี้นะครับ) (http://www.khayadeet.com/catalog/p_52875.jpg) (http://www.khayadeet.com/catalog/e_15247.jpg) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ กันยายน 10, 2010, 01:55:07 PM หนังสือไทยๆที่มีแต่ของกินจริงๆน่าจะเป็น"เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก"ของทิพย์วาณี สนิทวงศ์มากกว่าครับ แต่เจ้านายพี่อาจยังไม่ได้อ่าน เพราะอาจไม่ได้รับการแปล ผมจำได้ตอนหนึ่งว่า ตอนที่เก็บมะขามสุกมาปอกเปลือกเก็บไว้เป็นมะขามเปียก เวลานั้นจะเอาเมล็ดมะขามออก และเก็บเมล็ดไว้ด้วย เพราะเวลาฤดูอื่นๆนอกฤดูฝน อยากกินยอดมะขามอ่อนต้มกะทิปลาเค็ม ก็เอากระด้งมาปูผ้าที่แช่น้ำมาจนชุ่ม เอาเมล็ดมะขามมาใส่ แล้วใช้กระด้งอีกอันมาปิด ผ่านไป4-5วัน เปิดมาอีกที เมล็ดมะขามจะงอก เด็ดเอายอดที่งอกมาเป็นยอดมะขามประกอบอาหารได้ (จำได้ราวๆนี้นะครับ) (http://www.khayadeet.com/catalog/p_52875.jpg) เรื่องนี้เลือนๆไปแล้วน่าจะเป็นหนึ่งในชุดหนังสืออ่านนอกเวลาด้วยครับน้าซับ หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 04:13:10 PM ดีใจค่ะที่มีท่านสมาชิกหลายๆ คนมาร่วมกันอ่านร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น (เย้) :D ::014::
สำหรับเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ดิฉันว่าไม่ได้มีแค่ของกินมั๊งคะ มีเรื่องอื่นด้วย เช่น น้ำอบน้ำปรุง ไปรษณีย์ หน้าหนาว ประเพณีต่างๆ เช่น งานศพ จะว่าไปแล้วเป็นหนังสือที่พูดถึงวิถีชีวิตรุ่นคุณทวดเรามากกว่า ซึ่งก็น่าจะเป็นหนังสือมีคุณค่ามากชุดหนึ่ง เพราะว่า สามารถให้ข้อมูลในเรื่องที่ไม่มีในหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วๆไป (ใครที่ต้องสร้างภาพยนตร์ สร้างละครไทยๆ ย้อนยุค น่าจะได้ใช้เป็นคัมภีร์) และเป็นหนังสือไม่กี่เล่มที่อ่านแล้วเหมือนได้ดูสารคดีไทยๆ ยุคโบราณ ที่เข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ (สังเกตได้ว่าบทแต่ละบทสั้นมาก เหมาะกับเด็กอ่านมาก เพราะไม่ต้องใช้สมาธินาน) ;D แต่เรื่องของกินเห็นด้วยค่ะว่า ในเรื่องลูกอีสานเยอะกว่ามาก ทั้งอึ่งย่าง (?) ไข่มดแดง ข้าวเหนียว ปลาร้า ฯลฯ อ่านแล้วหิวส้มตำน้ำตกทุกที ซึ่งพอมองย้อนไปก็ต้องขอบคุณหนังสือเล่มนี้ค่ะ เพราะจำได้ว่าตอนเด็กๆ เวลาตามพ่อแม่ไปต่างจังหวัดอีสาน และได้เห็นชาวบ้านออกไปหาอึ่งอ่างอยู่ก็ไม่รู้สึกแปลก เพราะรู้แล้วว่าทำไปทำไม :) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 04:20:22 PM ของกินอีสาน ผมพอจับหลักได้ หนึ่งวิธี คือการป่น.. ทุกอย่างตั้งแต่อึ่ง ตั๊กแตน กิ้งก่า จั๊กจั่น นก งู ปลา ฯลฯ นำมาย่างให้สุก
แล้วนำมาป่น ด้วยการตำ เยาะน้ำลงนิดนึง ใส่ พริก ใส่หอม ฯลฯ เหมือนกับตำ ส้มตำ เลยครับ .. ทำกินอะไรไม่ถูกต้องนำมาตำ มาป่น ก่อน เป็นได้ของ จก กิน ๑ มื้อ ;D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: newfoon ที่ กันยายน 10, 2010, 04:23:02 PM เข้ามาติดตามค่ะ ;D ;D ;D
หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: soveat ชุมไพร ที่ กันยายน 10, 2010, 04:26:15 PM ของกินอีสาน ผมพอจับหลักได้ หนึ่งวิธี คือการป่น.. ทุกอย่างตั้งแต่อึ่ง ตั๊กแตน กิ้งก่า จั๊กจั่น นก งู ปลา ฯลฯ นำมาย่างให้สุก แล้วนำมาป่น ด้วยการตำ เยาะน้ำลงนิดนึง ใส่ พริก ใส่หอม ฯลฯ เหมือนกับตำ ส้มตำ เลยครับ .. ทำกินอะไรไม่ถูกต้องนำมาตำ มาป่น ก่อน เป็นได้ของ จก กิน ๑ มื้อ ;D อี๊...พี่โร้ดกินได้ยังไงครับ ::008:: ทำไมไม่ใส่น้ำปลาร้าต้มก่อน... ::005:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 04:28:39 PM ของกินอีสาน ผมพอจับหลักได้ หนึ่งวิธี คือการป่น.. ทุกอย่างตั้งแต่อึ่ง ตั๊กแตน กิ้งก่า จั๊กจั่น นก งู ปลา ฯลฯ นำมาย่างให้สุก แล้วนำมาป่น ด้วยการตำ เยาะน้ำลงนิดนึง ใส่ พริก ใส่หอม ฯลฯ เหมือนกับตำ ส้มตำ เลยครับ .. ทำกินอะไรไม่ถูกต้องนำมาตำ มาป่น ก่อน เป็นได้ของ จก กิน ๑ มื้อ ;D อี๊...พี่โร้ดกินได้ยังไงครับ ::008:: ทำไมไม่ใส่น้ำปลาร้าต้มก่อน... ::005:: อ้าว มีน้ำปลาร้า ด้วยเหรอ. งั้น ปูเสื่อ ปูเสื่อ. :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: soveat ชุมไพร ที่ กันยายน 10, 2010, 04:35:05 PM ป่น....
อาหารอิสานชนิดหนึ่ง ประเภท น้ำพริก ส่วนประกอบหลัก เป็นสัตว์ที่หาได้ตามพื้นที่ เช่น กบ เขียด อึ่ง ปลา แย้ จั๊กจั่น นก หนู ปู กุ้ง ได้หมด อามาย่าง ต้ม นึ่งให้สุก แกะเอาแต่เนื้อมาตำกับพริกจี่ หอมแดงจี่ กระเทียมจี่ ตำให้พอแหลก ตักออกจากครกใส่ถ้วยไว้ เอาน้ำปลาร้าต้มหยอดใส่เล็กน้อย น้ำปลาซิดใส่ ผงนัวนิดโหน่ยพอให้หัวล้าน อย่าบีบมะนาวใส่เด็ดขาดเพราะจะทำให้เสียความเป็นป่นไป จากนั้นก็เอาข้าวเหนียวมาปั้นจ้ำลงไป ห้ามเอาโป้แนบเนื่องจากจะได้รับการตำหนิด้วยสายดาจาผู้ร่วมวง จบการนำเสนอ :D~ :D~ ไปหาป่นปลาก่อนเด้อ :D~ :D~ หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 04:44:31 PM อิอิ เกิดไม่ทันอ่านในวัยเดียวกับคุณซับแน่นอนค่า ... ส่วนได้อ่านตอนเด็กหรือเปล่าจำไม่ได้แล้วเหมือนกันค่ะ ขอไประลึกอดีต (ชาติ?) ก่อนนะคะ อิอิ
อิ อิ ระหว่างรอแฮรี่ พ็อตเตอร์จบ ผมขอเสนอ "ฟ้าบ่กั้น" ของปราชญ์อีสาน ลาว คำหอม(คำสิงห์ สีนอก) เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นสะท้อนการปกครองของรัฐในยุคลัทธิการปกครองร้อนระอุได้งดงามมาก ความโง่เขลาของคนบ้านนอก และความฉลาดแพรวพราวของนักการเมือง เอามาผสมได้ลงตัว และน่ารักดี เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่เชื่อว่า คนอายุเท่าๆผมหรือมากกว่าผมขึ้นไปต้องเคยอ่าน ได้รับการแปลเป็นหลายภาษาด้วย "ห่างกันสุดขอบฟ้าเขาเขียว เสมออยู่หอแห่งเดียวร่วมห้อง" หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 04:59:43 PM อุ๊ย ฟังดูอร่อย ชักอยากไปหาทานบ้างแล้วค่า..
ป่น.... อาหารอิสานชนิดหนึ่ง ประเภท น้ำพริก ส่วนประกอบหลัก เป็นสัตว์ที่หาได้ตามพื้นที่ เช่น กบ เขียด อึ่ง ปลา แย้ จั๊กจั่น นก หนู ปู กุ้ง ได้หมด อามาย่าง ต้ม นึ่งให้สุก แกะเอาแต่เนื้อมาตำกับพริกจี่ หอมแดงจี่ กระเทียมจี่ ตำให้พอแหลก ตักออกจากครกใส่ถ้วยไว้ เอาน้ำปลาร้าต้มหยอดใส่เล็กน้อย น้ำปลาซิดใส่ ผงนัวนิดโหน่ยพอให้หัวล้าน อย่าบีบมะนาวใส่เด็ดขาดเพราะจะทำให้เสียความเป็นป่นไป จากนั้นก็เอาข้าวเหนียวมาปั้นจ้ำลงไป ห้ามเอาโป้แนบเนื่องจากจะได้รับการตำหนิด้วยสายดาจาผู้ร่วมวง จบการนำเสนอ :D~ :D~ ไปหาป่นปลาก่อนเด้อ :D~ :D~ หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ กันยายน 10, 2010, 05:00:08 PM อิอิ เกิดไม่ทันอ่านในวัยเดียวกับคุณซับแน่นอนค่า ... ส่วนได้อ่านตอนเด็กหรือเปล่าจำไม่ได้แล้วเหมือนกันค่ะ ขอไประลึกอดีต (ชาติ?) ก่อนนะคะ อิอิ ::005:: ::005:: ::005:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 05:26:28 PM ขอบคุณสมาชิกทุกท่านอีกครั้งที่มาคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันสนุกสนานนะคะ สำหรับเรื่อง หัวใจน้ำหมึก หรือ inkheart ขอบอกว่าไม่เคยอ่านค่ะ คงไม่สามารถชวนคุยได้ ไว้หาอ่านได้แล้วจะกลับมาคุยด้วยนะคะ
ส่วนเรื่อง Alice in Wonderland หรืออลิสในดินแดนมหัศจรรย์นั้น เป็นหนังสือเด็กที่คงต้องใช้เวลาในการพูดถึงหน่อยเพราะว่า เป็นหนังสือที่มีประวัติความเป็นมาในวงการวรรณกรรมภาษาอังกฤษนานมาก และมีการวิเคราะห์กันทั้งในเชิงวรรณกรรมและเชิงจิตวิทยา จำได้ว่าตอนเรียนก็อ่านสนุกหรอก แต่ตอนต้องเลือกมาทำวิเคราะห์ส่งเป็นรายงาน กลับไม่มีใครเลือกเลย พูดถึงหนังสือฝรั่งๆ ไปแล้ว ก็ขอพูดถึงหนังสือวรรณกรรมเยาวชนไทยที่เพิ่งทำเป็นภาพยนตร์อย่าง "ความสุขของกะทิ" ของคุณงามพรรณ เวชชาชีวะ มั่งนะคะ หนังสือเล่มนี้ เป็นเล่มแรกของคนแต่ง จึงพอเข้าใจได้ว่าภาษาอาจไม่ลงตัวเท่านักแต่งที่ประสบการณ์ช่วงโมงบินเยอะกว่า แต่ความน่ารักของเรื่องนี้ คือการพูดถึงเรื่องการรับมือของความกล้าหาญ ความเสียสละ และความสุขของเด็กที่เรียบง่ายและในหลายแง่มุมลึกซึ้งกว่าของผู้ใหญ่ สำหรับเด็ก การได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับคนที่รักเขา อยู่อย่างเรียบง่ายก็เป็นความสุขแล้ว มากกว่าการแสวงหาสิ่งที่จับต้องไม่ได้ สำหรับผู้ใหญ่ อ่านแล้วน่าจะได้ภาพความรู้สึกประทับใจในความเรียบง่าย และความเป็นครอบครัวที่ไม่ได้จำเป็นว่า ทุกคนต้องเป็นญาติโดยสายเลือด หรือต้องอยู่กันพร้อมหน้าหมดถึงจะอบอุ่น เรื่องมีจุดด้อยไปหน่อยในเรื่องของการอธิบายว่าทำไมแม่ของกะทิถึงไม่ได้อยู่กับลูก แต่ก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องของความต้องการคนแต่งที่จะผูกเรื่องให้ได้พบกันทีหลังจึงต้องดำเนินเรื่องไปอย่างนี้ อย่างไรข้อควรระวังของคนใจอ่อนก็คือ ควรเตรียม tissue เผื่อไว้ซับน้ำตาตอนท้ายของเรื่องด้วยค่ะ หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 05:49:58 PM สำหรับภาพยนตร์ เรื่อง ความสุขของกะทิ นั้น มีอะไรให้ทั้งชมและติพร้อมๆ กัน สิ่งที่ติก็คือว่า การเลือกนักแสดงมารับบทกะทิ ยังไม่ดีพอ เพราะนอกจากจะดูโตเกินวัยของกะทิในเรื่องแล้ว น้องนักแสดงแม้จะหน้าตาพอใกล้เคียงกับในหนังสือ แต่การแสดงออกถึงอารมณ์ทางสีหน้าต่างๆ ยังไม่มากพอจะหว่านล้อมคนดูได้ นอกจากนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องปรับเรื่องการเลือกสถานที่/มุมกล้องอย่างมาก โดยเฉพาะมุมกล้องตอนช่วงของบ้านตากับยาย หลายตอนก็ดูน่ากลัว วังเวง หดหู่ หรือไม่ก็จัด setting ฉากแข็งเกินไป เช่นฉากทานข้าวนอกชานใต้ศาลา (ดูแล้วเหมือนยืมสถานที่ถ่ายทำมากๆ ดูขัดเขินไม่สมจริง) ยิ่งคนดูอ่านหนังสือมาแล้ว มาดูก็จะรู้สึกว่าขาดบรรยากาศเรียบง่ายสบายๆ ที่น่าประทับใจในหนังสือ และฉากที่กะทิพบกับแม่ก็เช่นกัน เล่นมุมกล้องมาก แต่ไม่ได้สื่อถึงสายตาหรืออารมณ์ของเด็กที่ตื่นเต้นและประหม่าที่จะเจอแม่ครั้งแรก (ประเภทมุมกล้องสะท้อนอารมณ์ตัวละครนี้ ลองนึกถึง Empire of the Sun ก็น่าจะพอเทียบได้นะคะ) หรือแม้แต่ฉากเปิดประตูไปพบตู้จดหมายของแม่ ก็ทำได้ไม่เสียอารมณ์พอควร :(
ส่วนสิ่งที่ต้องชมว่าดีมาก คือการ casting ดาราที่มาเล่นเป็นบทผู้ใหญ่ทุกตัว เพราะเลือกมาได้เหมาะกับบท และทุกคนก็เล่นได้พอดิบพอดีไม่มากก็น้อย (จะติหน่อยก็ตรงที่คุณน้อย วงพรู เสียงแหลมไปนิด ฟังแล้วขัดกับภาพตัวละครในหัวไปหน่อย แต่ถ้าไม่ใส่ใจเรื่องนี้ก็เล่นได้ดีมาก) หากภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้ดาราผู้ใหญ่ชุดนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่มีความต่อเนื่องของอารมณ์เลยก็ว่าได้ เพราะความสุขความเศร้าของกะทินั้น คนดูจะสัมผัสได้ก็จากปฏิกิริยาที่ผู้ใหญ่ในเรื่องมีต่อกะทิ ไม่ได้มาจากนักแสดงที่เล่นเป็นกะทิ บทที่เล่นได้เยี่ยมมากคือรัชนก แสงชูโต ที่เล่นเป็นแม่ของกะทิ และคุณอา ไมเคิล เชาวนาศัย สองคนนี้ บทยากคนละแบบ คนที่เล่นเป็นแม่ ยากตรงที่ต้องทำให้ตัวละครแม่ของกะทิที่ดูไม่มีเหตุมีผลว่าทำไมทิ้งลูกดูสมจริงให้ได้ และให้คนดูประทับใจและสงสารกะทิให้ได้ ส่วนคนที่สอง เป็นบทที่ต้องสลับไปมาระหว่างการทำตลกกับซีเรียส และในบทที่สลับมาซีเรียส ต้องทำให้คนดูเหมือนกะทิเข้าใจที่มาที่ไปของเรื่องได้ ซึ่งคุณไมเคิลเล่นได้ดี ไม่บกพร่อง ดูแล้ว เป็นตัวละครที่เดินเรื่องก็ได้ และเติมเต็มเรื่องให้ได้ดี ไม่นับว่าพยายามส่งอารมณ์ให้กะทิด้วย ::002:: อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าภาพยนตร์ไทยจะเป็นอย่างไร การที่จะทำให้ออกมาดีได้ก็ต้องมีทุน มีคนดู ดังนั้น แม้จะติเพื่อก่อ แต่ก็ถ้ามีโอกาสไปดู ภาพยนตร์ที่ตั้งใจสร้าง และสร้างจากหนังสือที่ดี ดิฉันก็จะพยายามไปดูค่ะ หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: โทน73 -รักในหลวง- ที่ กันยายน 10, 2010, 08:13:39 PM หนังสือ "เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก" มีตีพิมพ์สอง แบบครับ แบบแรกเล่มหนามีหลายตอน แบบหลัง มีคัดย่อเฉพาะบางตอนเป็นเล่มบางๆ
แฟนคอปืน ลองหา "หนุ่มชาวนา" มาลองอ่านดู มีเรื่องราวทัศนะคติเกียวกะปืน และการเอาตัวรอดของคนลูกทุ่งบ้านนอกปนอยู่ในเรื่องด้วย หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ กันยายน 11, 2010, 09:30:06 AM ความสุขของกระทิ ในรูปแบบภาพยนต์ ความเห็นของคุณ bluebunny ตรงใจผมมากๆครับ ::002::
หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: sig_surath7171 ที่ กันยายน 11, 2010, 01:48:01 PM (http://img831.imageshack.us/img831/2023/tevasartan.jpg) (http://img831.imageshack.us/i/tevasartan.jpg/)
Uploaded with ImageShack.us (http://imageshack.us) ชอบเรื่องนี้ครับ หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 12, 2010, 07:10:07 AM ขอบคุณทุกความเห็นค่า และจะพยายามจะหาอะไรใหม่ๆ มานำเสนอให้ถกกันนะคะ ส่วนหนังสือบางเล่มต้องขอโทษว่ายังไม่เคยอ่านค่ะ ไว้หาได้แล้วอ่านจบแล้วจะมาคุยนะคะ ::014::
สำหรับเรื่อง Angels and Demons ที่คุณซิกสุราษฎร์เสนอมานั้นไม่ใช่หนังสือ/ภาพยนตร์สำหรับเด็กนะคะ แม้อาจมีเด็กไปดูตามคุณพ่อคุณแม่ แต่ไหนๆ ก็เสนอมาแล้วก็จะขอพูดถึงหนังสือและภาพยนตร์เรื่องนี้สักเล็กน้อยนะคะ ในโอกาสที่เป็น 9/11 เมื่อวานนี้ และก็มีการพูดถึงความขัดแย้งทางศาสนาหลายที่ในโลก ::012:: หนังสือเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ Dan Brown ยังคงเขียนโดยอิงแนวนิยายผจญภัยประวัติศาสตร์ที่แฝงปรัชญาไว้ด้วย การเอาเรื่องของศาสนาคริสต์และตำนานของวาติกันมาผูกเป็นโครงในเรื่องนี้ก็ไม่ต่างกับเรื่อง Da Vinci Code เท่าไร โดยยังคงมีเป้าหมายให้คนอ่านนอกจากสนุกแล้ว ตั้งคำถามเกี่ยวกับศาสนาด้วย รวมทั้งสอดแทรกการวิจารณ์การบ้าศาสนาอย่างสุดขั้ว (Religious fanaticism) ด้วย โดยคนเขียนยังคงใช้วาติกันเป็นผู้ร้ายอยู่ เพียงแต่คราวนี้วิจารณ์ค่อนข้างตรงกว่าว่าวาติกันไม่ยอมปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นการบรรยายถึงรูปแบบการตัดสินใจ การพยายามปกป้องหวงแหนชื่อเสียงสถาบันของวาติกัน ฯลฯ แต่คราวนี้ เปลี่ยนจากการที่วาติกันดูเหมือนไม่ยอมรับความเป็นมนุษย์ของพระเยซูใน Da Vinci Code (พระเยซูอาจมีครอบครัว) มาเป็นไม่ยอมรับความเป็นมนุษย์มีสิทธิมีความรัก มีลูก ของพระในวาติกันเอง (ที่หลวงพ่อผู้ร้ายเป็นลูกนอกสมรสอดีตพระเหมือนกัน) ในเรื่องนี้ ความบ้าคลั่งของหลวงพ่อผู้ร้ายอาจมองได้ด้วยอีกแง่ว่าเป็นการสะท้อนการงมงายเชื่อในศาสนาจนขาดความยั้งคิดและหลับหูหลับตา และการไม่ยอมรับวิทยาการใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งที่วิทยาศาสตร์กับศาสนาอยู่คู่กันได้ และเสริมกันและกัน ไม่ได้แปลว่าหากค้นพบสิ่งใดที่พิสูจน์ว่ามนุษย์สร้างโลกได้ แล้วพระเจ้าหรือความเชื่อในศาสนาจะยังไม่สำคัญต่อมนุษย์ :) สำหรับ Dan Brown หากอ่านดูแล้วจะเห็นได้ว่า ศาสนาเป็นเรื่องที่เขาให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นบรรทัดฐานความดีความชั่วของมนุษย์แล้ว ยังเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวและเป็นตัวอย่างของการคิดการอ่าน การมองโลกของคนด้วย เพราะศาสนามีพระเจ้าอย่างศาสนาคริสต์นั้น การเชื่ออยู่ในตัวพระเจ้าและความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าถือเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ หากกลุ่มคน (วาติกัน) ที่ควรส่งเสริมความเชื่อมั่น ความหวังที่เกิดจากการศรัทธาว่าพระเจ้ามีอยู่จริง ไม่เข้าใจพระเจ้า (พระเยซูในเรื่อง Da Vinci Code) ไม่เข้าใจการอยู่ร่วมกันของวิทยาศาสตร์กับพระเจ้า (การวิจัยของ CERN ใน Angels and Demons) แล้ว และเลือกไปส่งเสริมการเชื่ออย่างงมงาย ก็ย่อมเกิดวิกฤตต่อโลก :o สิ่งที่อาจจะติได้ในเรื่องนี้ ก็คือตา Dan Brown ดูมีความเห็นที่ออกแนวต่อต้านสถาบันหน่อยๆ ( anti-establishment) ดังเช่นมุมมองที่มีต่อวาติกัน แต่อันนี้ดิฉันก็ยังไม่อยากฟันธงว่า ร้อยเปอร์เซ็นต์จนกว่าจะได้เห็นงานอื่นๆ ของแกต่อมาอีก และก็ความน้ำเน่าพอควรในการเขียนพระเอกเสียเก่งเว่อร์ประมาณเจมส์บอนด์เวอร์ชั่นศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์-ปรัชญา แถมมีนางเอกฉลาดและสวยหุ่นเก๋มาอีก ดูแล้วขัดหูขัดตามาก :P และบทผู้ร้ายยังไม่มีการพัฒนาภูมิหลังเพียงพอ (ยังไม่น่าเชื่อถือพอในเรื่องของความบ้าว่าจะมีที่มาที่ไปแค่นั้น) สำหรับภาพยนตร์ นับว่าผู้กำกับฉลาดพอจะตัดฉากเว่อร์ๆ อภินิหารของพระเอกออกไปเยอะ (แอบดีใจ) และภาพยนตร์เรื่องนี้โชคดีที่มีทอม แฮงส์ ที่นับวันก็เล่นดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่งั้นตัวละคร Robert Langdon นี่ก็คงไม่น่าเชื่อถือ และจะดูเป็นภาพยนตร์ตลกไปแทน และจะเสียความเป็นปรัชญาของเรื่อง รวมทั้ง ผู้กำกับก็ไม่ได้พยายามทำให้ผู้ร้ายดูเป็นผู้ร้ายเกินไป แต่ถ้าจะหลอกลวงคนดูให้เนียนกว่านี้ ก็น่าจะหานักแสดงที่เด็กและเล่นสองบุคลิกได้ดีกว่ายวน แมคเกรเกอร์หน่อย อาทิ หล่อแบบร้ายๆ จะได้ดูสมบทบาทกว่านี้ :-\ และควรปูพื้นอารมณ์ก่อนไปถึงฉากเผาตัวของผู้ร้ายเสียหน่อย การเปิดฉากที่ CERN ก็น่าจะปรับปรุงได้ เพราะดูแล้วอย่างกับไปถ่ายใต้ถุนสนามกีฬา เพราะท่อที่ใช้ส่งอะตอม (?) วิ่งไปชนจนเกิดบิ๊กแบงมันดูราคาถูกมาก (ของ CERN ที่เป็นข่าวและมีภาพข่าวเสนอทีหลังดูหน้าตาขึงขังกว่าเยอะ) ฉากการลงไปสืบสวนที่ใต้ถุนวาติกันก็ดูลึกลับน่ากลัวน้อยไป (ในหนังสือดูจะทะมึนกว่านี้) ส่วนฉากที่ต้องเห็นใจคือฉากเอาพระคนนึงไปถ่วงน้ำที่น้ำพุ ดูแล้วหากใครเคยไปโรมจะเห็นว่าไม่น่าเชื่อถือเลยเพราะพลาซ่าที่มีน้ำพุที่ว่านี้ (จำไม่ได้แล้วว่าชื่ออะไร) มันแสนจะพลุกพล่าน แต่อย่างไรก็ตาม หนังสือก็เขียนไว้อย่างนั้นจริงๆ ผู้กำกับก็เลยคงจนใจ :) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 12, 2010, 07:33:29 AM ในภาพยนต์ แองเจิลฯ ที่เอาคนไปถ่วงน้ำคือที่ Piazza de Navona ครับ สร้างตามกรอบพื้นที่สนามกีฬาโรมันเก่า รูปสลักหินอ่อนที่น้ำพุเป็นฝีมือของ เกียนลอเรนโซ แบนีนี ศิลปินเอกในศตวรรษที่ ๑๗
หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: newfoon ที่ กันยายน 12, 2010, 04:29:29 PM เรื่องนี้ได้ดูแล้วเหมือนกันค่ะ ;D
หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 18, 2010, 06:45:29 PM หายไปนานหน่อย ต้องขออภัยค่ะ เพิ่งจะมีเวลานั่งลงหน้าคอมพิวเตอร์ :~)
สำหรับหนังสือ/ภาพยนตร์วันนี้ ที่จะพูดถึงคือ Alice Adventures in the Wonderland หรือเรียกสั้นๆ ว่า Alice in Wonderland ของ Lewis Caroll นะคะ ;D หนังสือเรื่องนี้ พูดถึงการผจญภัยของเด็กผู้หญิงชื่ออลิส ซึ่งไล่ตามกระต่ายขาวจนตกลงไปในโลกใต้ดินที่เป็นโลกอันแปลกประหลาดเต็มไปด้วยการผจญภัยตื่นเต้น ภูมิหลังของเรื่อง ก็คือ Lewis Caroll หรือสาธุคุณ Robinson Duckworth (ชื่อจริงของ Lewis Caroll) เล่าว่า วันหนึ่งแกได้พาเด็กๆ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกของเพื่อน (? จำไม่ได้แล้ว) ของแกไปเที่ยว ระหว่างเที่ยวเล่นแกก็เล่านิทานที่กลายเป็นเรื่องนี้ (ในจำนวนเด็กๆ เหล่านี้ มีคนหนึ่งชื่ออลิส ด้วย) ว่ากันว่า เด็กๆ ชอบเรื่องที่สาธุคุณเล่ามากจึงขอให้เขียนเป็นนิทานให้ ซึ่งในที่สุดหลังจากสักพักแกก็ตกลงเขียนให้และวาดรูปประกอบให้ด้วย ต่อมา แกก็เลยตัดสินใจตีพิมพ์ด้วย หนังสือเล่มนี้ก็เลยดังระเบิดขึ้นมาเพราะว่าเป็นนิทาน/นิยายแฟนตาซีแบบที่ไม่มีมาก่อน และค่อนข้างจะแหวกแนวสนุกสนานเด็กๆ ก็ชอบที่จะได้จินตนาการและผู้ใหญ่ก็ชอบเพราะแปลกสนุกสนานดี :) ในแง่ของการวิเคราะห์ หนังสือเล่มนี้สร้างความปวดหัวให้แก่นักเรียนวิชาวรรณกรรมวิเคราะห์พอสมควร เพราะความเป็นแฟนตาซีของเรื่องนั้น หากพยายามตีความเป็นในแง่ของจิตวิทยาก็ตีความได้กว้างและหลากหลายมาก โดยหากมองว่าเป็นการเขียนอย่างแฝงแนวคิดด้านจิตวิทยา ก็จะพบว่า เรื่องของอลิสจริงๆ แล้วสะท้อนการรับมือของเด็กกับการโตเป็นผู้ใหญ่ การรับมือกับอารมณ์ของตัวเอง การรับมือกับอารมณ์ของคนอื่น ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของตนเอง การเชื่อฟังสัญชาติญาณตัวเอง ฯลฯ นอกจากนั้น ก็เป็นการแสดงให้ผู้ใหญ่รู้ด้วยว่าเด็กๆ มองโลกของผู้ใหญ่อย่างไร ซึ่งสำหรับประเด็นหลังนี่ขอเล่าในตอนต่อไปนะคะ ;) - การรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย นอกจากเรื่องที่อลิสมีปัญหากับการบังคับร่างกายให้เคลื่อนไหวอย่างใจแล้ว (ถ้าจำไม่ผิดมีปัญหาเรื่องเท้าไม่ยอมเคลื่อนไหวอย่างใจ และอลิสต้องคุยกับเท้าของตัวเอง) นอกจากนั้น การที่อลิสทานขนม Eat me ในโลกใต้ดินแล้วตัวใหญ่ลง และพอดื่มน้ำในขวด Drink me แล้วตัวเล็กลง จะมองว่าเป็นการสะท้อนความฝันของเด็กในเรื่องของการอยากตัวเล็กตัวใหญ่ได้อย่างใจก็ได้ (ใครเคยอ่านโดราเอมอนคงจำได้ว่า การย่อขนาดขยายขนาดมีอยู่บ่อยมาก) หรือจะตีความให้ลึกกว่านั้น ก็หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กในช่วงเป็นวัยรุ่นนั่นเอง :o การกินขนม Eat me และอื่นๆ ในเรื่อง ก็แฝงนัยว่า การทานอาหารจะทำให้ร่างกายเติบโต เอาชนะภัยต่างๆ ได้ (ควีนโพธิ์แดง) เรื่องอาหารนี้ถือว่าสำคัญค่ะ ลองนึกถึงการกินอาหารของเด็กดูนะคะ ว่า ไม่ใช่เด็กทุกคนชอบกินอาหารและคนที่ชอบกินก็ไม่ได้ชอบกินทุกอย่าง (พ่อแม่น้าอาทั้งหลายคงเคยมีประสบการณ์การหลอกล่อป้อนข้าว) ยิ่งเมื่อเริ่มโตเป็นวัยรุ่น เด็กผู้หญิงไม่ว่ายุควิคตอเรียนหรือยุคนี้ต่างก็พยายามลดน้ำหนัก เพราะกลัวไม่สวย (ตอนนี้ก็ยังมีข่าวนางแบบดารา ผอมขาดอาหารเป็นโรค anorexic) :-\ ส่วนเค้กในตอนท้ายที่มีตัวละครอื่นๆ ปาใส่อลิส ซึ่งพอทานแล้วขนาดตัวลดลงก็ยิ่งย้ำว่า การกินอาหารจะทำให้ทุกอย่างกลับมาปกติดี สอดคล้องกับที่พูดไปแล้ว แต่การกินก็ต้องดูด้วยว่ากินให้พอดี เช่น ตอนที่อลิสไปบิเอาเห็ดมากัดแล้วตัวยืดไปมาอย่างแปลกประหลาด แต่มีเกร็ดให้น่าเสียดายว่า พอในยุค 60 คนวัยรุ่นฮิปปี้อังกฤษกลับนำเรื่องกินดื่ม เห็ดวิเศษ เค้ก (ยัดไส้กัญชา) และการโดดลงรูกระต่าย เป็นการพูดถึงอาการเมายา และพาลบอกว่าเป็นนิยายของขี้ยาไปเสียนี่ :P ส่วนที่การดื่มทำให้ร่างกายเล็กลง ซึ่งหากมองให้ลึก การดื่มในที่นี้ to drink ซึ่งในภาษาอังกฤษ หากใช้โดดๆ ก็มีความหมายรวมถึงการดื่มเหล้าได้อยู่แล้ว (ลองนึกถึงคำถามประเภท do you drink? ดูนะคะ ไม่ได้หมายความว่า ดื่มน้ำหรือเปล่า แต่หมายถึงดื่มเหล้า) การเล็กลงไม่ได้หมายถึงดื่มอะไรแล้วร่างกายหด แต่หมายถึงสติ และความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองจะลดลงหากดื่ม การดื่มเหล้าเมื่อดื่มแม้เล็กน้อยอาจปลดปล่อยให้เราเป็นอิสระ (จากพันธะของโลกปัจจุบัน) ทำให้ท่องเที่ยวจินตนาการไปที่อื่นๆ ได้ (อลิสลอดประตูบานจิ๋วไปได้ เหมือนที่คนเมาบางคนเมาแล้วโม้สุดๆ หรือเดินเป๋ไปได้ทั่วซอย) แต่ก็ทำให้คนที่ดื่ม (อลิส) เปราะบางเสี่ยงต่ออันตรายต่างๆ ด้วย (ลองอ่านดูในช่วงที่อลิสตัวเล็กลงดูนะคะ คนอ่านจะรู้สึกลุ้นหนาวๆ ร้อนๆ แทน) :-X นอกจากนี้ การตัวใหญ่ขึ้น/เล็กลงก็เกี่ยวกับหัวใจของเรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นวัยรุ่นด้วย เพราะหากใครยังจำได้ เมื่อเป็นวัยรุ่นแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว ความสูงที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว ที่ขัดแย้งกับความมั่นใจในตัวเองที่หดหาย (จะด้วยสิวหรืออะไรก็ตามแต่) ก็เป็นสิ่งที่ว้าวุ่นในใจวัยรุ่นทุกคน ถ้าถามว่าทำไมอลิสถึงต้องกิน และดื่มให้ตัวขยาย/หด ทำไมไม่เป็นหวีผมหรือแปรงฟันแล้วตัวขยาย/หด นอกจากแนวอธิบายในข้างบนแล้ว ก็อาจจะด้วยว่า Lewis Caroll ด้วยความที่เป็นสาธุคุณก็อดไม่ได้ที่จะใช้เรื่องของการทานการดื่ม จากพิธีรับศีลมหาสนิท (Communion) เป็นสัญลักษณ์ของการพูดถึงการเปลี่ยนแปลง/การก้าวผ่านจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ :) เพราะในศาสนาคริสต์ เด็กจะรับศีลมหาสนิท เพื่อยืนยันในการเชื่อในพระเจ้าตอนวัย 5-6 ขวบ (ทานขนมปังเสกซึ่งแทนร่างกายพระเยซู และในบางกรณีก็จิบไวน์ ซึ่งแทนพระโลหิตพระเยซู ถือเป็นการรับพระเจ้าเข้ามาสู่ในตัว) แสดงถึงการเติบโตทางจิตวิญญาณด้วย :) - การรู้จักตนเอง/การรับมือกับอารมณ์ของตนเอง ในหนังสือเรื่องนี้ อารมณ์ที่อลิสแสดงจะเป็นอารมณ์/ความคิดที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา ซื่อบริสุทธิ์อยู่มากเหมือนเด็ก (ที่ยังไม่แก่นแก้วก๋ากั่นคลั่งไคล้เกาหลี) การร้องไห้ตอนเปิดฉากก็แสดงให้เห็นเหมือนกันถึงอารมณ์ความกลัว ความหวาดหวั่นในใจของเด็กที่ต้องเผชิญหน้ากับโลกข้างหน้าที่ไม่รู้จัก พอๆ กับว่าเป็นเรื่องธรรมดาของวัยรุ่นที่โตไปก็จิตใจอ่อนไหวหวั่นไหวไปมาง่าย หนังสือเรื่องนี้ พูดถึงความสับสนในตัวตนของตัวเองบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นจากตอนที่อลิสพบกับหนอนยักษ์แล้วอลิสสารภาพว่าไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร หรือการที่มีแมว (ดูเหมือนจะเป็นตัวแทนจิตใต้สำนึก/ สัญชาติญาณ ที่คอยปกป้องอลิสอยู่ห่างๆ ) เพราะหลายอย่างที่แมวพูดก็คือปรัชญาหรือสิ่งที่อลิสเหมือนจะรู้อยู่แล้วแต่ไม่แน่ใจ ประโยคที่ดิฉันพอจะจำได้ก็เช่นที่ อลิสบอกว่า "ฉันไม่รู้ว่าฉันจะเดินไปที่ไหน" และแมวเชสชาย ตอบว่า "หากเธอยังคงเดินต่อไปเรื่อยๆ เธอก็จะได้ไปถึงสักที่เองแหล่ะ" หรือที่อลิสพูดเองเมื่อเห็นรอยยิ้มของแมวเชสชายเหลือลอยอยู่ในอากาศแต่ตัวแมวหายไปแล้วว่า "ฉันไม่เคยเห็นแมวมีรอยยิ้ม แต่ก็ไม่เคยเห็นรอยยิ้มโดยไม่มีแมวให้เห็น" หากคิดให้ลึกหน่อย ประโยคสุดท้ายก็อาจหมายถึงว่า แมวตัวแรกในประโยคคือแมวในโลกความเป็นจริงที่ไม่เคยยิ้ม มีความเป็นส่วนตัวเอกเทศ คาดเดาไม่ถูก แต่เป็นตัวแทนของบ้านของโลกบนดินของอลิส (สังเกตได้เด็กๆ ไม่ว่าจะวัยใดก็จะติดสัตว์เลี้ยงมากเป็นพิเศษมากกว่าพ่อแม่หรือพี่น้อง) ส่วนแมวตัวที่สอง คือสัญชาติญาณของอสิลเองที่คอยเตือนตัวเองให้มีกำลังใจ ให้คิดวิเคราะห์เรื่องต่างๆ (แต่แน่นอนความคิดคนเราก็หลอกลวงตัวเองบ่อยครั้ง เหมือนแมวเชสชายเจ้าเล่ห์นั่นเอง) ??? จะเห็นได้ว่า อลิสพูดกับตัวเองบ่อยมาก (เหมือนวัยรุ่นชอบเขียนไดอารี่ หรือเดี๋ยวนี้ก็บันทึกเฟซบุ๊ค) แต่ในแง่วรรณกรรมการที่ตัวละครค่อยๆ คุยกับตัวเองค่อยๆ เจริญเติบโตทางความคิด ถือเป็นสิ่งที่แสดงคุณค่าของงานเขียนนั้นๆ อย่างมาก เหมือนตัวละครของเชคสเปียร์ ที่ทุกตัวชอบรำพึงรำพันกับตัวเอง (ยิ่งโรคจิตยิ่งรำพึงหนัก) แต่ในการรำพึงรำพันของตัวละคร เราจะเห็นสิ่งที่อยู่ในใจ และความคิดที่ค่อยๆ เปลี่ยนของตัวละคร เป็นความงาม/แง่คิดอย่างหนึ่งที่เราเอาไปวิเคราะห์ความคิดของเราเองก็ได้ (พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับพอเราได้อ่านแล้วว่าความคิดแบบนี้ นำไปสู่การกระทำแบบที่ไม่ดีของตัวละคร เราเองก็จะได้ระวังความคิดของเราด้วย เพราะมนุษย์เรานั้น ความคิดเป็นสิ่งบงการการกระทำ) ;) - การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ การที่อลิสคอยพูดแต่ถึงแมวของตัวเอง จนกระทั่งทำให้สัตว์อื่นๆ ในโลกใต้ดินหนีไปก็แสดงถึงความหมกมุ่นสนใจแต่โลกส่วนตัวของเด็กกำลังเป็นวัยรุ่น ที่ไม่ค่อยสนใจว่าคนรอบตัวจะรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ตัวเองแสดงออกมาหรือสิ่งที่ตัวเองกระทำ แต่เมื่ออ่านขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งอลิสเห็นนิสัยของผู้ใหญ่ การแสดงออกของผู้ใหญ่ที่สะท้อนออกมาเป็นความบ้าของตัวละครรอบๆ อลิสก็เริ่มเรียนรู้ที่จะเชื่อมั่นในตัวเอง และในที่สุดก็สามารถยืนหยัดต่อต้านสิ่งที่ตนเองเห็นว่าผิดพลาดไม่ยุติธรรมได้ เช่น ตอนที่อลิสลุกขึ้นทลายศาลของพระราชินีโพธิ์แดง หรือตอนท้ายที่อลิสมองว่า ทุกอย่างเป็นไพ่แค่กองเดียว ซึ่งในแง่ปรัชญาหากมองให้ลึกซึ้งก็คือ การที่ผู้เขียนสรุปว่า ในชีวิตโชคชะตาการโชคร้าย (ขึ้นศาล) การโชคดี (ผจญภัย) นั้น ก็คือเป็นเสมือนการพนันที่พอเลิกเล่น เลิกใส่ใจ หมกมุ่น ก็ไม่ได้มีความหมายพอที่จะกระทบกระเทือนจิตใจเราได้ หากใครพอจำภาพยนตร์เรื่อง Labyrinth ที่มี Jennifer Connelly ตอนเป็นสาวน้อยเล่นเป็นนางเอกได้ (ถ้าไม่มัวมองหน้านางเอกกันจนลืมดูเรื่องนะคะ) ตอนจบของเรื่องนี้ก็คล้ายกับอลิสในดินแดนมหัศจรรย์ โดยประโยคของ Jennifer Connelly ในเรื่องที่ว่า "you have no power over me" ทำให้โลกเวทย์มนตร์ที่น่ากลัวหายไปหมด ก็เหมือนกันกับการที่อลิสบอกว่า ทั้งหมดเป็นแค่ไพ่กองเดียว ซึ่งในแง่วรรณกรรมถือเป็นการแสดงถึงการก้าวผ่านของตัวละครเด็กไปสู่ผู้ใหญ่ ::002:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 18, 2010, 09:46:32 PM ขออนุญาตเสริมคุณ bluebunny ครับ...
-โรคที่เบื่ออาหารแล้วอาเจียนหลังกินอาหารจนเกิดภาวะขาดอาหารชื่อ Anorexia nervosa ครับ... -เรื่อง Labyrinth ที่น้อง เจนนิเฟอร์ คอนเนลลี่ เล่นเป็นหนังเก่ามากครับ... ขนาดผมได้ดูสมัยมัธยมแน่ะครับ แต่น่ารักมากมายครับ... :VOV: (http://i168.photobucket.com/albums/u172/DevilHunterYohko/Labyrinth/Jennifer-Connelly---Labyrinth-Photo.jpg) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 19, 2010, 01:47:53 AM นางเอกสำหรับวัยรุ่นชายทั่วโลกซึ่งตอนนี้มีอายุ ๓๐-๔๕ ปีครับ อิ อิ :VOV:
Labyrinth - As The World Falls Down (David Bowie) (http://www.youtube.com/watch?v=VppuD1St8Ec#noexternalembed) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 20, 2010, 12:39:11 AM ขอบคุณคุณหมอรุจน์กับคุณ D. Quijote ค่ะ ที่มีเกร็ดมาเสริม แหมพอพูดถึง Jennifer Connelly นี่ รู้สึกจะมีท่านสมาชิกผู้ชายเข้ามาคอมเมนต์กันใหญ่เลยนะคะ อิอิ ;D
โอเค เรากระโดดลงโพรงกระต่ายอลิสมาแล้ว เราก็มาคุยกันต่อถึงการผจญภัยของอลิสในดินแดนมหัศจรรย์นะคะ นอกจากการวิเคราะห์ในแง่เป็นงานเขียนที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นวัยรุ่นแล้ว หนังสือเรื่องนี้ พูดถึงมุมมองของเด็กต่อโลกผู้ใหญ่ ซึ่งแฝงไว้ด้วยการวิจารณ์เสียดสีนิดหน่อยของคนแต่ง เช่น ในเรื่องของธรรมเนียมการดื่มชา ซึ่งคนอังกฤษติดเป็นนิสัย และเป็นกิจกรรมทางสังคมของผู้ใหญ่ ที่ในสายตาของเด็กๆ ดูว่าบ้าบอและน่าเบื่อ มีทั้งคนพูดไม่รู้เรื่อง คนขำกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง คนพูดจาเป็นนัยลับลมคมใน (Mad Hatter ชอบถามคำถามลับสมองแปลกๆ) ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าเป็นกิจกรรมที่คนอื่นที่ไปร่วม หรือแม้แต่เด็กๆ จะสนุกด้วยสักเท่าไร (หรือแม้แต่ตัวละครหนูในงานเลี้ยงนี้ก็หลับตลอดศก) :D แม้แต่เรื่องของกฎเกณฑ์ กฎระเบียบต่างๆ ในโลกผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเรื่องของการแสดงอำนาจ การละเล่น และการตัดสินว่าใครผิดใครถูก (ในช่วงที่อลิสพบกับพระราชินีโพธิ์แดง) ทั้งหมดนี้ ดูสับสน ดูไม่เป็นธรรม ดูวุ่นวายและไม่สมเหตุผล เหมือนกับว่าผู้ใหญ่บางครั้งก็ทำอะไรเพราะต้องทำ หรือเป็นขนบธรรมเนียมที่ทำกันมาจนลืมว่า ทำทำไม หรือมีเหตุผลหรือไม่ (เช่นเอานกฟลามิงโกไปตีลูกบอลที่เป็นตัวเม่น) :o ในแง่การวิจารณ์สังคมยุคที่หนังสือเขียนขึ้น ซึ่งก็คือยุควิคตอเรียน ก็จะพบว่า มุมมองของอลิสข้างต้นก็แอบวิจารณ์ความยึดติดธรรมเนียมของสังคมวิคตอเรียนพอควร เนื่องจากยุควิคตอเรียนเป็นยุคที่คนอังกฤษ บ้าธรรมเนียม บ้าความเป็นอังกฤษจ๋ากันสุดๆ ด้วยเป็นยุคที่อังกฤษกำลังอู้ฟู่ อิ่มตัว มีชีวิตสบายๆ คนรวยคนชั้นสูงมีกิจกรรมทางสังคมที่พักผ่อนหย่อนใจจำนวนมาก (แต่ไม่ได้มีสาระสักเท่าไร) เช่น แข่งม้า ตีครอเก็ต ดื่มชา ปลูกกุหลาบ ฯลฯ ความหรูหราร่ำรวยนี้ยิ่งสนับสนุนการตีกรอบทางความคิด เพราะในยุคนี้ ชนชั้นสูงอังกฤษก็ได้พยายามวางตัวเป็นแบบอย่างในทุกเรื่อง นอกจากในเรื่องการทำตัวไฮโซแล้ว ก็ยังรวมถึงเรื่องการมีความคิดแบบอนุรักษ์นิยมจัดๆ ด้วย :-X ความอนุรักษ์นิยมของยุควิคตอเรียนนี้ค่อนข้างมากจนทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ โดยคนอังกฤษก็เลยกลายเป็นพวกมีความเก็บกดแสวงหาทางออกผ่านทางงานเขียน งานวรรณกรรมแฟนตาซี ที่แปลกประหลาดกันเยอะ หนังสือเรื่องแดรกคูล่า ขายดีมากในยุควิคตอเรียน พอๆ กับนสพ.ข่าว Jack the Ripper และแน่นอน เรื่อง อลิสก็ขายดีด้วย เพราะเป็นทางออกให้คนจินตนาการได้มากมาย :) นอกจากนั้น การแฝงแง่คิดเกี่ยวกับการเติบโตทางความคิดและจิตวิญญาณ (การที่อลิสตกน้ำตอนเปิดฉากเล่าเรื่องก็เปรียบเสมือนพิธีศีลจุ่ม (baptism) ก็สามารถสื่อถึงจิตใต้สำนึกคนอ่านที่เป็นอังกฤษและเป็นคริสต์ได้) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 20, 2010, 12:52:15 AM ในแง่มุมของความเป็นศิลปะ อลิสในดินแดนมหัศจรรย์ มีคุณค่าต่อวงการวรรณกรรม เพราะถือเป็นหนังสือเล่มแรกๆ ของโลกที่เป็นนิยายแนวแฟนตาซีสมบูรณ์แบบ และเปิดประตูให้กับนิยายแนวแฟนตาซีอีกมากมายที่จะตามมา :D
นอกจากคนเขียนนอกจากจะใช้สัญลักษณ์แฝงไว้ตามจุดต่างๆ แล้ว (อารมณ์เป็น ดาวินชีโค๊ดให้คนอ่าน) แกก็ยังอุตส่าห์หาแรงบันดาลใจจากงานเขียนในโลกวรรณกรรมภาษาอังกฤษที่ดังๆ มาใช้อีก เช่น เรื่อง Inferno ของ Dante ที่บรรยายถึงการเดินทางไปในโลกสวรรค์ นรก และโลกกึ่งกลางที่วิญญาณล่องลอยเพื่อรอก้าวผ่านไปลงนรกหรือขึ้นสวรรค์ ภาพวาดประกอบเรื่องอลิสที่คุณ Lewis Carroll วาดเองในฉบับแรกๆ นั้น มีนักวิจารณ์หลายคนบอกว่าเหมือนภาพประกอบในหนังสือ Inferno ที่ว่าเลย ซึ่งก็ไม่แปลกหากแกจะอ่านเพราะว่า เป็นนิยายภาคบังคับของคนเป็นพระในศาสนาคริสต์ ไม่นับว่า ยังมีการยืมบุคลิก/คำพูดของควีนโพธิ์แดงจากตัวละครเชคสเปียร์ดังๆ มาอีก :) นอกจากนั้น หากท่านสมาชิกใด ได้อ่านเป็นภาษาอังกฤษของต้นฉบับจะเห็นได้ว่า คุณ Lewis Carroll เป็นคนที่ขยันเล่นกับสำนวนภาษาไปมามาก เช่น เรื่องของคำทายปัญหาของ Mad Hatter ที่ถามอลิสว่า อีกา กับโต๊ะทำงานเหมือนกันอย่างไร คำตอบก็คือ ทั้งสองอย่างมี ink quill ที่แปลว่า มีปากกาขนนกที่ใช้กับหมึกดำ หรือมีขนนกสีดำ และ ทั้งสองอย่างมี "bill and a few notes" ซึ่ง bill แปลว่า ใบเสร็จก็ได้ จงอยปากของนกก็ได้ ส่วน few notes จะแปลว่า เอกสารสองสามฉบับ หรือจะแปลว่า โน๊ตไม่กี่ตัว (เพราะอีกาเสียงไม่เพราะร้องเพลงได้ไม่กี่โน๊ต) ก็ได้ ;D แรงบันดาลใจจากเรื่องนี้ คงจะเห็นได้จากการที่แม้ในปัจจุบัน ก็ยังมีการขอยืมภาพ/ความคิด concept ของเรื่องมาใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะมากมาย ตั้งแต่ถ่ายแบบแฟชั่น (เพราะมันสวยดี) จนถึงอัลบั้มเพลงของคุณ G. Stefani :) ที่วัย 20 ++ น่าจะเคยได้ฟังได้เห็น หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 20, 2010, 01:19:48 AM เมื่อพูดถึงหนังสือจบแล้ว ก็ขอชวนคุยเรื่องของภาพยนตร์เรื่องอลิสในดินแดนมหัศจรรย์ที่เพิ่งทำเป็นภาพยนตร์โดยมี Tim Burton กำกับนะคะ
ก่อนอื่นต้องขอชมว่า เป็นการเลือกผู้กำกับได้เหมาะกับหนังมาก :VOV: เพราะหากเป็นผู้กำกับเพี้ยนน้อยกว่านี้ ก็คงไม่ได้ภาพที่สวยสมกับจินตนาการของหนังสือ และการเลือกตัวละครก็เลือกได้ดี ทั้งอลิส แมดแฮตเตอร์ ควีนโพธิ์แดง ทวิเดิ้ลดีทวิดเดิ้ลดัม และการที่เลือกเล่าเรื่องโดยพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นสู่วัยผู้ใหญ่ ก็เป็นการตีความที่ไม่ผิดจากแก่นเรื่องในหนังสือ โดยการทำให้อลิสหนีการแต่งงาน หรือมีความเห็นแตกต่างจากคนในสังคมผู้ใหญ่รอบๆ ก็ถูกต้อง และทำให้คนดูรู้สึกสงสารอลิส และเข้าใจเนื้อหาของเรื่องได้มากขึ้น การที่ผู้กำกับซื่อสัตย์ต่อประเด็นสำคัญๆ ที่เป็นจุดหักเหของเรื่อง เช่น การดื่ม/กินให้ตัวเล็กตัวใหญ่ การทำให้งานเลี้ยงน้ำชาวุ่นวายบ้าบอ การพบควีนโพธิ์แดงในสวนกุหลาบ ก็น่านับถือ การพยายามให้ตัวละครมีที่มาที่ไปก็ดี เช่น การสร้างประวัติให้แมดแฮตเตอร์ ก็ใช้ได้ :) ข้อติ ก็คือความพยายามทำให้ภาพยนตร์มีช่วงขบขันมากไปนิด เลยดูเหวอๆ ไปบางตอน นอกจากนั้น เรื่องการไปพิฆาตมังกรร้ายก็ดูออกจะเป็นโจนออฟอาร์คไปนิด ไม่นับว่า มีเรื่องของควีนสีขาวอีก (ดูแล้วเหมือนยืมมาจากนิทานของฮันส์ คริสเตียน อันเดอร์สัน คนแต่งนางเงือกน้อย) แต่ก็เข้าใจว่าผู้กำกับต้องการให้เห็นชัดๆ ถึงความกล้าหาญของอลิส และการค้นพบตัวเองของอลิสในที่สุด พร้อมๆ กับไม่ให้ขัดกับแนวของหนังสือที่มีกลิ่นอายของศาสนา (การพิฆาตมังกรเป็นเรื่องที่ปรากฏในตำนานนักบุญคริสต์เยอะมาก) :) สำหรับประเด็นเรื่องของแมดแฮตเตอร์ดูเหมือนจะแอบชอบนางเอก แต่นางเอกไม่ชอบตอบนั้น ก็ไม่ถือว่าผิดเท่าไร เพราะว่า อันที่จริงแล้ว คุณ Carroll แกก็แต่งภาคต่อของอลิสในดินแดนมหัศจรรย์ไว้ด้วย ในภาคต่อ บรรยากาศของเรื่องจะดูอึมครึมกว่า เพราะอลิสเริ่มโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว คนแต่งก็เขียนเหมือนกับแสดงความเสียดายความไร้เดียงสาของอลิสด้วย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ผู้กำกับของประทับใจเลยเอามาใส่ไว้ให้แมดแฮตเตอร์ด้วย ??? อย่างไรก็ตาม อลิสในดินแดนมหัศจรรย์เป็นนิยายแฟนตาซี ที่สนุกสนาน ไร้สาระแต่ไม่ไร้แก่นสาร สำหรับเด็กก็ใช้เป็นนิยายที่เสริมสร้างจินตนาการให้กว้างไกลได้ สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นพ่อแม่ก็ใช้บางประเด็นหยิบมาสอนได้ เช่น เรื่องของการใส่ใจความรู้สึกคนอื่น การไม่กลัวที่จะพูดเมื่อถึงเวลาที่จะพูด ฯลฯ สำหรับคนอ่านทุกเพศทุกวัย ใครจะไปรู้เราก็อาจจะได้แง่คิดน่าสนใจก็ได้ Tut, tut, child! Everything's got a moral, if only you can find it. จุ๊จุ๊ เด็กน้อย! ทุกอย่างมีข้อคิดทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเธอจะหาเจอหรือไม่ :DD หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 20, 2010, 02:09:24 AM ประโยคสุดท้ายนี่มาจากหนังสือฉบับเต็มใช่ไหมครับ?
หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 20, 2010, 04:45:57 PM ใช่แล้วค่ะ เป็นบทพูดของดัชเชส เจ้าของแมวเชสชายค่ะ
ประโยคสุดท้ายนี่มาจากหนังสือฉบับเต็มใช่ไหมครับ? หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: Don Quixote ที่ กันยายน 20, 2010, 05:03:56 PM นายกอังกฤษคนที่แล้วหน้าเหมือนแมวเชสไชน์ ::005::
แต่ยังไงก็สู้นายกสเปนไม่ได้ หน้าเหมือนดาราดัง ::007:: หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: rute - รักในหลวง ที่ กันยายน 20, 2010, 05:42:53 PM Mr. Bean หล่อกว่าครับ...ฮา... ::007::
หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 22, 2010, 05:05:03 AM แหม.. นายกสเปนเสียใจแย่เลยค่ะ ;D คุณหมอ..คุณดอน..
โอเค พูดถึงหนังสือแนวแฟนตาซีอย่างอลิสในดินแดนมหัศจรรย์ ก็ขอพูดถึงงานวรรณกรรมแนวแฟนตาซีไทยๆ ดูบ้างนะคะ งานวรรณกรรมไทยที่พอจะเป็นต้นฉบับของงานเขียนแนวแฟนตาซีจริงๆ ก็น่าจะไม่พ้น พระอภัยมณีของท่านกวีเอกสุนทรภู่ ละมั๊งคะ ::014:: เพราะน่าจะเป็นหนังสือเล่มแรกๆ ในภาษาไทย ที่เป็นความฝันจินตนาการไปได้ไกล และน่าชื่นชมว่า คนไทยในยุคตั้งไม่รู้กี่ร้อยปีมาแล้วช่างคิดได้ถึงขนาดท่านสุนทรภู่ จินตนาการของท่านสุนทรภู่ที่ดิฉันว่ายังคงโมเดิร์นพอที่ผู้ใหญ่ในยุค 2010 อย่างเราพอจะคิดสนุกๆ ตามไปได้ก็อย่างเช่น จินตนาการเรื่องเรือสำเภาเหาะ ที่ไม่ต่างกับเครื่องบินส่วนตัว (นางละเวงฯ ก็อาจจะออกแนวคุณนายเศรษฐีไฮโซมีตังค์ในยุคนี้ก็ได้) หรืออย่างแก้วราหูที่ท่านสุนทรภู่บรรยายว่า ให้ได้ทั้งความอบอุ่นเวลาอากาศหนาว ความเย็นสบายเวลาอากาศร้อน ใช้เห็นสายฟ้าฟาดป้องกันตัว และใช้สื่อสารมองไปที่อื่น ก็อาจจะเป็น Iphone generation รุ่นหลาน (ปี 2040?) ก็ได้ ;D ถ้าเมื่อปี 1975 มีคนบอกเราว่า จะมีโทรศัพท์มือถือขายให้ทุกคนได้ซื้อใช้ และเจ้ามือถือนี่ใช้ท่องเน็ต และถ่ายรูปได้ด้วย เราก็คงไม่เชื่อมังคะ ? แต่ถ้าโลกยังร้อนอยู่อีก ก็อาจจะอีกไม่นานหรอกค่ะ ที่ iphone ต้องมีเครื่องปรับอากาศ/ฮีตเตอร์ (และเผลอๆ ฟอกอากาศ)แถมให้ด้วย และถ้ายังมีพวกล้วงกระเป๋าหนักๆ เข้า iphone ในอนาคตอาจต้องผสมเครื่องช๊อตไฟฟ้าไว้กันขโมยด้วย ;D ส่วนเรื่องม้านิลมังกรก็อาจจะเป็นหุ่นยนต์ม้าสำหรับเด็กในอนาคต (ตอนนี้หุ่นยนต์สุนัขสัตว์เลี้ยงก็มีแล้ว...) สำหรับจินตนาการใกล้ตัวหน่อยก็อาจจะเป็นเรื่องของนางผีเสื้อสมุทร ที่เปรียบเหมือนภริยา ในคอนเซ็ปต์คุณผู้ชายไทยทั้งหลาย :DD ที่อยู่ข้างนอกก็หวงกักตัว และไม่ค่อยจะยอมให้สามีได้ไปไหน (ปิดประตูถ้ำ) แต่พออยู่ด้วยกันก็แปลงร่างเป็นสาวสวย ;D ชวนให้ตายใจ หรือนางละเวงฯ ที่รูปลงอาคม เห็นแล้วหลงไหลไปหมด อาจจะเหมือนรูปนักร้องดาราเกาหลีที่คลั่งไคล้กันทั้งเมืองในตอนนี้ ;D สำหรับเด็ก บทของม้านิลมังกร-สุดสาคร กับคำสอนของพระโยคีใช้ได้เสมอ (แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์..มันแสนสุดลึกล้ำเหนือกำหนด..ฯลฯ) เพราะจะนำภัยมาถึงตัวได้ง่าย ถ้าจะนำไปสอนลูกสอนหลาน ก็อาจเสริมเรื่องของการสอนให้ระมัดระวังเวลามีของมีค่าอยู่กับตัวก็ได้นะคะ :D น่าจะเห็นภาพได้ดี นอกจากนี้เรื่องพระอภัยมณีก็ยังมีความไพเราะของภาษาด้วย ดิฉันเองเรียนภาษามาก็เยอะ งูๆ ปลาๆ บ้าง พอรู้เรื่องบ้าง ก็ขอบอกได้อย่างค่อนข้างจะมั่นใจและภูมิใจว่า มีคนไทยนี่แหละค่ะที่เป็นคนกลุ่มน้อยที่ฉลาดเล่นกับภาษาและคำมากๆ (ไม่เชื่อลองดูสิคะ ดิฉันขอท้าให้ไปหานิราศคำผวนในภาษาอะไรก้อได้ รับรองหาไม่เจอหรอกค่ะ ::002:: ;D) ท้ายนี้ สิ่งที่อยากจะชวนคุย ก็คือในเรื่องพระอภัยมณี มีการใช้ดนตรี(ปี่พระอภัย) เป็นสิ่งวิเศษ ที่กล่อม-โน้มน้าวจิตใจคนให้อ่อนลง หยุดการรบราฆ่าฟัน และหันมารักกัน เป็นการย้ำถึงคุณค่าของศิลปะ ที่สามารถขัดเกลาจิตใจคนได้ การพยายามสื่อถึงคุณค่าของศิลปะนี้ เป็นสิ่งที่งานเขียน/งานประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกมักจะมีอยู่แฝงในเนื้อหาทั้งนั้น ไม่ว่าจะท่านสุนทรภู่ ท่านเซอร์วิลเลียม เชคสเปียร์ หรือแม้แต่จอห์น เลนนอน ค่ะ :D หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 22, 2010, 05:53:17 PM มีคนเข้ามาทักหลังบอร์ด ขอให้คุยถึงภาพยนตร์ Labyrinth ก็เลยคงต้องวนกลับมาสักเล็กน้อยนะคะ :)
ในเรื่องนี้ นางเอก เป็นเด็กสาวชื่อซาร่า กำลังอยู่ในช่วงวัยรุ่นช่างฝัน มีปัญหาเรียกร้องความสนใจ และน้อยใจพ่อและแม่เลี้ยง ที่ดูเหมือนจะสนใจน้องที่เป็นเด็กเบบี๋มากกว่า เธอก็เลยท่องคาถาจากนิทานเรื่องที่อ่านอยู่ พระราชา goblin (แสดงโดยเดวิด โบวี่) ก็เลยมาลักพาตัวน้องเธอไปจริงๆ เธอก็เลยต้องไปผจญภัยในเขาวงกตเพื่อเอาตัวน้องกลับมาให้ได้ ดิฉันเองก็ดูเมื่อนานมาแล้ว ก็เลยต้องฟื้นความทรงจำโดยการไปเอาแผ่นดีวีดีของคุณสามีมาเปิดดู (แอบซื้อมาไว้เมื่อไรก็ไม่รู้) ::001:: ภาพยนตร์เรื่องนี้ ดูแล้วเหมือนอลิสในดินแดนมหัศจรรย์ + พ่อมดออซ ที่ใช้นิทานปรัมปราเยอรมันเป็นฉาก ในเรื่องมีการยืมตัวละคร/คำพูดดังๆ มาพอควร เช่น "หากเธอเดินไปเรื่อยๆ เธอก็จะไปถึงเองแหละ" (มาจากแมวเชสชายในอลิส และในเรื่องนี้ ก็ให้ลุงแก่มีนกบนหมวกเป็นคนพูด) มีการให้นางเอกเดินตามตัวละครไปมา (ในอลิสใช้กระต่ายกับแมว ในเรื่องนี้ ใช้ตัวก๊อบบลินชื่อ ฮอกเกิ้ล) นอกจากนั้น ตัวละครสมุนนางเอกทั้งหมด 3 ตัวก็ค่อนข้างคลับคล้ายคลับคลา (เหมือนเพื่อน 3 คน ของโดโรธี ในพ่อมดอ๊อซ) ;) แก่นหัวใจของเรื่อง คือการที่นางเอกได้ค้นพบตัวตน และได้โตจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ โดยมีความรับผิดชอบ ฉลาด กล้าหาญ มีความเข้าใจโลกว่า บางครั้งโลกก็ไม่ยุติธรรม (นางเอกมีประโยคติดปากว่า It's not fair!) รวมทั้ง มีน้ำใจ เข้าใจ/เห็นใจคนอื่น ฉากที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้พอจะชัดๆ ก็คือฉากตั้งแต่ที่นางเอกกัดลูกพีชแล้วเสียความทรงจำชั่วขณะ ลูกพีชก็มีนัยคล้ายกับแอปเปิลของอดัมกับอีฟที่กัดแล้วทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป เป็นคอนเซ็ปต์ฝรั่งเหมือน forbidden fruit นะค่ะ หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 22, 2010, 06:19:50 PM สำหรับในแง่การทำภาพยนตร์ ก็ต้องชมว่า ถ่ายทำออกมาใช้ได้ทีเดียว แม้ special effect จะดูเก่าๆ ไปหน่อย (ก็อย่างว่า ภาพยนตร์ทำยุค 1980) แต่การทำฉากทำได้สวยและหลายอย่างยังใช้ของจริงผลิต เช่น ฉากเขาวงกตตอนแรก ก็ขนกิ่งไม้มาวางจริงๆ เอากากเพชรมาโรยให้ดูระยิบระยับ เหมือนมีน้ำค้าง การตัดต่อก็ทำงานร่วมกับผู้กำกับได้ดี เพราะฉากแต่ละฉากหากตัดต่อไม่ดีจะยิ่งงงว่าตกลงเมื่อกี้ตกหลุมแล้วทำไมไปโผล่ตรงโน้นตรงนี้ 8)
ส่วนตัวหุ่นก๊อบบลินก็ทำได้ดี คือดูน่าเกลียดแต่ก็ตลก ตรงกับแนวของภาพยนตร์ที่ต้องการให้ดูเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับเวทย์มนตร์ดูลึกลับแต่ไม่ได้ดูน่ากลัวเป็นหนังผีมีปีศาจชั่วร้าย ในเรื่องนี้ไม่มีเลือดนะคะ สังเกตดีๆ ไม่มีการแทงกันด้วย มีแต่เอาหอกที่มีปลายเป็นสัตว์ประหลาดไล่งับกัน หรือเอาหินไล่ทุบกัน ดังนั้น จึงผ่าน Q/C ให้เด็กๆ ดูได้แน่นอนค่ะ ;D สำหรับการแสดง นางเอกก็เล่นได้ดีสมเหตุผลกับบท แม้บางช่วงจะไม่สามารถดึงอารมณ์คนดูได้อย่างตลอด และยังไม่เห็นพัฒนาการของตัวละครจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ชัดเจนนัก (ลองเทียบกับดาราเด็กแบบ Dakota Fanning ดูนะคะ รายนั้นเข้าฉากทีไร ต่อให้ไม่พูดอะไรคนดูก็จับตาโดยไม่รู้ตัว) แต่หลายตอนก็ทำได้ดี เช่นตอนที่สาปให้ปีศาจมาเอาตัวน้องชายไป ไม่นับว่าหน้าตานางเอกก็น่ารักใช้ได้ พอให้แต่งเป็นเจ้าหญิงแล้ว พระราชาก๊อบบลินอยากให้อยู่เป็นราชินีแทนปล่อยกลับไปบนโลก ;) ฉากที่ทำได้ดีเป็นพิเศษคือฉากตอนที่นางเอกสูญเสียความทรงจำชั่วคราวแล้วหลุดกลับไปในกองขยะ-ห้องตัวเองที่มียายแก่พยายามเอาตุ๊กตามายื่นให้เพื่อให้นางเอกลืมไปช่วยน้อง ฉากนี้กำกับดีทั้งนางเอกทั้งหุ่นยายแก่ เพราะได้อารมณ์ให้คนดูลุ้นเหมือนกันว่า ตกลงจะจำได้ไหม ฉากที่นางเอกจำได้และโยนของเล่นทิ้งบอกว่า "ทั้งหมดนี้ก็ขยะทั้งนั้น !" ก็แสดงให้เห็นว่า นางเอกในตอนนี้ เริ่มโตเป็นผู้ใหญ่ เลิกยึดติดกับของเล่น ต่างจากตอนแรกที่นางเอกโกรธที่มีคนเอาตุ๊กตาหมีของตัวเองไปให้น้องชาย หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 22, 2010, 06:57:03 PM ส่วนคุณพระเอก เดวิด โบวี่ ก็ต้องชมว่า แกก็ติสท์พอที่จะเล่นบทพระราชาก๊อบบลินในเรื่องนี้ ทำให้ภาพยนตร์ดูเก๋ดูเป็นศิลป์ขึ้น (ลองนึกว่าถ้าเอา Hugh Grant มาเล่นแทนแล้วอารมณ์จะเหมือนกันหรือเปล่านะคะ) และเพลงบางเพลงที่นำมาใช้ก็เพราะใช้ได้ เช่น When the world falls down ก็เพราะดีและมีโทนตัดพ้ออกหักที่ออกฝันๆ หลอนๆ หน่อยเข้ากับการค่อยๆ เปิดเผยความในใจของพระราชาก๊อบบลินที่ต้องการดึงตัวให้นางเอกอยู่ในโลกของเขา (จริงๆ ตั้งแต่พระเอกขู่ฮอกเกิ้ลว่าจะสาปให้ตัวเหม็น หากรู้ว่านางเอกไปหอมแก้มฮอกเกิลก็แสดงแล้วว่า พระเอกคงแอบปิ๊งนางเอกไปแล้ว เพราะออกจะเป็นการหึงพอควร) อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดูจะขัดๆ หน่อยก็คือฉากให้พระเอกเต้นรำในปราสาท เพราะคนสร้างดันทำหุ่นก๊อบบลินมาตัวเล็กหมด แกก็เลยดูสูงปรี๊ดอยู่คนเดียว รวมทั้งช่างทำผมแต่งหน้าก็คงจะเก็บกดมาจากไหนสักแห่ง ถึงโหมสเปรย์กับอายแชโดว์เสียเต็มที่กับพระเอก (ดีนะที่แกไม่แสดงออกมาแล้วดูเกย์ ไม่งั้นแย่แน่นอน) ;D แต่กระนั้นแฟชั่นหัวฟูอายแชโดว์ก็ฮิตระเบิดในกลุ่มวัยรุ่นญี่ปุ่น (แม้จะทำยอดฉายไม่ดีทั่วโลก) โดยในยุคนั้น แทบไม่มีวงดนตรีร็อคญี่ปุ่นคนไหนไม่พยายามทำผมทำหน้าเหมือนเดวิด โบวี่ในเรื่องนี้
ฉากการเต้นรำก็เป็นฉากที่ทำได้ดี สีหน้าของพระเอกก็ทำให้ดูไม่เป็นมิวสิควีดีโอธรรมดา (มีทั้งเยาะเย้ย หลงรัก แกล้ง ฯลฯ) ฉากหรือเสื้อผ้าก็ทำได้ละเอียดปราณีต (เอาแรงบันดาลใจมาจากงานคาร์นิวัลเวนิซที่ใส่หน้ากากแนวนี้) การใช้หน้ากากก็ชวยการเล่าเรื่องแบบไม่ต้องพูดว่า เป็นการเปิดเผยตัวเองของพระเอกทีละน้อยต่อนางเอก (จะว่าไปภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่ขายดีกับผู้ชายก็คงเพราะตรงกับอารมณ์แอบฝันว่า อยากมีสาวสวยน่ารักหลงมาในโลกของตัวเอง ให้แกล้งเล่น หยอกเล่น มั๊งคะ ::008:: ) การให้นางเอกไม่ใส่หน้ากากคนเดียวก็เพื่อแสดงว่า เธอเป็นคนจริงๆ และเป็นคนที่เปิดเผยด้วย ไม่เหมือนคนอื่นๆ ในงานเลี้ยงที่อาจเป็นแค่วิญญาณหรือจินตนาการที่เสแสร้ง ชุดนางเอกก็ชุดเดียวกับตุ๊กตาหีบเพลงของเธอในห้องนอนในฉากแรกๆ เป็นการแสดงความปราณีตของคนทำเซ็ตและผู้กำกับ ส่วนการที่ทำให้เป็นชุดเหมือนชุดแต่งงานก็ดี เหมือนเป็นการแสดงให้เห็นว่านางเอกโตเป็นผู้ใหญ่จริงๆ แล้ว ไม่ได้ต้องการความฝันเป็นเจ้าหญิงได้แต่งงานกับเจ้าชายอีกแล้ว ;) แต่สนใจโลกความเป็นจริง และการนำน้องชายกลับไปโลกมนุษย์มากกว่า หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 22, 2010, 07:24:53 PM ในส่วนของอิทธิพลของภาพยนตร์ ก็อย่างที่คุยไปแล้วนะคะ นอกจากจะทำให้เด็กวัยรุ่นญี่ปุ่นผู้ชายอยากเป็นเดวิด โบวี่แล้ว ก็ทำให้เด็กวัยรุ่นผู้หญิงเห่อแฟชั่นเสื้อแขนกระปุก กระโปรงสุ่ม ผมฟูแบบนางเอกพอควร (ลองไปเปิดหนังสือการ์ตูนวัยรุ่นผู้หญิงของญี่ปุ่นในช่วงปี 80-90 ดูสิคะ นางเอกพระเอก พอมีบทต้องแต่งตัวออกงานกันหน่อย ก็วาดออกแนวนี้ประจำ) ;D
ในส่วนของในแง่ศิลปะ ภาพยนตร์เรื่องนี้เด่นที่สุดในเรื่องของการทำหุ่นและการชักหุ่น ไม่เสียชื่อ Jim Henson ที่ทำเจ้ากบ Kermit เพราะทำหุ่นได้ดูตลก น่าเอ็นดู แบบน่าเกลียดพร้อมๆ กัน และก็ยังมีหุ่นที่โครงสร้างแปลกๆ น่าจะทำยากชักยากหลายตัวมาโชว์ เพียงแต่ด้วยความที่เทคนิค special effect ด้อยไปหน่อย การแสดงร่วมกันของหุ่นกับนักแสดงบางช่วงเลยขัดๆ ไปหน่อย (ฉากนางเอกโยนหัวหุ่นนกสีแดงทิ้ง) :o อันที่จริงฉากเขาวงกตนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องที่มีอยู่ในนิทาน นิยายของยุโรปมานานแล้ว เช่นเรื่อง เขาวงกตของมิโนทอร์ บนเกาะครีต ในตำนานกรีก เขาวงกตที่ในยุโรปโบราณมีการนำมาสร้างเพื่อใช้เดินจงกรม (?) เพื่อแทนประสบการณ์การไปแสวงบุญที่เยรูซาเล็มหรือศาสนสถานอื่นๆ จนกระทั่งมีการผลิตแป้นพิมพ์ ผลิตนสพ.ขาย และเริ่มมี section ของเกมส์ เกมส์เขาวงกตถึงกลายมาเป็นเกมส์ให้คนเล่นฆ่าเวลาระหว่างอ่านนสพ.จบแล้วไม่มีอะไรทำ ดังนั้น จึงไม่แปลกที่มีการนำเขาวงกตมาทำเป็นนิทาน/ภาพยนตร์ :) สิ่งที่เด็กวัยรุ่น สิ่งที่น่าจะได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ เรื่องของการเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบในหน้าที่แล้วออกไป สำหรับผู้ใหญ่ นอกจากความสนุกสนานแล้ว ก็น่าจะได้หวนคิดถึงตอนเป็นวัยรุ่นของตัวเอง และอาจจะเหมือนกับซาร่าก็ได้ที่แม้จะออกจากเขาวงกตไปแล้ว แต่ก็ยังแอบคิดถึงเพื่อนในจินตนาการไม่ได้ ;) หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 22, 2010, 07:31:42 PM หุ่นก๊อบบลินค่ะ :D
หัวข้อ: Re: หนังสือ/ภาพยนตร์ เด็กดู(สนุก)ดี ผู้ใหญ่ดูได้ (ความรู้) เริ่มหัวข้อโดย: bluebunny รักในหลวง ที่ กันยายน 22, 2010, 07:38:48 PM การ์ตูนญี่ปุ่นทีได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ค่ะ :)
|