หัวข้อ: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: kilin ที่ กันยายน 09, 2010, 11:45:25 AM ::014::หากหญิงสาวอยู่บ้านคนเดียว...หรือคุณแม่ยังสาวอยู่บ้านกับลูกเพียงลำพัง
หากมีการบุกรุกของบุคคลไม่พึงประสงค์เพียง1คนไม่มีอาวุธ(แต่มีจุดสองห้อย) ผู้บุกรุกถูกยิงตาย จะเป็นป้องกันตัวเกินกว่าเหตุหรือเปล่าครับ ::001:: หากถูกฟ้องว่า..เกินกว่าเหตุ..ควรสู้คดีอย่างไรครับ หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Yoshiki_Silencer - รักในหลวง ที่ กันยายน 09, 2010, 12:08:03 PM จริง ๆ การวินิจฉัยว่าเป็นการป้องกันตัวเกินกว่าเหตุหรือไม่นั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากครับ ต้องมีข้อเท็จจริง
และพฤติการณ์ต่าง ๆ ประกอบมากพอสมควร ทั้งบางเรื่องเป็นดุลพินิจเฉพาะบุคคล ยากที่จะฟันธงลงไปได้นะครับ แต่ในเมื่อข้อเท็จจริงมีเพียงเท่านี้ ก็ขอตอบตามข้อเท็จจริงนะครับ ในกรณีที่มีคนร้ายบุกรุกเข้ามาโดยไม่มีอาวุธ แล้วใช้อาวุธปืนยิงคนร้ายตายนั้น การที่คนร้ายบุกรุกเข้ามาภายใน บ้านถือว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้ถึงแล้ว ดังนั้นเจ้าของ บ้านสามารถใช้อาวุธปืนป้องกันตนเองได้ซึ่งต้องพอสมควรแก่เหตุด้วย แต่การที่เจ้าของบ้านใช้อาวุธปืนยิงคนร้ายซึ่ง ไม่มีอาวุธจนถึงแก่ความตายนั้น รูปคดีจะออกไปทางป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ ซึ่งยังคงถือว่าเป็นความผิดอยู่แต่ศาล จะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ และถ้าศาลเห็นว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความตกใจ หรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้นั้นก็ได้ ( ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘ , ๖๙ ) ส่วนการสู้คดีก็สู้ตามข้อเท็จจริงสิครับว่าเป็นการป้องกันตัว ส่วนจะเกินกว่าเหตุหรือไม่นั้นศาลเป็นผู้วินิจฉัย ซึ่งหาก ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาของศาลได้ความว่าเป็นการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุจริง ทางปฏิบัติศาลก็มักจะลงโทษสถาน เบาให้เสมอ เพราะถือว่าผู้ตาย ( คนร้าย ) มีส่วนผิดด้วย มีคดีที่เคยผ่านตาอยู่เรื่องหนึ่ง รูปคดีเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านเป็นผู้หญิงอยู่บ้านคนเดียวแล้วมีคนร้ายถ้าจำไม่ผิดรู้สึก คนร้ายจะไม่มีอาวุธด้วยบุกเข้ามาภายในบ้าน เจ้าของบ้านเลยใช้ปืนยิงคนร้ายไป ๒ - ๓ นัด คนร้ายถึงแก่ความตายในเขต รั้วบ้าน คดีถึงการพิจารณาของศาลโดยศาลวินิจฉัยว่าเป็นการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ ลงโทษจำคุก ๖ ปี จำเลยให้ การในชั้นศาลเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก ๓ ปี ( เรื่องนี้จำเลยต่อสู้คดีโดยรับว่าใช้อาวุธปืนยิง คนร้ายจริงแต่กระทำไปเพื่อป้องกัน ) โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๒ ปี หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: คมขวาน รักในหลวง ที่ กันยายน 09, 2010, 12:15:48 PM ถึงไม่มีอาวุธ
ผมมองว่าแค่สองมือบีบคอ ก็ถึงตายได้ ไม่รวมถึงของใกล้ตัวที่มันจะหยิบฉวยมาทำร้าย ผมสั่งภรรยาไว้เสมอ ถ้าอยู่คนเดียว มีใครเข้ามาจะทำร้าย เหนี่ยวไว้ก่อนเลย เอาแค่ให้พูดไม่ได้ก็พอ ::005:: เรื่องคดี ค่อยว่ากันทีหลังเสียเงินสู้คดียังพอไหว แต่ชีวิตเรามีค่ากว่านั้น ครับ หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ กันยายน 09, 2010, 01:15:23 PM ต้องดูที่เจตนาของผู้บุกรุกเข้ามาครับ ถ้าเราห้ามแล้วไม่หยุดแถมยังมีท่าทีจะเข้ามาทำร้ายในเคหสถานอีก
หากอยู่คนเดียววิ่งไปเอาปืนก่อนเลยครับ หากมันตามมาอีกก็ยิงได้เลย ผมกลัวตายมากกว่ากลัวติดคุกครับ ........ :D เรื่องถึงศาลอย่างดีก็คิดว่ารอลงอาญา ๒ ปีครับ เพราะเค้าบุกรุกเข้ามาทำร้ายเราในเคหสถาน เราซึ่งเป็นผู้หญิงใช้ปืนป้องกันตัวเอง สมควรแก่เหตุ :VOV: หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: speed (LO) ที่ กันยายน 09, 2010, 03:38:45 PM น่าอึดอัดและน่ากลัวมากเราท่านๆประชาชนคนธรรมดา เวลามีเหตุการณ์แบบนี้แล้วมีปืนก็ต้องป้องกันไว้ก่อน
คงไม่มีเวลามาคิดว่าจะต้องยิงยังไง เห็นว่ามีตนแปลกหน้ามาในบ้านก็ขนหัวลุกแล้ว หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: binlaart @ รักในหลวงด้วยคนครับ ที่ กันยายน 09, 2010, 03:46:29 PM ถึงไม่มีอาวุธ ผมมองว่าแค่สองมือบีบคอ ก็ถึงตายได้ ไม่รวมถึงของใกล้ตัวที่มันจะหยิบฉวยมาทำร้าย ผมสั่งภรรยาไว้เสมอ ถ้าอยู่คนเดียว มีใครเข้ามาจะทำร้าย เหนี่ยวไว้ก่อนเลย เอาแค่ให้พูดไม่ได้ก็พอ ::005:: เรื่องคดี ค่อยว่ากันทีหลังเสียเงินสู้คดียังพอไหว แต่ชีวิตเรามีค่ากว่านั้น ครับ สั่งเมียไว้เหมือนกันเลย ให้ปลดเซฟ แล้วยิงเลย ห้ามถือปืนขู่เด็ดขาด พลาดพลังเค้าแย่งปืนไปได้ ซวยกันพอดี หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 09, 2010, 04:05:15 PM คุณ Yoshiki_Silencer - รักในหลวง ให้ความเห็นไว้ชัดเจนแล้ว ครับ ::002::
สำหรับผม ได้บอกกับคนที่ผมรัก และห่วงใยว่า ปืนต้องอยู่ใกล้ตัว ให้ใช้ปืนขู่ ถ้าไม่หยุด ก็ตอนมันซะ ถ้าจะยิงให้ตาย นั้นง่ายดายนัก แต่ให้ยิงในระดับเชิงกราน เพื่อหยุดยั้งมันไว้ การณ์อาจเข้าเป็นการป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ.. เพื่อไม่ให้มันเข้ามาแย่งอาวุธปืน และใช้อาวุธปืนมาทำร้ายตัวเรา. หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: ปาล์มๆ...ซุ่มโป่ง ที่ กันยายน 09, 2010, 04:50:38 PM ผมไม่อยู่บ้านเตรียมปืนไว้ให้คุณเธอ แต่เธอไม่ค่อยจะสนใจเลยครับ ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกันที่จะทำให้เธอไม่ประมาท
หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Yoshiki_Silencer - รักในหลวง ที่ กันยายน 09, 2010, 05:31:04 PM คุณ Yoshiki_Silencer - รักในหลวง ให้ความเห็นไว้ชัดเจนแล้ว ครับ ::002:: สำหรับผม ได้บอกกับคนที่ผมรัก และห่วงใยว่า ปืนต้องอยู่ใกล้ตัว ให้ใช้ปืนขู่ ถ้าไม่หยุด ก็ตอนมันซะ ถ้าจะยิงให้ตาย นั้นง่ายดายนัก แต่ให้ยิงในระดับเชิงกราน เพื่อหยุดยั้งมันไว้ การณ์อาจเข้าเป็นการป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ.. เพื่อไม่ให้มันเข้ามาแย่งอาวุธปืน และใช้อาวุธปืนมาทำร้ายตัวเรา. ใช่ครับพี่ Ro@d สำหรับผู้หญิงที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องอาวุธปืนและยิ่งในสถานการณ์ที่กดดันอย่างนี้ การที่ถูกคนร้ายแย่งอาวุธปืนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และเป็นเรื่องที่เลวร้ายที่สุด แทนที่จะใช้อาวุธปืนป้องกัน ตนเองกลับให้ปืนคนร้ายไปเสียอย่างนั้น ครั้นจะบอกให้เลือกยิงตรงจุดที่ไม่ตายก็กลัวว่าจะพะวงแต่การเลือก จุดยิงจนคนร้ายเข้ามาประชิดตัวได้ ทุกวันนี้ผมก็บอกกับแฟนว่าถ้ามีคนร้ายเข้ามาในบ้านไม่ว่าจะมีอาวุธ หรือไม่ถ้าเห็นท่าไม่ดีให้ซัดก่อนเลย พฤติการณ์อย่างนี้ถ้าไปสู้คดีในศาลโอกาสรอการลงโทษมีสูงมาก ดีกว่าต้องไปงานศพที่วัด หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ กันยายน 09, 2010, 05:54:28 PM ขอบคุณครับท่านโยชิกิ :D
ตามหัวข้อกระทู้ ผมขออนุญาตอีกนิด มาตรา ๖๙ เรื่องการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุนั้น มีบัญญัติไว้ตอนหนึ่งซึ่งค่อนข้างจะสนับสนุนตามกระทู้นี้ครับ คือ หากการกระทำนั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความตกใจหรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้ ผู้หญิงส่วนใหญ่ ธรรมดาเมื่อเจอเหตุร้าย ย่อมต้องตกใจ หรือกลัว พลาดพลั้ง จนถึงขั้นนั่งนิ่งทำอะไรไม่ถูก เมื่อเจอคนร้ายเข้ามารุกรานถึงในบ้านทั้งที่ตนอยู่คนเดียว สติ อารมณ์ ความรู้สึกกลัว เมื่อบวกกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ผลลัพท์ ที่ออกมา มีสองส่วนคือ ทำอะไรไม่ถูกนั่งนิ่ง หรือทำถูกวิถีทางเพื่อเอาตัวรอด แน่นอนในจังหวะดังกล่าว คงไม่มีทางหรอกครับที่จะมองดูว่า คนร้ายถือปืนหรืออาวุธมาหรือไม่ การที่แม่บ้านพบคนร้ายในทันทีทันใด หยิบปืนและซัลโวไปในทันทีนั้น ย่อมเป็นการป้องกันตามกฎหมาย เพียงแต่ว่าจะเกินกว่าเหตุหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดี หากในกรณีที่ข้อเท็จจริงยุติแล้วว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุขึ้นมา แต่การยิงดังกล่าว เกิดเพราะความกลัว หรือตกใจ ของหญิงสาวแล้ว ( ตรงนี้หากต้องว่ากันในชั้นศาล ต้องนำสืบประกอบไปด้วย ) ตรงนี้ ศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้ หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: cadet38 -รักในหลวง- ที่ กันยายน 09, 2010, 06:01:40 PM ผมสอนเมียว่ายิงต้องยิงให้ตาย เรื่องคดีไว้ว่ากันทีหลัง เมืองไทยเคลียร์กันได้อยู่แล้ว
หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Daimyo ที่ กันยายน 09, 2010, 06:52:29 PM จริง ๆ การวินิจฉัยว่าเป็นการป้องกันตัวเกินกว่าเหตุหรือไม่นั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากครับ ต้องมีข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ต่าง ๆ ประกอบมากพอสมควร ทั้งบางเรื่องเป็นดุลพินิจเฉพาะบุคคล ยากที่จะฟันธงลงไปได้นะครับ แต่ในเมื่อข้อเท็จจริงมีเพียงเท่านี้ ก็ขอตอบตามข้อเท็จจริงนะครับ ในกรณีที่มีคนร้ายบุกรุกเข้ามาโดยไม่มีอาวุธ แล้วใช้อาวุธปืนยิงคนร้ายตายนั้น การที่คนร้ายบุกรุกเข้ามาภายใน บ้านถือว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้ถึงแล้ว ดังนั้นเจ้าของ บ้านสามารถใช้อาวุธปืนป้องกันตนเองได้ซึ่งต้องพอสมควรแก่เหตุด้วย แต่การที่เจ้าของบ้านใช้อาวุธปืนยิงคนร้ายซึ่ง ไม่มีอาวุธจนถึงแก่ความตายนั้น รูปคดีจะออกไปทางป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ ซึ่งยังคงถือว่าเป็นความผิดอยู่แต่ศาล จะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ และถ้าศาลเห็นว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความตกใจ หรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้นั้นก็ได้ ( ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘ , ๖๙ ) ส่วนการสู้คดีก็สู้ตามข้อเท็จจริงสิครับว่าเป็นการป้องกันตัว ส่วนจะเกินกว่าเหตุหรือไม่นั้นศาลเป็นผู้วินิจฉัย ซึ่งหาก ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาของศาลได้ความว่าเป็นการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุจริง ทางปฏิบัติศาลก็มักจะลงโทษสถาน เบาให้เสมอ เพราะถือว่าผู้ตาย ( คนร้าย ) มีส่วนผิดด้วย มีคดีที่เคยผ่านตาอยู่เรื่องหนึ่ง รูปคดีเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านเป็นผู้หญิงอยู่บ้านคนเดียวแล้วมีคนร้ายถ้าจำไม่ผิดรู้สึก คนร้ายจะไม่มีอาวุธด้วยบุกเข้ามาภายในบ้าน เจ้าของบ้านเลยใช้ปืนยิงคนร้ายไป ๒ - ๓ นัด คนร้ายถึงแก่ความตายในเขต รั้วบ้าน คดีถึงการพิจารณาของศาลโดยศาลวินิจฉัยว่าเป็นการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ ลงโทษจำคุก ๖ ปี จำเลยให้ การในชั้นศาลเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก ๓ ปี ( เรื่องนี้จำเลยต่อสู้คดีโดยรับว่าใช้อาวุธปืนยิง คนร้ายจริงแต่กระทำไปเพื่อป้องกัน ) โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๒ ปี ในกรณีแบบที่จขกท.ยกตัวอย่างมา.....ทนายจําเลยต้องเก่งด้วยใช่มั๊ยครับ...เพื่อพิสูจน์สภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นรวมทั้งชี้ให้เห็นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์..... หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: kilin ที่ กันยายน 09, 2010, 07:38:27 PM ::002::ผมเองก็สอนภรรยาไว้ว่าหากมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้น ::014::ซัดไปเลยไม่ต้องเลี้ยงแต่ที่ถามเพราะต้องการทราบว่าสิ่งที่เราสอนเค้าไปไม่ใช่สิ่งที่ผิดๆ :OO
เพราะผมมองเหตุการณ์ลักษณะนี้ว่าหากตัดสินใจช้ามีผลถึงชีวิตค่อนข้างสูง ที่ผ่านมาก็พยายามสอนการใช้ ลูกโม่ เพื่อยิงจริงๆว่าต้องทำอย่างไรบ้าง(ไปสนามยิงปืน) ขอถามต่อสักนิดนะครับ ต่อเนื่องจากคำถามแรก หากยิงผู้บุกรุกตายแล้ว ขั้นตอนคงเป็นแจ้งตำรวจและรับทราบข้อกล่าวหา ฆ่าโดยเจตนา แล้วจากนั้นจะต้องมีการ ไปโรงพัก ประกันตัว เหมือนคดีอื่นๆหรือเปล่าเพราะคดีแบบนี้ เจ้าทุกข์กลายเป็นจำเลยไปซะแล้วครับ ::014:: หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Yoshiki_Silencer - รักในหลวง ที่ กันยายน 09, 2010, 09:33:35 PM จริง ๆ การวินิจฉัยว่าเป็นการป้องกันตัวเกินกว่าเหตุหรือไม่นั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากครับ ต้องมีข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ต่าง ๆ ประกอบมากพอสมควร ทั้งบางเรื่องเป็นดุลพินิจเฉพาะบุคคล ยากที่จะฟันธงลงไปได้นะครับ แต่ในเมื่อข้อเท็จจริงมีเพียงเท่านี้ ก็ขอตอบตามข้อเท็จจริงนะครับ ในกรณีที่มีคนร้ายบุกรุกเข้ามาโดยไม่มีอาวุธ แล้วใช้อาวุธปืนยิงคนร้ายตายนั้น การที่คนร้ายบุกรุกเข้ามาภายใน บ้านถือว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้ถึงแล้ว ดังนั้นเจ้าของ บ้านสามารถใช้อาวุธปืนป้องกันตนเองได้ซึ่งต้องพอสมควรแก่เหตุด้วย แต่การที่เจ้าของบ้านใช้อาวุธปืนยิงคนร้ายซึ่ง ไม่มีอาวุธจนถึงแก่ความตายนั้น รูปคดีจะออกไปทางป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ ซึ่งยังคงถือว่าเป็นความผิดอยู่แต่ศาล จะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ และถ้าศาลเห็นว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความตกใจ หรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้นั้นก็ได้ ( ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘ , ๖๙ ) ส่วนการสู้คดีก็สู้ตามข้อเท็จจริงสิครับว่าเป็นการป้องกันตัว ส่วนจะเกินกว่าเหตุหรือไม่นั้นศาลเป็นผู้วินิจฉัย ซึ่งหาก ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาของศาลได้ความว่าเป็นการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุจริง ทางปฏิบัติศาลก็มักจะลงโทษสถาน เบาให้เสมอ เพราะถือว่าผู้ตาย ( คนร้าย ) มีส่วนผิดด้วย มีคดีที่เคยผ่านตาอยู่เรื่องหนึ่ง รูปคดีเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านเป็นผู้หญิงอยู่บ้านคนเดียวแล้วมีคนร้ายถ้าจำไม่ผิดรู้สึก คนร้ายจะไม่มีอาวุธด้วยบุกเข้ามาภายในบ้าน เจ้าของบ้านเลยใช้ปืนยิงคนร้ายไป ๒ - ๓ นัด คนร้ายถึงแก่ความตายในเขต รั้วบ้าน คดีถึงการพิจารณาของศาลโดยศาลวินิจฉัยว่าเป็นการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ ลงโทษจำคุก ๖ ปี จำเลยให้ การในชั้นศาลเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก ๓ ปี ( เรื่องนี้จำเลยต่อสู้คดีโดยรับว่าใช้อาวุธปืนยิง คนร้ายจริงแต่กระทำไปเพื่อป้องกัน ) โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๒ ปี ในกรณีแบบที่จขกท.ยกตัวอย่างมา.....ทนายจําเลยต้องเก่งด้วยใช่มั๊ยครับ...เพื่อพิสูจน์สภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นรวมทั้งชี้ให้เห็นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์..... อยู่ที่ทนายจำเลยด้วยส่วนหนึ่งครับที่ต้องถามพยานโจทก์เพื่อให้ศาลเห็นข้อเท็จจริงในคดีชัดเจนทุกมุม เสมือนให้ศาลอยู่ในเหตุการณ์ด้วย แต่คดีลักษณะนี้ส่วนมากทนายจำเลยจะทำงานไม่ค่อยหนักหรอกครับ เพราะ พยาน ตำรวจ อัยการ และผู้พิพากษา ก็มักจะเอาใจช่วยอยู่แล้ว ถามหน่อยถ้าท่านเป็นผู้พิพากษา ท่านอยากเอาเจ้าของบ้านที่เป็นผู้หญิงเข้าคุกไหม ? หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ กันยายน 09, 2010, 09:52:18 PM อยู่ที่ทนายจำเลยด้วยส่วนหนึ่งครับที่ต้องถามพยานโจทก์เพื่อให้ศาลเห็นข้อเท็จจริงในคดีชัดเจนทุกมุม เสมือนให้ศาลอยู่ในเหตุการณ์ด้วย แต่คดีลักษณะนี้ส่วนมากทนายจำเลยจะทำงานไม่ค่อยหนักหรอกครับ เพราะ พยาน ตำรวจ อัยการ และผู้พิพากษา ก็มักจะเอาใจช่วยอยู่แล้ว ถามหน่อยถ้าท่านเป็นผู้พิพากษา ท่านอยากเอาเจ้าของบ้านที่เป็นผู้หญิงเข้าคุกไหม ? ปัญหามันอยู่ที่ว่า ข้อเท็จจริงแบบนี้ รวมทั้ง พยาน หลักฐาน จะอยู่ในกระบวนการตั้งแต่ต้นหรือไม่ และบุคคลในกระบวนการ กล้าที่จะวินิจฉัยให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงหรือเปล่า เพราะความเป็นจริง หากกระบวนการ ไม่ทำหน้าที่ และไม่มองมุมของทั้งฝ่ายผู้เสียหาย และจำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงตรงนี้ ก็กลายเป็นเพียงคำเบิกความ.......ของจำเลยเท่านั้น :D หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Yoshiki_Silencer - รักในหลวง ที่ กันยายน 09, 2010, 10:08:50 PM ::002::ผมเองก็สอนภรรยาไว้ว่าหากมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้น ::014::ซัดไปเลยไม่ต้องเลี้ยงแต่ที่ถามเพราะต้องการทราบว่าสิ่งที่เราสอนเค้าไปไม่ใช่สิ่งที่ผิดๆ :OO เพราะผมมองเหตุการณ์ลักษณะนี้ว่าหากตัดสินใจช้ามีผลถึงชีวิตค่อนข้างสูง ที่ผ่านมาก็พยายามสอนการใช้ ลูกโม่ เพื่อยิงจริงๆว่าต้องทำอย่างไรบ้าง(ไปสนามยิงปืน) ขอถามต่อสักนิดนะครับ ต่อเนื่องจากคำถามแรก หากยิงผู้บุกรุกตายแล้ว ขั้นตอนคงเป็นแจ้งตำรวจและรับทราบข้อกล่าวหา ฆ่าโดยเจตนา แล้วจากนั้นจะต้องมีการ ไปโรงพัก ประกันตัว เหมือนคดีอื่นๆหรือเปล่าเพราะคดีแบบนี้ เจ้าทุกข์กลายเป็นจำเลยไปซะแล้วครับ ::014:: คดีในลักษณะนี้ตำรวจจะทำสำนวนแยกเป็นสองสำนวนครับ สำนวนแรกเป็นคดีที่เจ้าของบ้านเป็นผู้เสียหายในส่วนที่คนร้ายบุกเข้ามาภายในบ้าน ซึ่งตำรวจจะสั่ง ไม่ฟ้องคนร้ายเนื่องจากคนร้ายถึงแก่ความตาย ( เพราะถูกเรายิงนั่นแหละครับ ) สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้อง จึงเป็นอันระงับไป สำนวนที่สองจะเป็นสำนวนที่เราเป็นผู้ต้องหาในคดีฆ่าผู้อื่น ซึ่งในเบื้องต้นไม่ว่าอย่างไรเราก็จะต้อง ถูกตั้งข้อหาฆ่าผู้อื่นไว้ก่อน จากนั้นตำรวจก็จะดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมด แล้วสรุปความเห็นว่า จะสั่งฟ้องหรือไม่พร้อมสำนวนไปยังพนักงานอัยการ ถ้าเห็นว่าเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ ตำรวจก็จะ มีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งถ้าอัยการเห็นว่าเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุก็จะสั่งไม่ฟ้องตามตำรวจแล้ว เสนอสำนวนไปที่ผู้ว่า ฯ ถ้าผู้ว่า ฯ ไม่เห็นแย้ง คดีนี้ก็เป็นอันยุติในส่วนของการดำเนินคดีโดยอาศัยกลไกของรัฐ ถ้าตำรวจเห็นว่าเป็นการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุก็จะทำสำนวนพร้อมความเห็นควรสั่งฟ้องไปยัง พนักงานอัยการ ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าเป็นการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุก็จะฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ไม่ว่าตำรวจจะเสนอความเห็นมาอย่างไร พนักงานอัยการอาจมีความเห็นต่างจากตำรวจก็ได้ เช่นตำรวจเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง แต่พนักงานอัยการอาจสั่งฟ้องก็ได้ หรือตำรวจเห็นควรสั่งฟ้อง แต่พนักงาน อัยการอาจจะสั่งไม่ฟ้องก็ได้ ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน และดุลพินิจของพนักงานอัยการเจ้าของสำนวน สำหรับขั้นตอนหลังเกิดเหตุนั้นเมื่อเราแจ้งตำรวจแล้วก็จะมีร้อยเวรมาตรวจสถานที่เกิดเหตุพร้อมกับ รวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งทางปฏิบัติคดีลักษณะนี้รูปคดีมักยังไม่แน่ใจว่าใครเป็นฝ่ายผิดกันแน่ เจ้าของ บ้านอาจจะป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายก็ได้ซึ่งไม่เป็นความผิด ส่วนใหญ่ตำรวจก็มักจะยังไม่จับกุมตัว ไปโรงพัก แต่จะเชิญไปโรงพักเพื่อสอบปากคำไว้เป็นพยาน จากนั้นตำรวจก็มักจะปล่อยตัวเรากลับมาแต่ เราก็ต้องไปพบตำรวจเมื่อมีหมายเรียกมา จากนั้นตำรวจก็จะดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานจนการสอบ สวนเสร็จสิ้นแล้วเสนอสำนวนส่งพนักงานอัยการ ถ้าตำรวจมีความเห็นควรสั่งฟ้องก็ต้องนำตัวเราไปให้พนัก งานอัยการด้วย ถ้ามีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องก็ไม่ต้องนำตัวเราไปให้พนักงานอัยการ ซึ่งในกรณีที่ตำรวจเชิญ ตัวเราไปสอบปากคำโดยไม่มีการจับกุมก็ไม่จำต้องประกันตัว เพียงแต่ตำรวจอาจทำบันทึกให้เรารับทราบวัน นัดเพื่อมาพบตามกำหนดนัด และเมื่อสำนวนถึงพนักงานอัยการแล้วหากในชั้นตำรวจเราบันทึกรับทราบวันนัดไว้ ( ซึ่งในกรณีจะเป็นกรณีตำรวจมีความเห็นควรสั่งฟ้องเพราะส่งตัวเรามาให้พนักงานอัยการด้วย ) ปกติพนักงาน อัยการก็จะไม่เรียกหลักประกันแต่จะให้เราทำบันทึกรับทราบวันนัดไว้เพื่อมาพบพนักงานอัยการตามกำหนดนัด เหมือนชั้นตำรวจ ถ้าพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง แล้วผู้ว่า ฯ ไม่แย้งคดีก็เป็นอันเสร็จไป แต่ถ้าสั่งฟ้องท่านก็ต้อง หาหลักทรัพย์ประกันตัวที่ศาล ศาลจะไม่ให้ทำบันทึกรับทราบวันนัดเหมือนชั้นตำรวจกับชั้นอัยการ จากนั้นก็ ดำเนินการต่อสู้คดีกันไปจนกว่าจะถึงที่สุด แต่ในกรณีที่ตำรวจจับกุมตัวท่านทันทีภายหลังเกิดเหตุ ท่านก็ต้องดำเนินการหาหลักทรัพย์มาประกันตัว ทันทีเลยครับ โดยอาจจะประกันตัวที่สถานีตำรวจ สำนักงานอัยการ หรือศาล แล้วแต่ว่าขั้นตอนการดำเนินคดี ถึงขั้นไหนแล้วครับ หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Yoshiki_Silencer - รักในหลวง ที่ กันยายน 09, 2010, 10:16:55 PM อยู่ที่ทนายจำเลยด้วยส่วนหนึ่งครับที่ต้องถามพยานโจทก์เพื่อให้ศาลเห็นข้อเท็จจริงในคดีชัดเจนทุกมุม เสมือนให้ศาลอยู่ในเหตุการณ์ด้วย แต่คดีลักษณะนี้ส่วนมากทนายจำเลยจะทำงานไม่ค่อยหนักหรอกครับ เพราะ พยาน ตำรวจ อัยการ และผู้พิพากษา ก็มักจะเอาใจช่วยอยู่แล้ว ถามหน่อยถ้าท่านเป็นผู้พิพากษา ท่านอยากเอาเจ้าของบ้านที่เป็นผู้หญิงเข้าคุกไหม ? ปัญหามันอยู่ที่ว่า ข้อเท็จจริงแบบนี้ รวมทั้ง พยาน หลักฐาน จะอยู่ในกระบวนการตั้งแต่ต้นหรือไม่ และบุคคลในกระบวนการ กล้าที่จะวินิจฉัยให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงหรือเปล่า เพราะความเป็นจริง หากกระบวนการ ไม่ทำหน้าที่ และไม่มองมุมของทั้งฝ่ายผู้เสียหาย และจำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงตรงนี้ ก็กลายเป็นเพียงคำเบิกความ.......ของจำเลยเท่านั้น :D ใช่ครับเรื่องแบบนี้สำคัญที่ข้อเท็จจริงในสำนวนการสอบสวนจะตรงกับข้อเท็จจริง ตามความเป็นจริงหรือเปล่า เพราะต้องยอมรับว่ามีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ข้อเท็จจริง ที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงตามความเป็นจริง ซึ่งบางเรื่อง ต่างกันชนิดหน้ามือเป็นหลังเท้าเลยทีเดียว ถ้าข้อเท็จจริงตรงกันทนายจำเลยก็ทำงานสบายหน่อย แต่ถ้าแตกต่างกันตรงนี้ก็อยู่ที่ ฝีมือทนายจำเลยแล้วล่ะครับว่าจะมีความสามารถถามค้านพยานโจทก์เพื่อตีแผ่ข้อเท็จจริงที่ถูก ต้องให้ปรากฏต่อศาลได้อย่างไร เพราะในคดีอาญาคำเบิกความของจำเลยแทบไม่มีน้ำหนัก ให้รับฟังอยู่แล้วตามที่พี่สิงห์กล่าวไว้ครับ ::014:: หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: kilin ที่ กันยายน 10, 2010, 07:40:33 AM อยู่ที่ทนายจำเลยด้วยส่วนหนึ่งครับที่ต้องถามพยานโจทก์เพื่อให้ศาลเห็นข้อเท็จจริงในคดีชัดเจนทุกมุม เสมือนให้ศาลอยู่ในเหตุการณ์ด้วย แต่คดีลักษณะนี้ส่วนมากทนายจำเลยจะทำงานไม่ค่อยหนักหรอกครับ เพราะ พยาน ตำรวจ อัยการ และผู้พิพากษา ก็มักจะเอาใจช่วยอยู่แล้ว ถามหน่อยถ้าท่านเป็นผู้พิพากษา ท่านอยากเอาเจ้าของบ้านที่เป็นผู้หญิงเข้าคุกไหม ? ปัญหามันอยู่ที่ว่า ข้อเท็จจริงแบบนี้ รวมทั้ง พยาน หลักฐาน จะอยู่ในกระบวนการตั้งแต่ต้นหรือไม่ และบุคคลในกระบวนการ กล้าที่จะวินิจฉัยให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงหรือเปล่า เพราะความเป็นจริง หากกระบวนการ ไม่ทำหน้าที่ และไม่มองมุมของทั้งฝ่ายผู้เสียหาย และจำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงตรงนี้ ก็กลายเป็นเพียงคำเบิกความ.......ของจำเลยเท่านั้น :D ขอคำขยายความเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของ 1.ข้อเท็จจริงแบบนี้ รวมทั้ง พยาน หลักฐาน ..หมายถึงข้อเท็จจริงว่าเกิดการบุกรุกจนถูกยิงตาย หรือ เกิดการยิงจนถึงแก่ความตาย ครับ 2.ไม่ทำหน้าที่ และไม่มองมุมของทั้งฝ่ายผู้เสียหาย และจำเลย....มุมมองที่ว่านั้นผู้หญิงที่ถูกคุกคามเป็นจำเลยหรือผู้เสียหายครับ(เข้าใจว่าเป็นจำเลย)แต่ไม่ใช่คนเริ่มก่อเหตุ 3.คำว่ามุมของฝ่ายผู้เสียหาย...ซึ่งเป็นต้นเหตุของเหตุการทั้งหมดที่เกิดขึ้น(บุกรุก)รบกวนขยายความมุมของฝ่ายบุกรุกเพื่อทำร้ายด้วยครับ หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: eddynkp ที่ กันยายน 10, 2010, 09:04:33 AM เรื่องถึงศาลอย่างดีก็คิดว่ารอลงอาญา ๒ ปีครับ เพราะเค้าบุกรุกเข้ามาทำร้ายเราในเคหสถาน เราซึ่งเป็นผู้หญิงใช้ปืนป้องกันตัวเอง สมควรแก่เหตุ .....เห็นด้วยคับ
หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 09:21:31 AM ขอแทรก ไว้ ก่อนนะครับ เพียงการบุกรุกอย่างเดียว เจ้าของบ้าน ที่เป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย จักไม่เกิดสิทธิ ใช้อาวุธปืนยิง นะครับ
และโทษที่ได้รับสำหรับเจ้าบ้านผู้ยิง จะติดตะรางจริง โดยไม่มีการรอลงอาญา ประเด็นนี้ ถ้ากฎหมายไม่เคร่งครัด นิดหน่อย ก็ใช้ปืนยิงกันตาย การบุกรุก ที่ เจ้าบ้านจะเกิดสิทธิในการป้องกันตัว โดยใช้อาวุธปืน ยิงได้ ก็ต่อเมื่อ ผู้บุกรุกกระทำความผิดฐานร้ายแรงอื่น โดยมีอาวุธ ร่วมขึ้นมาด้วย หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Daimyo ที่ กันยายน 10, 2010, 09:31:47 AM ถามเพิ่มเติมนะครับ.....
ในกรณีที่ตํารวจให้ความเห็นไม่สั่งฟ้อง....รวมทั้งอัยการด้วยเช่นกัน... ญาติผู้เสียหาย(ผู้ตาย)..มีสิทธิ์ตั้งทนายขึ้นมาฟ้องอาญาได้หรือไม่ครับ.... ผมเข้าใจว่ากรณีที่สั่งฟ้อง...ฝ่ายผู้เสียหายสามารถตั้งทนายเป็นโจทย์ร่วมกับอัยการได้...แต่กรณีสั่งไม่ฟ้องนี่...ทําได้หรือไม่ครับ หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 09:52:19 AM ถามเพิ่มเติมนะครับ..... ในกรณีที่ตํารวจให้ความเห็นไม่สั่งฟ้อง....รวมทั้งอัยการด้วยเช่นกัน... ญาติผู้เสียหาย(ผู้ตาย)..มีสิทธิ์ตั้งทนายขึ้นมาฟ้องอาญาได้หรือไม่ครับ.... ผมเข้าใจว่ากรณีที่สั่งฟ้อง...ฝ่ายผู้เสียหายสามารถตั้งทนายเป็นโจทย์ร่วมกับอัยการได้...แต่กรณีสั่งไม่ฟ้องนี่...ทําได้หรือไม่ครับ สิทธิ์ในการฟ้องคดี อาญา เป็นของ รัฐ และของผู้เสียหาย เมื่อรัฐ มีความเห็นไม่ฟ้อง ผู้เสียหาย ยอมมีสิทธิ์ ฟ้องคดีนั้นด้วยตนเอง แต่โดยกระบวนการ ศาลจะต้องทำการไต่สวนมูลฟ้อง เพื่อให้เชื่อว่ามีมูลคดีเกิดขึ้นจริง จึงจะประทับรับฟ้องไว้พิจารณา ครับ คุณอ้วน. อย่างคดี หมอผัสพร ที่บิดาฯ เป็นผู้เสียหาย นำคดีสู่ศาลเพื่อทวงความยุติธรรมให้แก่บุตรสาว. ::002:: แต่ถ้าคดีนั้น ฝ่ายรัฐ โดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีไปแล้ว ผู้เสียหายจะฟ้องคดีอีกไม่ได้ จะถือเป็นฟ้องซ้ำ จะต้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม กับพนักงานอัยการ ที่เป็นโจทก์ในคดีนั้น ครับ หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ กันยายน 10, 2010, 09:59:06 AM ถามเพิ่มเติมนะครับ..... ในกรณีที่ตํารวจให้ความเห็นไม่สั่งฟ้อง....รวมทั้งอัยการด้วยเช่นกัน... ญาติผู้เสียหาย(ผู้ตาย)..มีสิทธิ์ตั้งทนายขึ้นมาฟ้องอาญาได้หรือไม่ครับ.... ผมเข้าใจว่ากรณีที่สั่งฟ้อง...ฝ่ายผู้เสียหายสามารถตั้งทนายเป็นโจทย์ร่วมกับอัยการได้...แต่กรณีสั่งไม่ฟ้องนี่...ทําได้หรือไม่ครับ ตามปัญหา ผมเข้าใจว่าคงตามกรณี ที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ใช้สิทธิป้องกัน ต่อมาญาติของคนร้าย จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลเอง ฟ้องผู้ใช้สิทธิป้องกันที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องใช่ไหมครับ หากใช่ โดยหลักแล้ว มาตรา ๓๔ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติว่า คำสั่งไม่ฟ้องคดี หาตัดสิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีโดยตนเองไม่ แต่ปัญหาจะอยู่ที่ว่า ผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จะต้องเป็น "ผู้เสียหาย" ตามกฎหมายด้วย (มาตรา ๒(๔) ) กล่าวคือ จะต้องเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง และจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย คือไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย การที่ผู้ตาย บุกรุกหรือกระทำการใดอันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย ส่งผลให้เกิดการใช้สิทธิป้องกัน ไม่ว่าผลสุดท้าย การกระทำป้องกันของผู้ใช้สิทธิป้องกันดังกล่าว จะเป็นการป้องกันหรือไม่ หรือเป็นการป้องกันที่เกินกว่าเหตุหรือไม่. แต่ต้องถือว่าผู้ตายเอง เป็นผู้ก่อให้เกิดภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมาย อันเป็นเหตุให้เกิดการใช้สิทธิป้องกัน ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ตามกฎหมาย เมื่อกฎหมายบอกว่า ผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั้น ได้แก่ (๑) พนักงานอัยการ (๒) ผู้เสียหาย แต่ผู้ตายมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายเสียแล้ว ดังนั้นผู้ตาย หรือแม้แต่ญาติของผู้ตาย ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้ และสุดท้าย ศาลต้องยกฟ้อง เพราะผู้ตายและญาติ ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเอง ในกรณีนี้จึงยังคงเหลือบุคคลเดียว คือพนักงานอัยการ เมื่อพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องแล้ว ก็เอวังด้วยประการ ฉะนี้ ปล. ผมเข้าใจคำถามผิดหรือเปล่า ::005:: แต่ถ้าในกรณีพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคนร้ายที่มาทำละเมิดต่อเราแล้ว ข้อกฎหมายก็เป็นไปตามความเห็นของพี่ Ro@d ข้างต้นทุกประการครับ :D :D หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: kilin ที่ กันยายน 10, 2010, 10:01:42 AM ขอแทรก ไว้ ก่อนนะครับ เพียงการบุกรุกอย่างเดียว เจ้าของบ้าน ที่เป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย จักไม่เกิดสิทธิ ใช้อาวุธปืนยิง นะครับ และโทษที่ได้รับสำหรับเจ้าบ้านผู้ยิง จะติดตะรางจริง โดยไม่มีการรอลงอาญา ประเด็นนี้ ถ้ากฎหมายไม่เคร่งครัด นิดหน่อย ก็ใช้ปืนยิงกันตาย การบุกรุก ที่ เจ้าบ้านจะเกิดสิทธิในการป้องกันตัว โดยใช้อาวุธปืน ยิงได้ ก็ต่อเมื่อ ผู้บุกรุกกระทำความผิดฐานร้ายแรงอื่น โดยมีอาวุธ ร่วมขึ้นมาด้วย จากคำถามของผม เจ้าของบ้านที่เป็นหญิง ผู้บุกรุกแสดงเจตนาประสงค์ร้ายต่อทรัพย์และร่างกาย(ประมาณว่าจะข่มขืนโดยแสดงออกทางกิริยาท่าทาง)แต่ไม่แสดงอาวุธ(ไม่เห็นว่ามีหรือไม่มี)คิดว่ามีไว้ก่อน .......การป้องกันตัวเองจากการข่มขืน มีสิทธิยิงหรือไม่......ข่มขืนเป็นอันตรายร้ายแรงหรือไม่ ::014:: "ประเด็นนี้ ถ้ากฎหมายไม่เคร่งครัด นิดหน่อย ก็ใช้ปืนยิงกันตาย" มองจากมุมเจ้าของบ้านที่เป็นผู้หญิงจะมองว่าเป็นเรื่อง นิดหน่อยหรือเปล่าครับ ::014:: หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Ro@d - รักในหลวง ที่ กันยายน 10, 2010, 10:05:37 AM ขอแทรก ไว้ ก่อนนะครับ เพียงการบุกรุกอย่างเดียว เจ้าของบ้าน ที่เป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย จักไม่เกิดสิทธิ ใช้อาวุธปืนยิง นะครับ และโทษที่ได้รับสำหรับเจ้าบ้านผู้ยิง จะติดตะรางจริง โดยไม่มีการรอลงอาญา ประเด็นนี้ ถ้ากฎหมายไม่เคร่งครัด นิดหน่อย ก็ใช้ปืนยิงกันตาย การบุกรุก ที่ เจ้าบ้านจะเกิดสิทธิในการป้องกันตัว โดยใช้อาวุธปืน ยิงได้ ก็ต่อเมื่อ ผู้บุกรุกกระทำความผิดฐานร้ายแรงอื่น โดยมีอาวุธ ร่วมขึ้นมาด้วย จากคำถามของผม เจ้าของบ้านที่เป็นหญิง ผู้บุกรุกแสดงเจตนาประสงค์ร้ายต่อทรัพย์และร่างกาย(ประมาณว่าจะข่มขืนโดยแสดงออกทางกิริยาท่าทาง)แต่ไม่แสดงอาวุธ(ไม่เห็นว่ามีหรือไม่มี)คิดว่ามีไว้ก่อน .......การป้องกันตัวเองจากการข่มขืน มีสิทธิยิงหรือไม่......ข่มขืนเป็นอันตรายร้ายแรงหรือไม่ ::014:: "ประเด็นนี้ ถ้ากฎหมายไม่เคร่งครัด นิดหน่อย ก็ใช้ปืนยิงกันตาย" มองจากมุมเจ้าของบ้านที่เป็นผู้หญิงจะมองว่าเป็นเรื่อง นิดหน่อยหรือเปล่าครับ ::014:: การขมขืน เริ่มจากพฤติการณ์ สตรีผู้เสียหาย มีสิทธิ์ใช้อาวุธทุกอย่างที่อยู่ใกล้มือ ยับยั้งได้ อยู่แล้ว ครับ การอธิบายความ ในเรื่องข้อกฎหมาย ไม่ใช่เพื่อตอบข้อสงสัยของ จขกท. เพียงเท่านั้น ยังต้องคาบเกี่ยว เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ เพื่อนสมาชิกทีเข้ามาอ่าน ด้วย เรื่องข้อกฎหมาย จะใช้ความเห็น โดยไม่มีความรู้กฎหมายไม่ได้ ไม่อย่างนั้น จะออกทะเลหมด และคนที่จำไปผิด ๆ จะต้องไปรับผิดชอบกับความรันทดนั้น ด้วยตนเอง และเพื่อนที่ให้ความเห็น รวมถึงผมด้วย ก็เป็นนักกฎหมาย ไม่ได้ใช้ความเห็น ความรู้สึกส่วนตัว มาแนะนำ กัน หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: kilin ที่ กันยายน 10, 2010, 10:39:23 AM การขมขืน เริ่มจากพฤติการณ์ สตรีผู้เสียหาย มีสิทธิ์ใช้อาวุธทุกอย่างที่อยู่ใกล้มือ ยับยั้งได้ อยู่แล้ว ครับ
การอธิบายความ ในเรื่องข้อกฎหมาย ไม่ใช่เพื่อตอบข้อสงสัยของ จขกท. เพียงเท่านั้น ยังต้องคาบเกี่ยว เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ เพื่อนสมาชิกทีเข้ามาอ่าน ด้วย เรื่องข้อกฎหมาย จะใช้ความเห็น โดยไม่มีความรู้กฎหมายไม่ได้ ไม่อย่างนั้น จะออกทะเลหมด และคนที่จำไปผิด ๆ จะต้องไปรับผิดชอบกับความรันทดนั้น ด้วยตนเอง และเพื่อนที่ให้ความเห็น รวมถึงผมด้วย ก็เป็นนักกฎหมาย ไม่ได้ใช้ความเห็น ความรู้สึกส่วนตัว มาแนะนำ กัน ... รับทราบและขอบคุณครับ ::014:: ::002:: หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Daimyo ที่ กันยายน 10, 2010, 11:14:43 AM ถามเพิ่มเติมนะครับ..... ในกรณีที่ตํารวจให้ความเห็นไม่สั่งฟ้อง....รวมทั้งอัยการด้วยเช่นกัน... ญาติผู้เสียหาย(ผู้ตาย)..มีสิทธิ์ตั้งทนายขึ้นมาฟ้องอาญาได้หรือไม่ครับ.... ผมเข้าใจว่ากรณีที่สั่งฟ้อง...ฝ่ายผู้เสียหายสามารถตั้งทนายเป็นโจทย์ร่วมกับอัยการได้...แต่กรณีสั่งไม่ฟ้องนี่...ทําได้หรือไม่ครับ ตามปัญหา ผมเข้าใจว่าคงตามกรณี ที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ใช้สิทธิป้องกัน ต่อมาญาติของคนร้าย จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลเอง ฟ้องผู้ใช้สิทธิป้องกันที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องใช่ไหมครับ หากใช่ โดยหลักแล้ว มาตรา ๓๔ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติว่า คำสั่งไม่ฟ้องคดี หาตัดสิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีโดยตนเองไม่ แต่ปัญหาจะอยู่ที่ว่า ผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จะต้องเป็น "ผู้เสียหาย" ตามกฎหมายด้วย (มาตรา ๒(๔) ) กล่าวคือ จะต้องเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง และจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย คือไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย การที่ผู้ตาย บุกรุกหรือกระทำการใดอันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย ส่งผลให้เกิดการใช้สิทธิป้องกัน ไม่ว่าผลสุดท้าย การกระทำป้องกันของผู้ใช้สิทธิป้องกันดังกล่าว จะเป็นการป้องกันหรือไม่ หรือเป็นการป้องกันที่เกินกว่าเหตุหรือไม่. แต่ต้องถือว่าผู้ตายเอง เป็นผู้ก่อให้เกิดภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมาย อันเป็นเหตุให้เกิดการใช้สิทธิป้องกัน ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ตามกฎหมาย เมื่อกฎหมายบอกว่า ผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั้น ได้แก่ (๑) พนักงานอัยการ (๒) ผู้เสียหาย แต่ผู้ตายมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายเสียแล้ว ดังนั้นผู้ตาย หรือแม้แต่ญาติของผู้ตาย ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้ และสุดท้าย ศาลต้องยกฟ้อง เพราะผู้ตายและญาติ ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเอง ในกรณีนี้จึงยังคงเหลือบุคคลเดียว คือพนักงานอัยการ เมื่อพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องแล้ว ก็เอวังด้วยประการ ฉะนี้ ปล. ผมเข้าใจคำถามผิดหรือเปล่า ::005:: แต่ถ้าในกรณีพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคนร้ายที่มาทำละเมิดต่อเราแล้ว ข้อกฎหมายก็เป็นไปตามความเห็นของพี่ Ro@d ข้างต้นทุกประการครับ :D :D เข้าใจถูกต้องครับ.....ผมสงสัยในประเด็นนี้ครับ....ขอบพระคุณมากครับ.... หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Daimyo ที่ กันยายน 10, 2010, 11:16:14 AM ขอบพระคุณพี่โร๊ดด้วยครับ....ขอบวกแต้มให้2ท่านครับ
หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: noibmw ที่ กันยายน 13, 2010, 08:34:36 AM ท่านทั้งหลายมีความรู้สึกไม๊ว่ากฎหมายในเมืองไทยลงโทษอ่อนไป โดยเฉพาะคดีที่เกียวกับความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ผมอยากเสนอความเห็นแต่ไม่รู้มีใครเห็นด้วยหรือไม่
1.คนร้ายใช้อาวุธปืนหรือระเบิดชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์มีโทษอย่างเดียวคือประหาร คนร้ายคงไม่ใช้ปืนขู่แต่เพียงอย่างเดียวหรอก ถ้ามีคนขัดขวางหรือเจ้าทรัพย์ไม่ยอม(เจ้าทรัพย์ไม่ตาย) 2.ถ้าการชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ประหาร 3.พลเมืองดีที่พบเห็นการใช้อาวุธปืนหรือเจ้าทรัพย์สามารถใช้ปืนกับคนร้ายได้โดยไม่มีความผิด หัวข้อ: Re: ผู้หญิง...กับการป้องกันตัว เริ่มหัวข้อโดย: Daimyo ที่ กันยายน 13, 2010, 09:28:19 AM ท่านทั้งหลายมีความรู้สึกไม๊ว่ากฎหมายในเมืองไทยลงโทษอ่อนไป โดยเฉพาะคดีที่เกียวกับความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ผมอยากเสนอความเห็นแต่ไม่รู้มีใครเห็นด้วยหรือไม่ 1.คนร้ายใช้อาวุธปืนหรือระเบิดชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์มีโทษอย่างเดียวคือประหาร คนร้ายคงไม่ใช้ปืนขู่แต่เพียงอย่างเดียวหรอก ถ้ามีคนขัดขวางหรือเจ้าทรัพย์ไม่ยอม(เจ้าทรัพย์ไม่ตาย) 2.ถ้าการชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ประหาร 3.พลเมืองดีที่พบเห็นการใช้อาวุธปืนหรือเจ้าทรัพย์สามารถใช้ปืนกับคนร้ายได้โดยไม่มีความผิด ผมให้ข้อสังเกตุแบบนี้ครับ...... ในหลายๆความผิด....กฏหมายได้กําหนดบทลงโทษหนักอยู่แล้ว.....แต่ก็ยังมีคนกล้าที่จะกระทําผิดอีก.... เพราะ....คนที่ทําผิด....ไม่คิดว่าตัวเองจะโดนจับครับ......เรื่องการโดนลงโทษเลยไม่สน ส่วนข้อ๓นี่....ไม่เห็นด้วยครับ....เพราะสุ่มเสี่ยงที่จะเกินเลยไปหน่อย....ปล่อยให้เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ที่มีกฏหมายคุ้มครองดีกว่า... |