หัวข้อ: การขอป. 3 เริ่มหัวข้อโดย: สุนทร ที่ กันยายน 12, 2010, 12:59:06 PM ผมรับราชการ เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น (นิติกร) อยู่อำเภอเมือง ในจังหวัดหนึ่ง เเต่ในทะเบียนบ้านอยู่อีก อำเภอ/จังหวัดหนึ่ง จะขอ ป.3 ยากไหมครับ ผมจองปืนสวัสดิการของสน.สก. G 19 ไว้ เเละได้รับใบตอบรับเเล้วครับ
ขอบุคณคาบ > ;D หัวข้อ: Re: การขอป. 3 เริ่มหัวข้อโดย: Steel90 ที่ กันยายน 12, 2010, 01:01:07 PM ขอตามท้องที่ของทะเบียนบ้านที่อาศัยอยู่ครับ ยากง่าย มันขึ้นอยู่ที่ความเข้าใจของนายอำเภอ
แต่โดยส่วนใหญ่ข้าราชการจะคุยง่ายกว่า หัวข้อ: Re: การขอป. 3 เริ่มหัวข้อโดย: พ่อค้าภูธร- รักในหลวง ที่ กันยายน 12, 2010, 01:25:48 PM ขอ ป.3 ไม่ยากครับ....ของผมกว่า นอภ.จะเข้าใจ 9 เดือนกว่าครับ สุดท้ายก็ได้มา ป.3 ที่รอคอย....... ::014::
หัวข้อ: Re: การขอป. 3 เริ่มหัวข้อโดย: คนซ่อมทางรถไฟ--->trackmam 52 ที่ กันยายน 12, 2010, 01:31:39 PM ผมรับราชการ เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น (นิติกร) อยู่อำเภอเมือง ในจังหวัดหนึ่ง เเต่ในทะเบียนบ้านอยู่อีก อำเภอ/จังหวัดหนึ่ง จะขอ ป.3 ยากไหมครับ ผมจองปืนสวัสดิการของสน.สก. G 19 ไว้ เเละได้รับใบตอบรับเเล้วครับ ขอบุคณคาบ > ;D ป.3 ไม่เป็นปัญหาครับ ผมก็เคสเดียวกับท่านได้มา 2 ใบแล้ว แต่รบกวนแก้ไขหน่อยครับภาษาไทย คาบ=เอาปากหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างปากงับหนีบไว้ พิมพ์ผิดควรแก้ ตั้งใจไม่ควรพิมพ์ ::014:: ::014:: หัวข้อ: Re: การขอป. 3 เริ่มหัวข้อโดย: สุนทร ที่ กันยายน 12, 2010, 03:42:48 PM ครับผม เเก้เเล้ว อิๆๆ
หัวข้อ: Re: การขอป. 3 เริ่มหัวข้อโดย: Steel90 ที่ กันยายน 12, 2010, 04:45:21 PM หัวข้อ: Re: การขอป. 3 เริ่มหัวข้อโดย: ต.แม่สาย ที่ กันยายน 12, 2010, 07:50:28 PM ลองดู ประมวลกฏหมายแพ่งฯ ม.38 และ ม.42 ครับ
หัวข้อ: Re: การขอป. 3 เริ่มหัวข้อโดย: สุนทร ที่ กันยายน 12, 2010, 07:54:29 PM ส่วนที่ 3 ภูมิลำเนา
มาตรา 37 ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ถิ่นอันบุคคลนั้นมี สถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ มาตรา 38 ถ้าบุคคลธรรมดามีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยน กันไปหรือมีหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่ง ให้ถือเอา แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น มาตรา 39 ถ้าภูมิลำเนาไม่ปรากฏ ให้ถือว่าถิ่นที่อยู่เป็นภูมิลำเนา มาตรา 40 บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่ง หรือเป็นผู้ครองชีพในการเดินทางไปมาปราศจากหลักแหล่งที่ทำ การงาน พบตัวในถิ่นไหนให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น มาตรา 41 ภูมิลำเนาย่อมเปลี่ยนไปด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่ พร้อมด้วยเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนา มาตรา 42 ถ้าบุคคลใดได้เลือกเอาถิ่นใด โดยมีเจตนาปรากฏชัด แจ้งว่าจะให้เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อทำการใด ให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็น ภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการนั้น มาตรา 43 ภูมิลำเนาของสามีและภริยา ได้แก่ถิ่นที่อยู่ที่สามีและ ภริยาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา เว้นแต่สามีหรือภริยาได้แสดงเจตนา ให้ปรากฏว่ามีภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน มาตรา 44 ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้แทน โดยชอบธรรม ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง ในกรณีที่ผู้เยาว์อยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา ถ้าบิดาและ มารดามีภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ได้แก่ ภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาซึ่งตนอยู่ด้วย มาตรา 45 ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถ ได้แก่ภูมิลำเนา ของผู้อนุบาล มาตรา 46 ภูมิลำเนาของข้าราชการ ได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ทำการ ตามตำแหน่งหน้าที่ หากมิใช่เป็นตำแหน่งหน้าที่ชั่วคราวชั่วระยะเวลา หรือเป็นเพียงแต่งตั้งไปเฉพาะการครั้งเดียวคราวเดียว มาตรา 47 ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด ของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ เรือนจำหรือ ทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่ จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว |