เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: นายกระจง ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 11:40:07 AM



หัวข้อ: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 11:40:07 AM
ด้วยความเคารพครับ

ประเทศไทยผลิตข้าวได้มาก ส่งออกข้าวได้มาก แต่ทำไมชาวนาไทยยังยากจน ทั้งๆที่ข้าวเป็นผลผลิตหลักของประเทศครับ สงสัยจริงๆครับ

ขอบคุณครับ



ขออนุญาตแก้ไขข้อความครับ พิมพ์คำว่าประเทศผิดครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 11:42:22 AM

                    ชาวนาขายข้าวให้นายทุน  ......  นายทุนส่งขายนอก ส่วนต่างกำไรอยู่ที่นายทุนไม่ใช่ชาวนา

                    อย่าถามต่อนะว่าทำไมชาวนาไม่ส่งออกเอง



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: คมขวาน รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 11:45:33 AM
        ตามที่ลุงปูว่า ครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 11:53:30 AM


ไม่มีที่เป็นของตัวเอง เป็นประการสำคัญ  ( ต้องแบ่งกับเจ้าของที่ )
พึ่งพาปุ๋ยวิทยาศาสตร์ มากกว่า ปุ๋ยหมัก  ( ต้องใช้เงินซื้อ )
การใช้ควายเหล็ก ( เติมน้ำมัน )
ขาดน้ำท่า ที่บริบูรณ์ ( ภัยแล้ง )
การประกันราคาที่ไม่ได้ตามราคา ( อ้างความชื้นสัมพัทธ์ )
การไม่รวมตัวเพื่อตั้งเป็นสหกรณ์ ทำให้ไม่มีอำนาจในการต่อรอง ( ต่างคนต่างอยู่ )
รัฐ ไม่สามารถลงไปช่วยได้อย่างเต็มที่ เพราะเหตุผลทางการเมือง ( คนของใคร )


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 11:57:50 AM

                    ชาวนาขายข้าวให้นายทุน  ......  นายทุนส่งขายนอก ส่วนต่างกำไรอยู่ที่นายทุนไม่ใช่ชาวนา

                    อย่าถามต่อนะว่าทำไมชาวนาไม่ส่งออกเอง



ตามนั้นครับ... ราคาข้าวแพง ประกันราคาเอาไว้ แต่ชาวนาขายราคานั้นไม่ได้, บอกเถ้าแก่ที่โรงสีว่าวิทยุบอกราคาแพง เถ้าแก่บอกว่าให้ไปขายกับวิทยุ...
ครั้นจะดื้อขายให้ได้ เถ้าแก่บอกว่าขอหักค่าความชื้น ค่าชั่งน้ำหนัก ค่าคนขน ค่า ฯลฯ... ในที่สุดมันก็เหลือเท่าเดิมก่อนดื้อฯ... โหย...

ไปแจ้งความตำรวจบอกว่าถูกโกงขายข้าวต่ำกว่าราคาประกัน, ตำรวจไม่เคยจับครับ... จะเห็นว่าไม่เคยได้ยินข่าวโรงสีโดนจับข้อหากดราคาซื้อข้าวต่ำกว่าราคาประกัน... เฮ้อ...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 11:58:37 AM


ไม่มีที่เป็นของตัวเอง เป็นประการสำคัญ  ( ต้องแบ่งกับเจ้าของที่ )
พึ่งพาปุ๋ยวิทยาศาสตร์ มากกว่า ปุ๋ยหมัก  ( ต้องใช้เงินซื้อ )
การใช้ควายเหล็ก ( เติมน้ำมัน )
ขาดน้ำท่า ที่บริบูรณ์ ( ภัยแล้ง )
การประกันราคาที่ไม่ได้ตามราคา ( อ้างความชื้นสัมพัทธ์ )
การไม่รวมตัวเพื่อตั้งเป็นสหกรณ์ ทำให้ไม่มีอำนาจในการต่อรอง ( ต่างคนต่างอยู่ )
รัฐ ไม่สามารถลงไปช่วยได้อย่างเต็มที่ เพราะเหตุผลทางการเมือง ( คนของใคร )[/b][/color]

(http://image.ohozaa.com/i/0ad/pwey4.png) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=80ebc1acdca90d0fd517588022d529fa)

(http://image.ohozaa.com/i/3d9/eb163727917cbbal.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=626d24f382b2bcad49319eca737963a6)




หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 12:25:39 PM
รัฐบาลไม่จริงใจในการแก้ปัญหาครับ
ข้าวเป็นสินค้าจำเป็น ไม่ว่าเศรษฐกิจเป็นอย่างไร ยากดีมีจน คนต้องกินข้าว
ดูมาดูไปคนปลูกข้าวน่าจะรวย (ขนาดน้ำมันที่เป็นสินค้าจำเป็น คนทำน้ำมันยังรวย)

แต่การประกันราคาก็ดี การจำนำข้าวก็ดี แค่เป็นนโยบายเอาเงินออกมาใช้จ่าย ต้องหาที่ลงเงิน
ก็ลงที่ข้าวง่ายที่สุด วอลลุ่มใหญ่ด้วย

จริงๆ พวกนโยบายประกันราคาหรือจำนำ เป็นนโยบายที่ดีในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือสำหรับ
ภาวะฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อที่พ้นจากภาวะตรงนั้น หลังจากนั้นปล่อยให้เป็นกลไก
ธรรมชาติของระบบเศรษฐกิจ

แต่บ้านเรา ประกันราคากันมาตั้งแต่ผมจำความได้ยันปัจจุบัน ถึงแม้จะกลายพันธุ์มาเป็นจำนำข้าว
ก็แค่เอาเงินออกจากคลังมาใช้จ่ายแค่นั้นเอง โดยเอาชาวนารับเคราะห์



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 12:30:38 PM


ไม่มีที่เป็นของตัวเอง เป็นประการสำคัญ  ( ต้องแบ่งกับเจ้าของที่ )
พึ่งพาปุ๋ยวิทยาศาสตร์ มากกว่า ปุ๋ยหมัก  ( ต้องใช้เงินซื้อ )
การใช้ควายเหล็ก ( เติมน้ำมัน )
ขาดน้ำท่า ที่บริบูรณ์ ( ภัยแล้ง )
การประกันราคาที่ไม่ได้ตามราคา ( อ้างความชื้นสัมพัทธ์ )
การไม่รวมตัวเพื่อตั้งเป็นสหกรณ์ ทำให้ไม่มีอำนาจในการต่อรอง ( ต่างคนต่างอยู่ )
รัฐ ไม่สามารถลงไปช่วยได้อย่างเต็มที่ เพราะเหตุผลทางการเมือง ( คนของใคร )

(http://image.ohozaa.com/i/c43/gymgp.png) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=41881a5e3b9fdd6c298211f67747e110)

http://www.rakbankerd.com/agriculture/page?id=870&s=tblanimal (http://www.rakbankerd.com/agriculture/page?id=870&s=tblanimal)

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: จอยฮันเตอร์ ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 12:44:19 PM
ตอนนี้โรงสีรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ตันละ 5,000.-บาท หรือ กิโลกรัมละ 5.-บาท
ตอนนี้เราซื้อ ข้าวสารกิน เฉลี่ย กิโลกรัมละ 34.-บาท หรือตันละ 34,000.-บาท
สรุป 34,000 - 5,000 = 29,000.-บาท คงจะทราบว่าใครรวย ::013::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 12:51:42 PM
ปีหน้าข้าวแพงครับ ปีนี้น้ำท่วมพื้นที่ปลูกข้าวเยอะ
ตอนนี้ก็มีโรงสีเริ่มออกกว้านซื้อข้าวแล้ว เพิ่มราคาให้ราวๆ4-5บาทต่อถัง
แต่ปีหน้าคนกินข้าวอาจต้องซื้อ กก.ละ40-50บาท

ข้าวราดแกงก็แพงขึ้นแน่ๆ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ลุมพินี08 ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 01:16:36 PM
555 ราคาข้าวเปลือกกับข้าวสารที่เราซื้อกินกันราคาห่างกัน 400% ทำไม่มันต่างกันเยอะขนาดนี้ งั้นต้องไปดูว่าคนที่เกี่ยวดองกับธุรกิจข้าวนั้นเป็นกลุ่มใหนมากที่สุดละครับ ปัญญาทึบอย่างผมเดาว่ากลุ่มนักการเมืองคุมธุรกิจนี้เป็นส่วนใหญ่


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: your-ประชาธิปไตย ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 01:35:17 PM
เพราะระบบเศรษบกิจแบบทุนนิยมและวัฒนธรรมบริโภคนิยม .....รัฐส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถทำกำไรและแข่งขันได้ ต้นทุนและวัตถุดิบจากภาคเกษตรจึงต้องกำหนดให้มีราคาต่ำ ระบบการผลิตทางการเกษตรเน้นในเชิงพาณิชย์เพื่อให้ทันต่อการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลและชนชั้นนำพยายามปลูกฝังกระทำตัวเป็นแบบอย่างในการบริโภค ชาวนาเกิดวัฒนธรรมการสั่งสมทรัพย์สิน อยากได้อยากมีตามอย่างชนชั้นนำ ต้องขายผลผลิตทางการเกษตรเพื่อไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าอุตสาหกรรมที่มีราคาแพงจึงทำให้รายได้ไม่พอใช้ เกิดการกู้ยืมนำเข้าสู่ภาวะหนี้สิน ขายที่ทำกินให้กับนายทุนภาคอุตสาหกรรม เกิดภาวะความยากจนในที่สุด....
      ที่สำคัญชาวนาทุกวันนี้ขี้เกียจและไม่รู้จักพัฒนา สมัยก่อนเคยเกี่ยวข้าวด้วยมือ ตีข้าว ตำข้าวเอง เดี๋ยวนี้พึ่งพาเครื่องจักรและสารเคมีที่ต้องหาซื้อมาในราคาแพงทุกอย่าง บางคนมีนาไม่กี่ไร่ จ้างเค้าหมดทุกอย่าง พวกรับจ้างก็คิดค่าแรงเป็นเงินบ้าง แบ่งเอาเป็นข้าวบ้าง เหลือแทบไม่พอขายหรือกินเองด้วยซ้ำ สมัยเด็กๆพ่อผมเคยพาทำนา แถวบ้านทำนาดำ 3 คนพ่อลูก(มีน้องชายอีกคน) นา 10 กว่าไร่ทำเองแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ไถ(มีรถไถนา) หว่าน ถอนกล้า ดำนำ ใส่ปุ๋ย สูบน้ำ เกี่ยวข้าว ตีข้าว(ด้วยมือนี่แหละ)  ได้ข้าวเหลือเฟือเพราะไม่ต้องแบ่งใคร แต่ไม่ขายเก็บไว้กินเองแจกญาติบ้างบางส่วน สมัยเด็กๆก็ไม่ค่อยเข้าใจพ่อเท่าไหร่เพราะเหนื่อยเอาการ เลิกเรียนต้องไปช่วยพ่อทำนาจนค่ำช่วงเกี่ยวข้างตีข้าวนี่บางทีเปิดไฟแบตฯตีข้าวกันยันเที่ยงคืน กลับมาถูกเคี่ยวอ่านหนังสืออีก แถมเจ้าของนารอบๆที่ใช้เครื่องจักรทำแทนคนทุกอย่างแล้วอีกทั้งพ่อและแม่ก็มีงานประจำรับราชการระดับ 7 ทั้งคู่(ใช้เวลาช่วงเสาร์-อาทิตย์และหลังเลิกงานไปทำนา)หนี้สินก็ไม่มี ซื้อข้าวกินหรือจ้างเค้าเอาก็ได้ แต่พอเอาข้าวที่เราทำเองไปสี(อันนี้ต้องจ้าง)รู้เลยว่าข้าวที่เราปลูกเองอร่อยกว่าข้าวซื้อเยอะเลย แถมยังมีความรู้สึกดีๆที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันของคนในครอบครัวอีกด้วย พูดแล้วก็คิดถึงวันเก่าๆ เวลาช่วยพ่ออยู่ในสวนในนามันมีความสุขจริงๆ ทุกวันนี้พ่อผมก็แก่ตัวลงมาก ตัวผมเองและน้องชายก็ไม่ได้ทำงานอยู่ใกล้บ้าน ที่นาก็ให้เค้าเช่าพอได้ข้าวกินไม่ต้องซื้อ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Zeus-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 02:25:52 PM
ปัญหาไม่รู้จะตอบยังไงครับมันหลายเรื่องหลายปัจจัย แต่วิธีแก้ที่พอนึกออกก็มีดังนี้ครับ
1.ให้ชาวนาปลูกข้าวเป็นพันธุ์เดียวกัน (ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทั้งประเทศแบบเวียดนามครับ แค่ในกลุ่มตำบลนี้ปลูกข้าวพันธุ์อะไรในนาปี นาปรัง)
2.ให้แต่ละหมู่บ้าน สร้างลานตาก แต่ละตำบลสร้างยุ้งฉาง
3.ส่งเสริมให้ชาวนาใช้ปุ๋ยชีวภาพ แทนปุ๋ยเคมี

การที่ให้ชาวบ้านปลูกข้าวพันธุ์เดียวกัน คือการกำหนดว่าเราจะส่งออกข้าวพันธุ์อะไร และตลาดในประเทศจะบริโภคข้าวแบบใด ทำให้สามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้อย่างมีคุณภาพ ราคาเมล็ดพันธุ์ก็จะถูกลง............การสร้างลานตาก เพื่อให้ชาวนาได้นำข้าวที่เก็บเกี่ยวมาตากเพื่อให้สามารถขายเป็นข้าวความชื้นต่ำ เพื่อเก็บเข้ายุ้งฉาง และขายข้าวในลักษณะการรวมกลุ่มเพิ่มอำนาจการต่อรองให้แก่ชาวนา..........ส่วนการใช้ปุ๋ยชีวภาพ นั้นก็เพื่อให้นำมาใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง ในระยะแรกผลผลิตอาจตกต่ำลง แต่ในระยะยาวจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้แก่ชาวนา (ดังนั้นรัฐหรือหน่วยงานควรจะมีมาตรการในการช่วยเหลือในระยะแรก ประมาณ 1-2 ปี)

คิดออกแค่นี้ครับ ปัญหาไม่อยากไปพูดถึงเพราะไม่ยากจะซ้ำเติมชาวนา......เพราะปัญหาที่เกิดจากตัวชาวนาเองก็เป็นปัจจัยทีทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวอยู่ไม่น้อย จากระบบราชการ โอ๊ยแยะครับ.....................3 ข้อที่ผมว่ามา มีกลุ่มที่ทำแล้วได้ผลก็แยะครับ ที่ล้มเหลวไม่เป็นท่าก็มี มันมีปัจจัยอีกหลาย ๆ อย่างที่ต้องดูก่อนทำอีก อาทิความเข้มแข็งของชุมชน การร่วมมือร่วมใจ การยอมรับของเกษตรกร ผู้นำกลุ่ม ฯลฯ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 02:35:35 PM
ราคาข้าวขึ้นมาเท่าตัวนึงตั้งแต่ปี51แล้วครับ จาก14เป็น28 แต่ชาวนาก็ยังจนเหมือนเดิม   เหอะๆ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: รปศ. PSRU @ รักพระเจ้าอยู่หัว @ ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 02:59:45 PM
รัฐบาลและหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง  ไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหาราคาพืชผลเกษตรกร  ห่วงแต่พวกนายทุน/พ่อค้าเพราะพวกนายทุนหรือพ่อค้ามีเงินสนับสนุนพรรคการเมือง

และที่สำคัญที่สุดหากชาวนาหรือเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  ร่ำรวยเงินทองหลุดพ้นจากความยากจน  อยู่ดีมีสุขแล้ว

พวกนักการเมืองและพรรคการเมืองต่างๆก็จะซื้อสิทธิ์ซื้อเสียงได้ยากลำบากขึ้นหรืออาจจะซื้อไม่ได้เลยครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Daimyo ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 03:00:31 PM
ในความเห็นส่วนตัว.......

รัฐต้องสนับสนุนและส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรในทุกส่วนให้เข้มแข็งมากที่สุดครับ......และหาตลาดให้สหกรณ์เหล่านี้


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 03:06:38 PM
Ha Ha ฮา  ลองพิจารณาดูสิคร๊า 

ในรอบ60 ปี  มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง  เกี่ยวกับการ  “ถือครองที่ดิน”  ฮา
มีความพยายาม   จะเก็บ  “ภาษีที่ดิน”   ที่ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์   ฮา
แต่  “แท้ง”   เก็บไม่ได้เสียที    มีคน  “ขวาง”     ฮา 

แหล่งน้ำ  หรือที่เราเรียกว่า “ระบบชลประทาน”  มันก็ไม่ได้เดินหน้าไปไหน  ฮา

ไม่ต้องถามยายน๊ะคร๊า  ฮา    ยายไม่รู้ จริงๆ  ฮา 

ยายเปรียบเทียบ  เรื่องง่ายๆให้ดูน๊ะคร๊า  “ระบบขนส่งมวลชน” ขนาดใหญ่ ตอนนี้มีอะไรบ้าง  ฮา
รถไฟฟ้า   ใต้ดิน  บนดิน เร๊อะ  ก็กระจุกตัวแค่ในเขตเมือง  ระยะทางสั้นๆ  ฮา

ลองคิดมุมกลับดูอ่ะคร๊า      ถ้าระบบขนส่งมันดี    สะดวกสบาย   
ใครมันจะเอารถยนต์ออกมาวิ่ง   ต่อคิว   ติดแหง็ก  อยู่บนถนน  ฮา

ก็เลยปล่อยให้มันเป็นอย่างนี้อ่ะ  ฮา   รถยนต์ขายดิบ ขายดี  ฮา  รวยเอา  รวยเอา

ฮ่า  ฮ่า  ไปดูรายชื่อ  ผู้ถือหุ้นอันดับต้นๆ    สิคร๊า  ฮา  นามสกุล ดังๆ  ทั้งนั้น  ฮา

เรื่อง ที่เกี่ยวพันปากท้องของคนจน  สามารถทำได้ทันที  ทุกเรื่อง   ฮา   แต่ไม่มีใครกล้าทำ  ฮา

เบื้องหลัง ลึกๆ  มันเกี่ยวพันกับ “ชนชั้นปกครอง” อ่ะคร๊า  ไม่ยอมปล่อย
แหม  ....ก็ “คนจน   มันโง่   ปกครองง่าย”  อ่ะคร๊า  ฮา
(จน  เครียด   กินเหล้า  ฮา)

เอ๊ะ ........ยายจะโดน “อุ้ม” หรือเปล่าเนี่ย  ฮา


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกหมุน-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 03:08:25 PM
1.รัฐกำหนดนโยบายประเทศ
2.รัฐมาจากการเลือกตั้ง
3.จะเลือกใครชาวนาส่วนมากต้องได้เงินหรือกินเหล้าผู้สมัคร
4.ผู้สมัครถ้าอยากได้รับการเลือกตั้ง  ต้องมีเงินและหาเหล้าให้ชาวนากิน
5.นายทุนสงสารผู้สมัครก็ออกให้นะ
6.เมื่อผู้สมัครได้เป็นผู้บริหารหรือผู้ออกกฎหมาย  ก็จะทดแทนบุญคุณผู้ออกให้นะ
.........ชาวนา ก็เป็นชาวนาที่ได้กินแต่เศษเหล้าและเศษเงิน  ::006::  ต้องขออภัยชาวนาส่วนน้อยนิดที่ไม่เข้าข่ายที่ว่ามา... ::005::
(http://www.uppicweb.com/x/i/ik/wmx8zzitz68cyhwnyx8.jpg) (http://www.uppicweb.com/show.php?id=8a839f16e3949833d82e994ad864cd63)
Thanks: ฝากรูป (http://www.uppicweb.com) hosting (http://www.thaihostweb.com)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 03:09:47 PM
... ทำไม ... ขายข้าวทีไร ... ค่าเงินบาทต้องแข็งขึ้นทุกปีครับ ...  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: * ตุ้งแช่ * ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 03:27:02 PM
 ::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: แสนสุข ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 06:15:03 PM
ผู้นำลิเบียบอกว่าราคาน้ำมันดิบควรจะ100$/บาเรล เพื่อจะได้สมดุลกับราคาของกินที่กำลังแพงขึ้น ::003::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: aniki ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 07:47:18 PM
เพราะรัฐบาลไม่ใส่ใจแก้ปัญหา  และดูแล...ชีวิตผมอยู่ญี่ปุ่นกว่า20ปี  ทำให้มองเห็นชัดเจนมาก
1.ชาวนาชาวไร่ในประเทศไทยมีมากเกินครึงประเทศ  แต่มีเครื่องมือเครื่องจักร.อันไหนบ้างที่ทางรัฐ.คิดสร้างให้  ปุ๋ย+ยาเคมี  รัฐหาอะไรให้บ้าง

...ของญี่ปุ่น...มีเพียง5%แต่เขาได้รับการดูแลจากรัฐ.  ทุกอย่าง  เช่นเครื่องขุดมัน  เครื่องตัดอ้อย  เครื่องหักข้าวโพด  ทั้งๆที่มีคนทำไม่กี่ราย  รัฐเขาช่วยเหลือครับ  บ้านเรามีมั้ย??

2.การจัดสรรพื้นที่  บ้านเราไม่มีเลย....ไม่ใช่ที่ตรงไหนอยากทำอะไรก็ทำ  อย่างเช่นพื้นที่ในภาคอิสานบางพื้นที่ไม่เหมาะทำไร่ทำนา  เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์
แต่ทางรัฐ.ให้ความรู้อะไรแก่ชาวบ้านบ้าง
 
.....ของญี่ปุ่น  เขาจะระบุให้เลยว่าตรงนี้ควรทำอะไร  ที่ตรงๆไหนน้ำคลองไม่ถึงก็จะไม่ให้ทำนา  ให้ทำอย่างอื่น

3ความรู้ด้านวิชาการ..บ้านเรารัฐเคยมาดูแลเรื่องดิน  เรื่องปุ๋ยมั้ย  ที่ญี่ปุ่นคนที่ทำไร่ทำนาต้องผ่านโรงเรียนมาทั้งสิ้น  และทางรัฐจัดหาให้

4การรวมกลุ่ม...บ้านเราไม่มีเลย  รัฐไม่ได้มาสนใจทั้งสิ้น  ของญี่ปุ่น  จะมีการรวมกลุ่ม  เพื่อไม่ให้สิ้นค้าล้นตลาด  การจัดการระบบขนส่งต่างๆทำด้วยระบบเนตเวิร์ค  ทำให้มีค่าใช้จ่ายน้อย  ถึงมือผู้บริโภคเร็ว

เอาแค่เรรื่องปุ๋ยกับเครื่องมือก็เห็นชัดเจนแล้วครับ
ชาวนาไทยยังต้องจนต่อไป  ตราบใดที่ยังแก้ปัญหาของตัวเองไม่ได้...อย่าหวังพึ่งรัฐ.ที่ดินที่มีอยู่ทำให้เต็มที่  ใช้จ่ายให้น้อยที่สุด  พึงตัวเองลุกยืนด้วยตัวเอง
ถ้าทำได้ก็ไม่มีทางจนครับ



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 10:01:52 PM
บ้านเรามีครับ   แต่โกงกันหมด  หรือไม่ก็เห็นแก่ตัว+ขี้เกียจ......  :P

ไม่ใช่รัฐไม่ช่วย  แต่ชาวบ้านไม่รู้จักช่วยตัวเองมากกว่า  ยกตัวอย่างที่ อำเภอผมอยู่

ตอนแรกรวมกลุ่มกันในหมู่บ้าน  อยากทำปุ๋ยไว้ใช้เอง  ทำเรื่องขอเงินจากรัฐ

รัฐให้เงินซื้อเครื่องบดพืชไว้ทำปุ๋ยหมัก  ให้เงินลงทุนซื้อวัสดุ  อุปกรณ์ทุกอย่าง

พอซื้อมาแล้วทำได้อยู่ ๑  อาทิตย์  ชาวบ้านขี้เกียจทำ  บัดนี้เครื่องบดราคาเกือบแสน

วางทิ้งไว้เฉย ๆ ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย......  :<<


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ พฤศจิกายน 26, 2010, 11:38:40 PM

ขาดตัวตั้งตัวตีครับ
และคิดเข้าข้างตัวว่า
เราทำก็เหนื่อยเปล่า ไม่มีใครเข้ามาช่วยเลย
เหนื่อยคนเดียว ก็เลยท้อ
แต่ถ้าลง มีใครมาช่วยลงแรง
ทำให้เกิด ทำให้เห็นผล
มันก็จะขับเคลื่อนได้เอง
เพียงแต่ตอนนี้ ตัวใครตัวมัน
มึงไม่ทำ กูก็ไม่ทำ
ก็ต้องให้นายอำเภอ เกษตรอำเภอ ปลัด กำนัน ผู้ใหญ่ ผู้ช่วย
ลงไปทำให้กระบวนการ มันขับเคลื่อน ครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 12:06:57 AM
 ::014::ถูกต้องทุกท่านครับ  :VOV:

มันเกี่ยวกับชนชั้นนำ ชนชั้นนายทุนหลายระดับ ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสีย มีผลประโยชน์มายาวนาน

ผมว่าด้านความรู้คนชาติเรามีล้นเหลือครับ จบนอก จบดร.เป็นแสนๆคน มีตำแหน่งใหญ่โตเยอะแยะ ไปเรียนต่อ ไปดูงานกันทุกปี 

แต่ว่า...ระบบนายทุนมันใหญ่กว่า ทำนาบนหลังคนมานาน พรรคการเมืองไหนจะกล้าหือ เงินอุดหนุนน่ะ จะเอามั้ย แถมนักการเมืองและเครือญาติเองก็ตัวเบ้งๆทั้งนั้น ในวงการ

พูดก็พูดนะ เห็นคนไทยที่ยากจนกันค่อนประเทศแล้วก็หดหู่ใจ ทั้งที่ประเทศเรามันเฟอเฟ็กส์ขนาดนี้  :-\



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Tืa์M๊ ┇รัnใuxaวJ ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 01:30:39 AM
พรรคพวกนักการเมืองนี่แหละตัวดีเลย


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: SOAP47 รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 01:53:23 AM
ในความเห็นส่วนตัว.......

รัฐต้องสนับสนุนและส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรในทุกส่วนให้เข้มแข็งมากที่สุดครับ......และหาตลาดให้สหกรณ์เหล่านี้
นี่แหละของแท้แก้ปัญหาได้แน่ๆ +1 ครับ เริ่มที่ชาวนาก่อนครับ ปัญหาของตัวเองไม่แก้ไขเอง รอแต่คนอื่นมาแก้ให้ ชาติหน้าก็เป็นอยู่อย่างนี้ครับ และยิ่งจนลงเรื่อยๆ  มีอย่างที่ไหน มีแต่เค้าให้ตังค์นักการเมืองเพื่อออกกฎหมายเพื่อตัวเอง แต่แปลกประเทศสารขัณฑ์ นักการเมืองแจกเงินให้ประชาชนไปเลือกตั้ง คงแก้ได้มั้งครับ
ที่พูดมาก็ถูกแหละครับ แต่มันปลายเหตุแล้ว ถ้ามัวแก้ปัญหาอย่างนี้ทุกปี คงเจริญฮวบๆ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 04:14:34 AM
ในแง่ภาครัฐ :

- เรื่องการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐเพื่อพัฒนาคุณภาพการเพาะปลูกและแปรรูป ... ก็ยังไม่ไปถึงไหน

- เรื่องการให้คำปรึกษา และให้ความรู้ด้านวางแผนการเพาะปลูกให้ตรงกับความต้องการของตลาด ทั้งชนิดของผลิตภัณฑ์ และช่วงเวลาออกสู่ตลาดที่เหมาะสม  ...  ก็ยังไม่เห็นทำเป็นเรื่องเป็นราว
  ระบบจำนำหรือประกันราคาข้าว  มองอีกแง่ ก็เป็นการหมกปัญหา บิดเบือนกลไกการตลาด ไม่ใช่การแก้ที่ต้นเหตุ ...  ราคาข้าวตกต่ำเพราะมันมีช่วงที่ Supply มันมากกว่า Demand จนนายทุนและพ่อค้าคนกลางบีบเล่นคั้นเล่นได้อย่างมันมือ   จริงๆแล้วที่ต้องทำคู่ขนานกับการประกันราคาหรือรับจำนำข้าว คือการสนับสนุนให้เพาะปลูกตรงกับความต้องการที่แท้จริง หรือหมุนเวียนไปทำเกษตรประเภทอื่นๆตามภาวะตลาด

... สรุปว่าภาครัฐไม่จริงใจ มือไม่ถึง หรือมีอะไรแอบแฝง ก็ว่ากันไป ...


ในแง่การสอดประสานระหว่างรัฐและกลุ่มเกษตรกรชาวนา :

- เรื่องการรวมกลุ่มเกษตรกรโดยหน่วยงานรัฐเป็นพี่เลี้ยง เพื่อสร้างพลังต่อรองกับคู่ค้า หรือเพื่อขยายกิจกรรมในแนวดิ่งไปสู่การแปรรูปและขายด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในรูปของสหกรณ์ หรือวิสาหกิจชุมชนใดๆ  ...  ก็ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง ไม่ได้คิดจะทำจริงจังทั้งสองฝ่าย หมดโครงการก็ม้วนเสื่อหายกันไปหมด
   
อันนี้คลุกคลีมาเอง ... สรุปว่า ผีเน่ากับโลงผุ ...
 

ในแง่ของตัวเกษตรกรชาวนาเอง :   ก็ไม่ได้ยึดหลักปรัชญาพอเพียงของพ่อหลวง

- ชาวนาจำนวนไม่น้อยที่เอาง่ายเข้าว่า พ่อหลวงทรงแนะแนวทางการเกษตรผสมผสานยุคใหม่ ไม่อิงกับผลผลิตตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป ก็ไม่นำพามาปฏิบัติ  เพราะไม่อยากเปลี่ยน , เพราะมันไม่ชิน , เพราะรอคนเอาเงินมาหว่านให้ฟรีๆง่ายกว่า, เพราะ ....... , เพราะขี้เกียจ ฯลฯ
  สำหรับคนที่มีความตั้งใจอยากจะทำ แต่ไม่มีทุน ไม่มีที่ดิน  อันนี้น่าเห็นใจครับ .. ก็ขอให้ความขยันจงเป็นต้นทุนไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น

- ชาวนาจำนวนไม่น้อยฟุ้งเพ้อไปตามกระแสตลาดทุนนิยม มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนเงินกู้ ก็โดดเข้าไปคว้าเพื่อจับจ่ายของฟุ่มเฟือยโดยไม่ดูกำลังของตน ประเภทไปตายเอาดาบหน้า  กระแสแข่งกันเด่นแข่งกัน(เพื่อให้ดู)รวย ยังมีอยู่ไม่ใช่น้อยในสังคมชนบท   ไม่ได้ตระหนักในความจริงที่ว่าการทำนาเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถเสกสรรชีวิตที่ฟุ่มเฟือยขนาดนั้นได้ จริงๆพวกเขาต้องมีผลิตผลตัวอื่น หรืองานอื่นทำเสริมกันไป ในระหว่างรอทำนาหรือรอเก็บเกี่ยว
  สมัยก่อนชาวนาอยู่กันได้ดีกว่านี้เพราะรู้ทำรู้เก็บ ปลูกเองกินเองได้แทบทุกอย่าง อยู่ได้สบายๆตามอัตภาพ เงินทองก็ไม่ต้องใช้มาก

- ชาวนารุ่นใหม่และลูกหลานจำนวนไม่น้อย "โคตรขี้เกียจ" ... หนุ่มสาวชนบทยุคใหม่จำนวนมาก เสร็จหว่านไถปักดำก็นอนกระดิกเท้านั่งกินนอนกินบุญเก่าค้างยุ้งของบรรพบุรุษอยู่ที่บ้าน กลางวันเป็นเด็กแว้นท์ ตกเย็นกินเหล้า ไม่คิดทำมาหากินอย่างอื่น  นั่งนอนผลาญเงินพ่อแม่รอไป 3-4 เดือนค่อยย้ายพุงมาเก็บเกี่ยว  ถ้าโชคดีทำนาได้หลายรอบก็หว่านดำรอบใหม่ แล้วก็นั่งเป็นลูกเทวดาไปอีก 3-4 เดือน เป็นวงจรสันหลังยาว ระบาดไปทั่ว  อย่างนี้จะไม่จนยังไงไหว
  พวกที่ทำนาได้รอบเดียวก็จำต้องมาหางานทำในเมืองใหญ่ เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ทำงานพอได้เงินก็ไปลงขวดเที่ยวเตร่  พอเก็บเงินได้สี่ซ้าห้าพันก็หาโอกาสกลับไปทำร่ำทำรวยที่บ้าน พอเงินหมดก็นั่งๆนอนๆให้พ่อแม่ตายายเลี้ยงอีก เบื่อนักก็ค่อยเข้าเมืองมาหางานทำ เพื่อจะกลับไปใหม่ ... นี่ยังไม่นับพวกที่มาได้เมียมีลูกกันตั้งแต่อายุยังน้อย แล้วส่งกลับไปเป็นภาระของพ่อเฒ่าแม่เฒ่าต้องมาเลี้ยงดู ทั้งที่บ้านก็ลำบากอยู่แล้ว

ไม่ได้บอกว่าเป็นกันทุกคนทุกบ้าน  แต่ขอยืนยันว่าไอ้ประเภทนี้มันมีมากจริงๆ .. ถ้าไม่จนก็เก่งเกินไปละ


... อันนี้ไม่ต้องสรุปครับ  ...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: SOAP47 รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 10:19:16 AM
+1 ครับ พี่ เบิร์ด


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 10:41:59 AM
ไม่อยากจะลากไปเรื่องการเมืองเลย แต่มันอดไม่ได้

รู้สึกเศร้าสลด หดหู่ใจทุกครั้ง ... ที่รับรู้ปัญหาในประเทศนี้

ถ้าเราได้ "ผู้บริหารประเทศซักคน ที่มีจิตกุศล ทำเพื่อส่วนรวม เพื่อประชาชนคนในประเทศ"

...... ปัญหาทุกอย่าง ผมว่าไม่เกินแก้ไข

ปัจจัยสี่ของคนมีแค่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค

ของพวกนี้ อะไรบ้างที่เราผลิตไม่ได้

เพราะเรามีแต่คนขี้โกง โลภมาก เอาแต่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง

... ประเทศชาติเราถึงต้องเป็นแบบนี้

ตอนนี้โรงสีรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ตันละ 5,000.-บาท หรือ กิโลกรัมละ 5.-บาท
ตอนนี้เราซื้อ ข้าวสารกิน เฉลี่ย กิโลกรัมละ 34.-บาท หรือตันละ 34,000.-บาท
สรุป 34,000 - 5,000 = 29,000.-บาท คงจะทราบว่าใครรวย ::013::

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมาก ... ไม่ต้องไปพูดถึงตลาดส่งออก ไม่ต้องอ้างเรื่องอื่น

ผมซื้อข้าวกิน กระสอบ 50 กิโลกรัม ... กระสอบละเกือบ 2,000 บาท ......... ถามว่า "คนปลูกข้าวได้อะไร"


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 10:49:45 AM
ชาวนารุ่นใหม่และลูกหลานจำนวนไม่น้อย "โคตรขี้เกียจ" ... หนุ่มสาวชนบทยุคใหม่จำนวนมาก เสร็จหว่านไถปักดำก็นอนกระดิกเท้านั่งกินนอนกินบุญเก่าค้างยุ้งของบรรพบุรุษ อยู่ที่บ้าน กลางวันเป็นเด็กแว้นท์ ตกเย็นกินเหล้า ไม่คิดทำมาหากินอย่างอื่น  นั่งนอนผลาญเงินพ่อแม่รอไป 3-4 เดือนค่อยย้ายพุงมาเก็บเกี่ยว  ถ้าโชคดีทำนาได้หลายรอบก็หว่านดำรอบใหม่ แล้วก็นั่งเป็นลูกเทวดาไปอีก 3-4 เดือน เป็นวงจรสันหลังยาว ระบาดไปทั่ว  อย่างนี้จะไม่จนยังไงไหว
  พวกที่ทำนาได้รอบเดียวก็จำต้องมาหางานทำในเมืองใหญ่ เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ทำงานพอได้เงินก็ไปลงขวดเที่ยวเตร่  พอเก็บเงินได้สี่ซ้าห้าพันก็หาโอกาสกลับไปทำร่ำทำรวยที่บ้าน พอเงินหมดก็นั่งๆนอนๆให้พ่อแม่ตายายเลี้ยงอีก เบื่อนักก็ค่อยเข้าเมืองมาหางานทำ เพื่อจะกลับไปใหม่ ... นี่ยังไม่นับพวกที่มาได้เมียมีลูกกันตั้งแต่อายุยังน้อย แล้วส่งกลับไปเป็นภาระของพ่อเฒ่าแม่เฒ่าต้องมาเลี้ยงดู ทั้งที่บ้านก็ลำบากอยู่แล้ว

ผมว่าคนมองปัญหานี้ ....... มองที่ปลายเหตุ

ถ้าให้พิมพ์ คงเมื่อยมือ ......... ถามแค่ว่า

คุณเคยเห็นคนที่ขยันทำมาหากินบ้างมั้ย ... แล้วเค้าร่ำรวย "ทุกคน" หรือเปล่า  :~)

คุณรู้จักเถ้าแก่โรงสีซักคนมั้ย คุณว่าเค้าทำงานหนักหรือเปล่า ... แล้วเค้ายากจนมั้ย  :D~

......... ชีวิตคนบางครั้ง ได้ ดี มี จน แตกต่างกันแค่ "โอกาส" เท่านั้นล่ะครับ

เราไม่สามารถทำให้ทุกคนมีโอกาสเท่ากันได้ ... แต่เราน่าจะเฉลี่ยโอกาส ให้กันได้นะ  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: zumphol ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 11:48:48 AM
จะไม่จนได้ไงหละครับ

ถ้าท่านได้สัมผัสกับวงจรชีวิตของชาวนา...จริงๆ

ในสมัยนี้ เขาทำนากันทางโทรศัพท์

แค่กดแล้วโทรออก มีคนรับจ้างทำทุกขึ้นตอน

ชาวนามีหน้าที่แค่ ไปกู้และจ้าง

ถึงเวลาขายข้าวเจ้าหนี้มียืนรอตรึม

ลูกหลานชาวนารุ่นใหม่ก็ไม่ไปชาวนา

กลัวแดด กลัวดำ เข้าคลีนิกศัลยกรรม ทำหน้าเกาหลี เดินห้าง รับจ้างเรียน ฯลฯ

พวกที่ยอมตัวดำทำนา คือพวกไม่มีที่ทางเป็นของตัวเอง เลยต้องรับจ้างทำนาแทนคนอื่น

-อีกมุมหนึ่งของชาวนา-



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Choro - รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 11:58:34 AM
 เข้ามาเก็บความรู้ครับ  ::014:: อ่านแบบนี้มาสักพักแล้วครับ ในส่วนตัวคิดว่าคงจะได้อ่านอีกในไม่นานนี้

  ถ้าทุกอย่างยังเป็นเหมือนเดิม

  ด้วยความเคารพครับ  ::014:: 


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 12:26:13 PM
ไม่ใช่มองปัญหาที่ปลายเหตุ  แต่เป็นการมองให้ครบทุกด้านโดยความเป็นจริงครับ .. แต่เรามักเลือกรับฟังเฉพาะสิ่งที่เราอยากฟัง

การมองต้นเหตุของปัญหา โดยวิเคราะห์ตามจุดอ่อน (Weakness) หรือสิ่งคุกคาม (Threat)  ต้องมองที่ทั้ง "ปัจจัยภายใน" และ "ปัจจัยภายนอก"  ...
ถ้าตนเองยังอ่อนแอ ก็ต้องยอมรับและแก้ไขด้วย ไม่ใช่เอาแต่โทษคนอื่นไปทั่ว

คนขยันทำมาหากิน แม้ไม่ได้ร่ำรวยทุกคน .. แต่ก็แทบจะปิดประตูความจนได้สนิท ยิ่งถ้าไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ลำบากแน่นอน
เถ้าแก่โรงสีเขาจนหรือไม่  เราจะได้ประโยชน์อะไร จากการไปเปรียบเทียบเรื่องเหล่านี้ .. ต้นทุนทางสังคมมันไม่เท่าเทียมกันมาตั้งแต่เกิด เป็นเรื่องธรรมชาติ  แต่ถ้าไม่คิดปรับปรุงตนเพื่อสร้างต้ว ไม่ขยัน ก็คงได้แต่มองและโทษคนอื่นกันจนตาย
การต่อสู้กับความเอารัดเอาเปรียบ ไม่ใช่เอาแต่โทษนายทุนโรงสีอยู่อย่างเดียว (จริงๆเค้าไม่ได้เอาปืนมาจ่อหัวบังคับให้เราขาย) .. แต่ต้องรวมพลังสร้างตนเอง ทำเอง รวมกลุ่มต่อรองผลประโยชน์ได้
ไปป้อนไปปลุกก็ไม่เห็นอยากทำกันจริง จะเอาแต่งบและกินข้าวฟรี พอตั้งเครือข่ายสมาชิกก็หายกันไปหมด ที่ขัดไม่ได้ก็มาแบบซังกะตาย หรือไม่ก็ส่งพ่อแก่แม่เฒ่าให้มายืนงงๆแทนตัวเอง

คนไม่ขยัน แม้มีโอกาส  ก็ไม่ไขว่คว้า ปล่อยให้ลอยผ่านไป ... คนขยัน แม้ไม่มีโอกาส ก็ยังมีแรงที่จะทำโอกาสให้เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง

อย่างที่ผมพูดไว้ มันมีความบกพร่องพิกลพิการกันทุกฝ่าย  เราต้องยอมรับเพื่อแก้ไข ..
ถ้ายังเอาแต่โทษฝ่ายอื่นโดยไม่ยอมรับจุดด้อยของตน ชีวิตมันก็ไม่ไปถึงไหน
ที่ทำได้ทันที คือเริ่มจากตัวเองก่อนเลยครับ ... ดีกว่านั่งรอให้ใครเขาช่วย


คัมภีร์หลุดพ้นจากความยากจน
        =   ความพอประมาณ + ความมีเหตุมีผล + ภูมิคุ้มกันที่ดี [มีความรู้รอบในสัมมาชีพตน , มีคุณธรรมมุ่งในสิ่งที่ควร(รวมทั้งความเพียรขยัน)]


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Skeleton_King ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 05:58:15 PM
ไม่ต้องคิดให้ปวดหัวหรอก  ขนาดนักวิชาการที่เขาจบ ดร. เขามีความรู้มากมาย   คิดมาก่อนเราตั้งนาน จนป่านนี้ยังแก้ไขปัญหาราคาข้าวไม่ได้เลย
เป็นมาทุกยุคทุกรัฐบาล  เห็นก็มีแต่ยุครัฐบาลทักษิณ ที่ชาวนาพอจะยิ้มได้หน่อย  แต่ก็ยังถูกโกงแบบทับซ้อนอีก  น่าสงสารชาวนาจริงๆ


ผมไม่เห็นทางไหน ที่จะทำให้ชาวนายั่งยืนได้แบบแท้จริง   นอกจาก ระบบเศรษฐกิจพอเพียง  ที่ให้เรารู้จักใช้ รู้จักประหยัด
แต่ก็ยังน่าเป็นห่วง ชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง  ยังถูกนายทุนขูดเลือดอยู่  

ผมก็เป็นคนหนึ่ง ที่สนใจเรื่อง ชาวนา และ กรรมาชีพ ตั้งแต่ มัธยมปลาย  ผมมีโอกาสเข้าไปสัมผัสถึงวิธีชีวิตพวกเขาเหล่านี้มาโดยตลอด  
นอกจากให้คำปรึกษากับชาวนา และ กรรมชีพ ที่รู้จักแล้ว  ปัจจุบัน ผมยังสร้างอาชีพเสริมให้พวกเขาเหล่านั้น ในช่วงรอผลผลิตเก็บเกี่ยว ให้มีรายได้ทุกวัน

ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ แก้ไขได้ ถ้ารัฐบาล และ เอกชน ร่วมมือกัน   ส่งเสริมข้าวไทย  เพราะข้าวไทยใครก็รู้ว่า คุณภาพดีที่สุด
หากวันนี้เราไม่สนใจคนไทยที่ปลูกข้าว  วันหน้าเราอาจจะเห็น ชาวต่างชาติมาปลูกข้าวในเมืองไทยก็ได้  เพราะอาชีพทำนาสังคมส่วนมากมองว่าต้อยต่ำ ทำแล้วมีแต่หนี้
หากถึงวันนั้น เรายังจะภูมิใจกับข้าวไทย อยู่หรือปล่าว ::012:: :~)     ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: อนัตตา ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 06:07:31 PM
ไม่ต้องคิดให้ปวดหัวหรอก  ขนาดนักวิชาการที่เขาจบ ดร. เขามีความรู้มากมาย   คิดมาก่อนเราตั้งนาน จนป่านนี้ยังแก้ไขปัญหาราคาข้าวไม่ได้เลย
เป็นมาทุกยุคทุกรัฐบาล  เห็นก็มีแต่ยุครัฐบาลทักษิณ ที่ชาวนาพอจะยิ้มได้หน่อย   แต่ก็ยังถูกโกงแบบทับซ้อนอีก  น่าสงสารชาวนาจริงๆ


ผมไม่เห็นทางไหน ที่จะทำให้ชาวนายั่งยืนได้แบบแท้จริง   นอกจาก ระบบเศรฐษกิจพอเพียง  ที่ให้เรารู้จักใช้ รู้จักประหยัด
แต่ก็ยังน่าเป็นห่วง ชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง  ยังถูกนายทุนขูดเลือดอยู่ 

ผมก็เป็นคนหนึ่ง ที่สนใจเรื่อง ชาวนา และ กรรมชีพ  ตั้งแต่ มัถยมปลาย  ผมมีโอกาสเข้าไปสัมผัสถึงวิธีชีวิตพวกเขาเหล่านี้มาโดยตลอด 
นอกจากให้คำปรึกษากับชาวนา และ กรรมชีพ ที่รู้จักแล้ว  ปัจจุบัน ผมยังสร้างอาชีพเสริมให้พวกเขาเหล่านั้น ในช่วงรอผลผลิตเก็บเกี่ยว ให้มีรายได้ทุกวัน

ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ แก้ไขได้ ถ้ารัฐบาล และ เอกชน ร่วมมือกัน   ส่งเสริมข้าวไทย  เพราะข้าวไทยใครก็รู้ว่า คุณภาพดีที่สุด
หากวันนี้เราไม่สนใจคนไทยที่ปลูกข้าว  วันหน้าเราอาจจะเห็น ชาวต่างชาติมาปลูกข้าวในเมืองไทยก็ได้  เพราะอาชีพทำนาสังคมส่วนมากมองว่าต้อยต่ำ ทำแล้วมีแต่หนี้
หากถึงวันนั้น เรายังจะภูมิใจกับข้าวไทย อยู่หรือปล่าว ::012:: :~)     ::014::

ตัวแดงอันแรก ::007::
เศรษฐกิจ
กรรมาชีพ
มัธยม
แล้วทำไมชาวนาไทยยังยากจนครับ ผมจับใจความไม่เก่ง ???


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Skeleton_King ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 06:49:56 PM
ไม่ต้องคิดให้ปวดหัวหรอก  ขนาดนักวิชาการที่เขาจบ ดร. เขามีความรู้มากมาย   คิดมาก่อนเราตั้งนาน จนป่านนี้ยังแก้ไขปัญหาราคาข้าวไม่ได้เลย
เป็นมาทุกยุคทุกรัฐบาล  เห็นก็มีแต่ยุครัฐบาลทักษิณ ที่ชาวนาพอจะยิ้มได้หน่อย   แต่ก็ยังถูกโกงแบบทับซ้อนอีก  น่าสงสารชาวนาจริงๆ


ผมไม่เห็นทางไหน ที่จะทำให้ชาวนายั่งยืนได้แบบแท้จริง   นอกจาก ระบบเศรฐษกิจพอเพียง  ที่ให้เรารู้จักใช้ รู้จักประหยัด
แต่ก็ยังน่าเป็นห่วง ชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง  ยังถูกนายทุนขูดเลือดอยู่  

ผมก็เป็นคนหนึ่ง ที่สนใจเรื่อง ชาวนา และ กรรมชีพ  ตั้งแต่ มัถยมปลาย  ผมมีโอกาสเข้าไปสัมผัสถึงวิธีชีวิตพวกเขาเหล่านี้มาโดยตลอด  
นอกจากให้คำปรึกษากับชาวนา และ กรรมชีพ ที่รู้จักแล้ว  ปัจจุบัน ผมยังสร้างอาชีพเสริมให้พวกเขาเหล่านั้น ในช่วงรอผลผลิตเก็บเกี่ยว ให้มีรายได้ทุกวัน

ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ แก้ไขได้ ถ้ารัฐบาล และ เอกชน ร่วมมือกัน   ส่งเสริมข้าวไทย  เพราะข้าวไทยใครก็รู้ว่า คุณภาพดีที่สุด
หากวันนี้เราไม่สนใจคนไทยที่ปลูกข้าว  วันหน้าเราอาจจะเห็น ชาวต่างชาติมาปลูกข้าวในเมืองไทยก็ได้  เพราะอาชีพทำนาสังคมส่วนมากมองว่าต้อยต่ำ ทำแล้วมีแต่หนี้
หากถึงวันนั้น เรายังจะภูมิใจกับข้าวไทย อยู่หรือปล่าว ::012:: :~)     ::014::

ตัวแดงอันแรก ::007::
เศรษฐกิจ
กรรมาชีพ
มัธยม
แล้วทำไมชาวนาไทยยังยากจนครับ ผมจับใจความไม่เก่ง ???

ขอบคุณครับที่สะกดให้ถูกต้อง  

แล้วทำไมชาวนาไทยยังยากจนครับ ผมจับใจความไม่เก่ง ???
มีหลายสาเหตุครับ อธิบายไม่หมดครับ  เอาสักสาเหตุหนึ่ง
1 การผลิตข้าว ที่ผลิตกันมาก จนข้าวล้นตลาด ทำให้ราคาข้าวตกต่ำครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 07:08:33 PM
เป็นคำถามที่ตอบยากมาก


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 08:03:58 PM


ข้าวมาก ราคาแพง ไม่ยอมขาย

มัวแต่เก็งราคา จนราคาร่วง


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนบ้านนอก ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 10:02:28 PM

อ้างถึง
ชาวนารุ่นใหม่และลูกหลานจำนวนไม่น้อย "โคตรขี้เกียจ" ... หนุ่มสาวชนบทยุคใหม่จำนวนมาก เสร็จหว่านไถปักดำก็นอนกระดิกเท้านั่งกินนอนกินบุญเก่าค้างยุ้งของบรรพบุรุษ อยู่ที่บ้าน กลางวันเป็นเด็กแว้นท์ ตกเย็นกินเหล้า ไม่คิดทำมาหากินอย่างอื่น  นั่งนอนผลาญเงินพ่อแม่รอไป 3-4 เดือนค่อยย้ายพุงมาเก็บเกี่ยว  ถ้าโชคดีทำนาได้หลายรอบก็หว่านดำรอบใหม่ แล้วก็นั่งเป็นลูกเทวดาไปอีก 3-4 เดือน เป็นวงจรสันหลังยาว ระบาดไปทั่ว  อย่างนี้จะไม่จนยังไงไหว
  พวกที่ทำนาได้รอบเดียวก็จำต้องมาหางานทำในเมืองใหญ่ เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ทำงานพอได้เงินก็ไปลงขวดเที่ยวเตร่  พอเก็บเงินได้สี่ซ้าห้าพันก็หาโอกาสกลับไปทำร่ำทำรวยที่บ้าน พอเงินหมดก็นั่งๆนอนๆให้พ่อแม่ตายายเลี้ยงอีก เบื่อนักก็ค่อยเข้าเมืองมาหางานทำ เพื่อจะกลับไปใหม่ ... นี่ยังไม่นับพวกที่มาได้เมียมีลูกกันตั้งแต่อายุยังน้อย แล้วส่งกลับไปเป็นภาระของพ่อเฒ่าแม่เฒ่าต้องมาเลี้ยงดู ทั้งที่บ้านก็ลำบากอยู่แล้ว
                                         ครับ...ผมยอมรับตามคำกล่าวที่ท่านกรรมกรว่าไว้ชาวนายุคใหม่เป็นเช่นนั้นจริง
                    นับว่าผมโชคดีมากที่ผมได้ทันใช้ควายไถนาและใช้ควายสารพัดประโยนชย์ในการเกษตรกรรม
                     ยกเว้นตัวสีแดงที่ผมไม่ทำครับท่าน ::014::




หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: โป้ง*กันบอย - รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 10:39:07 PM
อีกมุมมองหนึ่งของผมเอง ::014::

ชาวนาไทยมีหลายแบบครับ

ชาวนาไทย ที่มีที่และขยันจริงๆ ผมว่าไม่จน

ชาวนาไทยที่เอาที่ไปขายเพราะไม่อยากทำ ขายมาเงินก็หมด สุดท้ายก็ไปเช่าที่เขาทำจนแน่นอน

ชาวนาที่คิดเป็น ที่ดินจะไม่ขาย และทำไร่นาสวนผสม อยู่ได้สบายแบบพอเพียง

สมัยนี้ทีทางถูกซื้อไปหมดโดยนายทุน

ผมไปเชียงใหม่คุยกับคนขับรถเป็นคนท้องถิ่น เขาบอกว่าสมัยนี้ถ้ามีที่ทำนาไม่มีทางจน

ข้าวขายได้เงินเงินได้กำไร ส่วนมากที่จนเพราะที่ทางขายหมดเช่าเขาทำ กู้เงินเขามาทำ ขายได้ลงขวดเข้าร้านโอเกะหมด


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Desperado - รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 11:15:09 PM
ผมว่าอยู่ที่การจัดการตัวเองเป็นสำคัญ ผมตอบแบบว่าผมเป็นชาวนาขนานแท้ ผมมีบัตรประจำตัวชาวนา
ปีนี้ผมทำนา ผมจ้างทั้งระบบ ไถ หว่าน ปุ๋ย ยา เก็บเกี่ยว สรุป ผมมีกำไร แถมได้ส่วนต่างอีก ประมาณสองหมื่น
ผมไม่ได้ทำนาอย่างเดียว ผมทำอาชีพอื่นด้วย รายได้ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการทำนา
ปัจจุบัน ผมไม่มีหนี้ มีลูกหนี้นิดหน่อย เงินฝากเล็กน้อย มีบ้านสองหลังเล็กๆ มีฟอร์จูนเนอร์สมาร์ท มีรถกระบะ มีมอเตอร์ไซด์สี่คัน เก่าๆทั้งนั้น
ที่ผมภูมิใจคือ ผมมีฮอนด้าไฟเตอร์ และ เบล อาร์ เก๋าไหมครับ
มีจักรยานหนึ่งคัน  ;D   ปีนี้ผมซื้อปืนใหม่ ซีแซดจากัวร์ กับ กล๊อกสิบเก้า ปีหน้าวางแผนว่าจะถอยฮาร์เลย์ซักลำ เก็บได้แล้วสองหมื่น ขาดล้านสอง
ที่บ้านผมมีที่ดินอยู่ร้อยกว่าไร่แบ่งกันทำกับพี่ๆ คนละยี่สิบบ้างก็สามสิบไร่ ส่วนผม สี่สิบแปดไร่
ได้ข้าวประมาณ สิบสี่อุ้ม ขายไปสองอุ้ม ที่เหลือเก็บ
ผมคิดว่าอนาคตชาวนา น่าจะ ดีขึ้นแน่ๆ แต่เมื่อถึงเวลา ชาวนา จะมีที่ทำกิน ทำนา หรือไม่ อีกเรื่องนึงครับ
ชาวนาจะจนหรือไม่ ผมคิดว่าปัจจัยมีสามด้านครับ
หนึ่ง ชาวนากับการจัดการตัวเอง
สอง รัฐ กับความจริงใจ
สาม ปัจจัยภายนอก เช่น ปริมาณความต้องการของตลาดโลก ความสามารถในการผลิตของคู่แข่ง เวียดนาม ลาว และ ดินฟ้าอากาศ
ชาวนาบางคนที่ผมรู้จักขายข้าวใช้หนี้หมดตั้งแต่วันเก็บเกี่ยว บางคนเป็นเสี่ย ใส่ฉางจนล้นที่จะเก็บ ขายได้ที่เป็นล้าน



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: อนัตตา ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 11:22:56 PM
ผมว่าอยู่ที่การจัดการตัวเองเป็นสำคัญ ผมตอบแบบว่าผมเป็นชาวนาขนานแท้ ผมมีบัตรประจำตัวชาวนา
ปีนี้ผมทำนา ผมจ้างทั้งระบบ ไถ หว่าน ปุ๋ย ยา เก็บเกี่ยว สรุป ผมมีกำไร แถมได้ส่วนต่างอีก ประมาณสองหมื่น
ผมไม่ได้ทำนาอย่างเดียว ผมทำอาชีพอื่นด้วย รายได้ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการทำนา
ปัจจุบัน ผมไม่มีหนี้ มีลูกหนี้นิดหน่อย เงินฝากเล็กน้อย มีบ้านสองหลังเล็กๆ มีฟอร์จูนเนอร์สมาร์ท มีรถกระบะ มีมอเตอร์ไซด์สี่คัน เก่าๆทั้งนั้น
ที่ผมภูมิใจคือ ผมมีฮอนด้าไฟเตอร์ และ เบล อาร์ เก๋าไหมครับ
มีจักรยานหนึ่งคัน  ;D   ปีนี้ผมซื้อปืนใหม่ ซีแซดจากัวร์ กับ กล๊อกสิบเก้า ปีหน้าวางแผนว่าจะถอยฮาร์เลย์ซักลำ เก็บได้แล้วสองหมื่น ขาดล้านสอง
ที่บ้านผมมีที่ดินอยู่ร้อยกว่าไร่แบ่งกันทำกับพี่ๆ คนละยี่สิบบ้างก็สามสิบไร่ ส่วนผม สี่สิบแปดไร่
ได้ข้าวประมาณ สิบสี่อุ้ม ขายไปสองอุ้ม ที่เหลือเก็บ
ผมคิดว่าอนาคตชาวนา น่าจะ ดีขึ้นแน่ๆ แต่เมื่อถึงเวลา ชาวนา จะมีที่ทำกิน ทำนา หรือไม่ อีกเรื่องนึงครับ
ชาวนาจะจนหรือไม่ ผมคิดว่าปัจจัยมีสามด้านครับ
หนึ่ง ชาวนากับการจัดการตัวเอง
สอง รัฐ กับความจริงใจ
สาม ปัจจัยภายนอก เช่น ปริมาณความต้องการของตลาดโลก ความสามารถในการผลิตของคู่แข่ง เวียดนาม ลาว และ ดินฟ้าอากาศ
ชาวนาบางคนที่ผมรู้จักขายข้าวใช้หนี้หมดตั้งแต่วันเก็บเกี่ยว บางคนเป็นเสี่ย ใส่ฉางจนล้นที่จะเก็บ ขายได้ที่เป็นล้าน


ท่านเป็นชาวนาขนานแท้แต่ไม่ใช่100%รายได้หลักไม่ได้มาจากการทำนา ถ้าท่านทำนาอย่างเดียวแล้วมีสินทรัพย์ขนาดนี้ผมจะขอฝากตัวเป็นศิษย์ครับ ::005:: (ขอโทษครับท่านอยู่แถวลพบุรีรึเปล่าครับ)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Desperado - รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 11:37:19 PM
ผมอยู่โคราชครับพี่


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายแป๋ง คนดง ที่ พฤศจิกายน 27, 2010, 11:47:51 PM
  ผมอ่านหลายข้อความหลายท่านที่แสดงความคิดเห็นออกมา  มีบางท่านครับที่ผมอยากจะให้ท่านกลับไประลึกดูให้ดีว่าที่ท่านตอบมาท่านดูถูกความเป็นมนุษย์ของคนที่ทำอาชีพนี้หรือไม่  ดูง่ายๆลูกชาวนากี่คนกี่รุ่นแล้วที่เรียนจบสูงๆมีการมีงานที่ดีดีทำ  แล้วมาดูใกล้ๆตัวในปัจจุบันคนที่จบสูงๆกลับไม่มีปัญญาซื้อที่นาได้  ไม่มีปัญญาส่งเสียลูกเต้าให้เรียนจบประสบผลสำเร็จในชีวิตเหมือนชาวนาในอดีตได้  เปรียบเทียบง่ายๆแค่นี้ท่านคงทราบว่าใครแน่กว่าใคร  ขอร้องเถอะครับอะไรที่รู้ไม่จริงไม่รู้ลึกซึ้งอย่าตอบอยู่เฉยๆไม่มีใครว่าท่านโง่หรอกครับ  แต่การที่รู้ไม่จริงแล้วออกมาพูดจาดูถูกเหยียดหยามคนยึดอาชีพนี้  ในสายตาผมท่านโง่อย่างมหันต์   ขอบคุณท่านจขกท.  กระทู้ท่านเป็นคำถามที่หวังที่อยากจะเห็นชาวนาร่ำรวยเหมือนอาชีพอื่นบ้าง  และต้องการคำตอบที่ดำเนินไปในทางสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกที่ดีให้กับอาชีพนี้  


     เกิดมาอยู่ในมวลมนุษย์ด้วยกัน  อย่าดูถูกอย่าเหยียบหย่ำมนุษย์กันเลยครับ  


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 12:24:58 AM
เข้าใจผิดอย่างรุนแรง ครับ ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 12:26:58 AM
 ผมอ่านหลายข้อความหลายท่านที่แสดงความคิดเห็นออกมา  มีบางท่านครับที่ผมอยากจะให้ท่านกลับไประลึกดูให้ดีว่าที่ท่านตอบมาท่านดูถูกความเป็นมนุษย์ของคนที่ทำอาชีพนี้หรือไม่  ดูง่ายๆลูกชาวนากี่คนกี่รุ่นแล้วที่เรียนจบสูงๆมีการมีงานที่ดีดีทำ  แล้วมาดูใกล้ๆตัวในปัจจุบันคนที่จบสูงๆกลับไม่มีปัญญาซื้อที่นาได้  ไม่มีปัญญาส่งเสียลูกเต้าให้เรียนจบประสบผลสำเร็จในชีวิตเหมือนชาวนาในอดีตได้  เปรียบเทียบง่ายๆแค่นี้ท่านคงทราบว่าใครแน่กว่าใคร  ขอร้องเถอะครับอะไรที่รู้ไม่จริงไม่รู้ลึกซึ้งอย่าตอบอยู่เฉยๆไม่มีใครว่าท่านโง่หรอกครับ  แต่การที่รู้ไม่จริงแล้วออกมาพูดจาดูถูกเหยียดหยามคนยึดอาชีพนี้  ในสายตาผมท่านโง่อย่างมหันต์   ขอบคุณท่านจขกท.  กระทู้ท่านเป็นคำถามที่หวังที่อยากจะเห็นชาวนาร่ำรวยเหมือนอาชีพอื่นบ้าง  และต้องการคำตอบที่ดำเนินไปในทางสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกที่ดีให้กับอาชีพนี้  


     เกิดมาอยู่ในมวลมนุษย์ด้วยกัน  อย่าดูถูกอย่าเหยียบหย่ำมนุษย์กันเลยครับ  



ครับปู่แป๋ง เห็นชาวนาเป็นหนี้สินแล้วสงสารเขาครับ ประเทศเราเป็นประเทศกสิกรรมชาวนากลับจนลงทุกวันๆ แต่ทำไมชาวต่างชาติที่มาลงทุนทำอุตสาหกรรมถึงได้รวยเอาๆ

ปัจจุบันนี้ที่นา ๑๐ ไร่ ที่หาซื้อมาด้วยน้ำพักน้ำแรงก็ยังปลูกข้าวไว้กินในครอบครัวครับ ไม่ยอมที่จะเปลี่ยนนาผืนนั้นไปเป็นสวนยางพารา ทั้งที่ผลตอบแทนต่างกันเยอะมากครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 12:30:35 AM

                  ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปครับบัง  .........   ตอนนี้ต้องเกาหลีจึงทันสมัย  .......  ข้าวไม่ทำก็ซื้อได้นี่  รัฐะเขาไม่ใส่ใจอยู่แล้ว

                  ใครอยากเหนื่อย  ใครอยากลำบาก  อิงเกาหลีนิดๆหน่อยๆ ตาโตๆหน้าตาอีเดียทๆ ถ่ายรูปลงหนังสือปุ๊บ ได้เงินดีกว่าไปเล่ขายแถวชาดหาดอีก



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 12:42:10 AM
ชาวนารุ่นใหม่และลูกหลานจำนวนไม่น้อย "โคตรขี้เกียจ" ... หนุ่มสาวชนบทยุคใหม่จำนวนมาก เสร็จหว่านไถปักดำก็นอนกระดิกเท้านั่งกินนอนกินบุญเก่าค้างยุ้งของบรรพบุรุษ อยู่ที่บ้าน กลางวันเป็นเด็กแว้นท์ ตกเย็นกินเหล้า ไม่คิดทำมาหากินอย่างอื่น  นั่งนอนผลาญเงินพ่อแม่รอไป 3-4 เดือนค่อยย้ายพุงมาเก็บเกี่ยว  ถ้าโชคดีทำนาได้หลายรอบก็หว่านดำรอบใหม่ แล้วก็นั่งเป็นลูกเทวดาไปอีก 3-4 เดือน เป็นวงจรสันหลังยาว ระบาดไปทั่ว  อย่างนี้จะไม่จนยังไงไหว
  พวกที่ทำนาได้รอบเดียวก็จำต้องมาหางานทำในเมืองใหญ่ เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ทำงานพอได้เงินก็ไปลงขวดเที่ยวเตร่  พอเก็บเงินได้สี่ซ้าห้าพันก็หาโอกาสกลับไปทำร่ำทำรวยที่บ้าน พอเงินหมดก็นั่งๆนอนๆให้พ่อแม่ตายายเลี้ยงอีก เบื่อนักก็ค่อยเข้าเมืองมาหางานทำ เพื่อจะกลับไปใหม่ ... นี่ยังไม่นับพวกที่มาได้เมียมีลูกกันตั้งแต่อายุยังน้อย แล้วส่งกลับไปเป็นภาระของพ่อเฒ่าแม่เฒ่าต้องมาเลี้ยงดู ทั้งที่บ้านก็ลำบากอยู่แล้ว

ผมว่าคนมองปัญหานี้ ....... มองที่ปลายเหตุ

ถ้าให้พิมพ์ คงเมื่อยมือ ......... ถามแค่ว่า

คุณเคยเห็นคนที่ขยันทำมาหากินบ้างมั้ย ... แล้วเค้าร่ำรวย "ทุกคน" หรือเปล่า  :~)

คุณรู้จักเถ้าแก่โรงสีซักคนมั้ย คุณว่าเค้าทำงานหนักหรือเปล่า ... แล้วเค้ายากจนมั้ย  :D~

......... ชีวิตคนบางครั้ง ได้ ดี มี จน แตกต่างกันแค่ "โอกาส" เท่านั้นล่ะครับ

เราไม่สามารถทำให้ทุกคนมีโอกาสเท่ากันได้ ... แต่เราน่าจะเฉลี่ยโอกาส ให้กันได้นะ  ::014::

ผมทึ่งในความคิดของพี่จริงๆครับ     
ผมเองไม่ได้ดูถูกความคิดพี่หรอกครับ    การที่พี่โพสแบบนั้น บางส่วนอาจจะจริง ชาวนาส่วนมากอาจจะไม่เก่งอย่างอื่น เพราะว่า
บรรพบุรุษเค้าทำนามาตลอด  แต่เคยคิดถึงเรื่องนี้บ้างมั้ย ครับว่า จะให้เค้าออกไปทำอย่างอื่นนั้น มันก็ไม่ง่าย ให้เค้าเริ่มต้นใหม่กับงานใหม่
ชาวนาส่วนมาก มักจะไม่ค่อยมีความรู้ซักเท่าไหร่   บางคน ม.3 ก็เก่งแล้ว     ชาวนาส่วนมากที่ผมรู้มาก็คือ  บางครั้งเค้าดิ้นรน ทุกวิธี เพื่อจะ
ให้มีรายได้ที่มากขึ้น  แต่เนื่องจาก
1 เงินลงทุนที่แทบจะไม่มี
2.ความรู้ไม่มาก 
3.พูดจาไม่ไพเราะ (ภาษาชาวบ้าน)
  แล้วท่านจะ ให้เค้าเป็น ผู้จัดการหรือครับ  ใช่ครับ  เค้าเป็นไม่ได้
เอ้า! จะเปิดร้านขายของ ทุนก็ไม่ค่อยมี  เปิดได้ไง ???    สิ่งเดียวที่เค้าทำได้คือ การ ใช้แรงงานที่มีแลกกับเงิน  ด้วยการไปเป็น กรรมกร
หรือลูกจ้างรายวัน  หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ใช้แรงแลกเงิน อันน้อยนิด แต่ในขณะที่ ค่าครองชีพมันสูง เค้าก็ไม่พอกินหรือเก็บเงินไม่ได้มากพอ
 เดือนชนเดือน  ส่วนพวกกินเหล้าเมาย๋ำเป พวกนั้น มันเป็นสิทธิ์ของเค้า 
 หรือว่า พวกคนรวย แดรกไวน์ กินออนเดอะร็อก  ไม่ผิด  ???

ชาวนารุ่นใหม่และลูกหลานจำนวนไม่น้อย "โคตรขี้เกียจ" ... หนุ่มสาวชนบทยุคใหม่จำนวนมาก เสร็จหว่านไถปักดำก็นอนกระดิกเท้านั่งกินนอนกินบุญเก่าค้างยุ้งของบรรพบุรุษ อยู่ที่บ้าน กลางวันเป็นเด็กแว้นท์ ตกเย็นกินเหล้า ไม่คิดทำมาหากินอย่างอื่น  นั่งนอนผลาญเงินพ่อแม่รอไป 3-4 เดือนค่อยย้ายพุงมาเก็บเกี่ยว  ถ้าโชคดีทำนาได้หลายรอบก็หว่านดำรอบใหม่ แล้วก็นั่งเป็นลูกเทวดาไปอีก 3-4 เดือน เป็นวงจรสันหลังยาว ระบาดไปทั่ว  อย่างนี้จะไม่จนยังไงไหว

     พี่พูดเหมือน พี่เป็นหนึ่งในนั้นเลย ครับ    ::002::  เยี่ยมจริงๆ     
อย่าเปลี่ยน ยูสเซอร์ของพี่นะ ผมว่าเหมาะแล้ว ครับ    ::002::   



เห็นด้วยครับมันก็ไม่ผิดหรอก ถ้าใครกินบ้างตามฐานานุรูป คนจนกินเหล้าขาว เหล้าแดง คนรวยกินไวน์ขวดเป็นพันเป็นหมื่น กินสก๊อตขวดเป็นพันๆ การที่กล่าวโทษคนจนว่ากินเหล้าเมายาถึงจนอยู่แบบนี้ จริงๆ มันกินกันทุกระดับล่ะครับ แต่คนมีตังค์กินแล้วดูดี ฮา....มั้ยเนี่ย(คนเหมือนกัน)

เมื่อไม่กี่วันมานี้ไงครับ ที่คนระดับกลาง ระดับบน มานั่งคุยกัน ว่าค่าแรงจริงๆ ที่จะทำให้คนอยู่ได้นี่มันควรจะเท่าไหร่??

วันนี้หอการค้าไทยประชุม ยังคุยเรื่องนี้เลย ไอ้วันละร้อยสองร้อย มันไหวเหรอ กับค่าครองชีพในปัจจุบัน

พูดตรงๆ มันก็เอารัดเอาเปรียบกันมานานแล้วครับ ไอ้ค่าแรงขั้นต่ำที่ขึ้นปีละบาทสองบาท แต่ข้าวขึ้นจานละ5-10บาท

ความเหลี่อมล้ำในสังคมไทย มันมีจริงและมันเกาะกิน กดขี่คนระดับล่างมายาวนานครับ

ฟังมาหลายคณะที่ตั้งกัน ก็บอกตรงกัน มันถึงเวลาแล้วที่จะสังคายนากันซักที



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 12:44:24 AM

                  ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปครับบัง  .........   ตอนนี้ต้องเกาหลีจึงทันสมัย  .......  ข้าวไม่ทำก็ซื้อได้นี่  รัฐะเขาไม่ใส่ใจอยู่แล้ว

                  ใครอยากเหนื่อย  ใครอยากลำบาก  อิงเกาหลีนิดๆหน่อยๆ ตาโตๆหน้าตาอีเดียทๆ ถ่ายรูปลงหนังสือปุ๊บ ได้เงินดีกว่าไปเล่ขายแถวชาดหาดอีก



 ผมเข้าใจ ครับ ลุง ว่าโลกทุกวันนี้ มันเปลี่ยนไปจริงๆ    แม้แต่ผมทุกวันนี้ก็ยังนิยมเกาหลีเลย ครับ  เมียผมผมเปลี่ยนชื่อให้แล้ว ครับ
 เป็น  "ดำจังมึง"  ::007:: ::007:: ::007::   :OO  เมียหลับแล้ว ::005:: ::005::
แต่  ตรงนี้ ครับ
ชาวนารุ่นใหม่และลูกหลานจำนวนไม่น้อย "โคตรขี้เกียจ" ... หนุ่มสาวชนบทยุคใหม่จำนวนมาก เสร็จหว่านไถปักดำก็นอนกระดิกเท้านั่งกินนอนกินบุญเก่าค้างยุ้งของบรรพบุรุษ อยู่ที่บ้าน กลางวันเป็นเด็กแว้นท์ ตกเย็นกินเหล้า ไม่คิดทำมาหากินอย่างอื่น  นั่งนอนผลาญเงินพ่อแม่รอไป 3-4 เดือนค่อยย้ายพุงมาเก็บเกี่ยว  ถ้าโชคดีทำนาได้หลายรอบก็หว่านดำรอบใหม่ แล้วก็นั่งเป็นลูกเทวดาไปอีก 3-4 เดือน เป็นวงจรสันหลังยาว ระบาดไปทั่ว  อย่างนี้จะไม่จนยังไงไหว

    ผมรับไม่ไหวจริงๆครับ    โคตรขี้เกียจ     ราคาข้าวมันอยู่แบบนี้ ใครจะมีกะจิตกะใจ ทำหนักหนา ละครับ  
 อยากให้ชาวนา เลิกเหล้า เลิกเป็นเด็กแว้น แล้วส่งเสริมให้ไปตีกอฟล์ หรือ ครับ  



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 12:46:31 AM


เห็นด้วยครับมันก็ไม่ผิดหรอก ถ้าใครกินบ้างตามฐานานุรูป คนจนกินเหล้าขาว เหล้าแดง คนรวยกินไวน์ขวดเป็นพันเป็นหมื่น กินสก๊อตขวดเป็นพันๆ การที่กล่าวโทษคนจนว่ากินเหล้าเมายาถึงจนอยู่แบบนี้ จริงๆ มันกินกันทุกระดับล่ะครับ แต่คนมีตังค์กินแล้วดูดี ฮา....มั้ยเนี่ย(คนเหมือนกัน)

เมื่อไม่กี่วันมานี้ไงครับ ที่คนระดับกลาง ระดับบน มานั่งคุยกัน ว่าค่าแรงจริงๆ ที่จะทำให้คนอยู่ได้นี่มันควรจะเท่าไหร่??

วันนี้หอการค้าไทยประชุม ยังคุยเรื่องนี้เลย ไอ้วันละร้อยสองร้อย มันไหวเหรอ กับค่าครองชีพในปัจจุบัน

พูดตรงๆ มันก็เอารัดเอาเปรียบกันมานานแล้วครับ ไอ้ค่าแรงขั้นต่ำที่ขึ้นปีละบาทสองบาท แต่ข้าวขึ้นจานละ5-10บาท

ความเหลี่อมล้ำในสังคมไทย มันมีจริงและมันเกาะกิน กดขี่คนระดับล่างมายาวนานครับ

ฟังมาหลายคณะที่ตั้งกัน ก็บอกตรงกัน มันถึงเวลาแล้วที่จะสังคายนากันซักที


ขอบคุณครับพี่เบิ้ม  ::014::   จริงอย่างที่พี่กล่าวเลย ครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 12:51:45 AM
 ::014:: ::014:: ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 01:03:09 AM
จะด้วยความเข้าใจผิดของผมเอง หรือเพื่อนสมาชิก ที่เกิดขึ้นก็ตาม .. ผมยืนยันว่า ไม่ได้มีเจตนาจะดูหมิ่นดูถูกอาชีพหรือคุณค่าความเป็นคนของชาวนา ถ้าข้อความนั้นก็ให้เกิดความเข้าใจผิดไปเช่นนั้น ก็ต้องขออภัย  ::014::
แต่สิ่งที่ผมพูดกำลังสะท้อนวัฒนธรรมของลูกหลานชาวนารุ่นปัจจุบันจำนวนมาก ที่กำลังเริ่มฟุ้งเฟ้อ เอาแต่เล่นสนุก  หนักไม่เอาเบาไม่สู้เหมือนรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าที่ทำกันมา ... จนเข้าข่ายใช้คำว่า ขี้เกียจ ได้อย่างชัดเจน

สิ่งนี้คือเรื่องข้อเท็จจริงที่กำลังน่าเป็นห่วงขึ้นทุกขณะ ... ในขณะที่พ่อแม่แก่เฒ่าลง ต้องการพละกำลังจากคนรุ่นใหม่มาช่วยกันพายช่วยกันแจว   เมื่อกำลังเหล่านั้นยังหลับไหล ไม่เป็นธุระ .. จะนำครอบครัวและชุมชนพ้นจากความยากจนได้อย่างไร ?

ผมไม่ได้บอกว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับชาวนาชาวชนบททุกบ้าน  แต่มันก็เป็นเช่นนั้นจำนวนมาก

ปัญหาระบบ ปัญหาจากภาครัฐ การกดขี่เอาเปรียบ ก็ต้องแก้ไข ... ปัญหาจากตัวคน และวัฒนธรรมที่ผิดเพี้ยน ก็ยิ่งต้องแก้

ถ้ามัวเกรงใจไม่กล้าหยิบยกมาพูด  ไหนเลยจะแก้ปัญหาได้ตรงทุกจุด


ชาวนาที่มีความเป็นอยู่ที่ดี ก็มีอยู่ไม่น้อย ส่งลูกส่งหลานเรียนจบสูงๆ  .. เขาทำได้อย่างไร น่าจะยกมาขบคิดนะครับ



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 01:08:06 AM
จะด้วยความเข้าใจผิดของผมเอง หรือเพื่อนสมาชิก ที่เกิดขึ้นก็ตาม .. ผมยืนยันว่า ไม่ได้มีเจตนาจะดูหมิ่นดูถูกอาชีพหรือคุณค่าความเป็นคนของชาวนา ถ้าข้อความนั้นก็ให้เกิดความเข้าใจผิดไปเช่นนั้น ก็ต้องขออภัย  ::014::
แต่สิ่งที่ผมพูดกำลังสะท้อนวัฒนธรรมของลูกหลานชาวนารุ่นปัจจุบันจำนวนมาก ที่กำลังเริ่มฟุ้งเฟ้อ เอาแต่เล่นสนุก  หนักไม่เอาเบาไม่สู้เหมือนรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าที่ทำกันมา ... จนเข้าข่ายใช้คำว่า ขี้เกียจ ได้อย่างชัดเจน

สิ่งนี้คือเรื่องข้อเท็จจริงที่กำลังน่าเป็นห่วงขึ้นทุกขณะ ... ในขณะที่พ่อแม่แก่เฒ่าลง ต้องการพละกำลังจากคนรุ่นใหม่มาช่วยกันพายช่วยกันแจว   เมื่อกำลังเหล่านั้นยังหลับไหล ไม่เป็นธุระ .. จะนำครอบครัวและชุมชนพ้นจากความยากจนได้อย่างไร ?

ผมไม่ได้บอกว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับชาวนาชาวชนบททุกบ้าน  แต่มันก็เป็นเช่นนั้นจำนวนมาก

ปัญหาระบบ ปัญหาจากภาครัฐ การกดขี่เอาเปรียบ ก็ต้องแก้ไข ... ปัญหาจากตัวคน และวัฒนธรรมที่ผิดเพี้ยน ก็ยิ่งต้องแก้

ถ้ามัวเกรงใจไม่กล้าหยิบยกมาพูด  ไหนเลยจะแก้ปัญหาได้ตรงทุกจุด


ชาวนาที่มีความเป็นอยู่ที่ดี ก็มีอยู่ไม่น้อย ส่งลูกส่งหลานเรียนจบสูงๆ  .. เขาทำได้อย่างไร น่าจะยกมาขบคิดนะครับ



+1 ให้พี่ Bird ครับ   ::014:: ::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 01:09:09 AM
+1ให้พี่เบิ้ม และลุงปู ด้วย ครับ  ::014::  ;D


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 01:14:41 AM
ผมก็เห็นด้วยกับหลายคห.พี่Birdครับ +

ผมว่ารัฐหลายสมัยก็มองเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง วัฒนธรรมไทยก็มีจุดแข็งมากมาย มีเสน่ห์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่เรียกว่าสุดๆที่นึงของโลก

ขอแค่ช่วยกัน มีเมตตาต่อกัน ช่วยเหลือคนส่วนใหญ่ที่ยังอ่อนแอ ผมเชื่อว่าคนเก่งๆบ้านเรามีเยอะมาก ความรู้ท่วมท้น

ช่วยกันครับ วันนึงมันต้องดีขึ้น  ::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 01:15:55 AM
ขอบคุณครับ ตาศักดา คุณเบิ้ม ...  :)

+ เช่นกันครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 01:22:48 AM
ไม่รูว่าจะยินดี หรือเสียดายดี ครับ ที่ว่า แถวบ้านผม จากทุ่งนา ตอนนี้กลายเป็น สวนยางหมดแล้ว ครับ
นึกไปนึกมาก็เสียดายทุ่งนาแต่ยังไงก็เป็นสิทธิ์ของเค้า   :) ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 01:34:16 AM
หลายพื้นที่ในอีสาน ก็กลายเป็นสวน A4 แล้วครับ ...  แต่คงไปโทษชาวนาไม่ได้ ในเมื่อเปรียบเทียบกำลังที่มี แรงที่ลงไป กับผลตอบแทนที่ได้มา ถ้าเห็นว่าคุ้มกว่า มันก็เป็นไปตามกลไกตลาด .. มองในแง่ดี ข้าวจะได้ไม่ล้นตลาดให้ใครมาบีบเล่น

ขอแต่เพียงอย่าถูกหลอกให้ปลูก หรือเลี้ยงอะไรแปลกๆ แล้วถูกลอยแพครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 01:41:40 AM
กลัวอย่างเดียว ครับ กลัวว่าต่อไป เราคนไทยจะซื้อข้าว จากต่างประเทศกิน 
อเมริกา ยังดิ้นรน ที่จะจดลิขสิทธิ์์ข้าวหอมมะลิไทย อยู่เลย  หวังว่าให้หลายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปดูแล อย่างใกล้ชิด
 และหาทางออกที่ดีที่สุดให้ เหล่าพี่น้องชาวนาไทย ทุกๆท่าน  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: RMAY ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 01:45:36 AM
เอ้าไหนๆ ก็มากันแล้ว ฟังเพลง กันซะหน่อย  ;D
ปริญญาชาวนา- ธานินทร์ อินทรเทพ (http://www.youtube.com/watch?v=FCSqYtIW8Zs#)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: อนัตตา ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 07:39:03 AM
โชคดีจังที่ผมก็ลูกชาวนาเกิดมากับดินโคลนเลยไม่กล้าถากถางโคตรเหง้าตัวเอง ชาวนาก็อยากทำอยู่หรอกไอ้ที่ว่าแบบเดิมๆ น่ะ ไถด้วยควาย เก็บเกี่ยวด้วยแรงคน แต่คนไม่มีจะไปวานใครถ้าไม่จ้าง ภาษาบ้านบอกไม่ทันแ-ก ไม่รีบปลูกฝนหมด ตาย ไม่ใส่ปุ๋ย พ่นยา (เงินเชื่อ ขายข้าวได้ค่อยจ่าย)ไม่รีบเกี่ยวน้ำท่วมตาย ก็ต้องไหลตามมันไปตามวัฏจักร สำหรับผมถ้าไม่รู้ว่าใบข้าวบาดมันเจ็บยังไง เกี่ยวข้าวมันปวดหลังแค่ไหน ละอองข้าวมันคันระยับแค่ไหน ผมไม่กล้าไปกำหนดหรือวิจารณ์ชีวิตชาวนาแน่นอนครับ ทุกสิ่งมีเหตุผลในตัวมันเอง


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 10:52:02 AM
อยากรู้ว่าทำไมชาวนาต้องทานเหล้า  ลองไปผสมปูนฉาบปูนดูซักวันครับแล้วจะรู้ว่านรกมีจริง  ตกเย็นเลิกงานผมยังแทบหาเบียรมาทานแทบไม่ทันเลย ::005:: ::005:: ::005:: ::005::
ถ้ามีโอกาศลองไปหาเล่มนี้มาอานดูครับ ผมหาซื้อไว้เล่มกะว่าถ้าชาตินี้หาเมียได้มีลูกจะเอาไว้ให้ลูกอ่าน


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 12:08:49 PM
ผมก็ตระกูลชาวนา เคยช่วยพ่อแม่ไถนา ดำนา เกี่ยวข้าว ยืนยันว่าชาวนาทุกคนที่ผมรู้จักไม่ได้ขี้เกียจและการที่เขาขยันก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เขาร่ำรวย
เพราะฉนั้นผมจึงไม่เชื่อนักกับคำพูดที่ว่า ขี้เกียจแล้วจะยากจน ขยันแล้วจะร่ำรวย

ร่ำรวย หรือ ยากจน ขึ้นอยู่กับงานที่แต่ละคนเลือกทำมากกว่าครับ
เราต้องมองให้ลึกสักหน่อยกับการทำงานแล้วค่อยตัดสินว่า คนเราขี้เกียจหรือขยัน

 คนรวยอาจขี้เกียจทำงานที่ใช้แรงงานสุดๆ แต่ขยันทำงานที่ใช้ความรู้ งานค้าขาย เขาก็รวยได้ อย่างนี้เราจะเรียกว่าเขา ขี้เกียจหรือขยันดีล่ะ
 คนขยันทำงานที่ใช้แรงงานมากๆ แต่งานแบบนี้ก็ไม่ทำให้เขารวยเสียที อย่างนี้เราจะเรียกว่าเขา ขี้เกียจได้ไม๊ล่ะ

นิยามความขี้เกียจสำหรับผมคือ ไม่ทำงานที่ตนเองควรทำและทำได้ และผลงานออกมาน้อยกว่าที่คาดหวังไว้ครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 12:16:53 PM
ผมก็ตระกูลชาวนา เคยช่วยพ่อแม่ไถนา ดำนา เกี่ยวข้าว ยืนยันว่าชาวนาทุกคนที่ผมรู้จักไม่ได้ขี้เกียจและการที่เขาขยันก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เขาร่ำรวย
เพราะฉนั้นผมจึงไม่เชื่อนักกับคำพูดที่ว่า ขี้เกียจแล้วจะยากจน ขยันแล้วจะร่ำรวย

ร่ำรวย หรือ ยากจน ขึ้นอยู่กับงานที่แต่ละคนเลือกทำมากกว่าครับ
เราต้องมองให้ลึกสักหน่อยกับการทำงานแล้วค่อยตัดสินว่า คนเราขี้เกียจหรือขยัน

 คนรวยอาจขี้เกียจทำงานที่ใช้แรงงานสุดๆ แต่ขยันทำงานที่ใช้ความรู้ งานค้าขาย เขาก็รวยได้ อย่างนี้เราจะเรียกว่าเขา ขี้เกียจหรือขยันดีล่ะ
 คนขยันทำงานที่ใช้แรงงานมากๆ แต่งานแบบนี้ก็ไม่ทำให้เขารวยเสียที อย่างนี้เราจะเรียกว่าเขา ขี้เกียจได้ไม๊ล่ะ

นิยามความขี้เกียจสำหรับผมคือ ไม่ทำงานที่ตนเองควรทำและทำได้ และผลงานออกมาน้อยกว่าที่คาดหวังไว้ครับ
เหมือนที่เค้าว่ากันมั้งครับพี่ ขยันผิดที่ สิบปีก็ไม่รวย


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 12:22:48 PM
ผมก็ตระกูลชาวนา เคยช่วยพ่อแม่ไถนา ดำนา เกี่ยวข้าว ยืนยันว่าชาวนาทุกคนที่ผมรู้จักไม่ได้ขี้เกียจและการที่เขาขยันก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เขาร่ำรวย
เพราะฉนั้นผมจึงไม่เชื่อนักกับคำพูดที่ว่า ขี้เกียจแล้วจะยากจน ขยันแล้วจะร่ำรวย

ร่ำรวย หรือ ยากจน ขึ้นอยู่กับงานที่แต่ละคนเลือกทำมากกว่าครับ
เราต้องมองให้ลึกสักหน่อยกับการทำงานแล้วค่อยตัดสินว่า คนเราขี้เกียจหรือขยัน

 คนรวยอาจขี้เกียจทำงานที่ใช้แรงงานสุดๆ แต่ขยันทำงานที่ใช้ความรู้ งานค้าขาย เขาก็รวยได้ อย่างนี้เราจะเรียกว่าเขา ขี้เกียจหรือขยันดีล่ะ
 คนขยันทำงานที่ใช้แรงงานมากๆ แต่งานแบบนี้ก็ไม่ทำให้เขารวยเสียที อย่างนี้เราจะเรียกว่าเขา ขี้เกียจได้ไม๊ล่ะ

นิยามความขี้เกียจสำหรับผมคือ ไม่ทำงานที่ตนเองควรทำและทำได้ และผลงานออกมาน้อยกว่าที่คาดหวังไว้ครับ
เหมือนที่เค้าว่ากันมั้งครับพี่ ขยันผิดที่ สิบปีก็ไม่รวย

นั่นแหละครับ ก็เหมือนกับคนกินเงินเดือนแล้วถามตัวเองว่าทำไมไม่รวยเสียที ซึ่งไม่ต้องถามเลย รู้อยู่แล้วว่าได้เดือนละเท่าไหร่ คูณออกมาได้เลยว่าได้ปีละเท่าไหร่
ปลดเกษียณแล้วจะได้เท่าไหร่ แค่นี้ก็ตอบตัวเองได้แล้วว่าจะรวยหรือไม่ ขยันให้ถูกที่อย่างที่คุณว่านั่นแหละ

   ฮ่าๆ  ผมก็กินเงินเดือนผมจึงไม่ สร้างความกดดันด้วยการถามตัวเองว่า จะรวยเมื่อไหร่


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Skeleton_King ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 12:23:07 PM
อเมริโกย (สมประสงค์ อำแดงพิน).wmv (http://www.youtube.com/watch?v=8wAujXgIOOs#)  

ลองฟังกันดูนะครับ  มีเพลงเกี่ยวกับการเอาเปรียบชาวนาไทย   และทรัพยากรอื่นๆ ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 12:38:59 PM
ลูกศิษย์ผมที่บ้านทำนาแค่พอไม่ต้องซื้อข้าวคนอื่นเค้ากิน ปีนี้น้ำท่วมหนักไม่มีข้าวจะกินกันทั้งปี  ถามว่าขยันไหม ช่วงว่างทำนาเค้าก็ไปรับจ้างตามโรงงาน เสร็จงานจากโรงงานก็มาขายของต่อ  ผมมองว่าคนแบบนี้ขยันนะครับแต่ขาดแค่ความรู้  กับ   โอกาศ      สมัยก่อนที่บ้านก๊งกับอาม่ารับข้าวจากชาวนา แม่ผมจะเป็นคนตวงข้าว  แม่เล่าว่าแม่ชอบแถมติ้วให้พวกชาวนาประจำ แม่บอกว่าถ้าจะโกงนะแค่อีกตอนปาดข้าวนะโกงทีละนิดๆก็ได้เยอะแล้ว  เหมือนคนขายหมูสมัยก่อน ไม่นับไอ้ที่ตั้งตาชั่งกันเอาแค่ใบตองห่อหมูวันนึงๆกำไรก็หลายละครับ    ชาวนาน่าสงสารครับ พวกโรงสีพวกรับซื้อข้าว ชอบโกงเวลาตวงข้าวกันกลวิธีการโกงมีเยอะแยะไปเวลาตวง  บางเจ้าโกงซะจนเค้าไม่มีจะกิน ต้องกู้หนี้ยืมสินคนอื่นจนสุดท้ายทนไม่ไหว  เดินเข้าไปหาไม่พูดมากจับเจ้าของโรงสีเงยหน้าแล้วปาดคอรอตำรวจมาจับ เพราะติดคุกดีกว่าอดตาย      เวลาซื้อกดราคาไม่พอเวลาขายใช้ผสมข้าวเอาด้วยต่างหาก  งี้พวกโรงสีไม่รวยไหวเหรอครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: แพนด้า ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 03:37:35 PM
        แพนด้าขอคุยด้วยคน
               ผมอ่านความคิดเห็นของทุกท่านตั้งแต่คนแรกถึงสุดท้าย   ดีใจครับที่ได้รับรู้ข้อมูลและแนวความคิดใหม่ ๆที่ผมยังไม่พบกับตนเองหลายเรื่อง   ขณะอ่านกระทู้ของแต่ละท่านผมพยายามมองภาพตาม  เห็นด้วยบ้างเห็นต่างบ้าง  ...  แต่ไม่ได้หมายความว่าใครถูกหรือผิดนะครับ    ผมขอเสนอข้อคิดบ้าง .......
       เรื่องส่งเสริมให้มีสถาบันเกษตรกร   เช่นกลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร(ทำนา)    เมื่อ30 ปี ที่ผ่านมาผมเริ่มมีอาชีพเป็นของตนเองอยู่กับชาวนา   สมัยนั้นแทบทุกอำเภอมีกลุ่มเกษตรกร และหรือสหกรณ์การเกษตร   บริการสมาชิกด้านปัจจัยการผลิต(ปุ๋ย ยา ฯลฯ) และมีกำไรจากการบริหารงาน หลายล้านบาทต่อปี   ปัจจุบันมีไม่กี่แห่งที่ยังดำเนินกิจการอยู่   ที่เหลือขาดทุนและหยุดดำเนินธุรกิจ  
                ข้อคิด.....คณะกรรมการไม่มีความรู้ความสามารถดำเนินงานเหมือนชุดแรก ๆ หรือเป็นเพราะคณะกรรมการเป็นพวก..…เป็นเรื่องกินใจผมมาตลอดจนผมคิดว่า คำตอบสุดท้ายผมเชื่อว่า / มั่นใจว่า ระบบสหกรณ์การเกษตรเมืองไทยไปต่อไม่ได้   ทั้งที่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลโดยตรงอยู่แล้วหรือจะเพิ่มให้มากขึ้นเหมือนในอดีตก็ไม่สามารถควบคุมหัวคนไทยสมัยนี้ได้แล้ว  

                 เรื่องลดต้นทุนการผลิต  เป็นเรื่องที่ดีแต่ชาวนาส่วนมากยังเข้าไม่ถึงข้อมูลที่ถูกต้อง และถูกให้ใช้ของราคาที่แพงมาก เช่น ซื้อปุ๋ยอินทรีย์ชนิดเม็ดในราคากระสอบละ  สองร้อยกว่าบาทถึงสามร้อยบาท   เมื่อนำตัวอย่างไปวิเคราะห์ ส่วนมากจะพบว่ามีธาตุอาหาร  N-P-K   รวมกันไม่ถึง 3%  มีอินทรียวัตถุไม่ถึง 20 %  ส่วนธาตุอาหารรองและธาตุอาหารที่พืชต้องการน้อย ไม่ต้องพูดถึงพบว่าในปุ๋ยคอกมีมากกว่าหลายเท่า  
                ข้อคิด...... ถ้าเอาเงินไปซื้อมูลวัวมาใส่แทนจะประมาณ 15 กระสอบปุ๋ย    คิดดูเอาเองว่าปุ๋ยคอกได้ประโยชน์ว่ากี่เท่า   ไม่รู้หน่วยงานที่ออกกฎหมายควบคุมคิดอย่างไร ถึงกำหนดขั้นต่ำ OM น้อยขนาดนี้ทั้งที่วัตถุประสงค์ต้องการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน

                เรื่องด้านวิชาการเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  เรื่องนี้มีความระเอียดอ่อนพอสมควรเพราะวิชาการที่เหมาะสมจริง ๆ มันไม่ตายตัวในแต่ละพื้นที่และทุกช่วงเวลา ครับ  ตัวอย่างเช่นในสภาพที่ไม่มีโรคแมลงระบาดแล้วทำไม  นาย ก. ปลูกข้าวได้ผลผลิตต่างกันทุกปี ได้มากบ้างน้อยบ้าง  
               ข้อคิด.....ชาวนาในภาพรวมเขาพร้อมจะเปลี่ยนแปลงวิธีทำนาให้ได้ผลผลิตหรือค่าตอบแทนกำไรมาก ๆอยู่แล้ว  เช่น การเปลี่ยนพันธุ์ข้าวจะเร็วมาก  เรื่องอื่นๆก็เช่นกัน
ขอให้นักวิชาการฯ  อย่าตามกระแสโดยไม่กล้าพูดความจริง    แล้วชาวนาไทยจะไปได้ดีกว่านี้

              เรื่องนโยบาลการช่วยเหลือภาครัฐ     สมัครรัฐบาลชุดก่อน  ชาวนาได้ประโยชน์บ้างเหมือนกันแต่ข้อเท็จจริงอย่างไรผมเองก็ไม่ทราบ  แต่คิดว่าเพื่อนสมาชิกส่วนมากก็ใกล้ชิดหรืออยู่กับชาวนาน่าจะมีข้อมูลบ้างไม่มากก็น้อย

         สุดท้ายตอบคำถาม จขกท.    ชาวนาจะรวยได้อย่างไรในเมื่อ  ตัวอย่างเช่น ทำนา 20 ไร่  ได้ข้าว 18 ตัน ขายได้ตันละ 8,000 บาท  เป็นเงิน 144,000 บาท หักต้นทุนไร่ละ 2,000 บาท เหลือเงิน   104,000 บาท   ครอบครัวหนึ่งมีสมาชิก 4 คน   ก็จะมีรายได้เฉลี่ยคนละ  26,000 บาท/ ปี   (ถ้าทำนาปรังได้ก็ดีอีกหน่อย)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนบ้านนอก ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 05:26:56 PM

               เนื้อหาอาจจะขัดกับเหตุณ์ที่ผ่านมาสักนิดน่ะครับผม  แต่สะท้อนและระบายออกมาจากใจจริงๆของชาวนา
                                           แบบลูกทุ่งจ๋าเลยลองฟังดูครับพี่น้อง ::014::

                                      จากบ้านนาด้วยรัก- วิเศษ เวณิกา (http://www.youtube.com/watch?v=aRqALLQkIUU#)



                                                                             


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: gunnaman ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 05:57:12 PM
คนที่รวยคือพ่อค้าคนกลางครับ เอาง่ายๆ บ้านผมก็ปลูกพืชผักขายเหมือนกันครับ
ช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา ชะอมกิโลกรัมละ 80 บาท พ่อค้าคนกลางมาซื้อถึงที่ไร่
ให้ราคาแค่กิโลกรัมละ 35 บาท ขูดเลือดกันชัดๆครับ เอาของเราไปเกิน 50 เปอร์เซนต์
แล้วก็บ่นเอาว่า ก้านไม่ค่อยแข็งแรง โน่นนี่ไปได้เรื่อย
ใจผมลึกๆอยากให้เกษตรกรไทย รู้กันให้เยอะกว่านี้ครับ อยากให้รู้ราคาตลาดกลาง ถ้าออกไปขายเองจะคุ้มกว่า
บ้านผมก็ทำแบบนี้ครับ ตอนแรกๆ พวกพ่อค้าคนกลางยังไม่รู้ว่าบ้านผมไม่ได้เป็นเกษตรกรมาก่อน
เลยโน่นนี่เอาเปรียบ พอเริ่มรู้ว่าบ้านผม พ่อแม่เคยทำอะไรมาก่อน ก็เลยไม่ค่อยกล้าแล้วครับ สงสัยกลัวว่าจะรู้ทัน



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 06:01:49 PM
ขี้เกียจพิมพ์ ...

ฟันธงไปเลยว่า ...

เพราะคนบริหารประเทศนี้ มันเห็นแก่ตัว ไม่จริงใจ ไม่คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

ถ้าตราบใด ประเทศนี้ยังอยู่ภายใต้การบริหารของ "พ่อค้านายทุน" ...

ไม่ต้องหวังหรอก ว่ามันจะดีกว่านี้

ลองไปหาดูวิธีการบริหารประเทศที่เค้าเจริญแล้วเถอะ

... ไอ้พวกคอรัปชั่นโกงกินน่ะ ถ้าเค้าไม่จับติดคุกมันก็โดดหน้าผาตายกันแล้ว

มีแต่ "สารขัณฑ์" นี่แหล่ะ .......... ยกมือไหว้พวกโกงกินกันหัวคุด หัวคู้ ...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 06:10:37 PM
ชาวนารุ่นใหม่และลูกหลานจำนวนไม่น้อย "โคตรขี้เกียจ" ... หนุ่มสาวชนบทยุคใหม่จำนวนมาก เสร็จหว่านไถปักดำก็นอนกระดิกเท้านั่งกินนอนกินบุญเก่าค้างยุ้งของบรรพบุรุษ อยู่ที่บ้าน กลางวันเป็นเด็กแว้นท์ ตกเย็นกินเหล้า ไม่คิดทำมาหากินอย่างอื่น  นั่งนอนผลาญเงินพ่อแม่รอไป 3-4 เดือนค่อยย้ายพุงมาเก็บเกี่ยว  ถ้าโชคดีทำนาได้หลายรอบก็หว่านดำรอบใหม่ แล้วก็นั่งเป็นลูกเทวดาไปอีก 3-4 เดือน เป็นวงจรสันหลังยาว ระบาดไปทั่ว  อย่างนี้จะไม่จนยังไงไหว
  พวกที่ทำนาได้รอบเดียวก็จำต้องมาหางานทำในเมืองใหญ่ เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ทำงานพอได้เงินก็ไปลงขวดเที่ยวเตร่  พอเก็บเงินได้สี่ซ้าห้าพันก็หาโอกาสกลับไปทำร่ำทำรวยที่บ้าน พอเงินหมดก็นั่งๆนอนๆให้พ่อแม่ตายายเลี้ยงอีก เบื่อนักก็ค่อยเข้าเมืองมาหางานทำ เพื่อจะกลับไปใหม่ ... นี่ยังไม่นับพวกที่มาได้เมียมีลูกกันตั้งแต่อายุยังน้อย แล้วส่งกลับไปเป็นภาระของพ่อเฒ่าแม่เฒ่าต้องมาเลี้ยงดู ทั้งที่บ้านก็ลำบากอยู่แล้ว

ผมว่าคนมองปัญหานี้ ....... มองที่ปลายเหตุ

ถ้าให้พิมพ์ คงเมื่อยมือ ......... ถามแค่ว่า

คุณเคยเห็นคนที่ขยันทำมาหากินบ้างมั้ย ... แล้วเค้าร่ำรวย "ทุกคน" หรือเปล่า  :~)

คุณรู้จักเถ้าแก่โรงสีซักคนมั้ย คุณว่าเค้าทำงานหนักหรือเปล่า ... แล้วเค้ายากจนมั้ย  :D~

......... ชีวิตคนบางครั้ง ได้ ดี มี จน แตกต่างกันแค่ "โอกาส" เท่านั้นล่ะครับ

เราไม่สามารถทำให้ทุกคนมีโอกาสเท่ากันได้ ... แต่เราน่าจะเฉลี่ยโอกาส ให้กันได้นะ  ::014::

ผมทึ่งในความคิดของพี่จริงๆครับ    
ผมเองไม่ได้ดูถูกความคิดพี่หรอกครับ    การที่พี่โพสแบบนั้น บางส่วนอาจจะจริง ชาวนาส่วนมากอาจจะไม่เก่งอย่างอื่น เพราะว่า
บรรพบุรุษเค้าทำนามาตลอด  แต่เคยคิดถึงเรื่องนี้บ้างมั้ย ครับว่า จะให้เค้าออกไปทำอย่างอื่นนั้น มันก็ไม่ง่าย ให้เค้าเริ่มต้นใหม่กับงานใหม่
ชาวนาส่วนมาก มักจะไม่ค่อยมีความรู้ซักเท่าไหร่   บางคน ม.3 ก็เก่งแล้ว     ชาวนาส่วนมากที่ผมรู้มาก็คือ  บางครั้งเค้าดิ้นรน ทุกวิธี เพื่อจะ
ให้มีรายได้ที่มากขึ้น  แต่เนื่องจาก
1 เงินลงทุนที่แทบจะไม่มี
2.ความรู้ไม่มาก  
3.พูดจาไม่ไพเราะ (ภาษาชาวบ้าน)
  แล้วท่านจะ ให้เค้าเป็น ผู้จัดการหรือครับ  ใช่ครับ  เค้าเป็นไม่ได้
เอ้า! จะเปิดร้านขายของ ทุนก็ไม่ค่อยมี  เปิดได้ไง ???    สิ่งเดียวที่เค้าทำได้คือ การ ใช้แรงงานที่มีแลกกับเงิน  ด้วยการไปเป็น กรรมกร
หรือลูกจ้างรายวัน  หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ใช้แรงแลกเงิน อันน้อยนิด แต่ในขณะที่ ค่าครองชีพมันสูง เค้าก็ไม่พอกินหรือเก็บเงินไม่ได้มากพอ
 เดือนชนเดือน  ส่วนพวกกินเหล้าเมาย๋ำเป พวกนั้น มันเป็นสิทธิ์ของเค้า  
 หรือว่า พวกคนรวย แดรกไวน์ กินออนเดอะร็อก  ไม่ผิด  ???

ชาวนารุ่นใหม่และลูกหลานจำนวนไม่น้อย "โคตรขี้เกียจ" ... หนุ่มสาวชนบทยุคใหม่จำนวนมาก เสร็จหว่านไถปักดำก็นอนกระดิกเท้านั่งกินนอนกินบุญเก่าค้างยุ้งของบรรพบุรุษ อยู่ที่บ้าน กลางวันเป็นเด็กแว้นท์ ตกเย็นกินเหล้า ไม่คิดทำมาหากินอย่างอื่น  นั่งนอนผลาญเงินพ่อแม่รอไป 3-4 เดือนค่อยย้ายพุงมาเก็บเกี่ยว  ถ้าโชคดีทำนาได้หลายรอบก็หว่านดำรอบใหม่ แล้วก็นั่งเป็นลูกเทวดาไปอีก 3-4 เดือน เป็นวงจรสันหลังยาว ระบาดไปทั่ว  อย่างนี้จะไม่จนยังไงไหว

     พี่พูดเหมือน พี่เป็นหนึ่งในนั้นเลย ครับ    ::002::  เยี่ยมจริงๆ      
อย่าเปลี่ยน ยูสเซอร์ของพี่นะ ผมว่าเหมาะแล้ว ครับ    ::002::  







ผมไม่ทราบว่า ... อันนี้เป็นโพสท์ของใคร

....... แค่อยากยกให้เห็นเป็นตัวอย่าง

ที่โบราณท่านว่า ....... "ฟังไม่ศัพท์ จับมากระเดียด" น่ะครับ ... เป็นเช่นนี้แล  :~)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 06:50:06 PM
 ;D

คาราโอเกะ - ดอกนีออนบานค่ำ - ตั๊กแตน ชลดา (http://www.youtube.com/watch?v=L3Tps9GBiSQ#)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 07:13:05 PM
ฟังเพลงคลายเครียด  :D

MV คนบ้านเดียวกัน - ไผ่ พงศธร (http://www.youtube.com/watch?v=dnKCuJiJQ-k#)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: dignitua-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 07:42:54 PM
จริงๆแล้วปัญหานี้แก้ไขได้ครับ... ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ คือการตัดวงจรอุบาทว์ออกไป...

โดยการตั้งโรงสีเองจากภาครัฐบาลกระจายตามพื้นที่ต่างๆตามความหนาแน่นของพื้นที่ทำนา เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย จากนั้นก็ใช้ราคาขายของตลาด ณ.วันนั้น ลบกับค่าไฟ ค่าเครื่องจักร ค่าแรง ในการสีข้าว และเก็บข้าว แล้วจ่ายค่าผลผลิตที่คงเหลือสุทธิให้ชาวนาตามจริง จะหักภาษี ณ.ที่จ่ายหรืออะไรค่อยว่ากันอีกที... คือผลิตข้าวสารขายหน่วยงานรัฐบาล และรัฐบาลค่อยนำข้าวเข้าระบบจำหน่ายทั้งในพื้นที่ ในประเทศ และส่งขายต่างชาติ...

เกษตรกรจะได้เลือกได้ว่าจะขายข้าวเปลือกให้ใคร ราคาที่ได้ก็ตามความต้องการซื้อ ไม่มีการประกันราคา ที่เหลือก็แล้วแต่การบริหารจัดการในการระบายข้าวอย่างไรของหน่วยงานนั้นๆ...

ระบบอุปถัมภ์บ้านเรามันหยั่งรากมานาน จนกลายเป็นวงจรอุบาทว์... แต่ถ้าใครคิดจะทำ ทำไมจะทำไม่ได้ ท่านจะได้คะแนนเสียงจากเกษตรกรไทยอีกเยอะครับ... (การเมืองป่าวเนี่ย... ??? )


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Choro - รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 08:08:21 PM
ขี้เกียจพิมพ์ ...

ฟันธงไปเลยว่า ...

เพราะคนบริหารประเทศนี้ มันเห็นแก่ตัว ไม่จริงใจ ไม่คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

ถ้าตราบใด ประเทศนี้ยังอยู่ภายใต้การบริหารของ "พ่อค้านายทุน" ...

ไม่ต้องหวังหรอก ว่ามันจะดีกว่านี้

ลองไปหาดูวิธีการบริหารประเทศที่เค้าเจริญแล้วเถอะ

... ไอ้พวกคอรัปชั่นโกงกินน่ะ ถ้าเค้าไม่จับติดคุกมันก็โดดหน้าผาตายกันแล้ว

มีแต่ "สารขัณฑ์" นี่แหล่ะ .......... ยกมือไหว้พวกโกงกินกันหัวคุด หัวคู้ ...

  + 1 ให้ครับพี่ คิดเหมือนต้องที่พ่อค้านายทุนที่มันคอยกดเลือดขูดรีดชาวนาบ้านเรา


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 08:08:50 PM
 :<<

....... " จอร์จ ออเวล กล่าวไว้ว่า ...

Power Corrupt , Absolute Power, Corrupt Absolutely.

หมายถึงว่า อำนาจนั้นนำไปสู่ความฉ้อฉล อำนาจสูงสุดย่อมนำไปสู่การฉ้อฉลที่ยิ่งใหญ่ "


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: JUNGLE ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 10:41:55 PM
  ผมอ่านหลายข้อความหลายท่านที่แสดงความคิดเห็นออกมา  มีบางท่านครับที่ผมอยากจะให้ท่านกลับไประลึกดูให้ดีว่าที่ท่านตอบมาท่านดูถูกความเป็นมนุษย์ของคนที่ทำอาชีพนี้หรือไม่  ดูง่ายๆลูกชาวนากี่คนกี่รุ่นแล้วที่เรียนจบสูงๆมีการมีงานที่ดีดีทำ  แล้วมาดูใกล้ๆตัวในปัจจุบันคนที่จบสูงๆกลับไม่มีปัญญาซื้อที่นาได้  ไม่มีปัญญาส่งเสียลูกเต้าให้เรียนจบประสบผลสำเร็จในชีวิตเหมือนชาวนาในอดีตได้  เปรียบเทียบง่ายๆแค่นี้ท่านคงทราบว่าใครแน่กว่าใคร  ขอร้องเถอะครับอะไรที่รู้ไม่จริงไม่รู้ลึกซึ้งอย่าตอบอยู่เฉยๆไม่มีใครว่าท่านโง่หรอกครับ  แต่การที่รู้ไม่จริงแล้วออกมาพูดจาดูถูกเหยียดหยามคนยึดอาชีพนี้  ในสายตาผมท่านโง่อย่างมหันต์   ขอบคุณท่านจขกท.  กระทู้ท่านเป็นคำถามที่หวังที่อยากจะเห็นชาวนาร่ำรวยเหมือนอาชีพอื่นบ้าง  และต้องการคำตอบที่ดำเนินไปในทางสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกที่ดีให้กับอาชีพนี้ 


     เกิดมาอยู่ในมวลมนุษย์ด้วยกัน  อย่าดูถูกอย่าเหยียบหย่ำมนุษย์กันเลยครับ 

::002:: ::002:: ::002::

...ขอบวกให้ ๑ แต้มครับ... ::014::



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: JUNGLE ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 10:55:32 PM
จริงๆ แล้วถึงผมจะมีอาชีพหลัก... คือ เป็นคนหลวง... อยู่กระทรวงคุณครู... แต่ผมก็ได้รับมรดกที่ที่ดินหลายแปลง... แปลงที่เป็นที่นาราวๆ ยี่สิบไร่เศษ... ถึงจะให้คนอื่นทำให้ก็เถอะ... เคยไปคุลกคลีกับชาวนา... มีเพื่อนเป็นชาวนา... ลูกศิษย์ร้อยทั้งร้อยก็เป็นลูกชาวนา... ปัญหาชาวนายากจนนั้น... พอจะทราบสาเหตุครับ... แต่ไม่สามารถที่จะเรียบเรียงออกมาเป็นตัวอักษรได้... สรุปได้แค่ว่า... คนเรานั้น... ต่างความคิด... ต่างโอกาส... หลายคนทีเดียวที่ผมไปรับฟังแนวทางดำเนินชีวิตของเขาแล้วผม "อาย" ครับ... อายที่ทำไม่ได้แบบเขา... หลายคนที่เดียวที่มีแนวคิดที่น่านับถือจริงๆ


...ผมเลยไม่กล้าวิจารณ์ชีวิตชาวนาครับ... ::014::




หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 11:10:22 PM
 ::014:: เคารพชาวนาทุกท่านครับ..

 

หำเฮี้ยน.wmv (http://www.youtube.com/watch?v=7GE6zcDtU0w#)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ พฤศจิกายน 28, 2010, 11:16:52 PM
ชีวิตสัมพันธ์ - คาราบาว (http://www.youtube.com/watch?v=_KSYzxabB_A#)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: jane1 ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 12:33:43 PM
บรรพบุรุษ ผมเป็นชาวนาเช่นกันครับ
สมัย ปู่กับย่า เป็นชาวนาเต็มตัว ตอนนี้เหลือ อาคนเดียวที่ทำนาอยู่
แต่ก็ไม่ใช่อาชีพหลัก ต้องหารายได้จากทางอื่นด้วย บางทีก็รับจ้าง
เป็นแม่ครัวที่โรงเรียน สมัยผมเป็นเด็กเห็นปู่กับย่าผม ร้องไห้ประจำ
ในตอนที่ข้าวขายได้ราคาไม่ดี ผลจากวัชพืช และเพี้ยกระโดด
บางครั้งก่อนจะเกี่ยวข้าว มีพายุฝนทำให้ข้าวล้ม และเมล็ดข้าวมีความชื้น
จนต้องโดนพ่อค้า กดราคาข้าวลงเกือบครึ่ง บางปีถึงกับขาดทุน สุดท้าย
ก็ต้องไปกู้ ธกส. จำได้ว่า พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ปู่กับย่าไม่มีเงินส่งพ่อผมเรียน มัธยม
จนต้องพาพ่อไปฝากกับหลวงพ่อที่วัด ใกล้กับโรงเรียน อยากจะเล่าให้ฟังว่า
ชาวนาสมัย  20-30 ปีที่แล้ว กับชาวนาปัจจุบัน ก็ยังจนเหมือนเดิม ( ผมพูดถึงชาวนาที่ทำนาแบบดั้งเดิมนะครับ ไม่ใช่นายทุนที่มาจ้างคนทำนา)


ถ้าชาวนาทำเกษตรกรรมและรวมตัวกันได้ เหมือนที่โครงการพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรปราณีต
( ทีเคยโฆษณา นายเหลืองกับนายแดง ผมจำรายละเอียดได้คร่าวๆนะครับ) ไม่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว ผมว่าจะช่วยชาวนาได้เยอะทีเดียวครับ


ปล.สมัยเด็กผมเคยถามพ่อว่า
" ทำไมเราต้องเรียนสูงๆด้วย เพราะการเป็นชาวนาไม่จำเป็นต้องเรียนจนจบปริญญาตรีเลยนี่ครับ"
พ่อผมตอบว่า จำเป็นสิลูก เพราะเราจะได้รู้ทันไอ้พวกพ่อค้า นายทุนที่มาเอาเปรียบเราไงหล่ะ





หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 12:47:24 PM


... คนเรานั้น... ต่างความคิด... ต่างโอกาส... หลายคนทีเดียวที่ผมไปรับฟังแนวทางดำเนินชีวิตของเขาแล้วผม "อาย" ครับ... อายที่ทำไม่ได้แบบเขา... หลายคนที่เดียวที่มีแนวคิดที่น่านับถือจริงๆ  


รบกวนของรับฟัง แนวความคิด ของเขาเหล่านั้น หน่อยครับ


คนใกล้ กับ คนไกล แนวคิดย่อมแตกต่าง

ให้เอาส่วนดีของเขามาใช้ 


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 12:52:24 PM
http://www.google.co.th/#hl=th&source=hp&biw=1024&bih=599&q=%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2+%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99&aq=1&aqi=g4&aql=&oq=%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2&gs_rfai=&fp=690f95651d539bc5 (http://www.google.co.th/#hl=th&source=hp&biw=1024&bih=599&q=%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2+%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99&aq=1&aqi=g4&aql=&oq=%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2&gs_rfai=&fp=690f95651d539bc5)


ค้นหาจาก "กูเกิ้ล" มาให้ครับ ... ผมนับถือพี่เค้าจริงๆ

ถ้าภาครัฐสนับสนุน และส่งเสริมให้ "คนไทย ยืนได้ด้วยลำแข้งตัวเอง" อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม

ผมว่า ... คนไทยเราอยู่ได้สบายๆ  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 12:58:27 PM
ตัวอย่างบางส่วน ...... ลองไปหาอ่านต่อดูครับ

ผมก็คิดเหมือนกัน ว่าอีกไม่เกินสิบปี ก็อยากจะกลับไปอยู่บ้านนอก อย่างนี้บ้าง ...  ::002::



   “มันต้องหลากหลาย ถ้าขายกบอย่างเดียวพอถูกกดราคา เราก็ทำอะไรไม่ ได้ ต้องทำอย่างอื่นไปด้วย ปลูกข่า ตะไคร้ ต้องทำหลายอย่างเพื่อที่ว่าตลาด กบไม่ได้ ก็ยังมีตลาดอื่นอยู่” แหลมย้ำถึงความสำคัญของเกษตรผสมผสาน


   “นอกจากลูกเมียแล้วไม่มีใครเลยเห็นด้วยกับผม พ่อแม่ยังไม่เห็นด้วยเลย”
      
       ในช่วง 2-3 ปีแรก แหลมเริ่มท้ออยากกลับไปเป็นช่างซ่อมเหมือน เดิม แต่ที่อยู่มาได้ก็เพราะกำลังใจจากเพื่อนในกลุ่มที่เชื่อและทำในสิ่ง เดียวกัน
      
       “การทำอย่างนี้มันเหมือนกับเราฉีกสังคม แต่สังคมที่เราฉีกไปหาก็คือบรรพบุรุษของเรา มันคือรากเหง้าของเราเอง”
      
       ที่ทำต่อไม่ใช่เพราะว่ามันประสบความสำเร็จ แต่เพราะมีพระราช ดำรัสของในหลวงเป็นที่ตั้งของแนวคิดในการทำงาน แม้จะยังไม่เห็นผลสำเร็จ แต่ ก็เชื่อว่าเดินมาไม่ผิดทาง



 “ทุนนิยมนี่คือสนับสนุนให้คนเอาเปรียบ ยิ่งเอาเปรียบมากคือสุด ยอดของคน ตอนเป็นช่างก็ชอบที่จะเอาเงินเยอะๆเหมือนกันทั้งที่ราคาอะไหล่มัน ไม่กี่บาท แต่ตอนนี้ไม่อยากทำแล้ว ไม่สบายใจ เงินที่ไม่ได้มาจากน้ำพักน้ำ แรงมันหมดเร็ว”


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: JUNGLE ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 01:16:53 PM


... คนเรานั้น... ต่างความคิด... ต่างโอกาส... หลายคนทีเดียวที่ผมไปรับฟังแนวทางดำเนินชีวิตของเขาแล้วผม "อาย" ครับ... อายที่ทำไม่ได้แบบเขา... หลายคนที่เดียวที่มีแนวคิดที่น่านับถือจริงๆ  


รบกวนของรับฟัง แนวความคิด ของเขาเหล่านั้น หน่อยครับ


คนใกล้ กับ คนไกล แนวคิดย่อมแตกต่าง

ให้เอาส่วนดีของเขามาใช้ 

คือว่า... บางคนเขามีโอกาส... แต่ขาดความมานะพยายาม... ทำให้โอกาสนั้นหลุดลอยไป... แต่กลุ่มที่ผมบอกว่าผม "อาย" เขานั้น... เป็นประเภทที่พยายามยืนบนลำแข้งของตัวเอง... แต่ส่วนมากขาดโอกาสครับ... ผมอายในความมานะพยายามและความสมถะของเขา... อายในความมุ่งมั่นและความขยันพากเพียรของเขา... ส่วนเรื่องที่จะนำแนวคิดมาเรียบเรียงเป็นตัวอักษร... ผมคงต้องไปคลุกคลีให้มากกว่านี้... ครับ... ::014::



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ลุมพินี08 ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 04:19:39 PM
ใกล้เทศกาลเลือกตั้งระดับชาติแล้ว พ่อแม่พี่น้องดูดีๆนะครับจะกาลงคะแนนให้ใครศึกษาซักนิดว่าเราพอจะฝากความหวังกับเขาได้หรือเปล่า เลือกผิดต้องจนต่อไปอีกหลายปี อย่าเห็นแก่เศษเงินเล็กๆน้อยที่เขายื่นให้ ที่เราชาวนายังลำบากอยู่เพราะคนพวกนี้แหละ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 04:27:32 PM
หึ หึ หึ .......... บ้านนี้ เมืองนี้  :~)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: manabu ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 06:02:41 PM
อยากให้ข้อมูลเหล่านี้ถึงชาวนาจัง
ผมยังสงสัยว่าจะมีชาวนากี่คนที่ได้มาอ่าน
อยากให้เขาได้เข้าใจหลายๆอย่างมากกว่าที่พ่อค้า
บอก


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 06:37:18 PM
หึ หึ .. กระทู้นี้ ใครหวังจะลากไปประเด็นการเมือง คงต้องผิดหวังอยู่สักหน่อยนะครับ ...


ในขณะที่ปัจจุบัน ยังไม่มีวี่แววว่าใครจะรื้อโครงสร้างการเพาะปลูก/การแปรรูป ไปจนถึงระบบการรับซื้อและการกระจายสู่ตลาดได้ทั้งกระบวนการ ในระยะเวลาอันใกล้ (จะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม) ...  ชาวนาคงยังต้องพึ่งตนเองให้มาก เพื่อให้อยู่รอดได้  เรียนรู้ที่จะลดต้นทุน พร้อมทั้งเปิดรับแนวคิดการจัดการใหม่ๆมาปรับใช้กับกิจกรรมของตน


สิ่งที่อยากให้นำมาขบคิดเพิ่มเติมอย่างจริงจัง คือ

- การทำนาเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถสร้างรายได้มากพอที่จะเลี้ยงครอบครัว(ขยาย)แบบดั้งเดิมได้ เพราะค่าใช้จ่ายและสิ่งแวดล้อมยั่วยวนชวนเสียเงินมีมากขึ้น  ซึ่งในอดีตพวกเขาต่างช่วยกันปลูกเอง เลี้ยงเอา กินเอง ไม่ต้องเสียเงิน

- ลูกหลาน/เด็กรุ่นใหม่จำนวนมาก พากันเมินการทำนาทำเกษตรที่จริงจัง ไม่เหมือนรุ่นก่อน เพราะมันเหนื่อย มันร้อน .. กระแสวัฒนธรรมเมืองใหญ่ถาโถมเข้าสู่พวกเขาอย่างรวดเร็ว เด็กรุ่นใหม่อยากมีอย่างใช้ตามกระแสทุนนิยม ในขณะที่ตัวพวกเขาเองยังไม่มีพื้นฐานความรู้ หรือโอกาสศึกษา หรือใส่ใจการศึกษามากพอที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองไปสู่โลกธุรกิจทุนนิยมได้ ...
   เด็กพวกนี้เลยไปครึ่งๆกลางๆ ถอยหลังก็ไม่ได้ เดินหน้าก็ไม่ไหว วงจรชีวิตเลยวนเวียนระหว่าง  "เกษตรกรจำใจ - แรงงานไร้ฝีมือ - คนว่างงาน"  สุดท้ายนอกจากไม่สามารถเจือจุนพ่อแม่ตายายได้แล้ว ยังกลับเป็นภาระเสียอีก

- แม้ในอนาคต จะได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างดี (ไม่รู้จะอีกนานแค่ไหน)  ก็ไม่อาจคาดหวังความร่ำรวยหรูหราจากอาชีพการทำนานี้ได้  เพราะอัตราผลกำไรต่อการลงทุนของการทำนา ไม่ได้มากมายถึงขั้นนั้น ... การลงทุนนี้รวมถึงปัจจัย/ทรัพยากรที่ต้องมี ค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูก และเวลาที่เสียไป(ช่วงเวลาคืนผลตอบแทน)
   ชาวนาครอบครัวหนึ่งถ้าทำนาได้ดี ไม่มีอุปสรรค ไม่มีศัตรูพืชหรือภัยธรรมชาติ เมื่อขายข้าวได้ก็จะได้เงินมาก้อนหนึ่ง เก็บจำนวนหนึ่งไว้เป็นต้นทุนในการเพาะปลูกรอบต่อไป  เงินส่วนที่เหลือคือกำไรนำมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ถ้าทำนาได้ 3 รอบต่อปี เงินนั้นก็ต้องใช้ให้พอใน 4 เดือน ดังนั้นรายได้ต่อเดือนต้องหารด้วยสี่ ... ถ้าทำเลไม่ดีทำนาได้แค่รอบเดียว เงินก้อนที่เหลือต้องหารด้วย12  จึงจะเป็นผลตอบแทนจากการทำนาต่อเดือน
   ถ้ามีคนตั้งข้อสังเกตว่าโรงสีข้าวมักร่ำรวย  ถ้าชาวนาสีข้าวได้เอง ขายเอง แล้วจะรวยไหม ...  ผมตอบไม่แน่   รู้แต่ว่าไม่รวยเท่าเขาแน่ เพราะโรงสีเป็นชุมทางข้าวในพื้นที่ เขารวยจาก 2 ปัจจัยคือ กำไรต่อหน่วยที่โรงสีได้(จากการบีบซื้อถูก/ขายแพง)  กับ ปริมาณข้าวที่ไหลผ่านโรงสี ...
   ดังนั้น แม้จะบีบให้โรงสีรับซื้อข้าวในราคาที่เป็นธรรม  ชาวนาแต่ละรายก็ไม่รวย เพราะปริมาณข้าวของแต่ละครอบครัวปลูกได้มันไม่มากพอที่จะสร้างเม็ดเงินขนาดนั้น ... คงเป็นเพียงแค่หายใจหายคอได้คล่องขึ้น


   อยากให้หันกลับมาดูครับ ว่าจริงๆแล้วอะไรที่จะทำให้พ้นความยากจนได้โดยเร็ว ... นั่งรอ หรือขยับตัวเสียวเดี๋ยวนี้ อะไรทำได้ทำเลย อย่าหวังทำนาเพียงอย่างเดียว  อย่าหวังทำงานเสริมเพียงเพื่อฆ่าเวลารอกลับไปเก็บเกี่ยวหว่านไถ แต่ต้องทำงานอื่นอย่างจริงจังด้วย    ถ้าเห็นว่ามีงานอื่น หรือเพาะปลูกอื่นที่ได้ผลดีกว่าทำนา ก็หาทางขยับไปทำเสีย .. ลูกหลานที่นั่งนอนกองอยู่บ้านก็ต้องไล่ให้ไปทำงานหาเลี้ยงตน ให้ใช้จ่ายอย่างรู้คุณค่า ...  ถึงแม้ไม่รวย ก็ไม่น่าจะจนครับ

.. ฟังเพื่อนสมาชิกกล่าวถึงชาวนาหลายท่าน ที่ควรเอาอย่างทั้งในเรื่องความเพียรอุตสาหะ และเรื่องการปรับตัวให้หลากหลาย ..  ผมขอร่วมแสดงความยินดีและยกย่องชาวนาเหล่านั้นด้วยครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: dignitua-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 10:05:23 PM
หึ หึ .. กระทู้นี้ ใครหวังจะลากไปประเด็นการเมือง คงต้องผิดหวังอยู่สักหน่อยนะครับ ...


ในขณะที่ปัจจุบัน ยังไม่มีวี่แววว่าใครจะรื้อโครงสร้างการเพาะปลูก/การแปรรูป ไปจนถึงระบบการรับซื้อและการกระจายสู่ตลาดได้ทั้งกระบวนการ ในระยะเวลาอันใกล้ (จะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม) ...  ชาวนาคงยังต้องพึ่งตนเองให้มาก เพื่อให้อยู่รอดได้  เรียนรู้ที่จะลดต้นทุน พร้อมทั้งเปิดรับแนวคิดการจัดการใหม่ๆมาปรับใช้กับกิจกรรมของตน


สิ่งที่อยากให้นำมาขบคิดเพิ่มเติมอย่างจริงจัง คือ

- การทำนาเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถสร้างรายได้มากพอที่จะเลี้ยงครอบครัว(ขยาย)แบบดั้งเดิมได้ เพราะค่าใช้จ่ายและสิ่งแวดล้อมยั่วยวนชวนเสียเงินมีมากขึ้น  ซึ่งในอดีตพวกเขาต่างช่วยกันปลูกเอง เลี้ยงเอา กินเอง ไม่ต้องเสียเงิน

- ลูกหลาน/เด็กรุ่นใหม่จำนวนมาก พากันเมินการทำนาทำเกษตรที่จริงจัง ไม่เหมือนรุ่นก่อน เพราะมันเหนื่อย มันร้อน .. กระแสวัฒนธรรมเมืองใหญ่ถาโถมเข้าสู่พวกเขาอย่างรวดเร็ว เด็กรุ่นใหม่อยากมีอย่างใช้ตามกระแสทุนนิยม ในขณะที่ตัวพวกเขาเองยังไม่มีพื้นฐานความรู้ หรือโอกาสศึกษา หรือใส่ใจการศึกษามากพอที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองไปสู่โลกธุรกิจทุนนิยมได้ ...
   เด็กพวกนี้เลยไปครึ่งๆกลางๆ ถอยหลังก็ไม่ได้ เดินหน้าก็ไม่ไหว วงจรชีวิตเลยวนเวียนระหว่าง  "เกษตรกรจำใจ - แรงงานไร้ฝีมือ - คนว่างงาน"  สุดท้ายนอกจากไม่สามารถเจือจุนพ่อแม่ตายายได้แล้ว ยังกลับเป็นภาระเสียอีก

- แม้ในอนาคต จะได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างดี (ไม่รู้จะอีกนานแค่ไหน)  ก็ไม่อาจคาดหวังความร่ำรวยหรูหราจากอาชีพการทำนานี้ได้  เพราะอัตราผลกำไรต่อการลงทุนของการทำนา ไม่ได้มากมายถึงขั้นนั้น ... การลงทุนนี้รวมถึงปัจจัย/ทรัพยากรที่ต้องมี ค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูก และเวลาที่เสียไป(ช่วงเวลาคืนผลตอบแทน)
   ชาวนาครอบครัวหนึ่งถ้าทำนาได้ดี ไม่มีอุปสรรค ไม่มีศัตรูพืชหรือภัยธรรมชาติ เมื่อขายข้าวได้ก็จะได้เงินมาก้อนหนึ่ง เก็บจำนวนหนึ่งไว้เป็นต้นทุนในการเพาะปลูกรอบต่อไป  เงินส่วนที่เหลือคือกำไรนำมาใช้จ่ายภายในครอบครัว ถ้าทำนาได้ 3 รอบต่อปี เงินนั้นก็ต้องใช้ให้พอใน 4 เดือน ดังนั้นรายได้ต่อเดือนต้องหารด้วยสี่ ... ถ้าทำเลไม่ดีทำนาได้แค่รอบเดียว เงินก้อนที่เหลือต้องหารด้วย12  จึงจะเป็นผลตอบแทนจากการทำนาต่อเดือน
   ถ้ามีคนตั้งข้อสังเกตว่าโรงสีข้าวมักร่ำรวย  ถ้าชาวนาสีข้าวได้เอง ขายเอง แล้วจะรวยไหม ...  ผมตอบไม่แน่   รู้แต่ว่าไม่รวยเท่าเขาแน่ เพราะโรงสีเป็นชุมทางข้าวในพื้นที่ เขารวยจาก 2 ปัจจัยคือ กำไรต่อหน่วยที่โรงสีได้(จากการบีบซื้อถูก/ขายแพง)  กับ ปริมาณข้าวที่ไหลผ่านโรงสี ...
   ดังนั้น แม้จะบีบให้โรงสีรับซื้อข้าวในราคาที่เป็นธรรม  ชาวนาแต่ละรายก็ไม่รวย เพราะปริมาณข้าวของแต่ละครอบครัวปลูกได้มันไม่มากพอที่จะสร้างเม็ดเงินขนาดนั้น ... คงเป็นเพียงแค่หายใจหายคอได้คล่องขึ้น


   อยากให้หันกลับมาดูครับ ว่าจริงๆแล้วอะไรที่จะทำให้พ้นความยากจนได้โดยเร็ว ... นั่งรอ หรือขยับตัวเสียวเดี๋ยวนี้ อะไรทำได้ทำเลย อย่าหวังทำนาเพียงอย่างเดียว  อย่าหวังทำงานเสริมเพียงเพื่อฆ่าเวลารอกลับไปเก็บเกี่ยวหว่านไถ แต่ต้องทำงานอื่นอย่างจริงจังด้วย    ถ้าเห็นว่ามีงานอื่น หรือเพาะปลูกอื่นที่ได้ผลดีกว่าทำนา ก็หาทางขยับไปทำเสีย .. ลูกหลานที่นั่งนอนกองอยู่บ้านก็ต้องไล่ให้ไปทำงานหาเลี้ยงตน ให้ใช้จ่ายอย่างรู้คุณค่า ...  ถึงแม้ไม่รวย ก็ไม่น่าจะจนครับ

.. ฟังเพื่อนสมาชิกกล่าวถึงชาวนาหลายท่าน ที่ควรเอาอย่างทั้งในเรื่องความเพียรอุตสาหะ และเรื่องการปรับตัวให้หลากหลาย ..  ผมขอร่วมแสดงความยินดีและยกย่องชาวนาเหล่านั้นด้วยครับ

(",)(,")..?!?! ไหนๆ.. ไม่เห็นมีนี่ที่ตัวหนังสือสีแดงๆน่ะพี่เบิร์ด... ???







... ;D ;D ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 10:17:53 PM
................ จริงครับ เห็นด้วย เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการเมืองตรงไหนเลย

มันคือ "ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม"

ที่เกิดจากการขาดผู้นำและผู้บริหารที่ทำเพื่อส่วนรวมอย่างจริงใจ

........  :~)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายแป๋ง คนดง ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 11:41:20 PM
  อย่างอื่นผมไม่ขอแสดงความคิดเห็น  สมช.เวบอวป.หลายๆท่านอาจจะรู้จักกับผม  แต่ผมขอเถอะครับการแสดงความคิดเห็นในแง่ลบของท่านที่มีต่อชาวนา
บางสิ่งบางอย่างบางคำพูดท่านกำลังปฎิบัติสวนกระแสพระราชตำริพ่อหลวงของเราอยู่นะครับ  ผมไม่ได้เอ่ยนามว่าเป็นใคร  แต่ท่านใดร้อนตัวอยากจะชนกันผม
  ผมบอกได้คำเดียวว่า"ด้วยความยินดีครับ"  บ้านเราเมืองเราพ่อเอ้ย.........เมืองเกษตรกร....
  สมัยก่อน 100 กว่าปีที่แล้วชาวนามีที่ดิน 100 ไร่  ในความครอบครองของเจ้าของที่ดินดันมีลูก 10 คน  พ่อแม่ตายไปแบ่งใหลูกๆ 10 คนๆละ 10 ไร่จาก 100 ไร่  ทำนายังไงจะให้รวยพ่อคุณเอ้ย  คิดง่ายๆกันเป็นหรือเปล่า  ถ้าวันใดวันหนึ่งราคาที่ดินของชาวนามีราคาเท่ากับที่ดินแถวสีลมล่ะพ่อเอ๊ยคิดกันมั่งหรือเปล่า
ใครมันจะรวยกว่าใคร  พ่อจะหันไปเลียป๊อกใครมิทราบ ::005::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: แจ็ค ที่ พฤศจิกายน 29, 2010, 11:54:34 PM
(http://image.ohozaa.com/i/9eb/dscf0901.jpg) (http://image.ohozaa.com/show.php?id=20e3e16cec26d491673cef5aaec61eb4)

...... เศรษฐกิจพอเพียง ,,,, ลด ละ เลิก สิ่งฟุ่มเฟือยต่าง ๆ โดยเฉพาะอบายมุข ทดลองทำบัญชีครัวเรือน เพื่อทราบรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และหาแนวทางลดค่าใช้จ่ายเหล่านั้น ,


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 12:10:10 AM
แล้วผมจะร้อนตัวเกินไปไหมครับ ถ้าผมเข้าใจว่าลุงกำลังหมายถึงผม  :-\   ... ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัยนะครับ  ::014::

... เห็นด้วยกับลุงแป๋งครับ  ที่บอกว่าชาวนารุ่นปู่ย่ามีที่ 100 ไร่  แบ่งให้รุ่นพ่อ 10 คน ได้คนละ 10 ไร่  พ่อมีลูก 5 เลยได้คนละ 2 ไร่ ... ทำนาอย่างไรจะให้รวยได้
นี่เป็นเหตุผลที่ผมบอกว่า ถ้าหวังจะรวยจากอาชีพทำนาอย่างเดียว คงจะไม่สำเร็จ  ต้องทำอย่างอื่นไปด้วย ..
จะหมุนเวียนเพาะปลูกอย่างอื่น  จะค้าขาย  จะทำงานเชิงช่างใดๆก็คงต้องทำ

พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงทรงแนะไว้ ... ปลูกพืชหมุนเวียน ทำเกษตรเชิงผสม มุ่งศึกษาหาความชำนาญอื่นๆที่กระทำได้ เริ่มจากท้องถิ่นฐานตนเองก่อนตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ...
ภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ ความหมายกว้างครับ .. หมายถึงงานเกษตร(อื่นๆ)ก็ได้ หมายถึงงานฝีมือก็ได้  
รวมทั้งการฝึกปรือความรู้ความชำนาญจากถิ่นอื่นจนเชี่ยวชาญ แล้วนำกลับมาทำมาหากิน และพัฒนาท้องถิ่นตน
อันนี้ต้องการความจริงจัง .. ลูกหลานที่ไม่อยากทำนาทำเกษตร ก็ต้องติดปีกออกไปสู่โลกกว้าง เรียนรู้อย่างจริงจัง ให้หลุดพ้นคำว่าแรงงานไร้ฝีมือ  จึงจะกลับมาเจือจานครอบครัว และพัฒนาบ้านเกิดตนได้

ความหมายจึงเป็นดังนั้น ครับ ...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายแป๋ง คนดง ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 01:04:43 AM
  ท่านเบิร์ดมองอะไรผมผิดไปหรือเปล่าครับ  ที่ผมพูดไปผมไม่ได้เอ่ยชื่อใคร  เพราะผมให้เกียรติสมช.ทุกท่าน  แต่ที่ผมแสดงความคิดเห็นเพราะผมไม่อยากให้เราเอาความรู้สึกเราหรือสิ่งที่เราเห็นในอาชีพนี้เพียงส่วนน้อยออกมาพูดมาวิพากย์วิจารณ์ในเชิงเอาความคิดส่วนตัวมาสอดแทรกกัน  ผมว่ามันไม่แฟร์ครับในเวบนี้มีคนที่รับราชการ ครู 3 ระดับ 8 (ปัจจุบันเรียกกัน คศ.2-คศ.3)อะไรก็ว่ากันไป  ที่เป็นลูกชาวนาและก็ยังคงทำนาอยู่  เมื่อไม่นานมานี้มีครูท่านหนึ่งโดนขโมยกวดข้าวไปทั้งยุ้งสาเหตุเพราะรับราชการกันทั้งบ้านไม่มีใครเฝ้าดูแล  แม่เขาซื่งเป็นครูเหมือนกันยังนั่งร้องไห้เพราะเสียดายน้ำพักน้ำแรงที่ทำมา  ถามว่ามีใครอยากจะจน  มีใครอยากจะทนทำนาทั้งๆที่ทำแล้วไม่รวย  แต่ที่เขาทำเขาเพราะช่วยอุดหนุนจุนเจือครอบครัวเป็นประหยัดเงืนที่จะนำมาซื้อข้าวประทังชีวิตคนในครอบครัว  มันผิดด้วยหรือที่เขาทำแบบนั้น  แต่พอมีสมช.คนมีอันจะกินมีเงินซื้อปืน(ซึ่งผมก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคนๆนั้น)ออกมาพูดเชิงดูถูกเหยีบยหย่ำชาวนา  และคนอย่างผม"สหายแป๋ง"ผู้ซึ่งไม่เคยก้มหัวให้สิ่งที่ไม่ถูกต้อง  ออกมาเตือนสติถ้าผมจะถูกมองในแง่ลบ  ผมยืดอกรับได้เลยครับว่า"ผมไม่สน"  ผมเป็นแฟนหนังสือ"นิตยสารการกีฬาและวิชาการปืนมา"ตั้งแต่สมัยป๋าตระกลูยังหนุ่มๆ...เมื่อวานเจอท่านที่สนามเป้าบินหัวหมากก็ยังหนุ่มอยู่เหมือนเดิม  ผมพิมพ์แล้วพิมพ์อีกพร้อมกับลบแล้วลบอีก  เพียงเพื่อบางครั้งบางทีผมก็อยากรักษามิตรภาพ+มารยาทในเวบไว้  พอมาอ่านเจอมีพูดถึงชื่อผม  จำเป็นครับที่ผมจำต้องออกมาอรรถาธิบาย  ไม่ว่ากันนะครับ ::002::
  ตามข้อความสีแดงบุคคลที่ผมเคารพรักและเอ่ยนามท่าน  ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ผมอยากจะแสดงให้ทุกท่านเห็นว่าเราคนไทยมีความกตัญญูต่อบรรพรุษ  สิ่งใดที่ชาวนาทำมาจนได้ชื่อว่า"กระดูกสันหลังของชาติ"  ขอให้ท่านอย่าได้นำมาด่ามาว่าเล่นกันอีกเลย  เจตนาท่านจขกท.คือหาข้อยุติ-หาตำตอบว่าทำไมคนชาวนาถึงไม่รวย  ไม่ใช่ให้ท่านมาหาสาเหตุที่นำพาไปสู่ความหายนะทางความคิดอย่างที่เป็นอยู่


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 01:23:46 AM
ขอบคุณครับ ลุงแป๋ง ที่มาไขความกระจ่าง  .. และขอโทษอีกครั้งครับ ที่เข้าใจผิด  ::014::


นับถือลุงแป๋งเหมือนเดิมครับ ...






หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายแป๋ง คนดง ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 01:27:08 AM
   ผมจำท่านเบิรด์ได้มิเคยลืมเลือน  เรามีแนวคิดและอุดมการณ์หลายๆอย่างไปในทิศทางเดียวกันครับ ::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: JUNGLE ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 05:07:01 AM
  ท่านเบิร์ดมองอะไรผมผิดไปหรือเปล่าครับ  ที่ผมพูดไปผมไม่ได้เอ่ยชื่อใคร  เพราะผมให้เกียรติสมช.ทุกท่าน  แต่ที่ผมแสดงความคิดเห็นเพราะผมไม่อยากให้เราเอาความรู้สึกเราหรือสิ่งที่เราเห็นในอาชีพนี้เพียงส่วนน้อยออกมาพูดมาวิพากย์วิจารณ์ในเชิงเอาความคิดส่วนตัวมาสอดแทรกกัน  ผมว่ามันไม่แฟร์ครับในเวบนี้มีคนที่รับราชการ ครู 3 ระดับ 8 (ปัจจุบันเรียกกัน คศ.2-คศ.3)อะไรก็ว่ากันไป  ที่เป็นลูกชาวนาและก็ยังคงทำนาอยู่  เมื่อไม่นานมานี้มีครูท่านหนึ่งโดนขโมยกวดข้าวไปทั้งยุ้งสาเหตุเพราะรับราชการกันทั้งบ้านไม่มีใครเฝ้าดูแล  แม่เขาซื่งเป็นครูเหมือนกันยังนั่งร้องไห้เพราะเสียดายน้ำพักน้ำแรงที่ทำมา   ถามว่ามีใครอยากจะจน  มีใครอยากจะทนทำนาทั้งๆที่ทำแล้วไม่รวย  แต่ที่เขาทำเขาเพราะช่วยอุดหนุนจุนเจือครอบครัวเป็นประหยัดเงืนที่จะนำมาซื้อข้าวประทังชีวิตคนในครอบครัว  มันผิดด้วยหรือที่เขาทำแบบนั้น  แต่พอมีสมช.คนมีอันจะกินมีเงินซื้อปืน(ซึ่งผมก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคนๆนั้น)ออกมาพูดเชิงดูถูกเหยีบยหย่ำชาวนา  และคนอย่างผม"สหายแป๋ง"ผู้ซึ่งไม่เคยก้มหัวให้สิ่งที่ไม่ถูกต้อง  ออกมาเตือนสติถ้าผมจะถูกมองในแง่ลบ  ผมยืดอกรับได้เลยครับว่า"ผมไม่สน"  ผมเป็นแฟนหนังสือ"นิตยสารการกีฬาและวิชาการปืนมา"ตั้งแต่สมัยป๋าตระกลูยังหนุ่มๆ...เมื่อวานเจอท่านที่สนามเป้าบินหัวหมากก็ยังหนุ่มอยู่เหมือนเดิม  ผมพิมพ์แล้วพิมพ์อีกพร้อมกับลบแล้วลบอีก  เพียงเพื่อบางครั้งบางทีผมก็อยากรักษามิตรภาพ+มารยาทในเวบไว้  พอมาอ่านเจอมีพูดถึงชื่อผม  จำเป็นครับที่ผมจำต้องออกมาอรรถาธิบาย  ไม่ว่ากันนะครับ ::002::
  ตามข้อความสีแดงบุคคลที่ผมเคารพรักและเอ่ยนามท่าน  ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ผมอยากจะแสดงให้ทุกท่านเห็นว่าเราคนไทยมีความกตัญญูต่อบรรพรุษ  สิ่งใดที่ชาวนาทำมาจนได้ชื่อว่า"กระดูกสันหลังของชาติ"  ขอให้ท่านอย่าได้นำมาด่ามาว่าเล่นกันอีกเลย  เจตนาท่านจขกท.คือหาข้อยุติ-หาตำตอบว่าทำไมคนชาวนาถึงไม่รวย  ไม่ใช่ให้ท่านมาหาสาเหตุที่นำพาไปสู่ความหายนะทางความคิดอย่างที่เป็นอยู่

...เอาไปไม่หมดครับ... เหลือให้ดูต่างหน้าอยู่สี่ถุง... :~) :~) :~)



 ::014::



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 07:53:26 AM
จริงๆแล้วปัญหานี้แก้ไขได้ครับ... ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ คือการตัดวงจรอุบาตถ์ออกไป...

โดยการตั้งโรงสีเองจากภาครัฐบาลกระจายตามพื้นที่ต่างๆตามความหนาแน่นของพื้นที่ทำนา เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย จากนั้นก็ใช้ราคาขายของตลาด ณ.วันนั้น ลบกับค่าไฟ ค่าเครื่องจักร ค่าแรง ในการสีข้าว และเก็บข้าว แล้วจ่ายค่าผลผลิตที่คงเหลือสุทธิให้ชาวนาตามจริง จะหักภาษี ณ.ที่จ่ายหรืออะไรค่อยว่ากันอีกที... คือผลิตข้าวสารขายหน่วยงานรัฐบาล และรัฐบาลค่อยนำข้าวเข้าระบบจำหน่ายทั้งในพื้นที่ ในประเทศ และส่งขายต่างชาติ...

เกษตรกรจะได้เลือกได้ว่าจะขายข้าวเปลือกให้ใคร ราคาที่ได้ก็ตามความต้องการซื้อ ไม่มีการประกันราคา ที่เหลือก็แล้วแต่การบริหารจัดการในการระบายข้าวอย่างไรของหน่วยงานนั้นๆ...

ระบบอุปถัมภ์บ้านเรามันหยั่งรากมานาน จนกลายเป็นวงจรอุบาตถ์... แต่ถ้าใครคิดจะทำ ทำไมจะทำไม่ได้ ท่านจะได้คะแนนเสียงจากเกษตรกรไทยอีกเยอะครับ... (การเมืองป่าวเนี่ย... ??? )

ทำแบบนี้ เกษตรกรอิ่ม นักการเมืองไม่อิ่มครับ (เรื่องใหญ่นา)

อ้อ...อุบาทว์ครับ ไม่ใช่อุบาตถ์


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 08:17:44 AM
ปัญหาแบบนี้ใครไม่เคยเจอ ไม่เคย "โดน" ไม่มีวันรู้หรอกว่าเป็นอย่างไร

... ถามว่าคนทำนากี่คน ที่จะรู้ราคาล่วงหน้า ว่าตอนเก็บเกี่ยว ตัวเองจะขายได้ราคาเท่าไหร่

โน่น "พ่อค้าส่งออก" โน่น ... เค้ามียอดสั่งซื้อกันมาข้ามปีแล้ว

... คนทำสวนยางกี่คน ที่จะรู้ราคาล่วงหน้า อย่างเก่งก็ประมาณเอา ว่าจะขึ้นหรือจะลง

... เกษตรกรกี่คน ที่รู้จัก "ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า" ...

... สวนปาล์มบ้านแฟนผม ปลูกมาจนจะโค่นทิ้งแล้ว ต้องลุ้นทุกครั้งว่าราคาจะได้เท่าไหร่

ถึงจะราคาตกจนไม่คุ้มค่าปุ๋ย ค่าตัดหญ้า ...... แต่ก็ต้องขายพ่อค้า ไม่มีทางเลือก

ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนขึ้นอยู่กับ "พ่อค้า" ..... แล้วแต่จะกำหนด

.......... ถามแค่นี้พอ ... ใครควรรับผิดชอบ ?


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 08:36:56 AM

วันที่ จันทร์ มิถุนายน 2552
 
 พิมพ์หน้านี้  |  ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation 
 

ก่อนชาวนา..ที่นา..จะหมดจากชาติไทย



       

  ชาวนาคือผู้ทำนาปลูกข้าว  เลี้ยงเรามาจนเป็นหนุ่มสาวยันเราเฒ่าแก่ชรา


แต่เหตุไฉน ชาวนาไทยอับจนเรื่อยมา   เผชิญดินนำลมฟ้าเผชิญปัญหาชะตากรรม


ถามคุณพ่อแม่ ปู่ย่าตายายของเรา   ลองกระซิบท่านเบาๆท่านโตด้วยข้าวมือใคร


ตอนเราเป็นเด็ก เราได้ดื่มน้ำนมมากมาย  นมจากเต้าเอามาจากใหน ไช่หรือไม่เหงื่อใคลชาวนา........


     จากเพลง "หำเฮี้ยน" ของวงคาราบาว ซึ่งเป็นบทเพลงหนึ่งที่ถือว่าให้สาระและตรงกับสภาพความเป็นจริงของชาวนาไทยเป็นที่สุด จากกระแสข่าว


     กรณีกลุ่มทุนอาหรับ 6 ชาติ แสดงความสนใจเข้ามาทำนา และทำฟารมเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย


    ทำให้อดที่จะคิดและเขียนถึงชาวนาไทยไม่ได้ เพราะเราก็เติบโตมาข้าวในนาเหมือนกัน จากบรรพบุรุษมาสู่ปัจจุบันชาวนาไทย มากกว่า 3.7 ล้านครอบครัวหรือประมาณ 20ล้านคน ยังประกอบอาชีพทำงาน ซึ่งประมาณร้อยละ 90 เป็นการทำนาตามฤดูกาลหรือเรียกว่านาปี คือปลูกข้าวปีละครั้งที่เหลืออีกร้อยละ10% จะทำนาปรังด้วยซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทานซึ่งทำนาได้สองครั้งต่อปี   


    ข้าวที่ผลิตและเหลือบริโภคในประเทศจะส่งออกในปริมาณร้อยละ 45 นำรายได้เข้าสู่ประเทศประมาณปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท


     การที่กลุ่มทุนต่างชาติสนใจจะมาลงทุนโดยเช่าที่นาเพื่อทำนา และเลี้ยงสัตว์ มองไปที่อนาคตของชาวนา ถ้าหากให้กลุ่มทุนพวกนี้เข้ามาจริงๆโดยที่มาเช่าที่นาแล้วจ้างคนไทยให้ทำนาให้แล้วเอาเทคโนโลยี่เข้ามาช่วย อนาคตชาวนาอาจจะจำเป็นต้องซื้อข้าวกินเองแน่นอน


   เพราะอะไรกลุ่มทุนอาหรับ 6 ชาติ ถึงต้องการมาเช่าที่นาเพื่อทำนา


      พื้นที่เพาะปลูกทางประเทศเขาไม่มี ใต้ดินมีแต่นำมัน อนาคตข้างหน้ากลุ่มอาหรับพวกนี้ ต้องคิดแน่นอนว่าเมื่อมีพลังงานทดแทนราคาน้ำมันก็จะลดลงหรือไม่ในอนาคตโอกาสน้ำมันที่จะหมดไป ก็มีมาก แต่ความต้องการอาหารของคนในโลกยังมีอยู่เพราะฉนั้นในอนาคต กลุ่มพลังงานด้านอาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญของพลเมืองในโลก ขาดน้ำมันเราอยู่ได้ แต่เมื่อใดขาดอาหารของกิน เราอยู่ไม่ได้ แน่นอน และที่มองข้ามไม่ได้คือการเชิญชวนของอดีตนายกทักษิณ ในสมัยที่ผ่านมา ที่ต้องการให้กลุ่มนายทุนพวกนี้เข้ามาถือกรรมสิทธิ์ในการเช่าระยะยาว


       การครอบครองโดยการเช่าจะไม่เหมือนกับการครอบครองโดยการซื้อก็จริงอยู่แต่ว่าสัญญาเช่าระยะยาวมันก็ไม่ต่างอะไรกับการครอบครองโดยการซื้อ หรือว่าการถือสิทธิ์โดยการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วถือหุ้นโดยนอมินี ก็เหมือนกับ เป้นการใช้ช่องว่างทางกฏหมายเพื่อให้ได้สิทธิ์ในการครอบครอง แล้วชาวนาไทยจะเหลืออะไรใว้ให้ลูกหลาน


        ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ยกย่องชาวนาว่า ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ  จนมาถึงปัจจุบัน ข้าวและชาวนามความผูกพันธ์และสำคัญต่อชาติไทย เพราะเป็นรากฐานของขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่สืบทอดมาหลายศตวรรษ มันฝังเข้ากระดูกดำของชาวนาไทยไปแล้ว
      ในเมือ  ชาวนาคือผู้ทำนาปลูกข้าวเลี้ยงเรามาจนเป็นหนุ่มสาวยันเราเฒ่าแก่ชรา ตามคำร้องจากเพลงแล้ว ถ้าเอาที่นาไปขายหรือให้คนอื่นเช่าแล้ว ชาวนาไทยจะเอาที่ใหนทำนา ซึ่งเป็นจุดที่น่าเป็นห่วงมากๆในอนาคต


       รัฐบาลน่าที่จะปลุกกระแส ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ รักและหวงอาชีพชาวนา ดูแลประคับประคองชาวนาให้ยืนอยู่ได้กับอาชีพทำนา   ก่อนชาวนา และที่นา หมดไปจากประเทศไทย   


 
โดย ณสยาม

 
 
 
กลับไปที่ www.oknation.net (http://www.oknation.net)   
 


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: jane1 ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 09:59:17 AM
สอบถามแบบผู้ไม่รู้นะครับว่า
ทำไมชาวนา 1.ไม่รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เพื่อจะมีอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง
                  2. การปกครองส่วนท้องถิ่นน่าจะช่วยชาวนาในการจัดตั้งรวมกลุ่ม และคอยสนับสนุน
                      ในเรื่องความรู้ กลไกการตลาด วิทยาการใหม่ๆ จัดต้องกองทุน มีรถเกี่ยว รถดำนา เครื่องสูบน้ำ
                      ให้เช่าในราคาที่ถูกกว่าปัจจุบัน (ปัจจุบันราคารถเกี่ยวคิดที่ประมาณ 700-800 บาท/ไร่)
                       ซึ่งโครงการนี้สามารถร่างในเทศบัญญัติการปกครองส่วนท้องถิ่นได้
                  3.ทำไมชาวนาไม่ทดลองทำเกษตรปราณีตบ้าง ปัจจุบันทำแต่เกษตรเชิงเดี่ยว
ที่ผมถามนี้ไม่ได้ประชดใครแต่เป็นปัญหาที่ผมเคยถาม คุณอาผมที่เป็นชาวนา แต่แกก็ไม่สามารถตอบได้
เคยคิดจะเพราะปลูกอย่างอื่นก็สามาถปลูกได้ครับ พอปลูกแล้วดันไม่มีตลาดรองรับ
            และชาวนาส่วนใหญ่แถวบ้านผม อยุธยา-อ่างทอง ขายที่นาให้กับนายทุนกันไปเกือบหมดแล้ว
และสุดท้ายก็ต้องไปเช่านาที่เคยเป็นของตัวเองกับนายทุน ทำให้ราคาต้นทุนต่อไร่สูงขึน ครับ



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 10:50:57 AM
อย่างที่บอกล่ะครับ ... วิธีการ ผมว่า หลายๆท่านก็มีความรู้ ความสามารถ จะคิดได้

...... สหกรณ์เป็นเรื่องดี หลายประเทศที่เจริญแล้ว สหกรณ์เข้มแข็งมาก รัฐดูแลสนับสนุนอย่างเต็มที่



ยกตัวอย่างให้อันนึง ...

เทศบาลแห่งนึง ได้นายกฯที่เป็นคนชอบเล่นกีฬา สมัยนั้น

มีการจัดแข่งขันกีฬาทุกปี สนามหญ้ามีคนดูแลตัดหญ้า

เด็กๆมาเตะฟุตบอล เล่นกีฬากันทุกเย็น

... พอหมดสมัย เปลี่ยนนายกฯ บังเอิญคนนี้ ไม่ค่อยนิยมกีฬากลางแจ้ง นิยม "กีฬาทางน้ำในร่ม"

สนามหญ้าก็กลายเป็นทุ่งเลี้ยงวัว กีฬาที่เคยจัดประจำทุกปี ก็ค่อยๆเลิกไปทีละอย่างสองอย่าง

........ เอวัง  :~)



ในความเห็นผม ประเทศนี้มีปัญหาที่ "คน" และผู้นำในการ "พัฒนาคน"

จริงครับที่ว่าทุกอย่างให้เริ่มที่ตัวเองก่อน ... แต่ถ้าภาคส่วนใหญ่ในสังคม ไม่มีเจ้าภาพหรือผู้นำ

แล้วเมื่อไหร่จะเกิดความเป็นเอกภาพ ......... ต้องรอนานแค่ไหน  :~)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: dignitua-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 11:09:59 AM
จริงๆแล้วปัญหานี้แก้ไขได้ครับ... ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ คือการตัดวงจรอุบาตถ์ออกไป...

โดยการตั้งโรงสีเองจากภาครัฐบาลกระจายตามพื้นที่ต่างๆตามความหนาแน่นของพื้นที่ทำนา เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย จากนั้นก็ใช้ราคาขายของตลาด ณ.วันนั้น ลบกับค่าไฟ ค่าเครื่องจักร ค่าแรง ในการสีข้าว และเก็บข้าว แล้วจ่ายค่าผลผลิตที่คงเหลือสุทธิให้ชาวนาตามจริง จะหักภาษี ณ.ที่จ่ายหรืออะไรค่อยว่ากันอีกที... คือผลิตข้าวสารขายหน่วยงานรัฐบาล และรัฐบาลค่อยนำข้าวเข้าระบบจำหน่ายทั้งในพื้นที่ ในประเทศ และส่งขายต่างชาติ...

เกษตรกรจะได้เลือกได้ว่าจะขายข้าวเปลือกให้ใคร ราคาที่ได้ก็ตามความต้องการซื้อ ไม่มีการประกันราคา ที่เหลือก็แล้วแต่การบริหารจัดการในการระบายข้าวอย่างไรของหน่วยงานนั้นๆ...

ระบบอุปถัมภ์บ้านเรามันหยั่งรากมานาน จนกลายเป็นวงจรอุบาตถ์... แต่ถ้าใครคิดจะทำ ทำไมจะทำไม่ได้ ท่านจะได้คะแนนเสียงจากเกษตรกรไทยอีกเยอะครับ... (การเมืองป่าวเนี่ย... ??? )

ทำแบบนี้ เกษตรกรอิ่ม นักการเมืองไม่อิ่มครับ (เรื่องใหญ่นา)

อ้อ...อุบาทว์ครับ ไม่ใช่อุบาตถ์

ขอบคุณครับพี่ซับ... ::014:: ผมก็ว่าพิมพ์ผิดหรือเปล่า...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 11:20:59 AM
จริงๆแล้วปัญหานี้แก้ไขได้ครับ... ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ คือการตัดวงจรอุบาตถ์ออกไป...

โดยการตั้งโรงสีเองจากภาครัฐบาลกระจายตามพื้นที่ต่างๆตามความหนาแน่นของพื้นที่ทำนา เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย จากนั้นก็ใช้ราคาขายของตลาด ณ.วันนั้น ลบกับค่าไฟ ค่าเครื่องจักร ค่าแรง ในการสีข้าว และเก็บข้าว แล้วจ่ายค่าผลผลิตที่คงเหลือสุทธิให้ชาวนาตามจริง จะหักภาษี ณ.ที่จ่ายหรืออะไรค่อยว่ากันอีกที... คือผลิตข้าวสารขายหน่วยงานรัฐบาล และรัฐบาลค่อยนำข้าวเข้าระบบจำหน่ายทั้งในพื้นที่ ในประเทศ และส่งขายต่างชาติ...

เกษตรกรจะได้เลือกได้ว่าจะขายข้าวเปลือกให้ใคร ราคาที่ได้ก็ตามความต้องการซื้อ ไม่มีการประกันราคา ที่เหลือก็แล้วแต่การบริหารจัดการในการระบายข้าวอย่างไรของหน่วยงานนั้นๆ...

ระบบอุปถัมภ์บ้านเรามันหยั่งรากมานาน จนกลายเป็นวงจรอุบาตถ์... แต่ถ้าใครคิดจะทำ ทำไมจะทำไม่ได้ ท่านจะได้คะแนนเสียงจากเกษตรกรไทยอีกเยอะครับ... (การเมืองป่าวเนี่ย... ??? )

ทำแบบนี้ เกษตรกรอิ่ม นักการเมืองไม่อิ่มครับ (เรื่องใหญ่นา)

อ้อ...อุบาทว์ครับ ไม่ใช่อุบาตถ์

ขอบคุณครับพี่ซับ... ::014:: ผมก็ว่าพิมพ์ผิดหรือเปล่า...

ทำอย่างนี้มันก็เหมือนแนวคิดดั้งเดิม ที่รัฐบาลจัดการเสียเอง แล้วตั้งเป็นองค์กรของรัฐ ไม่ได้หวังกำไร แต่ประสงค์ให้ผลประโยชน์ตกแก่แผ่นดิน... เขามีคำศัพท์เรียกองค์กรแบบนี้ว่า"รัฐวิสาหกิจ"ไงครับ...

แต่แนวคิดแบบนี้มันก็มาตกม้าตายเอากับเรื่องเดิม คือ"บังคับใช้กฎหมายไม่ได้"... แล้วคนมันก็โกงกันทุกแผนก ทุกกอง ฯลฯ จนกระทั่งเจ๊งไม่เป็นท่า ทำนองเดียวกับ รฟท. ในกระทู้อื่นนั่นแหละครับ...

แต่ถ้าบังคับใช้กฎหมายได้ ใครขี้โกงแล้วมีคนเสียประโยชน์(ก็ประชาชนนั่นแหละ) ไปแจ้งความแล้วตำรวจจับ ตำรวจสืบเสาะหาหลักฐานมัดตัวผู้กระทำผิดอย่างเอาจริงเอาจัง... นักการเมืองทั้งหลายมันก็ไม่กล้าเข้ามาขี้โกง ตัวเหลือบริ้นไรตัวเล็กตัวน้อยมันก็ไม่กล้า, ในที่สุดชาวนาก็ได้รับประโยชน์ยุติธรรม ประชาชนก็มีข้าวกินในราคาที่สมเหตุสมผล ประเทศก็เจริญ มีข้าวสารส่งออกขายได้ดี...

ทำไปทำมา มันก็มาลงที่การบังคับใช้กฎหมายครับ... ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายไม่ได้... เฮ้อ...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: dignitua-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 11:29:30 AM
ปัญหาแบบนี้ใครไม่เคยเจอ ไม่เคย "โดน" ไม่มีวันรู้หรอกว่าเป็นอย่างไร

... ถามว่าคนทำนากี่คน ที่จะรู้ราคาล่วงหน้า ว่าตอนเก็บเกี่ยว ตัวเองจะขายได้ราคาเท่าไหร่

โน่น "พ่อค้าส่งออก" โน่น ... เค้ามียอดสั่งซื้อกันมาข้ามปีแล้ว

... คนทำสวนยางกี่คน ที่จะรู้ราคาล่วงหน้า อย่างเก่งก็ประมาณเอา ว่าจะขึ้นหรือจะลง

... เกษตรกรกี่คน ที่รู้จัก "ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า" ...

... สวนปาล์มบ้านแฟนผม ปลูกมาจนจะโค่นทิ้งแล้ว ต้องลุ้นทุกครั้งว่าราคาจะได้เท่าไหร่

ถึงจะราคาตกจนไม่คุ้มค่าปุ๋ย ค่าตัดหญ้า ...... แต่ก็ต้องขายพ่อค้า ไม่มีทางเลือก

ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนขึ้นอยู่กับ "พ่อค้า" ..... แล้วแต่จะกำหนด

.......... ถามแค่นี้พอ ... ใครควรรับผิดชอบ ?

คำตอบนี้ดีครับ... การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรไทยค่อนข้างยาก เพราะสื่อที่เข้าถึงง่ายเช่นวิทยุชุมชน ก็ถูกนำไปใช้ปลุกระดมให้ข้อมูลผิดๆที่ไม่มีประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ และผิดวัตถุประสงค์ของการกระจายคลื่นความถี่... เครื่องมือมีหมด แต่ผิดที่คนไม่มีความจริงใจ... ผู้นำชุมชนไม่จริงใจ... ผู้แทนไม่จริงใจ... จะเหลืออะไรให้เกษตรกรไทยล่ะทีนี้...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: dignitua-รักในหลวง ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 11:35:30 AM

ทำอย่างนี้มันก็เหมือนแนวคิดดั้งเดิม ที่รัฐบาลจัดการเสียเอง แล้วตั้งเป็นองค์กรของรัฐ ไม่ได้หวังกำไร แต่ประสงค์ให้ผลประโยชน์ตกแก่แผ่นดิน... เขามีคำศัพท์เรียกองค์แบบนี้ว่า"รัฐวิสาหกิจ"ไงครับ...

แต่แนวคิดแบบนี้มันก็มาตกม้าตายเอากับเรื่องเดิม คือ"บังคับใช้กฎหมายไม่ได้"... แล้วคนมันก็โกงกันทุกแผนก ทุกกอง ฯลฯ จนกระทั่งเจ๊งไม่เป็นท่า ทำนองเดียวกับ รฟท. ในกระทู้อื่นนั่นแหละครับ...

แต่ถ้าบังคับใช้กฎหมายได้ ใครขี้โกงแล้วมีคนเสียประโยชน์(ก็ประชาชนนั่นแหละ) ไปแจ้งความแล้วตำรวจจับ ตำรวจสืบเสาะหาหลักฐานมัดตัวผู้กระทำผิดอย่าเอาจริงเอาจัง... นักการเมืองทั้งหลายมันก็ไม่กล้าเข้ามาขี้โกง ตัวเหลือบริ้นไรตัวเล็กตัวน้อยมันก็ไม่กล้า, ในที่สุดชาวนาก็ได้รับประโยชน์ยุติธรรม ประชาชนก็มีข้าวกินในราคาที่สมเหตุสมผล ประเทศก็เจริญ มีข้าวสารส่งออกขายได้ดี...

ทำไปทำมา มันก็มาลงที่การบังคับใช้กฎหมายครับ... ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายไม่ได้... เฮ้อ...

ขอบคุณครับพี่สมชาย... ::014:: ปัญหาอยู่ที่คนนั่นแหล่ะครับ ที่ฉลาดทำมาหากินซะจนเกินไป... หากโครงการณ์นี้เกิดขึ้นจริง ก็จะมีมหากาพย์การโกงกินครั้งยิ่งใหญ่อุบัติขึ้นมาอีกครั้งบนแผ่นดินไทยเป็นแน่...

ตามที่พี่สมชายกล่าวทุกประการครับ...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: jane1 ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 11:45:56 AM
แถวบ้านผม นักการเมืองท้องถิ่น รวมทั้งผู้ใหญ่บ้าน
มีอาชีพเสริมเป็นนายหน้า ค่ารถเกี่ยวข้าว และนายหน้าค้าที่ดินครับ
เคยเสนอให้เทศบาล ซื้อรถเกี่ยวข้าวให้ชาวนาหรือจัดตั้งเงินกองทุน
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร มันบอกว่าทำไมได้เพราะไม่มีในเทศบัญญัติ  ::013::
ตอนน้ำท่วมก็ได้หน้า เพราะหาผู้ใจบุญมาช่วยเหลือมอบของให้แก่ผู้ประสบภัย


ในความคิดผมที่ผู้นำท้องถิ่นไม่อยากมีความคิดที่จะช่วย เพราะอาจจะขัดกับผลประโยชน์
ของตัวเองมากกว่า ครับ


  ผู้นำที่ดีก็มี แต่หายากเหลือเกินครับพี่น้อง
 :~)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Ultraman Taro #รักในหลวง# ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 11:47:06 AM
ตราบใดที่ยังมีพวกเอี้ยๆแบบนี้ ผมว่าเราก็ยังไม่ถึงไหนกัน

"รมต.ICTบอก"เกษตรกร/ผู้ใช้แรงงานไม่มีความจำเป็นที่ต้องส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูง"
ที่มา http://www.thairath.co.th/content/tech/119744 (http://www.thairath.co.th/content/tech/119744)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: JUNGLE ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 01:11:31 PM
ตราบใดที่ยังมีพวกเอี้ยๆแบบนี้ ผมว่าเราก็ยังไม่ถึงไหนกัน

"รมต.ICTบอก"เกษตรกร/ผู้ใช้แรงงานไม่มีความจำเป็นที่ต้องส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูง"
ที่มา http://www.thairath.co.th/content/tech/119744 (http://www.thairath.co.th/content/tech/119744)

เวรล่ะสิ... ขัดนโยบายเข้าอย่างจัง... ที่บ้านเพิ่งติดอินเตอร์เน็ต ๖ เมกฯ แถมที่โรงเรียนยังส่งเสริมให้ลูกชาวนาเล่นอินเตอร์เน็ตซะงั้น... ::005:: ::005:: ::005::



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 04:48:27 PM
ผมขอนอกเรื่องครับด้วยความเคารพทุกท่าน  ::014::

    ปี 2532  ผมไปยกรถเกิดอุบัติเหตุกับ รถยก ตร.ทางหลวง + รถร้อยเวร    ...   ไปถึงที่เกิดเหตุช่วง 6 โมงเย็นพบว่ารถกระบะชนรถชาวนา ( รถไถนาเดินตามที่พ่วงรถบรรทุก...ผมเรียกไม่ถูก )  ที่วิหารแดง( สมัยนั้นทางสวนเลน)  มีชาวนาเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 1 ท่าน( ผู้หญิง) บาดเจ็บนำส่ง รพ. 2 ท่าน  เมื่อร้อยเวรทำแผนที่เกิดเหตุพร้อมถ่ายรูปเสร็จเรียบร้อย   ...   พวกผมก็ช่วยกันหามศพใส่รถร้อยเวรเพื่อไปส่ง รพ. ขณะที่พิมม์ลายนิ้วมือศพ ( เล็กสัปเหร่อ คนพิมม์ ผมช่วยจับ )    น้ำตาผมไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว  จนผู้กองเดินมาเห็นแล้วถามว่าเป็นอะไร  ... ผมก็ไม่ได้ตอบ ในใจคิดแต่สงสารอย่างจับขั้วหัวใจทำไมชาวนาต้องมาเสียชีวิตง่ายๆ ทั้งที่กลับจากทำนา ทำไมคนจนๆ ต้องตาย( เก็บมาเป็นร้อยศพ  แม้แต่ตำรวจในโรงพักตายผมเก็บกับมือยังไม่ร้องเลย)  ทำไมพวกชั่วๆ มันถึงตายยากตายเย็นอยู่ในคุกก็เปลือง... ตอนนั้นผมอายุยังน้อยไม่มีความคิดบรรเจิดจ้าในสิ่งที่ดีที่ควร  ...  คุณพ่อก็อบรมมาดี...  แต่ตอนนั้นผมเกลียดพวกชั่วๆ  และไม่เคยลังเลใดๆ กับพวกมัน


กระทู้ผมยินดีให้ลบได้ครับตามความเหมาะสมที่ท่านพิจารณาแล้วว่าควร


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: JUNGLE ที่ ธันวาคม 01, 2010, 12:33:12 AM
ฝากเพลงนี้... ให้ระลึกถึงชาวนาครับ... ::014::

เปิบข้าว.wmv (http://www.youtube.com/watch?v=l6iO-HOfYJU#)



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ ธันวาคม 01, 2010, 01:00:28 AM
จริงๆแล้วปัญหานี้แก้ไขได้ครับ... ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ คือการตัดวงจรอุบาตถ์ออกไป...

โดยการตั้งโรงสีเองจากภาครัฐบาลกระจายตามพื้นที่ต่างๆตามความหนาแน่นของพื้นที่ทำนา เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย จากนั้นก็ใช้ราคาขายของตลาด ณ.วันนั้น ลบกับค่าไฟ ค่าเครื่องจักร ค่าแรง ในการสีข้าว และเก็บข้าว แล้วจ่ายค่าผลผลิตที่คงเหลือสุทธิให้ชาวนาตามจริง จะหักภาษี ณ.ที่จ่ายหรืออะไรค่อยว่ากันอีกที... คือผลิตข้าวสารขายหน่วยงานรัฐบาล และรัฐบาลค่อยนำข้าวเข้าระบบจำหน่ายทั้งในพื้นที่ ในประเทศ และส่งขายต่างชาติ...

เกษตรกรจะได้เลือกได้ว่าจะขายข้าวเปลือกให้ใคร ราคาที่ได้ก็ตามความต้องการซื้อ ไม่มีการประกันราคา ที่เหลือก็แล้วแต่การบริหารจัดการในการระบายข้าวอย่างไรของหน่วยงานนั้นๆ...

ระบบอุปถัมภ์บ้านเรามันหยั่งรากมานาน จนกลายเป็นวงจรอุบาตถ์... แต่ถ้าใครคิดจะทำ ทำไมจะทำไม่ได้ ท่านจะได้คะแนนเสียงจากเกษตรกรไทยอีกเยอะครับ... (การเมืองป่าวเนี่ย... ??? )

ทำแบบนี้ เกษตรกรอิ่ม นักการเมืองไม่อิ่มครับ (เรื่องใหญ่นา)

อ้อ...อุบาทว์ครับ ไม่ใช่อุบาตถ์

ขอบคุณครับพี่ซับ... ::014:: ผมก็ว่าพิมพ์ผิดหรือเปล่า...

ทำอย่างนี้มันก็เหมือนแนวคิดดั้งเดิม ที่รัฐบาลจัดการเสียเอง แล้วตั้งเป็นองค์กรของรัฐ ไม่ได้หวังกำไร แต่ประสงค์ให้ผลประโยชน์ตกแก่แผ่นดิน... เขามีคำศัพท์เรียกองค์กรแบบนี้ว่า"รัฐวิสาหกิจ"ไงครับ...

แต่แนวคิดแบบนี้มันก็มาตกม้าตายเอากับเรื่องเดิม คือ"บังคับใช้กฎหมายไม่ได้"... แล้วคนมันก็โกงกันทุกแผนก ทุกกอง ฯลฯ จนกระทั่งเจ๊งไม่เป็นท่า ทำนองเดียวกับ รฟท. ในกระทู้อื่นนั่นแหละครับ...

แต่ถ้าบังคับใช้กฎหมายได้ ใครขี้โกงแล้วมีคนเสียประโยชน์(ก็ประชาชนนั่นแหละ) ไปแจ้งความแล้วตำรวจจับ ตำรวจสืบเสาะหาหลักฐานมัดตัวผู้กระทำผิดอย่างเอาจริงเอาจัง... นักการเมืองทั้งหลายมันก็ไม่กล้าเข้ามาขี้โกง ตัวเหลือบริ้นไรตัวเล็กตัวน้อยมันก็ไม่กล้า, ในที่สุดชาวนาก็ได้รับประโยชน์ยุติธรรม ประชาชนก็มีข้าวกินในราคาที่สมเหตุสมผล ประเทศก็เจริญ มีข้าวสารส่งออกขายได้ดี...

ทำไปทำมา มันก็มาลงที่การบังคับใช้กฎหมายครับ... ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายไม่ได้... เฮ้อ...


ด้วยความเคารพครับพี่สมชาย ::014::

นักการเมืองใหญ่กว่าข้าราชการ ยุคไหนใครใหญ่ก็ย้ายได้หมด จากพื้นที่ดีๆ เมืองหลวง หัวเมืองใหญ่ โดนย้ายไปอยู่บ้านนอก วันๆนั่งหงอยอยู่กับทุ่งนา ผมว่าข้าราชการส่วนมากก็คงไม่ปลื้มล่ะครับ ยิ่งระบบคุณธรรม การวัดคนไม่ได้วัดที่ผลงาน แต่วัดว่าคนของใคร  ทำงานดีแค่ไหน ก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่มีเส้น ไม่มีผลประโยชน์ให้ ::012::

พูดแล้วนึกถึงจ่าเพียรครับ แค่ขอชีวิต ขอเกษียณแบบสงบบ้าง หลังจากที่สู้มาหลายสิบปี ในพื้นที่สุดอันตราย เกือบตายมานับครั้งไม่ถ้วน แค่นายมีหัวใจเป็นธรรม เซ็นแกร๊กเดียว เราคงไม่ต้องเสียท่านไป  :'(









หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: เบิ้ม ที่ ธันวาคม 01, 2010, 01:05:00 AM
 ::014::ขออภัยจขกท.ที่นอกประเด็นครับ ทุกเรื่องมันเกี่ยวกันหมด ระบบแย่ๆ รถมันวิ่งไม่ได้หรอก ยังไงก็รวน

ตอนนี้อาเซียนเปิดเสรี ผมละหดหู่ใจ ดูอินโดนีเซีย ดูมาเล ดูสิงคโปร เขาไปไหนกันแล้ว มาเลมันจะประกาศเป็นประเทศพัฒนาแล้วในอีกไม่กี่ปีนี้

เราทำอะไรก็อยู่ เราทำอะไรกันอยู่ครับ.................... :P


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ ธันวาคม 01, 2010, 01:25:30 AM
    ...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้อง ด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...

   Cquote2.svg
— พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517[1]

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทาง สายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
แผนภาพแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"

ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา[7]

อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"[8]

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ"[9] และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ ธันวาคม 01, 2010, 01:27:53 AM
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
                 “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลง
                 มีหลักพิจารณา ดังนี้
                 กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมี พื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
                 คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
                 คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
                 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
                 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
                 3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
                 เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
                 1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
                 2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
                 แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
 
เศฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
                เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี                                     
              เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบ แนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
                ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้                   
               ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหา ความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว
                อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม
                ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ
                กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกัน สร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำ ให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง
                ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น                 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอด ภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกัน ด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด
(http://img600.imageshack.us/img600/9510/picpp01.jpg) (http://img600.imageshack.us/i/picpp01.jpg/)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ ธันวาคม 01, 2010, 01:31:57 AM
มาร์ติน วีลเลอร์ ฝรั่งผู้ยิ่งใหญ่ ในแดนอีสาน ผืนแผ่นไทย




เรื่องของฝรั่งคนหนึ่งที่คนไทยเรียกเขาว่าฝรั่งขี้นก
ชื่อ Martin Wheeler เป็นชาวอังกฤษ เมือง Blackpool
ปริญญาตรีเกียรตินิยม ภาษาละติน จาก London University
ภรรยา นางรจนา วีลเลอร์ ชาวขอนแก่น บุตร ๓ คน
๑. ด.ช.อิริค วีลเลอร์ (Eric Wheeler)
๒. ด.ญ.แอนนี่ วีลเลอร์ (Anne Wheeler)
๓. ด.ช.ดิเรก วีลเลอร์ (Derek Wheeler)

----------------------------------------------------------------------------------------------------








ผมเป็นชาวอังกฤษ
     เกิดในครอบครัวที่ ฐานะดีพอสมควร พ่อจบปริญญาเอก เป็นผู้จัดการบริษัทเกี่ยวกับสารเคมี ยาฆ่าแมลง มีลูกน้อง ๒๐,๐๐๐กว่าคน แม่จบปริญญาตรี เป็นครูสอนเปียโนกับไวโอลิน ผมจบปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับหนึ่งภาษาละตินครั้งแรกเรียนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปีที่ ๓ ผมย้ายไปเรียน มหาวิทยาลัยลอนดอน และจบที่นั่นผมไม่ชอบเคมบริดจ์ เพราะเป็น แบบโบราณ อังกฤษเป็นประเทศเก่าแก่มาก สมัยโบราณเป็นระบบศักดินา มีขุนนางและ ชาวบ้านเป็นขี้ข้า ทุกวันนี้แม้ยกเลิกระบบนั้นแล้ว แต่ที่เคมบริดจ์ยังเจอวัฒนธรรม แบบขุนนาง เป็นสังคมเล็กๆ ผ่านมา ๒๐๐-๓๐๐ ปีแล้ว แต่ไม่รับรู้อะไร ไม่เข้าใจชาวบ้าน เขาคิดแต่เรื่อง สังคมเล็กๆ ของเขาในกลุ่มคนชั้นสูง เป็นพวกหอคอยงาช้าง ที่ผมเรียนได้คะแนนดี เพราะพ่อแม่ของผม บังคับให้เรียนหนังสือ ส่งเสริมให้เรียนตั้งแต่อายุ ๒ ขวบครึ่ง สอบไปเรื่อยๆ เพิ่มไอ.คิว. ให้สูงที่สุด เท่าที่จะทำได้ ผมเรียนสูงจนได้เกียรตินิยม เพราะพ่อแม่มีเงินช่วย ไม่เกี่ยวกับความฉลาดเฉพาะตัว

















ปฏิวัติค่านิยมเก่า
     ผมไม่ค่อยสนใจเรื่อง เงิน ไม่อยากมีรถยนต์ ไม่อยากมีบ้านใหญ่ อยากมีบ้านเล็กๆ อยากมี ครอบครัวเล็กๆ ที่มีความสุข ไม่สนใจเรื่องวัตถุ ผมอยากอยู่แบบง่ายๆเมื่อก่อน ไม่รู้เขาเรียกว่าอะไร แต่ตอนนี้รู้ว่า เขาเรียกมักน้อย สันโดษ ที่อังกฤษเขาว่าผมบ้า เป็นเด็กนิสัยเสีย เพราะพ่อแม่ส่งให้เรียนหนังสือ แต่ไม่เอาความรู้ไปหาเงิน เขาหาว่า เด็กที่ไม่คิดทำงานนั้น นิสัยเสีย หลังจากเรียนจบแล้ว ผมก็เอาปริญญาให้พ่อแม่ตามที่ท่านอยากได้ แล้วผมก็ไปทำงานก่อสร้างแบกอิฐแบกปูนอยู่ ๑๐ ปี ช่วงนั้นชาวบ้านบอกว่า ผมบ้าแน่ครับ แต่เป็นเรื่องที่ผมอยากเรียนรู้ชีวิต อยากรู้จักตัวเอง ว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใด มีความอดทนมั้ย ทำในสิ่งที่เราไม่น่าจะทำได้มั้ย ท้าทายตัวเองบ้าง อยากผ่านชีวิตที่ลำบากบ้าง ผมอยู่ในสังคมของคนมีเงิน เขาจะพูดถึงแต่เรื่องเงิน คุณมีรถยี่ห้ออะไรบ้าง? มี่กี่คัน? คุณมีบ้านใหญ่ขนาดไหน? ลูกของคุณเรียนที่ไหน? เอาลูกมาแข่งขันกัน จบจากที่ไหนบ้าง? จบจากเคมบริดจ์ดีกว่าจบจากมหาวิทยาลัยลอนดอน แต่ผมกลับคิดว่า …. ชีวิตน่าจะมีอะไร มากกว่านั้น ช่วงนั้นผมไม่รู้ว่าชีวิตคืออะไร แต่ที่รู้แน่ๆ คือไม่ใช่เงิน ไม่ใช่บ้าน ไม่ใช่ปริญญา ต้องมีสิ่งอื่น ซึ่งผมไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหน ผมก็เลยมาลองแบกอิฐ แบกของหนักไว้ก่อน เดินแบกอิฐไปมา วันละสาม-สี่พันเที่ยว มันอิสระ เรามีเวลาคิด ได้รู้จักคนอื่น และได้สร้างความเข้มแข็ง ให้ร่างกาย แล้วจิตใจเราก็เข้มแข็งขึ้นด้วย ชาวบ้านธรรมดาที่อังกฤษนั้น จริงๆ เขาลำบากกว่าคนไทยมาก เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ผมได้เห็น ชีวิตของชาวบ้านที่อังกฤษแย่มาก คนที่นั่น ๖๐% ไม่มีบ้าน ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดา จะไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน ต้องไปเช่าบ้านจากเจ้านายตลอดชีวิต ๙๘%ไม่มีใครมีที่ทำกิน แล้วก็อยู่ในเมือง เป็นขี้ข้าเขาหมด แม้แต่เป็นผู้จัดการก็เป็นขี้ข้าด้วย เพราะไม่มีใครพึ่งตนเอง ไม่มีใครมีที่ทำกิน จะไปทำอะไร ช่วยตัวเองก็ไม่ได้ จะไปสุขอะไรก็ไม่ได้ ต้องไปหาเงิน ชีวิตอยู่กับเงินอย่างเดียว เงินเยอะ ก็มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้เงินน้อยคุณภาพชีวิตก็ไม่ค่อยสูงเท่าไหร่
























พ่อแม่และผม
     ถามว่าชีวิตของพ่อ มีความสุขมั้ย? ผมคิดว่าไม่ ผมคิดว่าพ่ออยากได้บางสิ่งบางอย่าง เขาได้เงินเดือน เยอะมาก ได้รับบำเหน็จบำนาญ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในชุมชน มีตำแหน่ง มีเกียรติยศอะไรอีกเยอะแยะ แต่ผมคิดว่าพ่อไม่มีความสุข เพราะว่าวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ไปทำงานที่โรงงาน ตกเย็นไปประชุมอีก กลับบ้านสามทุ่มสี่ทุ่ม ไม่ได้เจอเมียเจอลูก วันเสาร์อาทิตย์พ่อก็ปวดหัว อยากพักผ่อน พ่ออยากอยู่คนเดียว ไม่ให้ใครรบกวน พ่อมีเมีย และลูกสามคน แต่พ่อไม่ค่อยได้เห็นลูกเห็นเมีย สมัยที่ผมอายุสิบสามขวบ ผมไม่ได้คุยกับพ่อ แม้แต่คำเดียวเกือบปีครึ่ง เห็นเมื่อไหร่ก็เจอพ่อปวดหัวตลอด คิดหนัก อาชีพของพ่อ ต้องใช้สมองมาก ผมว่ามันเป็นกรรมพันธุ์ด้วย ผมก็ปวดหัวบ่อยเหมือนกัน (หัวเราะ) ชอบคิดมาก ตอนนี้หายแล้ว แม่เข้าใจผม แต่ไม่เห็นด้วยที่ผมมาเมืองไทย แม่เสียชีวิต ผมได้มรดกนิดๆ หน่อยๆ มีเวลาที่จะไปเที่ยว ผมเคยวางแผนไว้ในใจว่าจะเที่ยว ๑ ปี จะไปในประเทศ ที่ผมไม่เคยไปมาก่อน เช่น ไทย ลาว เขมร พม่า มาเลย์ เวียดนาม อินโด ออสเตรเลีย คิดว่าจะไปออสเตรเลียเพราะเป็นประเทศเปิด ไม่ค่อยมีกฎระเบียบ เหมือนอังกฤษ แต่ก็ยังไม่ได้ไปตามแผนที่วางไว้ ประเทศแรกที่ผมมาคือประเทศไทย













ผมไม่ใช่ครูฝรั่ง
     สมัยก่อนผมนิสัย เสีย ชอบกินเหล้า ชอบเที่ยว ชอบสนุก เงินที่ผมเก็บไว้ ๑ ปี ภายใน ๒ เดือนใช้หมดเลย ไม่มีเงินกลับบ้าน ผมอยู่ประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ ผมอยู่กรุงเทพฯ ไม่มีเงิน แม้แต่บาทเดียว ไปหางานทำ อาชีพอย่างเดียวที่เราทำได้ คือเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ จริงๆแล้ว ผมไม่ได้เป็นครูหรอก ผมสอนไม่เป็น แต่คนไทยเห็นฝรั่ง จะบอกว่าฝรั่งทุกคน เป็นครูสอนภาษา ซึ่งมันไม่จริง ฝรั่งส่วนมากไม่ได้เป็นครู ที่กรุงเทพฯ เขาจ้างผมให้เป็นครู เอาเสื้อผ้าดีๆ เนคไทดีๆให้ใส่ เขาบอกว่า คุณเป็นครูนะ แล้วเขาก็ส่งผมเข้าห้องเรียนเลย ความจริงฝรั่งที่เขาเรียกครูนั้น ไม่มีใครเคยสอนหนังสือ แม้แต่คนเดียว และบางครั้ง ก็ไม่ใช่คนอังกฤษด้วย มีคนหนึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส พูดภาษาอังกฤษผมฟังไม่รู้เรื่อง แม้แต่คำเดียว คนไทยก็แปลกดีเหมือนกัน เขาให้เงินเดือนผมเดือนละ ๓ หมื่นบาท ไปนั่งเฉยๆ ผมก็ละอายใจ ไม่อยากรับ ผมคิดมาก ปวดหัวทั้งวันทั้งคืน เพราะถ้าเราทำงานอะไรในชีวิต เราต้องได้ผล สมมุติมีคนมาจ้างเรา ๑๐๐ บาท แบกอิฐ ผมจะรับแน่เพราะว่า ผมแบกอิฐแผ่นนั้น จากโน่นไปที่นู่น ผมทำได้แน่ครับ แล้วผมก็จะเอาเงินของคุณไป แต่เวลาผมเป็นครูสอนภาษา มันไม่ได้ผลหรอก ผมสอนไม่เป็นเอาเงินให้ผมเฉยๆ ผมก็รู้สึกว่า ไม่น่าจะเอา ผมไม่ได้ทำ ประโยชน์อะไร คุ้มค่าเงินนะ


เงินไม่ทำให้ผมมีความสุข
     ผมมีอุดมการณ์เล็กๆ ตั้งแต่อายุยังน้อยๆ ๑. ถ้าเราทำงานอะไร ต้องทำในสิ่งที่เรามีความสุข ๒.จะไม่ทำงานที่ต้องผูกเนคไท ๓.จะไม่มีกระเป๋าเอกสารเพราะว่าเหมือนสังคมของพ่อแม่ผม เขาจะทำงานแบบนั้น ทุกคนมีเสื้อนอก มีรถยนต์ มีเอกสาร แต่เขาไม่ค่อยมีความสุขหรอก ผมเอาสิ่งนี้ มาเป็นสัญลักษณ์ แห่งการทำงานที่ไม่มีความสุข มีช่วงเดียวเท่านั้นที่ผมทรยศต่อชีวิตตัวเองคือ ช่วงที่ผมเป็นครูอยู่ที่กรุงเทพฯ ผมต้องผูกเนคไท ผมทำในสิ่งที่ผมเกลียดที่สุดเลย เพื่อเงินอย่างเดียว ทำอยู่ประมาณ ๑๑ เดือน ชวิตไม่มีความสุข เหมือนอยู่ที่อังกฤษ คือทำงานอะไรก็ได้ ขอให้มีเงิน แต่ไม่มีความสุข แล้วก็เอาเงินไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องไปเที่ยว ไปกินเหล้า ไปสูบบุหรี่ ยาเสพติดทุกชนิดผมเอาหมด ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม แม้แต่อยู่กรุงเทพฯ ก็ยังทำอยู่ ถึงได้เงินเยอะ แต่ไม่รู้ว่า จะเอาไปทำอะไรเพราะเงินไม่ช่วยให้เรามีความสุข


หันเหชีวิตสู่แนวทางที่วาดหวังไว้
     ผมเจอภรรยา เธอมาจากจังหวัดขอนแก่นอยู่กรุงเทพฯ ไม่นานก็มีลูก ผมเริ่มคิดหนัก แต่ก่อน อยู่คนเดียวไม่มีปัญหา มีความสุขหรือไม่มีก็คนเดียว ไม่ยากหรอก เมื่อมีเมียมีลูก มันต้อง รับผิดชอบผู้อื่นด้วยจะไปนั่งกินเหล้าเฉยๆ ไม่ได้หรอก คิดว่าทำอย่างไร ให้เมียกับลูกอยู่ได้ ผมรู้แน่ๆ ถ้าผมอยู่ในสังคมเมือง และทำงานแบบนี้ ผมจะเป็นคนแย่มาก จะกินเหล้า สูบบุหรี่ ติดยา เที่ยวอย่างเดียว จึงตัดสินใจตัดตัวเองออกจากสังคมเมืองไปอยู่บ้านนอก แฟนผม มาจากหมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดขอนแก่น ช่วงปีใหม่ผมไปเที่ยวบ้านของแม่ยายเห็นว่า เป็นธรรมชาติดี ต้องเข้าใจว่าคนอังกฤษอยู่บ้านนอกไม่ได้เพราะชนบทมีพื้นที่นิดเดียว พวกขุนนางยึดหมด คนยากจน จึงอยู่ชนบทไม่ได้ ต้องไปอยู่ในเมืองที่สกปรก แออัด คนอังกฤษที่ยังรวยไม่ถึงขั้น เช่นพ่อของผม มีเงินเยอะ แต่ก็ยังรวยไม่ถึงขั้น เพราะยังอยู่ในเมือง วัดจากคนที่อยู่ กลางเมืองใหญ่ๆ จะเป็นคนจนที่สุด ที่อยู่ชานเมือง จะเป็นพวกครู ข้าราชการ อะไรแบบนั้น เป็นผู้จัดการ ก็ยังอยู่ในเมือง ส่วนคนที่จะได้อยู่บ้านนอก จะต้องเป็นคนรวยถึงขั้นจริงๆ เป็นพวกขุนนางใหญ่โต มันเป็นเรื่องแปลก ผมมาอยู่ที่ขอนแก่น เห็นแต่ละคน มีที่ดินเยอะมาก ชาวบ้านธรรมดา คนเดียวมีถึง ๕๐ ไร่ ๒๐๐ กว่าไร่ก็มี พ่อแม่ผมมีแค่ ครึ่งไร่เท่านั้นเอง แต่อยู่บ้านนอกที่นี่ โอ้โฮ..มีเยอะมาก สะอาดด้วย อากาศก็ดี ตอนแรกได้กลิ่น ผมก็ว่ากลิ่นอะไร อ๋อ มันกลิ่นธรรมชาติ ผมไม่เคยดมมาก่อน โอ้สุดยอดเลยบ้านนอก คนอื่นว่าฝรั่งมันบ้า เพราะเขาไม่คิดว่า ทำไมฝรั่งอยากไปอยู่บ้านนอก เขาคิดว่าฝรั่งมีแต่คนรวย ฝรั่งไม่มีคนยากจน เขาไม่รู้จริงๆ ว่าฝรั่งส่วนมากลำบาก บ้านก็ไม่มี ที่ดินก็ไม่มี เป็นขี้ข้าเขาหมด ลูกก็ไม่มีอนาคต


ปัญหาของระบบทุนนิยมคือเรื่องเงิน
     เงินถูกจำกัดเป็น ก้อนเล็กๆ คนรวยกวาดเงินไปเยอะ จนเหลือนิดเดียว มันแบ่งกันไม่ลงตัว ทำให้มีคนจนเยอะ ถ้ามีคนรวย ๑ คน จะมีคนจน เป็นร้อยเลย ระบบทุนนิยมจึงอยู่ได้ ปัญหาของคนยากจนคือ ทำยังไง จะมีชีวิตที่ดี เราจะหลุดพ้น จากความยากจนได้ ต้องหาสิ่งที่ไม่ใช่เงิน อันนี้เป็นจุดเด่นของประเทศไทย ชาวบ้านธรรมดา อาจจะไม่มีเงินเยอะ แต่เขาสามารถจะหาหลายสิ่งหลายอย่าง ที่มีคุณค่า มากกว่าเงินตั้งเยอะ


แค่อยากหาคำตอบให้ชีวิต
     ผมตกลงกับแฟนว่าเราจะไปอยู่บ้านนอก ผมจะไม่รับจ้างสอนภาษาอังกฤษ เขาก็ตกลง แต่ปัญหาคือ ผมทำเกษตรไม่เป็น ช่วงแรกก็ลำบาก ต้องกลับมาแบกอิฐเหมือนเดิม วันละร้อยยี่สิบบาท โอ้โฮ...เหนื่อย เพราะที่อังกฤษ ถึงจะแดดร้อน แต่อากาศเย็น เดินไม่ได้ ต้องวิ่ง ก็อุ่นได้ แต่ขอนแก่นช่วงนั้น เป็นเดือน ๔ อากาศร้อนมาก ๔๐ กว่าองศา บางครั้ง ผมเป็นลม เขาเอาน้ำมาสาด โอ๊ย.! ฝรั่งมันบ้า ทำไม ไม่กลับบ้าน คิดผิดหรือเปล่า ทำไมต้อง มาลำบากขนาดนี้ เขาคิดว่า ผมเป็นฆาตกร ไปฆ่าคนที่อังกฤษ แล้วกลับบ้านไม่ได้ หนีคดีมา ความจริงไม่ใช่ ผมก็แค่อยากหาคำตอบในชีวิต บางเรื่องเท่านั้น อยากหาความสุข ที่เป็นแบบ ยั่งยืนสักหน่อย บางครั้งก็คิดหนีไปที่อื่นเหมือนกัน แต่ผมไม่รู้ว่า ถ้าอยู่ที่นี่ไม่ได้จะไปอยู่ที่ไหน คิดว่า เราต้องหาคำตอบให้ได้ ปัญหาอาจจะอยู่ที่ตัวของผมเอง แต่ในภาพรวมที่นี่ดี สิ่งแวดล้อมดี สะอาด ถ้าเรามีลูก เราอยากให้ลูกของเราอยู่ในที่สะอาด อาหารธรรมชาติฟรีๆ ก็มีเยอะมาก ในภาคอีสาน เห็ดแดง หน่อไม้ ไข่มดแดง ดอกกระเจียว ผักอีหรอก แมงคับแมงคาม ขี้กะปอมเยอะ แต่บางคนก็ไม่กินนะ บางคนก็กิน ซึ่งมันดีมากเพราะว่า


๑.สะอาด อาหารธรรมชาติ ไม่มีใครไปใส่ปุ๋ยเคมี

๒.ไม่ได้ซื้อ ไม่ได้ใช้เงิน ขอให้ขยันเดินไปเก็บ

สมัย ก่อน ที่อังกฤษ ผมจะเดินแบกอิฐทั้งวัน เมื่อได้เงินแล้ว ก็เอาเงินเกือบทั้งหมดไปซื้ออาหารในร้าน ฝรั่งส่วนมาก ทำงานหนักทุกวัน แต่เงินที่เขาได้ มันเพียงพอที่จะซื้ออาหารกินเท่านั้น ไม่มีเงินเหลือ ฝากธนาคาร


นิยามความรวยกับความจน
     มันเป็นเรื่องแปลก นะที่ประเทศไทย คนยากจนมีหนี้สินเยอะ ที่อังกฤษมีแต่คนรวย ที่มีหนี้สิน คนจนไม่มีหนี้ เพราะเขาไม่ให้คนจนยืมเงิน เนื่องจากกลัวจะไม่มีปัญญาใช้คืน จึงไม่มีสิทธิ์ มีหนี้สิน แต่คนรวยยืมเงินได้ คำว่ารวยกับคำว่าจน มันคืออะไรกันแน่ ? ที่ขอนแก่นเขาว่าผมบ้าบ้าง ฝรั่งยากจนบ้าง ฝรั่งตกอับบ้าง ฝรั่งขี้นก ฝรั่งไม่มีเงิน แต่ผมบอกว่า ไม่ใช่ ผมรวยนะ เขาถามว่ารวยได้ยังไง ผมบอกว่า ๑. ผมมีบ้าน ผมทำบ้านเล็กๆ เป็นกระท่อมน้อยๆ เอาหญ้ามามุงหลังคา ชาวบ้านเรียกว่า เถียงนา ไม่ใช่บ้านหรอก ผมบอกว่าใช่ มันบ้านของผม ไม่ใช่บ้านเจ้านาย ราคาหนึ่งหมื่นสองพันบาท อยู่ได้ครับ มันกันแดดกันฝนได้ แค่นั้นผมก็รวยแล้ว ๒. มีที่ดิน แค่ ๖ ไร่เท่านั้นเอง ที่นั่นเขาบอกว่ากระจอก มีนิดเดียว แต่สำหรับฝรั่ง มันเยอะมาก จริงๆ ผมคิดว่า มันเป็นเรื่องสำคัญ เป็นพื้นฐานของชีวิต เราต้องมีที่อยู่อาศัยเป็นของเรา ไม่ใช่ของเจ้านาย เพราะว่าถ้ามันเป็นของเจ้านาย เราต้องไปหาเงินให้เขา ถ้าเราไม่มีเงิน เขาก็ไล่เราออก เราไม่มีที่อยู่นะ เพราะฉะนั้น ต้องมีบ้านเป็นของตัวเองไว้ก่อนซึ่งผมก็มีบ้าน คิดว่าลูกของผม จะต้องมีบ้านแน่ๆ ด้วย เรื่องเกษตรผมทำไม่เก่ง แต่ที่ทำได้ง่ายคือ ปลูกต้นไม้ ไม้ประดู่ ไม้สะเดา ไม้ยาง ปลูกไว้ให้ลูกสร้างบ้าน ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้โตเร็วมาก แค่ ๒๕-๓๐ ปี ตัดได้แล้ว ไม่เหมือนอังกฤษ ๒๐๐ ปีได้เท่านี้เอง เพราะอากาศเย็นเป็นเรื่องแปลก ที่คนไทยจะบ่น โอ๊ย..มันร้อนๆ ผมว่ากลับเป็นเรื่องดีแสงแดดเยอะ จะทำการเกษตรได้ ตลอดเวลา ๑ ปี ทำได้ทุกวันแต่คนไทยจะบ่นร้อนๆ ไม่เอาๆ อยากเป็นคนผิวขาวดีกว่า แต่คนอังกฤษ เขาถือคนผิวขาวเป็นคนจน เพราะว่าไม่มีปัญญา จะไปเมืองนอก ซึ่งกลับกันเลย แม้แต่พ่อของผม เขาก็ยังมีเครื่องอาบแดดเพื่อให้ผิวเป็นสีแทน ให้ดูเป็นแบบคนมีสตางค์ แต่คนไทย กลับอยากมีผิวขาว


วิธีคิดไม่ธรรมดาของมาร์ติน วีลเลอร์
ผมมีลูก ๓ คน ชาย ๒ หญิง ๑ สิ่งสำคัญที่สุด ๒ เรื่องในชีวิตของเราคือ

๑.ต้องมีบ้าน เป็นของตัวเองให้ได้ จึงจะถือว่า ชีวิตประสบความสำเร็จ
๒.ต้องมีงานทำทุกวัน ไม่ได้จำกัดว่า ต้องเป็นงานอะไร แต่ขอให้ มีงานทำทุกวัน

ชีวิต จึงจะไม่สูญเปล่า วิธีเดียวที่รับประกันได้ว่า ลูกมีงานทำ คือการมีที่ทำกินให้เขา และเราต้องช่วยให้เขาทำเป็น ผมคิดว่าคนชนบทจริงๆใครมีที่ดินทำกินแล้วจะไม่ตกงาน เว้นแต่คนขี้เกียจ ซึ่งบางคนมีที่ดินเยอะ แต่ไม่ยอมทำ ถ้าเราสั่งสอน ให้ลูกรู้จักทำมาหากิน เขาก็ไม่ตกงาน ผมถือว่างานที่อิสระ และมีประโยชน์ มากที่สุด คืองานเกษตรซึ่งช่วยให้เรากินอิ่มทุกวัน คนอังกฤษกินไม่อิ่มเยอะมากนะ ผมไม่อยากให้ลูกของผมอดอาหาร อยากให้ลูกกินอิ่มในลักษณะที่ส่งเสริมสุขภาพด้วย กินอาหาร ที่ไม่มีสารพิษ กินอาหารแบบเรียบง่ายก็ได้ แต่อิ่มทุกวัน เมื่อมีบ้าน มีงาน มีอาหาร ลูกของผม ก็จะรวยที่สุด ผมอยากให้ลูกอยู่บ้านนอกเพราะว่าสะอาด จ้างเท่าไหร่ ก็ไม่อยาก ให้ไปอยู่ ในเมืองหรอกเพราะสกปรก แออัด สำคัญที่สุดคือเรื่องของสังคม ผมไม่อยากให้ลูกไปอยู่ในเมือง เพราะว่า คนเมืองเห็นแก่ตัว วิ่งไปหาเงินอย่างเดียว แข่งขันกันเยอะ เดี๋ยวก็ฆ่ากัน ด่ากันทุกวัน ไม่สงบ อยากให้ลูกอยู่บ้านนอก เขาจะได้สิ่งที่หายากที่สุดในโลก คนอีสานบ้านนอกเป็นคนดีมากนะ มีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือคนอื่น เอื้ออาทรกัน เกื้อกูลกัน แบ่งปันกัน ไม่แข่งขันกัน ความเป็นชุมชนเป็นสิ่งที่หายากนะ ถ้าเราไปอยู่ในเมือง จะอยู่แบบ ของใครของมัน บ้านคนละหลัง ครอบครัวคนละหลัง ไม่รู้จักกัน ถ้าเราอยู่ในชุมชนเล็กๆ เราก็ช่วยเหลือกันได้ คุยกันได้ แบ่งปันกันได้ ในที่สุดเราก็จะเป็นคนมีน้ำใจได้ ลูกของผมเขาเป็นคนมีน้ำใจ เขาอาจจะไม่มีเงินไม่ได้เรียนหนังสือสูงๆ แต่เขาจะมีสิ่งที่ดีกว่านั้นเยอะ คือเขาจะมีที่อยู่อาศัย มีชุมชนที่ดี ไม่มียาเสพติดไม่มีการพนัน ไม่มีอาชญากรรม มันน่าอยู่ ขอให้เราอยู่ในชุมชนที่เป็นแบบนั้นมันก็ดีนะ ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องเป็นห่วง ลูกก็จะเป็นคนดี ไม่ติดยา ไม่ขี้ขโมย ไม่เล่นไพ่ มีน้ำใจและรู้จักช่วยเหลือคนอื่นลูกผมเรียนหนังสือไม่เก่ง ปีนี้เขาได้คะแนนเป็นอันดับที่ ๑๙ ในห้องของเขามีนักเรียน ๓๙ คน มันเดินสายกลาง พอดีเลย (หัวเราะ)


แต่ผมไม่ได้สนใจเรื่องอันดับคะแนนหรอก
     ครูเขาเขียนถึงอุปนิสัยของลูกว่า เป็นคนที่มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือคนอื่น ซึ่งผมไม่ได้สอนแบบนั้น ฝรั่งส่วนมากจะเห็นแก่ตัว ผมเคยอยู่ ในสังคม อย่างนั้นมาก่อน มันเปลี่ยนยากครับ ผมจึงไม่ได้สอนให้ลูกเป็นคนมีน้ำใจ แต่มันเป็นที่ชุมชน เป็นวิถีชีวิตของคนอีสาน ที่เริ่มซึมเข้าไปในกระดูกของเขา ทำให้ลูกอายุแค่ ๘ ขวบเป็น คนมีน้ำใจ ผมถือว่าสุดยอดแล้ว ผมภูมิใจในตัวของลูกมากๆ เรื่องเรียนไม่สำคัญหรอก สำคัญที่สุดนั้น เป็นความมีน้ำใจถ้าเขาสามารถรักษาสิ่งนี้ไว้ตลอดชีวิต ผมคิดว่า เขาคงมีความสุขแน่ ลูกของผม จะมีความคิด สูงกว่านั้น ชีวิตน่าจะมีไว้เพื่อหาสิ่งที่ไม่ใช่เงินวิเคราะห์เจาะลึกอีสานบ้านเฮา ผมเคยบังคับลูกชายคนแรก ตอนอายุประมาณ ๓ ขวบ จับมานั่งสอนภาษาอังกฤษ เขาก็ร้องไห้ ๆ ไม่เอาๆๆ ผมก็คิดว่า เอ๊ะ..เราน่าจะเลิกทรมานเด็ก ปล่อยให้เขามีความสุข ตั้งแต่วันนั้น ผมบอก จะไม่สอนเขาอีก แต่ถ้าอยากเรียนมาบอกผม จะสอนให้ ตั้งแต่วันนั้น จนถึงวันนี้ เขายังไม่บอกผมเลย ผมก็มาคิดว่า จะให้ลูกเรียนภาษาอังกฤษเพื่ออะไร ในหมู่บ้าน ของผมมี ๕๐ ครอบครัว ทุกคนพูดอีสานอย่างเดียว แม้แต่ผมก็ยังพูด แล้วจะให้เขาเรียนภาษาอังกฤษ เพื่ออะไร?

สมมุติว่าลูกของผมอยากอยู่ในหมู่บ้านนี้ตลอดชีวิต
     ภาษาอังกฤษก็จะเป็น ความรู้ ที่ไม่เป็น ประโยชน์อะไรทั้งสิ้น ผมเคยเรียกว่า มันเป็นวิชาขี้ข้า เอาไว้รับจ้างเฉยๆ เอาไปหาเงิน คนที่มีความรู้ ภาษาอังกฤษ จะเอาอันนี้แลกกับเงินอย่างเดียว เขาไม่ได้เรียนเพื่อชีวิตของเขา เขาอยากเอาเงิน ไปทำงานสูงๆ หน่อย ปัญหาของคนอีสานมีมากในเรื่องของการศึกษา คนอีสานส่วนมากไม่อยากให้ลูกเป็นคนอีสาน ไม่อยากให้ลูกเป็นคนบ้านนอก ไม่อยากให้ลูกพูดภาษาอีสาน อยากให้พูดไทย ชาวบ้านส่วนมาก คิดอยากให้ลูกได้ดีในชีวิต คิดว่าสิ่งที่ดีในชีวิตของลูกคือ

๑.ไม่ได้พูดอีสาน พูดแต่ภาษาไทย
๒. พูดภาษาอังกฤษด้วย
๓. เล่นคอมพิวเตอร์ได้
๔.ไปอยู่ในเมือง
๕.ไปรับจ้างเขา
๖. ไปสร้าง หนี้สิน ไปซื้อบ้านหลังเล็กๆ ราคา ๒ ล้าน ๓ ล้านบาท


เขา คิดว่า อย่างนี้ลูกของเขาได้ดี ซึ่งผมไม่เห็นด้วย ผมก็อยากให้ลูกของผมได้ดีเหมือนกัน แต่ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ปัจจัย ที่จะช่วยให้เขาได้ชีวิตที่ดี
อาจจะเอาไปแลกเงินในบางช่วงได้ แต่ผมหวังว่า ถ้าเขาเรียนรู้ เพื่ออยาก จะหาเงิน อย่างเดียวก็น่าเสียใจนะ เพราะความรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ทุกวันตลอดชีวิต เราหยุดเรียนรู้ไม่ได้ แต่เราไม่น่าจะเรียน เพื่อเอาความรู้ เอาปริญญา ไปแลกกับเงิน ทำให้ความรู้ไม่มีคุณค่า




จุดอ่อนจุดแข็งของคนไทย
     ผมคิดว่าคนไทยส่วนมากยังไม่เข้าใจระบบทุนนิยม เห็นฝรั่งที่ไหน ก็คิดว่ารวยหมด คิดว่าการพัฒนา ในระบบทุนนิยมจะทำให้ทุกคนมีเงิน ไม่เข้าใจว่าประเทศที่พัฒนา ระบบทุนนิยม นานแล้ว เช่น อังกฤษ สหรัฐ มีปัญหาเยอะมาก แต่คนไทยก็คิดว่า เมืองนอก ดีกว่า อันนี้จุดอ่อนครับ คือคนไทยสนใจ เมืองนอก ไม่ได้สนใจ ประเทศไทย
ผมเป็นฝรั่ง คุณเลยนั่งฟังผม ถ้าผมเป็นชาวบ้าน คุณจะไม่สนใจผม อันนี้เป็นจุดอ่อนนะ แต่จุดแข็งคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แผ่นดินประเทศไทย อุดมสมบูรณ์มากๆ ที่ดินเยอะมาก น้ำเยอะมาก แสงแดดเยอะมาก ทำเกษตรอยู่รอดแน่ เป็นพลังแผ่นดิน ใครๆ ก็อยากได้ประเทศไทย ผมก็ได้ถึง ๖ ไร่


คนไทยโชคดีมากๆ
     ที่ได้ในหลวง เป็นผู้นำ พระองค์ท่านเป็นคนที่ทำงาน หนักมาก เพื่อช่วยให้คนคิดได้ ช่วยให้คนอยู่ได้ จะหากษัตริย์ ในประเทศอื่น ไม่ค่อยมีแบบนี้ ปัญหาคือคนไทยส่วนมากนับถือในหลวง แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสอนของในหลวง พระองค์ท่าน บอกมา ๒๗ ปีถึงเศรษฐกิจพอเพียง แต่คนไทย ก็ไม่รู้จักพอเพียง เอาอย่างเดียว ถึงยกมือไหว้ในหลวง แต่เวลาดำรงชีวิต ไม่ได้ทำตามในหลวง ก็ในหลวงบอกไว้แล้วว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเสือ ขอให้มีอยู่มีกินไว้ก่อน ถ้าทุกคนเริ่มคิดจริงๆ ถึงสิ่งที่ในหลวงพูด เราน่าจะช่วยให้ประเทศไทยอยู่ได้ เพราะความคิด ของในหลวง เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ต้องอาศัย พลังแผ่นดิน ทำได้เฉพาะประเทศไทยนะ เศรษฐกิจพอเพียง ที่อื่นทำไม่ได้หรอก เพราะเขาไม่มีที่ดิน ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะ เหมือนประเทศไทย พวกคุณโชคดีที่ได้แผ่นดินดีๆ ได้ผู้นำที่ดีด้วย และเรื่องที่ ๓ เรื่องศาสนา ผมคิดว่าศาสนาพุทธ มีความสำคัญมากๆ สำหรับคนไทย ไม่ใช่แค่นับถือไหว้พระ แค่นั้นไม่พอ แต่อยู่ที่การปฏิบัติด้วยนะ มักน้อย สันโดษ พอเพียง ธรรมะคือธรรมชาติ เป็นเรื่องง่ายๆ พึ่งตนเองก็ได้ ปรัชญาของ ศาสนาพุทธ ทำได้นะ แต่คนไทยจำนวนน้อยที่เข้าใจ จริงๆ แล้วศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ออกแบบให้เหมาะสม สำหรับคนบ้านนอก ให้ใช้ชีวิตร่วมกับ ธรรมชาติ โดยไม่ทำลาย ไม่เอาเปรียบ แต่ให้เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ




อยากบอกอะไรคนไทย
     คุณโชคดีมากๆ ที่เกิดในประเทศไทยที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องไปรบกับใคร ไม่ต้องไปเอาน้ำมัน จากใคร ไม่ต้องไปเบียดเบียนคนอื่น ประเทศไทยอยู่ได้ กินอิ่ม มีเหลือแจกด้วย อย่าไปคิดเรื่องเงินอะไรมาก อย่าลดคุณค่าความเป็นไทยของตัวเองลง คนไทยส่วนมาก นิสัยดีจริงๆ คนไทยมีน้ำใจ หายากนะ คนไทยมีพระเจ้าอยู่หัวมีแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีศาสนาพุทธ ที่ดีมาก ทั้ง ๓ อย่างนี้พยายามรักษาเอาไว้ให้ได้ ชีวิตที่ไม่ทะเยอทะยานเกินไป คือชีวิต ที่มีคุณภาพ ชาวบ้านทุกคนทำได้ ผมเองถึงยังทำไม่สำเร็จ แต่มั่นใจว่าจะทำได้แน่ในอนาคต ถ้าผมทำได้ คนอื่นก็คงทำได้ง่ายกว่าผมเยอะ ทุกอย่างอยู่ที่เรา ถ้าเราไม่อยากได้อะไร มากเกินไป ในชีวิต ชีวิตมันก็ง่าย พยายามทำให้ชีวิตมันง่ายขึ้น อย่าให้มันสับสน อย่าให้มันลำบาก พยายามรักษา สิ่งแบบนี้ให้ดี และอย่าเชื่อฝรั่งมากเกินไป.........
http://www2.oae.go.th/zone/zone4/board/index.php?topic=71.0 (http://www2.oae.go.th/zone/zone4/board/index.php?topic=71.0)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ ธันวาคม 01, 2010, 01:41:59 AM
เราอาจจะเดินหลงทางกันมานานมากแล้วก็ได้ครับพ่อท่านตรัสไว้ตั้งแต่ พศ 2517 แต่น้อยคนที่จะเข้าใจและดำเนินชีวิตตามท่าน  ตั้งแต่ผมหันมาดำเนินชีวิตแบบพอเพียงผมเองก็มีเงินเก็บมากขึ้นมีชีวิตที่ดีขึ้น  ปัญหาของชาวนาหลายๆคนส่วนใหญ่เกิดจากการศึกษาน้อย เรียนจบก็แค่พออ่านออกเขียนได้ก็โดนเอาเปรียบเป็นประจำ น้อยคนที่จะลงไปถ่ายทอดแนวคิดของพ่อ และน้อยคนที่จะดำเนินตาม  หลายๆครั้งวัตถุนิยมมันยั่วยุจนคนเราลืมคิดไป  ไม่ใช่แค่ชาวนาแต่ผมหมายถึงลูกหลานชาวนาด้วย  จึงง่ายที่จะตกเป็นเหยื่อของพ่อค้าคนกลาง ชาวนาหลายๆคนขยันมากแต่ความรู้น้อยจึงเสียเปรียบอยู่ร่ำไปครับ ถ้าทุกๆคนดำเนินชีวิตตามพระราชดำรัสของพ่อได้ ชีวิตก็ไม่ลำบากมากนะครับ  ชีวิตที่พอเพียงไม่จำเป็นว่าต้องยากจนต้องลำบาก  ข้าวผัดร้านข้างทางกับฟูจิ มันก็อิ่มเหมือนกันละ   ถ้ามัวแต่รอรัฐมาแก้ รอใครมาช่วยชาตินี้ทั้งชาติก้ต้องจนตลอดไป  การเริ่มจากตัวเองก่อนเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ ชีวิตของเราจะเอามาวางไว้ในมือคนอื่นมันก็แปลกๆอยู่นะครับ   ::014:: ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: SOAP47 รักในหลวง ที่ ธันวาคม 01, 2010, 11:15:09 AM
คะแนน คุณขุนช้าง ไม่สวย ผมบวกให้ครับ + สำหรับเรื่องดีๆ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ ธันวาคม 01, 2010, 11:36:00 AM
::014::ขออภัยจขกท.ที่นอกประเด็นครับ ทุกเรื่องมันเกี่ยวกันหมด ระบบแย่ๆ รถมันวิ่งไม่ได้หรอก ยังไงก็รวน

ตอนนี้อาเซียนเปิดเสรี ผมละหดหู่ใจ ดูอินโดนีเซีย ดูมาเล ดูสิงคโปร เขาไปไหนกันแล้ว มาเลมันจะประกาศเป็นประเทศพัฒนาแล้วในอีกไม่กี่ปีนี้

เราทำอะไรก็อยู่ เราทำอะไรกันอยู่ครับ.................... :P




ไม่เป็นไรครับพี่เบิ้ม หลากหลายความคิดเห็นอาจจะเป็นประโยชน์กับชาวนาบ้าง ไม่มากก็น้อยครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: supreme ที่ ธันวาคม 01, 2010, 09:08:25 PM
อ่าน คคห. ของบางท่านแล้ว รู้สึกจุกเจ็บจริงๆครับ   เนื่องจากคนรุ่นปู่ย่าตายายผมขึ้นไป ทำนา ทำสวนกัน  ย่าผมมีลูก ๗ คน ยายผมลูก ๓  ย่าผม ทำนาทำสวน เลี้ยงหมูกับไก่ รายจ่ายก็มีแค่ น้ำมันตะเกียง กับ เกลือ น้ำตาล น้ำปลา  สมัยนั้น ฝนตก น้ำท่วม ถูกต้องทุกปี  แมลง หนู หอยเชอรี่ไม่ค่อยมี ได้มากได้น้อยก็ผ่านไปได้ทุกปี บวชลูกได้ทุกคน   เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเจริญศิวิไลซ์  ธรรมชาติผิดเพี้ยนโยนกันไปมา หาคนรับผิดชอบไม่ได้  คนที่พึ่งพาธรรมชาติมากก็ต้องกระทบมาก

พอมารุ่นพ่อผม ก็ทำนา แต่กินขายไม่พอใช้  อาจเป็นเพราะสังคมมันเปลี่ยน เงินทองมีความสำคัญมากขึ้น สุดท้ายก็ต้องเข้ากรุงเทพมาหางานทำ  มีครอบครัว มีภาระ วิถีชีวิตแบบคนเมือง  ที่ดินก็ขายให้โรงสีที่อยู่ติดกัน

คำว่าขี้เกียจ หรือเกียจคร้าน ถ้าใช้กับคนๆนึงคือคำตำหนิพอรับฟังได้  แต่ถ้าเอามาใช้กับคนหมู่มาก ผมคิดว่ามันไม่สมควรครับ  เราควรมองภาพรวมว่า กลไกอะไรที่ผลักดันและดึงให้คนเป็นเช่นนั้น  คนเรามีกิเลสพอๆกันทั้งนั้นแหละ  ถ้าเป็นชาวนามีที่ ๕ไร่ แต่ต้องอดออมถึงจะอยู่รอด กับเป็นมนุษย์เงินเดือนธรรมดากลางๆมีบ้าน ๕๐ ตารางวา แล้วต้องเลือกผมว่าน้อยนักที่จะเลือกเป็นชาวนา  หรืออย่างเรารณรงค์ให้ทำโน้นทำนี่  แต่คนทำต้องลำบาก  มันก็พอได้ผลบ้างตอนแรกๆเท่านั้นแหละ  ถ้าไม่สร้างกลไกอะไร มันไปต่อไม่ได้หรอกครับ

สมัยก่อนเราเป็นเกษตรกันทั้งประเทศ  เพื่อนบ้านก็จนพอกัน  เงินทองมีนิดหน่อยก็อยู่ได้   พอเราไปเปิดโลกทัศน์เห็นประเทศอื่นเขาเจริญ เราก็อยากเจริญทันสมัยแบบเขาบ้าง  วัตถุนิยมที่หลับอยู่ในจิตใจก็ออกมาทันที  อุตสาหกรรม ส่งออก ท่องเที่ยว เอาหมด   กดราคากันเอง  ว่ากันตั้งแต่ข้าราชการ  แรงงาน เกษตร เพื่อลดต้นทุนการพัฒนาประเทศเอาไว้  กดนานจนลืมและชินชา  ที่จะต้องแก้ไข ไม่งั้นข้าราชการจะไม่มีคนทำ  แรงงานก็ต้องเอาต่างด้าวมาแทน  ชาวนาก็ต้องขายกิจการหรือให้คนเช่า

ถ้ามีคนจะไหลออกก็อย่าว่ากันเลยครับ  คนธรรมดาทั่วๆไป มีธรรมชาติที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเป็นนิสัยอยู่แล้ว  ถ้าเขาต้องเปลี่ยนแปลง  แสดงว่ามันไม่ไหวจริงๆ  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ ธันวาคม 01, 2010, 09:20:19 PM
อ่าน คคห. ของบางท่านแล้ว รู้สึกจุกเจ็บจริงๆครับ   เนื่องจากคนรุ่นปู่ย่าตายายผมขึ้นไป ทำนา ทำสวนกัน  ย่าผมมีลูก ๗ คน ยายผมลูก ๓  ย่าผม ทำนาทำสวน เลี้ยงหมูกับไก่ รายจ่ายก็มีแค่ น้ำมันตะเกียง กับ เกลือ น้ำตาล น้ำปลา  สมัยนั้น ฝนตก น้ำท่วม ถูกต้องทุกปี  แมลง หนู หอยเชอรี่ไม่ค่อยมี ได้มากได้น้อยก็ผ่านไปได้ทุกปี บวชลูกได้ทุกคน   เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเจริญศิวิไลซ์  ธรรมชาติผิดเพี้ยนโยนกันไปมา หาคนรับผิดชอบไม่ได้  คนที่พึ่งพาธรรมชาติมากก็ต้องกระทบมาก

พอมารุ่นพ่อผม ก็ทำนา แต่กินขายไม่พอใช้  อาจเป็นเพราะสังคมมันเปลี่ยน เงินทองมีความสำคัญมากขึ้น สุดท้ายก็ต้องเข้ากรุงเทพมาหางานทำ  มีครอบครัว มีภาระ วิถีชีวิตแบบคนเมือง  ที่ดินก็ขายให้โรงสีที่อยู่ติดกัน

คำว่าขี้เกียจ หรือเกียจคร้าน ถ้าใช้กับคนๆนึงคือคำตำหนิพอรับฟังได้  แต่ถ้าเอามาใช้กับคนหมู่มาก ผมคิดว่ามันไม่สมควรครับ  เราควรมองภาพรวมว่า กลไกอะไรที่ผลักดันและดึงให้คนเป็นเช่นนั้น  คนเรามีกิเลสพอๆกันทั้งนั้นแหละ  ถ้าเป็นชาวนามีที่ ๕ไร่ แต่ต้องอดออมถึงจะอยู่รอด กับเป็นมนุษย์เงินเดือนธรรมดากลางๆมีบ้าน ๕๐ ตารางวา แล้วต้องเลือกผมว่าน้อยนักที่จะเลือกเป็นชาวนา  หรืออย่างเรารณรงค์ให้ทำโน้นทำนี่  แต่คนทำต้องลำบาก  มันก็พอได้ผลบ้างตอนแรกๆเท่านั้นแหละ  ถ้าไม่สร้างกลไกอะไร มันไปต่อไม่ได้หรอกครับ

สมัยก่อนเราเป็นเกษตรกันทั้งประเทศ  เพื่อนบ้านก็จนพอกัน  เงินทองมีนิดหน่อยก็อยู่ได้   พอเราไปเปิดโลกทัศน์เห็นประเทศอื่นเขาเจริญ เราก็อยากเจริญทันสมัยแบบเขาบ้าง  วัตถุนิยมที่หลับอยู่ในจิตใจก็ออกมาทันที  อุตสาหกรรม ส่งออก ท่องเที่ยว เอาหมด   กดราคากันเอง  ว่ากันตั้งแต่ข้าราชการ  แรงงาน เกษตร เพื่อลดต้นทุนการพัฒนาประเทศเอาไว้  กดนานจนลืมและชินชา  ที่จะต้องแก้ไข ไม่งั้นข้าราชการจะไม่มีคนทำ  แรงงานก็ต้องเอาต่างด้าวมาแทน  ชาวนาก็ต้องขายกิจการหรือให้คนเช่า

ถ้ามีคนจะไหลออกก็อย่าว่ากันเลยครับ  คนธรรมดาทั่วๆไป มีธรรมชาติที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเป็นนิสัยอยู่แล้ว  ถ้าเขาต้องเปลี่ยนแปลง  แสดงว่ามันไม่ไหวจริงๆ  ::014::
::002:: ::002:: ::002:: ::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ ธันวาคม 02, 2010, 09:09:21 AM
เห็นด้วยกับพี่ supreme .... ขอบคุณที่เรียบเรียงความคิดเป็นตัวหนังสือให้  ::014::

... บอกแล้วว่าของแบบนี้ "ใครไม่เจอไม่รู้" ..............

บางคนเห็นแค่ "กระพี้" ...  ก็เหมาเอาว่าตัวเองเห็น "แก่น" ........  :~)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ ธันวาคม 02, 2010, 09:21:47 AM
"ตั้งแต่ การสื่อสารออนไลน์ใช้การได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานบัญชีในสหรัฐอเมริกาและยุโรปก็ปิดฉากประวัติศาสตร์อันยาวนานของตน กันไปบานเบอะเยอะแยะ เพราะเดี๋ยวนี้บริษัทรับเหมาทำบัญชีขนาดใหญ่ ดันอยู่ในชนบทอันเงียบสงบของรัฐตอนใต้ในอินเดีย

ห้องสำนักงานในชนบทอินเดียที่รับทำงานจากบริษัทใหญ่ในสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้เศรษฐกิจอินเดียพุ่งกระฉูด"


....... เป็นอีกหนึ่งข่าวสาร ที่ทำให้เกิดคำถามในใจ ......... ????????????



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ ธันวาคม 02, 2010, 09:26:41 AM
"ตั้งแต่ การสื่อสารออนไลน์ใช้การได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานบัญชีในสหรัฐอเมริกาและยุโรปก็ปิดฉากประวัติศาสตร์อันยาวนานของตน กันไปบานเบอะเยอะแยะ เพราะเดี๋ยวนี้บริษัทรับเหมาทำบัญชีขนาดใหญ่ ดันอยู่ในชนบทอันเงียบสงบของรัฐตอนใต้ในอินเดีย

ห้องสำนักงานในชนบทอินเดียที่รับทำงานจากบริษัทใหญ่ในสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้เศรษฐกิจอินเดียพุ่งกระฉูด"

....... เป็นอีกหนึ่งข่าวสาร ที่ทำให้เกิดคำถามในใจ ......... ????????????

คำถามอะไรครับ  ;D


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 02, 2010, 09:39:45 AM
ผมไม่ได้เข้าเวปมาหลายวันครับ มีภาระกิจไปประชุม ตจว.หลายวัน
ผมเป็นข้าราชการคนหนึ่ง จากจำนวนหลายๆคนหลายๆกระทรวง ที่มีงานประจำที่สอง(อดิเรก)รองจากงานราชการคือทำการเกษตร ครับผมทำนาปี ทำไร่ข้าวโพด เลี้ยงวัวเนื้อครับ ผมมีที่ดินมรดกของภรรยา 50 ไร่ :VOV: ที่ดินขอตัวเองที่ดิ้นรน(กู้สหกรณ์สาธารณสุข ::008::)ซื้อมาอีก 120 ไร่ ::002:: แน่นอน ปัจจุบันยังส่งสหกรณ์อยู่ ::005::
(http://img440.imageshack.us/img440/4379/dsc00817b.jpg) (http://img440.imageshack.us/i/dsc00817b.jpg/)
ผมจัดการที่ดินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง(เพิ่งเริ่ม)ดังนี้ ทำนา 90 ไร่ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 9 ไร่ ที่เหลือ ใช้เลี้ยงวัวครับ มีเช่าที่นายทุน ::004::เพิ่มเติมอีกบ้าง
(http://img689.imageshack.us/img689/3503/dsc00787m.jpg) (http://img689.imageshack.us/i/dsc00787m.jpg/)
ที่นา ผมทำเองครับ จ้างคนช่วยทำบ้าง มีเครื่องมือเป็นของตัวเอง แต่ผมทำนาวันเสาร์ อาทิตย์ ::002::และช่วงเช้า เย็นก่อนไปทำงาน ส่วนวัว ผมจ้างเขาเลี้ยงครับ ::005::
ทุกวันนี้ การทำนามันง่ายครับ เวลาเก็บเกี่ยว เราใช้รถเก็บเกี่ยว ::002::ค่ารถเกี่ยว ไร่ละ 550 บาท ที่นา 90 ไร่ เป็นเงิน  49,500 บาท :OO ครับ
(http://img257.imageshack.us/img257/5474/dsc010550.jpg) (http://img257.imageshack.us/i/dsc010550.jpg/)
(http://img269.imageshack.us/img269/1780/dsc01066ck.jpg) (http://img269.imageshack.us/i/dsc01066ck.jpg/)
สะดวกสบายมากครับ ::002::ผมทำนา 90 ไร่ ได้ข้าวประมาณ 30 กว่าตัน ::004::(เหมาะสมสำหรับคนทำงานประจำอย่างผม) ปีนี้ได้ราคาประมาณ ตันละ หมื่นสามร้อย - หมื่นหนึ่งพัน แล้วแต่ปริมาณข้าวที่เข้าสู่โรงสี ::004::
(http://img137.imageshack.us/img137/3152/dsc01069e.jpg) (http://img137.imageshack.us/i/dsc01069e.jpg/)
มีขึ้นมีลงครับ ::004::
ที่เล่ามานี้คือตัวอย่างครับ :OO





หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 02, 2010, 09:46:14 AM
แต่ความเป็นจริง ชาวนาไทยไม่ได้เป็นอย่างผมนะครับ :OO นาก็ต้องเช่า ::004:: พันธุ์ข้าวก็ต้องซื้อ ::004::รถไถก็ต้องจ้าง ::010::ปุ๋ยก็ต้องซื้อ นาที่เช่านั้นต้องแย่งกันเช่า ได้คนละไม่ถึง สามสิบไร่ (เป็นนานายทุนที่ซื้อจากชาวนาในพื้นที่นะแหละ)นาที่เช่าคือ ปีต่อปี สิ่งที่ถมลงไปในนาที่เช่า :OOนอกจากข้าวเปลือกที่ใช้ปลูกก็คือ ปุ๋ยเคมีครับ  ::009:: จะให้ลงทุนเอาปุ๋ยอินทรีย์มูลสัตว์ไปปรับปรุง อย่าหวังครับ เพราะไม่คุ้มกัน(ไม่รู้ว่าปีหน้าเขาจะให้เช่าต่อหรือเปล่า) ::004::จึงทำได้แค่เฉพาะหน้าเป็นปีปีไปครับ ::004::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 02, 2010, 09:49:52 AM
ผลผลิตที่ได้มา  :VOV:ส่วนหนึ่งเก็บไว้กินเอง ::002::ส่วนหนึ่งเก็บไว้ทำพันธุ์ในฤดูกาลต่อไป ::002::อีกบางส่วนที่เล็กน้อยเอาไปขายโรงสี ::004::เอาเงินมาจ่ายค่ารถเกี่ยว ปัจจุบันเกี่ยวไร่ละ 550 บาทขาดตัว จ่ายค่าหนี้กองทุนหมู่บ้าน  ::005:: ส่งหนี้ ธกส. ::006::และอีกจิปาถะ ::004::
ไอ้เงินเก็บสะสมหละครับ มันอยู่ที่ไหน ::012::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 02, 2010, 09:50:44 AM
เพราะฉะนั้นอย่าไปถามเลยครับว่า ทำไม ??? ชาวนาไทยยังยากจน ::004::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 02, 2010, 09:51:21 AM
คำตอบมันมีอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว ::004::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 02, 2010, 09:56:08 AM
การใช้ชีวิตที่ฟุ่มเฟือย ::006::
การใช้ชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ ไม่รู้จักประมาณตน
ที่สำคัญ ตำข้าวสารกรอกหม้อ  ยังพบได้ในชุมชนเกษตรของไทย ::004::
หมดฤดูทำนา เข้าป่าอ้อย เข้าป่าข้าวโพด เก็บถั่วรับจ้าง เบิกเงินนายทุนมากินก่อน แล้วถึงไปทำงานใช้เงินเค้า ::006::เงินหมดก็ออกหางานใหม่ ::004::ไอ้จะมีเงินเก็บอย่าหวัง
ปีหนึ่งๆ รายได้หลายหมื่นบาท แต่การฟุ้งเฟ้อ ทำให้ไม่มีเงินเก็บ ::005::



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 02, 2010, 09:56:55 AM
(http://img9.imageshack.us/img9/1553/dsc00823eq0.jpg) (http://img9.imageshack.us/i/dsc00823eq0.jpg/)

แล้วอย่างนี้ เมื่อไหร่จะรวยกับเขาสักทีหละครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Desperado - รักในหลวง ที่ ธันวาคม 02, 2010, 10:05:10 AM
พี่ renold:รักในหลวง โพสก์โดนใจจริงๆ
พี่ครับ ค่าเกี่ยวผมไร่ละ 520 ไม่ผ่านนายหน้า ต้องว่าราคาก่อนเกี่ยว ประมาณว่าขายส่ง
อีกอย่างนึงนะครับ ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไม
ลูกชาวนา จะอยากทำนาอยู่ร่ำไป รู้ก็รู้ว่า อาจขาดทุน
อาจกำไรน้อย พี่ๆผมเป็นข้าราชการ เงินเดือนพออยู่ได้สบายๆ ยังดิ้นรนมาทำนา
จะมีความสุขมากที่ได้ออกไปท้องไร่ท้องนา กลิ่นดิน มันเรียกร้องเหลือเกิน


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ ธันวาคม 02, 2010, 10:07:08 AM
+ คุณ renold ครับ  ::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ ธันวาคม 02, 2010, 10:59:57 AM
+ คุณ renold


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ธันวาคม 02, 2010, 11:48:57 AM
คำตอบมันมีอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว ::004::

การใช้ชีวิตที่ฟุ่มเฟือย ::006::
การใช้ชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ ไม่รู้จักประมาณตน
ที่สำคัญ ตำข้าวสารกรอกหม้อ  ยังพบได้ในชุมชนเกษตรของไทย ::004::
หมดฤดูทำนา เข้าป่าอ้อย เข้าป่าข้าวโพด เก็บถั่วรับจ้าง เบิกเงินนายทุนมากินก่อน แล้วถึงไปทำงานใช้เงินเค้า ::006::เงินหมดก็ออกหางานใหม่ ::004::ไอ้จะมีเงินเก็บอย่าหวัง
ปีหนึ่งๆ รายได้หลายหมื่นบาท แต่การฟุ้งเฟ้อ ทำให้ไม่มีเงินเก็บ ::005::

ชาวนามาตอบเองเลยครับ ว่าทำไมชาวนาถึงได้ยังยากจนอยู่... คำตอบตามข้างบน...

นายสมชายมีประเด็นให้ตัวเองคิดต่อ ว่าในเมื่อ"ทำนาเดี๋ยวนี้มันง่าย" ง่ายแค่ไหน ง่ายถึงขั้นที่ข้าราชการท่านหนึ่งสามารถใช้เวลาว่างจากงานประจำมาทำนา... แล้วชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวเขาเอาเวลาไปไหนเสียหมดตั้งหลายชั่วโมงต่อวันเล่าครับ... แฮ่ๆ...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: jane1 ที่ ธันวาคม 02, 2010, 12:20:57 PM
พี่สมชาย(ฮา) พูดหน้าคิดครับ
แต่ต่างกันที่ พี่renold ทำนาปีนะครับ การดูแลรักษาจะไม่จุกจิกเหมือนทำนาปรัง
ที่อยุธยากับอ่างทองทำนาปรัง ปีละ 2-3 ครั้งครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ ธันวาคม 02, 2010, 12:26:34 PM


วู้... มีที่ดิน เกือบ ๒๐๐ ไร่

อยากมีบ้างจัง....


อากาศดี มองไปทางไหน ก็เขียวชอุ่ม


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ ธันวาคม 02, 2010, 01:05:37 PM
... ประสบการณ์จริงจากผู้ปฏิบัติ .......

ชัดเจนที่สุด ...  ::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Ki-jang-aey ที่ ธันวาคม 02, 2010, 03:10:00 PM
คำตอบมันมีอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว ::004::

การใช้ชีวิตที่ฟุ่มเฟือย ::006::
การใช้ชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ ไม่รู้จักประมาณตน
ที่สำคัญ ตำข้าวสารกรอกหม้อ  ยังพบได้ในชุมชนเกษตรของไทย ::004::
หมดฤดูทำนา เข้าป่าอ้อย เข้าป่าข้าวโพด เก็บถั่วรับจ้าง เบิกเงินนายทุนมากินก่อน แล้วถึงไปทำงานใช้เงินเค้า ::006::เงินหมดก็ออกหางานใหม่ ::004::ไอ้จะมีเงินเก็บอย่าหวัง
ปีหนึ่งๆ รายได้หลายหมื่นบาท แต่การฟุ้งเฟ้อ ทำให้ไม่มีเงินเก็บ ::005::

ชาวนามาตอบเองเลยครับ ว่าทำไมชาวนาถึงได้ยังยากจนอยู่... คำตอบตามข้างบน...

นายสมชายมีประเด็นให้ตัวเองคิดต่อ ว่าในเมื่อ"ทำนาเดี๋ยวนี้มันง่าย" ง่ายแค่ไหน ง่ายถึงขั้นที่ข้าราชการท่านหนึ่งสามารถใช้เวลาว่างจากงานประจำมาทำนา... แล้วชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวเขาเอาเวลาไปไหนเสียหมดตั้งหลายชั่วโมงต่อวันเล่าครับ... แฮ่ๆ...
อ่านดูแล้วก็ได้แต่ร้องอ๋อ ทำมัยคุณพี่ท่านนี้ถึงได้มีเวลามาทำนาได้ เพราะเวลาราชการแท้ๆ คุณพี่ยังมีเวลามานั่งโพสต์กระทู้นี้อยู่เลย ข้าราชการหน่วยไหนของสาธารณสุขหรือครับเนี่ยะ???
แต่ถ้าเป็นวันหยุดของท่านดังกล่าว ผมก็ต้องขอภัยมา  ณ ที่นี้ด้วยครับ..


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Ki-jang-aey ที่ ธันวาคม 02, 2010, 03:19:31 PM
ผมแซวเล็กๆ กับเรื่องการใช้เวลาราชการเท่านั้นแหละครับ.....แสดงว่าหน่วยงานของท่านไม่ค่อยจะมีงานทำกันเท่าไหร่......
แต่เรื่องที่ท่านทำนาเสริมด้วย..อันนี้ผมชื่นชมครับ...แสดงว่าที่ทำงานกับที่ดินของท่านตั้งอยู่ไม่ไกลกันมาก

ชาวนาก็อยากจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกันทั้งนั้นแหละครับ....ผมเองก็ยังทิ้งที่ดินมาทำงานอย่างอื่นเลยครับ...ที่มีรายได้มั่นคงกว่า, สม่ำเสมอกว่าการทำการเกษตร (ทำนา) ฯลฯ

ค่าครองชีพของชาวนาก็ไม่ได้ต่ำกว่าอาชีพอื่นหรอกครับ ...ลูกชาวนาก็ต้องเรียน (มีค่าใช้จ่าย), ไปซื้อของที่จำเป็นแก่การครองชีพ ก็ไม่สามารถขอส่วนลดหรือมีราคาสวัสดิการได้เหมือนข้าราชการ, ลูกชาวนาจะสอบเข้าวิทยาลัยเกษตรกรรมก็ไม่มีคะแนนช่วยเหมือนลูกข้าราชการบางหน่วย ในประเทศนี้,
จะเดินทางไปไหนก็ไม่สามารถขอส่วนลดค่าตั๋วได้....บรรยายทั้งวันก็ไม่หมดครับ...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ ธันวาคม 02, 2010, 05:01:43 PM
.........  :OO


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ ธันวาคม 02, 2010, 05:49:59 PM
อย่าไปมองว่าใครทำอะไร ถึงมีเวลาว่างพอจะไปทำนาเลยครับ ... ถ้ามองมุมกลับด้วยใจเป็นธรรม  ลองถามแบบพี่สมชาย(ฮา)ดูบ้างว่า
"...แล้วชาวนาที่ทำนาอย่างเดียว เขาเอาเวลาไปไหนเสียหมดตั้งหลายชั่วโมงต่อวันเล่า...?  จริงๆแล้วต้องใช้เวลาทั้งวันตลอดทั้งปีหรือไม่ ?"
ตอบได้หรือไม่ได้ ก็ยังได้ใช้เป็นประโยชน์ในการวางแนวทางต่อไป  

ตรงไหนคือ แก่น ตรงไหนคือ กระพี้ เราน่าจะยังไปไม่ถึงขั้นนั้นนะครับ  ยังไม่มีการบอกว่าตรงนั้นใช่ ตรงนี้ไม่ใช่ .. จริงๆมันน่าจะใช่ทั้งหมดล่ะครับ ยังไม่เห็นใครจะพูดผิด

การสานเสวนา (Dialogue) ต้องพูดและฟังโดยยังไม่ตัดสิน เพื่อจะได้ข้อมูลและความเห็นรอบด้านที่สุด ก่อนนำมารวบยอดจัดลำดับความเกี่ยวเนื่องสำคัญ
ถ้าจะชี้จุดอ่อนใดๆ ให้มองไปที่ระบบ ค่านิยม หรือสิ่งแวดล้อม เป็นหลักครับ .. ต้องไม่เน้นไปที่ปัจเจกบุคคล และไม่ได้หมายว่าทุกคนจะเป็นเช่นนั้น ..
เช่นเดียวกับความจริงที่ว่า ชาวนาไม่ได้จนไปเสียทุกคน หลายคนทำนาเสริมอาชีพอื่น บางคนทำนาเพราะไม่อยากอยู่ว่าง บ้างทำนาเพราะอยากกินข้าวของตัวเอง ...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: supreme ที่ ธันวาคม 02, 2010, 07:19:41 PM
อย่าไปมองว่าใครทำอะไร ถึงมีเวลาว่างพอจะไปทำนาเลยครับ ... ถ้ามองมุมกลับด้วยใจเป็นธรรม  ลองถามแบบพี่สมชาย(ฮา)ดูบ้างว่า
"...แล้วชาวนาที่ทำนาอย่างเดียว เขาเอาเวลาไปไหนเสียหมดตั้งหลายชั่วโมงต่อวันเล่า...?  จริงๆแล้วต้องใช้เวลาทั้งวันตลอดทั้งปีหรือไม่ ?"
ตอบได้หรือไม่ได้ ก็ยังได้ใช้เป็นประโยชน์ในการวางแนวทางต่อไป 

ตรงไหนคือ แก่น ตรงไหนคือ กระพี้ เราน่าจะยังไปไม่ถึงขั้นนั้นนะครับ  ยังไม่มีการบอกว่าตรงนั้นใช่ ตรงนี้ไม่ใช่ .. จริงๆมันน่าจะใช่ทั้งหมดล่ะครับ ยังไม่เห็นใครจะพูดผิด

การสรรเสวนา (Dialogue) ต้องพูดและฟังโดยยังไม่ตัดสิน เพื่อจะได้ข้อมูลและความเห็นรอบด้านที่สุด ก่อนนำมารวบยอดจัดลำดับความเกี่ยวเนื่องสำคัญ
ถ้าจะชี้จุดอ่อนใดๆ ให้มองไปที่ระบบ ค่านิยม หรือสิ่งแวดล้อม เป็นหลักครับ .. ต้องไม่เน้นไปที่ปัจเจกบุคคล และไม่ได้หมายว่าทุกคนจะเป็นเช่นนั้น ..
เช่นเดียวกับความจริงที่ว่า ชาวนาไม่ได้จนไปเสียทุกคน หลายคนทำนาเสริมอาชีพอื่น บางคนทำนาเพราะไม่อยากอยู่ว่าง บ้างทำนาเพราะอยากกินข้าวของตัวเอง ...

 ::014::  ผมชอบคำตอบของท่าน Bird ครับ  และอีกเรื่องคือ Dialogue ผมหาคำตอบมาพักนึง แต่ยังอธิบายให้เพื่อนฟังไม่ได้สักที  พอมาอ่านย่อหน้านี้ก็เห็นแสงสว่างรำไร


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ธันวาคม 02, 2010, 10:07:22 PM
คำตอบมันมีอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว ::004::

การใช้ชีวิตที่ฟุ่มเฟือย ::006::
การใช้ชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ ไม่รู้จักประมาณตน
ที่สำคัญ ตำข้าวสารกรอกหม้อ  ยังพบได้ในชุมชนเกษตรของไทย ::004::
หมดฤดูทำนา เข้าป่าอ้อย เข้าป่าข้าวโพด เก็บถั่วรับจ้าง เบิกเงินนายทุนมากินก่อน แล้วถึงไปทำงานใช้เงินเค้า ::006::เงินหมดก็ออกหางานใหม่ ::004::ไอ้จะมีเงินเก็บอย่าหวัง
ปีหนึ่งๆ รายได้หลายหมื่นบาท แต่การฟุ้งเฟ้อ ทำให้ไม่มีเงินเก็บ ::005::

ชาวนามาตอบเองเลยครับ ว่าทำไมชาวนาถึงได้ยังยากจนอยู่... คำตอบตามข้างบน...

นายสมชายมีประเด็นให้ตัวเองคิดต่อ ว่าในเมื่อ"ทำนาเดี๋ยวนี้มันง่าย" ง่ายแค่ไหน ง่ายถึงขั้นที่ข้าราชการท่านหนึ่งสามารถใช้เวลาว่างจากงานประจำมาทำนา... แล้วชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวเขาเอาเวลาไปไหนเสียหมดตั้งหลายชั่วโมงต่อวันเล่าครับ... แฮ่ๆ...
อ่านดูแล้วก็ได้แต่ร้องอ๋อ ทำมัยคุณพี่ท่านนี้ถึงได้มีเวลามาทำนาได้ เพราะเวลาราชการแท้ๆ คุณพี่ยังมีเวลามานั่งโพสต์กระทู้นี้อยู่เลย ข้าราชการหน่วยไหนของสาธารณสุขหรือครับเนี่ยะ???
แต่ถ้าเป็นวันหยุดของท่านดังกล่าว ผมก็ต้องขอภัยมา  ณ ที่นี้ด้วยครับ..

เอ่อ... คุยกันแบบนี้ชักไม่อยากคุยด้วยแล้วครับ... หากจะออกลูกค่อนแคะใคร ก็ไม่ควรอ้างถึงข้อความของผู้อื่นมาเป็นตัวนำเรื่องนะครับ...

ใครเขาจะใช้เวลาในเวลาราชการมา Post อะไรนั่นเป็นเรื่องของเขาบริหารจัดการเวลา, ในกระทู้นี้กำลังคุยกันเรื่องชาวนาฯ หากจ้องจับผิดกันทุกเรื่องมันก็สามารถจับผิดกันได้ทั้งนั้นแหละ... ตัวอย่างเช่นเห็นคนไทยไปทำงานที่เกาหลี หากมองแง่ดีก็สู้อุตส่าห์ยอมพลัดที่นาคาที่อยู่ไปทำมาหากินให้ชาติอื่นรับรู้ความสามารถคนไทย เป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ, แต่ถ้ามองแง่ไม่ดี มันก็สามารถค่อนแคะได้ว่าเป็นคนไทย ทำไมไม่ใช้ความรู้ความสามารถตนเองสร้างประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย...

ดังนั้นหากจ้องจะค่อนแคะ มันก็มีเรื่องได้ทั้งนั้นแหละ... ทุกคนมีเหตุผลของตนเอง, หากค่อนแคะแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไรแก่ชีวิต ไม่ได้ประโยชน์อะไรแก่สังคม ไม่น่าจะค่อนแคะให้ผู้อื่นรู้สึกพิลึก...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ธันวาคม 02, 2010, 10:09:12 PM
ผมแซวเล็กๆ กับเรื่องการใช้เวลาราชการเท่านั้นแหละครับ.....แสดงว่าหน่วยงานของท่านไม่ค่อยจะมีงานทำกันเท่าไหร่......
แต่เรื่องที่ท่านทำนาเสริมด้วย..อันนี้ผมชื่นชมครับ...แสดงว่าที่ทำงานกับที่ดินของท่านตั้งอยู่ไม่ไกลกันมาก

ตรงตัวแดงนี้ ก็ว่ากล่าวหน่วยงานอีกแหละ... เฮ้อ...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ ธันวาคม 02, 2010, 10:30:04 PM
พี่ renold:รักในหลวง  อุส่าห์ให้ความรู้ยังมาจับผิดอีก  จะมีกี่คนที่แบ่งเวลาได้อย่างพี่เค้าบ้าง   :(


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ ธันวาคม 02, 2010, 10:41:13 PM


(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/671/3671/images/pt..jpg)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 03, 2010, 12:43:41 PM
คำตอบมันมีอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว ::004::

การใช้ชีวิตที่ฟุ่มเฟือย ::006::
การใช้ชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ ไม่รู้จักประมาณตน
ที่สำคัญ ตำข้าวสารกรอกหม้อ  ยังพบได้ในชุมชนเกษตรของไทย ::004::
หมดฤดูทำนา เข้าป่าอ้อย เข้าป่าข้าวโพด เก็บถั่วรับจ้าง เบิกเงินนายทุนมากินก่อน แล้วถึงไปทำงานใช้เงินเค้า ::006::เงินหมดก็ออกหางานใหม่ ::004::ไอ้จะมีเงินเก็บอย่าหวัง
ปีหนึ่งๆ รายได้หลายหมื่นบาท แต่การฟุ้งเฟ้อ ทำให้ไม่มีเงินเก็บ ::005::

ชาวนามาตอบเองเลยครับ ว่าทำไมชาวนาถึงได้ยังยากจนอยู่... คำตอบตามข้างบน...

นายสมชายมีประเด็นให้ตัวเองคิดต่อ ว่าในเมื่อ"ทำนาเดี๋ยวนี้มันง่าย" ง่ายแค่ไหน ง่ายถึงขั้นที่ข้าราชการท่านหนึ่งสามารถใช้เวลาว่างจากงานประจำมาทำนา... แล้วชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวเขาเอาเวลาไปไหนเสียหมดตั้งหลายชั่วโมงต่อวันเล่าครับ... แฮ่ๆ...
อ่านดูแล้วก็ได้แต่ร้องอ๋อ ทำมัยคุณพี่ท่านนี้ถึงได้มีเวลามาทำนาได้ เพราะเวลาราชการแท้ๆ คุณพี่ยังมีเวลามานั่งโพสต์กระทู้นี้อยู่เลย ข้าราชการหน่วยไหนของสาธารณสุขหรือครับเนี่ยะ???
แต่ถ้าเป็นวันหยุดของท่านดังกล่าว ผมก็ต้องขอภัยมา  ณ ที่นี้ด้วยครับ..
ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นนะครับ ::014::
หลายๆท่าน อาจจะสงสัยว่า ผมเอาเวลาไหนไปทำนา ???
คืออย่างนี้ครับ ผมเรียนไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า ผมทำเสาร์ อาทิตย์ ตอนเช้า เย็นครับ
ผมทำนาปีครับ เป็นนาหว่าน ไม่ใช่นาดำ ผมทำนา 90 ไร่ ผมจัดการดังนี้ครับ
30 ไร่แรก ผมหว่านอาทิตย์ที่ 1  อีกอาทิตย์ต่อมา ก็หว่านอาทิตย์ที่ 2 และอาทิตย์ที่ 3 ตามลำดับ ไม่ต้องสงสัยนะครับว่า 30 ไร่ ทำวันเดียวได้อย่างไร  ::005::
การบริหารระยะเวลาดังกล่าว มันจะมีผลถึงช่วงเก็บเกี่ยวด้วยครับคือ ข้าวมันจะสุกไม่พร้อมกัน ;)เวลาฉีดยา ผมก็จ้างเค้าครับ เลือกคนที่ไว้ใจ ไม่ต้องไปคุม หว่านปุ๋ยก็เช่นกัน พวกนี้ เค้ามีทีมครับ 4 - 5 คน วันเดียวก็เรียบร้อย
          เช้า-เย็นที่ผมว่าคือ  
        ตอนเช้า 6 โมงเช้า ผมเดินตรวจสภาพที่นากับข้าวที่หว่าน ว่าเป็นอย่างไรจะได้ดำเนินการได้ (ถือเป็นการออกกำลังกายไปในตัว)7 โมงครึ่งกลับมาอาบน้ำแต่งตัว ไปทำงาน(ห่างจากบ้าน 4 กม.)รถยนต์วิ่งแป๊บเดียวถึงครับ
        ส่วนช่วงเย็น เลิกงาน 4 โมงครึ่ง ผมก็ไปดูใหม่ครับ อีกแปลงหนึ่ง เดินวันละ กิโลฯเป็นการออกกำลังกายไปในตัว
        ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว สมช.ทุกท่านเชื่อไหมครับว่า รถเกี่ยวสมัยใหม่ สมรรถนะในการทำงาน ได้วันละเท่าไหร่ ครับ วันละ 50 ไร่สบายๆ แล้วแต่ความสามารถของคนขับครับ
ฉะนั้น ไม่ต้องสงสัยนะครับว่า การทำนาสมัยใหม่มันง่ายแค่ไหน ที่สำคัญ ขอให้มีน้ำสำหรับปลูกข้างก็พอ ข้าวไม่งามก็อัดปุ๋ยเข้าไปครับ ::005::
        เกษตรกรสมัยใหม่ เค้ามีคำพูดอยู่ว่า
"ทำนาวันเดียว" ความหมายคือขั้นตอนละวัน(หว่าน เก็บเกี่ยว)ก็เสร็จครับ
"ทำนาคนเดียว"คือสามีทำคนเดียวก็ได้ ส่วนภรรยาไม่ต้องช่วยครับ ::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 03, 2010, 12:48:25 PM
คำตอบมันมีอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว ::004::

การใช้ชีวิตที่ฟุ่มเฟือย ::006::
การใช้ชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ ไม่รู้จักประมาณตน
ที่สำคัญ ตำข้าวสารกรอกหม้อ  ยังพบได้ในชุมชนเกษตรของไทย ::004::
หมดฤดูทำนา เข้าป่าอ้อย เข้าป่าข้าวโพด เก็บถั่วรับจ้าง เบิกเงินนายทุนมากินก่อน แล้วถึงไปทำงานใช้เงินเค้า ::006::เงินหมดก็ออกหางานใหม่ ::004::ไอ้จะมีเงินเก็บอย่าหวัง
ปีหนึ่งๆ รายได้หลายหมื่นบาท แต่การฟุ้งเฟ้อ ทำให้ไม่มีเงินเก็บ ::005::

ชาวนามาตอบเองเลยครับ ว่าทำไมชาวนาถึงได้ยังยากจนอยู่... คำตอบตามข้างบน...

นายสมชายมีประเด็นให้ตัวเองคิดต่อ ว่าในเมื่อ"ทำนาเดี๋ยวนี้มันง่าย" ง่ายแค่ไหน ง่ายถึงขั้นที่ข้าราชการท่านหนึ่งสามารถใช้เวลาว่างจากงานประจำมาทำนา... แล้วชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวเขาเอาเวลาไปไหนเสียหมดตั้งหลายชั่วโมงต่อวันเล่าครับ... แฮ่ๆ...
อ่านดูแล้วก็ได้แต่ร้องอ๋อ ทำมัยคุณพี่ท่านนี้ถึงได้มีเวลามาทำนาได้ เพราะเวลาราชการแท้ๆ คุณพี่ยังมีเวลามานั่งโพสต์กระทู้นี้อยู่เลย ข้าราชการหน่วยไหนของสาธารณสุขหรือครับเนี่ยะ???
แต่ถ้าเป็นวันหยุดของท่านดังกล่าว ผมก็ต้องขอภัยมา  ณ ที่นี้ด้วยครับ..

เอ่อ... คุยกันแบบนี้ชักไม่อยากคุยด้วยแล้วครับ... หากจะออกลูกค่อนแคะใคร ก็ไม่ควรอ้างถึงข้อความของผู้อื่นมาเป็นตัวนำเรื่องนะครับ...

ใครเขาจะใช้เวลาในเวลาราชการมา Post อะไรนั่นเป็นเรื่องของเขาบริหารจัดการเวลา, ในกระทู้นี้กำลังคุยกันเรื่องชาวนาฯ หากจ้องจับผิดกันทุกเรื่องมันก็สามารถจับผิดกันได้ทั้งนั้นแหละ... ตัวอย่างเช่นเห็นคนไทยไปทำงานที่เกาหลี หากมองแง่ดีก็สู้อุตส่าห์ยอมพลัดที่นาคาที่อยู่ไปทำมาหากินให้ชาติอื่นรับรู้ความสามารถคนไทย เป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ, แต่ถ้ามองแง่ไม่ดี มันก็สามารถค่อนแคะได้ว่าเป็นคนไทย ทำไมไม่ใช้ความรู้ความสามารถตนเองสร้างประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย...

ดังนั้นหากจ้องจะค่อนแคะ มันก็มีเรื่องได้ทั้งนั้นแหละ... ทุกคนมีเหตุผลของตนเอง, หากค่อนแคะแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไรแก่ชีวิต ไม่ได้ประโยชน์อะไรแก่สังคม ไม่น่าจะค่อนแคะให้ผู้อื่นรู้สึกพิลึก...
+1 ท่านสมชายครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 03, 2010, 12:57:44 PM
คำตอบมันมีอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว ::004::

การใช้ชีวิตที่ฟุ่มเฟือย ::006::
การใช้ชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อ ไม่รู้จักประมาณตน
ที่สำคัญ ตำข้าวสารกรอกหม้อ  ยังพบได้ในชุมชนเกษตรของไทย ::004::
หมดฤดูทำนา เข้าป่าอ้อย เข้าป่าข้าวโพด เก็บถั่วรับจ้าง เบิกเงินนายทุนมากินก่อน แล้วถึงไปทำงานใช้เงินเค้า ::006::เงินหมดก็ออกหางานใหม่ ::004::ไอ้จะมีเงินเก็บอย่าหวัง
ปีหนึ่งๆ รายได้หลายหมื่นบาท แต่การฟุ้งเฟ้อ ทำให้ไม่มีเงินเก็บ ::005::

ชาวนามาตอบเองเลยครับ ว่าทำไมชาวนาถึงได้ยังยากจนอยู่... คำตอบตามข้างบน...

นายสมชายมีประเด็นให้ตัวเองคิดต่อ ว่าในเมื่อ"ทำนาเดี๋ยวนี้มันง่าย" ง่ายแค่ไหน ง่ายถึงขั้นที่ข้าราชการท่านหนึ่งสามารถใช้เวลาว่างจากงานประจำมาทำนา... แล้วชาวนาที่ทำนาอย่างเดียวเขาเอาเวลาไปไหนเสียหมดตั้งหลายชั่วโมงต่อวันเล่าครับ... แฮ่ๆ...
อ่านดูแล้วก็ได้แต่ร้องอ๋อ ทำมัยคุณพี่ท่านนี้ถึงได้มีเวลามาทำนาได้ เพราะเวลาราชการแท้ๆ คุณพี่ยังมีเวลามานั่งโพสต์กระทู้นี้อยู่เลย ข้าราชการหน่วยไหนของสาธารณสุขหรือครับเนี่ยะ???
แต่ถ้าเป็นวันหยุดของท่านดังกล่าว ผมก็ต้องขอภัยมา  ณ ที่นี้ด้วยครับ..
ขอบคุณสำหรับคำติชมครับ ไม่ใช่เฉพาะสาธารณสุขหรอกครับ ที่ทำเกษตร ตำรวจ ทหาร ครู ก็มีมากมายครับ
ดูได้จากเวปนี้ http://kasetporpeang.com/porpeang_agreement.htm (http://kasetporpeang.com/porpeang_agreement.htm)
บอกแล้วครับว่า ใช้เงินจ้างคนครับ  ไม่ต้องลงมือเองทุกขั้นตอน ::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ ธันวาคม 03, 2010, 01:49:46 PM
คนใช้สมองทำงานก็สบายแบบนี้แหละ   แบบนี้ต้องเรียกว่า  "ใช้เงินทำงาน"   ::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: prawin -รักในหลวง- ที่ ธันวาคม 03, 2010, 09:12:09 PM
อยากให้อาชีพชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน และเกษรกรอื่นๆ  มีสส.เป็นของตนเองครับ จะได้คอยรักษาผลประโยชน์ให้กับพี่น้องเหล่านั้น

ถ้าหากเกษตรกรทั้งหลายไม่สามารถรวมตัวกันได้ จะมีใครที่จะมีความจริงใจในการชวยเหลือเกษตรกรเหล่านั้น (พ่อค้าคนกลางคงไม่ช่วย) อดีตที่ผ่านมากับปัจจุบันนี้ก็เห็นๆกันอยู่


ผมคิดว่าถ้าเกษตกรทั้งหลายมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี กิจการอาชีพอื่นๆก็จะดีตามไปด้วย รวมถึงประเทศก็จะสงบสุขครับ  อิอิ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: แจ็ค ที่ ธันวาคม 03, 2010, 10:05:34 PM

.... ปีนี้ถือได้ว่าดีขึ้นมากแล้วนะครับผม  ราคาข้าวก็ดี  ข้าวโพดก็ดี ดีจนไม่ได้รับเงินประกันรายได้เลยสำหรับข้าวโพด แล้วก็ข้าวเหนียว ราคาสูงอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน .... จากนี้ไปถ้าเกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยที่ทำใช้เองบ้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย  และรู้จักพอประมาณก็คงอยู่ได้อย่างสบาย (ปีหน้าผมก็จะทำนาเองแล้วครับผม) ....  


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ ธันวาคม 04, 2010, 10:05:51 AM

.... ปีนี้ถือได้ว่าดีขึ้นมากแล้วนะครับผม  ราคาข้าวก็ดี  ข้าวโพดก็ดี ดีจนไม่ได้รับเงินประกันรายได้เลยสำหรับข้าวโพด แล้วก็ข้าวเหนียว ราคาสูงอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน .... จากนี้ไปถ้าเกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยที่ทำใช้เองบ้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย  และรู้จักพอประมาณก็คงอยู่ได้อย่างสบาย (ปีหน้าผมก็จะทำนาเองแล้วครับผม) ....  

... เอาใจช่วย ... ขอให้ราคาสินค้าการเกษตรทุกอย่าง ดีขึ้น ทุก ๆ ปี ครับ ...  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กาสะลอง ที่ ธันวาคม 04, 2010, 11:04:33 AM
อ่าน คคห. ของบางท่านแล้ว รู้สึกจุกเจ็บจริงๆครับ   เนื่องจากคนรุ่นปู่ย่าตายายผมขึ้นไป ทำนา ทำสวนกัน  ย่าผมมีลูก ๗ คน ยายผมลูก ๓  ย่าผม ทำนาทำสวน เลี้ยงหมูกับไก่ รายจ่ายก็มีแค่ น้ำมันตะเกียง กับ เกลือ น้ำตาล น้ำปลา  สมัยนั้น ฝนตก น้ำท่วม ถูกต้องทุกปี  แมลง หนู หอยเชอรี่ไม่ค่อยมี ได้มากได้น้อยก็ผ่านไปได้ทุกปี บวชลูกได้ทุกคน   เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเจริญศิวิไลซ์  ธรรมชาติผิดเพี้ยนโยนกันไปมา หาคนรับผิดชอบไม่ได้  คนที่พึ่งพาธรรมชาติมากก็ต้องกระทบมาก

พอมารุ่นพ่อผม ก็ทำนา แต่กินขายไม่พอใช้  อาจเป็นเพราะสังคมมันเปลี่ยน เงินทองมีความสำคัญมากขึ้น สุดท้ายก็ต้องเข้ากรุงเทพมาหางานทำ  มีครอบครัว มีภาระ วิถีชีวิตแบบคนเมือง  ที่ดินก็ขายให้โรงสีที่อยู่ติดกัน

คำว่าขี้เกียจ หรือเกียจคร้าน ถ้าใช้กับคนๆนึงคือคำตำหนิพอรับฟังได้  แต่ถ้าเอามาใช้กับคนหมู่มาก ผมคิดว่ามันไม่สมควรครับ  เราควรมองภาพรวมว่า กลไกอะไรที่ผลักดันและดึงให้คนเป็นเช่นนั้น  คนเรามีกิเลสพอๆกันทั้งนั้นแหละ  ถ้าเป็นชาวนามีที่ ๕ไร่ แต่ต้องอดออมถึงจะอยู่รอด กับเป็นมนุษย์เงินเดือนธรรมดากลางๆมีบ้าน ๕๐ ตารางวา แล้วต้องเลือกผมว่าน้อยนักที่จะเลือกเป็นชาวนา  หรืออย่างเรารณรงค์ให้ทำโน้นทำนี่  แต่คนทำต้องลำบาก  มันก็พอได้ผลบ้างตอนแรกๆเท่านั้นแหละ  ถ้าไม่สร้างกลไกอะไร มันไปต่อไม่ได้หรอกครับ

สมัยก่อนเราเป็นเกษตรกันทั้งประเทศ  เพื่อนบ้านก็จนพอกัน  เงินทองมีนิดหน่อยก็อยู่ได้   พอเราไปเปิดโลกทัศน์เห็นประเทศอื่นเขาเจริญ เราก็อยากเจริญทันสมัยแบบเขาบ้าง  วัตถุนิยมที่หลับอยู่ในจิตใจก็ออกมาทันที  อุตสาหกรรม ส่งออก ท่องเที่ยว เอาหมด   กดราคากันเอง  ว่ากันตั้งแต่ข้าราชการ  แรงงาน เกษตร เพื่อลดต้นทุนการพัฒนาประเทศเอาไว้  กดนานจนลืมและชินชา  ที่จะต้องแก้ไข ไม่งั้นข้าราชการจะไม่มีคนทำ  แรงงานก็ต้องเอาต่างด้าวมาแทน  ชาวนาก็ต้องขายกิจการหรือให้คนเช่า

ถ้ามีคนจะไหลออกก็อย่าว่ากันเลยครับ  คนธรรมดาทั่วๆไป มีธรรมชาติที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเป็นนิสัยอยู่แล้ว  ถ้าเขาต้องเปลี่ยนแปลง  แสดงว่ามันไม่ไหวจริงๆ  ::014::

  ::014::   เคยเห็น เคยทำมาตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ จนท้ายสุด บอกว่า ฉันจะเป็นชาวนารุ่นสุดท้าย   ::014::

เพราะฉะนั้นอย่าไปถามเลยครับว่า ทำไม ??? ชาวนาไทยยังยากจน ::004::

  นับถือพี่ renold:รักในหลวง ตอนนี้ ผมพยายามกลับไป ทำไร่ทำนาอีก เพราะองค์ความรู้ที่เรามี ทำให้แนวคิดเปลี่ยนไป พี่renold:รักในหลวง ทำได้เพราะพี่มีความรู้ไงครับ บ้านเราชาวนา ชาวสวนอีกมาก ที่ขาดความรู้ที่จะไปแตกยอด  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ ธันวาคม 04, 2010, 11:53:44 AM

        เกษตรกรสมัยใหม่ เค้ามีคำพูดอยู่ว่า
"ทำนาวันเดียว" ความหมายคือขั้นตอนละวัน(หว่าน เก็บเกี่ยว)ก็เสร็จครับ
"ทำนาคนเดียว"คือสามีทำคนเดียวก็ได้ ส่วนภรรยาไม่ต้องช่วยครับ ::002::
ว่าไปท่านเรโนลด์ มีที่ดินเป็นของตัวเอง ไม่ต้องเช่า  ไม่ลองปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ดูบ้างเหรอครับ
ชาวนาที่เช่านาเขาทำ ไม่กล้าทำอินทรีย์เพราะกลัวว่าปีหน้าอาจไม่ได้เช่าแปลงเดิม  ลงทุนฟรี

แต่ที่ดินตัวเอง ไม่น่าเป็นปัญหา


อันนี้ ยืนยันท่านเรโนลด์ครับ คน ตจว. เวลาวันหนึ่ง24ชั่วโมง เยอะกว่าคน กทม.ครับ
แค่เวลาที่รถติดใน กทม. ช่วงมาทำงานและกลับบ้าน คน ตจว.ทำอะไรได้เยอะ
ผมเคยคุยโทรกับเพื่อนตจว.ตอนอยู่ในรถขณะกลับบ้านตอนเย็น เขาคุยไปเก็บยอดชะอมไป
ผมยังไม่ถึงบ้านเลย เขาเก็บเสร็จแล้ว ขอวางสายเพื่อทำการมัดช่อชะอมส่งตลาด
เวลานั้นต้องใช้สองมือ ไม่สามารถถือโทรคุยได้เหมือนตอนเก็บ แค่กรรไกรตัดใส่ตะกร้าทำมือเดียวได้

อ้อ..เขาเก็บชะอมพอขายส่งกำละ2บาท ได้สัก300บาท ทุกวัน


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ ธันวาคม 04, 2010, 12:18:52 PM
Ha H a  ฮา  ยายคิดว่า ข้อมูลด้านล่าง  น่าจะบอกอะไรเราได้บ้างน๊ะคร๊า  ฮา

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1291437575&grpid=00&catid=&subcatid= (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1291437575&grpid=00&catid=&subcatid=)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: sig_surath7171 ที่ ธันวาคม 04, 2010, 01:28:18 PM
เปิปข้าว (http://www.youtube.com/watch?v=TpfyTm_bir8#)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: sig_surath7171 ที่ ธันวาคม 04, 2010, 01:31:32 PM
แฮมเมอร์ (Hammer) / ลูกสาวชาวนา (http://www.youtube.com/watch?v=iOCREDjnu84#)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: sig_surath7171 ที่ ธันวาคม 04, 2010, 01:35:51 PM
แฮมเมอร์ (Hammer) / นาแล้ง (http://www.youtube.com/watch?v=wwad1VPYajM#)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 04, 2010, 09:47:45 PM

        เกษตรกรสมัยใหม่ เค้ามีคำพูดอยู่ว่า
"ทำนาวันเดียว" ความหมายคือขั้นตอนละวัน(หว่าน เก็บเกี่ยว)ก็เสร็จครับ
"ทำนาคนเดียว"คือสามีทำคนเดียวก็ได้ ส่วนภรรยาไม่ต้องช่วยครับ ::002::
ว่าไปท่านเรโนลด์ มีที่ดินเป็นของตัวเอง ไม่ต้องเช่า  ไม่ลองปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ดูบ้างเหรอครับ
ชาวนาที่เช่านาเขาทำ ไม่กล้าทำอินทรีย์เพราะกลัวว่าปีหน้าอาจไม่ได้เช่าแปลงเดิม  ลงทุนฟรี

แต่ที่ดินตัวเอง ไม่น่าเป็นปัญหา


อันนี้ ยืนยันท่านเรโนลด์ครับ คน ตจว. เวลาวันหนึ่ง24ชั่วโมง เยอะกว่าคน กทม.ครับ
แค่เวลาที่รถติดใน กทม. ช่วงมาทำงานและกลับบ้าน คน ตจว.ทำอะไรได้เยอะ
ผมเคยคุยโทรกับเพื่อนตจว.ตอนอยู่ในรถขณะกลับบ้านตอนเย็น เขาคุยไปเก็บยอดชะอมไป
ผมยังไม่ถึงบ้านเลย เขาเก็บเสร็จแล้ว ขอวางสายเพื่อทำการมัดช่อชะอมส่งตลาด
เวลานั้นต้องใช้สองมือ ไม่สามารถถือโทรคุยได้เหมือนตอนเก็บ แค่กรรไกรตัดใส่ตะกร้าทำมือเดียวได้

อ้อ..เขาเก็บชะอมพอขายส่งกำละ2บาท ได้สัก300บาท ทุกวัน

::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 04, 2010, 10:09:52 PM

        เกษตรกรสมัยใหม่ เค้ามีคำพูดอยู่ว่า
"ทำนาวันเดียว" ความหมายคือขั้นตอนละวัน(หว่าน เก็บเกี่ยว)ก็เสร็จครับ
"ทำนาคนเดียว"คือสามีทำคนเดียวก็ได้ ส่วนภรรยาไม่ต้องช่วยครับ ::002::
ว่าไปท่านเรโนลด์ มีที่ดินเป็นของตัวเอง ไม่ต้องเช่า  ไม่ลองปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ดูบ้างเหรอครับ
ชาวนาที่เช่านาเขาทำ ไม่กล้าทำอินทรีย์เพราะกลัวว่าปีหน้าอาจไม่ได้เช่าแปลงเดิม  ลงทุนฟรี

แต่ที่ดินตัวเอง ไม่น่าเป็นปัญหา


อันนี้ ยืนยันท่านเรโนลด์ครับ คน ตจว. เวลาวันหนึ่ง24ชั่วโมง เยอะกว่าคน กทม.ครับ
แค่เวลาที่รถติดใน กทม. ช่วงมาทำงานและกลับบ้าน คน ตจว.ทำอะไรได้เยอะ
ผมเคยคุยโทรกับเพื่อนตจว.ตอนอยู่ในรถขณะกลับบ้านตอนเย็น เขาคุยไปเก็บยอดชะอมไป
ผมยังไม่ถึงบ้านเลย เขาเก็บเสร็จแล้ว ขอวางสายเพื่อทำการมัดช่อชะอมส่งตลาด
เวลานั้นต้องใช้สองมือ ไม่สามารถถือโทรคุยได้เหมือนตอนเก็บ แค่กรรไกรตัดใส่ตะกร้าทำมือเดียวได้

อ้อ..เขาเก็บชะอมพอขายส่งกำละ2บาท ได้สัก300บาท ทุกวัน

ขอบคุณท่านsubฯนะครับ ที่กรุณาแนะนำ
       ผมจะท้าวความให้ฟังครับ ที่ดินผม ๆซื้อราวๆปี2549 ครับ ที่ซื้อเพราะทำเลครับ เป็นที่ติดถนนราดยาง ห่างจากบ้านผม ไม่ถึงกิโล แต่อยู่ระหว่างบ้านผมกับที่ทำงาน แปลงแรกซื้อ 16 ไร่ ราคาแค่ 10k/ไร่ เพราะเจ้าของเค้าต้องการเงินไปใช้หนี้ค่าค้างชำระงวดรถยนต์ ไม่กี่เดือนต่อมา แปลงติดกันด้านตะวันตกอีก 22 ไร่ เจ้าของเค้ามาติดต่อขายในราคาเดียวกัน จ่ายเงินสองงวดๆละ 1 ปี
       อีก 2 ปีถัดมา แปลงทิศตะวันตกของแปลงแรก เจ้าของเค้าก็ขายให้อีก 22 ไร่ ในราคาไร่ละ 15k
สมช.ทุกท่านเชื่อหรือไม่ครับ ว่าที่นาสามแปลงติดกัน เป็นสามแถว สภาพดินนี่คนละเรื่องเลยครับ แปลงแรก ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ทำนาได้ข้าวทุกปี แปลงที่สองนี่เป็นดินทราย แต่เดิม ปล่อยรกร้างว่างเปล่า หญ้ายังไม่ขึ้นเลยครับ มีการเผาหน้าดินทุกปี ให้เขาเช่าทำนา 22 ไร่ ได้ข้าว 6 กระสอบป่าน ::005::ส่วนแปลงที่สาม พอไปได้ครับ  ::005::
     


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 04, 2010, 10:31:29 PM
ผมให้เขาเช่าทำอยู่ 2 ปี มานั่งปรึกษากาแฟน เลยตกลงลองทำนากันเอง แต่แรกผมก็กลัวครับ กลัวความลำบาก แต่ขัดใจแฟนไม่ได้ ::001:: เลยลองดูครับ ::002::
      ประเดิม ให้เขาขุดบ่อน้ำก่อนเลยครับ พอดีพวกรับเหมาเขาต้องการดิน เลยให้ดินเขาฟรีๆ แต่เราได้บ่อน้ำ บ่อกว้างประมาณ 2 งาน ความลึกไม่ทราบครับ ทราบแต่ว่า รถแบ็คโฮขนาดใหญ่ ลงไปขุด 2 ช่วงแขนของรถ :o ขนาดเดือนเมษาที่ว่าแล้งๆ ลงไปหยั่งพื้น ยังไม่ถึงเลยครับ ;D ชาวบ้านบางคนตำหนิผมว่า ขุดบ่อทำไม เปลืองเนื้อที่เปล่าๆ ::009::
เสร็จแล้ว แฟนไปซื้อรถไถนาคูโบต้า 45 แรงม้าให้อีกคัน (ไหนๆก็จะเป็นเกษตรกรกับเค้าแล้ว)
วันที่ร้านเอารถมาส่ง ผมยังจำภาพติดตา ใครๆก็ตกใจ หมอออกรถไถใหม่ (มันจะไหวเร๊อ!) ขับไปไหนมาไหน ใครๆก็แซว ปีนี้ท่ามันจะแล้วซะกระมัง ::007::
      ได้รถมาก็ขยันครับ 5 โมงเย็น ขับรถลงนา ไถกลบฟางครับ เอาปุ๋ยอินทรีย์ครับ ซึ่งมันก็ได้ผล ปีต่อๆมาดินเริ่มมีสีดำจากเศษซังข้าวที่หมักเอาไว้ ::002::     
      คอกวัวหลังบ้าน ขี้วัวแห้งถมไป จัดการจ้างคนเลี้ยงวัว ::002:: เอาขี้วัวใส่กระสอบปุ๋ย ลูกละ 5 บาท แล้วขนไปเทที่ ที่นาอันแสนจะแห้งแล้ง ::012::ได้ผลครับ ต้นข้าวงามมากๆ งามจนแทบจะท่วมหัว :OO  แต่มันงามไม่หมดทั้งแปลง  :OO เพราะเราเอาไปเทไม่ทั่วทั้งแปลง  ::005::
      ไม่เป็นไร ปีหน้าเอาใหม่ แฟนเลยสั่งขี้ไก่จากฟาร์มมา หนึ่งคันรถหกล้อ ถมมันลงไป ::005:: ::005::
      ส่วนคันนาที่ดันใหม่ๆ ผมเอาต้นสักมาปลูกครับ ตายมั่ง รอดมั่ง เนื่องจากน้ำท่วมราก ปีหน้าค่อยปลูกซ่อมกันใหม่ ::008::
      ฤดูทำนา ผมทำเองบ้าง บางทีวันราชการ พ่อตาผมจะมาขับรถไถให้ แต่การหว่านข้าว ยังคงจ้างคนหว่าน กระสอบละ 100 บาท หลังเลิกงาน ผมถึงไปเปลี่ยนพ่อตาขับรถไถ ::005::
ปุ๋ยที่ผมใช้ นอกจากจะเป็นยูเรียแล้ว ก็มีปุ๋ยอินทรีย์ มูลค้างคาวเป็นต้น อนาคตคิดว่าจะปลูกผักบ้าง ::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: โทน73 -รักในหลวง- ที่ ธันวาคม 04, 2010, 10:39:09 PM
อ่านตั้งนาน ขอเข้ามาแสดงความเห็นบ้าง

ที่ว่ายากจน นั้นจนจริงไหม ?
ส่วนตัวแล้วคิดว่า ชาวนาไทย ไม่จน ครับ แต่บังเอิญใช้จ่ายอย่างตึงมือไปหน่อย  ไม่งั้นบ้านเราไม่ขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือจนต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาหรอก  ก็เพราะคนของเราแม้จะมีเงินน้อยยังมีทางเลือกให้เลี่ยงงานได้  แบบจนเงินแต่ยังมีข้าวกินมีหลังคาคุ้มหัว

จากกระทู้เบื้องต้น มีการพูดถึง ภาวะการว่างงานแอบแฝง ในหมู่ชาวนาไทย  ถ้ามองอีกมุมก็ถือว่า เขาได้เสพจากการบริโภควันหยุดไปแล้ว คือได้สละรายได้ที่ควรจะได้ มาเลือกวันหยุด  .... แล้วอย่างนี้จะถือว่าจนเหรอ  

หรืออีกส่วนจะว่า  ชาวนา ไม่เข้าใจระบบทุนนิยม ระบบการตลาดแบบทุนนิยม แล้วเอาตัวตนเข้าไปสู่ระบบนั้น จนกลายเป็นคนรู้ไม่เท่าทันระบบ  ในเมื่อระบบวัดเงินตรา เป็นความมั่งคั่ง  ชาวนาก็ย่อมจะตกในสภาวะยากจน ไปทันที

แต่ถ้าระบบถือ ข้าวปลา อาหาร เป็นความมั่งคั่ง  ชาวนาจะเป็นผู้รวยโดยทันที  

น่าเสียดายที่หลายราย เดินตามระบบทุนนิยม จนละทิ้งความมั่งคั่งทางอาหาร มั่งคั่งทางจิตใจ ออกไป  กลายเป็นจะฝั่นตัวเข้าสู่โลกทุนนิยมก็ไปไม่ได้ เพราะพื้นฐานตนเองไม่พร้อม  แล้วจะกลับมามั่งคั่งแบบปู่ย่าตาทวด ก็ไม่ได้ เพราะละทิ้งรูปแบบการดำเนินชีวิตเดิมๆไปหมดแล้ว
ลงแขก ก็ต้องจ้าง ปุ๋ยก็ซื้อ หว่านก็จ้าง จนกระทั้งเกี่ยว-ขายก็จ้าง  ยุ้งข้าวก็ไม่มีกันแล้ว ก่อนฤดูทำนา ชาวนาไม่ได้ไปดูที่ ดูดิน น้ำท่า เหมือนอดีต แต่ต้องเปิดสมุดนามบัตรก่อน เปิดหานามบัตรคนระบจ้างไถ  พ่นยา  รถเกี่ยว  ฯลฯ  ไม่ต่างจากนักธุรกิจ

เคยไปงานเลี้ยงขอบคุณของบริษัทขายยาฆ่าแมลง  เป็นงานระดับตำบลออกบัตรเชิญชาวนาทั้วตำบล  จัดโต๊ะจีนเกือบสองร้อยโต๊ะ คนมาร่วมงานทั่ว  ในงานมีการจัดเลี้ยงอาหารและ โฆษณาจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้า  เห็นซื้อกันแทบทุกคน อย่างต่ำๆคนไม่ค่อยมีเงินก็ควักกัน 4-5 พันบาท คนมีเงินหน่อยก็ยอดซื้อคนละ สองสามหมื่นบาท  เห็นซื้อกันแทบทุกคน งานนั้นคาดว่ามีรายได้ไม่ต่ำกว่ายี่สิบล้านบาท แล้วก็มีการจับสลากจากหางบัตร (บัตรฟรี) แจกรางวัลกันทั่วไม่มีใครไม่ได้ของรางวัลกลับบ้านเลย ได้กันแทบทุกคนได้มากน้อยต่างกันไป  แล้ว ใครละมาสูบเงินจากชาวนาไป

ใครว่าชาวนาจน  งานบวช  งานบุญ งานแต่ง ตลอดจนงานศพ  ชาวนาไทย จัดงานไม่ด้อยกว่าคนไทยที่ประกอบอาชีพอื่น  และอาจจะยิ่งใหญ่กว่ากลุ่มเพื่อนเกษตรกรร่วมโลกด้วยซ้ำไป

ที่สำคัญ  อย่าพยายาม เอาระบบการกู้ยื้มผ่านธนาคาร  ทั้ง ธกส. สหกรณ์  มาให้ชาวนาไทย  เพราะหลายส่วนไม่พร้อม  ที่จะเข้าระบบการตลาดทุนนิยม  ลองดูประวัติศาสตร์ดูสิ  ตั้งแต่มีสถาบันทางการเงินให้เกษตรกรกู้ยืม  ความมั่งคั่งของชาวนามีแต่ลดลง  การถือครองที่ดินก็ลดลง

เดี๋ยวมีต่อ  :)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 04, 2010, 10:43:47 PM
ที่ผมกล้าลงทุน เพราะว่า
1. ที่ดินเป็นของตนเอง(ชาวนาบางคนต้องเช่า)
2.จำนวนที่ดินมากพอ ทำให้เหลือเก็บเงินที่ขายผลผลิตทางการเกษตรบ้างจำนวนหนึ่ง(ชาวนาที่ทำนาน้อย จะเหลือเงินเก็บน้อยมา)
3.ราคาข้าวทุกวันนี้ ทำให้คุ้มกับการลงทุน
4.งานประจำเราไม่เสีย(ตามรอยพ่อหลวง)เหมือนนายตำรวจสัญญาบัตรที่ไปเปิดเขียงเนื้อในตลาด
5.ทำการเกษตรแบบสมัยใหม่ที่เราค้นคว้าจากเน็ตและจากการสอบถาม(ชาวนาบางกลุ่ม ยังอยู่ในวังวนของการเกษตรแบบเดิมๆ)
แต่ที่กล่าวมา ไม่ใช่ว่า ไม่มีชาวนาไทยที่ร่ำรวยนะครับ สมัยนี้ชาวนาหันมาทำเกษตรสมัยใหม่แบบผมก็เยอะครับ มีส่วนน้อยที่ยังคงทำแบบเดิมๆ แล้วแต่โอกาสของแต่ละคนครับ
        ราคาพืชผลทางการเกษตรปีนี้ดีมากครับ บางคนปลูกข้าวโพด 100 ไร่ ขายข้าวโพดได้ 2-3 แสนบาท ทำนาอีก 100 ไร่ ขายข้าวได้ 7 -8 แสนบาท เงินที่ได้มา เอาไปซื้อที่ดินจากบรรดานายทุนในพื้นที่คืนมาก็เยอะครับ ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 04, 2010, 11:03:12 PM
อ่านตั้งนาน ขอเข้ามาแสดงความเห็นบ้าง

ที่ว่ายากจน นั้นจนจริงไหม ?
ส่วนตัวแล้วคิดว่า ชาวนาไทย ไม่จน ครับ แต่บังเอิญใช้จ่ายอย่างตึงมือไปหน่อย  ไม่งั้นบ้านเราไม่ขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือจนต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาหรอก  ก็เพราะคนของเราแม้จะมีเงินน้อยยังมีทางเลือกให้เลี่ยงงานได้  แบบจนเงินแต่ยังมีข้าวกินมีหลังคาคุ้มหัว

จากกระทู้เบื้องต้น มีการพูดถึง ภาวะการว่างงานแอบแฝง ในหมู่ชาวนาไทย  ถ้ามองอีกมุมก็ถือว่า เขาได้เสพจากการบริโภควันหยุดไปแล้ว คือได้สละรายได้ที่ควรจะได้ มาเลือกวันหยุด  .... แล้วอย่างนี้จะถือว่าจนเหรอ 

หรืออีกส่วนจะว่า  ชาวนา ไม่เข้าใจระบบทุนนิยม ระบบการตลาดแบบทุนนิยม แล้วเอาตัวตนเข้าไปสู่ระบบนั้น จนกลายเป็นคนรู้ไม่เท่าทันระบบ  ในเมื่อระบบวัดเงินตรา เป็นความมั่งคั่ง  ชาวนาก็ย่อมจะตกในสภาวะยากจน ไปทันที

แต่ถ้าระบบถือ ข้าวปลา อาหาร เป็นความมั่งคั่ง  ชาวนาจะเป็นผู้รวยโดยทันที 

น่าเสียดายที่หลายราย เดินตามระบบทุนนิยม จนละทิ้งความมั่งคั่งทางอาหาร มั่งคั่งทางจิตใจ ออกไป  กลายเป็นจะฝั่นตัวเข้าสู่โลกทุนนิยมก็ไปไม่ได้ เพราะพื้นฐานตนเองไม่พร้อม  แล้วจะกลับมามั่งคั่งแบบปู่ย่าตาทวด ก็ไม่ได้ เพราะละทิ้งรูปแบบการดำเนินชีวิตเดิมๆไปหมดแล้ว
ลงแขก ก็ต้องจ้าง ปุ๋ยก็ซื้อ หว่านก็จ้าง จนกระทั้งเกี่ยว-ขายก็จ้าง  ยุ้งข้าวก็ไม่มีกันแล้ว ก่อนฤดูทำนา ชาวนาไม่ได้ไปดูที่ ดูดิน น้ำท่า เหมือนอดีต แต่ต้องเปิดสมุดนามบัตรก่อน เปิดหานามบัตรคนระบจ้างไถ  พ่นยา  รถเกี่ยว  ฯลฯ  ไม่ต่างจากนักธุรกิจ

เคยไปงานเลี้ยงขอบคุณของบริษัทขายยาฆ่าแมลง  เป็นงานระดับตำบลออกบัตรเชิญชาวนาทั้วตำบล  จัดโต๊ะจีนเกือบสองร้อยโต๊ะ คนมาร่วมงานทั่ว  ในงานมีการจัดเลี้ยงอาหารและ โฆษณาจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้า  เห็นซื้อกันแทบทุกคน อย่างต่ำๆคนไม่ค่อยมีเงินก็ควักกัน 4-5 พันบาท คนมีเงินหน่อยก็ยอดซื้อคนละ สองสามหมื่นบาท  เห็นซื้อกันแทบทุกคน งานนั้นคาดว่ามีรายได้ไม่ต่ำกว่ายี่สิบล้านบาท แล้วก็มีการจับสลากจากหางบัตร (บัตรฟรี) แจกรางวัลกันทั่วไม่มีใครไม่ได้ของรางวัลกลับบ้านเลย ได้กันแทบทุกคนได้มากน้อยต่างกันไป  แล้ว ใครละมาสูบเงินจากชาวนาไป

ใครว่าชาวนาจน  งานบวช  งานบุญ งานแต่ง ตลอดจนงานศพ  ชาวนาไทย จัดงานไม่ด้อยกว่าคนไทยที่ประกอบอาชีพอื่น  และอาจจะยิ่งใหญ่กว่ากลุ่มเพื่อนเกษตรกรร่วมโลกด้วยซ้ำไป

ที่สำคัญ  อย่าพยายาม เอาระบบการกู้ยื้มผ่านธนาคาร  ทั้ง ธกส. สหกรณ์  มาให้ชาวนาไทย  เพราะหลายส่วนไม่พร้อม  ที่จะเข้าระบบการตลาดทุนนิยม  ลองดูประวัติศาสตร์ดูสิ  ตั้งแต่มีสถาบันทางการเงินให้เกษตรกรกู้ยืม  ความมั่งคั่งของชาวนามีแต่ลดลง  การถือครองที่ดินก็ลดลง

เดี๋ยวมีต่อ  :)
พูดถึงแรงงาน เค้าเรียกว่า จนแต่หยิ่งครับ ไม่มีเงิน แต่ไม่ง้องาน ตัวอย่างเช่น ค่าจ้างรถเกี่ยวนวดข้าว  ไร่ละ 550 บาท เสร็จในขั้นตอนเดียว ม้วนเงินเข้ากระเป๋าเลย แต่ค่าจ้างแรงงานคนเกี่ยว ไร่ละ 400 - 500 บาท นั่นหมายถึงเกี่ยวอย่างเดียว ไหนจะค่าเลี้ยงน้ำ(เหล้า ยา) ค่ารถ ค่าจ้างมัดข้าวอีก มัดละ 2.50 บาท ค่าจ้างคนสีวันละ 200 บาท ค่าจ้างรถสี 25 บาท/กระสอบข้าวเปลือกที่สีได้ ค่าเลี้ยงดูอีก ซึ่งมันสิ้นเปลืองหนักเข้าไปอีก ทำให้ชาวนาหันไปพึ่งเครื่องจักรกลการเกษตรมากขึ้น
             เรื่องประเพณีดั้งเดิม เช่นการลงแขก การใช้ควายไถนา ซึ่งผมก็เป็นลูกชาวนา ก็ยอมรับว่ามันดีจริงๆครับ กรณีนาในเขตชลประทาน
แต่ถ้านอกเขตชลประทาน นั่นหมายถึงต้องพึ่งพาน้ำฝนอย่างเดียว มันก็ต้องการความรีบเร่งครับ ช้าไม่ได้ ช้ากว่าคนรอบข้างแค่อาทิตย์เดียว มันอาจจะหมายถึงปีนั้น รายได้จะลดลงครับ
             เช่น ฤดูการหว่านข้าว ถ้าเขาหว่านต้นเดือน คุณไปหว่านปลายเดือน ช่วงที่ฝนมาคุณอาจจะไม่ต้องการน้ำ เพราะคนอื่นเขาจะกักเก็บน้ำไว้ คุณจะปล่อยน้ำไปทางไหนก็ไม่ได้ เพราะมันเต็มหมดแล้ว  พอฤดูเก็บเกี่ยว ไม่ต้องการน้ำ คนอื่นเขาจะเปิดน้ำทิ้ง มาท่วมข้าวของคุณเช่นกัน


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: tap206_รักในหลวง ที่ ธันวาคม 04, 2010, 11:25:50 PM
ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นครับ...
ผมว่าวิธีการคิดสำคัญมาก......การจัดการ.....และทุน....
สามข้่อข้างบนแยกแยะได้หลายอย่าง.........................
คนอยู่บนภู......โดนจัดการให้มาอยู่ข้างล่า่ง(สมัยก่อน)ไปไม่รอด.....วิถีชีวิต..วิธีคิดไม่ยอมเปลี่ยน...
สำคัญต้องปรับตัว...และรู้เท่าทันโลกครับ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.........ชาวนาที่รวยก็มีครับ(แต่ไม่ใช่ผม)........


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ ธันวาคม 05, 2010, 12:50:22 AM
... ตามหัวข้อกระทู้ ... และที่ได้อ่านข้อมูลจากหลายแง่มุมของ สมช. ครับ ...  ::014::

... ลองพิจารณาดู อีก มุมมองหนึ่ง จากข้อมูล ข้างล่างนี้ ...   ;D

http://www.stockwave.in.th/economic-view/10134-kresh-300410.html (http://www.stockwave.in.th/economic-view/10134-kresh-300410.html)

http://www.ftawatch.org/all/news/18780 (http://www.ftawatch.org/all/news/18780)

... อ่านแล้วเหนื่อยแทนชาวนาและเกษตรกร ... กลไกของตลาด ... ปัจจัยภายในประเทศ ... นอกประเทศ ... เกี่ยวข้องยุ่งเหยิงกันไปทั้งสิ้น ...  ::014::

... แต่หาก ... ชาวนา/เกษตรกร ... ต้องการแค่เพียงพอ พออยู่ พอกิน ... ตามหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง หรือ ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ... ตามแนวพระราชดำริ ...

http://www.technicphrae.ac.th/filepdf/1167281163.pdf (http://www.technicphrae.ac.th/filepdf/1167281163.pdf)

... ก็คงจะดำรงวิถีชีวิตกันอยู่ได้แบบไม่ลำบากนัก ... ประกอบกับถ้ารัฐใส่ใจและจริงใจ ในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการเอารัดเอาเปรียบชาวนา ... การแสวงหาผลประโยชน์จากส่วนต่างราคาข้าวเปลือกและข้าวสาร ... ราค่าข้าวภายในประเทศและส่งออก ...

... สักวัน ชาวนา คงได้ลืมตาอ้าปาก ... เหมือน ชาวสวนยางพารา ...  และถ้าหากว่า ราคาข้าวเปลือกมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เหมือนดังเช่น ราคายางพาราในขณะนี้ ... ต่อไปในอนาคต ชาวนา ก็ คงจะไม่ใช่คนยากจน อีกต่อไป ... เพราะคนรวยคงจะหันมาทำนากันแล้วครับทีนี้ ...  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Ki-jang-aey ที่ ธันวาคม 05, 2010, 02:00:01 PM
คุณ renold ครับ... 

ผมเพิ่งจะได้เข้ามาอ่านต่อจากที่เคยโพสต์แซวไว้เมื่อสามวันก่อน....ขอเรียนว่าน่ายกย่องมากครับ.... ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002::
เป็นข้าราชการที่หารายได้เสริมจากการทำนา....หายากมากๆ นะครับ (ความคิดของผม) ในขณะที่ข้าราชการ (บางคน) นิยมไปหารายได้เสริมจากการทำเรื่องที่ผิดกฏหมายหรือผิดทำนองครองธรรม

คุณมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากเพราะมีพื้นฐานที่ดี ถือได้ว่ามีฐานะที่ดีเลยทีเดียว (ณ จุดเริ่มต้น) มากกว่าชาวนาส่วนใหญ่ของประเทศนี้ครับ...เช่น เรื่องที่ดิน, ตำแหน่งของที่ดิน ว่าระบบชลประทานสะดวกหรือไม่, ความคิดเรื่องเกษตรแนวใหม่, ปุ๋ย ฯลฯ

พอจะสรุปได้มั้ยครับว่า ตอนนี้รายได้จากการทำนาหรือรายได้จากงานประจำอย่างไหนเป็นรายได้หลักของครอบครัว?? จะได้เปลี่ยนสถานะเป็นชาวนาเต็มตัว

อีกสักสอง-สามปี ถ้าประสบความสำเร็จดีแล้ว....มาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ...

โดยส่วนตัว อยากจะตามไปเยี่ยมชมถึงที่เสียเลยด้วยซ้ำไป 

 ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย ที่ ธันวาคม 05, 2010, 06:04:14 PM
ข้าวราคาไม่ดีเป็นเพราะ supply มากกว่า demand พื้นที่ปลูกข้าวมี 60 ล้านไร่ เพียง 30-40 ล้านไร่ก็เพียงพอบริโภคในประเทศแล้ว(บริโภค30ล้านไร่เผื่อภัยธรรมชาติ10ล้านไร่) พืชเศรษฐกิจที่น่าปลูกในนาข้าวโดยปรับพื้นที่เป็นร่องสวนได้แก่ปาล์มน้ำมัน ในขณะนี้พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตดีที่สุดได้แก่รังสิต ปลูกบนร่องสวนส้มเก่าปาล์มอายุ4-5 ปีให้ผลผลิตปีละ5 ตัน(ถ้าโตเต็มที่ไม่ต่ำกว่า 7-8ตัน) ราคาช่วงมีนาคม-พฤศจิกายน เฉลี่ยกก.ละ5 บาท ล่าสุดช่วงนี้เป็นช่วงผลผลิตต่ำเนื่องจากทางภาคใต้ให้ผลผลิตน้อย กก.ละ7 บาท (ประมาณเดือนธ.ค.-มี.ค.ประมาณ 7 บาท) แนวโน้มในอนาคต ชาติตะวันตกต้องใช้น้ำมันไบโอดีเซลกัน แม้แต่สายการบินยังมีหลายสายการบินที่ทดลองใช้แล้วเนื้องจากปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า (Cในโมเลกุลน้อยกว่า)เพราะถ้าบินเข้ายุโรปจะโดนเก็บคาร์บอนเครดิต ถ้าพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก(ปาล์มทนน้ำท่วมได้นานกว่า1เดือน) อย่าง อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณ เปลี่ยนมาปลูกปาล์มจะดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม ลองอ่านและดู link ข้างล่างกันดูครับ พี่ renold ลองปลูกตามคันบ่อดูก็ได้ ปีที่ 3 ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้1 ตันต่อไร่แล้ว ปีหน้าผมว่าจะปลูกที่อุทัยเหมือนกันใช้ระบบน้ำหยด ใช้พันธ์ compact จาก costarica และ พันธ์อูติ ครับ  :D
http://www.thaiclimate.org/Articles.cfm?ID=457 (http://www.thaiclimate.org/Articles.cfm?ID=457)
สวนปาล์มทุ่งรังสิต (http://www.youtube.com/watch?v=OKcs-LGcmeQ#)
http://www.utipalm.com/ (http://www.utipalm.com/)
http://www.asd-cr.com/paginas/english/index.html (http://www.asd-cr.com/paginas/english/index.html)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: โทน73 -รักในหลวง- ที่ ธันวาคม 06, 2010, 03:26:16 PM
อ่านตั้งนาน ขอเข้ามาแสดงความเห็นบ้าง

ที่ว่ายากจน นั้นจนจริงไหม ?
ส่วนตัวแล้วคิดว่า ชาวนาไทย ไม่จน ครับ แต่บังเอิญใช้จ่ายอย่างตึงมือไปหน่อย  ไม่งั้นบ้านเราไม่ขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือจนต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาหรอก  ก็เพราะคนของเราแม้จะมีเงินน้อยยังมีทางเลือกให้เลี่ยงงานได้  แบบจนเงินแต่ยังมีข้าวกินมีหลังคาคุ้มหัว

จากกระทู้เบื้องต้น มีการพูดถึง ภาวะการว่างงานแอบแฝง ในหมู่ชาวนาไทย  ถ้ามองอีกมุมก็ถือว่า เขาได้เสพจากการบริโภควันหยุดไปแล้ว คือได้สละรายได้ที่ควรจะได้ มาเลือกวันหยุด  .... แล้วอย่างนี้จะถือว่าจนเหรอ 

หรืออีกส่วนจะว่า  ชาวนา ไม่เข้าใจระบบทุนนิยม ระบบการตลาดแบบทุนนิยม แล้วเอาตัวตนเข้าไปสู่ระบบนั้น จนกลายเป็นคนรู้ไม่เท่าทันระบบ  ในเมื่อระบบวัดเงินตรา เป็นความมั่งคั่ง  ชาวนาก็ย่อมจะตกในสภาวะยากจน ไปทันที

แต่ถ้าระบบถือ ข้าวปลา อาหาร เป็นความมั่งคั่ง  ชาวนาจะเป็นผู้รวยโดยทันที 

น่าเสียดายที่หลายราย เดินตามระบบทุนนิยม จนละทิ้งความมั่งคั่งทางอาหาร มั่งคั่งทางจิตใจ ออกไป  กลายเป็นจะฝั่นตัวเข้าสู่โลกทุนนิยมก็ไปไม่ได้ เพราะพื้นฐานตนเองไม่พร้อม  แล้วจะกลับมามั่งคั่งแบบปู่ย่าตาทวด ก็ไม่ได้ เพราะละทิ้งรูปแบบการดำเนินชีวิตเดิมๆไปหมดแล้ว
ลงแขก ก็ต้องจ้าง ปุ๋ยก็ซื้อ หว่านก็จ้าง จนกระทั้งเกี่ยว-ขายก็จ้าง  ยุ้งข้าวก็ไม่มีกันแล้ว ก่อนฤดูทำนา ชาวนาไม่ได้ไปดูที่ ดูดิน น้ำท่า เหมือนอดีต แต่ต้องเปิดสมุดนามบัตรก่อน เปิดหานามบัตรคนระบจ้างไถ  พ่นยา  รถเกี่ยว  ฯลฯ  ไม่ต่างจากนักธุรกิจ

เคยไปงานเลี้ยงขอบคุณของบริษัทขายยาฆ่าแมลง  เป็นงานระดับตำบลออกบัตรเชิญชาวนาทั้วตำบล  จัดโต๊ะจีนเกือบสองร้อยโต๊ะ คนมาร่วมงานทั่ว  ในงานมีการจัดเลี้ยงอาหารและ โฆษณาจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้า  เห็นซื้อกันแทบทุกคน อย่างต่ำๆคนไม่ค่อยมีเงินก็ควักกัน 4-5 พันบาท คนมีเงินหน่อยก็ยอดซื้อคนละ สองสามหมื่นบาท  เห็นซื้อกันแทบทุกคน งานนั้นคาดว่ามีรายได้ไม่ต่ำกว่ายี่สิบล้านบาท แล้วก็มีการจับสลากจากหางบัตร (บัตรฟรี) แจกรางวัลกันทั่วไม่มีใครไม่ได้ของรางวัลกลับบ้านเลย ได้กันแทบทุกคนได้มากน้อยต่างกันไป  แล้ว ใครละมาสูบเงินจากชาวนาไป

ใครว่าชาวนาจน  งานบวช  งานบุญ งานแต่ง ตลอดจนงานศพ  ชาวนาไทย จัดงานไม่ด้อยกว่าคนไทยที่ประกอบอาชีพอื่น  และอาจจะยิ่งใหญ่กว่ากลุ่มเพื่อนเกษตรกรร่วมโลกด้วยซ้ำไป

ที่สำคัญ  อย่าพยายาม เอาระบบการกู้ยื้มผ่านธนาคาร  ทั้ง ธกส. สหกรณ์  มาให้ชาวนาไทย  เพราะหลายส่วนไม่พร้อม  ที่จะเข้าระบบการตลาดทุนนิยม  ลองดูประวัติศาสตร์ดูสิ  ตั้งแต่มีสถาบันทางการเงินให้เกษตรกรกู้ยืม  ความมั่งคั่งของชาวนามีแต่ลดลง  การถือครองที่ดินก็ลดลง

เดี๋ยวมีต่อ  :)
พูดถึงแรงงาน เค้าเรียกว่า จนแต่หยิ่งครับ ไม่มีเงิน แต่ไม่ง้องาน ตัวอย่างเช่น ค่าจ้างรถเกี่ยวนวดข้าว  ไร่ละ 550 บาท เสร็จในขั้นตอนเดียว ม้วนเงินเข้ากระเป๋าเลย แต่ค่าจ้างแรงงานคนเกี่ยว ไร่ละ 400 - 500 บาท นั่นหมายถึงเกี่ยวอย่างเดียว ไหนจะค่าเลี้ยงน้ำ(เหล้า ยา) ค่ารถ ค่าจ้างมัดข้าวอีก มัดละ 2.50 บาท ค่าจ้างคนสีวันละ 200 บาท ค่าจ้างรถสี 25 บาท/กระสอบข้าวเปลือกที่สีได้ ค่าเลี้ยงดูอีก ซึ่งมันสิ้นเปลืองหนักเข้าไปอีก ทำให้ชาวนาหันไปพึ่งเครื่องจักรกลการเกษตรมากขึ้น
             เรื่องประเพณีดั้งเดิม เช่นการลงแขก การใช้ควายไถนา ซึ่งผมก็เป็นลูกชาวนา ก็ยอมรับว่ามันดีจริงๆครับ กรณีนาในเขตชลประทาน
แต่ถ้านอกเขตชลประทาน นั่นหมายถึงต้องพึ่งพาน้ำฝนอย่างเดียว มันก็ต้องการความรีบเร่งครับ ช้าไม่ได้ ช้ากว่าคนรอบข้างแค่อาทิตย์เดียว มันอาจจะหมายถึงปีนั้น รายได้จะลดลงครับ
             เช่น ฤดูการหว่านข้าว ถ้าเขาหว่านต้นเดือน คุณไปหว่านปลายเดือน ช่วงที่ฝนมาคุณอาจจะไม่ต้องการน้ำ เพราะคนอื่นเขาจะกักเก็บน้ำไว้ คุณจะปล่อยน้ำไปทางไหนก็ไม่ได้ เพราะมันเต็มหมดแล้ว  พอฤดูเก็บเกี่ยว ไม่ต้องการน้ำ คนอื่นเขาจะเปิดน้ำทิ้ง มาท่วมข้าวของคุณเช่นกัน

ผมอาจมองต่างที่ว่า พวกเขาไม่จน  แต่เพียงที่เขาเลือกที่จะเสพวันหยุดเอง 

ความพร้อมที่จะเข้าสู่โลกทุนนิยม  ผมมองว่า ส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อม  และเป็นปัญหาให้เราต้องถกเถียงกันอยู่   

ถ้าส่วนใหญ่มีความเข้าใจมีความพร้อมต่อสภาพการตลาด เหมือน คุณ renold    คงจะดีไม่ใช่น้อย


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ ธันวาคม 06, 2010, 04:12:23 PM
ข้าวราคาไม่ดีเป็นเพราะ supply มากกว่า demand พื้นที่ปลูกข้าวมี 60 ล้านไร่ เพียง 30-40 ล้านไร่ก็เพียงพอบริโภคในประเทศแล้ว(บริโภค30ล้านไร่เผื่อภัยธรรมชาติ10ล้านไร่) พืชเศรษฐกิจที่น่าปลูกในนาข้าวโดยปรับพื้นที่เป็นร่องสวนได้แก่ปาล์มน้ำมัน ในขณะนี้พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตดีที่สุดได้แก่รังสิต ปลูกบนร่องสวนส้มเก่าปาล์มอายุ4-5 ปีให้ผลผลิตปีละ5 ตัน(ถ้าโตเต็มที่ไม่ต่ำกว่า 7-8ตัน) ราคาช่วงมีนาคม-พฤศจิกายน เฉลี่ยกก.ละ5 บาท ล่าสุดช่วงนี้เป็นช่วงผลผลิตต่ำเนื่องจากทางภาคใต้ให้ผลผลิตน้อย กก.ละ7 บาท (ประมาณเดือนธ.ค.-มี.ค.ประมาณ 7 บาท) แนวโน้มในอนาคต ชาติตะวันตกต้องใช้น้ำมันไบโอดีเซลกัน แม้แต่สายการบินยังมีหลายสายการบินที่ทดลองใช้แล้วเนื้องจากปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า (Cในโมเลกุลน้อยกว่า)เพราะถ้าบินเข้ายุโรปจะโดนเก็บคาร์บอนเครดิต ถ้าพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก(ปาล์มทนน้ำท่วมได้นานกว่า1เดือน) อย่าง อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณ เปลี่ยนมาปลูกปาล์มจะดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม ลองอ่านและดู link ข้างล่างกันดูครับ พี่ renold ลองปลูกตามคันบ่อดูก็ได้ ปีที่ 3 ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้1 ตันต่อไร่แล้ว ปีหน้าผมว่าจะปลูกที่อุทัยเหมือนกันใช้ระบบน้ำหยด ใช้พันธ์ compact จาก costarica และ พันธ์อูติ ครับ  :D
http://www.thaiclimate.org/Articles.cfm?ID=457 (http://www.thaiclimate.org/Articles.cfm?ID=457)
สวนปาล์มทุ่งรังสิต (http://www.youtube.com/watch?v=OKcs-LGcmeQ#)
http://www.utipalm.com/ (http://www.utipalm.com/)
http://www.asd-cr.com/paginas/english/index.html (http://www.asd-cr.com/paginas/english/index.html)

ปาล์มน้ำมัน ๒.๕ ปีก็ได้ผลผลิตแล้วครับ  แต่การเห็นราคาดีแล้วแย่งกันปลูกมันจะดึงราคาให้ตกต่ำลงไปอีกครับ 

ไม่ทราบว่ารัฐกำหนดแผนผลิตไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นรึเปล่า  ถ้ายังผลิตเท่าเดิมปลูกปาล์มน้ำมันกันมาก ๆ น่าเป็นห่วงว่า

ราคาปาล์มจะตกลงไปต่ำกว่า กก.ละ ๓ บาทอีก  ตอนนี้น่าจะเริ่มผลิตเป็น บี๑๐+  ได้แล้วนะ  ราคาปาล์มจะได้ดีขึ้นหน่อย

ถึงมีเกษตรกรปลูกเพิ่มขึ้นราคาปาล์มก็คงจะไม่ลด   ปาล์มน้ำมันกินปุ๋ยเยอะนะถ้าราคาต่ำ ปุ๋ยแพงจะไม่มีเงินซื้อปุ๋ย  ;D



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 10, 2010, 05:06:21 PM
ทำอาชีพเกี่ยวกับชาวนาครับ เคยลองคิดดูคร่าวๆ ต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่เป็นเท่าไร ลองคิดดูนะครับ
นา 1 ไร่ มีต้นทุน    ค่าไถ 550 บาท/ไร่
ค่าหว่าน 100 กก.250 บาท หว่านได้ 4 ไร่ ตกไร่ละ 62 บาท
ค่าสูบน้ำ ต้องใช้น้ำมัน ประมาณ 20 ลิตรต่อไร่ (อย่างมาก) ประมาณ 600 บาท
ค่าปุ๋ยยูเรีย 700 บาทต่อกระสอบ 1 ไร่ใช้ 1 กระสอบ ตกไร่ละ 700 บาท
ค่าปุ๋ยอุ้มท้อง 700 บาทต่อกระสอบ กระสอบละ 1 ไร่
ค่ายาฆ่าแมลงรวมค่าคนฉีด  แล้วแต่ความจำเป็น เผื่อไว้ 200 บาทต่อไร่
ค่ารถเกี่ยวนวดข้าว 550 บาท ต่อไร่
ค่าบรรทุก ลากไปขายโรงสี 100-200 บาทต่อตัน แล้วแต่ระยะทาง
ต้นทุนรวมต่อไร่ 3362 บาทต่อไร่
1 ไร่ ได้ข้าว 800-1000 กก.ส่วนใหญ่ 800 กก. ต่อไร่
= ต้นทุนต่อข้าว 1 ตัน = (3362/800)x1000  = 4202 บาท
ราคาขาย ณ วันนี้ ข้าวความชื้น 25 % = 7500 บาท เท่ากับชาวนามีกำไร 3298 บาท ต่อไร่
บ้านผมชาวนามีที่ดินประมาณ 25 ไร่ต่อครัวเรือน มีรายได้ 82,450 บาท/ฤดู ทำนาได้อย่างน้อย 2 ฤดู = 164,900 บาท ต่อปี (ถ้าได้ข้าวไร่ละ 1000 กก. จะได้เงินถึง 206,900 บาท)
อันนี้คิดจากค่าเฉลี่ยคร่าวๆจากแถวบ้านผมเองครับ ถ้าข้อมูลผิดช่วยแก้ให้ด้วยครับ แต่ขอตัวเลขชัดเจน แล้วขอค่าเฉลี่ยทั่วๆไปก่อนนะครับ เคสพิเศษ พวก ภัยแล้ง น้ำท่วม เพลี้ยลง ไม่นับ ชาวนาบางคนทำนาถึง 200-300 ไร่ต่อครัวเรือน บางพื้นที่ทำนาได้ปีละ 3 ครั้ง รายได้ปีละเป็นล้าน รวยกว่าผมที่เป็นพ่อค้าอีกครับ นี่ยังไม่นับพวก ที่มีรถเกี่ยวรถไถเองอีก


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 10, 2010, 05:08:12 PM
ถ้าวิเคราะห์ต้นทุนชาวนา จะพบว่ามีค่า ปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง อีก 1600 บาท ที่สามารถลดต้นทุนได้อีก โดยการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลง ซึ่งมีแต่จะต้องใช้ให้เยอะขึ้นเรื่อยๆ วิธีก็ใช้เกษตรธรรมชาติ  ที่รู้มาก็ใช้วิธีหมักฟาง แทนการเผา การปลูกพืชสลับถั่ว เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับ ปุ๋ยเคมีช่วงปีแรกๆ เพื่อลดการใช้ปุ๋ย  การใช้น้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มแบคทีเรียในดิน ทำหน้าที่ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ให้พืชใช้ประโยชน์ได้ พอดินมีธาตุอาหารสมบูรณ์ก็แทบจะไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีอีกเลยครับ ให้ดินมันเลี้ยงตัวเองได้ การดำนาแทนการหว่าน เพื่อป้องกันหญ้า ลดการใช้ยาฆ่าหญ้า แล้วก็ให้ข้าวแตกกอ ลดการใช้เมล็ดพันธุ์ลงได้อีกแถมยังเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้อีกครับ แถมอีกอย่างคือต้นข้าวแข็งแรง โรคและแมลงไม่กวน ถ้าใส่ปุ๋ยเคมีข้าวงามก็จริง แต่เปรียบเหมือนคนที่กินแต่ไขมันครับ รูปร่างอ้วนใหญ่แต่ขี้โรค ถ้าพืชได้รับธาตุอาหารจากธรรมชาติก็เหมือนคนได้กินอาหารครบห้าหมู่ ร่างการแข็งแรง โรคภัยก็ไม่เบียดเบียน ต้านทานโรคได้ดี
   ทีนี้มาดูด้านราคาขายสมัยนี้ถ้าไปตามต่างจังหวัด จะเห็นท่าข้าวเกิดขึ้นเยอะมาก เกิดการแข่งขันด้านราคาโดยกลไกของมันเองอยู่แล้วถ้าท่าข้าวไหนซื้อถูกกว่าอีกที่ แค่ 100-200 บาท รับรองได้ว่าไม่มีใครมาขายหรอกครับ  โดยตัวท่าข้าวเองก็ต้องพยามขายให้ได้แพงที่สุด เพื่อให้สู้ราคากับคู่แข่งให้ได้ โรงสีก็ต้องซื้อให้แพงที่สุดเท่าที่ยังมีกำไร เพราะไม่งั้นท่าข้าวก็ไม่เอาข้าวมาส่งให้ ก็จะไม่มีของ โดยราคาในสมัยนี้ผมว่ากำไรมันน้อยอยู่แล้ว ถ้าน้อยกว่านี้ จะไม่คุ้มทุน แต่ที่เห็นท่าข้าวโรงสีมีเงินกัน เพราะมันเป็นข้าวมันมีจำนวนมาก กำไรต่อหน่วยน้อย แต่ปริมาณมาก ถึงได้อยู่ได้ คิดง่ายๆ ถ้าท่าข้าวซื้อแบบไม่เอากำไรเลย (เอาแค่ค่ารถ) ราคาขายจะเพิ่มจากที่เป็นแค่ 100-200 บาท ครับ อันนี้เป็นกำไรในส่วนของท่าข้าวจะได้ ถ้าเทียบกับราคาข้าวก็แค่ 2.5 % เท่านั้นเองครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 10, 2010, 05:44:18 PM
ประเด็นด้านความชื้นที่ชาวนาอ้างว่าถูกพ่อค้าโรงสีกดราคา ที่ต้องซื้อถูกลงมันมีเหตุผลครับ ข้าวที่ชาวนาเกี่ยวมามันเป็นข้าวสด ต้องเอาไปตากแห้งก่อน ถ้าข้าวความชื้นสูง น้ำหนักข้าวที่ตากแห้งจะหายไปมากกว่าข้าวที่ความชื้นดี ค่าที่คำนวณ คือประมาณ 15 กก. ต่อความชื้น 1 % ถ้าคิดเป็นราคาข้าว ที่ตันละ 7500 ก็ประมาณ 100 บาท ต่อความชื้น 1 % หมายความว่าข้าวความชื้น 25 % ขายได้ 7500 บาท แต่ข้าวความชื้น 26 % ต้องซื้อ 7400 ต้นทุนถึงจะเท่ากัน  แล้วยังมีเรื่องคุณภาพข้าวอีกตัว ถ้าข้าวความชื้นสูงหมายว่ามีข้าวที่ยังอ่อนอยู่ปนอยู่เยอะ ทำให้สีไม่ได้เนื้อข้าวสาร ถ้าให้เลือกระหว่างข้าว 25% ราคา 7500 แต่ข้าวความชื้น 30% ราคา 7000 โรงสีจะเลือกข้าวความชื้น 25% ก่อนครับ เพราะได้ข้าวสารคุณภาพดีกว่า


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 10, 2010, 05:44:59 PM
   ราคาข้าวในประเทศไทยถูกกำหนดโดยราคาส่งออกครับ โดยไทยมีคู่แข่งสำคัญคือเวียดนามที่เน้นทำตลาดข้าวราคาถูก เพราะเค้าต้องการให้คนในประเทศเค้าได้ซื้อข้าวสารในราคาถูกคนถึงจะอยู่ได้ ถ้าข้าวราคาแพงคนในประเทศก็ต้องกินข้าวราคาแพง ทีนี้คนจนไม่ได้เป็นชาวนาทุกคน คนหาเช้ากินค่ำก็ต้องซื้อข้าวกิน ต้องคำนึงถึงพวกนี้ด้วย ญี่ปุ่นขายข้าวได้แพง เพราะเค้าบริโภคในประเทศ 100 % ครับ ทำให้กำหนดราคาได้เอง คนก็มองแต่ชาวนาญี่ปุ่นรวย รัฐบาลญี่ปุ่นเก่ง แต่จริงๆแล้วเป็นเพราะว่าที่ดินที่ญี่ปุ่นแพงครับ แล้วญี่ปุ่นก็ไม่นำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ทำให้กำหนดราคาขายได้ตามใจชอบ ชาวนาญี่ปุ่นถึงรวย แต่มองอีกมุมนึงรัฐบาลญี่ปุ่นทำให้คนในประเทศต้องซื้อข้าวสารราคาแพงขึ้น เพราะนโยบายข้าวราคาแพง  แทนที่จะนำเข้าข้าวราคาถูกจากต่างประเทศ ทีนี้ประเทศไทยทำแบบญี่ปุ่นไม่ได้ครับ เพราะข้าวประเทศไทยผลิตเกินจำนวนบริโภคในประเทศ เราผลิตข้าวได้ปีละ 35 ล้านตัน กิน 20 ล้าน ส่งออก 15 ล้านตัน ถ้าทำให้ข้าวราคาแพง  ข้าวที่เหลือจะเอาไปไหน ก็ต้องส่งออก แต่เรามีคู่แข่งคือเวียดนาม ซึ่งต้นทุนถูกกว่าเรา ข้าวเวียดนามราคา 300 เหรียญ ข้าวไทยทุกวันนี้ต้องขาย 450 เหรียญ ถึงจะทำได้ ต่างกัน 30 % เวลาซื้อเค้าซื้อกันเป็นล้านตัน ถ้าซื้อเวียดนามจะถูกกว่ากันเท่าไรคิดดู ที่ไทยยังขายได้ทุกวันนี้ เพราะเวียดนามไม่มีข้าวพอขายต่างหาก เค้าถึงต้องจำเป็นซื้อข้าวแพงจากไทย แต่เวียดนามก็กำลังเพิ่มพื้นที่ผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งออกข้าวได้มากขึ้นเรื่อยๆ  ไทยก็จะยิ่งส่งออกได้น้อยลงเรื่อยๆ อีกไม่เกินห้าปี เวียดนามแซงไทยแน่นอนครับ เรื่องจำนวนส่งออกข้าว เหตุผลก็เพราะเวียดนามขายข้าวที่ 300 เหรียญ บอกกำไรเหลือเฟือ แต่ไทยขายได้ 450 เหรียญ ชาวนาไทยบอกว่าขาดทุน เป็นเพราะอะไรลองคิดดูครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 10, 2010, 05:45:33 PM
   ทำไมภาครัฐไม่เคยแก้ปัญหาได้ เป็นเพราะว่าแก้ไม่ถูกจุดไงครับ พอมีใครพูดเรื่องชาวนายากจน คนมักมองว่าถูกกดราคา ถูกนายทุนเอาเปรียบ โรงสีรวมกันกดราคา อ้างความชื้นสูง  ทำให้นโยบายแก้ปัญหาก็จบที่จำนำ ประกันราคา ที่ถูกต้องคือต้องเอาราคาต่างประเทศตั้ง แล้วดูต้นทุนให้ชาวนาอยู่ได้ โดยมีกำไรพอสมควร ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ถ้าน้อยเกินไปก็อยู่ไม่ได้ หันไปทำอาชีพอื่นผลผลิตไม่พอก็จะเกิดปัญหา ถ้ามากเกินไปชาวนาก็จะเพิ่มพื้นที่ปลูกขึ้นอีก ทำให้ข้าวยิ่งล้นตลาดราคาก็จะตกลงจนขาดทุนทำให้ภาครัฐต้องเอาเงินภาษีเข้าไปอุ้ม ดูว่าชาวนาทุกวันนี้ขาดทุนจริงอย่างที่พูดหรือเปล่า ลองดูก็ได้ครับ ปีนี้ราคาสินค้าเกษตรราคาขึ้นทุกตัว  ยกเว้นข้าว เพราะอะไรครับ เพราะเค้าเอาพื้นที่ไปปลูกข้าวกันหมดไงครับ ทำให้สินค้าเกษตรตัวอื่นมีจำนวนน้อยลงราคาก็สูงขึ้น คำถามก็คือว่า ถ้าข้าวทำแล้วขาดทุนจริง ทำไมถึงขยายพื้นที่ปลูกกันครับ แทนที่จะปลูกข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง ก็เอามาปลูกข้าวกันหมด แถวบ้านผมรื้อสวนลำไย สวนมะม่วง สวนสักปลูกมาสิบห้าปี รื้อหมด เอามาทำนาครับ พื้นที่ปลูกอ้อยหายไปเกิน 70 % เอามาปลูกข้าวกัน  มีอยู่ช่วงที่ราคาข้าวดีมากๆ กระทั่งโรงสีเองยังหันมาทำนาเลยครับ เรื่องจริงไม่ได้อำ ปรากฏการณ์แบบนี้บอกอะไรได้ลองคิดดูเอาครับ ใครมีข้อสงสัยอะไรถามได้เลยครับ ผมทำอาชีพท่าข้าวอยู่ ทุกวันนี้ได้ราคาจากโรงสีมาเท่าไร ก็ต้องเอามาตั้งราคาซื้อหน้าลาน เพื่อแย่งของกับคู่แข่งครับ เรื่องฮั้วกันลืมไปได้เลยครับ ตัวแสดงเยอะไป ทำไม่ได้หรอก ตั้งแต่ทำอาชีพนี้มาไม่เคยเห็นการฮั้วกันซักที มีแต่จะเพิ่มราคาซื้อแข่งกันเพื่อแย่งของกันครับ บางทีทำจนขาดทุนยังมีครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 10, 2010, 05:47:02 PM
   ถ้าชาวนาอยากรวยต้องลดต้นทุนครับ กับเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ไม่ใช่เรียกร้องให้เพิ่มแต่ราคารับซื้อ ถ้าต้นทุนคุณต่ำ ข้าวราคาต่ำคุณก็ยังอยู่ได้ ถ้าข้าวราคาสูงคุณก็ยิ่งได้กำไรมากขึ้น แก้ที่ตัวเองก่อน ไม่ใช่รอให้คนอื่นมาช่วยแก้ปัญหาให้  ทุกวันนี้ข้าวไทยส่งออกสู้เขาเวียดนามไม่ได้อยู่แล้ว ถ้ายังเพิ่มราคาข้าวในประเทศขึ้นไปอีก ไทยจะยิ่งส่งออกข้าวได้ลำบากยิ่งขึ้น  ถ้าข้าวขายไม่ออกเพราะราคาแพง ผู้ส่งออก โรงสีอยู่ไม่ได้ แล้วทีนี้ใครจะเป็นคนคอยขายข้าวให้ประเทศครับ เรื่องหวังให้รัฐบาลขายเอง ยากครับ เพราะระบบมันไม่เอื้อ การตัดสินใจสู้เอกชนไม่ได้ครับ  ประเทศที่พัฒนาแล้ว เค้าให้พ่อค้าเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งนั้น แต่บ้านเรามองพ่อค้าเป็นตัวร้าย ถ้ากลัวพ่อค้ากดราคาก็ให้เพิ่มพ่อค้าในตลาด กลไกตลาด และการแข่งขันมันจะทำหน้าที่ของมันเอง  อย่างเรื่องให้ตั้งท่าข้าวของภาครัฐ โรงสีของภาครัฐ จริงๆแล้วมันก็มีระบบสหกรณ์อยู่แล้วครับ มีสหกรณ์คอยรับซื้อข้าว บางที่ก็มีโรงสีของตัวเองด้วยซ้ำ แต่สู้พ่อค้าไม่ได้ ระบบมันไม่ได้ เพราะให้ข้าราชการมาทำค้าขาย ผลออกมาเป็นยังไงก็รู้ๆกันอยู่   


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 10, 2010, 05:47:47 PM

สามปีก่อนรัฐบาลไทยรักไทยเอาเงินมาจำนำข้าวมากกว่าแสนล้าน เพื่ออุ้มชาวนา เพื่อพยุงราคาข้าวให้ได้ตันละ 12,000 บาท ทั้งที่ต้นทุนชาวนาช่วงนั้นก็ไม่ได้ต่างอะไรกับช่วงนี้เลย ลองคิดดูละกันว่าชาวนาที่มีที่นาประมาณ 200-300 ไร่ เค้าจะได้กำไรกันเท่าไร พอข้าวเปลือกแพง ข้าวสารก็แพงตาม คนในประเทศที่ไม่ได้ทำนาแต่ต้องซื้อข้าวสารกินก็อ่วมไปตามๆกัน มีข้อสงสัยถามได้เลยครับ ข้อมูลอาจไม่ตรงบ้างต้องขออภัย เพราะผมไม่ได้ค้นข้อมูลมาประกอบ อาศัยความจำเท่าที่พอนึกออกครับ เป็นอีกมุมของพ่อค้าตัวร้ายในสายตาคนอื่นครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Ki-jang-aey ที่ ธันวาคม 10, 2010, 08:23:03 PM
เยี่ยมเลยครับ  ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002::

เราควรที่จะเชียร์ให้ชาวนาใช้ที่ดินไปทำประโยชน์อย่างอื่นดีมั้ยครับ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ (โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทาน)....ทำอะไรดีครับ..แลกเปลี่ยนความเห็นกันต่อดีมั้ย?.. ;D ;D ;D ;D


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 11, 2010, 11:26:48 AM
เยี่ยมเลยครับ  ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002::

เราควรที่จะเชียร์ให้ชาวนาใช้ที่ดินไปทำประโยชน์อย่างอื่นดีมั้ยครับ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ (โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทาน)....ทำอะไรดีครับ..แลกเปลี่ยนความเห็นกันต่อดีมั้ย?.. ;D ;D ;D ;D
จริงๆแล้ว พวกพื้นที่นอกเขตชลประทาน มันมีพืชที่เหมาะสมอยู่หลายตัวครับ พวกอ้อย ถั่ว แต่จะทำยากกว่าข้าว ต่างกันตอนเก็บเกี่ยวครับ เช่นถ้าเป็นถั่ว ตอนเกี่ยวจะต้องใช้แรงงานคนเกี่ยว กองตากให้แห้งประมาณห้าแดดมั้ง แล้วถึงจะเข้าเครื่องนวดออกมาเป็นเมล็ดถั่ว เมื่อก่อนข้าวก็ใช้แรงงานคนเกี่ยว ตากแห้งแล้วค่อยนวดเหมือนกัน แต่มาสมัยนี้มันมีเครื่องทุ่นแรงคือรถเกี่ยวข้าว การทำนาก็เลยสบายกว่าแต่ก่อนมากๆ เวลาไถก็จ้างรถไถ หว่านก็จ้างคนหว่าน ฉีดยาก็จ้างคนฉีด ที่เจ้าของนาส่วนใหญ่ต้องออกแรงเองก็คือสูบน้ำเข้าครับ  พอข้าวได้อายุก็จ้างรถเกี่ยวซึ่งก็จะมีบริการรถลากให้ด้วย ลากไปขายท่าข้าว ถ้ามีนาซักห้าสิบไร่วันเดียวก็เสร็จครับ ทำให้ชาวบ้านชอบทำนามากกว่า เพราะสบายกว่าทำพืชอื่นครับ อีกหน่อยบ้านเราจะมีปัญหาขาดแคลนน้ำครับ เพราะใช้น้ำในการทำนากันมากขึ้น น้ำในเขื่อนไม่พอหรอกครับ บางพื้นที่เคยทำนาสองครั้ง ก็พยายามทำให้ได้สามครั้ง พื้นที่ที่เคยทำพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยกว่า เช่นอ้อย ถั่ว ก็เอามาทำนากันหมดครับ ทั้งๆที่พื้นที่ไม่เหมาะสม


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 12, 2010, 05:41:32 PM
ในเรื่องของการใช้น้ำทำนาสามารถลดต้นทุนค่าน้ำมันสำหรับเครื่องสูบน้ำเข้านาได้อีกครับ จริงๆข้าวไม่ได้ชอบให้น้ำแช่เหมือนอย่างที่เข้าใจกันครับ ที่ต้องให้น้ำขังในนาเป็นเพราะต้องการควบคุมหญ้าครับ พอน้ำแช่ หญ้าก็จะตาย แต่จริงๆแล้ว ยังมีวิธีอื่นที่สามารถควบคุมหญ้าได้ครับ คือนาที่มีปัญหาเรื่องหญ้าคือนาที่ใช้คนหว่าน ทีนี้หญ้ากับข้าวก็จะงอกพร้อมกัน ทำให้แย่งกันโต แต่ถ้าใช้การดำนาแทน ต้นข้าวจะโตก่อนหญ้าครับ เพราะโตมาในแปลงเพาะก่อนแล้ว ทำให้หญ้าที่ขึ้นมาทีหลังไม่ได้รับแสงแดด ทำให้ปัญหาหญ้าน้อยลงไปครับ ไม่ต้องเปลืองแรงสูบน้ำ ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำมัน ไม่ต้องจ่ายค่ายาฆ่าหญ้า

ผลกระทบจากการฉีดยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง อีกอย่างคือต้นข้าวจะอ่อนแอลงครับ ทำให้คมของใบข้าวอ่อนลง ข้าวก็จะต้านเพลี้ยได้น้อยลง ทำให้ต้องฉีดยาฆ่าแมลงซ้ำไปอีก พอนาโดนสารเคมีเยอะๆ แบคทีเรียที่อยู่ในดินก็จะตาย ขาดตัวที่จะช่วยย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ให้เป็นปุ๋ยให้ต้นข้าว ทำให้ยิ่งต้องใช้ปุ๋ยเคมีเยอะขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งข้าวได้กินแต่ปุ๋ยเคมีมากๆ ต้นข้าวก็จะอ่อนแอลง เหมือนคนกินแต่ไขมัน ร่างกายใหญ่โตแต่อ่อนแอ  นาที่ให้ปุ๋ยเคมีเยอะๆ จะมีปัญหาอีกอย่างเรื่องคือข้าวล้มครับ เพราะต้นข้าวจะเขียว แต่ลำต้นอ่อน พอข้าวออกรวงเต็มที่ ถ้าระหว่างนั้นฝนตกลงมา จะทำให้ต้นข้าวหัก รวงข้าวแนบกับดิน พอใช้รถเกี่ยวก็จะวักดินขึ้นมาด้วย ทำให้ข้าวเปื้อนดิน ขายไม่ได้ราคา ถ้าเป็นแถวบ้านผมก็จะถูกตัดราคาประมาณ 500-1000 บาทต่อตันเลยครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 12, 2010, 10:18:28 PM
ชาวนาส่วนใหญ่ที่ขาดทุน ไม่ได้มาจากปัญหาราคารับซื้อต่ำครับ แต่มาจากผลผลิตต่อไร่ที่ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น นา 1 ไร่ต้นทุนการทำนาจะพอๆกันครับ แต่ต้นทุนประมาณ 3700 บาทต่อไร่ ทำแล้วจะได้ข้าวเท่าไร อันนี้ต่างหากที่จะเป็นตัวบอกว่ากำไรหรือขาดทุน ถ้าทำนาไม่มีปัญหาอะไรควรจะได้ข้าวไม่น้อยกว่า 800 กก. หรือข้าวบางพันธ์จะได้มากกว่า 1000 กก.ต่อไร่ แต่ในนาที่มีปัญหาบางทีได้ข้าวแค่ 100 กก.ต่อไร่ยังมีครับ จุดคุ้มทุนอยู่ที่ประมาณ 500 กก.ต่อไร่  ถ้าเกินจากนั้นก็เป็นกำไรของชาวนา

 ทีนี้้ปัญหาที่ว่าทำไมนาบางพื้นที่ถึงได้ข้าวน้อย ปัญหาแต่ละแปลงไม่เหมือนกัน ที่ผมเคยเจอคือ พวกภัยธรรมชาติ แล้ง น้ำท่วม ภัยหนาว ข้าวนี่ส่วนใหญ่แพ้อากาศหนาวครับ ถ้าปีไหนหนาวนาน หรือมาไวเกินไป ข้าวจะไม่ค่อยออกรวงครับ บางทีเพลี้ยลง หรือหญ้าเยอะครับ หรือมีปีนึงเจอลูกเห็บลงช่วงข้าวออกรวงเต็มที่ เมล็ดข้าวร่วงหมดเลย หรือช่วงข้าวที่ออกรวงแก่เต็มที่ บังเอิญฝนตกช่วงนั้น ลมพัดอีกนิดหน่อย ข้าวก็จะล้มครับ เกี่ยวยาก หรือยากก็ไม่ค่อยได้เนื้อ รถเกี่ยวก็สำคัญครับ ถ้าปรับเครื่องไม่ดีก็ทำให้ข้าวร่วงตกในนาหมด หรือการเกี่ยวข้าวเช้าเกินไปน้ำค้างยังไม่ทันแห้ง หรือเกี่ยวค่ำเกินไปน้ำค้างลง ก็จะทำให้ขั้วของเมล็ดเปียก แล้วมันจะเหนียว เหมือนเราเอาตอกไปชุบน้ำยังไงยังงั้น  สีแล้วข้าวไม่ค่อยจะยอมแยกจากฟางข้าว ทำให้ติดออกไปกับฟางหมด ไม่ค่อยได้เนื้อข้าวครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 12, 2010, 10:33:00 PM
พวกน้ำท่วม ภัยแล้ง หรืออากาศหนาว เหมือนจะเป็นเรื่องของธรรมชาติ แก้ไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วเลี่ยงได้ครับ ที่เลี่ยงไม่ได้เพราะชาวนาพยามทำนาให้ได้ปีละสามครั้ง  ก็เลยไม่มีเวลารอครับ พอเกี่ยวเสร็จวันนี้ มะรืนนี้เผาฟาง อีกสองวันก็ไถ ปล่อยน้ำเข้านาเลย ส่วนว่าจะไปเจอน้ำท่วม แล้ง หรือหนาว ค่อยวัดดวงเอาอีกที ถ้าปีไหนโชคดีก็ดีไป แต่ถ้าปีไหนเจอภัยธรรมชาติที่ว่า ก็ต้องขาดทุนไป ทำนาสามรอบ กำไรสองรอบ ขาดทุนรอบนึง จะเอาที่ไหนมาเหลือครับ

จริงๆ แล้ว ถ้าทำนาซักปีละสองครั้ง จะสามารถเลี่ยงช่วงที่มีโอกาสเจอกับภัยธรรมชาติได้ครับ ต้นข้าวอายุประมาณ หนี่งร้อยวัน หว่านวันนี้เกี่ยวได้ช่วงไหนอันนี้กำหนดได้ตั้งแต่แรกครับ ช่วงไหนที่เป็นช่วงหน้าแล้งก็ให้ปลูกถั่วสลับไปบ้างก็ลดโอกาสขาดทุนจากภัยธรรมชาติไปได้เยอะครับ แต่ถ้าถามว่ารู้แบบนี้แล้วทำไม่ชาวนาไม่ทำ อันนี้ไม่พูดดีกว่าครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Bird ที่ ธันวาคม 13, 2010, 01:37:44 AM
+ คุณ pehtor ครับ .. ข้อมูลปึ้กมาก  ::002::

ผมเองก็บังเอิญมีที่นากับเขาอยู่เหมือนกัน ที่ปทุมรัตน์-ร้อยเอ็ด (ได้มาโดยสิเน่หา) ..
ทุกวันนี้ให้เค้าเช่าทำนาโดยให้ผญบ.ดูแลอยู่ .. ไม่ได้หวังรายได้อะไร ให้เท่าไรก็เท่านั้น เพราะได้มาฟรีๆ
โทรคุยกันครั้งสุดท้าย เลยเอาข้อสงสัยจากกระทู้นี้ถามผญบ. และ แม่นม(อดีตชาวนา-เจ้าของที่ที่แท้จริง)
เค้าตอบตรงกันว่า ... "ถ้ามีวินัย ยึดมั่นในวิถีที่ถูกต้องแต่ดั้งเดิม ไม่เอาแต่สบายจนเกินไป .. ไม่มีจน"

คำอธิบายเรื่อง วินัย/วิถีการทำนา ที่เค้าพูดให้ผมฟัง .. ก็ตรงกับ 2-3 หน้าหลังตั้งแต่คุณ Renold ลงมาถึงคุณ pehtor ครับ ..


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 13, 2010, 11:37:51 AM
ขอบคุณครับ เรื่องปัญหาของชาวนายังมีอีกเยอะครับ ถ้านึกออกจะเอามาเล่าให้ฟังเรื่อยๆ  หรือถ้าเคยได้ยินปัญหาอะไรถามได้เลยครับ อยากให้บ้านเราแก้ปัญหาเรื่องชาวนาให้ถูกจุดกันครับ ที่เมืองจีนเค้าว่าทำนาได้ไร่ละ 2000 กก. หรือมีพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่ บ.ซีพี เอามาทดลองในแปลงปลูก ก็ได้ข้าวมากกว่า 2000 กก.ด้วยซ้ำ แต่เอามาหุงกินไม่อร่อย ต้องเอามาทำพวกเส้นก๋วยเตี๋ยว ทำแป้ง อะไรพวกนี้ได้  บ้านเราตอนนี้ยังทำได้แค่ 800-1000 กก.ต่อไร่เอง ซึ่งข้าวพันธุ์ใหม่ๆ อย่างหอมปทุม จะได้ถึง 1100 กก.ต่อไร่ อันนี้ หมายถึงทำแบบเดิมๆ แต่ถ้าจะให้ได้ผลผลิตมากๆ ต้องคำนึงถึงการบำรุงดินด้วยครับ ที่ผลผลิตต่อไร่น้อย

ผมว่าปัญหามันเริ่มที่การทำนาสมัยใหม่ นี่แหละ อย่างพวกเครื่องทุ่นแรงพวกรถไถ รถเกี่ยว อันนี้เป็นเรื่องที่เราได้เปรียบเวียดนาม หรือจีนครับ ของเค้ายังทำนาแบบเดิมๆเหมือนของไทยเมื่อสิบปีที่แล้วอยู่ ข้อเสียคือช้าครับ นาห้าสิบไร่กว่าจะไถเสร็จ ใช้เวลาเป็นอาทิตย์ แต่บ้านเราวันเดียวเสร็จ รถเกี่ยวหนึ่งตัวก็เกี่ยวข้าวได้ห้าสิบไร่ต่อวัน ถ้าใช้คนเกี่ยวกว่าจะเกี่ยว กว่าจะตากแห้ง กว่าจะสีเสร็จ ก็ใช้เวลาร่วมสิบวัน ตรงนี้เป็นข้อได้เปรียบอย่างมากของบ้านเราครับ แต่เราไม่เคยขายข้าวแข่งเวียดนามได้เลย ทั้งๆที่เรามีเทคโนโลยีช่วยแล้ว ต้นทุนเราน่าจะถูกกว่า แต่กลับแพงกว่าบ้านเขาครับ ทั้งที่ค่าไถ ค่าเกี่ยว เราถูกกว่าเขา ระบบชลประทานก็ดีกว่าเขา แต่ทำไมต้นทุนแพงกว่า เอาไว้ต่อทีหลังครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 13, 2010, 03:41:10 PM
คุณ renold ครับ... 

ผมเพิ่งจะได้เข้ามาอ่านต่อจากที่เคยโพสต์แซวไว้เมื่อสามวันก่อน....ขอเรียนว่าน่ายกย่องมากครับ.... ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002::
เป็นข้าราชการที่หารายได้เสริมจากการทำนา....หายากมากๆ นะครับ (ความคิดของผม) ในขณะที่ข้าราชการ (บางคน) นิยมไปหารายได้เสริมจากการทำเรื่องที่ผิดกฏหมายหรือผิดทำนองครองธรรม

คุณมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จมากเพราะมีพื้นฐานที่ดี ถือได้ว่ามีฐานะที่ดีเลยทีเดียว (ณ จุดเริ่มต้น) มากกว่าชาวนาส่วนใหญ่ของประเทศนี้ครับ...เช่น เรื่องที่ดิน, ตำแหน่งของที่ดิน ว่าระบบชลประทานสะดวกหรือไม่, ความคิดเรื่องเกษตรแนวใหม่, ปุ๋ย ฯลฯ

พอจะสรุปได้มั้ยครับว่า ตอนนี้รายได้จากการทำนาหรือรายได้จากงานประจำอย่างไหนเป็นรายได้หลักของครอบครัว?? จะได้เปลี่ยนสถานะเป็นชาวนาเต็มตัว

อีกสักสอง-สามปี ถ้าประสบความสำเร็จดีแล้ว....มาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ...

โดยส่วนตัว อยากจะตามไปเยี่ยมชมถึงที่เสียเลยด้วยซ้ำไป 

 ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002:: ::002::
ขอบคุณสำหรับคำชมนะครับ  ::014::
รายได้หลักของครอบครัวผมก็ยังเป็นอาชีพรับราชการครับ  :VOV:และผมภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นข้ารองพระบาทของพระองค์ท่าน
จริงอยู่อาชีพเกษตรกรรมรายได้มีเป็นกอบเป็นกำ แต่รายได้น้ำซึมบ่อทรายอย่างรับราชการ
ผมก็ไม่ลาออกหรอกครับ ชั่วชีวิตหนึ่งที่ได้เป็นข้ารองพระบาทของในหลวง ::014::
ผมรักในหลวง ::014:: ผมรักอาชีพนี้ :VOV: ผมรักประชาชนของผม :VOV:และผมภูมิใจที่ได้ทำเกษตรกรรมควบคู่กันไป :VOV:
เดี๋ยวนี้ใครๆที่เคยดูถูกดูแคลนผม ยังทำอย่างผมไม่ได้เลยครับ ::005::
ถึงแม้ในอนาคตผมจะทำเกษตรกรรมอยู่ หรือเลิกทำ ผมมีช๊อยร์ดังนี้ครับ
1.ทำต่อไป
2.ทำต่อ แต่จ้างให้คนอื่นทำแทน
3.เลิกทำ แต่ให้คนอื่นมาเช่าทำแทน โดยเก็บค่าจ้างเป็นเงิน หรือเป็นข้าวเปลือกร้อยละ 40 จากผลผลิตที่ได้ ::002::
อ้อ อีกอย่างนะครับ งานของผม ไม่ใช่นั่งโตะหน้าคอมนะครับ ต้องออกพื้นที่บ่อยๆ เวลาที่เข้า สนง.ว่างๆ จะเข้ามาโพสต์แก้เครียดครับ ไม่ได้นั่งโพสต์ตลอดวันโดยเอาเวลาทำงานมานั่งโพสต์นะครับ  ::001::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 13, 2010, 07:17:11 PM
ทีนี้มาถึงเรื่องโกงตาชั่งมั่งดีกว่า  ถ้าถามว่าการโกงตาชั่งของพ่อค้ามีจริงมั้ย ตอบได้เลยว่าจริงครับ ส่วนจะมากน้อยขนาดไหน แล้วแต่พื้นที่ครับบางพื้นที่ก็ไม่มีเลยครับ แต่ก็ยังไม่วายถูกหาว่าโกงตาชั่งอยู่ดี อันนี้แยกเป็นสองกรณีครับ อันแรกตาชั่งไม่ได้โกง แต่ชาวนารู้สึกว่าโกง เพราะข้าวหนึ่งอุ้มจะประมาณสองพันกว่า กก. แต่รถเกี่ยวบางคันชอบโฆษณาว่าหนึ่งอุ้มของตัวเองใส่ข้าวได้ถึงสองพันห้าร้อย กก. (เวลารถเกี่ยวเกี่ยวข้าว ข้าวจะถูกเก็บในกระบะของรถเกี่ยว ถ้าเต็มกระบะนี้เรียกว่าหนึ่งอุ้มครับ ) แต่ทีนี้อันนั้นมันหมายถึงปริมาณสูงสุดที่บรรจุได้ครับ บางทีข้าวมีข้าวลีบปนอยู่เยอะ น้ำหนักก็ไม่ได้ หรือข้าวไม่สมบูรณ์ น้ำหนักก็จะไม่ถึงครับ หรือบางทีก็ไม่เต็มอุ้มดี พอน้ำหนักได้ไม่ถึงสองพันกว่า กก. ก็เข้าใจว่าพ่อค้าโกงครับ ท่าข้าวโรงสีทุกท่าส่วนใหญ่โดนข้อหานี้หมดครับ ไม่ว่าจะโกงจริง หรือไม่จริงมักจะมีข่าวทำนองนี้ทุกที่ครับ  :~)

ส่วนอันหลังโกงจริงครับ เพื่อลดต้นทุน ครับ แต่เรื่องนี้ก็มีความจริงที่อยู่เบื้องหลังข้อเท็จจริงครับ โดยส่วนใหญ่ท่าข้าวที่โกงตาชั่งจะรับซื้อข้าวในราคาสูงกว่าความเป็นจริง อย่างเช่น ข้าวราคา 7500 บาท แต่ตั้งราคาซื้อ 7700 บาท ทำไมถึงซื้อได้ เพราะกินกิโลอีก ประมาณ 2-3 เปอร์เซ็น ต้นทุนเหลือ 7500 เท่าเดิม บางพื้นที่ที่มีการโกงตาชั่งกัน ส่วนใหญ่ เพราะชาวนาดูราคาซื้อเป็นหลักครับ สมมติว่าท่าข้าวที่ไม่โกงกิโล ซื้อราคา 7500 บาท แต่ท่าข้าวที่กินกิโลซื้อราคา 7700 บาท ถ้าชาวนาพื้นที่ไหนเลือกขายราคา 7700 บาทมาก พ่อค้าที่ไม่กินกิโลก็อยู่ไม่ได้ ถ้าไม่เลิกทำอาชีพนี้ ก็เลิกเป็นคนดี เปลี่ยนมากินกิโลบ้าง เพื่อให้ตั้งราคาซื้อได้สูงเท่าเขาครับ

แต่บางพื้นที่ชาวนาเลือกขายราคา 7500 บาทแต่ ไม่กินกิโล พ่อค้าที่กินกิโลก็จะซื้อของไม่ได้ เดี๋ยวก็เปลี่ยนมาเป็นไม่โกงกิโลเองครับ

สรุปง่ายๆ บางพื้นที่ชาวบ้านเลือกที่จะขายให้พ่อค้าที่กินกิโลอยู่ครับ ถ้าขายได้แพงกว่า ทั้งๆที่รู้ว่าจะถูกเขาโกงกิโล เพราะอะไรถึงยอมครับ คือชาวบ้านเขากลัวโดนสองเด้งครับ ทั้งซื้อถูก ทั้งโดนโกงกิโล ก็เลยเลือกขายที่ราคาสูงไว้ก่อนครับ แต่โดยทั่วไปขายที่ไหนก็ได้เงินเท่ากันครับ ถ้าซื้อแพงกิโลก็หาย แต่ถ้ากิโลดีราคาก็จะมักถูกกว่าครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 14, 2010, 09:26:01 PM
ถ้าใครอยากรวยก๊อ...ทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับชาวนาสิครับ รวยแน่ๆ คิดดูนะครับ ว่ามีอาชีพอะไรบ้าง....


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ ธันวาคม 20, 2010, 07:47:41 PM
ปัญหาเรื่องผลผลิตน้อยที่ชาวนาไทยพบมากอีกอย่าง คือเรื่องข้าวไม่กินปุ๋ย ใส่เคยใส่ปุ๋ยครึ่งลูกข้าวก็งาม กลับต้องใส่เป็น 1 ลูกต่อไร่ แต่บางทีใส่ไปเท่าไรข้าวก็ไม่งาม  หรือใส่ปุ๋ยไปเท่าไรผลผลิตก็ไม่เพิ่ม อธิบายได้ว่าดินที่ชาวนาปลูกข้าว ปีแรกๆ ดินยังอุดมสมบูรณ์ดีอยู่ พอใส่ปุ๋ยเคมีเสริมเข้าไปข้าวมันก็งามดี แต่ทีนี้ชาวนาเอาแต่ทำนาอย่างเดียวไม่คิดจะบำรุงดินเพิ่ม ธาตูอาหารก็หมดไปทุกปี แทนที่จะแก้ที่ต้นเหตุ คือเพิ่มธาตุอาหารในดิน กลับไปแก้ที่ปลายเหตุ คือใสปุ๋ยเพิ่ม ปีสองปี ข้าวมันก็ยังดีได้อยู่ แต่พอหลายๆปีเข้า ธาตุอาหารยิ่งน้อยลงไปทุกวัน ทำให้ใส่ปุ๋ยเท่าไร ผลผลิตก็ไม่เพิ่ม แต่ต้นทุนค่าปุ๋ยกลับเพิ่ม ข้าวมันก็เหมือนคนครับ ต้องกินอาหารให้ครบห้าหมู่ ทีนี้เราใส่แต่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว มีแต่ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แต่อย่างอื่นไม่มี ข้าวก็ไม่โต

วิธีแก้ก็ง่ายนิดเดียว แค่หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพิ่อเพิ่มอินทรีย์สารในดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี กับยาฆ่าแมลงลง แค่นี้ก็สามารถเพิ่มผลผลิตให้ได้ 1 ไร่ต่อตันแล้ว ครับ บ้านแฟนผมเจอปัญหานี้แหละ คือข้าวไม่กินปุ๋ย ได้ข้าว 400 กก.ต่อไร่ พอฤดูที่แล้ว ใส่ปุ๋ยชีวภาพ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ นา 3 ไร่ ได้ข้าว 3150 กก. แต่ชาวนาที่ผมเคยเจอ มักมีข้ออ้างต่างๆ ที่จะไม่ทำ พูดให้ฟังจนตอนนี้เลิกพูดไปแล้วครับ ถ้าไม่เชื่อลองดูได้ครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ ธันวาคม 20, 2010, 07:56:20 PM
เข้ามาอ่าน+เรียนรู้ครับ, ขอบพระคุณหลายท่าน... อ่านแล้วทราบครับ ว่า"ตัวจริง"มาคุยด้วยครับ...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: วายุ - รักในหลวง ที่ ธันวาคม 20, 2010, 09:56:12 PM
สุดยอดครับ... เรื่องข้าว เรื่องนา อันนี้ผมไม่รู้จริง ๆ มาอ่านแล้วก็ได้ความรู้อีกเยอะ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: STeelShoTS ที่ ธันวาคม 20, 2010, 10:19:26 PM
 ยก"ป้าเซ็ง"เป็นรัฐมนตรีกระทรวงวิทฯ...เนรมิตเจ้าของ "ปูแดงไตโคซาน" เป็นเจ้ากระทรวงเกษตรฯ.......
 
   ชาวนาไทยพ้นเภทภัยยากจน.....  ::009:: ::006::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายแป๋ง คนดง ที่ ธันวาคม 20, 2010, 10:55:05 PM
ยก"ป้าเซ็ง"เป็นรัฐมนตรีกระทรวงวิทฯ...เนรมิตเจ้าของ "ปูแดงไตโคซาน" เป็นเจ้ากระทรวงเกษตรฯ.......
 
   ชาวนาไทยพ้นเภทภัยยากจน.....  ::009:: ::006::

     ::007:: ::007:: ::007::พ่อค้า-แม่ค้าตลาดสดจะงดทิ้งขยะพวกพืชผัก-ผลไม้น้อยลง  เพื่อที่จะเอาของเหล่านั้นไปขายให้"ป้าเซ็ง "หมักทำยาหยอดตา
     ::007:: ::007:: ::007:: ส่วนปูแดงคงแย่หน่อยคู่แข่งขายไม่ดี"ปูแดงไตโคซาน"จะเอาบรรจุภัณฑ์ที่ไหนมาบรรจุจำหน่าย  ถ้าสองคนนี้เป็นรัฐมนตรี
ผมไม่ขอรับตำแหน่งนายกนะครับ  กลัว............................... :OO :OO :OO


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ ธันวาคม 21, 2010, 09:32:00 AM
ยก"ป้าเซ็ง"เป็นรัฐมนตรีกระทรวงวิทฯ...เนรมิตเจ้าของ "ปูแดงไตโคซาน" เป็นเจ้ากระทรวงเกษตรฯ.......
 
   ชาวนาไทยพ้นเภทภัยยากจน.....  ::009:: ::006::
รมต.เต้าหู้ยี้รึเปล่าครับ ::005::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ ธันวาคม 22, 2010, 01:08:11 PM
ข้าวกลางวัน วันนี้ ... เคี้ยวไป อ่านไป เศร้าไป

เค้าบอกว่า "เวียตนาม" แซงหน้าไปแล้วเรื่องข้าว  :OO

ใครได้อ่านบ้างครับ ... คอลัมน์ของ ลม เปลี่ยนทิศ จาก ไทยรัฐ

......   :~)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ ธันวาคม 23, 2010, 04:50:20 PM
จากไทยรัฐ จริงหรือเปล่า


(http://image.ohozaa.com/i/5ad/pagzw.jpg)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ ธันวาคม 23, 2010, 04:54:10 PM
ผมไม่ทราบว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลครับน้าซับ ...

... แต่ผมบอกว่า ผมอ่านมาจากคอลัมน์ ลม เปลี่ยนทิศ ในไทยรัฐอ่ะครับ

   ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ ธันวาคม 24, 2010, 10:04:17 AM
ครับ แล้วเนื้อหาภายในล่ะครับ มีส่วนถูกต้องมากไหม


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ ธันวาคม 24, 2010, 10:08:30 AM
งั้นต้องรบกวนน้าซับช่วย เปิดกะโหลกผมที ...  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: jane1 ที่ ธันวาคม 24, 2010, 11:10:04 AM
พี่ๆครับ แล้วทำไมเราทำแบบ เวียตนามไม่ได้ครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ ธันวาคม 24, 2010, 11:15:31 AM
ระบบการปกครองต่างกันครับ
เวียตนามเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมมีพรรคการเมืองพรรคเดียวคือ
พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียว
ผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่


1.กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย

2.กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ “วิวัฒนาการที่สันติ” peaceful evolution)
อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ

3.กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาล
เวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ใน
ย่างก้าวที่รวดเร็วนัก


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Southlander ที่ ธันวาคม 24, 2010, 12:04:57 PM
นึกว่ามีตระกูล เหงียน ตระกูลเดียวที่เป็นใหญ่ว่าไงว่าตามกันเลยตัดสินใจทำอะไรได้รวดเร็ว


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ ธันวาคม 24, 2010, 12:12:35 PM
แต่เท่าที่ทราบข่าว ... รู้สึกเหมือนตอนนี้เวียตนาม "ไปเร็ว"มาก

... ทั้งเรื่องภายในประเทศ และความสัมพันธ์กับต่างชาติ  :OO


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ ธันวาคม 24, 2010, 12:22:07 PM
จีนเป็นแบ็คอัพครับ
แม้แต่นายทุนไทยก็แบ็คอัพอยู่


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 03, 2011, 09:42:18 PM
พี่ๆครับ แล้วทำไมเราทำแบบ เวียตนามไม่ได้ครับ

ลองคิดดูว่าถ้าเกิดมีนักการเมืองออกมาบอกว่า ให้ลดราคาข้าวในประเทศลงหน่อย เพราะไทยจะได้แข่งขันกับต่างประเทศได้ อนาคตของนักการเมืองคนนั้นจะเป็นอย่างไร  ทั้งที่ความจริง ถ้าราคาข้าวในประเทศแพง กลับจะมีผลเสียมากกว่าผลดี เพราะเป็นการจูงใจให้แต่ละประเทศหันมาปลูกข้าวเองมากขึ้น เวียดนามก็เพิ่มพื้นที่ปลูก เพราะกำไรมันดี ประเทศที่นำเข้าข้าวก็จะปลูกเองมากขึ้น เพราะมันคุ้มทุนที่จะทำ อีกหน่อยตลาดข้าวของไทยจะตีบลงเรื่อยๆ ถามว่าทำไมปัญหานี้แก้ไม่ได้ ลองถามดูละกันว่าจะมีชาวนาไทยคนไหนรับได้ ถ้าเกิดบอกว่าราคาข้าวในประเทศสูงเกินจริง ควรที่จะต้องลดราคาลงอีก 

จริงๆแล้วต้องรับความจริงให้ได้ก่อนว่าทุกวันนี้ไทยปลูกข้าวด้อยประสิทธิภาพ ผลผลิตต่ำ แต่ต้นทุนสูง ทั้งที่เราทำข้าวมาก่อนเขา กว่าเวียดนาม หรือประเทศอื่นๆจะตามไทยทันเรื่องข้าวอันนี้ต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะมันมีเรื่องการปรับพื้นที่ คลองชลประทาน เขื่อน ทั้งระบบมันต้องไปด้วยกัน ตอนนี้เรากำลังกินบุญเก่าอยู่ แต่เขากำลังจะแซงเรา เหตุผลก็เพราะราคาข้าวมันแพงนี้แหละ

วันนี้ไปคุยกับโรงสีแถวลพบุรีมา บอกว่าฤดูนี้ข้าวดีกว่าทุกปี เพราะอะไร เพราะเมื่อกลางปีน้ำท่วมข้าวเสียหายหมด แต่กลายเป็นว่าดินมีการพักตัว ฟื้นตัว ต้นข้าวที่ถูกน้ำแช่ก็เน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยอีกทาง ทำให้ปีนี้ข้าวได้ผลผลิตดี ได้มากกว่า 1000 กก.ต่อไร่เสียอีก ชี้ให้เห็นว่าปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำ เพราะเนื่องจากว่าดินขาดธาตุอาหาร จากการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีมานาน ซึ่งแก้ได้เพียงให้ดินได้มีการพักตัวบ้าง เพิ่มธาตุอาหารในดินโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือการหมักฟาง ปุ๋ยเคมีไม่ได้ห้ามใช้ครับ แต่ควรใช้แต่น้อย คนเราควรกินข้าวให้ครบห้าหมู่ก่อน แต่บางคนอาจต้องการวิตามินเสริม ก็ว่าเป็นคนๆไป แต่ถ้าให้กินแต่วิตามินแทนข้าวไปเลย ก็อยู่ไม่ได้ 
พืชก็เหมือนกันครับ ให้เขาได้ธาตุอาหารที่สมบูรณ์ก่อน แล้วค่อยให้ปุ๋ยบางอย่าง เพื่อผลที่เราต้องการเช่น เร่งดอก เร่งผล แต่ถ้าฉีดแต่ปุ๋ยอย่างเดียว ไม่ให้พืชได้กินข้าว อันนี้ไม่ดีแน่ๆครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: โทน73 -รักในหลวง- ที่ มกราคม 03, 2011, 11:57:38 PM
ในหน่วยผลิตย่อย ถ้าไม่คิดแบบ "เศรษฐกิจพอเพียง" ยากที่จะพ้นวัฎจักรความยากจน
ดูอย่าง เศรษฐี  เขาก็เริ่มจากการ การประมาณตน ก่อนทั้งนั้น

เราอย่าไปมองความรวยความจนกันก่อนเลย  มองที่ทำอย่างไร ถึงจะไม่ให้คนไทยบางภาคส่วนอดมื้อกินมื้อ  แบ่งกินให้ทั่วอย่างพอเพียงก่อนแล้วค่อยคิดขยาย   แต่นี้เราทำเหมือน ปีรามิด กลับหัว ในขณะที่รากฐานยังไม่แน่น เราสนใจแต่การส่งออกเน้นการผลิตเพื่อเชิงการค้าโลก เปรียบเป้นคนก้เป้นคนที่มีสองตัว แต่แข้งขาลีบ   เราไปแข่งบนเวทีการค้า WTO ที่เราไม่ได้เป็นผู้กำหนดกติกา  ไม่ว่าอย่างไรโอกาสได้การค้าการเป็นธรรมมันเกิดขึ้นได้ยากอยู่แล้ว  ทำรากฐานให้แข็งแกร่งก่อน แล้วค่อยเดิน  เดินแข็งแล้วค่อยวิ่ง   ..... อย่าคลาน แล้ว ซ้อนมอเตอร์ไซด์อย่างเดียว


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ มกราคม 04, 2011, 12:05:27 PM
ปัญหาแบบนี้ ผมมองเห็นสองอย่าง

... การเอาจริงเอาจัง ที่จะแก้ปัญหาและวิสัยทัศน์ในการวางแผนระยะยาว ... มีมั้ย !?!?

... การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างผู้ผลิต(ชาวนา) กับ ผู้จำหน่าย(พ่อค้า) ... มีความเหมาะสม

และยุติธรรมหรือเปล่า ........ ราคาสินค้าแพงขึ้น ผู้ผลิตก็น่าจะมีรายได้ดีขึ้น ตามตรรกะ

ยกตัวอย่างเรื่อง "ยาง" ... ตอนนี้พอยางราคาสูง เกษตรกรผู้ปลูกยาง

ต่างก็มีรายได้และฐานะที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ... เพราะผู้รับซื้อ ต่างก็แย่งกันซื้อ

ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา เกษตรกรมีทางเลือก ว่าจะขายหรือไม่ขายให้ใคร ก็ไม่ถูกเอาเปรียบ(มาก)

... ต่างจากเกษตรกรที่ทำนา ... ส่วนใหญ่ที่เห็น มีแต่ทำใช้หนี้ มีแต่ผู้ซื้อผูกขาด มีแต่โรงสี ฮั้วราคากัน

แล้วอย่างนี้ ... เมื่อไหร่จะลืมตาอ้าปากได้



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: your-ประชาธิปไตย ที่ มกราคม 05, 2011, 12:16:41 PM
      ที่สำคัญชาวนาทุกวันนี้ขี้เกียจและไม่รู้จักพัฒนา สมัยก่อนเคยเกี่ยวข้าวด้วยมือ ตีข้าว ตำข้าวเอง เดี๋ยวนี้พึ่งพาเครื่องจักรและสารเคมีที่ต้องหาซื้อมาในราคาแพงทุกอย่าง บางคนมีนาไม่กี่ไร่ จ้างเค้าหมดทุกอย่าง พวกรับจ้างก็คิดค่าแรงเป็นเงินบ้าง แบ่งเอาเป็นข้าวบ้าง เหลือแทบไม่พอขายหรือกินเองด้วยซ้ำ สมัยเด็กๆพ่อผมเคยพาทำนา แถวบ้านทำนาดำ 3 คนพ่อลูก(มีน้องชายอีกคน) นา 10 กว่าไร่ทำเองแทบทุกอย่าง ตั้งแต่ไถ(มีรถไถนา) หว่าน ถอนกล้า ดำนำ ใส่ปุ๋ย สูบน้ำ เกี่ยวข้าว ตีข้าว(ด้วยมือนี่แหละ)  ได้ข้าวเหลือเฟือเพราะไม่ต้องแบ่งใคร แต่ไม่ขายเก็บไว้กินเองแจกญาติบ้างบางส่วน สมัยเด็กๆก็ไม่ค่อยเข้าใจพ่อเท่าไหร่เพราะเหนื่อยเอาการ เลิกเรียนต้องไปช่วยพ่อทำนาจนค่ำช่วงเกี่ยวข้างตีข้าวนี่บางทีเปิดไฟแบตฯตีข้าวกันยันเที่ยงคืน กลับมาถูกเคี่ยวอ่านหนังสืออีก แถมเจ้าของนารอบๆที่ใช้เครื่องจักรทำแทนคนทุกอย่างแล้วอีกทั้งพ่อและแม่ก็มีงานประจำรับราชการระดับ 7 ทั้งคู่(ใช้เวลาช่วงเสาร์-อาทิตย์และหลังเลิกงานไปทำนา)หนี้สินก็ไม่มี ซื้อข้าวกินหรือจ้างเค้าเอาก็ได้ แต่พอเอาข้าวที่เราทำเองไปสี(อันนี้ต้องจ้าง)รู้เลยว่าข้าวที่เราปลูกเองอร่อยกว่าข้าวซื้อเยอะเลย แถมยังมีความรู้สึกดีๆที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันของคนในครอบครัวอีกด้วย พูดแล้วก็คิดถึงวันเก่าๆ เวลาช่วยพ่ออยู่ในสวนในนามันมีความสุขจริงๆ ทุกวันนี้พ่อผมก็แก่ตัวลงมาก ตัวผมเองและน้องชายก็ไม่ได้ทำงานอยู่ใกล้บ้าน ที่นาก็ให้เค้าเช่าพอได้ข้าวกินไม่ต้องซื้อ
ตามไปดูวิถีชีวิต ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน

ชัยพร พรหมพันธุ์

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

"ใครว่าทำนาแล้วจน...ไม่จริงหรอก ทำนามันดีกว่าทำงานกินเงินเดือนอีก" นี่คือคำพูดยืนยันหนักแน่นจากปากของ ชัยพร พรหมพันธุ์ เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา ที่ ชัยพร พรหมพันธุ์ กล้าการันตีแบบนี้ก็เพราะว่าชาวนาอย่าง ชัยพร พรหมพันธุ์ ทำกำไรเหนาะ ๆ หักต้นทุนเรียบร้อยแล้ว เมื่อฤดูกาลผลิตที่แล้ว 2,000,000 บาทเศษ และฤดูที่เพิ่งผ่านพ้นไป 1,000,000 บาทเศษ ๆ และตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีเงินเหลือใช้มากพอ จนสามารถกำหนดเงินเดือนให้ตัวเองและภรรยาในอัตราเดียวกับผู้บริหารเสื้อคอปกขาวในเมือง มีโบนัสจากผลประกอบการไม่เคยขาด โดยเฉลี่ยก็มีรายได้ตกคนละประมาณ 60,000 – 70,000 บาท ปีก่อนนี้ซื้อทองเส้นเท่าหัวแม่โป้งมาใส่ พร้อม ๆ กับถอยรถกระบะมาขับเล่น ๆ อีกต่างหาก

ซึ่งนอกจากเงินเดือนและโบนัสสูงแล้ว ชัยพร พรหมพันธุ์ ยังซื้อที่ดินขยายการผลิตออกไป 30 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 20 ปี ด้วยเงินสด ไม่เคยขาดทุนจากการทำนาต่อเนื่องมานับตั้งแต่ปี 2533 ไม่เคยมีหนี้สิน มีหลักประกันสุขภาพชั้นดี จากการส่งประกันชีวิตประกันสุขภาพระดับ A เดือนละร่วมแสน ส่งลูก 3 คน เรียนจบปริญญาโทโดยขนหน้าแข็งไม่ร่วง...วันว่างยังพาลูก ๆ ออกไปหาของกินอร่อย ๆ นอกบ้าน ชาวนาคนนี้เขาทำได้อย่างไร ทำไมชีวิตจึงมีเงินเก็บมากมายขนาดนี้ วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปเรียนรู้การใช้ชีวิตจากเขากันค่ะ...

นายชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาวัย 48 อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 1 ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอบางปลาม้า สมรสกับคุณวิมล พรหมพันธุ์ บุตรมี 3 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 2 คน รักอาชีพการทำนาเป็นชีวิตจิตใจ ความมั่งคั่งมั่นคงทั้งปวง ได้มาจากการทำนาโดยสุจริต ไม่เอาเปรียบดินไม่เอาเปรียบน้ำ คิดซื่อ ขยันขันแข็ง และมีสองมือหยาบกร้านจากการทำงานหนักเช่นชาวนาทั่ว ๆ ไป โดยชาวนาโดยส่วนใหญ่คู่กับตำนานยิ่งทำยิ่งจน ทำนาจนเสียนา แต่สำหรับเขา ทำนาบนที่ดินมรดกพ่อ 20 กว่าไร่ กับอีกส่วนหนึ่งเขาเช่าเพิ่มเติม ทำไปทำมาก็ซื้อที่นาเช่ามาเป็นของตัวเอง ปาเข้าไป 100 กว่าไร่ แถมซื้อที่นามาโดยไม่เคยกู้แบงก์ ไม่เคยเป็นลูกค้าขี้ข้าใคร

"ผมล้มมาเยอะเหมือนกัน" สำเนียงเหน่อ ๆ ของลูกชายคนโตของผู้ใหญ่บ้านแห่ง ตำบลบางใหญ่ ผู้เพียรพยายามหาหนทางตั้งตัว เคยทำแม้แต่นากุ้งและสวนผลไม้คละชนิด แต่สู้น้ำไม่ไหว ต้องกลับมาเป็นชาวนาตามรอยพ่อ

"ทำนาเคมีมา 20 กว่าไร่ ครั้งแรกปี 2525 ได้ข้าว 13 เกวียน จำได้แม่นเลย ขายได้เกวียนละ 2,000 บาท ขาดทุนยับ พอดูหนทาง เลยไปสมัครเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คิดว่าจะได้เบิกเงินค่าเรียนลูก เพราะมองอนาคตแล้วว่าไม่มีปัญญาส่งลูกแน่ แต่ปี 2531 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาละวาดหนัก แถวบ้านเราโดนกันหมด ก็พอดีอาจารย์เดชา ศิริภัทร ทำเรื่องนาอินทรีย์และใช้สมุนไพร มาขอทำแปลงทดลองปลูกสมุนไพร พ่อก็แบ่งนาให้ 5 ไร่ ด้วยความเกรงใจ อาจารย์ก็เริ่มทดลองใช้สะเดาสู้กับเพลี้ย เครื่องไม้เครื่องมือเยอะ ผมก็ไปช่วยอาจารย์ฉีด ก็ฉีดไปยังงั้น เราไม่ได้ศรัทธาอะไร แต่ปรากฎว่าแปลงนาที่สารเคมีเสียหายหมด ส่วนแปลงนาที่ฉีดสะเดากลับไม่เป็นอะไร

ผมก็เริ่มจะเชื่อแล้ว แต่ก็ยังไม่เต็มร้อย เลยเอามาทำในนาของผมเอง ซึ่งปีนั้นชาวนาโดนเพลี้ยกันเยอะมาก หน่วยปราบศัตรูพืชจังหวัด เขาเลยเอายาที่ผสมสารเคมีมาแจก ผมก็ลองเอามาใช้ โดยแบ่งว่าแปลงนานี้ฉีดสารเคมี แปลงนานี้ฉีดสะเดา ซึ่งผลก็ปรากฎออกมาว่า แปลงนาที่ฉีดสะเดาปลอดภัยดี เก็บเกี่ยวข้าวก็ดี แต่แปลงที่ฉีดสารเคมีตายหมด ตั้งแต่นั้นมาก็เลยเชื่อสนิทใจ แล้วมาลองทำเองดู ผมก็หักกิ่งก้านสะเดามาใส่ครกตำเอง ภรรยาก็บ่นว่าทำไปทำไมเสียเวลา แต่ผมรั้น คือยังไงก็ขอลองหน่อย ก็เอาไปฉีดแล้วข้าวก็ได้เกี่ยว ผลผลิตก็ออกมาดีเกินคาด ทีนี้ชาวบ้านก็แห่มาขอสูตรเอาไปทำบ้าง แต่ก็ไม่ค่อยมีใครประสบผลสำเร็จ เพราะเขาใช้สมุนไพรคู่กับยาเคมี บางคนใช้เคมีจนเอาไม่อยู่แล้วถึงหันมาใช้สะเดา พอมันไม่ได้ผลทันตาเห็น ก็กลับไปใช้สารเคมีกันเหมือนเดิม” เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา กล่าว

การคิดต้นทุนของเขา ลงทุนเต็มที่ตกไร่ละ 2,000 บาท ในขณะที่ขายได้เกวียนละไม่ต่ำกว่า 8,000 บาท ซึ่งหลังจากเขาทำนาอินทรีย์ได้เพียง 3 ปี มีเงินเหลือมากกว่า 6 ปี ที่มัวจมอยู่กับปุ๋ยยา อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมาย ก็ใช่ว่าชัยพรจะหวงวิชาความรู้ เขายังได้ให้คำปรึกษากับผู้ที่มีปัญหา และสนใจในวิถีเกษตรอินทรีย์ ที่โทรมถามาขอคำปรึกษาตามสายแทบจะทุกวัน

ใครว่าทำนาแล้วจน...ไม่จริงหรอก" ชัยพรยืนยันหนักแน่นซ้ำอีก สำคัญตรงที่ต้องทำนาแบบใช้สมอง ไม่ใช่ทำนาแบบเป็นผู้จัดการนาสถานเดียว

"ถ้าเป็นผู้จัดการนาล่ะจนแน่ มีมือถือเครื่องเดียวโทรสั่งตามกระแส มีนาอย่างเดียว ที่เหลือจ้างเขา เริ่มทำไร่นึงก็ต้องมีพันกว่า ตั้งแต่ทำเทือก ทำดิน ไปยันหว่าน เฉพาะได้แค่ต้นนะ ยังไม่รู้เลยว่าจะได้เกี่ยวไหม จากนั้นต้องฉีดยาคุมหญ้า ใส่ปุ๋ยอีกหลายพัน ของเราต้นทุนไม่กี่สตางค์ อาศัยว่าต้องละเอียดอ่อน ต้องรักษาธรรมชาติ แล้วก็ต้องเป็นลูกจ้างตัวเอง ไม่ใช่ผู้จัดการ พอไปพูดกับเขา เขาก็บอกนาเขาน้อย แล้วก็เช่าเขา ทำอินทรีย์ไม่ได้หรอก ผมก็บอกว่าเมื่อก่อนผมก็เช่า ทำไมยังทำได้ ทำจนมีเงินซื้อนา เขาไม่คิดย้อนกลับไงว่าสมัยปู่ย่าตายายทำนา มันมียาที่ไหนล่ะ คนโบราณยังได้เกี่ยว ของเรายังดี มีสะเดาให้ฉีด สมัยโบราณมีที่ไหนล่ะ ไอ้บางคนเห็นข้าวเราเขียว ก็บอกว่าคงแอบใส่ปุ๋ยกลางคืนละมั้ง แหม๋! กลางวันยังไม่มีเวลาเลย จะมาใส่ปุ๋ยกลางคืน มาฉีดให้งูมันเอาตายเรอะ" ชัยพร กล่าว

ทุกครั้งที่ขายข้าวได้ เขาจะนึกถึงบุคคลที่นำเอาวิธีเกษตรอินทรีย์มาให้เขาได้รู้จัก และปรับใช้ในที่นาของเขา จนมีเงินเหลือเก็บ ... "ถ้าผมไม่ได้เจออาจารย์เดชาก็คงไม่ได้เกิดหรอก คงไม่ได้ส่งลูกเรียนปริญญาโทไป 2 คน อีกคนก็ว่าจะเรียนปีหน้า ลูกมาทีเอาเงินค่าเทอมทีละ 40,000 – 50,000 บาท ก็ยังเฉย ๆ เรามีให้"

ขณะที่ อาจารย์เดชา ศริรภัทร แห่งมูลนิธิขวัญข้าว ผู้เพียรพยายามเผยแพร่วิถีการทำนาอินทรีย์ยืนยันว่า ไม่ได้ช่วยอะไรชัยพรมากกว่านั้น ความสำเร็จทั้งปวงเกิดจากตัวชัยพรเอง แต่สำหรับชาวนา ป.4 ถือเป็นบุญคุณใหญ่หลวงที่ทำให้เขาก้าวมาได้ถึงวันนี้

ลูก 3 คน ของชาวนา ป.4 คนโตกำลังเรียนปริญญาโท สาขาปรับปรุงพันธุ์พืช ที่มหาวิทยาลัยเกษตร กำแพงแสน คนกลางเรียนปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ส่วนลูกสาวคนเล็กเพิ่งจบปริญญาตรี เกียรตินิยม จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ตอนนี้ทำงานธนาคาร ทุก ๆ เย็นวันศุกร์ที่ลูก ๆ กลับบ้าน ครอบครัวชาวนาเล็ก ๆ ก็จะคึกคักมีชีวิตชีวา ขับรถออกไปหาของอร่อยกินกัน ในขณะที่ชาวนาต้นทุนสูงนาติดกันไม่เคยคิดฝันว่าจะมีโอกาสเช่นครอบครัวของชัยพร

ลมทุ่งพัดอู้มา เมฆตั้งเค้ามาทางขอบฟ้าตะวันตก นารกฟางของเขาแผ่ขยายออกไปลิบตา ชัยพรยืนพิงรถลากมองดูอย่างพอใจ ลูก ๆ โตกันหมด ได้เรียนกันสูง ๆ เปลื้องภาระไปอีกเปลาะ สองคนสามีภรรยาตกลงกันว่า นาปีนี้จะเอาโบนัสใหญ่คนละเส้น แล้วแบ่งรายได้แข่งกัน ลูกสาวคนโตบอกว่า เรียนจบโทเมื่อไหร่จะกลับมาช่วยพ่อทำนา จะได้เพลาแรงพ่อ แต่พ่อกลับบอกว่า ยังทำนาสนุกอยู่

"ลูกเขาไม่อายหรอกที่พ่อเป็นชาวนา พอเราออกทีวี อาจารย์เขาเห็น เพื่อนเขาเห็น ยังมาถามเลยว่า ไม่เห็นบอกเลยว่ามีพ่อเป็นถึงเกษตรกรดีเด่นของประเทศ บางทีต่อไปถ้าคนเปลี่ยนมาทำนาอินทรีย์กันทั้งประเทศ นาดีมีกำไรกันหมด การบอกใครต่อใครว่าเป็นลูกชาวนา อาจเป็นความภูมิใจ เหมือนกับยุคหนึ่งที่คนได้ปลื้มไปกับการเป็นลูกพระยาก็ได้" ชัยพร กล่าวหน้าบาน พร้อมเล่าต่อว่า ตอนนี้เรายังทำสนุก ก็อยากขยายที่ทำให้กว้างออกไป ทำไปเถอะ ทำไปเรื่อย ๆ ทำเพลิน ๆ ไม่ขาดทุนหรอก ทำนาน่ะ มีแต่กำไร บอกกับตัวเองว่าถ้าฤดูนี้ได้ร้อยกว่าเกวียนจะขอโบนัสทอง 10 บาท บอกอย่างนี้ก็เลยต้องขยันฉีดฮอร์โมน ทำดิน ทำจิปาถะ แล้วก็ได้

และนี่คือวิถีชีวิตของ ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาร้อยล้าน ที่สามารถลบคำกล่าวที่ว่า "ทำนามีแต่จน" ได้สำเร็จ… โดยทั้งหมดทั้งมวลที่ทำให้เขาสามารถมีวันนี้ได้ก็เพราะการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี นอกจากจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นอีกด้วย และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จคือ การเป็นคนขยัน ลงมือปฏิบัติเอง แถมไม่กู้หนี้ให้เป็นภาระอีกต่างหาก…


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นิตยสาร ฅ คน
ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 (48) เดือนตุลาคม พ.ศ.2552


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ มกราคม 05, 2011, 04:32:21 PM
... ขออนุญาตครับ ... ผมไม่เคยทำนา ... แต่อยู่ ตจว. รู้จักและเคยคุยกับชาวนา ... หลายคน ...หลายพื้นที่ ... แล้วนี้ก็เป็นอีกมุมหนึ่งของชาวนาภาคอีสานครับ ...

... โดยที่ผมมองว่า ... ปัญหาแต่ละพื้นที่แตกต่างกันออกไป ... เช่น ... ด้วยพื้นฐานเลยก็คือ ที่ดิน น้ำ และพันธ์ข้าว ... นาภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน มีความแตกต่างกัน ... ทั้งดิน ทั้งขนาดการถือครองผืนที่นา และน้ำ... หรือแม้แต่ภูมิภาคเดียวกัน ... แค่ดินและน้ำต่างกัน ... ก็เป็นปัจจัย ที่ทำให้วิธีการและต้นทุนในการผลิตต่างกัน ... ในขณะที่ราคาผลผลิตใกล้เคียงราคาเดียวกันทั้งประเทศ ...

... พ่อของแฟนผม ... มีผืนที่นารวมกัน 3 แปลงเกือบร้อยไร่ ... แต่ทำนาได้ปีละครั้ง ... นาแต่ละแปลงอยู่ในละแวกเดียวกัน ... แต่ดินไม่เหมือนกันทั้ง 3 แปลง ... ต้องสูบน้ำบาดาลมาตกกล้าไว้รอฝน ...สระขุดไว้ 3 ที่ ลึกประมาณ5-6 เมตรได้ ... หน้าแล้งจริงๆ เก็บไม่อยู่ ... ลำห้วยใกล้ๆ ที่ลึกกว่า ยังแห้งขอด ... ระบบส่งน้ำจากชลประทานก็ไม่มี ... อาศัยว่าแกพอเพียงจึงอยู่ได้ ... หมดฤดูทำนา แกก็รับซ่อม ชุน ตัดเย็บ แต่งเสื้อผ้าเก่า ... ได้วันละประมาณ 100 บาท ก็ยังดี ...

... เมื่อก่อนใช้ควายดำนา ... ญาติพี่น้องลงแขกช่วยกัน ... เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ... ต่างอายุมากขึ้น ... แรงก็ถดถอย ... ไม่มีแรงพอที่จะใช้ควายไถนาได้ ...  ต้องพึ่งพารถไถ ... ญาติพี่น้องที่ทำนาเป็น ... ก็อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ... ลูกหลานก็ไม่สืบทอดเจตนา ...  หันไปเอาดีทางวิชาชีพอื่นเป็นหลัก ... การทำนาเป็นงานรอง ที่จำเป็นต้องทำ ...

... เลยเป็นสาเหตุ ... ให้ในปีต่อๆมาต้องจ้างทำนา ... ทำเองบางส่วน... และต้องใช้เครื่องจักรทุ่นแรง ... แกก็รู้ทั้งรู้ว่าไม่คุ้ม ... แต่จะกำไรมากหรือน้อย... แกก็ต้องทำ  ... ถึงอย่างไรเสียก็ยังมีข้าวกิน ... อีกที่เหลือก็เก็บไว้แจกจ่ายพี่น้องคนอื่น ... ที่ไม่มีนา ...

... แกบอกผมว่า ... ทำนาแบบเรามันไม่มีทางรวยหรอก ... เราไม่มีทุน(แกคงจะหมายถึง เงิน แรงงาน เครื่องจักร ปุ๋ย ... ในชนบททางภาคอีสานส่วนใหญ่จะอาศัยยืมหรือกู้ในการทำนา ทำการเกษตร) ... แต่ก็ต้องทำ ... ถึงไม่มีเงิน ... แต่เราก็ยังมีกิน ...

... แกบอกอีกว่า ... ไม่เคยบังคับลูกหลานให้มาทำนา ... แกทำมาเกือบทั้งชีวิต ทำทุกแบบที่หลวงแนะนำและพาทำ ... ก็ยังทำได้แค่นี้ ... บางทีคนของหลวงก็หนีหายไปเฉยๆ  ... บางทีคนใหม่มาก็ไม่เหมือนคนเก่า ...  

... แล้วทีนี้ทำนามันได้เงินปีละครั้ง ... แต่ค่าใช้จ่ายต้องมี ต้องใช้จ่ายทุกเดือน ... เจ็บไข้ได้ป่วย ... เสื้อผ้า ... น้ำมันรถ ... ค่าเล่าเรียน ... อื่นๆอีกจิปาถะ ...  แกเลยไม่บังคับให้ใครมาเอาดีทางทำนา ...

...ถึงแม้แกจะอายุมากแล้ว ... แกก็ยังบอกว่าจะไม่หยุดทำนา เพราะต้นตระกูลแกเป็นชาวนา ... ทำนาปลูกข้าวให้คนไทยได้กินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ... และแกจะทำต่อไป ...    ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: cz_dee *รักในหลวง ที่ มกราคม 05, 2011, 09:44:38 PM
ไม่มีข้าวเราจะตายไหม?
ไม่มีนำมันเราจะตายไหม?
งงมั๊ยครับ ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ มกราคม 06, 2011, 10:28:09 AM
... งง ... ครับ ...  ??? ??? ???


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: mongkol ที่ มกราคม 06, 2011, 02:43:56 PM
1.ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจทางด้านพลังงาน คือพลังงานมนุษย์(ข้าว-ปลา-อาหาร) ทำไมต้องไปก้มหัวให้กับชาติน้ำมัน
2.พ่อแม่ผมเป็นเกษตรกร แต่ผมไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเข้าไปเยี่ยมหรือให้คำแนะนำแม้แต่ครั้งเดียว(มีแต่ ธกส.ไปทวงหนี้)
3.เกษตรกรลองผิดลองถูกล้มลุกคลุกคลานไปตามยถากรรมจนบางครั้งประสบความสำเร็จ ก็จะมีบาง(หรือหลาย)หน่วยงานแบกป้ายมาปัก-ทำท่าแนะนำ-ถ่ายรูป-แล้วรายงานว่าเป็นผลงานของตนเอง
4.เม่ือยางพาราราคาดีชาวบ้านก็เปลี่ยนที่นาเป็นสวนยาง  เมื่อมังคุดกิโลละร้อยกว่าบาทชาวสวยนก็โค่นยางพาราแล้วปลูกมังคุด เม่ือปาล์มน้ำมันราคาแพงชาวสวนก็โค่นลองกองมาปลูกปาล์มน้ำมัน และอื่นๆ อีกมากมาย ทำไมจึงไม่มีแนวทางที่ชัดเจน
ทำไม????????????????????????


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ มกราคม 06, 2011, 03:25:45 PM
1.ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจทางด้านพลังงาน คือพลังงานมนุษย์(ข้าว-ปลา-อาหาร) ทำไมต้องไปก้มหัวให้กับชาติน้ำมัน

... ผมว่านะ ... เนื่องจากประเทศกลุ่มผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตร ... ไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ ... ไม่มีการรวมตัวเหมือนกลุ่มน้ำมัน ... ต่างคนต่างผลิต ... ต่างแย่งกันขาย ... จึง ไม่มีอำนาจต่อรอง ... รวมไปถึง ... วิธีการกำหนดราคาสินค้าที่ไม่เป็นธรรม ... และขาดการเอาใจใส่ดูแลจากภาครัฐอย่างแท้จริง ...

2.พ่อแม่ผมเป็นเกษตรกร แต่ผมไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเข้าไปเยี่ยมหรือให้คำแนะนำแม้แต่ครั้งเดียว(มีแต่ ธกส.ไปทวงหนี้)
3.เกษตรกรลองผิดลองถูกล้มลุกคลุกคลานไปตามยถากรรมจนบางครั้งประสบความสำเร็จ ก็จะมีบาง(หรือหลาย)หน่วยงานแบกป้ายมาปัก-ทำท่าแนะนำ-ถ่ายรูป-แล้วรายงานว่าเป็นผลงานของตนเอง
4.เม่ือยางพาราราคาดีชาวบ้านก็เปลี่ยนที่นาเป็นสวนยาง  เมื่อมังคุดกิโลละร้อยกว่าบาทชาวสวยนก็โค่นยางพาราแล้วปลูกมังคุด เม่ือปาล์มน้ำมันราคาแพงชาวสวนก็โค่นลองกองมาปลูกปาล์มน้ำมัน และอื่นๆ อีกมากมาย ทำไมจึงไม่มีแนวทางที่ชัดเจน

... แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ทุกฉบับครับ ... ขาดแต่การนำแผนที่ว่านี้ใปใช้เป็นนโยบายและไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ........ ซึ่งผู้ที่จะนำไปปฏิบัติได้ ... ก็คงไม่ต้องถามนะครับ ว่า ใคร ...  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: น่ามบ่อาบ ที่ มกราคม 06, 2011, 03:59:54 PM
 ::002:: ::002:: ::002:: ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: BIG BERETTA ที่ มกราคม 07, 2011, 06:59:58 PM
     ::008:: ผมกล่าวถึงระดับโลกดีกว่าเพราะข้าวเราส่วนใหญ่จะส่งออก :DD เรื่องก็คือ    เพื่อบ้านเราซึ่งเป็นคู่แข่งรายใหญ่ๆ มีหลายประเทศครับ ทั้งจีนและเวียตนาม เราจึงเล่นตัวไม่ได้ เคยมีคนคิดรวมกลุ่มเพื่อการต่อรองที่เข้มแข็งระดับโลก แต่จีนก็ไม่เล่นด้วย ปัจจุบันเราจึงต้องนำข้าวสารจำนวนมาก ไปแลกกับน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนน้อย ::004::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: aniki ที่ มกราคม 08, 2011, 07:54:27 AM
ขอตอบเป็นโพสที่2  ตามกระทู้ที่ถาม  และประสบการณ์ที่เจอมาเมื่อเทียบกับเมืองไทยและญี่ปุ่น  สรุปได้คำเดียวคือ

....รัฐไม่สนใจ ชาวเกตรกรครับ 

ถ้ารัฐ.ให้ความสำคัญ  จะมองปัญหาออกและแก้ไขได้ครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ มกราคม 09, 2011, 10:31:39 AM
    ::008:: ผมกล่าวถึงระดับโลกดีกว่าเพราะข้าวเราส่วนใหญ่จะส่งออก :DD เรื่องก็คือ    เพื่อบ้านเราซึ่งเป็นคู่แข่งรายใหญ่ๆ มีหลายประเทศครับ ทั้งจีนและเวียตนาม เราจึงเล่นตัวไม่ได้ เคยมีคนคิดรวมกลุ่มเพื่อการต่อรองที่เข้มแข็งระดับโลก แต่จีนก็ไม่เล่นด้วย ปัจจุบันเราจึงต้องนำข้าวสารจำนวนมาก ไปแลกกับน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนน้อย ::004::

... ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ... ข้าวไทย ส่วนใหญ่ จะใช้บริโภคภายในประเทศ ... ที่เหลือค่อยส่งออก ...  ::014::



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ มกราคม 09, 2011, 10:43:17 AM
ขอตอบเป็นโพสที่2  ตามกระทู้ที่ถาม  และประสบการณ์ที่เจอมาเมื่อเทียบกับเมืองไทยและญี่ปุ่น  สรุปได้คำเดียวคือ
....รัฐไม่สนใจ ชาวเกตรกรครับ  
ถ้ารัฐ.ให้ความสำคัญ  จะมองปัญหาออกและแก้ไขได้ครับ
... อันนี้ น่าสนใจครับ ...เป็น ...
... รายงานประจำเดือน ประมวล วิเคราะห์สถานการณ์ และ แนวโน้มข้าวไทย ... รวบรวมและจัดทำโดย นายสุรัตน์ โชคประจักษ์ชัด และคณะสมาคมโรงสีข้าวไทย ( พฤศจิกายน 2553) ...

10 ข้อด้อยข้าวไทย(07 ต.ค.53)

  นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลศึกษา ทางรอดข้าวไทยเพื่อการแข่งขันในตลาดอาเซียนว่า พบข้อด้อย 10 ข้อ ของข้าวไทยที่ทำให้สู้ข้าวเวียดนามไม่ได้ ประกอบด้วย

  1.เวียด นามมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทย โดยปี 53/54 เวียดนามผลิตข้าวได้ 862.4 กก.ต่อไร่ สูงเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย รองจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน และสูงเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน ขณะที่ไทยผลิตข้าวได้ 448 กก. ต่อไร่ เป็นอันดับ 13 ของเอเชีย และอันดับ 7 ของอาเซียน อีกทั้งไทยมีผลผลิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 594.6 กก.ต่อไร่ และต่ำกว่ากัมพูชาอีก
ทั้งนี้จุดอ่อนต่อมา
  2.ต้นทุนผลิตข้าวเวียดนามต่ำกว่าไทย 16.5% แต่ได้กำไรสูงกว่า 67%
  3.เวียดนามส่งเสริมให้ชาวนาใช้นโยบาย 3 ลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ การใช้ ปุ๋ยเคมี และใช้ยาปราบศัตรูพืช ขณะเดียวกันให้ 3 เพิ่ม ได้แก่ เพิ่มผลผลิต คุณภาพ และกำไร
  4.ไทยสูญเสียตลาดส่งออกข้าวในอาเซียนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 48 อาทิ ฟิลิปปินส์ที่ย้อนหลัง 5 ปี เวียดนามส่งออกข้าวมากกว่าไทยแล้ว 23 เท่า
  5.ราคาข้าวเวียดนามถูกกว่าไทยอย่างต่อเนื่อง โดยปี 48 ข้าวไทยสูงกว่าเวียดนาม 30 ดอลลาร์สหรัฐแต่ปี 52 ราคาข้าวเพิ่มเป็น 123 ดอลลาร์สหรัฐ
  6.วิธีการทำตลาดเวียดนามใช้การทำตลาดแบบทีมเดียว โดยรัฐทำหน้าที่การตลาดและเจรจาขายแบบรัฐต่อรัฐ(จีทูจี) ส่วนเอกชนทำหน้าที่ส่งออก ทำให้ขยายตลาดส่งออกนอกอาเซียนได้เพิ่มขึ้น ทั้งฮ่องกง ออสเตรเลียและไต้หวัน
  นอกจากนี้
  7.เวียดนามยังเน้นความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการผลิตข้าวและแปรรูปสินค้าข้าว โดยตั้งบริษัทร่วมทุนกับกัมพูชา และเตรียมร่วมมือกับพม่าต่อไป
  8.รัฐให้การอุดหนุนลดต้นทุนการผลิต ทั้งยกเว้นภาษีค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และตั้งกองทุนช่วยเหลือ
  9.รัฐบาลเวียด นามประกาศช่วยเหลือชาวนาบังคับให้พ่อค้าคนกลางเหลือกำไรให้ชาวนาอย่างน้อย 30% ของต้นทุนและจะมี เป้าหมายเพิ่มอีก 2.5-3 เท่าของต้นทุน
  และ
  10.รัฐบาลเวียดนามเพิ่มการลงทุนตั้งตลาดค้าข้าวและคลังสินค้าในต่างประเทศ ซึ่งทำแล้วในฟิลิปปินส์ แทนซาเนีย กานา แอฟริกาใต้ และพม่า

  นายอัทธ์กล่าวว่า เวียดนามทำตลาดเชิงรุกมาตลอดจึงทำให้ 5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ส่วนแบ่งการส่งออกข้าวเวียดนามในอาเซียนเพิ่มต่อเนื่องจาก 47% เป็น 59.9% หรือเพิ่มขึ้น 12% ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยลดลงจาก 49.5% เหลือ 39.6% หรือลดลง 10% ซึ่งหากรัฐบาลไม่เร่งแก้ไขและปรับปรุงจุดอ่อน จะทำให้อีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 63 การ ส่งออกข้าวไทยจะถดถอย ปริมาณส่งออกลดลง 14% หรือไม่เกิน 5.6 ล้านตัน จากปัจจุบัน 9.5-10 ล้านตัน ขณะที่เวียดนาม จะเพิ่ม 25% หรือจาก 6 ล้านตัน เป็นกว่า 7.5 ล้านตัน แซงหน้าไทยไปในที่สุด
  นายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรม การมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า พบปัญหาน่าห่วงต่ออาชีพเกษตรกรชาวนาไทย มีจำนวนลดลงต่อเนื่องเหลือเพียง 9% เมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศต่างจาก อดีตที่เคยสูงถึง 40% เพราะที่ผ่านมาไทย มุ่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนดึงแรงงานภาคเกษตรเข้ามามาก และหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป จะทำให้ภาคเกษตรกรรมและชาวนาอ่อนแอ และกระทบต่อฐานะไทยในการเป็นแหล่งอาหารของโลก ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ที่รัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นมีความเข้าใจและดูแลเกษตรกรในประเทศอย่างเต็มที่ ทำให้เกษตรกรของญี่ปุ่นมีคุณค่ามากและมีคุณภาพชีวิตที่ดี



http://www.thairicemillers.com/images/stories/November53/oct%202010web.pdf (http://www.thairicemillers.com/images/stories/November53/oct%202010web.pdf)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ มกราคม 09, 2011, 10:53:07 AM
.... สถานการณ์ข้าวรายเดือน ... ราคาข้าวประจำเดือน ... รายงานจาก .... เว็ปไซต์สมาคมโรงสีข้าวไทย ... ครับ ...   ::014::

http://www.thairicemillers.com/index.php?option=com_content&task=view&id=1366&Itemid=58 (http://www.thairicemillers.com/index.php?option=com_content&task=view&id=1366&Itemid=58)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 10, 2011, 01:06:35 PM

1.ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจทางด้านพลังงาน คือพลังงานมนุษย์(ข้าว-ปลา-อาหาร) ทำไมต้องไปก้มหัวให้กับชาติน้ำมัน

ข้าวกับน้ำมันไม่เหมือนกันอย่างครับ ข้าวปลูกมาแล้ว ถ้าไม่ขายต้องหาที่เก็บ เก็บไว้นานก็มีเน่าเสียได้ ต้องเสียค่าโกดังเก็บ แถม รอบของการทำนาแค่สี่เดือน ถ้าไม่รีบขาย มีเวลาอีกแค่สี่เดือน ก็จะมีข้าวชุดใหม่ออกมาอีกรอบ ต้องรีบระบายของเก่า ทำให้อำนาจต่อรองเราต่ำ คนซื้อเขาก็อยากได้ของถูก ถ้าเขาอ่านได้ว่ายังไงเราก็ต้องขาย เขาก็จะรอซื้อของถูก ถ้าเราไม่ขายอยู่ประเทศเดียว แต่เวียดนาม จีน อินโดขาย พอประเทศที่ซื้อได้ของไปแล้ว ดีมานด์มันก็หายไป ทีนี้จะไปขายใคร สุดท้ายต้องยอมขายถูกอยู่ดี เผลอๆก็ต้องขายถูกกว่าเดิมด้วยซ้ำ จะห้ามชาวนาไม่ให้ปลูกข้าวก็ไม่ได้
        แต่น้ำมันไม่เหมือนตรงที่ว่าน้ำมันมันอยู่ใต้ดิน จะใช้เท่าไรก็ขุดออกมาเท่านั้น ไม่ต้องเสียค่าเก็บ เขาสามารถกำหนดซัพพลายเองได้ อันนี้เขาไม่ขายก็ไม่เดือดร้อน เพราะยังไงก็ขายได้อยู่แล้ว
ฝากคำถามให้ได้คิดซักข้อครับ ทำไมเวลามีข่าวว่าน้ำมันแพง ประเทศกลุ่มโอเปคถึงต้องออกมาประกาศว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้ราคาน้ำมันถูกลง ทั้งๆที่น้ำมันแพงเขาน่าจะชอบ เพราะขายได้เงินเยอะขึ้น แต่ทำไมบ้านเราขายของได้ยิ่งแพงเท่าไรยิ่งดี ยิ่งแพงยิ่งชอบ
2.พ่อแม่ผมเป็นเกษตรกร แต่ผมไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเข้าไปเยี่ยมหรือให้คำแนะนำแม้แต่ครั้งเดียว(มีแต่ ธกส.ไปทวงหนี้)

ผมว่าอาชีพอื่นๆก็เป็นเหมือนกันครับ ไม่เฉพาะเกษตรกรหรอก เรื่องจะรอความช่วยเหลือจากภาครัฐ อันนี้หวังยากครับ ที่จริงควรพึ่งตัวเองให้ได้ก่อน ถ้ามีความช่วยเหลือจากภาครัฐก็จะยิ่งดีขึ้น แต่ถ้าไม่มีเราก็ต้องอยู่ได้ด้วยตัวเองก่อน  จริงๆแล้วความช่วยเหลือจากภาครัฐก็มีอยู่แล้ว พวกเงินกู้ กองทุนหมู่บ้านเอย SMLเอย ธกส.ก็กู้ดอกเบี้ถูกกว่าปกติอยู่แล้ว ไหนจะโครงการรับจำนำ ประกันราคา ประกันรายได้ให้เกษตรกร บางคนบอกว่าไม่พอ แต่ก็ต้องมองอาชีพอื่นด้วยว่าเขาได้อะไรกันมั้ง
ไม่ใช่ว่าการช่วยเหลือจากภาครัฐไม่ดีครับ แต่ต้องดูด้วยว่าสิ่งที่ทำคุ้มค่าแค่ไหน ผลกระทบที่ตามมาคืออะไร ยกตัวอย่างโครงการประกันรายได้ให้เกษตรกร ถ้าเกษตรกรขายข้าวได้ต่ำกว่าราคาประกัน ก็มารับเงินส่วนต่างได้จากรัฐ อันนี้ก็ดีครับ เพราะเขาต้องการให้เกษตรกรอยู่ได้ อย่างน้อยก็ไม่ขาดทุน แต่ข้อเสียคือ เป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ผิด ทำยังไงก็ได้เงินเท่ากัน จะทำออกมาแย่แค่ไหนก็ได้เงินเท่ากันอยู่ดี  คนที่ทำผลผลิตออกมาให้ได้คุณภาพดีก็จะไม่มีใครทำ เพราะต้นทุนสูงกว่า ใช้เวลามากกว่า สู้ทำๆไปเอาง่าย ขายไม่ได้ราคาก็ไม่เป็นไร เดี๋ยวก็ได้ส่วนต่างจากภาครัฐอยู่ดี พอข้าวทำได้ พืชอื่นก็ขอมั่ง  อีกหน่อยสินค้าจากประเทศไทยก็จะมีคุณภาพต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้เราแข่งขันในระดับโลกลำบาก ประเทศอื่นเขาก้าวไปข้างหน้า แต่ไทยเราก้าวถอยหลัง เพราะนโยบายของรัฐออกมาฆ่าตัวเอง ฆ่าตลาดของตัวเอง นโยบายข้าวแพงรัฐต้องใช้เงินเป็นแสนล้านเพื่อจำนำข้าว แต่เวียดนามพลอยได้อานิสงค์จากราคาข้าวแพงไปด้วย โดยไม่ต้องทำอะไรเลย แล้วเราก็ไปห้ามประเทศอื่นไม่ให้ซื้อเวียดนามไม่ได้ด้วย  เพราะเขาขายถูกกว่าเรา
     ที่ถูกคือต้องไปสอนให้เกษตรกรเพิมมูลค่าสินค้าให้ตัวเอง อย่างการใช้ปุ๋ยให้ถูกวิธี การทำเกษตรชีวภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า การเลือกพันธุ์ให้ได้ผลผลิตดีตรงตามความต้องการของตลาด การที่เราอยากขายสินค้าให้ได้ราคาดีๆ สินค้าเราต้องดีก่อน  ไม่ใช่ว่าอยากจะขายให้ได้แต่แพงๆ แต่ไม่สนใจจะควบคุมคุณภาพ ใครมั่งอยากซื้อของคุณภาพต่ำ แต่ราคาสูง

3.เกษตรกรลองผิดลองถูกล้มลุกคลุกคลานไปตามยถากรรมจนบางครั้งประสบความสำเร็จ ก็จะมีบาง(หรือหลาย)หน่วยงานแบกป้ายมาปัก-ทำท่าแนะนำ-ถ่ายรูป-แล้วรายงานว่าเป็นผลงานของตนเอง

อันนี้ตอบได้แค่มันเรื่องของเขาครับ ช่างเขา มันก็ไม่ทำให้เราเสียอะไรไม่ใช่เหรอ ถ้ามองในแง่ดี จะได้เป็นการประชาสัมพันธ์ วิธีของคนที่ประสบความสำเร็จให้เกษตรกรคนอื่นได้ทำตามคนที่ประสบความสำเร็จ จะได้ไม่ต้องลองผิดลองถูก

4.เม่ือยางพาราราคาดีชาวบ้านก็เปลี่ยนที่นาเป็นสวนยาง  เมื่อมังคุดกิโลละร้อยกว่าบาทชาวสวยนก็โค่นยางพาราแล้วปลูกมังคุด เม่ือปาล์มน้ำมันราคาแพงชาวสวนก็โค่นลองกองมาปลูกปาล์มน้ำมัน และอื่นๆ อีกมากมาย ทำไมจึงไม่มีแนวทางที่ชัดเจน
ทำไม????????????????????????
อันนี้ผมก็สงสัยเหมือนกันครับว่าทำไมเกษตรกรถึงยอมทำอะไรแบบนั้น สวนยาง สวนสัก สวนมะม่วงปลูกมาสี่ห้าปี เริ่มจะให้ผลผลิตได้แล้ว ถึงยอมโค่นเพียงเพราะแค่ว่าราคามันไม่ค่อยดี พืชอื่นดีกว่า ทำไมไม่ลองหาวิธีเพิ่มผลผลิต เพิ่มมูลค่าสินค้า หรือหาตลาดใหม่ๆก่อน ใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่ให้เต็มที่ก่อน ก่อนที่จะลงทุนใหม่ หรือถ้าพืชอื่นมันราคาดีกว่าจริงๆ แทนที่จะโค่นหมด ก็แบ่งพื้นที่ทำเอา มีทั้งสวนสัก ปลูกอ้อย ปลูกข้าว ปลูกถั่ว ลองกอง มะม่วง ลำไย มังคุด กล้วย  ขนุน จะได้มีผลไม้ขายได้ตลอดปี แล้วไม่ต้องไปเสี่ยงกับพืชชนิดเดียว ถ้าราคาดีก็ดีไป ถ้าราคาไม่ดีก็ยังมีพืชอื่นทำกำไรได้อยู่ อันนี้ผมว่าต้องไปแก้ที่ตัวเกษตรกรมากกว่า 


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ มกราคม 12, 2011, 09:55:28 AM
มิติใหม่วงการข้าวครับ



ข้าวไผ่เป็นข้าวผสมข้ามสายพันธุ์ ที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่าง ข้าว และ ไผ่ ครับ ไม่ใช่ข้าวลูกผสม ไฮบริด
ระหว่างข้าวด้วยกันเอง เป็นการคิดนอกกรอบที่ออกจะน่าทึ่งของนักวิชาการเกษตรจีนนายหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้
รับการขนานนามเป็น บิดาแห่งข้าวไผ่ เรียบร้อยโรงเรียนจีนไปแล้ว ข้าวไผ่ นี้ได้รับการเปิดตัวในงานสังสรรค์
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเกษตรครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้น ณ. เมือง จี่หนาน (济南) มณฑล ซานตง (山东)
ทางตอนเหนือของประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2007 จากการนำเสนอของโรงเรียนเกษตรกรรม ไหมเจา
หนงแอย๊ะเซวียะเซี่ยว (梅州农业学校) และนักวิชาการเกษตรนามว่า จง จางไหม่ (钟章美) ผู้ทำการผสมพันธุ์
ข้าวไผ่ 2 สายพันธุ์ คือ จู๊ต้าว 966 และ จู๊ต้าว 989 (竹稻 966 竹稻 989) คุณ จง จางไหม่ เป็นเจ้าหน้าที่นัก-
วิชาการเกษตรที่เกษียณจากหน้าที่การงานแล้ว ในวัย 70 นี้ยังคงทำงานวิจัยนี้ในศูนย์วิจัยข้าวไผ่ที่ตั้งอยู่ใน
หมู่บ้าน อ่ายหลิง (霭岭村) อำเภอ เจียวหลิง (蕉岭县) อย่างต่อเนื่อง  คุณ จง จางไหม่ สังเกตุเห็นถึงลักษณะ
ธรรมชาติของต้นไผ่นั้นมีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมและภูมิ อากาศที่กว้างขวาง ทนอากาศหนาวเย็น ทน
อากาศร้อน แห้งแล้งได้ดี ทนน้ำท่วมขัง ทนทานทั้งโรคและแมลงได้เป็นอย่างดี มีระบบรากที่หนาแน่น ปลูก
ที่ไหนก็งอกงามที่นั่น จึงมีความคิดในการที่จะนำเอาคุณสมบัติของต้นไผ่มารวมไว้ในต้นข้าว ซึ่งงสามารถนำ
ไปปลูกในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ เช่นตามไหล่เขาเป็นต้น จากความมุนานะพยามยามกว่าสิบปี จึงประสบกับ
ความสำเร็จในการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง ไผ่ กับ ข้าว ได้สำเร็จ


    ในปี 1971 จง จางไหม่ เริ่มทำการวิจัยทดลองโดยการปลูกข้าวสายพันธุ์หนึ่งเป็นแม่พันธุ์ และปลูกไผ่ไว้
กอหนึ่ง ตระเตรียมให้ต้นไผ่ออกดอกตรงกับระยะเวลาที่ต้นข้าวแทงช่อดอก  โดยวิธีทรมานต้นไผ่ให้อดน้ำ
ขาดอาหารจนต้นไผ่เจียนตาย (ต้นไผ่จะไม่ออกดอก ถ้าไม่ประสบพบความแห้งแล้งจนถึงขั้นวิกฤต เพื่อเตรียม
การสืบพันธุ์ด้วยเมล็ดต่อไป) แล้วให้ปุ๋ยให้น้ำจนกระทั่งต้นไผ่ออกดอกในระยะเวลาเดียวกันกับที่ต้นข้าวแทง
ช่อดอก จึงทำการผสมเกษรจนได้เมล็ดข้าวไผ่ที่สมบูรณ์จำนวน 3 เมล็ด จากการนำเมล็ดข้าวไผ่ที่ได้ทั้ง 3
นี้ไปทำการเพาะ ได้ต้นกล้า 3 ต้น แต่เฉาตายไป 2 ต้น คงเหลือที่เติบโตได้ดีเพียง 1 ต้น เป็นถือเป็นข้าวไผ่
รุ่นที่ 1 ที่เกิดจากการผสมระหว่างข้าวเคอเฉิน (科程) เป็นต้นแม่ และไผ่เขียวชิงจู๊ (青竹) ชนิดหนึ่งเป็นต้น
พ่อ ต้นข้าวไผ่ที่เหลือเพียงต้นเดียวนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นไผ่ แตกใบตามข้อ จนกระทั่งอายุได้ 549 วัน
จึงแทงช่อดอกให้เห็น แต่ทว่าไม่ติดเมล็ด จึงทำการตัดทิ้งไป บำรุงเลี้ยงดูจนเวลาผ่านพ้นไป 736 วัน ข้าวไผ่
กอนี้จึงแทงช่อดอกอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ให้เมล็ดข้าวไผ่ที่สมบูรณ์ถึง 136 เมล็ด ปีถัดมา จง จางไหม่ จึงนำ
เมล็ดข้าวไผ่ทั้งหมดไปปลูกลงแปลงนา แต่งอกเพียง 80 ต้นเท่านั้น ในปี 1976 เดือนธันวาคม จง จางไหม่
ได้นำเมล็ดข้าวรุ่นที่ 2 นี้กลับไปยังศูนย์วิจัยจังหวัด เจียวหลิง (蕉岭县农科所) ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ข้าว
เรื่อยมาจนกระทั่งถึงปี 1993 ทำการผสมพันธุ์ข้าวไผ่ได้ถึงรุ่นที่ 13 จากระยะเวลาเก็บเกี่ยว 700 กว่าวัน หดสั้น
ลงเหลือ100 วันเศษๆ ซึ่งมีอายุเก็บเกี่ยวไล่เรี่ยกับพันธุ์ข้าวทั่วๆไป ปี 2000 จง จางไหม่ ได้ผสมปรับปรุงพันธุ์
ข้าวไผ่ที่มีกรรมพันธุ์คงมั่นอยู่ตัวแตกต่างกันหลาย ลักษณะ

(http://www.jiaoling.gov.cn/fll/edit/UploadFile/200711611124736.jpg)

     ปี 2003 จง จางไหม่ ได้นำเมล็ดข้าวไผ่ทั้งหมดไปมอบให้โรงเรียนเกษตรกรรมอันเป็นสถานศึกษาที่ตนเอง
ได้สำเร็จการเรียนมา เพื่อให้ทางโรงเรียนได้ทำการวิจัยทดสอบในเชิงลึกต่อไป ปี 2004 ด้วยความร่วมมือของ
โรงเรียนเกษตรกรรม ไหมเจาหนงแอย๊ะเสวียะเซี่ยว (梅州农业学校) กับ สำนักงานวิชาการเมือง ไหมเจาสื้อ
(梅州市科技局) ทำการทดสอบปลูก ข้าวไผ่ ในพื้นที่ทดลอง 320 โหม่ว (133 ไร่) รวมทั้งไร่นาของเกษตรกร
12,000 โหม่ว (5,000 ไร่) ผลผลิตที่ได้อยู่ระหว่าง 500 ~ 600 กิโลกรัม / โหม่ว (1,200 ~ 1,440 กก. / ไร่)
บางแห่งได้ถึง 800 กิโลกรัม / โหม่ว (1,920 กก. / ไร่) คุณสมบัติพิเศษของข้าวไผ่นี้มิได้ให้ผลผลิตที่สูงเท่านั้น
แต่ยังมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมอีกด้วย ข้าวที่หุงสุกมีกลิ่นหอมของไผ่อ่อนๆ มีประกายมันวาว เนื้อนุ่ม อร่อยลิ้น ขณะนี้
ทางรัฐบาลท้องถิ่นได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกันขนานใหญ่ เนื่องจากเป็นข้าวพิเศษที่แตกต่างจากข้าวโดย
ทั่วไป ขณะนี้ทางมณฑลอื่นๆต่างได้ขอพันธุ์ข้าวไผ่ไปปลูกยังท้องที่ของตนเอง เพื่อปรับปรุงพัฒนาพันธุ์ให้
เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ


จง จางไหม่ กับกอข้าวไผ่ที่ได้ผสมปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมา (กระถางหน้า)

(http://www.eco-agrotech.com/images/column_1233826339/Rice%20Bamboo-01.jpg)


ข้าวไผ่ 989 ที่เป็นข้าวสาร (ซ้าย) และข้าวสวย (หุงแล้วด้านขวา)

(http://www.eco-agrotech.com/images/column_1233826339/Rice%20Bamboo-02.jpg)


จากhttp://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=24475.0 (http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=24475.0)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ลุมพินี08 ที่ มกราคม 12, 2011, 02:45:26 PM
เพราะเป็นชาวนาในประเทศไทยครับ ถ้าเป็นชาวนาในญี่ปุ่นก็รวยสะดือปลิ้นไปนานแล้ว ทำไงได้ This is Thailand


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: aniki ที่ มกราคม 13, 2011, 08:09:21 AM
ชาวเกษตรญี่ปุ่นก็ไม่ได้รวยนะครับ  เพียงแต่ว่ารัฐเขาใส่ใจดูแลให้เต็มที่  เรื่องพันธ์  เรื่องปุ๋ย เรื่องเครื่องมือ  การตลาดจนถึงสวัสดิการของชาวบ้าน พื้นที่ทำกินมีน้อย  ประชากรผู้ทำเกษตรลดลงเรื่อยๆอย่างน่าเป็นห่วง 
มีเรื่องเหลือเชื่อนะครับ  ที่นี่ไม่มีพ่อค้าคนกลางรับซื้อข้าว(โรงสีข้าว)แม้แต่แห่งเดียว  ชาวบ้านจะเก็บข้าวไว้แค่พอกินเหลือนั้นจะเอามารวมกันที่สหกรณ์.


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ลุมพินี08 ที่ มกราคม 13, 2011, 11:10:02 AM
ผมไปเที่ยวญี่ปุ่นกันจีนมาเห็นชาวบ้านเขามีที่น้อยนิดข้างๆบ้านเขาก็ปลูกพืชผักสวนครัวกันหมดจะไม่มีที่รกร้างว่างเปล่าเหมือนบ้านเรา ไปเห็นที่จีนมาพวกวัชพืชจำพวกมีเนื้อหน่อยเขาตัดมาตากแดดแล้วเก็บใว้เป็นเชื้อเพลิงส่วนพวกที่ไม่มีเนื้อทำปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์เรียกว่าใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่อย่างเต็มที่ บ้านเราใช้ควายเหล็กไถ่โล้ด ทุกอย่างซื้อเอาไม่ว่าปุ๋ยยาพันธุ์พืชแม้แต่แรงงาน


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ มกราคม 13, 2011, 12:04:54 PM
ชาวเกษตรญี่ปุ่นก็ไม่ได้รวยนะครับ  เพียงแต่ว่ารัฐเขาใส่ใจดูแลให้เต็มที่  เรื่องพันธ์  เรื่องปุ๋ย เรื่องเครื่องมือ  การตลาดจนถึงสวัสดิการของชาวบ้าน พื้นที่ทำกินมีน้อย  ประชากรผู้ทำเกษตรลดลงเรื่อยๆอย่างน่าเป็นห่วง 
มีเรื่องเหลือเชื่อนะครับ  ที่นี่ไม่มีพ่อค้าคนกลางรับซื้อข้าว(โรงสีข้าว)แม้แต่แห่งเดียว  ชาวบ้านจะเก็บข้าวไว้แค่พอกินเหลือนั้นจะเอามารวมกันที่สหกรณ์.

ที่ญี่ปุ่น  มีข้าวสารที่วางขายติดยี่ห้อหลากหลายมาก
เหมือนกับมาจากโรงสีเล็กๆ หรือหมู่บ้านเขาทำกันเอง
คุณสนธ์ พอมีข้อมูลตรงนี้ป่าวครับ
การผลิตข้าวสารขายมีกี่ราย รายใหญ่ รายเล็ก เป็นแบบไหนครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: aniki ที่ มกราคม 13, 2011, 12:24:06 PM
ชาวเกษตรญี่ปุ่นก็ไม่ได้รวยนะครับ

ที่ญี่ปุ่น  มีข้าวสารที่วางขายติดยี่ห้อหลากหลายมาก
เหมือนกับมาจากโรงสีเล็กๆ หรือหมู่บ้านเขาทำกันเอง
คุณสนธ์ พอมีข้อมูลตรงนี้ป่าวครับ
การผลิตข้าวสารขายมีกี่ราย รายใหญ่ รายเล็ก เป็นแบบไหนครับ

เมื่อข้าวมารวมกันที่โกดังของสหกรณ์ท้องที่แล้ว  จะถูกสีขัดเปลือกออกใส่กระสอบกระดาษขนาด30โล  ไว้รอจำหน่าย
ไม่ว่าขายในห้างเล็กห้างน้อย  ราคาจะไม่ต่างกัน  และจะแจ้งเสมอว่าเป็นข้าวมาจากจังหวัดไหน  ร้านจำหน่ายต้องมาขอซื้อจากสหกรณ์
ยี่ห้อที่เห็นคือยี่ห้อของบริษัทจำหน่าย  ราคายี่ห้อไหนก็ไม่ต่างกัน

การจะทำนา...ต้องไปลงทะเบียนก่อนว่าจะทำกี่ไร่ ทำตรงไหน  ไม่ใช่อยากทำอะไรก็ได้  ทำตรงไหนก็ได้ ทางการจะจัดหาพันธ์และปุ๋ยให้  ที่ทำนาต้องเป็นพื้นที่น้ำชลประทานเข้าถึงเท่านั้น  เสียค่าน้ำด้วยนะครับ

คนญี่ปุ่นไม่มีบัตรประชาชน  ไม่มีสำเนาทะเบียนบ้าน  ไม่มีโฉนดที่ดิน  ทุกๆอย่างที่มีนั้นข้อมูลจะอยู่ที่อำเภอ  อยากได้ก็เดินไปขอเอาแปบเดียว   

เกิดมาแล้วทุกคนจะได้เพียงแค่บัตรประกันสุขภาพคนละใบ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ลุมพินี08 ที่ มกราคม 13, 2011, 12:42:43 PM
อ่านมาตั้งแต่ต้นพอจะสรุปว่าชาวนาไทยที่ยังยากจนมี 2 สาเหตุ
1. ต้นทุนของชาวนา, ค่านิยมต่างๆ
2. การบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 15, 2011, 03:03:42 PM
... ขออนุญาตครับ ... ผมไม่เคยทำนา ... แต่อยู่ ตจว. รู้จักและเคยคุยกับชาวนา ... หลายคน ...หลายพื้นที่ ... แล้วนี้ก็เป็นอีกมุมหนึ่งของชาวนาภาคอีสานครับ ...

... โดยที่ผมมองว่า ... ปัญหาแต่ละพื้นที่แตกต่างกันออกไป ... เช่น ... ด้วยพื้นฐานเลยก็คือ ที่ดิน น้ำ และพันธ์ข้าว ... นาภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน มีความแตกต่างกัน ... ทั้งดิน ทั้งขนาดการถือครองผืนที่นา และน้ำ... หรือแม้แต่ภูมิภาคเดียวกัน ... แค่ดินและน้ำต่างกัน ... ก็เป็นปัจจัย ที่ทำให้วิธีการและต้นทุนในการผลิตต่างกัน ... ในขณะที่ราคาผลผลิตใกล้เคียงราคาเดียวกันทั้งประเทศ ...

... พ่อของแฟนผม ... มีผืนที่นารวมกัน 3 แปลงเกือบร้อยไร่ ... แต่ทำนาได้ปีละครั้ง ... นาแต่ละแปลงอยู่ในละแวกเดียวกัน ... แต่ดินไม่เหมือนกันทั้ง 3 แปลง ... ต้องสูบน้ำบาดาลมาตกกล้าไว้รอฝน ...สระขุดไว้ 3 ที่ ลึกประมาณ5-6 เมตรได้ ... หน้าแล้งจริงๆ เก็บไม่อยู่ ... ลำห้วยใกล้ๆ ที่ลึกกว่า ยังแห้งขอด ... ระบบส่งน้ำจากชลประทานก็ไม่มี ... อาศัยว่าแกพอเพียงจึงอยู่ได้ ... หมดฤดูทำนา แกก็รับซ่อม ชุน ตัดเย็บ แต่งเสื้อผ้าเก่า ... ได้วันละประมาณ 100 บาท ก็ยังดี ...

... เมื่อก่อนใช้ควายดำนา ... ญาติพี่น้องลงแขกช่วยกัน ... เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ... ต่างอายุมากขึ้น ... แรงก็ถดถอย ... ไม่มีแรงพอที่จะใช้ควายไถนาได้ ...  ต้องพึ่งพารถไถ ... ญาติพี่น้องที่ทำนาเป็น ... ก็อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ... ลูกหลานก็ไม่สืบทอดเจตนา ...  หันไปเอาดีทางวิชาชีพอื่นเป็นหลัก ... การทำนาเป็นงานรอง ที่จำเป็นต้องทำ ...

... เลยเป็นสาเหตุ ... ให้ในปีต่อๆมาต้องจ้างทำนา ... ทำเองบางส่วน... และต้องใช้เครื่องจักรทุ่นแรง ... แกก็รู้ทั้งรู้ว่าไม่คุ้ม ... แต่จะกำไรมากหรือน้อย... แกก็ต้องทำ  ... ถึงอย่างไรเสียก็ยังมีข้าวกิน ... อีกที่เหลือก็เก็บไว้แจกจ่ายพี่น้องคนอื่น ... ที่ไม่มีนา ...

... แกบอกผมว่า ... ทำนาแบบเรามันไม่มีทางรวยหรอก ... เราไม่มีทุน(แกคงจะหมายถึง เงิน แรงงาน เครื่องจักร ปุ๋ย ... ในชนบททางภาคอีสานส่วนใหญ่จะอาศัยยืมหรือกู้ในการทำนา ทำการเกษตร) ... แต่ก็ต้องทำ ... ถึงไม่มีเงิน ... แต่เราก็ยังมีกิน ...

... แกบอกอีกว่า ... ไม่เคยบังคับลูกหลานให้มาทำนา ... แกทำมาเกือบทั้งชีวิต ทำทุกแบบที่หลวงแนะนำและพาทำ ... ก็ยังทำได้แค่นี้ ... บางทีคนของหลวงก็หนีหายไปเฉยๆ  ... บางทีคนใหม่มาก็ไม่เหมือนคนเก่า ...  

... แล้วทีนี้ทำนามันได้เงินปีละครั้ง ... แต่ค่าใช้จ่ายต้องมี ต้องใช้จ่ายทุกเดือน ... เจ็บไข้ได้ป่วย ... เสื้อผ้า ... น้ำมันรถ ... ค่าเล่าเรียน ... อื่นๆอีกจิปาถะ ...  แกเลยไม่บังคับให้ใครมาเอาดีทางทำนา ...

...ถึงแม้แกจะอายุมากแล้ว ... แกก็ยังบอกว่าจะไม่หยุดทำนา เพราะต้นตระกูลแกเป็นชาวนา ... ทำนาปลูกข้าวให้คนไทยได้กินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ... และแกจะทำต่อไป ...    ::014::

อันนี้น่าสนใจครับ นาเกือบหนึ่งร้อยไร่ ทำนาปีละครั้ง ถ้าได้ข้าวประมาณ 1000 กก.ต่อไร่ น่าจะมีกำไรประมาณ 350,000 บาทต่อปี คิดที่ราคาประมาณ 7000 บาท ต่อตัน ( ราคา ณ วันนี้ ข้าวความชื้น 20 % ราคา 8000 บาท ความชื้น 25% ราคา 7500 บาท ความชื้น 30% ราคา 7000 บาท)
อันนี้คิดที่ได้ข้าว 1000 กก.ต่อไร่ ซึ่ง จริงๆแล้วอาจไม่ถึง ทีนี้ต้องมาวิเคราะห์ดูว่า สาเหตุที่ชาวนาลำบากเพราะเหตุผลอะไร จริงๆแล้วอาชีพชาวนา เป็นอาชีพที่รวยได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ทำนาแล้วจะต้องรวย เหมือนการลงทุนทำอาชีพอื่นๆ ร้านอาหาร ค้าขายแล้วรวยก็เยอะ เจ๊งก็เยอะ อยู่ที่การปรับตัว และการวิเคราะห์ปัญหา แล้วกำหนดแนวทางแก้ปัญหาในอาชีพนั้นๆมากกว่า
ถ้าเป็นไปได้ลองฝากคำถามถึงพ่อแฟนด้วยครับ เผื่อได้แนวทางแก้ปัญหา
-   ข้าวที่ปลูกเป็นพันธุ์อะไร เอาเมล็ดพันธุ์จากไหน เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกกี่ปี  บางครั้งชาวนาใช้พันธุ์ซ้ำติดต่อกันหลายรอบเกินครับ ทำให้ข้าวเกิดการกลายพันธุ์ผลผลิตต่ำ คุณภาพไม่ดี
-   ได้ผลผลิตต่อไร่เป็นเท่าไร จะเป็นตัวที่บอกว่าขาดทุนหรือกำไรเลยก็ว่าได้
-   การทำนามีการใช้ปุ๋ยอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง รวมค่าคนฉีด เฉลี่ยต่อไร่เท่าไร มีการลดการใช้ปุ๋ยเคมี แล้วเพิ่มสัดส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์บ้างหรือเปล่า
-   ราคาข้าวที่ขายได้ ได้ตันละเท่าไร
-   การเกี่ยวข้าว เกี่ยวครบตามอายุข้าวหรือเปล่า เช่นข้าวครบอายุที่ 110 วัน เกี่ยวตอนข้าวอายุ 100 วัน 110 หรือ 120 วัน โดยทั่วไปข้าวที่เกี่ยวก่อนอายุประมาณ 5 วัน จะได้ความชื้นประมาณ 30 %  ถ้าเกี่ยวครบตามกำหนดความชื้นจะประมาณ 27 %  แต่ถ้าเกี่ยวหลังอายุประมาณ 10 วัน ความชื้นจะอยู่ที่ประมาณ 22-23 %  ซึ่งถ้าเทียบเป็นราคาข้าวแล้ว  ส่วนต่างจะอยู่ที่ 800-1000 บาท ต่อตันทีเดียวครับ แล้วแต่ภาวะตลาด
-   ที่บอกว่าปัญหาแต่ละแปลงไม่เหมือนกัน ลองแจงว่ามีอะไรบ้าง และได้แก้ปัญหาไปแล้วโดยวิธีใด ปัญหาที่พบคืออะไร กำหนดแนวทางแก้ปัญหาใหม่คืออะไร
-   เคยเอาดินไปให้หน่วยงานเกษตรวิเคราะห์ดินรึยังครับ  เพราะดินแต่ละแปลงสภาพไม่เหมือนกันครับ ต้องวิเคราะห์ดูว่าดินนั้นเป็นดินชนิดไหน เหมาะปลูกข้าว หรือพืชชนิดไหน และวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินด้วยว่ามีชนิดไหนมาก หรือชนิดไหนขาด เพื่อกำหนดแนวทางการใช้ปุ๋ยได้ถูกครับ ปัญหาที่เคยเจอคือชาวนาชอบใส่ปุ๋ยยูเรียมากๆ เพื่อให้ข้าวเขียว ทีนี้ดินก็จะมีแต่ธาตุไนโตรเจนเยอะ แต่ธาตุอื่นไม่มี การใส่ปุ๋ยยูเรียเพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจนจึงไม่มีประโยชน์ ต้องหาปุ๋ยที่สามารถเพิ่มธาตุอื่นมาใส่ครับ
-   ที่บอกว่าทำนาทุกแบบที่หลวงแนะนำให้ทำและพาทำ ทำแบบไหนครับ ได้ผลอย่างไร ปัญหาที่พบคืออะไร กำหนดแนวทางแก้ปัญหายังไงครับ
-   ถามตรงๆ ว่าได้หมักฟางมั้ยครับ การหมักฟางจะเป็นการเพิ่มอินทรีย์ในดิน โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ เพราะมันอยู่ในนาอยู่แล้ว แต่การหมักฟางต้องใช้เวลารอให้ฟางเน่าเปื่อย ถ้าต้องการทำนาให้ได้สามรอบจะไม่ทันครับ ต้องเผาอย่างเดียว
-   ค่าใช้จ่ายในการทำนาทั้งสามแปลงลองแยกออกมาแต่ละรายการเป็นเท่าไรครับ ค่าไถ ค่าเกี่ยว ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าน้ำมันสำหรับสูบน้ำ ค่าจ้างแรงงานฉีดยา ค่าเมล็ดพันธุ์ เฉลี่ยต่อไร่ต้นทุน เท่าไรครับ
-   ลองหาพืชอื่นมาปลูกช่วงที่ไม่ได้ทำนาหรือเปล่าครับ เพื่อหารายได้เสริม อาจจะไม่ต้องปลูกทั้งร้อยไร่ก็ได้ครับ ถ้าปลูกผัก ปลูกถั่วฝักยาว ผักบุ้ง คะน้า ประมาณนี้ เนื้อที่ซักสองไร่ก็พอครับ เพราะต้องดูเรื่องน้ำประกอบด้วย ถ้าได้กำไรดี ค่อยขยายเพิ่ม
ผมก็ไม่เคยทำนาครับ แต่เคยเห็นชาวนาหลายๆคน ทำนาแบบวัดดวงครับ เคยทำแบบไหนก็ทำแบบนั้น ปีนี้เจอปัญหาแบบนี้ พอทำอีกรอบก็ทำแบบเดิมอีก โดยไม่ได้ทำอะไรเพื่อป้องกันปัญหาหรือแก้ปัญหานั้นเลย  ซึ่งปัญหาบางเรื่องมันก็แก้ได้ครับถ้าจะทำ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ มกราคม 15, 2011, 03:21:25 PM
ชาวเกษตรญี่ปุ่นก็ไม่ได้รวยนะครับ

ที่ญี่ปุ่น  มีข้าวสารที่วางขายติดยี่ห้อหลากหลายมาก
เหมือนกับมาจากโรงสีเล็กๆ หรือหมู่บ้านเขาทำกันเอง
คุณสนธ์ พอมีข้อมูลตรงนี้ป่าวครับ
การผลิตข้าวสารขายมีกี่ราย รายใหญ่ รายเล็ก เป็นแบบไหนครับ

เมื่อข้าวมารวมกันที่โกดังของสหกรณ์ท้องที่แล้ว  จะถูกสีขัดเปลือกออกใส่กระสอบกระดาษขนาด30โล  ไว้รอจำหน่าย
ไม่ว่าขายในห้างเล็กห้างน้อย  ราคาจะไม่ต่างกัน  และจะแจ้งเสมอว่าเป็นข้าวมาจากจังหวัดไหน  ร้านจำหน่ายต้องมาขอซื้อจากสหกรณ์
ยี่ห้อที่เห็นคือยี่ห้อของบริษัทจำหน่าย  ราคายี่ห้อไหนก็ไม่ต่างกัน

การจะทำนา...ต้องไปลงทะเบียนก่อนว่าจะทำกี่ไร่ ทำตรงไหน  ไม่ใช่อยากทำอะไรก็ได้  ทำตรงไหนก็ได้ ทางการจะจัดหาพันธ์และปุ๋ยให้  ที่ทำนาต้องเป็นพื้นที่น้ำชลประทานเข้าถึงเท่านั้น  เสียค่าน้ำด้วยนะครับ

คนญี่ปุ่นไม่มีบัตรประชาชน  ไม่มีสำเนาทะเบียนบ้าน  ไม่มีโฉนดที่ดิน  ทุกๆอย่างที่มีนั้นข้อมูลจะอยู่ที่อำเภอ  อยากได้ก็เดินไปขอเอาแปบเดียว   

เกิดมาแล้วทุกคนจะได้เพียงแค่บัตรประกันสุขภาพคนละใบ

รัฐดูแลดีจัง  แล้วแบบนี้ เกิด ตร.สงสัยเกี่ยวกับคน คนนี้ ปกติเมืองไทยยจะขอดูบัตรประชาชน แต่ที่ญี่ปุ่นทำไงครับ
ในการตรวจสอบเบื้องต้น ผู้ต้องสงสัยของ ตร.


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ มกราคม 15, 2011, 03:49:04 PM
ถ้าเป็นไปได้ลองฝากคำถามถึงพ่อแฟนด้วยครับ เผื่อได้แนวทางแก้ปัญหา

.... ขอบคุณครับ ... ท่าน pehtor ...  ::014::

... ข้อปัญหา ... ที่ ท่าน ได้สอบถามมาทั้งหมด ... ผมจะค่อย ๆ ทะยอยนำคำตอบ มาให้ นะครับ ... เนื่องจากผมและแฟนผม กับพ่อของแฟน อยู่คนล่ะ พื้นที่ ... มีโอกาสแวะไปเยี่ยมท่านเดือน-สองเดือน/ครั้ง ... ยังไม่ได้เห็น กระบวนการจัดการของท่านแบบเต็มๆ สักที ...  
... เท่าที่ได้คุยกัน ก็ เสมือนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ ปรับทุกข์ กัน ... ท่านเป็นคนขยัน ไม่ย้อท้อ ครับ ... แต่ขาดปัจจัยด้านความรู้ การจัดการและวิทยาการสมัยใหม่ ... ซึ่งปีนี้ท่านก็ 72 ขวบ แล้ว ...  ;D ...

...ลองหาพืชอื่นมาปลูกช่วงที่ไม่ได้ทำนาหรือเปล่าครับ เพื่อหารายได้เสริม อาจจะไม่ต้องปลูกทั้งร้อยไร่ก็ได้ครับ ถ้าปลูกผัก ปลูกถั่วฝักยาว ผักบุ้ง คะน้า ประมาณนี้ เนื้อที่ซักสองไร่ก็พอครับ เพราะต้องดูเรื่องน้ำประกอบด้วย ถ้าได้กำไรดี ค่อยขยายเพิ่ม...

... ข้อนี้ พอจะตอบได้ ครับ ... เพราะเห็นท่านลองทำบ่อย ... ปัญหานี้ผมพอจะมองออกว่า ... ผลผลิตมันไม่ตรงตาม ความต้องการของตลาดในขณะนั้น ขายไม่ได้ราคา ... เป็นลักษณะการทำลองผิดลองถูกอย่างที่ ท่าน pehtor ว่า ... ปัจจัยหนึ่งก็คงเป็นเพราะ  ไม่รู้เรื่องความต้องการของตลาดสินค้าการเกษตร ... ผมเองก็ไม่สามารถบอกได้เช่นกัน เพราะไม่รู้เหมือนกัน ... ::014::

... ผมก็ไม่เคยทำนาครับ แต่เคยเห็นชาวนาหลายๆคน ทำนาแบบวัดดวงครับ เคยทำแบบไหนก็ทำแบบนั้น ปีนี้เจอปัญหาแบบนี้ พอทำอีกรอบก็ทำแบบเดิมอีก โดยไม่ได้ทำอะไรเพื่อป้องกันปัญหาหรือแก้ปัญหานั้นเลย  ซึ่งปัญหาบางเรื่องมันก็แก้ได้ครับถ้าจะทำ ...

... เห็นทีผมจะต้องขอคำปรึกษาจากท่านแล้วล่ะครับ ...  ::014:: ... เพราะในอนาคตแฟนผมคงต้องกลับไปอยู่จุดนั้น ... แทน 2 ตายาย ... ซึ่งหมายความว่า ผมก็คงต้องตามไปด้วยโดยปริยาย ... ::005:: ::005:: ::005::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: aniki ที่ มกราคม 15, 2011, 05:41:59 PM
อ้างจาก: submachine -รักในหลวง- link=topic=93348.msg2997112#msg2997112 date=12950796
[/quote

รัฐดูแลดีจัง  แล้วแบบนี้ เกิด ตร.สงสัยเกี่ยวกับคน คนนี้ ปกติเมืองไทยยจะขอดูบัตรประชาชน แต่ที่ญี่ปุ่นทำไงครับ
ในการตรวจสอบเบื้องต้น ผู้ต้องสงสัยของ ตร.
ผมไม่เคยเห็นตำรวจตรวจค้นเลยครับ  เมืองผมอยู่มีประชากร3หมื่นปลายๆ  ยังไม่มีสถานีตำวจเลย  ปัญหาอาชญากรรม  อยู่นี่มา20ปีผมยังไม่เคยได้ยินเมืองนี้มีการฆ่ากันเลย  มีขโมยบ้างไม่กี่ครั้ง  ถ้ามีการตรวจกันส่วนมากจะมีใบขับขี่กันทุกคน  หรือบัตร เอทีเอ็ม  บัตรนักเรียน  หรือโทรไปหาผู้ปกครอง  เขาเชื่อใจกันครับ  เพราะพื้นฐานของคนยุ่นไม่ตอแหล  แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีนะครับ

ผมเคยถูกจังๆครั้งหนึง  กลางคืนเข้าไปเที่ยวในจังหวัด  ขอกลับออกมาเจอด่านตรวจ  วันนั้นผมลืมเอาเอกสารไป  หลังจากที่โดนจับเป่าแล้วเค้าขอดูเอกสารผม  แค่บอกชื่อเค้าไป  เค้าว.ในรถไปถามที่ศูนย์ ไม่กี่วินาที  ข้อมูลผมก็ออกมาหมดครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ มกราคม 15, 2011, 06:21:03 PM

แค่บอกชื่อเค้าไป  เค้าว.ในรถไปถามที่ศูนย์ ไม่กี่วินาที  ข้อมูลผมก็ออกมาหมดครับ

ผมอยากให้เมืองไทยมีตรงนี้แหละ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: aniki ที่ มกราคม 15, 2011, 07:11:17 PM

แค่บอกชื่อเค้าไป  เค้าว.ในรถไปถามที่ศูนย์ ไม่กี่วินาที  ข้อมูลผมก็ออกมาหมดครับ

ผมอยากให้เมืองไทยมีตรงนี้แหละ
มันจะมีได้อย่างไรครับ  ใบขับขี่ขนส่งทำ  คนดูเป็นตำรวจ??  ที่นี่ตำรวจคุมหรือดูแลทั้งหมด  ไปต่อใบขับขี่  ไปต่อที่สถานีตำรวจในจังหวัดที่เราอาศัยอยู่สถานีไหนก็ได้  ตอนทำครั้งแรกต้องไปทำที่  คาร์ ไลเซ่น  เซนเตอร์  มีจังหวัดละแห่ง  ตำรวจทั้งนั้น
แต่ตำรวจฝ่ายนี้ไม่ได้เป็นตำรวจจับโจรจับขโมย  จึงไม่เคยจับปืนหรือพกปืน  แต่เชี่ยวชาญด้านจราจร  เรียกว่าแค่เห็นรอยยุบ  เค้าก็บอกได้เลยว่าใช้ความเร็วเท่าไหร่  อุ้ย  กระทู้กลายแหละน้องซับ. 


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ มกราคม 16, 2011, 10:04:51 PM
หลายอย่างที่อ่านมา โดยเฉพาะเรื่องเล่าจากญี่ปุ่นของพี่สน

... ทำให้เกิดคำถามในใจ .......... ทำไมของดีๆ ที่เอาเป็นแบบอย่างมาจัดการปัญหาในบ้านเมืองได้

มันไม่ทำกัน ... เสียดาย "งบประมาณไปดูงาน" จัง  ...  :~)

... สหกรณ์ไม่มีทางเข้มแข็งในประเทศนี้ได้ ... ตราบใดพวกนายทุนยังบริหารประเทศ ขูดเลือดขูดเนื้อประชาชนอยู่

เอาแค่ "ปฏิรูปที่ดิน" ก็พอ ... ป่านนี้ถึงไหนแล้วไม่รู้  :<<


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: พ่อน้องนะโม ที่ มกราคม 17, 2011, 12:23:21 PM
 ::014:: ::014:: ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: jane1 ที่ มกราคม 17, 2011, 04:30:17 PM
กลับบ้านที่อยุธยา พ่อกับแม่ ทำนาปีไว้ 2 ไร่
ได้ผลผลิตไม่ถึง ครึ่ง ตัน(เกวียน)ครับ
ไม่ทราบว่าพี่ๆพอจะทราบเรื่องที่ รัฐบาลจะช่วยเหลือชาวนา
ที่ประสบภัยแล้งบ้างไหมครับ ว่าได้ค่าช่วยเหลือไร่ละเท่าไร

                    ขอบคุณครับ


ปีนี้หน้าน้ำ น้ำท่วมหนัก หน้าแล้งก็แล้งจริง ครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: sopon7 ที่ มกราคม 17, 2011, 07:04:16 PM
จากประสพการณ์ของผมที่ทำงานใกล้ชิดกับชาวนา   มีความเชื่อว่าถ้าเป็นพื้นที่ลุ่มมีน้ำขัน คงไม่มีพืชอะไรเหมาะเท่ากับการทำนา (ในภาพรวมนะครับ) 
โดยเฉพาะจังหวัดที่ผมอยู่ในอดีตทางราชการเคยมีโครงการต่าง ๆ แนะนำส่งเสริมให้ชาวนาเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นมากมาย เช่น ไร่นาสวนผสม  สวนไม้ผล(ส้มเขียวหวาน มะม่วง ลำไย ฯลฯ )   และพืชอื่น ๆที่ชาวนาสมัครใจเปลี่ยนไปปลูกด้วยตนเองแทนข้าว     โดยสรุปในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา  จังหวัดที่ผมอยู่มีพื้นที่รวมกันแล้วหลาย หมื่นไร่   ......สุดท้ายวันนี้ก็ปรับสภาพพื้นที่มาทำนาเหมื่อนเดิน  ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 21, 2011, 01:20:22 PM
'ห้องเรียนกลางแดด' สอนนักศึกษารู้คุณชาวนา

รายงานพิเศษ




 
เกษตรกรถือเป็นอาชีพหลักของคนไทยมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ แต่ภาพความยากจนของชาวนา ที่ต้องตรากตรำทำมาหากินชนิด "หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน" เป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ไม่อยากให้รุ่นลูกรุ่นหลานต้องรับมรดกการเป็นชาวนาอีก

ขณะที่ลูกหลานชาวนาก็พยายามดิ้นรนทุกวิถีทาง เพื่อหลุดพ้นจากอาชีพของบรรพบุรุษ เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงการเป็นชาวนา โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จึงได้จัด "โครงการรัฐประศาสนศาสตร์ทำนา"

เป็นการสร้างความตระหนักถึงคุณค่ารากฐานความเป็นไทย ด้วยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง ตามแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งเป็นเรื่องที่สถาบันการอุดมศึกษาทุกแห่งต้องให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างจริงจัง

ห้องเรียนกลางแดด จัดขึ้นที่หมู่ 4 ต.บางหลวง อ.บางเลน จ.นครปฐม มีอบต.บางหลวง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ท้องถิ่น ที่ช่วยดูแลให้นักศึกษาได้เรียนรู้ โดยวันแรกได้รู้ถึงวิธีการทำคันนา เพื่อใช้สำหรับระบายน้ำและกักเก็บน้ำ และวิธีการหว่านเมล็ดข้าว วิถีการหาอาหารแบบชาวบ้าน และรับประทานอาหารร่วมกันที่แปลงนา ส่วนวันที่สองได้เรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้านที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหนองมะม่วงและชมโรงสีชุมชน
1.ไตรภพ สุวรรณศรี

2.ปรเมศ วงษ์ทอง

3.สกาวเดือน วิทยาเกียรติเลิศ

 


อาจารย์ไตรภพ สุวรรณศรี อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า การที่นักศึกษาได้มีโอกาสสัมผัสกับวิถีชีวิตชาวนา สัมผัสความเป็นจริง มองเห็นปัญหาและความทุกข์ยากของผู้อื่น ได้รับรู้ถึงความเหนื่อยยากนั้น จะทำให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงสำนึกการรับใช้สังคม เมื่อทุกคนเกิดความตระหนักก็จะเกิดมุมมองใหม่ๆ ที่เคยมองข้ามไป

ที่สำคัญเราอยากให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ สร้างจิตสำนึกให้กับนักศึกษา เพราะความรู้จากการได้ลงมือทำ การได้พูดคุยกับปราชญ์ชาวบ้านนั้นถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่หาไม่ได้จากห้องเรียน

ด้าน นายปรเมศ วงษ์ทอง หรือ "ใหม่" นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ผู้ร่วมโครงการ กล่าวว่า ครั้งแรกที่ผมรู้ว่าต้องมาทำกิจกรรม คิดว่าต้องเหนื่อยแน่ๆ แต่พอได้มาลองทำดู ผมว่าผมเข้าใจความรู้สึกของชาวนาว่าเหนื่อยมากแค่ไหน เพราะกิจกรรมที่ผมกับเพื่อนๆ ได้มาทำร่วมกันเวลาสั้นๆ แค่เศษเสี้ยวหนึ่งของขั้นตอนการทำนา ยังเหนื่อยมาก

"อยากให้รู้ว่าชาวนาต้องเหนื่อยขนาดไหน ขนาดผมกับเพื่อนๆ บางครั้งถ้าลองได้มาสัมผัสกับตัวเรา เราจะรู้คุณค่าของสิ่งสิ่งนั้นมากขึ้นว่ากว่าจะเป็นเม็ดข้าวให้เราได้กินทิ้งกินเหลือกันนั้นชาวนาเขาลำบากมากแค่ไหน"

น.ส.สกาวเดือน วิทยาเกียรติเลิศ หรือ "ลูกหยี" นักศึกษาชั้นปีที่ 2 กล่าวว่า ครอบครัวลูกหยีทำสวนผัก พอมาสัมผัสกับวิถีชีวิตชาวนาก็รู้สึกดี เพราะได้รู้จักความยากลำบากอีกแง่มุมหนึ่ง การปลูกข้าวเป็นอาชีพที่เหนื่อยมาก และต้องรอเวลาในการเก็บเกี่ยว แตกต่างจากชาวสวนผักที่ใช้เวลาสั้นๆ ก็สามารถทยอยเก็บผลผลิต สร้างรายได้แบบวันต่อวัน

กิจกรรมครั้งนี้สอนให้เยาวชนได้เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน เห็นถึงความยากลำบาก แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่กิจกรรมเหล่านี้ก็มีส่วนช่วยส่งเสริมให้เยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าอาชีพชาวนาอันเป็นกระดูกสันหลังของชาติแต่กลับถูกมองข้ามไป





   
 
เจ้าของ Blog : นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
 
ข้อมูลส่วนตัว   ไปที่บล็อก

--------------------------------------------------------------------------------
 
ชะตากรรมชาวนาไทย...ก้าวไปไม่พ้นความรันทด...
โพสต์เมื่อวันที่ : 24 พ.ค. 2552 เปิดอ่าน : 1610 / 0 ความเห็น
คะแนนของ BLOG นี้ (20.00%-3 ผู้โหวต)


Share | บริการนำเนื้อหานี้ไปแปะไว้ที่ .....


ชะตาดรรมชาวนาไทย ก้าวไปไม่พ้นความรันทด
สุนทร พงษ์เผ่า


       



โพสต์ทูเดย์ 30 51 - ลมที่โชยอ่อน ช่วยให้เปลวแดดที่แผดจ้าลดความร้อนแรงลงไปได้บ้าง หากเป็นช่วงเดียวกันนี้ของปีก่อน นางคงพึงใจกับการเฝ้ามองรวงข้าวเหลืองทองอร่ามเต็มท้องนา ด้วยความหวังถึงรายได้ที่จะนำมาบรรเทาภาระหนี้สินและใช้เป็นทุนในการดำเนินชีวิตต่อไป
       

แต่สำหรับปีนี้ ท้องทุ่งสีทองมิได้ทำให้ความหวังความฝันเรืองอร่ามเช่นเคย ผืนดินแห้งผาก ดูดซึมหยดน้ำตาหยดแล้วหยดเล่าที่ร่วงหล่นหายไป เหมือนความหวังความฝันที่จมหาย...
       

...1 สัปดาห์มาแล้ว ที่นางเห็นสามีซึมเศร้า เนื่องจากข้าวนาปรังที่ปลูกไว้กว่า 46 ไร่ ถูกเพลี้ยกระโดดเข้าทำลายกัดกินต้นข้าวเสียหาย ประกอบกับขาดน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าว จนทำให้ได้ผลผลิตได้ไม่เต็มที่ เขามักจะบ่นออกมาให้ได้ยินอยู่บ่อยครั้งว่า ผลผลิตที่ได้คงไม่พอใช้หนี้ สิ่งที่เธอทำได้ในขณะนั้นคือ การให้กำลังใจ ด้วยการปลอบประโลมว่า แม้ผลผลิตจะเหลืออยู่น้อย แต่ราคาข้าวที่กำลังพุ่งสูงอยู่ในขณะนี้น่าจะทำให้มีเงินพอใช้หนี้ได้บ้าง     


แต่คำปลอบประโลมใจจากผู้เป็นภรรยาอาจไม่เพียงพอที่จะมาทดแทนความหวัง ความฝัน ช่วงก่อนเที่ยงวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา เสียงปืนก็ดังขึ้นในห้องนอน พร้อมกับชีวิตของ “วัลลภ อำพันทอง” สามีคู่ทุกข์คู่ยาก       


“คาดกันไว้ว่า ปีนี้ราคาข้าวดีตันละ 1 หมื่นบาท เมื่อเกี่ยวข้าวได้แล้วจะได้เงินอย่างน้อย 4 แสนกว่าบาท สามารถปลดหนี้ ธ.ก.ส.ได้เลย และยังมีเงินเหลือใช้อีก ไม่ต้องกู้มาลงทุนทำนาต่อไป แต่เมื่อนาต้องมาเสียหายก็ทำใจลำบาก ปลอบเขาตลอดว่าไม่ต้องคิดมาก มีแรงก็ทำกันไป แต่เขาเครียดจนต้องฆ่าตัวตาย” สำรวย อำพันทอง บอกเล่าถึงสาเหตุที่สามีของนางตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง หลังจากชะตากรรมอันโหดร้ายทำลายความหวังจนสูญสลาย
       

“ทำนากันมาตลอดชีวิต มีแต่หนี้สิน เราก็ขยันอดทนทำกิน ไม่ได้ฟุ่มเฟือยหรือเกียจคร้าน แต่ทำนากลับมีแต่หนี้ บางปีนาล่ม บางปีนาแล้ง พอมาปีนี้ราคาข้าวดี ตั้งใจจะขายข้าวใช้หนี้ให้หมด เพลี้ยและแมลงก็มาลงกินจนเสียหายเกือบหมด ที่ผ่านมาก็ต้องตัดสินใจขายรถบรรทุก 6 ล้อเก่า 1 คัน ที่เคยใช้รับจ้างบรรทุกข้าวเพื่อใช้หนี้ไปหลายแสนบาทแล้วครั้งหนึ่ง ก็ยังเหลือหนี้อยู่อีกมาก อยากจะบอกรัฐบาลให้ช่วยลดราคาปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และน้ำมันลงให้มากกว่านี้ เพราะต้นทุนทำนาสูงขึ้นมาเป็นเท่าตัว ฉันเองสะท้อนใจราคาข้าวดีอย่างที่เกิดมาในชีวิตไม่เคยพบมาก่อน มีต้นข้าว แต่ไม่มีเม็ดข้าวเปลือกที่จะขาย น้อยใจในชีวิตที่เกิดมาเป็นชาวนาจนๆ” แม้จะเป็นถ้อยคำพรรณนาถึงทุกข์ยากที่ประสบมาทั้งชีวิต แต่ทว่านางได้บอกเล่าถึงชีวิตชาวนาไทยอย่างรวบรัดชัดเจนยิ่ง
       

ราคาข้าวเปลือกซึ่งสูงที่สุดในประวัติ ศาสตร์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนถึง 1 หมื่นบาทต่อตัน แต่หากจะเรียกว่านี่คือยุคอันรุ่งโรจน์ของชาวนา อาจต้องมองความเป็นจริงกันให้รอบด้านอย่างถึงที่สุด เพราะ ราคาที่เพิ่มขึ้นมิได้หมายความว่าจะสร้างรายได้ให้พวกเขา “ชาวนาไทย” จะก้าวพ้นจากความยากจนที่ประสบมาตลอด

“บัญชา ปั้นดี” หนุ่มชาวนาวัย 38 ปี แห่งบ้านกุ่ม ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา สะท้อนภาพความจริงของชาวนาให้เห็นว่า แม้ราคาจะดี แต่ใช่ว่า ชาวนาจะมีรายได้อู้ฟู่เป็นกอบเป็นกำ เพราะต้นทุนการผลิตทั้งปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และน้ำมันเชื้อเพลิง ถีบตัวเพิ่มขึ้นไปกว่าเท่าตัว       


“ช่วงปีก่อน ราคาน้ำมันยังทรงตัว เพราะรัฐบาลประกันราคาน้ำมันดีเซล เมื่อราคาน้ำมันดีเซลทะลุ 30 บาท ต้นทุนทุกอย่างสูงขึ้น จากเดิมต้นทุนทำนา ประมาณ 3,000 บาทต่อไร่ ผมทำนาปรัง 100 ไร่ จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวน 3 แสนบาท ต่อการทำนา 1 รอบ 4 เดือนครึ่ง จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวขายได้ แต่ขณะนี้ต้นทุนสูงถึง 6,000 บาทต่อไร่ ผมไม่มีเงินทุนมากขนาดนั้น พอหาได้ประมาณ 3 แสนบาท จึงต้องลดจำนวนพื้นที่ ทำนาปรังลงเหลือ 50 ไร่เท่านั้น”       


แม้ว่าราคาข้าวก่อนหน้านี้จะไม่สูงเท่าขณะนี้ แต่หากเทียบกับจำนวนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแล้ว สำหรับบัญชาเขาเห็นว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลย

“ก่อนที่ต้นทุนและราคาข้าวจะพุ่งสูงขนาดนี้ ต้องขายข้าวแบบจำนำข้าว ต้นทุนไร่ละ 3,000 บาท ขายข้าวเปลือกตามราคาจำนำข้าวที่ประมาณ 7,000 บาทต่อตัน ในฐานการผลิตที่ 1 ไร่ต่อ 1 ตัน เท่ากับชาวนาได้กำไรตันละประมาณ 4,000 บาท ซึ่งยังไม่รวมค่าแรงของชาวนาในการทำนา ส่วนปัจจุบันต้นทุนอยู่ที่ประมาณไร่ละ 5,000-6,000 บาท แม้ราคาข้าวเปลือกจะสูงถึงตันละ 1 หมื่นบาท แต่คิดถึงรายได้แล้ว ชาวนาก็มีกำไรเพียงไร่ละ 4,000-5,000 บาท ไม่ต่างจากเดิม ไม่ได้มีรายได้มากมายอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ”       


บัญชา มองว่า ราคาข้าวเปลือกที่สูงขึ้นนี้ จะเป็นกับดักฆ่าวิถีชีวิตชาวนาไทยแน่นอน เพราะทุกคนดิ้นรนจะหาทุนมาทำนาเพื่อหวังถึงรายได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แหล่งทุนของรัฐนั้นไม่เพียงพอ จำเป็นต้องพึ่งทุนนอกระบบ ซึ่งคิดดอกเบี้ยสูง บวกลบหักกลบกันแล้ว เชื่อว่าชาวนาจะไม่ได้อะไรเลย และถึงแม้ว่าจะเป็นชาวนาที่มีเงินทุนสะสม ก็ใช่ว่าจะได้รับประโยชน์ ผลกำไรจากภาวะราคาข้าวที่พุ่งสูง เพราะในแต่ละรอบการปลูกข้าวต้องใช้เงินทุนสูงมาก ซึ่งเป็นปัญหาหนักที่ต้องแบกรับ เพราะต้นทุนในการผลิตทุกอย่างจ่ายสด ไม่มีเงินผ่อน อย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ช่วงการทำนาปรัง ทุกคนจะลดพื้นที่การปลูกลงครึ่งหนึ่ง เพื่อลดปัญหาด้านต้นทุน
       

“ชาวนาที่ยากจน ไม่มีทุนทำนาแน่นอน หากราคาข้าวดีแบบนี้ต่อไป ก็อาจยังไม่เกิดปัญหา แต่หากราคาข้าวเปลือกตกต่ำลงไม่ถึง 1 หมื่นบาทเมื่อใด เกิดปัญหาแน่นอน วันนั้นชาวนาจะเป็นหนี้หัวโต เพราะว่าต้นทุนในการผลิตสูงทะยานขึ้นทุกวัน และไม่ยอมลงแน่นอน เท่าที่พอจะเห็นก็คือ ชาวนายากจนต้องกลายเป็นลูกจ้างทำนากินแค่ค่าแรง หรืออาจจะมีนายทุนในชุมชนที่ไม่ได้เป็นชาวนา แต่ไปจับมือลงทุนให้ชาวนาที่ยากจน ไม่มีทุน แต่มีที่นา โดยชาวนายากจนลงแรงทำนาเสร็จได้กำไรก็แบ่งกัน ซึ่งผู้ที่จะได้ประโยชน์ก็ยังคงเป็นนายทุนต่อไป”
     

เช่นเดียวกับ พินิจ สุขสมพืช ชาวนา ต.บางยี่โท อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งยึดอาชีพหลักมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ โดยเป็นนาที่เช่าคนอื่น 30 ไร่ และเป็นที่นาของตนเอง 20 ไร่ เขายืนยันว่า ถึงแม้ราคาข้าวเปลือกจะดี ก็ไม่ได้หมายความว่าชาวนาจะร่ำรวยมากขึ้น เพราะต้นทุนในการผลิตก็สูงขึ้นหลายเท่าตัวเช่นกัน และในทางกลับกัน ชาวนาที่ยากจนหรือไม่มีทุนจะทำนา อาจต้องหยุดการทำนาที่เคยเป็นอาชีพหลักก็เป็นได้ เพราะไม่มีเงินทุนที่จะสำรองในการลงทุนทำนาในแต่ละรอบการผลิต     


“เมื่อไม่มีเงินลงทุนก็ต้องหาเงินกู้ จะไปกู้เพิ่มจาก ธ.ก.ส. ก็ไม่ได้แล้ว เพราะชาวนากู้กันเต็มโควตาไปหมดแล้ว จึงต้องไปกู้นายทุนปล่อยเงินกู้ที่คิดดอกแพง เมื่อราคาข้าวดี ก็มีกลุ่มพ่อค้าข้าวหันมาลงทุนผูกใจชาวนาให้ขายข้าว โดยปล่อยเงินกู้หรือออกเงินสำรองต้นทุนจำพวกค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมายให้ก่อน โดยคิดดอกเบี้ยประมาณ 2-3% เมื่อเกี่ยวข้าวก็ต้องขายให้แก่พ่อค้าคนนั้น ซึ่งก็ซื้อขายกันในราคาตามท้องตลาด ไม่ได้กดขี่ราคาแต่อย่างใด เมื่อได้เงินมาก็ต้องจ่ายเงินคืนแก่พ่อค้าที่สำรองเงินทำทุนให้ก่อนพร้อมดอกเบี้ย ตอนนี้ชาวนาเจอวิกฤตต้นทุนสูง แต่ผลกำไรได้เท่าเดิม ขณะเดียวกัน ค่าครองชีพในปัจจุบันเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เจอแบบนี้ชาวนาที่ไหนจะทนได้” พินิจ กล่าวย้ำ       


ปัญหาของชาวนาไทยมิใช่จะมีแค่ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ฝนแล้ง แมลงศัตรูพืช รวมทั้งปัญหาต้นทุนสูง แต่ด้วยปัจจัยราคาข้าวที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้มีผู้เห็นแก่ได้โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของเพื่อนชาวนาด้วยกัน ออกโจรกรรมขโมยเกี่ยวข้าวในนาข้าวที่สุกใกล้เก็บเกี่ยว ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้กำลังเกิดขึ้นทั่วภาคกลางมาตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา

วิเชียร พวงลำเจียก กรรมการสมาคมชาวนาไทย กล่าวว่า แปลงนาข้าวเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ รถเกี่ยวข้าวจะใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง ก็สามารถเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ เพราะสามารถแยกซังข้าวและเมล็ดข้าวออกจากกันทันที และกระบะท้ายรถเกี่ยวข้าวมีความจุเมล็ดข้าวเปลือก ประมาณ 1-2 ตัน เมื่อเมล็ดข้าวเต็มกระบะ ก็จะวิ่งรถมาที่คันนา ถ่ายเทข้าวเปลือกใส่ในรถบรรทุก 6 ล้อได้ทันที
       

“เรื่องที่เกิดขึ้นถือเป็นกรรมของ ชาวนา พอข้าวเปลือกราคาไม่ดี ทำนาแล้วก็ขาดทุน พอข้าวเปลือกราคาดี ก็มาถูกโจรปล้นเกี่ยวข้าวไป เกษตรกรชาวนาในภาคกลางต้องนอนเฝ้านากันเลย เพื่อป้องกันโจรมาเกี่ยวข้าว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะข้าวเปลือกราคาดี และสามารถนำไปขายเอาเงินสดตามโรงสีทั่วๆ ไปได้ทันที ข้าวเปลือกอยู่ในมือใคร ก็เป็นข้าวเปลือกของคนคนนั้น”

ในฐานะกรรมการสมาคมชาวนาไทย วิเชียร เห็นว่า รัฐบาลจะต้องเร่งหามาตรการรองรับก่อนที่ปัญหาของเกษตรกรชาวนาไทยจะย่ำแย่ไปมากกว่านี้ จากหลายๆ ปัญหาสภาวะที่เผชิญอยู่ ทั้งราคาพันธุ์ข้าว ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ราคาน้ำมัน และแหล่งน้ำ ซึ่งล้วนเป็นต้นทุนที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอีก ในขณะที่ราคาก็ยังไม่มีความมั่นใจว่าจะเพิ่มขึ้น ทรงตัว หรือกลับมาสู่ภาวะตกต่ำเช่นในอดีต ซึ่งปัญหาเหล่านี้คือชะตากรรมที่ไม่อาจคาดเดาได้ของชาวนาไทย

ข้อมูลของ “กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน” (Local Act) ระบุว่า จากการศึกษาพื้นที่ทำนา ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ทำนาปีละ 3 ครั้ง เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อส่งออก ชาวนา 70% ไม่มีที่นาเป็นของตนเอง โดยเฉลี่ยแล้วชาวนามีหนี้สินตั้งแต่ 1-3 แสนบาทต่อครอบครัว สาเหตุหลักของหนี้สินเกิดจากการซื้อปัจจัยการผลิต ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมน และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สูงสุดถึง 52.45% ลงทุนการผลิต อาทิ รถแทรกเตอร์ รถเกี่ยว รถขนส่งและค่าน้ำมัน 26.85% และค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่สูงขึ้นทุกปี

จากการศึกษาต้นทุนการทำนาในปี 2550 ของชาวนา ต.บางขุด พบว่า มีต้นทุนการผลิตสูงถึง 3,165 บาทต่อไร่ และมีผลผลิตตอบแทนต่อไร่ 3,850 บาท ดังนั้น ชาวนาได้กำไร 685 บาทต่อไร่เท่านั้น ในขณะที่ราคาข้าวเปลือกในปี 2550 ที่ชาวนาขายได้คือ 5,500 บาทต่อตัน รัฐรับซื้อราคา 6,509 บาทต่อตัน แม้การขายให้รัฐในโครงการรับจำนำข้าวจะมีราคาสูงกว่า แต่ชาวนาต้องขายข้าวของตนเองออกไป เนื่องจากความขัดสนทางการเงินและหนี้สิน อีกทั้งหลังเก็บเกี่ยวเสร็จต้องเร่งขายข้าว ทำให้ถูกหักความชื้น ราคาข้าวจึงตก

ที่สำคัญ ชาวนาไม่สามารถเข้าถึงโครงการรับจำนำข้าวของรัฐ ที่ส่วนใหญ่มีตัวแทนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ ชาวนาคนไหนที่เป็นหนี้กับ ธ.ก.ส. ธ.ก.ส.จะหักชำระหนี้ไว้เลย ไม่มีทางได้ถือเงินจนกว่าจะไปกู้ใหม่ ชาวนาจึงไม่สามารถหลุดจากวงจรหนี้สินได้

จากภาพปัญหาที่สะท้อนมาทั้งหมด คงพอเห็นแล้วว่า ชีวิตของชาวนาไทยในวันนี้มิได้ดีขึ้นกว่าในอดีตแต่อย่างใด นานเท่าไหร่แล้วที่ชาวนาไทยแทบจะไร้ความหวังถึงอนาคต ถึงแม้ว่าราคาข้าวในปัจจุบันจะพุ่งสูงขึ้น แต่ก็เป็นเพียงภาพมายา ในขณะที่ปัจจัยโครงสร้างทางการผลิตภายใต้ระบบทุนนิยม การเข้าถึงทุน ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้พวกเขาพลิกชีวิต ลืมตา อ้าปากได้อย่างแท้จริง

ชะตากรรมชีวิตชาวนาไทย จึงยังต้องเวียนวนอยู่กับความรันทดต่อไปอีก ยาวนาน
 

 
 
 
 


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: jane1 ที่ มกราคม 21, 2011, 02:53:06 PM
พี่ๆครับ เราพูดกันแต่เรื่องปัญหาต้นทุนของชาวนา เมื่อเทียบกับจีน หรือเวียตนาม
ซึ่งต้นทุนของชาวนาบ้านเราจะสูงกว่าประเทศอื่น ซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่ืองชาวนายากจน เราน่าจะดูทั้งระบบ
ถ้าเราแก้ปัญหาที่ต้นทุนอย่างเดียวมันยาก แต่ถ้าเราแก้ปัญหาระหว่าง Gap ของ
ราคาที่โรงสีซื้อข้าวจากชาวนา(ราคาต่ำ) กับราคาที่แปลรูปเป็นข้าวสารพร้อมบริโภค(ราคาสูง)
มันจะง่ายกว่ากันไหมครับ (ถ้าให้ดีต้องแก้ไปพร้อมๆกัน)


ที่ถามแบบนี้เพราะเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไปเจอข้าวหอมมะลิไทยส่งออก pack สูญญากาศ 2 kg. ราคา 160 บาท
ถ้าคิดเป็นตัน ตันละ 80,000 บาท ทั้งที่ข้าวเปลือกหอมมะลิซื้อจากชาวนา อย่างไรก็ไม่ถึง 20,000 บาท
แล้ว Gap 60,000 บาท มันน่าจะเพิ่มให้ชาวนาบ้างซัก 10,000-20,000 ก็ยังดี ครับ!!!
  ::004::
[/color]   จะมีพ่อค้าที่ไหนเห็นใจชาวนาบ้างนะ  ::014::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ลุมพินี08 ที่ มกราคม 21, 2011, 03:04:49 PM
พี่ๆครับ เราพูดกันแต่เรื่องปัญหาต้นทุนของชาวนา เมื่อเทียบกับจีน หรือเวียตนาม
ซึ่งต้นทุนของชาวนาบ้านเราจะสูงกว่าประเทศอื่น ซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่ืองชาวนายากจนเราน่าจะดูทั้งระบบ
ถ้าเราแก้ปัญหาที่ต้นทุนอย่างเดียวมันยาก แต่ถ้าเราแก้ปัญหาระหว่าง Gap ของ
ราคาที่โรงสีซื้อข้าวจากชาวนา(ราคาต่ำ) กับราคาที่แปลรูปเป็นข้าวสารพร้อมบริโภค(ราคาสูง)
มันจะง่ายกว่ากันไหมครับ (ถ้าให้ดีต้องแก้ไปพร้อมๆกัน)


ที่ถามแบบนี้เพราะเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไปเจอข้าวหอมมะลิไทยส่งออก pack สูญญากาศ 2 kg. ราคา 160 บาท
ถ้าคิดเป็นตัน ตันละ 80,000 บาท ทั้งที่ข้าวเปลือกหอมมะลิซื้อจากชาวนา อย่างไรก็ไม่ถึง 20,000 บาท
แล้ว Gap 60,000 บาท มันน่าจะเพิ่มให้ชาวนาบ้างซัก 10,000-20,000 ก็ยังดี ครับ!!!

[/color]    จะมีพ่อค้าที่ไหนเห็นใจชาวนาบ้างนะ  ::014::

ลองไปไล่เรียงชื่อผู้ส่งออกดูซิจะรู้ว่าทำไม่เป็นอย่างงี้


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ มกราคม 21, 2011, 04:55:33 PM
พี่ๆครับ เราพูดกันแต่เรื่องปัญหาต้นทุนของชาวนา เมื่อเทียบกับจีน หรือเวียตนาม
ซึ่งต้นทุนของชาวนาบ้านเราจะสูงกว่าประเทศอื่น ซึ่งจะแก้ปัญหาเรื่ืองชาวนายากจน เราน่าจะดูทั้งระบบ
ถ้าเราแก้ปัญหาที่ต้นทุนอย่างเดียวมันยาก แต่ถ้าเราแก้ปัญหาระหว่าง Gap ของ
ราคาที่โรงสีซื้อข้าวจากชาวนา(ราคาต่ำ) กับราคาที่แปลรูปเป็นข้าวสารพร้อมบริโภค(ราคาสูง)
มันจะง่ายกว่ากันไหมครับ (ถ้าให้ดีต้องแก้ไปพร้อมๆกัน)


ที่ถามแบบนี้เพราะเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไปเจอข้าวหอมมะลิไทยส่งออก pack สูญญากาศ 2 kg. ราคา 160 บาท
ถ้าคิดเป็นตัน ตันละ 80,000 บาท ทั้งที่ข้าวเปลือกหอมมะลิซื้อจากชาวนา อย่างไรก็ไม่ถึง 20,000 บาท
แล้ว Gap 60,000 บาท มันน่าจะเพิ่มให้ชาวนาบ้างซัก 10,000-20,000 ก็ยังดี ครับ!!!
  ::004::
[/color]    จะมีพ่อค้าที่ไหนเห็นใจชาวนาบ้างนะ  ::014::

... ใครเห็นอย่างไรผมไม่ทราบ แต่จากคำตอบนี้ ตรงใจที่ผมคิด

... บ้านเมืองเรา ขาดผู้บริหารที่ "จริงใจและมีสำนึกทำเพื่อส่วนรวม" จริงๆ

... ทำให้นึกถึงคำขวัญวันเด็กปีนี้ ฟังแล้วจะราก ........... "จิตสาธารณะ" ช่างกล้าเอาคำมาใช้เนอะ !


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 23, 2011, 11:33:25 AM
ไม่แน่ใจว่าราคาที่ว่าเป็นราคาที่ไหนกันแน่ ถ้าอิงราคาข้าวหอมมะลิส่งออกจากสมาคมโรงสีข้าวไทย 100 กก 2900 บาท เท่ากับตันละ 29000 บาทโดยทั่วไปข้าวเปลือก 1 ตัน จะสีข้าวต้นได้ประมาณ 400-450 กก เป็นปลายข้าวประมาณ 130-140 กก ที่เหลือเป็นรำ กะแกลบ ถ้าจะคำนวณราคาข้าวเปลือก ให้ เอาราคาข้าวสาร +ปลาย +รำ+แกลบ +ค่าสีประมาณ 500 บาทต่อตัน จะได้ราคาข้าวเปลือก ที่ควรซื้อได้ ซึ่งถ้าจะคำนวณคร่าวๆ ราคาข้าวเปลือกจะเป็นครึ่งหนึ่งของราคาข้าวสาร ราคาเปลือกหอมมะลิปัจจุบัน 13000-14000 บาท บวกค่าขนส่ง 600 ค่าจัดการอีก 400 บาท ต้นทุนข้าวเปลือกหอมมะลิหน้าโรงสี 14000 - 15000 บาท สีออกมาเป็นแกลบกะรำไปซะครึ่ง ก็ไม่เห็นกำไรจะเยอะตรงไหน โรงสีหนึ่งจะตั้งได้ต้องมีเงินทุนประมาณ 300 ล้าน ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ประมาณ 10 ล้านบาท โดยทั่วไปแล้วหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว โรงสีที่มีกำไรดีจะมีกำไรประมาณ 300-500 บาทต่อตัน ลองคิดดูละกันครับ ว่าต้องสีข้าวเดือนละกี่ตันถึงจะแค่พอค่าใช้จ่าย  อันนี้หมายถึงโรงสีที่กำไรดีนะครับ

ส่วนราคาข้าวที่ว่า อาจจะต้องไปดูว่าเป็นราคาของที่ไหนครับ ของขายในตลาดกับของขายบนห้าง ราคาก็ไม่เท่ากัน ราคาเบนซ์กับโตโยต้าก็ไม่เท่ากัน ของทุกอย่างมีราคา และมีเหตุผลที่ต้องจ่าย
เงินเดือนของหมอ กับเงินเดือนของพนักงานบัญชีก็ไม่เท่ากัน ทั้งที่ ป ตรีเหมือนกัน  คนบางคนเขาอาจยอมจ่ายแพงกว่าปกติเพื่อให้ได้ของที่ดีกว่าปกติทั่วไปก็ได้ครับ

ที่ผมออกมาโพสต์กระทู้เรื่องพ่อค้า เพราะอยากให้เข้าใจปัญหาที่แท้จริงของต้นเหตุความยากจน ของชาวนาว่าเป็นที่อะไรกันแน่ เพื่อจะได้กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาได้ถูกจุด
สังเกตุง่ายๆ ถ้าโรงสีกำไรกันเยอะอย่างที่ว่าจริง ทำไมถึงเห็น โรงสีหลายๆโรงเจ๊งกันได้ ส่วนท่าข้าวยังอยู่ในช่วงที่ทำกำไรได้อยู่ แต่ภายในเวลาห้าปี จะเริ่มเห็นท่าข้าวเจ๊ง ให้เห็นละครับ เพราะการแข่งขันที่สูงขึ้น กำไรที่ได้ก็จะน้อยลงเรื่อยๆ  ท่าข้าวใหม่ๆที่ต้นทุนสูงก็จะเริ่มอยู่ไม่ได้



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 23, 2011, 12:37:15 PM
ทุกวันนี้เวลาเห็นนักการเมือง หรือแม้แต่กระทั่งนักวิชาการบางคน หรือนักข่าวนำเสนอข่าวในแง่ที่ชาวนายากจนมาจากพ่อค้าโรงสีกดราคาอยู่เลย ครับ ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไป บ้านเราคงแข่งกับประเทศอื่นลำบาก 

แต่ไม่ใช่ว่าภาครัฐจะไม่ทำอะไรเลยนะครับ ข้าวก็เป็นแหล่งอาหารชนิดหนึ่งของโลก ถ้ามองภาพรวมคือเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต ของโลก อันหนึ่ง ซึ่งมีคู่แข่งคือ ข้าวสาลี (เอาไปทำขนมปัง) ข้าวโพด มัน ถั่ว  แนวทางที่ควรทำคือ สอนให้ประเทศต่างๆ หัดกินข้าวให้เป็น อย่างประเทศยากจนบางประเทศ ต่างประเทศเขาจะเอาข้าวสาลีไปแจก พร้อมกับสอนให้ทำขนมปังให้ แล้วก็ช่วยเหลือด้านเครื่องมือในการทำขนมปัง เพื่อเป็นการขยายตลาดสำหรับส่งออกข้าวสาลี  เราน่าจะเอาอย่างเขาบ้าง  ทั้ง้ๆที่ข้าวทำง่ายกว่าขนมปังตั้งเยอะ ต้นทุนการทำก็ถูกกว่า อุปกรณ์ก็น้อยกว่า
ถ้าเทียบกับถั่ว มัน ก็มีรสชาติที่ดีกว่า

ที่ผมว่าการแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนของชาวนาก็เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่ทำง่ายที่สุดแล้วครับ เพราะไม่ต้องรอภาครัฐ ซึ่งไม่ว่าข้าวจะถูกหรือแพงยังไงก็เป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่แล้ว ส่วนเรื่องกำไรของพ่อค้ามันก็มีระบบกลไกตลาด คอยควบคุมราคาอยู่แล้ว เวลาชาวนามาขายข้าว พ่อค้าต้องตีราคาก่อน ถ้าชาวนายังไม่พอใจราคาก็สามารถเปลื่ยนไปขายที่อื่นได้  ท่าข้าวแต่ละแห่งก็อยู่ห่างกันไม่เกิน ห้า กม บางทีอยู่ติดกันอยู่ด้วยซ้ำ ก็ยังไม่เห็นว่าจะไปกดราคากันได้ยังไง

สำหรับบางตลาดอาจจะขายได้แพงกว่าราคาตลาดทั่วไป อันนี้มันก็มีราคา มีต้นทุนที่ต้องจ่าย ทำนองเบนซ์กับโตโยต้า นั่นแหละครับ ทั้งๆที่เป็นรถเก๋งเหมือนกัน บางครั้งกว่าที่จะได้มาที่ราคานั้นๆ อาจต้องลงทุน ลงแรงมากกว่าคนอื่นๆ แต่มันเป็นธรรมดาค้าขายบางครั้งถ้าขายได้แพง ตราบเท่าที่ยังมีคนซื้อก็ต้องพยามขายให้แพงเท่าที่ขายได้อยู่แล้ว

บางที


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 23, 2011, 01:54:20 PM
 
'

“ทำนากันมาตลอดชีวิต มีแต่หนี้สิน เราก็ขยันอดทนทำกิน ไม่ได้ฟุ่มเฟือยหรือเกียจคร้าน แต่ทำนากลับมีแต่หนี้ บางปีนาล่ม บางปีนาแล้ง พอมาปีนี้ราคาข้าวดี ตั้งใจจะขายข้าวใช้หนี้ให้หมด เพลี้ยและแมลงก็มาลงกินจนเสียหายเกือบหมด  ที่ผ่านมาก็ต้องตัดสินใจขายรถบรรทุก 6 ล้อเก่า 1 คัน ที่เคยใช้รับจ้างบรรทุกข้าวเพื่อใช้หนี้ไปหลายแสนบาทแล้วครั้งหนึ่ง ก็ยังเหลือหนี้อยู่อีกมาก อยากจะบอกรัฐบาลให้ช่วยลดราคาปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และน้ำมันลงให้มากกว่านี้ เพราะต้นทุนทำนาสูงขึ้นมาเป็นเท่าตัว ฉันเองสะท้อนใจราคาข้าวดีอย่างที่เกิดมาในชีวิตไม่เคยพบมาก่อน มีต้นข้าว แต่ไม่มีเม็ดข้าวเปลือกที่จะขาย น้อยใจในชีวิตที่เกิดมาเป็นชาวนาจนๆ” แม้จะเป็นถ้อยคำพรรณนาถึงทุกข์ยากที่ประสบมาทั้งชีวิต แต่ทว่านางได้บอกเล่าถึงชีวิตชาวนาไทยอย่างรวบรัดชัดเจนยิ่ง

 
จริงๆแล้วปัญหามันก็อยู่ตรงหน้าอยู่แล้ว  แต่ผมว่าเราแก้ไม่ถูกจุดมากกว่า  ยกตัวอย่างเรื่องนาล่ม นาแล้ง จริงๆแล้วผมว่ามันเลี่ยงได้ แต่ที่ไม่สามรถเลี่่ยงได้เพราะการทำนาปีละสามรอบ หมายความว่าหนึ่งรอบต้องทำภายใน 120 วัน แต่ข้าวอายุประมาณ 100-120 วัน หมายความว่าเกี่ยวเสร็จ ก็ต้องรีบไถ รีบหว่านเลย ทำให้ไม่สามารถเลือกช่วงเวลาที่จะให้ข้าวออกได้ พอทำไปแล้ว เข้าหน้าฝนก็เจอน้ำท่วม หรือช่วงกลางฤดูแล้งจริงๆ ก็ไม่มีน้ำ ทำให้ข้าวขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ ทำให้ไม่คุ้มทุน


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 23, 2011, 01:55:05 PM
หรือเรื่องเพลี้ยลง เนื่องมาจากการรีบทำนา ทำให้ดินไม่มีโอกาสพักตัว ไม่มีการย่อยสลายซากพืช ทำให้ดินขาดสารอาหารอินทรีย์ ทำให้ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น พอข้าวได้กินแต่ปุ๋ยเคมี ก็ทำให้ต้นข้าวอ่อนแอไม่สามารถต้านแมลงได้ พอมีอาหารสำหรับแมลงเยอะๆ เพลี้ยก็ขยายพันธุ์ได้มาก ยิ่งชาวนาใช้ยาฆ่าแมลงซ้ำเข้าไป ทำให้แบคทีเรียที่อยู่ในดิน หรือพวกแมลงตัวเล็กๆที่มีประโยชน์ช่วยย่อยธาตุอาหาร  หรือช่วยกินไข่ หรือตัวอ่อนของเพลี้ย หรือแบคทีเรียที่จะทำให้เพลี้ยเกิดโรคก็พลอยตายไปด้วย  ทำให้เพลี้ยยิ่งมีศัตรูน้อยลง แต่มีอาหารมากขึ้น ทำให้ระบบสมดุลเสียไป จำนวนของเพลี้ยยิ่งเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นปัญหา
จริงๆ แล้วควรแก้ปัญหาโดยการลดรอบการทำนาต่อปีลง เลือกช่วงเวลาปลูกข้าวให้เหมาะสม เลี่ยงช่วงที่จะเจอกับปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง หรือหนาว ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงลง เพื่อให้ระบบนิเวศน์ในนากลับคืนมา พอดินอุดมสมบูรณ์ต้นข้าวก็แข็งแรง ผลผลิตดี ต้านทานโรค และแมลงได้ดี นาที่ทำแบบเกษตรอินทรีย์ จะไม่ค่อยเจอปัญหาเรื่องเพลี้ยเท่าไร


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 23, 2011, 01:55:48 PM
อย่างที่เห็นว่าไม่ว่าข้าวราคาเท่าไร ชาวนาก็ยังยากจนอยู่เหมือนเดิม เมื่อประมาณสิบปีก่อนข้าวแห้งอยู่ที่ประมาณตันละ 5000-6000 บาท มาปีนี้ข้าวแห้งขยับอยู่ที่ราคา 9000-9500 บาท เงินเดือน ป ตรี หรือค่าแรงขั้นต่ำวันนี้เทียบกับ สิบปีที่แล้วขยับไปเท่าไรเองครับ ปัญหาที่แท้จริงอยู่ราคาข้าวจริงๆหรือเปล่าลองคิดดู
ส่วนเรื่องกำไรของพ่อค้า โรงสีอันนี้มันเป็นธรรมดาของค้าขายครับ การค้ามันมีการลงทุน  มีต้นทุน มีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆกัน  แล้วก็มีการแข่งขันที่คอยกำหนดราคาซื้อขาย ชาวนาพยายามต่อรองพ่อค้าเพื่อขายให้พ่อค้าที่ให้ราคาสูงที่สุด พ่อค้าก็ต้องซื้อให้ได้ของ แล้วก็ยังเหลือกำไร ถ้าซื้อถูกไป เผื่อกำไรไว้เยอะ ชาวนาก็จะไปขายที่อื่นหมด แต่ถ้าเผื่อกำไรไว้น้อยเกินไป ไม่คุ้มค่าใช้จ่ายก็ต้องเลิกธุรกิจไป  ธุรกิจไหนมีคู่แข่งน้อย ยังมีส่วนต่างกำไรเยอะ คู่แข่งก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การแข่งขันสูงขึ้น กำไรน้อยลงๆ จนถึงจุดนึงที่มีบางคนที่ค่าใช้จ่ายสูง หรือกำไรน้อยกว่าคนอื่นก็จะต้องขาดทุนจนเลิกธุรกิจ ไม่เฉพาะวงการข้าวหรอกครับ ทุกๆวงการก็เป็นเหมือนกันครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 23, 2011, 01:56:35 PM
เรื่องจะมากำหนดราคาให้พ่อค้า โรงสีมีกำไรคงที่ไปเลย ผมไม่ขอเยอะเลยอ่ะ หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือซัก 200 บาทต่อตันก็พอแล้ว กำหนดราคาซื้อมา บวกค่าขนส่ง ค่าใช้จ่าย บวกกำไรให้แค่ 200 ก็พอครับ แล้วขนไปขายให้รัฐให้หมด (คล้ายกับจำนำที่เคยทำกันแหละครับ) แต่คิดจริงๆเหรอครับ ว่าจะทำได้จริง หรือถ้าทำได้จริงๆ จะสามารถแก้ปัญหาความยากจนของชาวนาได้


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 23, 2011, 01:57:13 PM
 มีใครเคยคิดกันบ้างครับ ว่า3-4 ปีที่แล้ว ที่ข้าวราคาขึ้นไปถึง 12000 บาท ผลกระทบที่ตามมาคืออะไร


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ มกราคม 23, 2011, 02:19:37 PM
... หลายๆคำตอบ ทำให้เห็นว่า สาเหตุและวิธีการแก้ปัญหา ก็มีหลายๆท่านที่มีความคิดที่ดี

... แต่ไม่เข้าใจว่า เรื่องแบบนี้ ผู้มีอำนาจและหน้าที่ ที่จะต้องจัดการ เค้าคิดกันได้หรือเปล่า

... เอะอะอะไรก็ "ประกันราคา" ... ไม่เคยเห็นการแก้ปัญหาแบบป้องกันเลย มีแต่ตั้งรับตลอด

... การออกสำรวจและขึ้นทะเบียนผลผลิตล่วงหน้า ผมว่าเป็นวิธีการที่ดีมาก ทำให้เกษตรกรได้รู้

และวางแผนล่วงหน้า ผู้มีหน้าที่หาตลาดก็จะได้รู้ปริมาณสินค้าในมือเพื่อวางแผนการจำหน่าย

เป็นการป้องกันสินค้าล้นตลาด ... เหนื่อยใจกับคนบริหารบ้านเมืองนี้จัง  ::004::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 23, 2011, 04:49:47 PM
จริงๆแล้วเดือนที่เหมาะสำหรับการทำนาคือช่วงเดือน กรกฎาคม เป็นช่วงเลยกลางฤดูฝนไปแล้ว ทำให้ลดโอกาสเจอน้ำท่วมได้ อีกทั้งยังมีน้ำในเขื่อนเหลือเฟือ ถ้าฝนตกลงมาช่วยก็จะประหยัดค่าน้ำมันสำหรับสูบน้ำเข้านาไปอีก ถ้าฝนทิ้งช่วงก็ยังมีน้ำในเขื่อนปล่อยมาเลี้ยงต้นข้าวได้  พอเข้า กันยายน ข้าวเริ่มตั้งท้อง พอ พฤศจิกายน ข้าวก็ได้อายุเกี่ยวพอดี ถึงฤดูหนาวมาไว ก็จะไม่มีปัญหา เพราะข้าวได้อายุพอดี  ผลผลิตก็ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย พอเกี่ยวเสร็จ ก็ไถกลบฟางแทนการเผา ถ้าเป็นไปได้ก็สูบน้ำเข้านาเพื่อช่วยการหมัก ให้เศษฟางย่อยสลายเร็วขึ้น ใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน พอเข้า มกราคม ก็ทำนาอีกรอบ ข้าวจะตั้งท้องช่วงมีนาคม ซึ่งยังไม่แล้งมาก น้ำในเขื่อนยังมีเยอะอยู่ สามารถใช้น้ำในเขื่อนในการทำนาปรังได้ พอเข้าเดือนเมษา  ข้าวได้อายุพอดีซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวไม่ต้องการน้ำแล้ว  ทำให้ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย หลังเกี่ยวก็ทำเหมือนเดิม คือหมักฟาง แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่ไม่มีระบบชลประทาน เขาจะปลูกถั่วกัน เพราะใช้น้ำน้อยกว่า ช่วง มกรา ถึงมีนา ยังไม่แล้งมาก น้ำในแม่น้ำ หรือน้ำบาดาลยังพอมีสำหรับสูบทำการเกษตรได้  หลังจากนั้นก็เป็นการพักหน้าดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยพืชสด ก็ว่ากันไป พอเข้าเดือน กรกฎาคม ก็เริ่มทำนารอบใหม่ ถ้าทำได้แบบนี้จะเลี่ยงปัญหาเรื่องน้ำท่วม ฝนแล้ง แล้วก็เพลี้ยได้ครับ เพราะต้นข้าวแข็งแรง จากธาตุอาหารในดิน ช่วงเดือนที่เราพักหน้าดินไปก็จะเป็นการฆ่าเชื้อรา เชื้อโรคในดินที่จะทำให้เกิดโรค และเป็นการตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยไปด้วยในตัว


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 23, 2011, 04:50:30 PM
ทีนี้ปัญหามันเริ่มจากว่า เนื่องจากข้าวราคาดีมาก ทำให้พฤติกรรมของชาวนาเปลี่ยนไป พยามทำนาให้ได้ปีละสามรอบ ช่วงเดือน พฤศจิกา ถึง ธันวาคม เป็นช่วงที่อากาศยังหนาวอยู่ พอเกี่ยวเสร็จ ก็ใช้วิธีเผาฟางแทน เพราะสามารถไถได้เลย พอไถก็รีบหว่าน  ข้าวที่ได้จะไปออกช่วงมีนาคม ถ้าปีไหนหนาวยาวถึง มกราคม ข้าวจะติดหนาวทำให้เมล็ดข้าวลีบ ผลผลิตน้อย แต่ถ้าทำปลายเดือน ธันวา ก็ไม่เป็นไร เพราะข้าวจะออกช่วงมีนา พ้นช่วงหนาวไปแล้ว พอหลังจากเก็บเกี่ยวช่วงนาปรัง ก็รีบเผา รีบหว่านเหมือนเดิมข้าวจะ ติดแล้ง ช่วงเดือน เมย.-พค. ซึ่งรู้กันว่าเป็นช่วงแล้งที่สุดของปี ถ้าน้ำในเขื่อนแห้ง จนมีไม่พอสำหรับบริโภค ก็ต้องยอมปล่อยให้ข้าวแห้งตาย ต่อให้สูบน้ำบาดาลมาทำก็อาจไม่ได้ เพราะแย่งกันสูบ จนไม่มีน้ำให้สูบ ทีนี้ถ้าโชคดีฝนมาไว ข้าวรอดตาย แต่ก็แคระแกร็น ผลผลิตต่ำ เพราะผ่านช่วงขาดน้ำมาแล้ว  พอได้ผลผลิตน้อย ก็ขาดทุน หรือพอข้าวรอดตายมาได้ พอเข้าเดือน มิถุนายน ก็เข้าฤดูฝน น้ำก็ท่วมอีก เผลอๆนาล่ม ที่ลงทุนไปไม่ได้ซักบาท จะไม่จนไงไหว ถ้ารอดจากน้ำท่วมไปได้ กว่าจะเกี่ยว กว่าจะไถ กว่าจะหว่าน บางปี กินเวลาไปถึงสิงหาคม ซึ่งข้าวที่หว่านช่วงเดือนสิงหาจะไปตั้งท้องเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเข้าฤดูหนาวแล้ว พอข้าวติดหนาว ข้าวเปลือกที่ได้ก็จะลีบ ไม่ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่ก็จะต่ำ อีกทั้งการทำนาติดๆ กันทำให้พื้นนาสะสมโรค เชื้อรา และเพลี้ยอีก ทั้งยังเผาฟางทิ้ง ไม่มีการเติมธาตุอาหารไปในดิน การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ยาฆ่าแมลง ยิ่งทำให้เชื้อแบคทีเรียในดิน หรือพวกแมลงเล็กๆที่มีประโยชน์ตายไป ยิ่งขาดตัวช่วยย่อยอาหาร แมลงตัวเล็กที่เป็นศัตรูของเพลี้ย ก็ตายไปอีก พวกหอยเชอรี่ พวกเพลี้ย ไม่มีศัตรูมากวนก็ยิ่งขยายพันธุ์มากขึ้น ประกอบกับต้นข้าวที่ชาวนาปลูกอ่อนแอ จากปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง เป็นอาหารอย่างดีของเพลี้ย ปูที่เคยกินแมลงเล็กๆในดิน พอไม่มีแมลงให้กิน ก็หันมากินต้นข้าวแทนอีก ก็ยิ่งต้องใส่ยาฆ่าปู ฆ่าหอย ฆ่าเพลี้ย ยิ่งเป็นการทับถมปัญหาเข้าไปอีก


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 23, 2011, 04:51:09 PM

ถ้าอยากจะเริ่มแก้ปัญหาความยากจนของชาวนาต้องเปลี่ยนความคิดของชาวนาให้ได้ก่อน ทำนาแค่ปีละสองครั้งพอ ช่วงเดือนที่ควรเลี่ยงคือ เมย.- พค. เพราะเป็นช่วงที่แล้งสุดของปี ต่อให้มีระบบชลประทานก็อาจไม่มีน้ำในเขื่อนปล่อยมาให้ทำนา อีกเดือนคือช่วง มิย-ต้นกค. เพราะเป็นช่วงกลางฤดูฝน โอกาสเสี่ยงที่น้ำจะท่วมสูง ช่วงว่างก็ใช้โอกาสนี้บำรุงดิน กับพักหน้าดิน ตัดวงจรของเพลี้ยไปด้วยในตัว
ที่ต้องบอกว่าให้แก้ที่ตัวชาวนา เพราะการจะรอให้ภาครัฐมาแก้ปัญหาให้อันนั้นหวังยากครับ ระบบบ้านเราเป็นไงเราก็รู้ๆกันอยู่  ต้องทำเท่าที่เราทำได้ก่อน  ส่วนพ่อค้า โรงสี ถ้าข้าวของชาวนาดีจริง เมล็ดเต็ม น้ำหนักดี เมล็ดยาว ความชื้นดี ไม่ต้องห่วงหรอกครับ พ่อค้าแย่งกันหัวแตก  ของคุณภาพดีใครก็อยากได้ครับ  เผลอๆถ้าดีจริง บางทีซื้อแบบไม่เอากำไรก็มีครับ เพราะต้องการเอาไปผสมรวมกับข้าวคุณภาพต่ำกว่า เพื่อให้ขายได้ครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 23, 2011, 04:57:31 PM

ไม่อยากให้กระทู้นี้เป็นแค่กระทู้ด่ารัฐบาล ด่าพ่อค้า หรือด่าความห่วยของประเทศเราเอง ผมว่าทุกๆที่มันก็มีปัญหาของตัวมันเองนะ  แต่เราลืมไปหรือเปล่าว่า ถึงจะด่าคนอื่นแค่ไหนก็ไม่ช่วยให้ตัวชาวนารวยขึ้นได้หรอก  ที่ถูกคือต้องเริ่มมองหาว่าข้อผิดพลาดมันอยู่ตรงไหน มีปัญหาอยู่ตรงไหน แล้วเราจะแก้ปัญหายังไง ปัญหาไหนที่เราแก้ไม่ได้ ก็ต้องปล่อยวาง เอาเวลามาจัดการแก้ปัญหาที่เราทำได้ก่อนดีกว่า เรื่องของนโยบายรัฐ เรื่องราคาข้าวในตลาดโลก เรื่องระบบราชการ อันนั้นผมมองว่ามันค่อนข้างไกลตัวอ่ะ ด่าไปก็เท่านั้น เราไปทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องปล่อยวาง แต่เรื่องวางแผนการผลิต เรื่องการลดต้นทุน เรื่องกำหนดระยะเวลาการเกี่ยว เพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพ เพื่อขายให้ได้ราคา การเลือกพันธุ์ให้ตรงความต้องการของตลาด หรือ การรวมตัวกันในระดับชุมชนเพื่อวางแผนการผลิต หรือเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับท่าข้าว โรงสี มันยังเป็นสิ่งที่เราพอทำได้ ถ้าภาครัฐไม่ช่วยเราก็ทำกันเอง ดีกว่ามานั่งด่าประเทศเราเอง  ว่าคนอื่นไม่ช่วยเหลือเรา แต่ลืมไปว่า เราได้ทำอะไรที่เป็นการช่วยเหลือตัวเราเองหรือยัง 


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ที่ มกราคม 23, 2011, 05:20:33 PM
+1 ครับ..


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 23, 2011, 08:55:38 PM
ถ้าพูดอะไรอย่างจะโกรธมั้ยครับ จริงๆแล้วที่พวกเราออกมาด่ารัฐบาล ด่าพ่อค้า หรือโรงสี มากๆกลับยิ่งเป็นการทำให้ชาวนายากจนลง เพราะยิ่งทำให้ชาวนายิ่งฝังใจมากขึ้นว่าที่เขาไม่รวยเพราะ พ่อค้า โรงสีกดราคา รัฐบาลไม่ช่วยเหลือ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐโกงกิน ยิ่งทำให้เขาไม่คิดที่จะช่วยตัวเอง คิดว่าความยากจนของเขา เป็นเรื่องที่คนอื่นต้องมารับผิดชอบ  ได้แต่รอว่าเมื่อไรข้าวราคาจะดี เมื่อไรรัฐบาลจะเข้ามาช่วยเหลือ อันนี้ผมว่ามันไม่ถูกต้อง ผมว่ารากฐานความยากจน ก็มาจากความคิดแบบนี้แหละครับ 
       ผมไม่เถียงว่าการกดราคามันไม่มีจริง บางสถานการณ์พ่อค้าก็ต้องกดราคาซื้อให้ถูกลงเหมือนกันครับสำหรับบางสถานการณ์นะครับ แต่ที่ต้องการจะบอกคือ การด่าพ่อค้า หรือด่ารัฐบาลมันไม่ช่วยอะไรเลย เพราะบางครั้งการโทษรัฐบาล โทษระบบ มันไม่ได้ช่วยให้เกิดแนวทางแก้ปัญหาอะไรเลย  เอาเวลามาแก้ปัญหาที่เราพอจะทำได้ดีกว่า การนั่งโทษคนอื่นมีแต่จะทำให้มองไม่เห็นความผิดพลาดของตัวเองมากกว่าครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: อนัตตา ที่ มกราคม 23, 2011, 10:26:43 PM
คาดไม่ถึงเลยว่ากระทู้นี้จะยาวนานได้ขนาดนี้ คงเป็นเพราะ สมช.หลาย ๆ ท่านอาจมีชีวิตค่อนข้างผูกพันกับชาวนาหรือใกล้เคียง อย่าไปพยายามเปลี่ยนอะไรเลยครับ ถ้าเปลี่ยนได้ก็ขอแค่กลับไปสู่สามัญ บ้านไม่เช่า ข้าวไม่ซื้อ ปูปลาหากินได้ในสระในหนอง อยู่ได้ครับ ไปรอความหวังจะให้รัฐช่วย....ตื่น ๆ ได้แล้วครับ
ลป.(ลืมไป) ท่าน pehtor มีความคิดที่ดีมากมายครับ ขอชื่นชมด้วยใจจริง + ครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ มกราคม 24, 2011, 12:42:07 PM
... ก่อนอื่น ขอ +1 ... และ ขอบพระคุณ ทุกประสบการณ์ และ ความรู้จาก ท่าน  pehtor ... ก่อนครับ ...  ::014::

ถ้าพูดอะไรอย่างจะโกรธมั้ยครับ จริงๆแล้วที่พวกเราออกมาด่ารัฐบาล ด่าพ่อค้า หรือโรงสี มากๆกลับยิ่งเป็นการทำให้ชาวนายากจนลง  

... ผมมองว่า กระทู้นี้ จะเป็นกระทู้ที่ดี อีกกระทู้หนึ่ง ... เป็นการนำเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งจากข่าวสาร ประสบการณ์จริง และวิชาการ ... ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ ... คงจะไม่มีใครโกรธเคืองใครหรอก ครับ ...  ;D ;D ;D

เพราะยิ่งทำให้ชาวนายิ่งฝังใจมากขึ้นว่าที่เขาไม่รวยเพราะ พ่อค้า โรงสีกดราคา รัฐบาลไม่ช่วยเหลือ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐโกงกิน ยิ่งทำให้เขาไม่คิดที่จะช่วยตัวเอง คิดว่าความยากจนของเขา เป็นเรื่องที่คนอื่นต้องมารับผิดชอบ     

... ในความเป็นจริง ... ชาวนา หรือ เกษตรกร ส่วนหนึ่งผมเชื่อว่าก็คิดเช่นนั้น ... ซึ่งผมมองว่า ต้องมองถึง ปัจจัยทางพื้นฐาน ความคิด ความรู้และข้อมูลข่าวสารที่ชาวนาหรือเกษตรกรเหล่านี้ได้รับด้วย ครับ ...  ::014::

เพราะบางครั้งการโทษรัฐบาล โทษระบบ มันไม่ได้ช่วยให้เกิดแนวทางแก้ปัญหาอะไรเลย  เอาเวลามาแก้ปัญหาที่เราพอจะทำได้ดีกว่า การนั่งโทษคนอื่นมีแต่จะทำให้มองไม่เห็นความผิดพลาดของตัวเองมากกว่าครับ  

... ต่อประเด็นนี้ ผมว่าเค้าคงไม่ได้โทษรัฐบาลท่าเดียว หรอก ครับ ... แต่คงจะแก้ปัญหาไปได้ ตาม ความสามารถที่มีอยู่ ... ซึ่ง หากรัฐมีแนวทางให้แก้ปัญหาแบบ สอนคนให้หาปลากินเอง ดีกว่าจะให้ปลาไปกิน ... มันน่าจะมีแสงสว่าง รำไรๆ ขึ้นมาบ้าง ... ไม่ต้องถึงกับเอาร่ำรวย หรอกครับ ... ให้ดำรงอยู่ได้โดยไม่ลำบากก็ถือว่าดีแล้ว ... ;) ;) ;)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: สหายเล็กน้อย ที่ มกราคม 24, 2011, 12:44:01 PM
คาดไม่ถึงเลยว่ากระทู้นี้จะยาวนานได้ขนาดนี้ คงเป็นเพราะ สมช.หลาย ๆ ท่านอาจมีชีวิตค่อนข้างผูกพันกับชาวนาหรือใกล้เคียง อย่าไปพยายามเปลี่ยนอะไรเลยครับ ถ้าเปลี่ยนได้ก็ขอแค่กลับไปสู่สามัญ บ้านไม่เช่า ข้าวไม่ซื้อ ปูปลาหากินได้ในสระในหนอง อยู่ได้ครับ ไปรอความหวังจะให้รัฐช่วย....ตื่น ๆ ได้แล้วครับ
ลป.(ลืมไป) ท่าน pehtor มีความคิดที่ดีมากมายครับ ขอชื่นชมด้วยใจจริง + ครับ

... อีกไม่นาน ผมก็จะไปเป็นชาวนา แล้ว พี่ ... เป็นกำลังใจให้ผมหน่อย ... อิอิ ...  ::005:: ::005:: ::005::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ มกราคม 24, 2011, 01:12:36 PM


ทุกอย่าง เรารู้หมด
ว่าเกิดจากตรงไหน จะแก้ไขอย่างไร
แต่.. เพราะอะไร ถึงไม่สามารถจะกระทำให้เป็นรูปธรรมได้

ก็เหมือนกับน้ำท่วม ภัยแล้ง
เรารู้ว่า น้ำท่วม มันท่วมบริเวณนี้ทุกปี
แต่เราแก้ไข หรือเตรียมตัว หรือป้องกัน อย่างไร ได้บ้าง

ภัยแล้ง ก็แล้งซ้ำซาก
แต่ เราทำอะไรได้บ้าง

ยังดีบ้าง ที่บางหมู่บ้าน เริ่มรวมตัว
ก่อสร้างฝายน้ำล้น มากั้นทางน้ำ
เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้
ไม่ให้ไหลไป โดยเเปล่าประโยชน์

เรื่องแบบนี้ ชาวบ้านรู้ รัฐบาลรู้
แต่ได้ลงมือทำ กันหรือยัง

น้ำท่วม ภัยแล้ง
ก็เอา  ไทยช่วยไทย
บริจาคกันไป
จบกันเป็นงวด ๆ
ปีหน้าว่ากันใหม่
วนเวียนไปเรื่อย ไม่รู้จบ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ มกราคม 24, 2011, 01:27:53 PM
คาดไม่ถึงเลยว่ากระทู้นี้จะยาวนานได้ขนาดนี้ คงเป็นเพราะ สมช.หลาย ๆ ท่านอาจมีชีวิตค่อนข้างผูกพันกับชาวนาหรือใกล้เคียง อย่าไปพยายามเปลี่ยนอะไรเลยครับ ถ้าเปลี่ยนได้ก็ขอแค่กลับไปสู่สามัญ บ้านไม่เช่า ข้าวไม่ซื้อ ปูปลาหากินได้ในสระในหนอง อยู่ได้ครับ ไปรอความหวังจะให้รัฐช่วย....ตื่น ๆ ได้แล้วครับ
ลป.(ลืมไป) ท่าน pehtor มีความคิดที่ดีมากมายครับ ขอชื่นชมด้วยใจจริง + ครับ



ผมก็คาดไม่ถึงเหมือนกันครับ ว่าจะมีคนเข้ามาอ่าน สนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กัน ต้องขอขอบคุณทุกๆท่านครับ

ได้แต่หวังว่าสิ่งที่เราพูดคุยแลกเปลี่ยนกันอาจจะพอเป็นประโยชน์แก่ชาวนา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาของชาวนาไม่มากก็น้อยครับ

ขอบคุณทุกท่านครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Iron ที่ มกราคม 24, 2011, 01:58:44 PM
เพิ่งถามอาจารย์ ดร. ด้านการตลาดมาครับ ว่าทำไมสินค้าเกษตรของเราเราคุมราคาไม่ได้เลย

ท่านบอกว่าต้องสร้าง "คุณค่าเพิ่ม" ให้กับสินค้า ท่านยกตัวอย่างเราส่งข้าวโพดไปเป็นอาหารสัตว์

คิดราคาเป็นตัน  แต่เขาเอาไปแปรรูปเป็นข้าวโพดคั่วบรรจุถุง ราคาแพง

หลังจากท่านอาจารย์ยกตัวอย่าง ผมเลยตั้งใจว่าอนาคตผมจะเป็นนักการตลาดให้ได้  ;D


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ มกราคม 24, 2011, 03:15:43 PM


ทำ ปลอกโหลดลูกซองก่อนนะพี่
Adapter ก่อนเลย
ดีมั้ยครับ

ผมวางแผนให้แล้วนะครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ลุมพินี08 ที่ มกราคม 24, 2011, 03:58:39 PM
น้ำท่วมแจกถุงยังชีพ
น้ำแล้งแจกน้ำ
อากาศหนาวแจกผ้าห่ม
เขาก็คิดแต่จะแจกๆๆๆๆๆเพื่อคะแนนเสียงตามความต้องการของเจ้าของเสียงละครับ วนเวียนกันไปไม่จบหรอกครับ ที่นี่ประเทศไทยอยู่กันอย่างไทยๆ คงไม่โทษใครครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: กรรมกร ที่ มกราคม 25, 2011, 12:39:02 PM
น้ำท่วมแจกถุงยังชีพ
น้ำแล้งแจกน้ำ
อากาศหนาวแจกผ้าห่ม
เขาก็คิดแต่จะแจกๆๆๆๆๆเพื่อคะแนนเสียงตามความต้องการของเจ้าของเสียงละครับ วนเวียนกันไปไม่จบหรอกครับ ที่นี่ประเทศไทยอยู่กันอย่างไทยๆ คงไม่โทษใครครับ

... ทำท่าจะกลายเป็น "ประเพณี" ไปแล้วล่ะครับ  ::008::

... ... เพราะทำกันประจำทุกปี  ::009::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ค..ควาย...ใส่ชฎา ที่ มกราคม 25, 2011, 02:33:23 PM
เพิ่งถามอาจารย์ ดร. ด้านการตลาดมาครับ ว่าทำไมสินค้าเกษตรของเราเราคุมราคาไม่ได้เลย

ท่านบอกว่าต้องสร้าง "คุณค่าเพิ่ม" ให้กับสินค้า

ท่านยกตัวอย่างเราส่งข้าวโพดไปเป็นอาหารสัตว์  คิดราคาเป็นตัน  

แต่เขาเอาไปแปรรูปเป็นข้าวโพดคั่วบรรจุถุง ราคาแพง

หลังจากท่านอาจารย์ยกตัวอย่าง ผมเลยตั้งใจว่าอนาคตผมจะเป็นนักการตลาดให้ได้  ;D

็Ha  Ha  ฮา  พี่เหล็กขร๊า  อย่าไปเป็น Marketing Man  เลยน๊ะคร๊า  ฮา

แล้วถ้าเกิดจะทำ เมล็ดข้าวโพดคั่ว  ใส่กระป๋องมาขาย   ยายก็ไม่ซื้อ  อ่ะคร๊า  ฮา

อิอิ  มันคนละ 1000 กันน๊ะคร๊า  ข้าวโพดคั่ว  กะ  ข้าวโพดที่ใช้ทำอาหารสัตว์  อ่ะ คร๊า  ฮา


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ลุมพินี08 ที่ มกราคม 25, 2011, 04:24:24 PM
เพิ่งถามอาจารย์ ดร. ด้านการตลาดมาครับ ว่าทำไมสินค้าเกษตรของเราเราคุมราคาไม่ได้เลย

ท่านบอกว่าต้องสร้าง "คุณค่าเพิ่ม" ให้กับสินค้า ท่านยกตัวอย่างเราส่งข้าวโพดไปเป็นอาหารสัตว์

คิดราคาเป็นตัน  แต่เขาเอาไปแปรรูปเป็นข้าวโพดคั่วบรรจุถุง ราคาแพง

หลังจากท่านอาจารย์ยกตัวอย่าง ผมเลยตั้งใจว่าอนาคตผมจะเป็นนักการตลาดให้ได้  ;D

สงสัยนิดนึง ชาวนาขายข้าวเปลือก โรงสีก็รับสีข้าว พ่อค้าก็ขายข้าวสาร ความหมายของ ดร คงหมายถึงการสร้างมูลค่าจากการบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายของแต่ละขั้นตอนมั้ง ผมมองไม่ออกจริงว่าชาวนาจะสร้างมูลค่าให้ข้างเปลือกได้อย่างไรในเมื่อชาวนาไม่มีโรงสีเป็นของตัวเอง หากชาวนารวมตัวกันเองด้วยการสนับสนุนในรูปสหกรณ์แล้วชาวนาแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารได้เมื่อไรมูลค่าก็จะเพิ่มทันทีครับ พูดง่ายๆก็คือตัดโรงสีออกจากวงจร


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: yod - รักในหลวง ครับ ที่ มกราคม 25, 2011, 04:39:44 PM

(http://www.natrawee.co.th/images/PRODUCT19112007202827.jpg)  (http://www.natrawee.co.th/index.asp?ContentID=10000022&title=%E0%A4%C3%D7%E8%CD%A7%CA%D5%A2%E9%D2%C7+%A1%C5%E9%CD%A7+%E1%C5%D0+%A2%E9%D2%C7%A2%D2%C7&getproduct=20&keyword=&catid=)


เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก

ปัญหาคือการจัดการและเงินทุนในการหมุนเวียน


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ มกราคม 25, 2011, 04:44:58 PM
เพิ่งถามอาจารย์ ดร. ด้านการตลาดมาครับ ว่าทำไมสินค้าเกษตรของเราเราคุมราคาไม่ได้เลย

ท่านบอกว่าต้องสร้าง "คุณค่าเพิ่ม" ให้กับสินค้า

ท่านยกตัวอย่างเราส่งข้าวโพดไปเป็นอาหารสัตว์  คิดราคาเป็นตัน 

แต่เขาเอาไปแปรรูปเป็นข้าวโพดคั่วบรรจุถุง ราคาแพง

หลังจากท่านอาจารย์ยกตัวอย่าง ผมเลยตั้งใจว่าอนาคตผมจะเป็นนักการตลาดให้ได้  ;D

็Ha  Ha  ฮา  พี่เหล็กขร๊า  อย่าไปเป็น Marketing Man  เลยน๊ะคร๊า  ฮา

แล้วถ้าเกิดจะทำ เมล็ดข้าวโพดคั่ว  ใส่กระป๋องมาขาย   ยายก็ไม่ซื้อ  อ่ะคร๊า  ฮา

อิอิ  มันคนละ 1000 กันน๊ะคร๊า  ข้าวโพดคั่ว  กะ  ข้าวโพดที่ใช้ทำอาหารสัตว์  อ่ะ คร๊า  ฮา

ใช่ครับ ข้าวโพดอาหารสัตว์ ถ้าท่านเอาไปแทะก็น้องๆแทะไม้กระบอก เหมือนเอาอ้อยแบบส่งโรงงาน
หีบเอาน้ำอ้อยมาทำน้ำตาล ถ้าเอามากินเล่นแบบอ้อยกินเล่น อาจฟันหักหมดปาก  ยิ่งถ้าเอาข้าวโพด
อาหารสัตว์ไปคั่วนี่ คิดไปได้แท้ๆน้อ...


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 25, 2011, 05:29:39 PM

เก็บไถขึ้นลาน - เกษม คมสันต์ (http://www.youtube.com/watch?v=XjfMyElBYh0#)


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มกราคม 25, 2011, 07:33:48 PM

สงสัยนิดนึง ชาวนาขายข้าวเปลือก โรงสีก็รับสีข้าว พ่อค้าก็ขายข้าวสาร ความหมายของ ดร คงหมายถึงการสร้างมูลค่าจากการบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายของแต่ละขั้นตอนมั้ง ผมมองไม่ออกจริงว่าชาวนาจะสร้างมูลค่าให้ข้างเปลือกได้อย่างไรในเมื่อชาวนาไม่มีโรงสีเป็นของตัวเอง หากชาวนารวมตัวกันเองด้วยการสนับสนุนในรูปสหกรณ์แล้วชาวนาแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารได้เมื่อไรมูลค่าก็จะเพิ่มทันทีครับ พูดง่ายๆก็คือตัดโรงสีออกจากวงจร
อันนี้พอเดาคำตอบได้นะครับ การสร้างมูลค่าของชาวนาคือ การแปลง แรงงาน ปุ๋ย น้ำมัน ที่ดิน และก็เวลาให้ผลิตออกมาเป็นข้าวเปลือกไงครับ ยกตัวอย่าง ต้นทุนในการทำนา รวมค่าไถ ค่าเกี่ยว ค่าปุ๋ย ค่ายา รวม 3500 บาทต่อไร่ แต่ผลิตข้าวได้ 1000 กก. ขายได้เงิน  7000 บาท แปลว่าชาวนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าแล้ว  จริงๆแล้วถ้าให้ถูกต้องรวมค่าแรงงาน ค่าเสียโอกาสจากการใช้ที่ดิน  และค่าน้ำด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้จ่ายออกมาเป็นเงินก็ตาม แต่การที่จะมีน้ำปล่อยออกมาเพื่อทำนา มันต้องมีการสร้างเขื่อน ต้องยอมเสียพื้นที่ป่า ต้องมีบางคนที่ยอมเสียพื้นที่ทำกินไป ต้องมีการลงทุน มีค่าบำรุงรักษา เพราะฉะนั้นน้ำที่ใช้ทำนาหรือทำการเกษตร มันมีต้นทุนครับ แต่ชาวนาไม่ได้จ่ายเท่านั้นเอง  รัฐบาลเอาเงินภาษีมาจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้ซึ่งคนจ่ายภาษีก็คือชาวไทยทุกคน บางครั้งการช่วยเหลือเกษตรกรมันไม่ได้มาในรูปของเงินเสมอไป


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: วีระศักดิ์ รักในหลวงครับ ที่ มกราคม 25, 2011, 09:25:09 PM
ขออนุญาตเล่าอะไรให้ฟังสักนิดนะครับ    ผมทำนา 30 กว่าไร่   มีอยู่แปลงนึง  ผมใช้ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2  เนื้อที่ 12.5 ไร่ หว่าน ข้าว 12 กระสอบ  กระสอบละ 25 กิโลกรัม  พอข้าว 5-7 วันหว่าน 46-0-0 (ยูเรีย) 10 กิโลกรัมต่อไร่  700/กระสอบ 50 โล    พออายุ25 วัน ใช้ขี้นกกระทา อัดเม็ด 25 โล/กระสอบ /170 บาท/ไร่     พออายุ  45-50 วัน 16-0-0  /6 กระสอบ/ประมาณ 780 บาท/12.5 ไร่    ได้ข้าวที่  11 ตันครับ   และลดปัญหาเรื่องโรคและแมลงด้วยครับ  ลดต้นทุน  และดินไม่เสื่อมโทรมด้วยครับ  ลองอ่านดูเล่นๆนะครับ    อ้อ ข้าวพิษณุโลก 2 ควร ใช้หน้าแล้งและใช้ยูเรียไม่มากครับ  ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: วีระศักดิ์ รักในหลวงครับ ที่ มกราคม 25, 2011, 09:31:23 PM
จากเดิมที่เคยทำกัน  5-7 วันหว่าน 46-0-0 10 โลต่อไร่โดยประมาณ    25-30  วัน  46-0-0   25 โลต่อไร่  ก็ปรับมาใช้ขี้นกกระทาแทน  ลดต้นทุนได้ 325- 2075 ต่อไร่ครับ  ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ มีนาคม 11, 2011, 03:41:22 PM
วันนี้เห็นช่วงเช้ามีการประชุมระหว่างนายกกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ไม่ได้ดูรายละเอียด ไม่ทราบว่าผลเป็นอย่างไรบ้างครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ มิถุนายน 10, 2011, 02:30:56 PM
ดีใจจัง ราคาข้าวจะขึ้นเป็นตันละ 20,000 แล้ว.... :OO
ทีนี้ ชาวนาคงไม่จนแล้วครับ ::007:: ::007::


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ มิถุนายน 10, 2011, 02:43:22 PM
ดีใจจัง ราคาข้าวจะขึ้นเป็นตันละ 20,000 แล้ว.... :OO
ทีนี้ ชาวนาคงไม่จนแล้วครับ ::007:: ::007::



ขอให้ชาวนาไทยสมหวังทุกท่านครับ


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: renold ที่ มิถุนายน 10, 2011, 03:48:47 PM
แต่คงจะดีใจได้แค่ไม่กี่อึดใจหรอกครับ เพราะราคาปุ๋ยกะสารเคมี มันรอจะขึ้นราคาอยู่แล้ว
สินค้าอุปโภค บริโภค คงจะจ่อคิวขึ้นราคาอีกเพียบ
ถึงตอนนั้น คงจะมีใครหลายๆคนมานั่งเสียดายคะแนนที่กาให้พรรค........จังเลย


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: prawin -รักในหลวง- ที่ สิงหาคม 09, 2012, 01:35:11 PM
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/reader-opinion/20120803/464395/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-:-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-(1).html

ปัญหาข้าว : ความจริงที่ประชาชนต้องรู้ (1)

ถ้ามีรัฐบาลชุดใด มาขอเงินภาษีของประชาชน 120,000 ล้านบาท โดยอ้างว่าจะนำไปช่วยชาวนา ประชาชนคงตกใจกับจำนวนเงินที่มหาศาล

แล้วก็ทำใจได้ เพราะจำนนต่อเหตุผลที่อ้าง แต่ประชาชนก็มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะถามรัฐบาลเพื่อให้ได้รู้ความจริงว่า จะช่วยชาวนาอย่างไร และเงินทุกบาททุกสตางค์ได้นำไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและจะมีการทุจริตคอร์รัปชันหรือไม่ ในประการสำคัญจะมีส่วนใดที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพการผลิตและคุณภาพชีวิตของชาวนาให้ดีขึ้น เพื่อที่ในอนาคตชาวนาจะได้เข้มแข็งสามารถช่วยตัวเองได้ การที่ต้องใช้เงินอุดหนุนในลักษณะอุปถัมภ์ก็จะลดน้อย ประชาชนก็จะมีเงินเหลือไปใช้เพื่อการศึกษาของลูกหลานและการรักษาพยาบาลให้กับคนที่มีรายได้น้อย ได้มีคุณภาพสูงขึ้นกว่าปัจจุบัน
 

ตลอดเวลากว่า 2 ทศวรรษ ปัญหาชาวนายังคงมีอยู่ซ้ำๆ และต่อเนื่อง กล่าวคือ ความยากจน หนี้สิน คุณภาพชีวิต และปัญหากรรมสิทธิ์ในที่ดินและน้ำ บางปีราคาข้าวเปลือกตกต่ำกว่าต้นทุนการผลิต หรือภัยธรรมชาติ  ได้แก่ น้ำท่วม ฝนแล้ง โรคหรือแมลงระบาด ทำให้ประสบการขาดทุน
 

สังคมไทยถูกทำให้เชื่อด้วยวาทกรรมว่าข้าวเป็นพืชการเมือง นักการเมืองจึงมาเล่นกับชาวนาในเรื่องของการแข่งกัน แจกเงิน โดยใช้เงินภาษีของประชาชนเป็นเครื่องมือ ใครแจกได้มากกว่าผู้นั้นจะชนะการเลือกตั้ง เราจึงพบว่ามีการใช้เงินของรัฐสูงขึ้นทุกยุค จากการแทรกแซงราคาข้าวด้วยเงิน 20,000-30,000 ล้านบาท มาเป็น 40,000 ล้านบาท ในโครงการประกันรายได้ของรัฐบาลชุดที่แล้ว และในรัฐบาลชุดนี้ ที่ใช้โครงการจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ด ที่คาดว่าจะต้องสูญเสียเงินอีกประมาณ 120,000 ล้านบาท ซึ่งในแต่ละวิธีการที่นักการเมืองนำมาใช้แก้ปัญหานั้น ได้สร้างผลเสียหายให้กับประเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
 

โครงการที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดในขณะนี้ คือ โครงการจำนำข้าวทุกเม็ด และประชาชนก็ถูกวาทกรรมต่างๆ ทำให้หลงไปว่า โครงการที่กล่าวมา คือ การจำนำข้าวในความหมายที่แท้จริง แต่ความจริงแล้ววิธีการจำนำเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งของการรักษาเสถียรภาพกลไกตลาดและราคา โดยเฉพาะกับพืชเกษตรเช่นข้าว ที่มีการเก็บเกี่ยวเป็นฤดูกาล ชาวนาก็จะเก็บเกี่ยวพร้อมๆ กัน ปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดก็จะมีจำนวนมาก  เป็นเหตุให้ราคาตกต่ำ การปล่อยให้ชาวนาต่างคนต่างช่วยเหลือตนเอง ด้วยการเก็บเกี่ยวข้าวไว้รอเวลาให้ราคาสูงทำไม่ได้ เพราะชาวนาทุกคนต้องใช้เงิน การทำให้ปริมาณข้าวที่ออกสู่ตลาดสมดุลกับความต้องการ จึงต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวเปลือก ด้วยการดึงปริมาณข้าวออกจากตลาดในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณร้อยละ 20-30 โดยการรับจำนำข้าวเปลือกจากชาวนาและจ่ายเงินให้ชาวนาไปก่อน ร้อยละ 80-90 ของราคาตลาด เพื่อให้ชาวนามีเงินไว้ใช้จ่าย
 

ต่อเมื่อใดที่ราคาตลาดสูงขึ้นกว่าราคาจำนำ ชาวนาก็จะมาไถ่ถอนจากรัฐบาลและนำไปขายในตลาดปกติ ทั้งนี้ รัฐบาลอาจคิดดอกเบี้ยเล็กน้อย หรือไม่คิดดอกเบี้ยก็ได้ ส่วนอายุการไถ่ถอนจะในเวลา 3-4 เดือน วิธีการที่ถูกต้องเช่นนี้ ทั่วโลกก็ใช้กันเป็นปกติ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ก็ได้ใช้โครงการจำนำยุ้งฉางของชาวนากับลูกค้าของธนาคารมากว่า 15 ปีแล้ว และประสบความสำเร็จด้วยดีมาตลอด
 

ดังนั้น การที่รัฐบาลประกาศโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ด โดยให้ราคาสูงกว่าตลาดปกติเกือบร้อยละ 60 เช่นนี้ จึงไม่ใช่การจำนำ แต่เป็นการที่รัฐบาลซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ข้อยืนยัน คือ ในจำนวนข้าวเปลือกที่จำนำ 17 ล้านตัน ไม่มีการไถ่ถอนของชาวนาแม้แต่ 1 ตัน และโดยผลของโครงการ คือ รัฐบาลต้องเป็นผู้ขายข้าวสารแต่ผู้เดียวด้วย มิไยที่เสียงท้วงติงจากผู้รู้ว่า นี่ไม่ใช้การพัฒนาข้าวและชาวนา แต่จะทำให้คุณภาพข้าวต่ำลง และชาวนาอ่อนแอ รอคอยความช่วยเหลือตลอดเวลา กลไกตลาดข้าวถูกทำลาย ตลาดข้าวไทยในต่างประเทศจะสูญเสียให้กับคู่แข่ง เพราะราคาข้าวไทยแพงที่สุด จนไม่มีผู้ซื้อ จะขาดทุนจำนวนมหาศาล และการสร้างวงจรการทุจริตอย่างมโหฬารในทุกจุด ตั้งแต่เริ่มจำนำข้าวเปลือก ข้าวสารส่งคลังรัฐบาล และการขายข้าวสารจากคลังรัฐบาล สุดท้ายวินัยทางการเงินจะก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการคลังของประเทศในอนาคตอันไม่ไกล แต่เสียงเตือนเหล่านั้น ก็ถูกผู้รับผิดชอบโครงการโจมตีกลับว่า เป็นเรื่องของผู้สูญเสียประโยชน์ หรือพวกเห็นแก่ตัว
 

ในประเด็นเรื่องจำนำหรือซื้อ มีเสียงสะท้อนจากสื่อมวลชนด้านข้าวของโลก เช่น ORYZA  และ BLOOMBERG กลับไม่เชื่ออย่างที่คนไทยถูกทำให้เชื่อ เพราะในทันทีที่รัฐบาลประกาศนโยบายเดินหน้าโครงการจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ด ในราคาที่สูงกว่าตลาดปกติร้อยละ 60 ORYZA ก็รายงานไปทั่วโลกว่า มันไม่ใช่การจำนำ (PLEDGE) แต่เป็นการที่รัฐบาลไทยซื้อข้าวจากชาวนา (GOVERNMENT BUY) ในข่าวก็มีคำถามต่อไปว่า การที่รัฐบาลทำให้ข้าวไทยมีราคาแพงที่สุดในตลาดแล้ว ข้าวนี้ก็จะไม่มีคนซื้อแล้วจะทำอย่างไร คำตอบแบบยิ้มๆ มีว่า รัฐบาลก็ต้องเก็บไว้กินเอง (EAT AT HOME) คนไทยที่อ่านข่าวนี้ต้องรู้สึกเลือดขึ้นหน้าทันที ไม่ได้เจ็บใจผู้สื่อข่าวต่างประเทศ แต่เจ็บใจที่ว่าเรื่องตลกเล็กๆ นี้ ทำไมประเทศไทยถึงต้องสูญเสียเงินไปกับโครงการนี้กว่า 100,000 ล้านบาทด้วย
 

บัดนี้โครงการจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ด ได้เดินทางมาใกล้จะจบลงในวันที่ 15 กันยายน 2555 แล้ว แต่ตลอดเส้นทางที่ผ่าน ผลลัพธ์ที่ออกมามีมากมาย และเป็นคำตอบให้กับประชาชนได้รู้ว่า คำวิจารณ์และข้อเสนอแนะของผู้รู้ทุกภาคส่วนนั้นถูกหรือผิด และใครได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ แต่ที่แน่นอน ก็คือ ประเทศได้รับความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ข้าวไทย
 

ข้อมูลที่ปรากฏ คือ  รัฐบาลซื้อข้าวเปลือกนาปีจากชาวนาจำนวน 6,799,284 ตัน  ใช้เงิน 112,826 ล้านบาท ในส่วนนี้เมื่อคำนวณตัวเลขจากราคาที่รัฐบาลซื้อ ลบด้วยราคาข้าวเปลือกในตลาดภายในประเทศ ณ ปัจจุบัน จะขาดทุนจากข้าวทุกชนิดตั้งแต่ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมปทุมธานี  ข้าวเหนียว  ข้าวเจ้า  รวมกันประมาณ 36,730 ล้านบาท (ถ้าคำนวณโดยใช้ราคา  FOB ในราคาที่ข้าวเปลือกไทยจะขายได้ในตลาดโลก ก็จะมีตัวเลขขาดทุนมากกว่านี้)
 

สำหรับข้าวนาปรัง เมื่อสิ้นโครงการประมาณว่าจะมีข้าวเปลือก 10.6 ล้านตัน จะใช้เงิน 167,174 ล้านบาท โดยวิธีการคำนวณเช่นเดียวกัน คาดว่าจะขาดทุน 70,669 ล้านบาท รวมโครงการทั้งนาปี นาปรัง จะใช้เงิน 280,000 ล้านบาท และขาดทุน 107,399 ล้านบาท (สถาบัน TDRI ได้เคยวิจัยพบว่าในโครงการจำนำเงินจะตกถึงมือชาวนาจะได้รับไม่เกินร้อยละ 50) ทั้งนี้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายโครงการ ค่าเสียหายจากข้าวเสื่อมหรือปลอมปน  ที่สำคัญ จากการทุจริตคอร์รัปชันทุกขั้นตอนอีกนับหมื่นล้านบาท
 

คำตอบที่ประชาชนอยากรู้ คือ อะไรเป็นแรงจูงใจให้เกิดโครงการมหาภัยต่อประเทศเช่นนี้ จากข่าวที่ปรากฏตามสื่อมวลชนทุกแขนงและการรับรู้ของคนในวงการค้าข้าว เราสามารถวิเคราะห์หาคำตอบว่า มีแรงจูงใจ 3 ประการ คือ
 

ประการที่ 1 การประกาศนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง เมื่อกรกฎาคม 2554 อ้างว่าจะช่วยชาวนาได้มากกว่าพรรคการเมืองอื่น โดยจะให้ราคาข้าวหอมมะลิตันละ 20,000 บาท ข้าวเจ้าตันละ 15,000 บาท จนได้คะแนนเสียงมาเป็นรัฐบาล อุปมาก็เหมือนกับ เอามือซ้ายจับชาวนาเป็นตัวประกัน ส่วนมือขวาจ่ายค่าไถ่ด้วยเงินภาษีของประชาชน
 

ประการที่ 2 มีแนวคิดที่จะผูกขาดการค้าข้าวโดยรัฐบาล โดยอ้างผลดีต่างๆ นานา แต่ภายใต้นโยบายนี้ก็มีวาระในการแสวงหาผลประโยชน์จากข้าวของโครงการ โดยกลุ่มธุรกิจที่เป็นพรรคพวกและบริวารของนักการเมือง
 

ประการที่ 3 เป็นที่รู้กันในวงการค้าข้าวว่า การซื้อข้าวจากโกดังของรัฐบาล ต้องจ่ายใต้โต๊ะให้กับการเมือง ไม่ต่ำกว่าตันละ 500-1,000 บาท สุดแต่จังหวะและโอกาสจะอำนวย ดังนั้น ข้าว 1 ล้านตัน เท่ากับการเมืองได้รับไป 500-1,000 ล้านบาท และเป็นที่รู้กันในวงการเมืองของทุกพรรคการเมืองว่านี่คือแหล่งขุมทรัพย์ที่นักการเมืองใช้หาเงิน และก็จะอ้างเพื่อลดความละอายในจิตใจของตนเองว่า การเมืองต้องใช้เงิน เพื่อไปซื้อเสียง และสร้างอิทธิพล จึงจะสามารถชนะการเลือกตั้งมาเป็นรัฐบาลปกครองประเทศได้
 

ดังนั้น ถึงเวลาหรือยังที่ประชาชนจะตื่นรู้ และลุกขึ้นมาบอกกับนักการเมือง ว่า พอกันทีความเป็นรัฐบาล ไม่ได้หมายความว่าจะมีความชอบธรรมที่จะกำหนดนโยบายอะไรก็ได้ ทั้งๆ ที่เห็นชัดเจนว่ามันสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ ตรงกันข้าม ประชาชนต่างหากที่มีความชอบธรรมที่จะต่อต้านนโยบายที่เลวร้ายนั้น

Tags : ปราโมทย์ วานิชานนท์


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: prawin -รักในหลวง- ที่ สิงหาคม 09, 2012, 01:37:39 PM
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/reader-opinion/20120809/465211/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-:-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-(2).html

ปัญหาข้าว : ความจริงที่ประชาชนต้องรู้ (2)

ในอดีตปัญหาข้าวและชาวนา ได้สร้างวาทกรรมไว้มากมาย ที่เด่นที่สุดได้แก่ วาทกรรมของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

ที่กล่าวไว้ว่า “ทุกข์ของชาวนาคือทุกข์ของแผ่นดิน” เป็นถ้อยคำที่สะท้อนความเป็นจริงของชีวิตเรื่อยมาตราบเท่าทุกวันนี้
 

ปัจจุบัน เมื่อปัญหาข้าวและชาวนาถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการหาเสียงจากชาวนา เราจึงได้ยินโวหารว่าช่วยเหลือชาวนาพรั่งพรูออกมา โดยเฉพาะในช่วงเวลาเลือกตั้ง  เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลแล้วก็ยังต้องสร้างวาทกรรมบอกประชาชนเพื่อให้ประชาชนเชื่อว่า โครงการที่รัฐบาลช่วยชาวนานั้นดี และรัฐบาลสามารถบริหารจัดการได้ ดังนั้น เพื่อมิให้ประชาชนเกิดความสับสน จึงมีความจำเป็นที่ประชาชนต้องรู้ว่า ภายใต้โวหารหรือวาทกรรมที่แลดูดีนั้น มีความจริง และมีความเป็นไปได้อย่างที่พูดหรือไม่อย่างไร เรามาเริ่มต้นกันตั้งแต่
 

วาทกรรมกลุ่มที่ 1 ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก ดังนั้น เราต้องชี้นำราคาข้าวในตลาดโลกได้ และหากเราร่วมมือกับประเทศส่งออกข้าวอื่น เช่น เวียดนาม พม่า เขมร เป็น RICE POOL เหมือนกลุ่ม OPEC เราก็สามารถกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกได้
 

ความจริงก็คือ
 

1. ประเทศไทยผลิตข้าวเป็นอันดับ 6 ของโลก ปริมาณ 17-18 ล้านตันข้าวสาร ผู้ผลิตมากที่สุดในโลกคือ จีน จำนวน 137 ล้านตัน แต่คนจีน 1,300 ล้านคน บริโภคข้าวเกือบทั้งหมด มีเหลือส่งออกเล็กน้อยเท่านั้น ในแต่ละปีไทยเราบริโภคภายในประเทศครึ่งหนึ่ง ที่เหลือส่งออกได้ประมาณ 8 ล้านตัน โดยปกติตัวเลขนี้ก็เป็นอันดับ 1 ของโลกมาตลอดอยู่แล้ว การที่ปี 2554 ส่งออกถึง 10.8 ล้านตัน ก็เพราะรัฐบาลขายข้าวในสต็อกให้กับพ่อค้าส่งออก ตัวเลขจึงเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเป็นห่วงกันมากว่าจะเสียแชมป์ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพียงแต่มันได้สะท้อนว่าโครงการจำนำของรัฐบาล ทำให้ราคาข้าวไทยสูงจนหาผู้ซื้อยาก ตัวเลขครึ่งปีนี้ข้าวส่งออกจึงลดลงกว่าร้อยละ 50  ต่อเมื่อรัฐบาลจำเป็นต้องระบายข้าวในสต็อก 12 ล้านตันให้ผู้ส่งออก ตัวเลขการส่งออกก็จะกลับมาเป็นที่ 1 อีก มันเป็นเรื่องธรรมดาตามสภาพการผลิตและสต็อก
 

2. ราคาข้าวในตลาดโลก เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงตลอดเวลา ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเศรษฐศาสตร์ในเรื่องของอุปสงค์และอุปทาน ไม่มีประเทศใดที่สามารถไปชี้นำหรือกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกได้ แม้แต่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ก็ยังต้องขายข้าวตามราคาตลาดโลก มีบางคนพยายามทำให้หลายคนเชื่อว่า ข้าว 5%  ที่รัฐบาลจำนำราคาตันละ 800 ดอลลาร์  เราน่าจะขายได้  เพราะในปี 2551 ราคาข้าวยังขึ้นไปถึง, 1000  ดอลลาร์ แต่ความจริงก็คือ ในปี 2551 ได้เกิดวิกฤติครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี ราคาน้ำมันขึ้นสูงไปถึงบาร์เรลละ 147 ดอลลาร์ พร้อมกับปรากฏการณ์เอลนีโญ (ความแห้งแล้ง) ในจีน อินเดียและเวียดนาม ทำให้ผลผลิตเสียหายมาก  จีนต้องซื้อข้าวเพิ่มจำนวนมาก เวียดนามและอินเดียหยุดการส่งออกข้าว เหลือแต่ประเทศไทยที่ไม่ได้รับความเสียหายและมีข้าวเหลือส่งออก ราคาข้าวจึงได้พุ่งขึ้นไปถึง 1,000 ดอลลาร์ ในช่วงเวลา 3 เดือน  หลังจากนั้นราคาค่อยๆ ปรับตัวลดลง 
 

3. แนวคิดที่จะทำ RICE POOL ได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี 2547 ในสมัย ดร.อดิศัย โพธารามิก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในนามพรรคไทยรักไทย ด้วยความปรารถนาดีที่จะทำให้เกิดการรวมตัวของประเทศผู้ส่งออกข้าวเพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันตัดราคา จึงได้จัดให้มีการประชุมที่กรุงเทพฯ โดยมีรัฐมนตรีจากอินเดีย พม่า เขมรและเวียดนาม มาร่วมหารือ เมื่อรัฐมนตรีอินเดียกลับไปก็แถลงข่าวกับรอยเตอร์ว่า อินเดียจะไม่มีส่วนร่วมกระบวนการในลักษณะที่เป็น CARTEL คือ จับมือกันกำหนดราคาข้าวโลก  ซึ่งอาจจะขัดต่อหลักการของสหประชาชาติ ผลก็เลยจบแบบไม่มีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม หลังจากนั้นทุกปี หลายรัฐมนตรีให้ข่าวว่าไปเจรจากับเวียดนามเพื่อจับมือการขายข้าวระหว่าง 2 ประเทศ    แต่ทุกครั้งก็ได้คำตอบกลับมาให้คนไทยได้ยินเพียงภาษาทางการทูต โดยไม่มีผลของการปฏิบัติเกิดขึ้น  ข้อสังเกตก็คือ แม้ว่าเป็นความคิดที่ดีแต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นเป็นจริงนั้นแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะไปขัดแย้งกับกลยุทธ์การค้าข้าวของเวียดนาม ที่จะตั้งราคาข้าวต่ำกว่าไทยตลอดมา การที่ไทยขายข้าวราคาสูงขึ้นก็ทำให้เวียดนามขายได้ราคาสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว เปรียบได้กับไทยกางร่มให้เวียดนาม  ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ไม่ร้อน  และภายในเวลา 5 ปี  เวียดนามก็ได้แย่งตลาดข้าวในฟิลิปปินส์  อินโดนีเซีย  และอีกหลายตลาดไปจากไทย
 

ข้อสังเกตนี้ที่เป็นการบอกคนไทยด้วยกันให้เข้าใจว่า การค้าก็คือ สงครามแต่เป็นสงครามที่ไม่ต้องใช้ปืนเป็นอาวุธ การจะไป ตื๊อเวียดนามจนเป็นข่าวประจำปี  เขาจะหัวเราะเอาได้ว่าไทยเราจนตรอกหาตลาดไม่ได้ ต้องมาขอเวียดนามให้เกิดการฮั้วขายข้าว 
 

วาทกรรมกลุ่มที่ 2 การขายข้าวในสต็อกรัฐบาลจะระบายผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ขายแบบ G to G ขายให้กับพ่อค้าทั่วไป เราจะขายให้ได้ ราคาสูงกว่าราคาตลาด  เพราะข้าวไทยดีที่สุด เราจะรอให้ประเทศอื่น เช่น เวียดนาม อินเดีย ขายข้าวให้หมดก่อนไทย  จึงขายทีหลังจะได้เรียกราคาให้สูงขึ้นได้  และการขายแบบลับๆ ไม่เปิดเผยจะทำให้ผู้ซื้อต่างประเทศไม่รู้ว่าเรามีข้าวเท่าไร  ขายไปจำนวนเท่าไรและในราคาใด  เพื่อผู้ซื้อจะได้ไม่กดราคาข้าวไทยให้ต่ำลง
 

ความจริงก็คือ คนไทยทุกคนต้องการให้ข้าวไทยขายได้ราคาสูง เท่าที่จะทำได้ แต่ต้องมีการซื้อขายจริงไม่ใช่เพียงการตั้งราคาตามที่อยากได้
 

1. ในอดีตตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) ได้ถูกใช้เป็นช่องทางระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะโดยหลักการของตลาด  การประมูลจะเปิดเผยโปร่งใส กฎกติกาเป็นธรรมทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่สำคัญไม่ต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะให้นักการเมือง แต่ที่ผ่านมาเกือบปี ทั้งๆ ที่รัฐบาลมีข้าวในสต็อกจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้นำมาขายผ่านตลาด AFET เลย  เท่ากับว่าไม่ได้ทำตาม ที่ได้เคยพูดไว้ เราสามารถใช้ประโยชน์จากตลาด AFET เป็นช่องทางระบายข้าวได้เดือนละ 2-300,000 ตัน ปีละ 2-3 ล้านตัน ได้ไม่ยาก
 

2. การขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) นั้น  โดยหลักการเป็นช่องทางที่ดี และสามารถระบายข้าวได้ในปริมาณมาก  เป็นประโยชน์ในแง่ของความช่วยเหลือและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  หรือช่องทางซื้อขายสินค้าอื่นๆ  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย  แต่ต้องยอมรับความจริงว่าการซื้อขาย G to G  ฝ่ายผู้ขายแทบไม่มีโอกาสเรียกร้องราคาให้สูงกว่าราคาตลาดได้เลย  ตรงกันข้ามฝ่ายผู้ซื้อจะได้ประโยชน์ในเรื่องราคา  เพราะถ้าต้องซื้อในราคาตลาดแล้ว  เขาก็สามารถจะเลือกซื้อจากแหล่งอื่นใดก็ได้ ประชาชนมักได้ยินวาทกรรมบ่อยๆ ว่า  รัฐบาลได้ทำ MOU กับประเทศนั้น  1 ล้านตัน  ประเทศนี้ 2 ล้านตัน  นั่นเป็นเพียงการลงนามในบันทึกความเข้าใจในเบื้องต้นว่า  จะให้มีการซื้อขายข้าวเท่านั้น  ไม่มีความผูกพันว่าจะซื้อขายกันจริงตามจำนวนใน MOU จนกว่าจะมีสัญญาซื้อขายจริงที่กำหนดจำนวนราคา  วันส่งมอบและวิธีการชำระเงิน  จึงนับได้ว่าเป็นตัวเลขส่งออกที่แท้จริง
 

3. การคอยให้เวียดนามหรืออินเดียขายข้าวให้หมดก่อนแล้วไทยขายทีหลัง จะได้เรียกราคาสูงได้ แนวคิดนี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการค้าข้าว กล่าวคือ เนื่องจากเวียดนามมีข้อจำกัดในเรื่องโกดังเก็บข้าว  นโยบายเวียดนามจึงต้องมีสัญญาขายล่วงหน้าประมาณ 2 ล้านตันก่อนฤดูเก็บเกี่ยว  จากนั้นจะทยอยขายข้าวอย่างต่อเนื่องไปตลอดทั้งปี  เพราะทางตอนใต้เขตลุ่มน้ำโขง (Mekong Delta) สามารถทำนาได้ปีละ 3 ครั้ง ส่วนอินเดีย 2 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตอุดมสมบูรณ์  มีปริมาณข้าวในสต็อกกว่า 30 ล้านตันพร้อมจะขายในตลาดได้ตลอดเวลาเมื่อมีผู้ซื้อ จึงเป็นการยากที่ไทยจะมีจังหวะและโอกาสอย่างที่คาดหวัง ดังนั้นการขายข้าวอย่างต่อเนื่องจึงเป็นกลยุทธ์การระบายข้าวที่ดีที่สุด
 

4. การขายข้าวแบบไม่เปิดเผยเป็นความลับ อ้างว่าผู้ซื้อต่างประเทศจะได้ไม่รู้ข้อมูล  มิฉะนั้นจะกดราคาข้าวไทยได้  ซึ่งฟังดูดี แต่ความเป็นจริงก็คือ  ข้อมูลข้าวในสต็อกรัฐบาลมีอยู่ที่ไหน จำนวนเท่าไร และรัฐบาลได้ขายให้ใครไปแล้ว จำนวนเท่าไร ราคาเท่าไร เหล่านี้เป็นข้อมูลปกติทางการค้า ที่คนในวงการค้าข้าวรู้กันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซื้อข้าวระหว่างประเทศที่ซื้อข้าวไทยในแต่ละปีจำนวนหลายพันล้านบาท ย่อมต้องขวนขวายหาข้อมูลมาโดยง่าย จะมีก็เพียงแต่ประชาชนคนไทยเท่านั้นที่ไม่รู้และตามไม่ทัน และวิธีขายข้าวแบบลับๆ นี้  มิใช่หรือที่ ส.ส. พรรคเพื่อไทย  ร้องเรียนไปยัง ป.ป.ช. ให้สอบสวนรัฐบาลชุดที่แล้วว่า การขายข้าวที่เป็นทรัพย์สินของทางราชการ มีมูลค่าเป็นแสนล้านบาท จะทำลับๆ ได้หรือ พฤติกรรมนี้ไม่โปร่งใสและส่อไปในทางทุจริต ซึ่ง ป.ป.ช. กำลังดำเนินการสอบสวนอยู่ในขณะนี้
 

วาทกรรมสุดท้าย โครงการจำนำข้าวไม่ได้ขาดทุนมากอย่างที่นักวิชาการพูด แต่ก็เป็นการขาดทุนเพื่อช่วยให้ชาวนามีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
 

ความจริงก็คือ ประชาชนทุกคนต้องการช่วยชาวนา แต่ก็ข้องใจว่า โครงการจำนำข้าวลักษณะนี้เป็นการที่รัฐบาลนำเงินภาษีของประชาชนไปแจกชาวนาให้มีเงินมากขึ้นชั่วคราว โดยมิได้คำนึงถึงผลเสียที่เกิดขึ้นแก่ประเทศชาติในหลายด้าน และข้องใจต่อไปว่ามีส่วนใดที่นำไปใช้ในการพัฒนาชาวนาให้มีความสามารถในการผลิตสูงขึ้น มีความรู้ทันคนและรู้ทันตลาด มุ่งให้ชาวนาเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือตนเองได้ไม่ต้องรอคอยการอุปถัมภ์อย่างไม่มีวันสิ้นสุด แนวทางพัฒนาเช่นนี้จึงจะเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตของชาวนาให้ดีขึ้นอย่างแท้จริง   
 

กล่าวโดยสรุป การที่นักการเมืองหรือข้าราชการใช้วาทกรรมในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หรือเรื่องที่มีความจริงไม่ครบถ้วน ก็เหมือนกับการดูถูกประชาชนว่า ถูกหลอกง่าย เรื่องอย่างนี้ประชาชนคนไทยรับไม่ได้ ต่อไปอนาคตข้าวไทยจะไปในทิศทางไหนและเราจะออกจากกับดักที่สร้างขึ้นเองนี้อย่างไร บทความหน้าตอนสุดท้ายจะมีคำตอบ

 Tags : ปราโมทย์ วานิชานนท์ • ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช • ปัญหาข้าว


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: prawin -รักในหลวง- ที่ สิงหาคม 09, 2012, 01:39:18 PM
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/reader-opinion/20110628/397570/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3---%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-:-%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2--.html

จำนำ - ประกันรายได้ : ทางออกของข้าวและชาวนา ?

ท่ามกลางการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างดุเดือดของพรรคการเมือง แต่ละพรรคต่างก็ชูนโยบายช่วยชาวนาด้วยการแจกและแถมอย่างสุดสุด

เพื่อให้เกิดกระแสประชานิยมอันมีผลต่อคะแนนเสียงที่จะนำไปใช้จัดตั้งรัฐบาล จนผู้มีสิทธิลงคะแนนเคลิบเคลิ้ม ลืมไปว่าเงินทุกบาทที่นักการเมืองนำไปใช้ทำนโยบายนั้น มาจากภาษีของประชาชนทุกคน ไม่ใช่เงินส่วนตัวของนักการเมืองหรือพรรคการเมือง นอกจากนั้น นโยบายที่จะนำมาใช้บริหารราชการแผ่นดินจะต้องสามารถสร้างแต่ผลดีให้เกิดกับบ้านเมืองเท่านั้น
 

โครงการจำนำข้าวเปลือก ได้ถูกนำมาใช้โดยรัฐบาลไทยรักไทย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเพื่อไทย) เป็นเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปี 2546 ส่วนโครงการประกันรายได้ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ได้นำมาใช้ตั้งแต่ปี 2552 เป็นเวลาเกือบ 3 ปี ทั้ง 2 โครงการมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในฐานความคิด แต่ผลของโครงการก็ได้ปรากฏให้เห็นทั้งข้อดี ข้อเสีย ที่มีนัยสำคัญต่อการนำไปทบทวนนโยบายของผู้ที่จะมาเป็นรัฐบาลต่อจากนี้ไป
 

นโยบายประกันรายได้ แม้จะมีจุดเด่นเป็นต้นว่าไม่กระทบต่อกลไกตลาดการค้าข้าวเสรี เป็นหลักประกันให้กับชาวนาว่าทำนาแล้วไม่ขาดทุน มีกำไรร้อยละ 40 ถ้าชาวนาขายข้าวเปลือกได้ไม่ถึงราคาเป้าหมาย รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายส่วนต่างให้ชาวนา นอกจากนี้โครงการยังช่วยเหลือชาวนาได้จำนวนรายมากกว่าคือ จำนำมีชาวนาได้ประโยชน์ประมาณเจ็ดแสนราย แต่ประกันรายได้ชาวนาได้ประโยชน์โดยตรงเกือบ 2 ล้านราย ปัญหาการทุจริตของการประกันรายได้ก็มี เช่น ชาวนาปลอมเข้าร่วมโครงการ ทำให้จำนวนรายครอบครัวของชาวนาและพื้นที่ทำนาสูงเกินความเป็นจริง ส่วนพ่อค้า โรงสี โกดัง ข้าราชการ หรือนักการเมือง ไม่มีโอกาสเข้าไปร่วมทุจริตได้
 

แต่ประกันรายได้ที่ผ่านมาก็มีจุดด้อย กล่าวคือ ใช้เงินภาษีของประชาชนสูงมากเป็นประวัติการ โดยในปี 2553/2554 คาดว่าต้องใช้เงินถึง 65,000-70,000 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเพราะมาตรการในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวทำน้อยไปและไม่ได้ผล รวมทั้งการขายข้าวในโกดังของรัฐบาลอีก 5.6 ล้านตัน อย่างไม่มีประสิทธิภาพไม่โปร่งใสและมีข้อครหา ในประการสำคัญชาวนาที่ปลูกข้าวเหนียวในภาคเหนือและอีสานประมาณ 1 ล้านราย ซึ่งอยู่ในกลุ่มชาวนาที่ยากจนและด้อยโอกาสที่สุด
 

ส่วนนโยบายจำนำข้าวเปลือก โดยหลักการของความหมายจำนำที่ถูกต้อง คือ เป็นการชะลอปริมาณข้าวเปลือกในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว เพราะโดยปกติที่พืชผลเกษตรออกสู่ตลาด ราคามักจะต่ำ จึงเปิดโอกาสให้ชาวนานำข้าวเปลือกมาจำนำกับรัฐบาลและมาไถ่ถอนเมื่อราคาสูงขึ้น ปริมาณที่จำนำก็ทำเพียงร้อยละ 20-30 จากปริมาณผลผลิตที่ออกมาทั้งหมดเท่านั้น วิธีการเช่นนี้หากนำมาใช้อย่างสุจริตแล้วก็จะเป็นเครื่องมือของรัฐที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวและช่วยชาวนาได้ด้วย
 

แต่ที่ผ่านมาเราพบว่ารัฐบาลได้ใช้โครงการจำนำข้าวเปลือกอย่างบิดเบือนไปจนกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อหาเสียงกับชาวนา โดยเพิ่มราคาจำนำที่สูงกว่าราคาตลาดมาก จนเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดข้าวของประเทศ และถ้าราคาจำนำยิ่งสูงมากเท่าไรก็จะยิ่งทำลายกลไกตลาดมากขึ้นเท่านั้น เราพบต่อไปว่าการปลูกข้าวของชาวนาในโครงการจำนำคิดถึงแต่ปริมาณรอบการปลูกข้าวให้มากครั้งที่สุด โดยไม่สนใจคุณภาพของข้าวเปลือก ทำให้ภาพรวมของคุณภาพข้าวลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนการใช้เงินในโครงการจำนำเมื่อเปรียบเทียบในเชิงปริมาณแล้วก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากโครงการประกันรายได้อย่างมีนัยสำคัญแต่ประมาณใด ที่เลวร้ายที่สุด ก็คือ โครงการจำนำก่อให้เกิดข้อหาการทุจริตคอร์รัปชันของตัวละครครบทุกตัวที่อยู่ในวงจรจำนำ โดยมีตั้งแต่ชาวนา พ่อค้า ข้าวเปลือก โรงสี โกดัง เซอร์เวเยอร์ ผู้ส่งออก ข้าราชการและนักการเมือง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ทำลายจริยธรรมของสังคมการเมืองของประเทศไทย
 

ล่าสุด นโยบายจำนำได้ถูกขยายความให้ชัดขึ้นว่าจะจำนำข้าวเจ้าในราคาตันละ 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิตันละ 20,000 บาท และจะจำนำข้าวเปลือกทุกเม็ด ถ้าเป็นเช่นนี้ เมื่อคำนวณเปรียบเทียบกับราคาข้าว ณ ปัจจุบัน เช่น ราคาข้าวเปลือกเจ้าตันละ 8,500 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาตลาดที่ไม่สูงและไม่ต่ำเกินไป ดังนั้น ราคาจำนำ 15,000 บาท จะมีความแตกต่างระหว่างราคาจำนำกับราคาตลาดถึงตันละ 6,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 76 เช่นนี้เราจะเรียกว่าจำนำไม่ได้ ต้องเรียกว่ารัฐบาลซื้อขาดจากชาวนา จึงประเมินได้ว่าต้องใช้เงินทั้งหมดประมาณ 527,000 ล้านบาท โดยจะมีผลขาดทุนทันที 188,300 ล้านบาท ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะกลายเป็นว่ารัฐบาลเป็นผู้ซื้อข้าวเปลือกแต่ผู้เดียว แล้วจ้างโรงสีข้าวแปรสภาพเป็นข้าวสารส่งเข้าโกดัง สุดท้ายรัฐบาลก็จะขายข้าวในโกดังในราคาถูกให้กับผู้ส่งออกอีกทีหนึ่ง ผลก็คือการขาดทุนอย่างมโหฬาร ดังที่ได้กล่าวมาจึงอุปมาอุปไมยเสมือนยกก้อนหินทุ่มใส่ขาตัวเอง สุดท้ายกลไกตลาดที่เชื่อกันทั่วโลกว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในระบบเศรษฐกิจ เพราะสามารถสร้างความเจริญและการพัฒนาได้ตลอดเวลา ก็จะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง โดยน้ำมือของรัฐบาลเอง
 

ตามความเป็นจริง หลักคิดในเรื่องของการจำนำและประกันรายได้นั้นเป็นวิธีการสากลที่หลายประเทศทั่วโลกได้นำมาใช้เป็นมาตรการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าโครงการจำนำและประกันรายได้ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของพรรคเพื่อไทยหรือพรรคประชาธิปัตย์ จึงชอบที่ใครเมื่อมาเป็นรัฐบาลจะได้นำวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้องมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชาวนาและข้าวของประเทศ เช่นใช้หลักการจำนำในราคาที่ไม่สูงกว่าราคาตลาดและไม่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต (ราคา Floor price) เพื่อเป็นมาตรการในการรักษาเสถียรภาพของราคาข้าว และใช้ร่วมกับโครงการประกันรายได้ที่กำหนดให้ชาวนามีผลกำไรที่เหมาะสมและแน่นอน เช่นนี้จึงจะเป็นแรงจูงใจให้ชาวนามีความหวังและมองเห็นอนาคตที่มั่นคงได้
 

จุดอ่อนของชาวไทยที่สำคัญ คือ ตลอดเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ทุกรัฐบาลได้หมกมุ่นและวนเวียนอยู่แต่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องราคาข้าวเปลือกของชาวนาเท่านั้น ไม่ว่าจะเรียกชื่อโครงการว่าอะไรก็ตาม ทุกรัฐบาลได้ละเลยในมิติของ การพัฒนาข้าวและชาวนา เราจึงพบว่าผลิตภาพการผลิต (Productivity) ของข้าวไทย ในภาคการผลิตต้นน้ำ (ชาวนาปลูกข้าว) นั้น ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งและต่ำลงทุกขณะ รัฐบาลก็ต้องช่วยเหลือชาวนาด้วยงบประมาณที่สูงขึ้นๆ ทุกปี เพราะโดยนัยของผลิตภาพของการผลิตของชาวนา คือการลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มผลผลิตกับเพิ่มคุณภาพข้าวเปลือกหรือที่เรียกว่าโครงการ 1 ลด 2 เพิ่ม ผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาก็จะทำให้ชาวนาเข้มแข็งมีความสามารถในการผลิตสูงขึ้น เราก็สามารถลดรายจ่ายของงบประมาณที่ใช้ในการแทรกแซงลงได้
 

ทางออกของข้าวและชาวนาในอนาคต จึงต้องเดินคู่ขนานกันไประหว่างมิติรายได้ของชาวนากับมิติการพัฒนาการผลิตของชาวนาอย่างเป็นระบบภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติที่สามารถมองไปสู่อนาคตว่าอีก 5 - 20 ปี ว่าข้าวไทยและชาวนาไทยจะพัฒนาไปในทิศทางใดและอย่างไร ดังนั้น จึงเป็นภารกิจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือร่วมใจให้เป็นเอกภาพ  มุ่งมั่นทำหน้าที่ให้เต็มศักยภาพ เพื่อให้ชีวิตของชาวนาดีขึ้นและข้าวไทยประสบความสำเร็จในตลาดโลก

Tags : ปราโมทย์ วานิชานนท์


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: Yut64 ที่ สิงหาคม 09, 2012, 02:12:43 PM
เดิมๆชาวนาก็คือผู้ทีมีนาและปลูกข้าว เดี๋ยวนี้ก็มีชาวนาที่ไปเช่าที่เขาปลูกข้าว กลุ่มหลังนี่แหละมีปัญหาเรื่องเศรษกิจมากที่สุด เมื่อก่อนเราไม่ได้ส่งข้าวออก ที่ส่งออกเป็นพวกอ้อยน้ำตาล มันน่าจะผิดพลาดตั้งแต่การขยายการปลูกข้าวเพื่อส่งออกแทนที่จะบริโภคในประเทศอย่างเดียวแล้ว ส่งออกเป็นแสนล้านรัฐก็ต้องลงทุนระบบชลประทานเป็นแสนล้านเหมือนกันนะ ส่งออกเป็นแชมป์แต่คนปลูกข้าวลำบากนี่มันแปลกนะ



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ สิงหาคม 09, 2012, 02:33:28 PM
ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าวแล้วครับ   ;D


หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ สิงหาคม 09, 2012, 02:48:13 PM
คลิกที่ภาพครับ  ::014::

(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/427439_399038083484960_680298518_n.jpg) (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=399038083484960&set=a.173284956060275.51156.173064882748949&type=1&theater)



หัวข้อ: Re: ทำไมชาวนาไทยยังยากจน
เริ่มหัวข้อโดย: khwanphet_NAVY 39 ที่ สิงหาคม 10, 2012, 01:01:53 PM
............................... :OO :OO :OO :OO :OO.......................... ::014::