หัวข้อ: 16 ม.ค. วันครู ... ขอเชิญรำลึกถึงครู หรือส่งพลังผ่านบทเพลง เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 13, 2011, 04:48:01 AM พระราชดำรัส
"ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง หันไปห่วงอำนาจ ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิ์ และห่วงรายได้กันมากเข้าๆ แล้วจะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้ ความดี ความเจริญของเด็ก ความห่วงใยในสิ่งเหล่านั้นก็จะค่อยๆบั่นทอนทำลาย ความเป็นครูไปจนหมดสิ้นจะไม่มีอะไรดีเหลือไว้ พอที่ตัวเองจะภาคภูมิใจหรือผูกใจใครไว้ได้ ความเป็นครูก็จะไม่มี ี ค่าเหลืออยู่ให้เป็นที่ เคารพบูชาอีกต่อไป" พระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสเข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2521 วันครู ความหมาย ครู หมายถึงผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ ประวัติความเป็นมา วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูใน ราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล และให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็น ในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศ แถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์" หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการ อำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจาก ผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดา ลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไป ถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือ ครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง" จากแนวความคิดนี้ กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี"วันครู" เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี "วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณ บูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น"วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติ เป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบัน ได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ดังนี้ 1.กิจกรรมทางศาสนา 2.พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ 3.กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู สา่วนมากจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริง ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้กำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา โดยมี คณะกรรมการจัดงานวันครูซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกันกับส่วนกลาง จะรวมกันจัดที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้ รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง(หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์ และประชาชนร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 1,000 รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธี ในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรี จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ประธานฝ่ายสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงาน ต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครู"อาวุโส"นอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึก ถึงพระคุณบูรพาจารย์ ดังนี้ ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์) ประพันธ์ โดยพระวรเวทย์พิสิฐ(วรเวทย์ ศิวะศรียานนท์) ข้าขอประนมกรกระพุ่ม อภิวาทนาการ กราบคุณอดุลคุรุประทาน หิตเทิดทวีสรร สิ่งสมอุดมคติประพฤติ นรยึดประคองธรรม์ ครูชี้วิถีทุษอนันต์ อนุสาสน์ประภาษสอน ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน นะตระการสถาพร ท่านแจ้งแสดงนิติบวร ดนุยลอุบลสาร โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล ไป่เบื่อก็เพื่อดรุณชาญ ลุฉลาดประสาทสรรพ์ บาปบุญก็สุนทรแถลง ธุระแจงประจักษ์แจ้งครัน เพื่อศิษย์สฤษดิ์คติจรัล มนเทิดผดุงธรรม ปวงข้าประดานิกรศิษย์ (ษ)ยะคิดระลึกคำ ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ อนุสรณ์เผดียงคุณ โปรดอวยสุพิธพรเอนก อดิเรกเพราะแรงบุญ ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน ทรศิษย์เสมอเทอญ ฯ ปัญญาวุฒิกเรเตเต ทินโนวาเท นมามิหัง จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบนิ่ง 1 นาที เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ครูอาวุโสประจำการนำผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวคำปฏิญาณดังนี้ ข้อ 1.ข้าฯจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู ข้อ 2.ข้าฯจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ข้อ 3.ข้าฯจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม จบแล้วพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและใน ประจำการสุดท้ายกล่าวคำปราศัยและให้โอวาทแก่ครูที่มาประชุม จรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู 1.เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ 2.ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น 3.ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้ง หน้าที่การงานไม่ได้ 4.รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใดๆอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู 5.ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา 6.ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต หรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ 7.ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำ ผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน 8.ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรม ไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ 9.สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและสถานศึกษา 10.รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน ............................................. หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 13, 2011, 04:50:56 AM จำนวนคนอ่านล่าสุด 121 คน วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7350 ข่าวสดรายวัน เพศศึกษาระหว่างหู การเรียนรู้แบบ'ครูนคร' คัคนานต์ ดลประสิทธิ์ ครู 'นคร สันธิโยธิน' เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงการศึกษา จากการสอนวิชาเพศศึกษาแนวใหม่ เป็นครูสอนวิชาสุขศึกษาแนวใหม่ ที่เข้าใจความต้องการของเด็ก และปัญหาสังคมไทยที่เกิดขึ้น มีวิธีสอนที่สนุก และเข้าใจง่าย ครูนครจึงเป็นที่รู้จักในฐานะนักวิชาการสุขภาวะทางเพศ ที่มีแนวคิดการสอนเปิดกว้างด้านเพศศึกษา ตั้งแต่สอนเด็กสวมใส่ถุงยางอนามัยถูกวิธี ชมภาพยนตร์เรตอาร์ ฯลฯ โดย ครูนคร สันธิโยธิน เป็นครูอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีตำแหน่งหัว หน้างานแก้ไขสิ่งเสพติดและโรคเอดส์ และยังเป็นผู้ก่อตั้งโครงการห้องกุหลาบขาว เพื่อรณรงค์เรื่องเพศศึกษาและยาเสพติด ให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบฯ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 ซึ่งผลจากการสอนในแบบของครูนครทำให้ลูกศิษย์ทุกคนเข้าใจและมีความรับผิดชอบในเรื่องเพศศึกษามากขึ้น จากการสอนเด็กสวนกุหลาบฯ จนประสบความสำเร็จ ครูนครเริ่มจะขยายแนวคิดจะอบรมเทคนิคการสอนของตัวเองให้กับครูที่สอนวิชาเพศศึกษาคนอื่นๆ โดยเข้ามาร่วมทำโครงการเพื่อสร้างกระบวน การเรียนรู้ให้แก่เด็ก ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สสค.ซึ่งเน้นเรื่องการสร้างเสริมการศึกษาในมิติต่างๆ ได้เปิดให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศร่วมส่งโครงการส่งเสริมนวัตกรรม การเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน โดยครูนครได้เสนอโครงการเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้มายังสสค. และได้รับการอนุมัติโครงการไปเมื่อเร็วๆ นี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการ ขยายแนวคิด-โอกาสเด็ก ครูนครเล่าว่า เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมาได้ร่วมกับสสค. โดยไปอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสอนเพศศึกษาให้กับครูทั่วประเทศที่โรงแรมริชมอนต์ เนื่องจากตัวเองได้รับตำแหน่งครูดีเด่นแห่งชาติ ในการไปอบรมได้สาธิตการเรียนการสอนเพศศึกษาให้กับครูโดยผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น กิจกรรมเส้นลวด หรือคลิปกระดาษ โดยให้ครูที่ร่วมอบรมทำคลิปให้ตรงแล้วดัดให้เหมือนเดิม ซึ่งปรากฏว่าครูทุกคนจะทำไม่ได้ และบ่นว่ามันยาก เจ็บมือ ลำบาก ครูนครอธิบายว่า การดัดคลิปกระดาษก็เปรียบเหมือนชีวิตคน ถ้าผิดพลั้งพลาดไปติดยาเสพติด ติดเอดส์ ก็ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพชีวิตแบบเดิมได้อีก ถ้าจะกลับมาเป็นแบบเดิมก็ต้องใช้ความอดทนอดกลั้น ต้องคิดวิเคราะห์และไตร่ตรองก่อน จึงได้มีแนวคิดว่าน่าจะอบรมเทคนิคการสอนของตัวเองให้กับครูที่สอนวิชาเพศศึกษาคนอื่นๆ เพื่อช่วยกันลดความผิดพลั้งพลาดของเด็ก โดยเสนอเป็นโครงการเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้มายังสสค. สอนเพศศึกษาด้วย'ไข่' ครูนครยังยกตัวอย่างกระบวนการสอนเพศศึกษาแนวใหม่ ว่า ผลการสอนประสบความสำเร็จพอสมควร ทั้งนี้ การสอนเพศศึกษาจะมีกิจกรรมที่สอดแทรกความรู้คือ 'กิจกรรมไข่ต้มกับผมเอง' ซึ่งจะเป็นวิธีสื่อให้นักเรียนเข้าใจภาระของคนที่เป็นพ่อ เข้าใจความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นในชีวิตถ้าต้องตกกระไดพลอยโจนเป็นพ่อแต่เด็ก จากการชิงสุกก่อนห่าม เมื่อเด็กได้เห็นแจ้งแล้วทำให้เขามีสติยั้งคิด ชะลอการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรได้ แนวคิดกิจกรรมนี้ได้จากการศึกษาดูงานจากหลากหลายพื้นที่และจากต่างประเทศ จากนั้นจะนำมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม โดยกิจกรรมนี้เป็นกลยุทธ์ชะลอการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร สาเหตุที่เลือกไข่ เพราะไข่ไก่หาได้ง่าย สะดวกแก่การพกพาเมื่อต้มเสร็จแล้ว หากได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ไข่สามารถอยู่ได้ถึง 7 วัน แต่หากดูแลไข่ไม่ดี ในวันที่ 3 ไข่จะเริ่มมีกลิ่นเหม็น เมื่อมีกลิ่นเหม็นเด็กจะคิดได้ว่าเพราะอะไรไข่ถึงเหม็น และจะต้องจัดการไข่อย่างไร ขณะเดียวกัน ก็เป็นการสอดแทรกถึงความซื่อสัตย์ ว่า หากทำความชั่ว ก็จะไม่สามารถปิดบังได้ เช่นเดียวกับไข่ หากดูแลไม่ดีจะมีกลิ่นเหม็นและไม่สามารถยับยั้งกลิ่นของไข่ได้ ภาระสร้างความรับผิดชอบ 'กิจกรรมไข่ต้มกับผมเอง' จะมีกติกาคือให้เด็กทุกคนนำไข่ต้ม 1 ฟองมาให้เซ็นชื่อลงบนเปลือกไข่ จากนั้นทุกคนจะต้องเลี้ยงดูไข่อย่างดี พกติดตัวไปด้วยทุกที่เป็นเวลา 8 วัน ไม่ว่าไข่จะอยู่ในสภาพใด เมื่อครบกำหนดแล้วจึงค่อยพาไข่ต้มใบเดิมที่มีลายเซ็นมาส่งคืน ขณะเดียวกันก็มีคำพูดข่มขวัญ ขอให้คนที่โกงสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ เพื่อป้องกันการทุจริต "อยากสื่อให้เด็กเข้าใจถึงการเป็นส่วนหนึ่งของความยากลำบากในการเป็นพ่อแม่คน โดยใช้ไข่ต้มมาเป็นสื่อให้เด็กเข้าใจภาระแสนสาหัสในการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ ซึ่งตั้งแต่ลูกลืมตามาดูโลกก็จะไม่มีวันหยุดทำหน้าที่ได้แม้แต่วินาทีเดียว เหมือนกับการที่นักเรียนต้องพกไข่ไว้ใกล้ตัวในทุกสถานที่ตลอด 8 วันเต็ม" ครูนครกล่าวอีกว่า และเมื่อครบ 8 วันจะชวนเด็กๆ นำประสบการณ์การดูแลไข่ 192 ชั่วโมงมาแลกเปลี่ยนกัน พร้อมกับเฉลยให้เข้าใจความหมายของการให้เลี้ยงไข่ต้ม จากนั้นก็จะให้นักเรียนสำรวจตัวเองว่า พร้อมที่จะเป็นพ่อคนแล้วหรือยังในเวลานี้ "กิจกรรมนี้ทำมาแล้ว 3 รุ่นนักเรียน ม.5 รุ่นหนึ่งมี 605 คน มีคนตอบว่า ตัวเองพร้อมเป็นพ่อแค่ 3 คน อีก 602 คนบอกอย่างพร้อมเพรียงว่า ไม่พร้อม เพราะเด็กรู้สึกว่ามันเป็นภาระ ทำอะไรก็ไม่สะดวก เป็นเรื่องน่าเบื่อ ไม่เป็นอิสระ ต้องหอบหิ้วไข่ไปทุกที่ ต้องคอยตอบคำถามของผู้คน โดยเฉพาะสาวๆ ในโรงเรียนกวดวิชา" เพศศึกษาอยู่ระหว่าง'หู' ครูนครอธิบายเพิ่มเติมว่า เพราะฉะนั้นจึงดึงประสบการณ์ตรงนี้มาสอนให้เด็กคิดตามว่า ถ้าเขาเป็นพ่อคนเมื่อไหร่ก็ต้องคอยตอบคำถามผู้คน ต้องคอยดูแลลูกทุกที่ทุกเวลาซึ่งยากกว่าการดูแลไข่หลายเท่า และไม่ว่าลูกจะเลวอย่างไรเหมือนไข่ที่เน่า ก็ไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธเขา เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่พร้อมสำหรับภาระอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ก็ยังไม่ควรชิงสุกก่อนห่าม กิจกรรมนี้ประสบความสำเร็จพอสมควร สามารถสร้างทัศนคติทางเพศที่ถูกต้องให้แก่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมทางเพศ ทักษะชีวิต ซึ่งจะช่วยชะลอการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของเด็กได้ "ต้องเข้าใจเด็กวัยนี้อยากรู้ อยากโต อยากโชว์ อยากช่วย ต้องให้เขารู้เรื่องเพศสัมพันธ์ ไม่ใช่สำคัญตรงหว่างขา แต่เป็นระหว่างหู นั่นคือ สมอง การสอนวิชาเพศศึกษาไม่ได้เน้นป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มวัยรุ่น แต่เราต้องให้ข้อมูลในเชิงสุขภาวะทางเพศอย่างรอบด้าน" หน้า 21 หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 13, 2011, 04:56:59 AM เพลงครูบนดอย คุณธารทิพย์ ถาวรศิริ (http://www.youtube.com/watch?v=Acip9gsyLrE#)
หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 13, 2011, 05:00:57 AM เพลงครูกระดาษทราย.flv (http://www.youtube.com/watch?v=QP3Zj6Q8qFU#)
หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 13, 2011, 08:19:18 AM คำกล่าวไหว้ครู
ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา สวดทำนองสรภัญญะ ข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์ผู้กอรปประโยชน์ศึกษา ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ ฯ ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง ความหมาย ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา : ครูอาจารย์เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา ปัญญาวุฒิ กเร เตเต ทินโนวาเท นมามิหัง : ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเหล่านั้น ผู้ให้โอวาท ผู้ทำให้ปัญญาเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: steam.รักในหลวง ที่ มกราคม 13, 2011, 09:29:30 AM ขอให้คุณครูทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง น้อมลำรึกถึงพระคุณอยู่เสมอ ได้ดีทุกวันนี้เพราะไม้เรียวของคุณครู ::014::
หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: Nat_usp ที่ มกราคม 13, 2011, 09:35:46 AM ::014:: ตอนผมอยู่ ม.2 ผมกลับไปเยี่ยมคุณครูประจำชั้นที่สอนผมตอน ป.6 คุณครูผมบอกว่า "ณัฐพล ช่วยติดโปสเตอร์ให้ครูหน่อยสิ" วันนั้นผมตัวสูงกว่าคุณครูแล้ว แค่ 2 ปี ไม่น่าเชื่อ ติดโปสเตอร์ให้คุณครูน้ำตาผมก็ซึม แต่ก็ปกปิดโดยคุยเล่นกับครูไปเรื่อยๆ ::014:: ::014::ตอนเรียนปวช.ปี1 ก็บังเอิญไปเจอครูสอนศิลป สอนผมตั่งแต่ป.2-ป.6 ไม่มีโอกาสคุยกัน แต่ตอนลงรถสองแถว ครูรีบเดินไปจ่ายค่ารถแล้วกลับมาบอกว่า "ครูจ่ายค่ารถให้แล้วนะลูก" ........ ::014:: หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: kaittisak291 ที่ มกราคม 13, 2011, 09:40:21 AM ::014:: ในนามข้าราชการครูไทยคนหนึ่ง..จะยึดมั่นการทำงานที่สุจริต..ซื่อตรง..ยึดมั่นในจรรยาบรรณของข้าราชการครู..ที่รับใช้ประชาชน..และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว..จะให้ความรู้แก่ลูกศิษย์อย่างเต็มความสามารถและความรู้.. ::014::
หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: JUNGLE ที่ มกราคม 13, 2011, 09:52:13 AM คำกล่าวไหว้ครู ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา สวดทำนองสรภัญญะ ข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์ผู้กอรปประโยชน์ศึกษา ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ ฯ ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง ความหมาย ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา : ครูอาจารย์เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา ปัญญาวุฒิ กเร เตเต ทินโนวาเท นมามิหัง : ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเหล่านั้น ผู้ให้โอวาท ผู้ทำให้ปัญญาเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ ::014:: หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: รักปืน-รักในหลวง ที่ มกราคม 13, 2011, 09:58:36 AM ขอไห้คุณครูทุกท่าน มีสขภาพแข็งแรง อายุมั่นขวัญยืนนะครับ เป็นที่รักของนักเรียนทุกๆคน และขอไห้ครูยุคใหม่เลิกไช้ความรุนแรง
ต่อต้านการใช้ความรุนแรงกับเด็กนะครับ ::014:: :VOV: :VOV: หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: คมขวาน รักในหลวง ที่ มกราคม 13, 2011, 11:55:37 AM ขอน้อมรำลึกถึงพระคุณ
ของครูทุกท่านที่ได้พร่ำสอน โดยเฉพาะ คุณครู ที่สอนดนตรีทุกท่าน ที่ได้เคี่ยว-เข็ญ จนทำให้ลูกศิษย์คนนี้ ได้มีวัน นี้ ครับ ::014:: หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: kpai ที่ มกราคม 13, 2011, 12:30:28 PM ครูที่มี วิญาณครู คือผุ้ให้ ผลตอบแทนอย่างไรครูรับได้หมด ::014::
หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: birdwhistle...รักในหลวง ที่ มกราคม 13, 2011, 07:18:45 PM ผมเป็น "ข้าราชการครู" มาตั้งแต่ 30 พ.ค. 2523 จนถึง 30 พ.ย. 2549
รุ่งขึ้น 1 ธ.ค. 2549 ผมก็ไม่ใช่ครูอีกต่อไป ทั้ง ๆ ที่ ผมยังคงทำงานที่เดิม และก็ยังคงเป็นงานเดิม ยังสอนวิชาเดิม เนื้อหาต่อจากเดิมซึ่งเพิ่งเปิดภาคเรียนที่ 2 เมื่อ 1 พ.ย. 2549 จนถึงวันนี้ ก็ยังคงทำงานเหมือนเดิม แต่....เขาถือว่า ผมไม่ใช่ครูอีกแล้ว ผมไม่ได้หยุดวันครูอีกเลย ตั้งแต่ 16 ม.ค. 2550 เป็นต้นมา และตั้งแต่ มี.ค. 2550 เป็นต้นมา ก็ไม่มีการหยุดปิดเทอมอีก ผมต้องใช้วิธีขอลาพักผ่อนเช่นเดียวกับข้าราชการอื่น ๆ อ้อ...จนถึงวันนี้ผมก็ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และคงไม่มีจนถึงวันที่เขาจะให้ผมออกจากงานในอีก 5 ปีกว่า ๆ ข้างหน้า ครู...ที่ไม่ถือว่าเป็นครู หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: kpai ที่ มกราคม 14, 2011, 11:29:06 AM ผมเป็น "ข้าราชการครู" มาตั้งแต่ 30 พ.ค. 2523 จนถึง 30 พ.ย. 2549 รุ่งขึ้น 1 ธ.ค. 2549 ผมก็ไม่ใช่ครูอีกต่อไป ทั้ง ๆ ที่ ผมยังคงทำงานที่เดิม และก็ยังคงเป็นงานเดิม ยังสอนวิชาเดิม เนื้อหาต่อจากเดิมซึ่งเพิ่งเปิดภาคเรียนที่ 2 เมื่อ 1 พ.ย. 2549 จนถึงวันนี้ ก็ยังคงทำงานเหมือนเดิม แต่....เขาถือว่า ผมไม่ใช่ครูอีกแล้ว ผมไม่ได้หยุดวันครูอีกเลย ตั้งแต่ 16 ม.ค. 2550 เป็นต้นมา และตั้งแต่ มี.ค. 2550 เป็นต้นมา ก็ไม่มีการหยุดปิดเทอมอีก ผมต้องใช้วิธีขอลาพักผ่อนเช่นเดียวกับข้าราชการอื่น ๆ อ้อ...จนถึงวันนี้ผมก็ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และคงไม่มีจนถึงวันที่เขาจะให้ผมออกจากงานในอีก 5 ปีกว่า ๆ ข้างหน้า ครู...ที่ไม่ถือว่าเป็นครู ด้วยความเคารพ เหตุการณ์เป็นอย่างไรครับคุณครู ทำไมถึงเขาว่าไม่ใช่ครูอีก ทั้งที่ยังสอนอยู่ ท่านเป็นครูก่อนผม ๓ วันครับ ::014:: หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ มกราคม 14, 2011, 02:06:04 PM ผมเป็น "ข้าราชการครู" มาตั้งแต่ 30 พ.ค. 2523 จนถึง 30 พ.ย. 2549 รุ่งขึ้น 1 ธ.ค. 2549 ผมก็ไม่ใช่ครูอีกต่อไป ทั้ง ๆ ที่ ผมยังคงทำงานที่เดิม และก็ยังคงเป็นงานเดิม ยังสอนวิชาเดิม เนื้อหาต่อจากเดิมซึ่งเพิ่งเปิดภาคเรียนที่ 2 เมื่อ 1 พ.ย. 2549 จนถึงวันนี้ ก็ยังคงทำงานเหมือนเดิม แต่....เขาถือว่า ผมไม่ใช่ครูอีกแล้ว ผมไม่ได้หยุดวันครูอีกเลย ตั้งแต่ 16 ม.ค. 2550 เป็นต้นมา และตั้งแต่ มี.ค. 2550 เป็นต้นมา ก็ไม่มีการหยุดปิดเทอมอีก ผมต้องใช้วิธีขอลาพักผ่อนเช่นเดียวกับข้าราชการอื่น ๆ อ้อ...จนถึงวันนี้ผมก็ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และคงไม่มีจนถึงวันที่เขาจะให้ผมออกจากงานในอีก 5 ปีกว่า ๆ ข้างหน้า ครู...ที่ไม่ถือว่าเป็นครู ออกนอกระบบหรือครับ.... ด้วยความเคารพ หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: birdwhistle...รักในหลวง ที่ มกราคม 14, 2011, 06:37:29 PM ไม่ได้ออกนอกระบบครับ ยังเป็นข้าราชการอยู่เหมือนเดิม
โอนสังกัดมาอยู่ สกอ. เปลี่ยนจาก ข้าราชการครู เป็น ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาครับ พร้อม ๆ กัน "ราชมงคล" 9 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ วันที่ประชุมครั้งแรกเมื่อเดือน ธ.ค. 50 ตัวแทนจาก สกอ.เข้ามาบรรยายถึงสิ่งที่แตกต่างเมื่อเปลี่ยนสังกัด 1. พวกผมไม่ใช่ครูอีกต่อไป กลายเป็น "คณาจารย์" 2. เมื่อเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาก็ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เพราะไม่ใช่ครู 3. ไม่มีการหยุดปิดเทอมอีกต่อไป อยากหยุดต้องลาพักได้ปีละ 10 วัน 4. เนื่องจากไม่ใช่ครู จึงไม่มีการหยุดวันครูนับจากวันครู 16 ม.ค. 2550 เป็นต้นมา 5. ภาระผูกพันกับองค์กรของครู เช่น การเป็นสมาชิกคุรุสภา สกอ. จะไม่เกี่ยวข้อง ให้ตัดสินใจดำเนินการเองตามความสมัครใจ แต่ยังมีวันไหว้ครูนะครับ ทุกวันนี้ผมยังงงว่า แล้วมันต่างกันตรงไหน หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: วุธ อุดร -รักในหลวง~ ที่ มกราคม 14, 2011, 06:46:52 PM ขอระลึกถึงพระคุณครูทุกท่าน ::014::
ท่านจะทำอาชีพอะไรจะเป็นครูที่เรียนวิชาชีพครูหรือไม่ ไม่สำคัญครับ ครูสำหรับผมคือผู้ที่ให้ความรู้แก่ผมครับ ไม่ว่าจะในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียนผู้ที่ให้ความรู้แก่ผู้อื่นคือครูครับ ::014:: หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 14, 2011, 06:53:00 PM [Song]รางวัลให้ครู (วันครู'54) - ปาน ธนพร ★ (http://www.youtube.com/watch?v=nrUcimIjct0#ws)
หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: พรานบุญ หลงกรุง ที่ มกราคม 14, 2011, 06:59:52 PM ร่วมรำลึกพระคุณครู
เพลง พระคุณที่สาม (http://www.youtube.com/watch?v=XApIljZcT_k#) หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 14, 2011, 07:03:24 PM ร่วมรำลึกพระคุณครู เพลง พระคุณที่สาม (http://www.youtube.com/watch?v=XApIljZcT_k#) กราบขอบพระคุณคุณครูครับ ( คุณอาพรานบุญ ) ::014:: :VOV: :VOV: :VOV: หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 14, 2011, 07:11:46 PM ครูครับ เราจะสู้เพื่อฝัน
โปสเตอร์ภาพยนตร์ ผู้กำกับ ปีเตอร์ เวียร์ อำนวยการสร้าง พอล จังเกอร์ วิทท์ โทนี ธอมัส บทภาพยนตร์ พอล ชูลมาน นักแสดงนำ โรบิน วิลเลียมส์ โรเบิร์ต ชอน เลโอนาร์ด อีธาน ฮอว์ค จอช ชาร์ลส์ เกล แฮนเซน เจมส์ วอเทอร์สตัน นอร์แมน ลอยด์ เมโลรา วอลเทอร์ส เพลงประกอบ มัวริซ จาร์ ตัดต่อ วิลเลียม เอ็ม. แอนเดอร์สัน วันที่เข้าฉาย พ.ศ. 2532 ความยาว 128 นาที ประเทศ สหรัฐอเมริกา ภาษา อังกฤษ งบประมาณ $16,400,400 ครูครับ เราจะสู้เพื่อฝัน (อังกฤษ: Dead Poets Society) เป็นภาพยนตร์อเมริกันปี พ.ศ. 2532 (1989) กำกับโดยปีเตอร์ เวียร์ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนเตรียมสำหรับชายล้วนที่เข้มงวดและมีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม ในปี 1959 (พ.ศ. 2502) โดยเล่าเรื่องราวของอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงแนวทางชีวิตที่ตอบสนองความต้องการของสังคม มากกว่าความต้องการของตัวเอง ผ่านการสอนวรรณกรรมและบทกวี พื้นเพของเรื่องนั้นเกิดขึ้นที่วิทยาลัยเวลตัน (ที่สมมติขึ้น) ในเมืองเวอร์มอนต์ และภาพยนตร์ถ่ายทำกันที่โรงเรียนเซนต์แอนดรูว์ เมืองมิดเดิลทาว์น มลรัฐเดลาแวร์ โดยบทภาพยนตร์มีเค้าโครงมาจากชีวิตของผู้แต่งขณะที่กำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยมอนต์โกเมอรีเบลล์ ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมสำหรับชายล้วนในเมืองแนชวิลล์ มลรัฐเทนเนสซี ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังถูกนำไปทำเป็นนวนิยายโดยแนนซี เอช. ไคลน์บอม โดยมีเค้าโครงมาจากบทภาพยนตร์ [แก้] เค้าโครงเรื่อง นีล เพอร์รี่ (โรเบิร์ต ชอน เลโอนาร์ด), ทอดด์ แอนเดอร์สัน (อีธาน ฮอว์ค), น็อกซ์ โอเวอร์สตรีท (จอช ชาร์ลส์), ชาร์ลี ดาลตัน (เกล แฮนเซน), ริชาร์ด แคเมรอน (ดีแลน คุสแมน), สตีเวน มีคส์ (อัลเลลอน รัจเจียร์โร) และเจราร์ด พิตส์ (เจมส์ วอเทอร์สตัน) คือนักเรียนชายทั้งเจ็ด ที่เพิ่งได้รับเข้าไปศึกษาในวิทยาลัยเวลตัน โรงเรียนเตรียมที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีรากฐานอยู่บนหลักการสี่ข้อคือ จารีต, เกียรติ, วินัย และความเป็นเลิศ ในวันแรกของการเรียนของพวกเขา พวกเขาต้องเผชิญกับแผนการเรียนที่หนักอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน แต่เมื่อพวกเขาเข้าชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ก็ได้พบกับอาจารย์จอห์น คีทติง (โรบิน วิลเลียมส์) ที่มีรูปแบบการสอนที่ไม่เหมือนกับอาจารย์คนอื่นๆ ในโรงเรียน อย่างเช่นการอนุญาตให้นักเรียนเรียกเขาว่า "O Captain! My Captain!" (ตามบทกวีของวอล์ม วิทแมนที่พรรณนาเกี่ยวกับอับราฮัม ลิงคอล์น) ถ้าพวกเขากล้าพอ นอกจากนี้เขายังทำสิ่งที่อาจารย์คนอื่นไม่เคยทำมาก่อน คือการพานักเรียนออกไปนอกชั้นเรียน เพื่อเรียนรู้ความหมายและแนวคิดของวลีละติน "carpe diem" (คาร์เปเดียม" เมื่อแปลความหมายตามบริบทหมายความว่า "ใช้ชีวิตให้เต็มที่") โดยพานักเรียนไปที่ห้องถ้วยรางวัลเพื่อดูรูปศิษย์เก่าของเวลตัน ในคาบต่อมา อ.คีทติงให้นีลอ่านบทนำในตำราเรียนกวีของนักเรียน ซึ่งมีลักษณะเป็นเรียงความที่ราบเรียบ และไร้สีสันที่มีชื่อว่า "Understanding Poetry" ("เข้าใจในบทกวี") ซึ่งถูกประพันธ์ขึ้นโดย ดร. เจ อีแวนส์ พริทชาร์ด (ตัวละครสมมติขึ้น) ที่อธิบายว่าคุณภาพของงานกวีนั้นวัดได้โดยใช้หลักเกณฑ์มาพิจารณาเป็นคะแนน ซึ่งคีทติงมองว่าความคิดในการวิจารณ์วรรณกรรมโดยใช้มาตรทางคณิตศาสตร์เป็นความคิดที่เหลวไหล และสนับสนุนให้ลูกศิษย์ของเขาฉีกบทความนั้นออกจากตำราของพวกเขา นักเรียนของเขาลังเลที่จะทำตามในตอนแรก แต่ในที่สุดพวกเขาก็ฉีกเรียงความเหล่านั้นออกจากตำราด้วยความยินดี พร้อมๆ กับคีทติงที่ให้คำชมกับลูกศิษย์ที่ทำเช่นนั้น ซึ่งสร้างความประหลาดใจอย่างไม่เชื่อสายตาให้กับเพื่อนร่วมงานของคีทติงที่บังเอิญไปพบเห็น ในคาบเรียนต่อมา อ.คีทติงก็ให้นักเรียนของเขายืนบนโต๊ะของตัวเอง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าให้มองโลกในมุมมองที่ต่างออกไป อย่างที่เฮนรี เดวิด ตูโรตั้งใจไว้เมื่อเขาเขียนไว้ว่า "จักรวาลนั้นกว้างใหญ่กว่าทัศนคติของเราที่มีต่อมัน" (ในวรรณกรรม Walden ที่ประพันธ์จากการจำศีลในป่าของตูโรเอง) ที่สุดแล้ว บรรดาลูกศิษย์ของคีทติงก็ตระหนักได้ว่าผู้ใหญ่ ควรที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้แก่เด็กๆ แต่การที่เด็กจะค้นหาตัวตนที่แท้จริงนั้น ต้องเข้าไปหาในจิตใจของตัวเองเท่านั้น จากความจริงข้อนั้น ทำให้เด็กๆ ตั้งชมรมวรรณกรรมที่คีทติงเคยเป็นสมาชิกขึ้นมาใหม่อย่างลับๆ โดยชมรมนั้นมีชื่อว่าชมรมกวีไร้ชีพ (Dead Poets Society) ทอดด์ก็ประสบกับการค้นพบตัวเองเช่นกัน หลังจากที่เขาไม่สามารถเขียนงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ อาจารย์ก็พาเขาเข้าสู่โลกแห่งวรรณกรรมที่ๆ การแสดงความคิดนั้นไม่มีกรอบล้อมรอบ ส่งผลให้เขาตระหนักถึงความสามารถที่เขามีในที่สุด แต่ดาลตัน หนึ่งในบรรดาลูกศิษย์ของคีทติง คิดแบบนอกกรอบเกินไปเมื่อเขาเผยแพร่บทความสนับสนุนให้เวลตันมีผู้หญิงเรียนด้วย โดยที่บทความนั้นสื่อถึงเหตุผลของการเปลี่ยนระบบว่า เพื่อที่นักเรียนชายจะได้มีความสุขจากผู้หญิงที่เข้ามาเรียนด้วย ซึ่งเมื่อทางคณาจารย์รู้เข้า ก็นำดาลตันไปทำโทษ (ด้วยการตี) และสอบสวน โดยดาลตันสารภาพและบอกว่าเขาทำคนเดียว กระบวนการคิดแบบไร้กรอบนี้สร้างปัญหาให้กับนีล อีกหนึ่งคนในบรรดานักเรียน โดยเขาตัดสินใจที่จะเลือกสายอาชีพการแสดง ที่เขามีความสามารถและใจรัก แต่พ่อที่มีนิสัยเข้มงวดของนีล (เคิร์ทวูด สมิธ) นั้น อยากให้เขาประกอบวิชาชีพแพทย์มากกว่า คีทติงโน้มน้าวให้นีลไปบอกพ่อของเขาว่าเขารู้สึกอย่างไรก่อนที่จะแสดงในละครเวทีเรื่องฝัน ณ คืนกลางฤดูร้อน (Midsummer Night's Dream ประพันธ์โดยวิลเลียม เชกสเปียร์) ที่นีลแสดงเป็นพัค แต่นีลไม่กล้าที่จะไปบอกพ่อ จึงโกหกคีทติงไป โดยบอกว่าพ่อเขาไม่พอใจที่เขาจะไปแสดง แต่ก็ไม่ได้ห้ามตราบที่เขายังคงรักษาผลการเรียนดีไว้ได้ แต่ในที่สุด พ่อของนีลก็รู้ความจริงเข้า และแม้ว่าจะได้เห็นการแสดงของนีล พ่อของเขาก็ยังไม่ประทับใจและพานีลกลับบ้านแทนที่จะให้เขาได้ไปอยู่กับเพื่อนๆ พ่อของนีลโกรธมากที่ลูกของเขาแสดงความขัดขืนต่อความต้องการของเขาอย่างชัดเจน เขาจึงจับลูกให้ลาออกจากเวลตันแล้วให้เขาเข้าไปเรียนในโรงเรียนเตรียมทหารเบรเดน เพื่อเตรียมความพร้อมให้นีลเข้าไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพื่อประกอบวิชาชีพแพทย์ต่อไป เมื่อสำเร็๋จการศึกษา ในขณะที่นีลไม่สามารถทำใจกับเส้นทางที่พ่อเลือกให้เขาเดิน แต่ก็ไม่สามารถบอกความปรารถนาที่จะแสดงให้พ่อเขารู้ได้ ในที่สุดเขาจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายโดยใช้ปืนลูกโม่ของพ่อ ผลจากการฆ่าตัวตายของนีลทำให้อาจารย์ใหญ่ของเวลตัน โนแลนเริ่มการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนี้ ทำให้นักเรียนทุกคน ยกเว้นทอดด์ สารภาพว่า อ.คีทติงได้สอนอะไรพวกเขาไป แต่ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อทอดด์โดนพ่อของเขาบังคับให้เซ็นชื่อลงไปในใบสารภาพว่าคีทติงเป็นคนผิด โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุให้เด็กๆ ชุบชีวิตชมรมกวีไร้ชีพขึ้นมาอีกครั้ง และถูกไล่ออกแม้ว่าพวกเด็กๆ จะเป็นคนริเริ่มเองก็ตาม ในบทสรุปของภาพยนตร์ เด็กๆ กลับเข้าไปเรียนในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ ที่มีโนแลน เป็นอาจารย์ชั่วคราว สอนแทนคีทติงที่ถูกไล่ออกไปแล้ว เขาให้นักเรียนอ่านเรียงความของพริทชาร์ดที่คีทติงบอกให้นักเรียนของเขาฉีกออกตั้งแต่ต้นเทอม ในขณะที่ชั้นเรียนดำเนินไปอย่างเอื่อยเฉื่อย คีทติงเข้ามาในห้องเพื่อเก็บของส่วนตัวออกไป ก่อนที่เขากำลังจะออกไปจากห้อง ทอดด์ได้กล่าวขอโทษที่ได้เซ็นใบสารภาพไป และบอกว่าที่ทำเช่นนั้น ก็เพราะโดนทางคณาจารย์บังคับ คีทติงจึงตอบไปว่าตนรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว โนแลนเข้าขัดการสนทนาด้วยการสั่งให้ทอดด์นั่งลง และขอให้คีทติงออกไปทันที แต่เมื่อเขากำลังจะเดินออกไป เขาก็ชะงักเมื่อได้ยินทอดด์ตะโกนออกมาว่า "O Captain! My Captain!" แล้วก็ขึ้นมายืนบนโต๊ะ ตามคำที่คีทติงเคยสอนเขาให้มองโลกในมุมที่หลากหลาย เมื่อเห็นเช่นนั้น โนแลนจึงโกรธเกรี้ยว แล้วสั่งทอดด์ให้นั่งลงและขู่ว่าจะไล่เขาออกถ้าเขาไม่ทำตาม แต่กลับมีนักเรียนที่ทำตามทอดด์เพิ่มขึ้นทีละคนๆ แต่ละคนก็เรียกคีทติงว่า "O Captain! My Captain!" จนครบหมดทุกคน ยกเว้นแคเมรอน ที่เป็นสายข่าวให้อาจารย์ คีทติงเห็นจากสายตาลูกศิษย์ว่าในที่สุดสิ่งที่เขาต้องการสอนผ่านวรรณกรรมและบทกวี ได้เข้าไปอยู่ในใจของลูกศิษย์แล้ว คีทติงจึงกล่าวขอบคุณกับนักเรียนของเขาทั้งน้ำตา แล้วจึงเดินออกจากห้องไปเพื่อไม่ให้นักเรียนต้องเดือดร้อน [แก้] คำวิจารณ์และผลตอบรับ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการวิจารณ์ในแง่บวก โดยนักวิจารณ์ชมว่าเนื้อเรื่องสามารถสื่อความหมายได้อย่างมีชีวิตชีวา และความลึกของตัวละครหลายๆ ตัว รวมถึงความสามารถในการแสดงของโรบิน วิลเลียมส์ แต่ก็มีคำวิจารณ์ในแง่ลบที่กล่าวว่าตอนจบของเรื่องนั้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่จะมีคนทำสิ่งที่แหกกฎเกณฑ์อย่างพร้อมเพรียงเป็นใจเดียวกันอย่างนี้ และชีวิตจริงควรจะเป็นอีกแบบหนึ่งที่ไม่มีใครกล้าพอที่จะแหกกฎเกณฑ์ ซึ่งจะให้ตอนจบที่เย็นชา แต่เหมือนจริงมากกว่า โดนโรเจอร์ เอเบิร์ตถึงกับกล่าวว่า "พอหนังจบแล้วเลี่ยนจนอยากจะอาเจียน"[1] Dead Poets Society ชนะรางวัลอะคาเดมีอวอร์ดสสาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และโรบิน วิลเลียมส์ได้รับการเสนอเข้าชิงสาขาดารานำชายยอดเยี่ยม อีกทั้งยังได้การเสนอเข้าชิงสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม และภาพยนตร์ยอดเยี่ยมอีกด้วย นอกจากรางวัลออสการ์แล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังชนะรางวัลบาฟตาสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์จากทัชสโตนพิคเจอร์สเรื่องแรกที่ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลในสาขานี้ [แก้] อ้างอิง หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู ... ขอเชิญรำรึกถึงครู หรือส่งพลังผ่านบทเพลง เริ่มหัวข้อโดย: JUNGLE ที่ มกราคม 14, 2011, 08:07:51 PM ขอร่วมรำลึกด้วยสองบทเพลงนี้ครับ... ::014::
Mike Piromporn ครูในดวงใจ (http://www.youtube.com/watch?v=lgGsNFV8B7o#) ตามรอยไม้เรียว (http://www.youtube.com/watch?v=wX0bfymJMj0#) ::014:: หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู ... ขอเชิญรำลึกถึงครู หรือส่งพลังผ่านบทเพลง เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 15, 2011, 07:37:19 PM สพฐ. ประกาศ 4 ยอดครูผู้มีอุดมการณ์ ปี 2554
Posted 01/13/2011 - 16:18 by admin สพฐ. ประกาศการคัดเลือก ยอดครูผู้มีอุดมการณ์ ปี 2554 ภาคละหนึ่งคนรวม 4 คน สพฐ. ประกาศการคัดเลือก ยอดครูผู้มีอุดมการณ์ ปี 2554 ภาคละหนึ่งคนรวม 4 คน พร้อมเข้ารับรางวัลเชิดชูเกียรติจากนายกรัฐมนตรี ในวันครู 16 ม.ค.นี้ วันนี้(13 ม.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดมอบรางวัล ยอดครูผู้มีอุดมการณ์ ในโครงการ ตามรอยเกียรติยศครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู ในครั้งแรกเมื่อปี 2550 เพื่อเป็นกายกย่องให้ครู มีความเป็นครูด้วยจิตวิญญาณ ทั้งปฏิบัติตนและปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมและสร้างค่านิยมให้สังคมยอมรับและเพื่อผลักดันให้ครูมีกระบวนทัศน์ใหม่ ใฝ่รู้และรู้คิดได้อย่างรวดเร็ว ดำเนินงานประสบความสำเร็จและพัฒนาการศึกษาของประเทศในสภาพของชุมชน สังคมที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม มีความยากลำบาก มีภัยคุกคามทางสังคม ความมั่นคงของชาติ ซึ่งได้มอบให้กับ ครูจูหลิง ปงกันมูล เป็นรายแรก ในปี 2550 เป็นต้นมา นายชินภัทร กล่าวต่อว่า สำหรับในปี 2554 นี้ สพฐ.ได้ดำเนินการคัดเลือกข้าราชการครูหรือผู้ทำหน้าที่ครู ทั้งภาคราชการ และเอกชนที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่มีชุมชนและสังคมที่มีความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม มีปัญหาภัยสังคมหรือความมั่นคงของประเทศ มีความเสี่ยง ต่อการปฏิบัติงานและเป็นผู้ทุ่มเท เสียสละเพื่อช่วยเหลือดูแลนักเรียนอย่างต่อเนื่อง จนเกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับประเทศภาคละหนึ่งคนรวมทั้งหมด 4 คน ได้แก่ ภาคเหนือ น.ส.สุพิทยา เตมียกะลิน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสล่าเจียงตอง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ภาคใต้ นายศรัทธา ห้องทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส อ.กาบัง จ.ยะลา ภาคกลาง นางสิริยุพา ศกุนตะเสถียร ผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษานารี เขตธนบุรี กทม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นางศิริพร หมั่นงาน ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านวังอ้ายคง อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ มีครูจำนวนมากมายที่มีความศรัทธาในวิชาชีพ มีความอดทนและรับผิดชอบ มีความเสียสละ และที่สำคัญคือมีความรัก ความเมตตา และปรารถนาดีต่อลูกศิษย์ ดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม แบ่งครึ่งชีวิตให้กับตนเองและสังคม เป็นต้นแบบที่ดีของสังคม รวมทั้งสร้างค่านิยมให้สังคม อันเป็นที่เรียกขานในสังคมว่า การเป็นครูด้วย จิตวิญญาณครู สพฐ.ขอเป็นกำลังใจ และพร้อมที่จะดูแลให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งจะร่วมก้าวไปข้างหน้ากับเพื่อนครูทั่วประเทศในการทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติต่อไป เลขาธิการ กพฐ. กล่าว นายชินภัทร กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ สพฐ.ยังได้จัดโครงการ ครูดีในดวงใจ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2554 ขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ครูดีในดวงใจ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แบ่งเป็นระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวนทั้งสิ้น 744 คน และ ครูดีในดวงใจ ระดับ สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 คน และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 1 คน จำนวนทั้งสิ้น 186 คน ซึ่งสรรหาและคัดเลือกครูสายงานการสอน ผู้เป็นที่ศรัทธายกย่องยอมรับของนักเรียน เพื่อนครูและสังคมว่าเป็นแบบอย่างของผู้มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู และได้ทุ่มเทเสียสละเพื่อช่วยเหลือดูแลนักเรียนอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์ โดยรางวัล ครูดีในดวงใจ ประจำปี พ.ศ.2554 ระดับ สพฐ. จำนวน 186 คนนี้ จะเข้ารับรางวัล เข็มทองคำเชิดชูเกียรติ ครูดีในดวงใจ ประจำปี 2554 โล่รางวัล และเกียรติบัตร จาก นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) ในวันครูที่ 16 ม.ค.นี้ ณ หอประชุมคุรุสภา ศธ. สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัล ยอดครูผู้มีอุดมการณ์ ในโครงการ ตามรอยเกียรติยศครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครูครั้งที่ 5 พ.ศ. 2554 ประกอบด้วย ภาคเหนือ น.ส.สุพิทยา เตมียกะลิน ผอ.ร.ร.บ้านสล่าเจียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน นั้น เป็นชาวจังหวัดลำปาง บรรจุครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านสุดห้วยนา อ.แม่สะเรียง เมื่อปี พ.ศ. 2534 และย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ที่โรงเรียนบ้านสล่าเจียงตอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนตั้งอยู่ในป่าลึกกลางหุบเขา ติดแนวชายแดนพม่า เด็กนักเรียนเป็นชาวเขาเผ่าไทยใหญ่และกะเหรี่ยงใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสาร มีเด็กนักเรียนทั้งหมด 160 คน เป็นนักเรียนพักนอนประจำ 113 คน การเดินทางใช้วิธีการเดินเท้าอย่างเดียว เป็นผู้ที่อุทิศตนและทุ่มเทเพื่อพัฒนาการศึกษาให้กับเด็กชาวเขา ส่งเสริมให้เด็กชาวเขาได้มีโอกาสเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ไม่ย่อท้อแม้จะประสบปัญหาอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเชื้อชาติ ความแตกต่างทางด้านภาษาและวัฒนธรรม แต่ก็ทุ่มเทพัฒนาโรงเรียนจนเป็นที่ศรัทธา ยกย่อง ยอมรับ จากเด็กนักเรียน ชุมชน บุคคลต่างๆทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทำให้ได้รับการบริจาคและให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น บริจาคเงินซื้อที่ดินสร้างอาคารเรียน อาคารพักนอน ฯลฯ ผลการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งสองรอบ อยู่ในระดับดี และดีมาก หลักการบริหารงาน ผอ. จะใช้วิธีการยึดหลักการกระจายอำนาจ ภาคใต้ นายศรัทธา ห้องทอง ผอ.ร.ร.บ้านคลองน้ำใส อ.กาบัง จ.ยะลา โดยโรงเรียนตั้งอยู่บนไหล่เขา ทำให้ประสบปัญหาการพังทลายของดินเป็นบางช่วง พื้นที่โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) เมื่อปี 2550 โรงเรียนถูกลอบวางเพลิงจากโจรผู้ก่อการร้าย แต่ชุมชนก็สามารถช่วยกันดับไฟได้ทัน ปัจจุบันโรงเรียนและชุมชนได้ร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้นจนทางการประกาศให้เป็นหมู่บ้านเข้มแข็ง แต่โรงเรียนก็ยังต้องมีฐานของหน่วยทหารตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนจำนวน 1 หมวดปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยของเด็กนักเรียนและครู เด็กนักเรียนและชุมชนเป็นชาวมุสลิม 100% แต่ ผอ.และครูส่วนหนึ่งนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันและจัดกิจกรรมต่างๆระหว่างวิถีพุทธและมุสลิมได้อย่างดีไม่มีปัญหา จนได้รับการยกย่องให้เป็นโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ ผลการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับดีมาก ภาคกลาง นางสิริยุพา ศกุนตะเสถียร ผอ.ร.ร.ศึกษานารี เขตธนบุรี กทม. ซึ่ง ร.ร.ศึกษานารีเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ แต่มีปัญหานักเรียนยากจนมาก จากการบริหารงานโรงเรียนต่างๆที่ผ่านมาทั้งโรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม และโรงเรียนศึกษานารี แต่ละโรงเรียนจะประสบปัญหาต่างๆ มากมายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาความขาดแคลนอาคารสถานที่ แต่ก็ทุ่มเทเสียสละทั้งแรงกายและแรงใจ เข้าหามวลชนจัดหาทุนสร้างอาคารเรียนได้จนประสบความสำเร็จ และพัฒนาโรงเรียนจนโรงเรียนศึกษานารีได้รับรางวัลต่างๆหลายรางวัล รวมทั้งโรงเรียนรางวัลพระราชทานขนาดใหญ่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นางศิริพร หมั่นงาน ครูชำนาญการพิเศษ ร.ร.บ้านวังอ้ายคง อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ซึ่งถือเป็น เป็นครูผู้หญิงคนแรกของโรงเรียน การเดินทางเมื่อปี พ.ศ. 2523 การเดินทางต้องเดินทางด้วยเท้า มีการระบาดของโรคไข้มาลาเรียและไข้เลือดออก ชุมชนเป็นคนภูเขา (ชาติพันธุ์ญัฮกุร) เรียกตนเองว่า ชาวบน หรือ คนดง ส่วนหนึ่ง ซึ่งมีแต่ภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จึงได้เริ่มศึกษาและทำโครงการวิจัยภาษาและวัฒนธรรมของชาวญัฮกุรขึ้นมา ถือเป็นแบบเรียนภาษาท้องถิ่นญัฮกุร เป็นเล่มแรกของโลก ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล มีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (เด็กญัฮกุร) ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ให้สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ จนได้รับรางวัลครูดีเด่นด้านการพัฒนาเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ผ่านภาษาแม่ (ญัฮกุร) นำมาซึ่งความเชื่อถือ ศรัทธายกย่องยอมรับจากเด็กนักเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งเป็นสถานที่ศึกษาดูงานและเผยแพร่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ--จบ-- Login or register to post comments หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู ... ขอเชิญรำลึกถึงครู หรือส่งพลังผ่านบทเพลง เริ่มหัวข้อโดย: ^-^ภูพาน~รักพ่อหลวง^-^ ที่ มกราคม 15, 2011, 08:29:29 PM http://www.oknation.net/blog/phaen/2010/01/16/entry-1 (http://www.oknation.net/blog/phaen/2010/01/16/entry-1)
ฟังเพลงนี้ทีไรน้ำตาซึม ::004:: ::014:: เพลง : แม่พิมพ์ของชาติ หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู ... ขอเชิญรำลึกถึงครู หรือส่งพลังผ่านบทเพลง เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 16, 2011, 03:23:04 AM http://www.oknation.net/blog/phaen/2010/01/16/entry-1 (http://www.oknation.net/blog/phaen/2010/01/16/entry-1) ฟังเพลงนี้ทีไรน้ำตาซึม ::004:: ::014:: เพลง : แม่พิมพ์ของชาติ แม่พิมพ์ของชาติ- วงจันทร์ ไพโรจน์ (http://www.youtube.com/watch?v=r_12-tp4XXY#) หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู ... ขอเชิญรำลึกถึงครู หรือส่งพลังผ่านบทเพลง เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 16, 2011, 09:21:53 AM สลด!ปัตตานีครูดับคาถนน
ข่าวหน้า 116 มกราคม 2554 - 00:00 ใต้ระอุ ฆ่าโหดครูกลางถนนเป็นศพที่ 138 รับวันครู ทำให้หวาดผวาหนัก ปรับเปลี่ยนแผนอารักขา "มาร์ค" ที่จะไปร่วมงานใน จ.ปัตตานี ใหม่หมด สมาพันธุ์ครู 3 จังหวัดใต้เตรียมเคลื่อนไหวเรียกหาความปลอดภัยต่อ ขณะที่หน่วยข่าวความมั่นคงได้กลิ่นก่อเหตุร้ายระลอกใหญ่ตอบโต้ มท.3 ในสัปดาห์นี้ เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 15 มกราคม ร.ต.อ.อภิวัฒน์ บัวทอง ร้อยเวร สภ.เมืองปัตตานี รับแจ้งเหตุยิงกันบริเวณสามแยก ถ.หน้าวัง ต.จะบังติกอ อ.เมืองฯ จ.ปัตตานี จึงไปตรวจสอบ พบนายมาโนช ชฎารัตน์ อายุ 37 ปี ครู คศ.2 ชำนาญ (อาจารย์พิเศษ) สอนวิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนเตชะปัตนยานุกูล อ.เมืองฯ จ.ปัตตานี อยู่บ้านเลขที่ 57/19 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.สะบ้ารัง อ.เมืองฯ จ.ปัตตานี เสียชีวิตอยู่กับรถจักรยานยนต์ฮอนด้าเวฟ สีดำ ทะเบียน กธน.260 ปัตตานี โดยมีบาดแผลถูกยิงที่ศีรษะด้านขวาและลำตัวรวม 3 นัด สอบสวนทราบว่า นายมาโนชเดินทางกลับจากการสอนนักศึกษาอนุปริญญา สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยชุมชน จ.ปัตตานี ที่โรงเรียนเทศบาล 1 ต.จะบังติกอ อ.เมืองปัตตานี ขณะมาถึงจุดเกิดเหตุ คนร้าย 2 คนใช้รถจักรยานยนต์ตามประกบจ่อยิงจนเสียชีวิต แล้วพากันหลบหนีไป โดยจุดดังกล่าวมีกล้องวงจรปิดติดอยู่ แต่ไม่สามารถใช้การได้ นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ส.ว.สรรหา จ.ปัตตานี ระบุว่า คนร้ายเตรียมการอย่างดีล่วงหน้าเพื่อแสดงศักยภาพ และสร้างความสลดใจให้ครูอย่างมาก แม้จะสันนิษฐานว่าสร้างสถานการณ์ร้ายในวันครู ทำลายขวัญครูที่จะจัดงานรำลึกเชิดชูครูที่จากไป 137 ราย และการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใน อ.แม่ลาน และวันที่ 17 ม.ค.นี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะมาร่วมงานด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจึงต้องปรับแผนใหม่หมด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับครู นายวิชาพร ชินประพันธ์ ผอ.วิทยาลัยชุมชนปัตตานี กล่าวว่า เสียใจกับเหตุที่เกิดขึ้น วันที่ 16 ม.ค.จะประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางดำเนินการต่อไป นักศึกษาจะเรียนกันต่อหรือหาที่เรียนใหม่ ยอมรับว่ากำลังใจของครูตกต่ำลงมาก นายบุญสม ทองศรีพลาย ประธานสหพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนใต้ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ก็ปฏิบัติหน้าที่เข้มงวด แต่คนร้ายก็หาจังหวะปฏิบัติการตลอดเวลา ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น เพราะเป็นวันหยุด จะต้องประชุมกันอีกครั้งเพื่อหามาตรการให้ลองจัดชุดกำลังนอกเหนือพื้นที่ในสายหลักและสายรอง ซอกซอย ด้านนางกัลยวรรณ์ ชฎารัตน์ อาจารย์โรงเรียนอนุบาลปัตตานี ภรรยานายมาโนชผู้ตายซึ่งป่วยเป็นโรคหอบพักรักษาตัวที่ รพ.ปัตตานี มา 3 วันแล้ว กล่าวว่า สามีมาเฝ้าทุกคืน รู้สึกตกใจและเสียใจกับเหตุที่เกิดขึ้น ตนเองมีบุตรกับสามี 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1 จะตั้งศพที่วัดนพวงศาราม อ.เมืองปัตตานี รดน้ำศพเวลา 11.00 น. ด้าน จ.นราธวาส ก็เกิดเหตุร้าย 3 รายซ้อน รายแรกเวลา 06.50 น. วันที่ 15 ม.ค. คนร้าย 2 คนยิงนายสุไลมาน อามิ อายุ 51 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยบ้านกาแย หมู่ 5 ต.ดุซงญอ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส ขณะเดินออกจากมัสยิดที่อยู่ห่างจากบ้านพักแค่ 100 เมตรหลังละหมาดเสร็จเสียชีวิต และใช้อาวุธสงครามยิงกราดใส่นายบูดีมัน เจ๊ะเละ อายุ 39 ปี ขณะยืนคุยกับเพื่อน 5 คนที่หน้าบ้านพักเลขที่ 99/1 บ้านตืองอ หมู่ 3 อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ทำให้นายบูดีมันบาดเจ็บสาหัส อีกรายวางระเบิดจุดชนวนด้วยระบบเท้าเหยียบไว้ในสวนยางพาราบ้านเชิงเขา หมู่ 4 ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส นางสมสันต์ สุขไพบูลย์ อายุ 48 ปี เจ้าของสวนเข้าไปกรีดยางเหยียบเข้าจึงระเบิดขึ้นบาดเจ็บเล็กน้อยที่ขา ที่ จ.ยะลา เวลา 10.00 น. มีการจัดกิจกรรมร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่หอประชุมโรงเรียนสตรียะลา เนื่องในวันครู เพื่อให้ทุกคนได้รำลึกถึงพระคุณของครู ซึ่งในภาคใต้ครูถูกทำร้ายเสียชีวิตไปแล้ว 138 ราย เจ็บ 122 ราย นักเรียนเสียชีวิต 36 ราย เจ็บ 162 ราย ซึ่งบรรดาครูกล่าวว่า ในวันครูนี้อยากได้ความปลอดภัยในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ให้มากขึ้น เจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ระบุว่า ผู้ก่อความไม่สงบมีการเคลื่อนไหวเพื่อก่อเหตุระลอกใหญ่ภายในสัปดาห์นี้ เพื่อตอบโต้นโยบายการปฏิบัติทางรุกของนายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ที่เป็นผู้รับผิดชอบนโยบายการเข้าไปแก้ปัญหา. ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของคุณครูทุกท่านครับ ::014:: หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู ... ขอเชิญรำลึกถึงครู หรือส่งพลังผ่านบทเพลง เริ่มหัวข้อโดย: pasta ที่ มกราคม 16, 2011, 10:10:03 AM รายชื่อประเทศที่มี วันครู
ประเทศที่มี วันครู ที่ไม่ใช่วันหยุด - อินเดีย วันครูตรงกับวันที่ 5 กันยายน - มาเลเซีย วันครูตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม - ตุรกี วันครูตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน ประเทศที่มี วันครู เป็นวันหยุด - แอลเบเนีย วันครูตรงกับวันที่ 7 มีนาคม - จีน วันครูตรงกับวันที่ 10 กันยายน - สาธารณรัฐเช็ก วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม - อิหร่าน วันครูตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม - ละตินอเมริกา วันครูตรงกับวันที่ 11 กันยายน - โปแลนด์ วันครูตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม - รัสเซีย วันครูตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม - สิงคโปร์ วันครูตรงกับวันที่ 1 กันยายน - สโลวีเนีย วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม - เกาหลีใต้ วันครูตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม - ไต้หวัน วันครูตรงกับวันที่ 28 กันยายน - ไทย วันครูตรงกับวันที่ 16 มกราคม - สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม - เวียดนาม วันครูตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู ... ขอเชิญรำลึกถึงครู หรือส่งพลังผ่านบทเพลง เริ่มหัวข้อโดย: MU_CZ รักในหลวง ที่ มกราคม 16, 2011, 12:46:06 PM ::014:: ::014:: ::014::
หัวข้อ: Re: 16 ม.ค. วันครู ... ขอเชิญรำลึกถึงครู หรือส่งพลังผ่านบทเพลง เริ่มหัวข้อโดย: srimalai_รักในหลวง ที่ มกราคม 18, 2011, 09:59:35 AM เห็นคณครูทางทีวี เรียกร้องขอเงินเดือน ค่าตอบแทนเพิ่ม จนลืมนึกถึงการเรียนการสอนไป บางท่านอ้างว่าเงินเดือนครูไม่สมดุลกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน
|