เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: FCUK ที่ เมษายน 24, 2011, 09:53:01 PM



หัวข้อ: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: FCUK ที่ เมษายน 24, 2011, 09:53:01 PM
ข้อสอบพาณิช์สี่ สดๆร้อนๆ

นายไชยาเป็นกรรมการบริษัทฯแห่งหนึ่ง ไปทำสัญญาซื้อขายไม้ยังไม่แปรรูปจากนางภาวนาเป็นเงิน....บาท เพื่อนำไม้มาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ตามลักษณะกิจการของบริษัทฯ  ต่อมาที่ประชุมผู้ถือหุ้นตรวจสอบพบว่านายไชยาขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับบริษัท คือมีหุ้นน้อยกว่าที่กำหนดในข้อบังคับคุณสมบัติกรรมการ  บริษัทฯจึงถอดถอนนายไชยาและแต่งตั้งนายสุรพลเป็นกรรมการแทน  เมื่อหนี้ซื้อขายไม้ถึงกำหนด นางภาวนาได้ทวงถามมายังบริษัทฯ  บริษัทอ้างว่านายไชยาผู้เป็นกรรมการขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับ บริษัทฯจึงปฏิเสธการชำระหนี้ให้นางภาวนา(มั่วได้ใจจริงๆบริษัทนี้)

แนวตอบของผมคือ นายไชยาเป็นกรรมการบริษัทฯ จัดการงานไปตามธรรมดาแห่งการค้าขาย และกรรมการถูกครอบงำโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้ดำเนินกิจการตามขอบแห่งวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ  นายไชยาซื้อไม้มาเพิื่อผลิตเฟอร์ฯก็เป็นไปตามธรรมดาการค้าขาย และกระทำการภายใต้ขอบเขตอำนาจ ขอบเขตวัตถุประสงค์ของกิจการ  นอกจากนี้นางภาวนาเป็นบุคคลภายนอกบริษัทฯ ทำนิติกรรมซื้อขายโดยสุจริต ไม่มีโอกาศรู้ข้อบังคับของบริษัทฯรวมทั้งการคุณสมบัติของนายไชยาในขณะเข้าทำนิติกรรม นางภาวนาเชื่อโดยสุจริตว่านายไชยาเป็นตัวแทนบริษัทฯ ผู้มีอำนาจกระทำการในนามบริษัทฯ
ดังนั้นบริษัทฯไม่อาจปฏิเสธการชำระหนี้นางภาวนาได้

ถูกผิดประการใด อาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ หลักกฏหมายผมก็ไม่แน่น ไม่รู้จะเอามาตราไหนมาปรับใช้ ได้แต่วินิจฉัยไปตามความเข้าใจอันน้อยนิด ไม่รู้ว่าคะแนนเต็มยี่สิบคะแนน จะได้ซักห้าคะแนนหรือปล่าวก็ไม่รู้
ขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: FCUK ที่ เมษายน 25, 2011, 08:36:41 AM
ดันกระทู้ไว้อย่าเพิ่งตกนะครับ


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: จอยฮันเตอร์ ที่ เมษายน 25, 2011, 08:49:40 AM
ไม่รู้มาตราแต่ตอบจากประสพการณ์ 1.นายไชยากระทำการในนามบริษัทหรือไม่หากใช่รับเต็มๆ2.บริษัทอ้างว่านายไชยาผู้เป็นกรรมการขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับ บริษัทฯจึงปฏิเสธการชำระหนี้ให้นางภาวนา(มั่วได้ใจจริงๆบริษัทนี้)ในบริคณห์สนธิ ต้องมีชื่อ นายไชยา ร่วมอยู่ด้วย แต่คงไม่บอกคุณสมบัติกรรมการผู้จัดการ


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ เมษายน 25, 2011, 10:32:16 AM
บ.ต้องรับผิดชอบ    เพราะการกระทำนิติกรรมได้กระทำก่อนถูกถอดถอน

นิติกรรมสมบูรณ์   ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: FCUK ที่ เมษายน 25, 2011, 10:38:58 AM
ขอบคุณทั้งสองท่านครับ แต่ผมยังหามาตราที่เกี่ยวข้องไม่เจอครับ


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: tawnee-รักในหลวง- ที่ เมษายน 25, 2011, 11:07:13 AM
ขออนุญาตครับ ::014:: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๖๗,๘๒๐,๘๒๑,๘๒๒


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: FCUK ที่ เมษายน 25, 2011, 11:20:28 AM
มาตรา 1167 ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท และบุคคลภายนอกนั้น ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ ว่าด้วยตัวแทน
ขอบคุณครับ...ตอบไม่เฉี่ยวเลย ลืมท่องมาตรา  แต่วินิจฉัยถูกว่าทำการในฐานเป็นตัวแทน


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ เมษายน 25, 2011, 12:58:06 PM
เป็นโจทย์ข้อ 3    ท่านตอบถูกธงแล้วครับ   น่าจะได้เกิน 10 คะแนน  (ประมาณ 12 -15 คะแนน)   มาตราที่เกี่ยวข้องคือ  1166 , 1167 , 820  ครับ      รายละเอียดการเขียนตอบรอท่านสิงห์กลิ้งครับ    (ผมยังไม่สันทัดครับ)  

โชคดีครับ.

สมทบ/สูงวัย  

ตามท่านบุญสวัสดิ์เลยครับ   ::014:: ::014::

                  กรณีนี้ การที่นายไชยา ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท และได้กระทำการในฐานะกรรมการไปทำสัญญาซื้อขายไม้กับบุคคลภายนอก เพื่อนำไม้มาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ตามลักษณะกิจการของบริษัทฯ นั่้น ย่อมถือว่าการทำสัญญาซื้อไม้ของนายไชยา ในฐานะกรรมการของบริษัท กับนางภาวนา บุคคลภายนอก  ได้ทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะกรรมการบริษัทและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทฯแล้ว การทำสัญญาซื้อขายของนายไชยาดังกล่าว  บริษัทฯในฐานะตัวการ ย่อมต้องผูกพันตามสัญญา ต่อนางภาวนา บุคคลภายนอก ในสัญญาซื้อขายไม้ที่นายไชยาได้ไปทำกับบุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๖๗ ประกอบ มาตรา ๘๒๐

                 แม้ต่อมา ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะตรวจสอบแล้วพบว่านายไชยาขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับ บริษัท คือมีหุ้นน้อยกว่าที่กำหนดในข้อบังคับคุณสมบัติกรรมการ  และบริษัทฯ ได้ทำการถอดถอนนายไชยาและแต่งตั้งนายสุรพลเป็นกรรมการแทนก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๖๗ บัญญัติว่า บรรดากิจการใดๆ ซึ่งกรรมการคนหนึ่งได้ทำไปนั้น แม้ในภายหลังจะปรากฏว่า การตั้งแต่งกรรมการคนนั้นมีข้อบกพร่องอยู่บ้างก็ดี หรือเป็นผู้บกพร่องด้วยองค์คุณควรแก่ตำแหน่งกรรมการก็ดี ข้อบกพร่องดังกล่าว ไม่ทำให้กิจการที่กรรมการผู้นั้น ได้ทำระหว่างเป็นกรรมการเสียไป แต่ให้ถือว่าการกระทำของกรรมการดังกล่าว สมบูรณ์เสมือนดั่งว่าบุคคลผู้นั้นได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องและบริบูรณ์ ด้วยองค์คุณของกรรมการ

                เมื่อขณะที่ทำสัญญาซื้อขายไม้ดังกล่าว นายไชยาได้กระทำไปในฐานะกรรมการบริษัทและเป็นการที่ทำไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัท  และตามกฎหมายให้ถือว่านายไชยา ได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องและมีคุณสมบัติบริบูรณ์ในฐานะกรรมการในขณะทำสัญญษซื้อขายไม้ ตามมาตรา ๑๑๖๗ แล้ว ดังนั้น สัญญาซื้อขายไม้ระหว่างนายไชยา กับนางภาวนาบุคคลภายนอก จึงมีผลสมบูรณ์และผูกพันบริษัท ดังนั้น การที่บริษัทฯ อ้างว่านายไชยาผู้เป็นกรรมการขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับ และปฏิเสธการชำระหนี้ให้นางภาวนาจึงฟังไม่ขึ้นครับ ยังต้องรับผิดตามสัญญาซื้อขายต่อนางภาวนา  ;D


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ เมษายน 25, 2011, 01:10:32 PM
อ๋อ ...... อย่าเรียกผมอาจารย์เลยครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: FCUK ที่ เมษายน 25, 2011, 01:38:59 PM
ขอบคุณอาจารย์ทั้งหลายครับ (ไม่เรียกไม่ได้ครับ ผู้ใดให้ความรู้ผู้อื่นโดยมิหวังผลตอบแทน โดยมิพักต้องให้เตือนเลย ท่านว่าผู้นั้นสมควรเป็นครูบาอาจารย์)

ผมดันไปตอบว่า กฏหมายวางหลักไว้ดังนี้
๑.การใดๆที่หุ้นส่วนได้กระทำลง เป็นทางธรรมดาการค้าขาย ย่อมผูกพันหุ้นส่วนอื่นทุกคนต่อการนั้น(มันกลายเป็นเรื่องห้างหุ้นส่วนไปซะนี่)
๒.กรรมการย่อมปฏิบัติกิจการงานของบริษัทฯภายใต้การครอบงำแห่งที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
๓.กรรมการต้องสอดส่องดูแลอย่างบุคคลผู้ค้าขาย และใช้ความระมัดระวังยิ่งกว่าวิญญูชน
๔.กรรมกระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทฯ


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ เมษายน 26, 2011, 11:11:57 AM
เป็นกำลังใจครับ   ;D ;D


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: นายกระจง ที่ เมษายน 26, 2011, 12:35:31 PM
อ๋อ ...... อย่าเรียกผมอาจารย์เลยครับ  ::014::



สวัสดีครับท่าน...........


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: FCUK ที่ เมษายน 26, 2011, 12:41:58 PM
ขออึกซักข้อนึงนะครับ ท่านสิงห์กลิ้่งและท่านบุญสวัสดิ์ ท่านผู้กำกับป้อมด้วย

นายอาทิตย์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเปล่าให้นายอังคารไป นายอังคารแอบเขียนข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจนั้น ระบุให้ตนเองรับมอบอำนาจจากนายอาทิตย์ในการซื้อขายที่ดินแปลงหนึ่งของนายอาทิตย์ และนำไปจดทะเบียนขายให้แก่ตนเอง   ต่อมานายอังคารนำที่ดินดังกล่าวไปจดจำนองเพื่อค้ำประกันเงินกู้จากนางเพ็ญจันทร์ นางเพ็ญจันทร์รับจำนองที่ดินดังกล่าวจากนายอังคารโดยรู้อยู่ว่านายอังคารไม่มีสิทธิ์โดบชอบด้วยกฏหมายในที่ดินดังกล่าว
นายอังคารไม่ชำระหนั้เงินกู้ นางเพ็ญจันทร์จึงฟ้องบังคับจำนองที่ดินดังกล่าว  นายอาทิตย์ทราบความจริงจึงคัดค้านการบังคับจำนอง  นางเพ็ญจันทร์อ้างว่าที่ดินดังกล่าวจดทะเบียนจำนองกับตนแล้วและนายอาทิตย์ประมาทเลินเล่อร้ายแรงจึงไม่มีสิทธิ์คัดค้านการบังคับจำนอง
ข้ออ้างของนางคนนี้ฟังขึ้นไหมครับ

ผมตอบ กฏหมายวางหลักไว่ว่า  "ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ในขณะจำนองเท่านั้น จึงจะมีสิทธื์จำนองทรัพย์นั้นได้" เมือ่นายอังคารได้ทรัพย์นี้มาโดยฉ้อฉล นายอังคารจึงไม่ใช่เจ้าของทรัพย์โดยชอบ  นอกจากนี้นางเพ็ญจันทร์ยังรับจำนองโดยรู้อยู่ว่านายอังคารไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์นั้น เป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ข้ออ้างของนางเพ็ญจันทร์ฟังไม่ขึ้น

แล้วถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงๆ(โจทย์ไม่ได้ถาม ผมถามเอง) นายอาทิตย์มีสิทธ์ร้องต่อศาลให้เพิกถอนสิทธิทางทะเบียนของนายอังคารและสิทธิจำนองของนางเพ็ญจันทร์ได้หรือไม่ อย่างไรครับ

ขอบคุณและขอให้รวยๆ


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ เมษายน 26, 2011, 12:42:08 PM
อ๋อ ...... อย่าเรียกผมอาจารย์เลยครับ  ::014::
สวัสดีครับท่าน...........

เอาเหล้าอะไรดีน้าจง ๕๕๕๕  ::005:: ::005::


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ เมษายน 26, 2011, 02:11:11 PM
ขออึกซักข้อนึงนะครับ ท่านสิงห์กลิ้่งและท่านบุญสวัสดิ์ ท่านผู้กำกับป้อมด้วย

นายอาทิตย์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเปล่าให้นายอังคารไป นายอังคารแอบเขียนข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจนั้น ระบุให้ตนเองรับมอบอำนาจจากนายอาทิตย์ในการซื้อขายที่ดินแปลงหนึ่งของนายอาทิตย์ และนำไปจดทะเบียนขายให้แก่ตนเอง   ต่อมานายอังคารนำที่ดินดังกล่าวไปจดจำนองเพื่อค้ำประกันเงินกู้จากนางเพ็ญจันทร์ นางเพ็ญจันทร์รับจำนองที่ดินดังกล่าวจากนายอังคารโดยรู้อยู่ว่านายอังคารไม่มีสิทธิ์โดบชอบด้วยกฏหมายในที่ดินดังกล่าว
นายอังคารไม่ชำระหนั้เงินกู้ นางเพ็ญจันทร์จึงฟ้องบังคับจำนองที่ดินดังกล่าว  นายอาทิตย์ทราบความจริงจึงคัดค้านการบังคับจำนอง  นางเพ็ญจันทร์อ้างว่าที่ดินดังกล่าวจดทะเบียนจำนองกับตนแล้วและนายอาทิตย์ประมาทเลินเล่อร้ายแรงจึงไม่มีสิทธิ์คัดค้านการบังคับจำนอง
ข้ออ้างของนางคนนี้ฟังขึ้นไหมครับ

ผมตอบ กฏหมายวางหลักไว่ว่า  "ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ในขณะจำนองเท่านั้น จึงจะมีสิทธื์จำนองทรัพย์นั้นได้" เมือ่นายอังคารได้ทรัพย์นี้มาโดยฉ้อฉล นายอังคารจึงไม่ใช่เจ้าของทรัพย์โดยชอบ  นอกจากนี้นางเพ็ญจันทร์ยังรับจำนองโดยรู้อยู่ว่านายอังคารไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์นั้น เป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ข้ออ้างของนางเพ็ญจันทร์ฟังไม่ขึ้น

แล้วถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงๆ(โจทย์ไม่ได้ถาม ผมถามเอง) นายอาทิตย์มีสิทธ์ร้องต่อศาลให้เพิกถอนสิทธิทางทะเบียนของนายอังคารและสิทธิจำนองของนางเพ็ญจันทร์ได้หรือไม่ อย่างไรครับ

ขอบคุณและขอให้รวยๆ


             จำนองนั้น  คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง และทรัพย์สินที่จะจำนองนั้น นอกจากผู้เป็นเจ้าของในขณะจำนองแล้ว ท่านว่าใครอื่นจะจำนองหาได้ไม่
             การที่นายอาทิตย์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเปล่า แล้วมอบให้แก่นายอังคารไป และนายอังคารแอบเขียนข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว โดยระบุให้ตนเองรับมอบอำนาจจากนายอาทิตย์ และนำไปจดทะเบียนขายที่ดินของนายอาทิตย์ให้แก่ตนเอง และต่อมานายอังคารนำที่ดินดังกล่าวไปจดจำนองเพื่อค้ำประกันเงินกู้จากนางเพ็ญจันทร์นั้น ถือได้ว่า การได้มาซึ่งที่ดินของนายอังคารดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ถูกต้อง นายอาทิตย์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินของนายอังคารได้
            แต่ปรากฎว่า นายอังคารได้นำที่ดินดังกล่าวไปจดจำนองเป็นการประกันเิิงินกู้ไว้กับนางเพ็ญจันทร์ บุคคลภายนอก ก็สืบเนื่องมาจากการที่นายอาทิตย์นั้น ได้มอบใบมอบอำนาจซึ่งมีลายมือชื่อของตน โดยที่ใบมอบอำนาจนั้น ยังมิได้มีการกรอกข้อความใดๆ ซึ่งย่อมเป็นการง่ายที่นายอังคาร จะนำใบมอบอำนาจลอยดังกล่าว ไปทำการอย่างอื่น นอกความประสงค์ของนายอาทิตย์ได้ เมื่อนายอังคารกลับนำใบมอบอำนาจไปทำการโอนที่ดินมาเป็นของตนเอง จึงถือได้ว่าการที่นายอังคารสามารถนำที่ดินไปจำนองไว้กับนางเพ็ญจันทร์ได้ เกิดจาก ความไม่ระมัดระวังและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของนายอาทิตย์เอง  ซึ่งโดยหลักแล้ว นายอาทิตย์จะยกเอาผลที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนมาฟ้อง หรือยกเป็นข้อต่อสู้ ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ที่รับจำนองที่ดินมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน และจะมาฟ้องขอให้เพิกถอนการจำนองดังกล่าวไม่ได้  ( มาตรา ๑๒๙๙ )

             แต่เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ เมื่อนายอังคารมิใช่เจ้าของที่แท้จริงในที่ดิน อีกทั้งปรากฎว่าขณะนางเพ็ญจันทร์ รับจำนองที่ดินดังกล่าวจากนายอังคาร ตนเองก็รู้ดีอยู่แล้ว ว่านายอังคารไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่แท้จริงในขณะจำนอง แต่ก็ยังรับจำนองที่ดิน จึงถือว่า นางเพ็ญจันทร์ บุคคลภายนอก รับจำนองที่ดินของนายอาทิตย์มาโดยไม่สุจริต นายอาทิตย์ย่อมมีสิทธิ์คัดค้านการบังคับจำนองและฟ้องขอเพิกถอนการจำนองระหว่างนายอังคาร และนางเพ็ญจันทร์ได้ครับ

     ถูกผิดอย่างไรแนะนำด้วยครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: BSW ที่ เมษายน 26, 2011, 02:22:57 PM
ข้อหลังเป็นข้อ 2  ของวิชาพาณิชย์ 3  เรื่องค้ำประกันด้วยทรัพย์ (จำนอง)   ผมคิดว่าท่านตอบถูกธงแล้วครับ  


ผมมีความเห็นว่า ยกมาตรา 705 เป็นมาตราหลัก จะยกมาตรา 1336 มาประกอบก็ได้   มีหลักกฎหมายที่ควรจะยกมาเขียนคือ

1.การจำนองทรัพย์สินนั้น  ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะนั้น  

2.ถ้าผู้จำนองไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน    แม้ผู้รับจำนองจะได้รับจำนองไปโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน   ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าของที่แท้จริงไม่ได้   เพราะถือหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า " ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน"      แต่มีเงื่อนไขว่า เจ้าของทรัพย์ต้องสุจริตและไม่ได้ประมาทเลินเล่อ  จึงจะยกเอา ปพพ. 1299 มาอ้างไม่ได้

3.ถ้าเจ้าของทรัพย์ประมาทเลินเล่อ  เช่นกรณีตามโจทย์โดยการลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่า เป็นต้น      เป็นความประมาทเลินเล่อของเจ้าของทรัพย์เอง   เจ้าของทรัพย์ย่อมถูกกฎหมายปิดปากมิให้ปฏิเสธได้       แต่มีเงื่อนไขว่า  ผู้รับจำนองต้องสุจริตและเสียค่าตอบแทน  

4.กรณีที่ต่างฝ่ายต่างสุจริตด้วยกัน  ผู้ที่ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ

ความเห็นส่วนตัวของผมในโจทย์ข้อนี้    เจ้าของทรัพย์สินประมาทเลินเล่อ  แต่ผู้รับจำนองก็ไม่สุจริต     เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว  กฎหมายถือเอาความสุจริตเป็นอันดับแรก     ดังนั้น ข้ออ้างของนางเพ็ญจันทร์จึงฟังไม่ขึ้น      

ในทางกลับกันหากนางเพ็ญจันทร์รับจำนองโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน    นายอาทิตย์เจ้าของที่ดินจะปฏิเสธไม่ได้ตามหลักกฎหมายปิดปากเพราะเป็นความประมาทเลินเล่อของตน


สำหรับที่ว่าหากเป็นเรื่องจริงๆนั้นจะมีแนวทางอย่างไรหรือไม่นั้น     ผมคิดว่าในชีวิตจริงๆที่ต้องต่อสู้คดีในทางศาลนั้น    มีเทคนิคและแทคติครวมทั้งสารพัดวิชาเทพ/วิชามารอยู่มากมาย     กรณีนี้คงต้องสู้กันหลายยกครับ


รายละเอียดการเขียนตอบวินิจฉัยตามโจทย์คงต้องรอให้ท่านสิงห์กลิ้งเขียนตอบครับ.


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ เมษายน 26, 2011, 02:33:49 PM
ข้อหลังเป็นข้อ 2  ของวิชาพาณิชย์ 3  เรื่องค้ำประกันด้วยทรัพย์ (จำนอง)   ผมคิดว่าท่านตอบถูกธงแล้วครับ   


ผมมีความเห็นว่า ยกมาตรา 705 เป็นมาตราหลัก จะยกมาตรา 1336 มาประกอบก็ได้   มีหลักกฎหมายที่ควรจะยกมาเขียนคือ

1.การจำนองทรัพย์สินนั้น  ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะนั้น 

2.ถ้าผู้จำนองไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน    แม้ผู้รับจำนองจะได้รับจำนองไปโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน   ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าของที่แท้จริงไม่ได้   เพราะถือหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า " ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน"      แต่มีเงื่อนไขว่า เจ้าของทรัพย์ต้องสุจริตและไม่ได้ประมาทเลินเล่อ  จึงจะยกเอา ปพพ. 1299 มาอ้างไม่ได้

3.ถ้าเจ้าของทรัพย์ประมาทเลินเล่อ  เช่นกรณีตามโจทย์โดยการลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่า เป็นต้น      เป็นความประมาทเลินเล่อของเจ้าของทรัพย์เอง   เจ้าของทรัพย์ย่อมถูกกฎหมายปิดปากมิให้ปฏิเสธได้       แต่มีเงื่อนไขว่า  ผู้รับจำนองต้องสุจริตและเสียค่าตอบแทน   

4.กรณีที่ต่างฝ่ายต่างสุจริตด้วยกัน  ผู้ที่ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ

ความเห็นส่วนตัวของผมในโจทย์ข้อนี้    เจ้าของทรัพย์สินประมาทเลินเล่อ  แต่ผู้รับจำนองก็ไม่สุจริต     เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว  กฎหมายถือเอาความสุจริตเป็นอันดับแรก     ดังนั้น ข้ออ้างของนางเพ็ญจันทร์จึงฟังไม่ขึ้น     

ในทางกลับกันหากนางเพ็ญจันทร์รับจำนองโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน    นายอาทิตย์เจ้าของที่ดินจะปฏิเสธไม่ได้ตามหลักกฎหมายปิดปากเพราะเป็นความประมาทเลินเล่อของตน


สำหรับที่ว่าหากเป็นเรื่องจริงๆนั้นจะมีแนวทางอย่างไรหรือไม่นั้น     ผมคิดว่าในชีวิตจริงๆที่ต้องต่อสู้คดีในทางศาลนั้น    มีเทคนิคและแทคติครวมทั้งสารพัดวิชาเทพ/วิชามารอยู่มากมาย     กรณีนี้คงต้องสู้กันหลายยกครับ


รายละเอียดการเขียนตอบวินิจฉัยตามโจทย์คงต้องรอให้ท่านสิงห์กลิ้งเขียนตอบครับ.

 ::002:: ละเอียดและเข้าใจง่ายมากครับผม ::014:: ::014::


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: FCUK ที่ เมษายน 26, 2011, 02:47:02 PM
ไชโยสามทีครับ...น่าจะสอบผ่าน ใจชื้นขึ้นมาหน่อย อีกสองข้อที่เหลือของพาฯ๓และพาฯ๔ จำไม่ได้  แต่ตอบได้ชิวๆเลยไม่อยากจำ  ขอบคุณอาจารย์ทั้งสอง  ขอให้สุขภาพแข็งแรง

เทอมหน้าผมลงภาคพิเศษ แพ่ง๓ มรดกฯ(ปีที่แล้วตกภาคพิเศษเพราะบุตรบุญธรรม)  ส่วนภาคปรกติลง วิแพ่ง วิอาญา และวิแพ่งล้มละลาย จะต้องมาขอความอนุเคราะห์อีกนะครับ ขอบคุณล่วงหน้า


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: eazycompany ที่ เมษายน 27, 2011, 02:26:23 AM
              ผมเองก็เรียนนิติสาสตร์อยู่     อ่านกระทุ้นี้เเล้วได้ความรู้เยอะดีครับ      เอาไว้ผมมีข้อสงสัยคงจะมาขอความรู้จากท่าน
สิงห์กลิ้งเเละสมาชิกท่านอื่นๆบ้างครับ ::014::


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: soveat ชุมไพร ที่ เมษายน 27, 2011, 10:23:10 AM
อ๋อ ...... อย่าเรียกผมอาจารย์เลยครับ  ::014::

เรียกทาอัยการแทนได้ไหมครับน้าสิงห์... ;D


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ เมษายน 27, 2011, 10:31:38 AM
อ๋อ ...... อย่าเรียกผมอาจารย์เลยครับ  ::014::

เรียกทาอัยการแทนได้ไหมครับน้าสิงห์... ;D

อูยยยย ..... ผมยังเป็นแค่ผู้สมัครสอบอยู่เลยครับ  ::014::

แต่ก็ ยังไงขอให้สมพรปาก ตามน้ากวางนะครับ เพี้ยงงงงงงงงงง  ::005:: ::005::


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: BSW ที่ เมษายน 27, 2011, 01:22:12 PM
ถ้าไปสมัครสอบผู้ช่วยฯ     ก็ขอให้ท่านสิงห์กลิ้งสอบได้เป็นผู้ช่วยครับ  ::014::      ผมเคยอ่านผ่านตาและได้รับทราบในการสร้างความดีของท่าน     ขอให้หมั่นสั่งสมไว้ครับ    บุญกุศลจะช่วยหนุนส่งให้ท่านอ่านฎีกาได้ตรงกับข้อสอบ  และได้อาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบที่มีจิตเมตตา.......สาธุ  ::014::  ::014::


เป็นกำลังใจให้ครับท่าน  :VOV:


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ เมษายน 27, 2011, 02:05:31 PM
ขอบพระคุณครับ  ::014:: ::014::


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: FCUK ที่ เมษายน 27, 2011, 02:11:21 PM
อวยพรให้ได้สมปรารถนาอีกแรงนะครับ


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: FCUK ที่ พฤษภาคม 03, 2011, 04:43:52 PM
อาจารย์ทั้งหลายครับ...ข้อแรกเฉลยมาเป็นมาตรา 1166
"บรรดาการใดๆซึ่งกรรมการคนหนึ่งได้กระทำลงไป แม้ในความหลังความปรากฏว่ากรรมการแต่งตั้งคนนั้นนั้นมีความบกพร่องอยู่บ้างก็ดี  หรือเป็นผู้บกพร่องด้วยองค์คุณตำแหน่งกรรมการก็ดี การที่ทำนั้นย่อมสมบูรณ์เสมือนบุคคลนั้นได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้อง และบริบูรณืด้วยองค์คุณของกรรมการ....."

สงสัยจะแห้วแล้วครับท่านผู้ชม


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: BSW ที่ พฤษภาคม 03, 2011, 07:59:06 PM
ท่านสิงห์กลิ้งเฉลยได้ครบถ้วนแล้วครับ    เพียงแต่ลงเลขมาตราคลาดเคลื่อน   ผมขออนุญาตแก้ไขให้ตรงตามความประสงค์นะครับ     และเขียนตอบเหมือนท่านสิงห์กลิ้งอาจจะได้เต็ม  20 คะแนนครับ



เป็นโจทย์ข้อ 3    ท่านตอบถูกธงแล้วครับ   น่าจะได้เกิน 10 คะแนน  (ประมาณ 12 -15 คะแนน)   มาตราที่เกี่ยวข้องคือ  1166 , 1167 , 820  ครับ      รายละเอียดการเขียนตอบรอท่านสิงห์กลิ้งครับ    (ผมยังไม่สันทัดครับ) 

โชคดีครับ.

สมทบ/สูงวัย 

ตามท่านบุญสวัสดิ์เลยครับ   ::014:: ::014::

                  กรณีนี้ การที่นายไชยา ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท และได้กระทำการในฐานะกรรมการไปทำสัญญาซื้อขายไม้กับบุคคลภายนอก เพื่อนำไม้มาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ตามลักษณะกิจการของบริษัทฯ นั่้น ย่อมถือว่าการทำสัญญาซื้อไม้ของนายไชยา ในฐานะกรรมการของบริษัท กับนางภาวนา บุคคลภายนอก  ได้ทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะกรรมการบริษัทและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทฯแล้ว การทำสัญญาซื้อขายของนายไชยาดังกล่าว  บริษัทฯในฐานะตัวการ ย่อมต้องผูกพันตามสัญญา ต่อนางภาวนา บุคคลภายนอก ในสัญญาซื้อขายไม้ที่นายไชยาได้ไปทำกับบุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๖๗ ประกอบ มาตรา ๘๒๐

                 แม้ต่อมา ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะตรวจสอบแล้วพบว่านายไชยาขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับ บริษัท คือมีหุ้นน้อยกว่าที่กำหนดในข้อบังคับคุณสมบัติกรรมการ  และบริษัทฯ ได้ทำการถอดถอนนายไชยาและแต่งตั้งนายสุรพลเป็นกรรมการแทนก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๖๖ บัญญัติว่า บรรดากิจการใดๆ ซึ่งกรรมการคนหนึ่งได้ทำไปนั้น แม้ในภายหลังจะปรากฏว่า การตั้งแต่งกรรมการคนนั้นมีข้อบกพร่องอยู่บ้างก็ดี หรือเป็นผู้บกพร่องด้วยองค์คุณควรแก่ตำแหน่งกรรมการก็ดี ข้อบกพร่องดังกล่าว ไม่ทำให้กิจการที่กรรมการผู้นั้น ได้ทำระหว่างเป็นกรรมการเสียไป แต่ให้ถือว่าการกระทำของกรรมการดังกล่าว สมบูรณ์เสมือนดั่งว่าบุคคลผู้นั้นได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องและบริบูรณ์ ด้วยองค์คุณของกรรมการ

                เมื่อขณะที่ทำสัญญาซื้อขายไม้ดังกล่าว นายไชยาได้กระทำไปในฐานะกรรมการบริษัทและเป็นการที่ทำไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัท  และตามกฎหมายให้ถือว่านายไชยา ได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องและมีคุณสมบัติบริบูรณ์ในฐานะกรรมการในขณะทำสัญญาซื้อขายไม้ ตามมาตรา ๑๑๖๖ แล้ว ดังนั้น สัญญาซื้อขายไม้ระหว่างนายไชยา กับนางภาวนาบุคคลภายนอก จึงมีผลสมบูรณ์และผูกพันบริษัท ดังนั้น การที่บริษัทฯ อ้างว่านายไชยาผู้เป็นกรรมการขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับ และปฏิเสธการชำระหนี้ให้นางภาวนาจึงฟังไม่ขึ้นครับ ยังต้องรับผิดตามสัญญาซื้อขายต่อนางภาวนา  ;D




ผลคะแนนยังไม่ออก    อย่าเพิ่งตระหนกไปครับ   ข้อสอบของ มสธ.ทำอัตนัยถูกเพียง 2 ข้อก็สอบผ่านได้นั้นมีเสมอๆ      ที่สอบกันไม่ผ่านโดยส่วนใหญ่แล้วจะทำข้อสอบปรนัยไม่ได้ครับ      เพราะข้อสอบปรนัยยากมากๆๆๆๆ     ต่้องอ่านตำราเรียนอย่างจริงจังเท่านั้น 

โชคดีครับ. 


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: FCUK ที่ พฤษภาคม 03, 2011, 08:08:14 PM
ขอบพระคุณอาจารย์บุญสวัสดิ์ครับ...ทำงานประจำด้วย  งานอาสาฯด้วย เลี้ยงลูกสอนการบ้านเอง ไปเรียนสอนเสริมทุกครั้งที่ รร.สุรศักดิ์ฯ  อ่านหนังสือทุกคืน น้ำตาตกในครับเวลาเจอ "U"


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ พฤษภาคม 03, 2011, 08:10:39 PM
                  ผมเป็นคนเรียนน้อยไม่ค่อยรู้เรื่องตำราวิชาการ  แต่ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้าฝรั่งเศส+อังกฤษครับ  ......  ขอให้สมหวังดั่งใจปรารถนา



หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: FCUK ที่ พฤษภาคม 03, 2011, 08:35:57 PM
ขอบคุณครับลุงปู...บ้านเมืองเราเละเทะทุกวันนี้ก็เพราะคนเรียนมากแต่ใช้ความรู้ในทางที่ผิดนั่นแหละครับ


หัวข้อ: Re: อาจารย์สิงห์กลิ้ง..เฉลยข้อสอบเป็นวิทยาทานด้วยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SingCring ที่ พฤษภาคม 07, 2011, 12:46:03 PM
ท่านสิงห์กลิ้งเฉลยได้ครบถ้วนแล้วครับ    เพียงแต่ลงเลขมาตราคลาดเคลื่อน   ผมขออนุญาตแก้ไขให้ตรงตามความประสงค์นะครับ     และเขียนตอบเหมือนท่านสิงห์กลิ้งอาจจะได้เต็ม  20 คะแนนครับ



เป็นโจทย์ข้อ 3    ท่านตอบถูกธงแล้วครับ   น่าจะได้เกิน 10 คะแนน  (ประมาณ 12 -15 คะแนน)   มาตราที่เกี่ยวข้องคือ  1166 , 1167 , 820  ครับ      รายละเอียดการเขียนตอบรอท่านสิงห์กลิ้งครับ    (ผมยังไม่สันทัดครับ) 

โชคดีครับ.

สมทบ/สูงวัย 

ตามท่านบุญสวัสดิ์เลยครับ   ::014:: ::014::

                  กรณีนี้ การที่นายไชยา ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท และได้กระทำการในฐานะกรรมการไปทำสัญญาซื้อขายไม้กับบุคคลภายนอก เพื่อนำไม้มาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ตามลักษณะกิจการของบริษัทฯ นั่้น ย่อมถือว่าการทำสัญญาซื้อไม้ของนายไชยา ในฐานะกรรมการของบริษัท กับนางภาวนา บุคคลภายนอก  ได้ทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะกรรมการบริษัทและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทฯแล้ว การทำสัญญาซื้อขายของนายไชยาดังกล่าว  บริษัทฯในฐานะตัวการ ย่อมต้องผูกพันตามสัญญา ต่อนางภาวนา บุคคลภายนอก ในสัญญาซื้อขายไม้ที่นายไชยาได้ไปทำกับบุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๖๗ ประกอบ มาตรา ๘๒๐

                 แม้ต่อมา ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะตรวจสอบแล้วพบว่านายไชยาขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับ บริษัท คือมีหุ้นน้อยกว่าที่กำหนดในข้อบังคับคุณสมบัติกรรมการ  และบริษัทฯ ได้ทำการถอดถอนนายไชยาและแต่งตั้งนายสุรพลเป็นกรรมการแทนก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๖๖ บัญญัติว่า บรรดากิจการใดๆ ซึ่งกรรมการคนหนึ่งได้ทำไปนั้น แม้ในภายหลังจะปรากฏว่า การตั้งแต่งกรรมการคนนั้นมีข้อบกพร่องอยู่บ้างก็ดี หรือเป็นผู้บกพร่องด้วยองค์คุณควรแก่ตำแหน่งกรรมการก็ดี ข้อบกพร่องดังกล่าว ไม่ทำให้กิจการที่กรรมการผู้นั้น ได้ทำระหว่างเป็นกรรมการเสียไป แต่ให้ถือว่าการกระทำของกรรมการดังกล่าว สมบูรณ์เสมือนดั่งว่าบุคคลผู้นั้นได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องและบริบูรณ์ ด้วยองค์คุณของกรรมการ

                เมื่อขณะที่ทำสัญญาซื้อขายไม้ดังกล่าว นายไชยาได้กระทำไปในฐานะกรรมการบริษัทและเป็นการที่ทำไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัท  และตามกฎหมายให้ถือว่านายไชยา ได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องและมีคุณสมบัติบริบูรณ์ในฐานะกรรมการในขณะทำสัญญาซื้อขายไม้ ตามมาตรา ๑๑๖๖ แล้ว ดังนั้น สัญญาซื้อขายไม้ระหว่างนายไชยา กับนางภาวนาบุคคลภายนอก จึงมีผลสมบูรณ์และผูกพันบริษัท ดังนั้น การที่บริษัทฯ อ้างว่านายไชยาผู้เป็นกรรมการขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับ และปฏิเสธการชำระหนี้ให้นางภาวนาจึงฟังไม่ขึ้นครับ ยังต้องรับผิดตามสัญญาซื้อขายต่อนางภาวนา  ;D




ผลคะแนนยังไม่ออก    อย่าเพิ่งตระหนกไปครับ   ข้อสอบของ มสธ.ทำอัตนัยถูกเพียง 2 ข้อก็สอบผ่านได้นั้นมีเสมอๆ      ที่สอบกันไม่ผ่านโดยส่วนใหญ่แล้วจะทำข้อสอบปรนัยไม่ได้ครับ      เพราะข้อสอบปรนัยยากมากๆๆๆๆ     ต่้องอ่านตำราเรียนอย่างจริงจังเท่านั้น 

โชคดีครับ. 

ขอบคุณมากครับผม  ::014:: ::014::