เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 08, 2011, 10:03:36 PM



หัวข้อ: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 08, 2011, 10:03:36 PM
วันนี้ได้คุยกับชาวนาเรื่องนโยบายประชานิยมที่พรรคการเมืองต่างนำเสนอแข่งกันอยู่ แต่ละโครงการใช้งบประมาณมหาศาลทั้งนั้น ทำยังกับว่าบ้านเรามันรวยนักเหรอ ทำแบบนี้เดี๋ยวประเทศก็ล่มจม คำตอบที่ได้คือ ประเทศล่มจมก็ช่างมัน เราไม่ได้ล่มจมด้วยซักหน่อย ฟังทีแรกก็สะอึกกับความคิดของชาวนาคนนี้ครับ แต่พอกลับมานึกดีๆ ตัวเราเข้าใจคำว่าประเทศล่มจมแค่ไหน

ที่แน่ๆ คงไม่เหมือนบริษัทล่มจมแน่ เพราะบริษัทล่มจมอย่างมากก็ล้มละลาย ขายของ เอาเงินใช้หนี้เขาเท่าที่ใช้ได้ แล้วก็เลิกกิจการไป แต่ชาติล่มจม เราไม่สามารถขายประเทศใช้หนี้เขาได้  ยังไงก็ยังเป็นประเทศไทยอยู่  เลิกกิจการก็ไม่ได้ แล้วความหมายของประเทศล่มจมคือ เหตุการณ์ไหนกันแน่ แล้วเราเข้าใจกันดีหรือยัง  ::014::


หัวข้อ: Re: ถามหน่อยครับ คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันบ้างหรือเปล่า
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ มิถุนายน 08, 2011, 10:21:34 PM
พนันว่าเดี่ยวต้องย้ายไปห้องการเมืองครับ  ท่าทางจะกระทู้ร้อน ;D ;D ;D


ถ้าเค้าคิดได้มากกว่านี้ ชีวิตเค้าก็จะดีกว่านี้ไงครับ ::014:: ::014::


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: ARTANY ที่ มิถุนายน 09, 2011, 02:06:33 AM
เค้าคงลืมกระมังครับว่า ตัวเค้าก็อยู่ในประเทศนี้เหมือนกัน


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: PU45™ ที่ มิถุนายน 09, 2011, 08:03:10 AM
เรื่องของความเชื่อ  ศาสนา  และการเมือง  ......   เป็นสิทธิส่วนบุคคลก็จริงแต่ไม่ควรนำประเทศชาติไปยุ่งด้วย


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ มิถุนายน 09, 2011, 08:14:12 AM
ประเทศชาติล่มจมก็จะเป็นหนี้ต่างชาติ แล้วก็จะต้องถูกบังคับให้ใช้หนี้ด้วยทรัพยากรของชาติครับ... ตัวอย่างของประเทศที่เป็นหนี้ต่างชาติแล้วโดนดูดทรัพยากรมีมากมาย ในยุคล่าอาณานิคมจะโดนเฉือนแผ่นดิน, แต่ถ้าเป็นยุคใหม่จะโดนดูดทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าทางเศรษศาสตร์ เช่นแร่ธาตุใต้ดิน โดยเฉพาะน้ำมันดิบ และแกสธรรมชาติฯ...

เมื่อประเทศล่มจม โดนดูดทรัพยากร ประชากรในประเทศก็จะลุกขึ้นต่อสู้... หากต่อสู้ด้วยวิธีอหิงสา ก็จะเป็นแบบมหาตมะ คานธี, แต่ถ้าต่อสู้ด้วยวิธีอหิงสาแล้วชนะยากส์ ก็จะมีกลุ่มหนึ่งมุดน้ำดำดินลงไปเล่นสงครามใต้ดิน กลายเป็นสงครามกองโจรแบบตะวันออกกลาง(แถวนั้นถึงได้รบกันไม่เลิก เพราะมีน้ำมันดิบเป็นเดิมพัน)...

คนที่ยังอยู่ในประเทศไทยก็จะต้องร่วมกันต่อสู้... แต่จะมีอีกพวกหนึ่งที่มีกำลังพอ(บางคนก็ขี้โกงจนมีกำลังพอ - เช่นพวกนักการเมือง) ก็จะย้ายไปเป็นพลเมืองของประเทศอื่น(ไม่เหมือนอพยพลี้ภัยสงคราม - พวกนี้หากไม่ย้ายประเทศก็จะอันตราย), คนที่"ย้าย"ไปเป็นพลเมืองของประเทศอื่นพวกนี้(เฉพาะบางคนที่เลว)ก็จะเที่ยวบอกคนอื่นว่าฉันเป็นคนไทยเฉพาะต้องการผลประโยชน์ แต่เมื่อผลประโยชน์ขัดกันเมื่อไหร่ พวกนี้ก็จะทำไก๋หลอกคนไทย แล้วทำเนียนแสวงประโยชน์ต่อ(หรือไม่ก็ออกลาย แสดงธาตุแท้ย้ายข้างไปเข้าข้างประเทศใหม่ของตนเอง)...

สำหรับชาวนาตามท้องเรื่องในกระทู้... คือคนโง่ เพราะเมื่อถึงเวลาประเทศชาติล่มจม พวกชาวนาเองก็ไม่มีปัญญาหนีไปเป็นพลเมืองประเทศอื่น ไม่เหมือนคนรวยบางคน(โดยเฉพาะนักการเมืองนั่นแหละ - ตัวดี)ที่"ล้มบนฟูก"แอบขนเงินไปเปิดบัญชีเอาไว้ที่เกาะเคย์แมน หรือบริติจเวอร์จิ้น ไอร์แลนด์(อย่าให้ระบุชื่อเลย - ฝั่งรัฐบาลก็มี)...


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: R2D2 ที่ มิถุนายน 09, 2011, 01:04:35 PM
ฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 ..ไงคับ..แบบนั้นไม่เรียกล่มจมแล้วเรียกอะไร สถาบันการเงินเจ๊งกว่า 50 กว่า คนตกงานกี่แสนคน ?  


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: cz_dee *รักในหลวง ที่ มิถุนายน 09, 2011, 01:06:09 PM
ผมไม่รูว่าความหมายคือยังไง....
แต่ไอพวกที่จะทำชาตล่มจมผมรู้ว่าเป็นใคร....
เพื่อนผมหลายคนไม่เวลาผมพูดเรื่องประเทศมันก็ด่าว่า ผมบ้า มึงรักชาติไปคนเดียวไป
ผมนึกน้อยใจแทนประเทศนี้เหมือนกัน ที่ประชาชนมันไม่มีจิตสำนึกเพื่อชาติบ้านเมืองบ้าง


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: Wachira1973 ที่ มิถุนายน 09, 2011, 01:32:41 PM
เรื่องของเรื่องก็คืออะไรๆในประเทศไทยเราดีหมด...ทั้งทรัพยากร,อาหารการกิน,ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ..ถึงปิดประเทศก็ไม่อดตาย เสียอยู่อย่างเดียว..
เพราะมี "นักการเมือง" อย่างที่ว่า(ไม่ว่าพรรคไหนๆ) บ้านเมืองเราถึงได้เป็นแบบนี้  ::014::


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: Skeleton_King ที่ มิถุนายน 09, 2011, 01:35:58 PM
คนดีเห็นแก่ส่วนรวมยังมีอีกมากมายครับ  อย่าไปสนใจกับคำพูดขอคนที่ไม่มีจิตสำนึกต่อส่วนรวมเลย   ::006::

เสียดายไม่ใช่หน้าสนทนาการเมือง ไม่งั้นจะจัดหนัก ::005::


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: krisanapong - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 09, 2011, 01:55:41 PM
 ::013::จริงครับที่ยังมีคนดีเห็นแก่ส่วนรวมอีกมากมายครับ แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่คนดีเหล่านั้นไม่มีโอกาสได้เข้ามาบริหารประเทศครับ
คงมีแต่ไอ้ควาย 2 ตัวนั้น และเทือกเถาเหล่ากอสิงสาราสัตว์/พรคพวก/บริวารของมันเหล่านั้นที่ผลัดเปลี่ยนกันผูกขาด/ยึดกุมประเทศไทยไปเป็นสมบัติ/ธุรกิจของพวกมัน ::006::


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ มิถุนายน 09, 2011, 02:36:11 PM
ผมว่า ประเด็นของคำถาม น่าจะเป็น "ประเทศล่มจม เป็นแบบไหนถึงจะเรียกว่า ล่มจม "

ส่วนชาวนา หรือใครต่อใครที่เริ่มปรากฏ และแสดงตัวมากขึ้นทุกทีในสังคมไทย ไม่ควรค่าพูดถึง


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: Pandanus ที่ มิถุนายน 09, 2011, 03:00:06 PM
บุญมาร่ำลาบุญมี   ว่าจงโชคดีบุญมีเพื่อนข้า
ข้าไม่เอาแล้วอาชีพทำนา  ขายไปดีกว่าราคามันกำลังดี

บุญมีก็ทักท้วงบุญมา  อาชีพทำนาของสังกะสาสังกะสี
ที่ทางผู้เฒ่าก็ยกให้ฟรี  หากว่าเราขายที่ก็เท่ากับขายลืมคุณ

ญี่ปุ่นมันร้ายแขวนซามูไร หมดสิ้นสมัยจะชักดาบไล่ฟัน
ขายแมงกะไซด์เอาเงินไทยซื้อที่  อีกไม่นานประเทศนี้ ก็ตกเป็นของมัน

บุญมาขำคำบุญมี   ฟังดูเข้าทีแต่เป็นไปไม่ได้
มันซื้อเรามันจะเอาไปไหน  ยกไปไม่ได้ยังอยู่เมืองไทยบ้านเรา

บุญมีก็สุดจะชี้ทางออก  บุญมามันบอกนั้นมันก็ถูกของเขา
ทั้งตำบลคงจะเหลือแต่เรา   บุญมีใจเศร้าลงนั่งเฝ้าเถียงนา

ตามเนื้อเพลงที่ยกมาข้างบน อุปมาเพื่อให้เห็นความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น

ครั้งนั้น เป็นเรื่องขายที่ดินให้ต่างชาติ  ครานี้ เป็นเรื่องคำนิยม "ประเทศชาติล่มจม"


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: submachine -รักในหลวง- ที่ มิถุนายน 09, 2011, 03:08:08 PM
วันนี้ได้คุยกับชาวนาเรื่องนโยบายประชานิยมที่พรรคการเมืองต่างนำเสนอแข่งกันอยู่ แต่ละโครงการใช้งบประมาณมหาศาลทั้งนั้น ทำยังกับว่าบ้านเรามันรวยนักเหรอ ทำแบบนี้เดี๋ยวประเทศก็ล่มจม คำตอบที่ได้คือ ประเทศล่มจมก็ช่างมัน เราไม่ได้ล่มจมด้วยซักหน่อย ฟังทีแรกก็สะอึกกับความคิดของชาวนาคนนี้ครับ แต่พอกลับมานึกดีๆ ตัวเราเข้าใจคำว่าประเทศล่มจมแค่ไหน

ที่แน่ๆ คงไม่เหมือนบริษัทล่มจมแน่ เพราะบริษัทล่มจมอย่างมากก็ล้มละลาย ขายของ เอาเงินใช้หนี้เขาเท่าที่ใช้ได้ แล้วก็เลิกกิจการไป แต่ชาติล่มจม เราไม่สามารถขายประเทศใช้หนี้เขาได้  ยังไงก็ยังเป็นประเทศไทยอยู่  เลิกกิจการก็ไม่ได้ แล้วความหมายของประเทศล่มจมคือ เหตุการณ์ไหนกันแน่ แล้วเราเข้าใจกันดีหรือยัง  ::014::

พระท่านว่าบัวมี่สี่เหล่าครับพี่
มองบัวดีๆ มองให้เห็นชัดๆ แล้วจะรู้ว่าควรทำอย่างไร
พระท่านสอนไว้แล้ว


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 09, 2011, 08:15:54 PM
จริงแล้วเหตุที่ตั้งกระทู้นี้เนื่องจากเห็นนโยบายของแต่ละพรรคการเมือง เอาประชานิยมเป็นหลักทั้งนั้น โดยเฉพาะพรรคสีแดง แต่ละนโยบายใช้เงินมหาศาล ถ้าเป็นโครงการที่มองผลระยะยาว อย่างสร้างระบบชลประทาน สร้างเขื่อน ส่งเสริมพลังงานทดแทน รถไฟรางคู่ หรือการลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตของประเทศ ทำให้เราแข่งขันกับนานาประเทศได้ในระยะยาว อันนี้น่าสนับสนุน แต่นโยบายของแต่ละพรรค มีแต่เล็งผลระยะสั้นทั้งนั้น ทั้งเพิ่มค่าแรง ทั้งบัตรเครดิตชาวนา ทั้งปลดหนี้ ทั้งจำนำสินค้าเกษตร เหล่านี้มีแต่จะทำให้ต้นทุนสินค้าในประเทศเราสูงขึ้น  พอราคาสินค้าบ้านเราสูง เงินเฟ้อสูง ทุนจากต่างประเทศก็ออกนอกประเทศหมด สินค้าบ้านเราแพง ก็ส่งออกลำบาก แข่งกับใครเขาไม่ได้ พอส่งออกไม่ได้ ก็ไม่มีเงินเข้าประเทศ ยิ่งต้นทุนค่าแรงค่าวัตถุดิบแพง บ้านเรายิ่งน่าสนใจน้อยลงในแง่ความน่าลงทุน 



หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 09, 2011, 09:30:49 PM
ที่ต้องการจะบอกคือว่าเรามองนโยบายประชานิยมนี้ยังไง ถ้านักการเมืองเอาคำว่าช่วยชาวบ้าน ช่วยเกษตรกรมาอ้าง แล้วตั้งนโยบายแจกเงินมาล่อ เพียงเพื่อให้ตัวเองได้รับเลือกเข้ามาเป็นรัฐบาล โดยไม่สนว่านโยบายที่ทำนั้นมันจะสร้างผลเสียกับระบบเศรษฐกิจยังไง ทั้งเงินเฟ้อ ทั้งหนี้สาธารณะ ทั้งที่เป็นการใช้งบประมาณ เพื่อทำให้ประเทศเราอ่อนแอลง ประชาชนอยู่ไม่ได้ถ้าไม่ได้ความช่วยเหลือจากรัฐบาล  เรามองออกมั้ยว่านโยบายเหล่านี้มันจะได้ผลเพียงระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้วมีแต่ผลเสีย ทั้งยังต้องใช้งบประมาณมหาศาล แถมยังเปิดช่องให้เกิดการโกงกินครั้งใหญ่ที่สุด เพราะทำกันตั้งแต่รากหญ้า คือชาวนา ยันรัฐมนตรี  เรื่องเหล่านี้เรารู้ตัวกันหรือเปล่าว่าบ้านเรากำลังจะเดินไปสู่ความล่มจม


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 09, 2011, 09:31:57 PM
ที่ต้องการจะบอกคือว่าเรามองนโยบายประชานิยมนี้ยังไง ถ้านักการเมืองเอาคำว่าช่วยชาวบ้าน ช่วยเกษตรกรมาอ้าง แล้วตั้งนโยบายแจกเงินมาล่อ เพียงเพื่อให้ตัวเองได้รับเลือกเข้ามาเป็นรัฐบาล โดยไม่สนว่านโยบายที่ทำนั้นมันจะสร้างผลเสียกับระบบเศรษฐกิจยังไง ทั้งเงินเฟ้อ ทั้งหนี้สาธารณะ ทั้งที่เป็นการใช้งบประมาณ เพื่อทำให้ประเทศเราอ่อนแอลง ประชาชนอยู่ไม่ได้ถ้าไม่ได้ความช่วยเหลือจากรัฐบาล  เรามองออกมั้ยว่านโยบายเหล่านี้มันจะได้ผลเพียงระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้วมีแต่ผลเสีย ทั้งยังต้องใช้งบประมาณมหาศาล แถมยังเปิดช่องให้เกิดการโกงกินครั้งใหญ่ที่สุด เพราะทำกันตั้งแต่รากหญ้า คือชาวนา ยันรัฐมนตรี  เรื่องเหล่านี้เรารู้ตัวกันหรือเปล่าว่าบ้านเรากำลังจะเดินไปสู่ความล่มจม


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 09, 2011, 09:41:43 PM
ประเด็นของกระทู้นี้ก็คือ เรารู้ตัวกันหรือเปล่าว่านโยบายเหล่านี้กำลังจะสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจอย่างหนัก หรือเพียงถูกนักการเมืองบอกว่านโยบายเหล่านี้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร แล้วก็เห็นดีเห็นงามไปว่าชาวบ้านได้ประโยชน์ เงินถึงมือชาวบ้านก็เพียงพอแล้ว

ผมว่าอันนี้แหละคือต้นเหตุของความล่มจมของประเทศที่แท้จริง 

นักการเมืองพูดเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองเพื่อให้ได้รับเลือก อันนี้เข้าใจได้  ส่วนชาวบ้านชื่นชมดีใจ เพราะได้รับผลประโยชน์เต็มๆ อันนี้ก็พอเข้าใจ แต่ที่น่าห่วงที่สุดคือ ระดับกลางที่มีความรู้ถึงระดับหนึ่ง คนที่เป็นผู้นำทางความคิดอย่างสื่อมวลชน  หรือคนที่อยู่ในฐานะของคนที่เสียภาษีอย่างพ่อค้า หรือคนทำงานกินเงินเดือน ทั้งที่คนเหล่านี้เสียภาษีโดยตรงน่าจะหวงเงินภาษีมากที่สุด เพราะเกิดจากน้ำพักน้ำแรง แถมยังมีความรู้มากพอ  กลับมองไม่เห็นถึงอันตรายที่แฝงอยู่ในนโยบายเหล่านี้ว่าจะทำความเสียหายได้ขนาดไหน  เพียงเพราะคำว่าช่วยเหลือเกษตรกรบังหน้าเท่านั้นเอง 
 เรามองแต่ผลดีว่าเกษตรกรขายสินค้าได้ราคาแพงก็น่าจะดี แต่เราลืมมองว่ามันจะก่อให้เกิดผลเสียอะไรบ้าง แล้วมันคุ้มกันรึเปล่า โลกนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆหรอกครับ


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 09, 2011, 09:44:39 PM
เห็นนโยบายประชานิยมของแต่ละพรรค แล้วหวั่นใจครับ แต่ที่น่ากลัวยิ่งกว่า คือการสนับสนุนจากคนที่น่าจะเรียกได้ว่าระดับปัญญาชน หรือ อย่างดีก็เฉยๆ ไม่รู้สึกอะไร ไม่เกี่ยวกะเรา (เหมือนชาวนาคนนี้)


ถึงต้องมาตั้งคำถามนี้ครับ เรารู้จักความหมายของคำว่าประเทศชาติล่มจมกันจริงๆหรือเปล่า


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ มิถุนายน 09, 2011, 09:52:20 PM
เพราะชาวบ้านถูกปล่อยวางมานานเกินไปไงครับนักการเมืองกี่คนเข้ามาก็หวังแต่กอบโกย  กี่ยุคกี่สมัยชาวนาก็ยังจนเหมือนเดิมจะให้เค้าคิดไกลไปกว่าวันพรุ่งนี้ค่อนข้างยาก พอมีคนมาหยอดน้ำเลี้ยงให้ก็เลยเทใจไปให้หมด   


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: kensiro ที่ มิถุนายน 09, 2011, 09:55:39 PM
เพราะชาวบ้านถูกปล่อยวางมานานเกินไปไงครับนักการเมืองกี่คนเข้ามาก็หวังแต่กอบโกย  กี่ยุคกี่สมัยชาวนาก็ยังจนเหมือนเดิมจะให้เค้าคิดไกลไปกว่าวันพรุ่งนี้ค่อนข้างยาก พอมีคนมาหยอดน้ำเลี้ยงให้ก็เลยเทใจไปให้หมด   

ใช่ เพราะบ้านผมก็ทำนา

คำว่า ประกันราคาข้าว

กับ คำว่าส่วนต่าง  ( มีแต่คนต้องการอันนี้ )


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: Skeleton_King ที่ มิถุนายน 09, 2011, 10:50:21 PM
ถ้าใช้คำว่าล่มจม  คงเปรียบประเทศเป็นเรือครับ   ผู้นำก็คือกัปตันถ้าเปรียบเป็นประเทศก็คือนายก   ถ้านายกดีแต่ฝีพายไม่ดีไม่ถูกกับฝีพายเรือมันก็ไปไม่ได้ ถึงไปได้ก็ไม่ดี  แต่ถ้าคนนำเรือพาไปชนก้อนหินเรือก็ล่ม คนในเรือก็ตายหมด  เปรียบได้กับผู้บริหาร เอาแต่ทุจริตโกงกิน นำพาประเทศไปสูหายนะ  ก็ไม่ต่างอะไรกับเรือจม ที่ทุกคนในเรือต้องตายหมด หรือไม่ต่างชาติก็จะมาครอบครองเพราะช่วยกู้ซากเรือ  อุปมาอุปไม นะครับ


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: deore XT ที่ มิถุนายน 10, 2011, 04:27:32 AM
- นักการเมืองที่มีนโยบายเพื่อคนยากจน ด้อยโอกาส ถูกรัฐประหารล้มล้างอำนาจ

- ชนชั้นสูงออกมาระบุ คนรากหญ้าไม่ควรมีคะแนนเสียง 1 เสียง เทียบเท่าพวกเขา

- คนบางพวกเห็นชีวิตผู้ชุมนุม คนยากจน ไม่มีค่า ไม่ให้ความสำคัญ

- ทั้งหลายนั้นใช้คำว่า รักชาติ ชาตินิยม ทำเพื่อชาติ ใครแตกต่างไปคือพวกไม่รักชาติ ไม่ใช่คนไทย  ฯลฯ


จึงไม่มีความซาบซึ้งอะไรกับวาทะกรรมประเภท ชาติล่มจม

เมื่อคิดว่าชาติผูกขาดเป็นของคนบางพวก จะเป็นอะไรจึงไม่เกี่ยว ไม่มีส่วน

แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนัก อยู่ที่เราจะถ่างรอยแตกแยกให้กว้างออกไปอีก

หรือจะเปิดใจกว้าง สร้างความเข้าอกเข้าใจกัน ซึ่งมันก็ยาก แต่ก็ควรกระทำครับ


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ มิถุนายน 10, 2011, 08:07:27 AM
- นักการเมืองที่มีนโยบายเพื่อคนยากจน ด้อยโอกาส ถูกรัฐประหารล้มล้างอำนาจ

- ชนชั้นสูงออกมาระบุ คนรากหญ้าไม่ควรมีคะแนนเสียง 1 เสียง เทียบเท่าพวกเขา

- คนบางพวกเห็นชีวิตผู้ชุมนุม คนยากจน ไม่มีค่า ไม่ให้ความสำคัญ

- ทั้งหลายนั้นใช้คำว่า รักชาติ ชาตินิยม ทำเพื่อชาติ ใครแตกต่างไปคือพวกไม่รักชาติ ไม่ใช่คนไทย  ฯลฯ


จึงไม่มีความซาบซึ้งอะไรกับวาทะกรรมประเภท ชาติล่มจม

เมื่อคิดว่าชาติผูกขาดเป็นของคนบางพวก จะเป็นอะไรจึงไม่เกี่ยว ไม่มีส่วน

แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนัก อยู่ที่เราจะถ่างรอยแตกแยกให้กว้างออกไปอีก

หรือจะเปิดใจกว้าง สร้างความเข้าอกเข้าใจกัน ซึ่งมันก็ยาก แต่ก็ควรกระทำครับ


นานๆ จะเห็นคุณมดแดงตอบอะไรเข้าท่าครับ...

บุคคลตามตัวแดงใน Quote แยกออกเป็น 4 กลุ่มตาม 4 Bullet นั้นแหละ... บุคคลทั้ง 4 กลุ่มนั้นมีบางส่วนเกยกันไปเกยกันมาไม่สังกัดกลุ่มที่แน่นอน แล้วแต่จะได้ประโยชน์เมื่อสังกัดกลุ่มไหนในเวลาใด, แต่ทั้งหมดคือพวกที่ถ่างความแตกแยกให้ห่าง...

เสนอคุณมดแดงครับ ว่าให้ช่วยรณรงค์โหวต No ให้หมดครับ, ไม่เอาพวกมันทั้งหมดนั่นแหละ... พวกที่แฝงกับเสื้อสีบางสีแล้วชักชวนให้โหวต No และหวังว่าจะได้ประโยชน์ ก็จะไม่ได้ประโยชน์เมื่อโหวต No แยะพอ เพราะจะเกิดสูญากาศทางอำนาจ แล้วเมื่อนั้นอำนาจจะเป็นของประชาชนตัวจริง...

แต่มีประเด็นที่น่าคิดว่าบุคคลมี 4 ประเภทตามบัว 4 เหล่าของศาสนาพุทธ, เหล่าที่ 4 อยู่ใต้น้ำนั้นแหละ จะทำอย่างไรกับพวกนี้ดี หากให้พวกนี้มีสิทธิ์มีเสียงเท่ากันกับบัวเหล่าอื่น มันก็จะกลายเป็นพวกมากลากลงเหววววววว... คุณมดแดงแก้ปัญหาให้ที...

คุณมดแดงจะทำไงดี, บอกตรงๆว่าหากมีคนให้นายสมชายยืนหน้าเวทีบัวเหล่าที่ 4 แค่ไม่เกิน 3 ชั่วโมง รับรองว่านายสมชายมีวิธีพูดให้มันเผาบ้านคุณมดแดงแหงๆ... นี่แหละปัญหา...


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 10, 2011, 10:37:21 AM
ขอยกตัวอย่างนโยบายช่วยคนยากจนของพรรคสีแดงหน่อยนะครับ  แล้วแต่จะเห็นสมควร
จำตอนที่คุณมิ่งขวัญเป็น รมต พาณิชย์ได้มั้ยครับ ตอนนั้นราคาข้าวอยู่ที่ประมาณ 9000 บาทต่อตัน  ซึ่งถ้าเทียบกับต้นทุนการผลิตก็อยู่ในรับที่ดีแล้ว แต่รัฐบาลไทยรักไทย ประกาศรับจำนำข้าวตันละ 12000 บาท (ชื่อว่าจำนำแต่จริงๆแล้วเหมือนการรับซื้อจากรัฐบาล) ทำให้ดึงราคาข้าวในประเทศขึ้นไปถึง 10000 บาทต่อตัน  ประชาชนชาวบ้านต่างยินดีกันถ้วนหน้า เพราะเชื่อว่าชาวนาจะลืมตาอ้าปากได้


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 10, 2011, 10:38:12 AM

ที่ราคาข้าวนอกโครงการแพงขึ้นได้ก็เพราะเขาซื้อไปยัดโครงการรับจำนำกันครับ ชาวนาที่มีโควตาเหลือ ก็หาซื้อข้าวจากนอกโครงการเอามาขายให้โรงสี หรือถ้าขี้เกียจ ก็เอาใบโควตามาขายให้โรงสี หรือพ่อค้า พ่อค้าก็หาซื้อข้าวจากข้างนอกโครงการถูกๆไปเข้าโครงการจำนำ รับส่วนต่างไปเนื้อๆ ชาวนาได้เงินค่าโควตาประมาณตันละละ 900 บาท (บ้านผม) ชาวนาหนึ่งคนได้โควตาตอนนั้น คนละ 50 ตัน แปลว่าสามารถขายโควตาได้ 45000 บาทต่อ ฤดู โดยไม่จำเป็นต้องทำนาจริง  พอมองเห็นความมโหฬารของการโกงกินครั้งนี้มั้ยครับ


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 10, 2011, 10:39:09 AM
ผลกระทบที่เกิดจากข้าวแพง ทำให้การส่งออกข้าวไทยช่วงนั้นดิ่งเหว เพราะพอราคาข้าวสารในประเทศขึ้น ผู้ส่งออกก็จำเป็นต้องตั้งราคาขายแพง ราคาเดิมอยู่ที่ 600 เหรียญ พอรัฐบาลจำนำข้าว ผู้ส่งออกไทยต้องตั้งราคาขายอยู่ที่ 700 เหรียญ ทำให้ขายไม่ออก หันไปซื้อเวียดนามกันหมด เพราะราคาถูกกว่า จนเวียดนามแทบจะมีข้าวไม่พอขายต้องจำกัดการส่งออก
   ข้าวที่รัฐบาลซื้อไปไหนครับ เอาไปจ้างโรงสีแปรรูป แล้วเก็บไว้ในโกดัง เสียค่าจ้างเก็บ ค่ารักษา ตอนนั้นสต็อกประเทศไทยมีข้าวอยู่เกือบสิบล้านตัน เก็บไว้ในโกดังของรัฐบาล ผลกระทบจากการมีข้าวล้นโกดังทำให้ข้าวไทยราคาเริ่มตก ขายก็ขายไม่ได้เพราะซื้อมาแพง  ถ้าขายเดี๋ยวขาดทุน แล้วการที่สต็อกมหาศาลทำให้ไม่สามารถปล่อยของออกไปได้ เพราะจะยิ่งทำให้ข้าวราคาตกอีก เสียคะแนน ก็เลยต้องเก็บไปเรื่อยๆ (ตอนนั้นรัฐบาลจ่ายเงินกับโครงการนี้ไปประมาณ แสนสองหมื่นล้าน) รัฐมนตรีพาณิชย์ไม่เดือดร้อนอยู่แล้ว เพราะเดี๋ยวก็ออก  แต่สถานะการของข้าวไทยเริ่มแย่ เพราะถูกกดดันจากสต็อกมหาศาล


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 10, 2011, 10:39:56 AM
พอราคาข้าวเริ่มตก ข้าวไทยขายไม่ออกเพราะแพงกว่าชาวบ้าน แถมสต็อกยังบานตะไท ก็ออกทีวีบอกว่าจะเจรจาขายข้าวให้ได้ ตันละ 1000 เหรียญ ลองคิดดูนะครับ ถ้าท่านเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์ประเทศอื่น แล้วก็รู้ทั้งรู้ว่าราคาตลาดมันอยู่ที่ 700 แถมถ้าชอบของถูกก็ซื้อเวียดนามได้แค่ 600 แต่ไทยหน้าด้านไปขอขายข้าวให้เค้า (เจ้มิ่ง เรียกว่าเจรจา ) ตันละ 1000 เค้าจะทำหน้าสมเพชเราขนาดไหน แค่นึกก็อายแทนประเทศแล้วครับ  เชื่อกันจริงๆเหรอครับ ว่าเขาจะทำได้ พอมีปัญหามากๆเข้า นักข่าวไปถาม เจ๊มิ่งแกตอบว่า “ผมเจ็บมาเยอะแล้ว ไม่ขอพูดอะไรอีก” อันนี้แถวบ้านผมเรียกชิ่งครับ  ทิ้งปัญหาไว้ให้ รมต คนต่อไปมาแก้  ช่วงนี้เป็นช่วงที่คนไม่ค่อยพูดถึงโครงการรับจำนำแล้ว เพราะปัญหาเริ่มมากจนส่งผลกระทบ คนที่รับกรรมคือรัฐบาลชุดต่อมาที่ต้องเข้ามาแก้ปัญหาข้าวล้นสต็อก  เก็บไว้ก็เปลืองงบประมาณมีแต่จะเสื่อมคุณภาพไปเรื่อย  ระบายออกก็ทำให้ราคาข้าวตก แถมยังโดนข้อหาทำให้ราคาข้าวถูก ทั้งๆที่เป็นปัญหาที่เริ่มจากโครงการรับจำนำ


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 10, 2011, 10:41:15 AM
ชาวนาไทยพอเห็นราคาข้าวแพงก็หน้ามืด เคยทำนาปีละสอง ก็เพิ่มเป็นสามครั้ง  เลิกคิดเรื่องการพักหน้าดิน  พอผลผลิตตกก็อัดปุ๋ยเคมี (ซื้อเค้ามาทั้งนั้น)  น้ำไม่พอก็เจาะบ่อ เสียค่าใช้จ่ายเท่าไรก็ยอม ที่นาค่าเช่าแพงก็เอา ปุ๋ยแพง ยาแพงก็ยอมซื้อ  ผลผลิตต่อไร่ก็ต่ำ เพราะดินขาดธาตุอาหาร ยิ่งทำให้ต้นทุนต่อตันแพงขึ้นไปอีก ทำนาจริงๆแล้วควรจะได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 1000 กก ต่อไร่ แต่กลับได้แค่ 300 – 700 กก ต่อไร่ ทำให้หารต้นทุนต่อตันแพง  ต้นทุนสูง ผลผลิตต่ำ ก็ขาดทุน  พอขาดทุนก็โทษว่าเพราะข้าวราคาต่ำ เพราะโรงสีกดราคา รัฐบาลไม่ช่วยเหลือ ทำให้ชาวนายากจน แล้วก็ต้องให้รัฐบาลมาช่วย เมื่อก่อนข้าวตันละ 6000 ขายได้ (ตอนนั้นน้ำมันขึ้นมาแล้ว) มาวันนี้ต้องให้ได้หมื่นห้า ถึงจะอยู่ได้ จริงๆแล้วชาวนารวยๆก็มีครับ ทำนาสอง สามร้อยไร่ มีรถไถ รถเกี่ยวข้าว แต่ชาวนาที่ทำนาจนรวยเขาไม่เรียกชาวนาครับ พอรวยแล้วชาวบ้านเค้าก็หาว่าเป็นนายทุน จะไม่รวยไงไหว ถ้า เน้นว่าถ้านะครับ ทำนาได้ไร่ละ 1000 กก หักค่าใช้จ่ายแล้วได้กำไรไร่ละประมาณ สามพันบาท (ราคาข้าวประมาณ 7000 ) ทำนาสองร้อยไร่ ปีละสองรอบ ได้เงินปีละล้านสอง ถ้ามีรถไถ รถเกี่ยวเอง ก็ลดต้นทุนได้อีก แถมยังรับจ้างเขาไถนา เกี่ยวข้าวได้อีก ทุกวันนี้คนจบ ป โท 100 คน มีรายได้เดือนละแสนซักกี่คนเชียว แต่ที่ชาวนายังยากจน เพราะผลผลิตต่อไร่ต่ำครับ ได้ไร่ละ 500-600 กก  ถ้าเจอน้ำท่วม หรือแล้ง หรือหนาว ก็อาจเหลือไร่ละ 100 กก ก็เป็นไปได้ หรือหนักๆก็ไม่ได้เลย เหตุผลก็อย่างที่ได้กล่าวตอนต้นนั้นแล


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: ARTANY ที่ มิถุนายน 11, 2011, 12:38:28 AM
ความรู้ + ข้อคิด + มุมมอง = ประโยชน์

ขอขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ.


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: SillyOldMan ที่ มิถุนายน 11, 2011, 01:12:41 AM
บอกว่าประเทศชาติล่มจมมันเป็นอย่างไร จะถูกบังคับสูบทรัพยากรอย่างไร ศักดิ์ศรีจะถูกหมิ่นไปกี่ชั่วรุ่นฯลฯชาวนาคนนั้นไม่สนใจหรอกครับ

ลองบอก"มัน"ว่าถ้าประเทสชาติล่มจม คนที่เสียภาษี(ซึ่งไม่ใช่พวกมึ*)ถูกสูบจนอยู่ไม่ได้ ก็จะไม่มีเงินมาพยุงราคาข้าวให้มัน ไม่มีเงินมาช่วยชดเชยส่วนต่างให้ปุ๋ยที่มันจะซื้อ ธกส.ก็จะปล่อยเงินให้มันกู้ไปออกกระบะยากขึ้น พอธนาคารถูกต่างชาติเข้าควบคุมกิจการมากๆเข้าก็จะไม่มีการพักชำระหนี้หรืออาจไม่มีการผ่อนผันให้อีกต่อไป ฯลฯ

แบบนี้มันถึงจะยอมเข้าใจครับ  ::009::


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ มิถุนายน 11, 2011, 04:36:46 PM
ล่าสุด... เห็นขึ้นป้ายหาเสียงว่าจะให้เกษตรกรมีบัตรเครดิตฯ... โหย...

เอาหนี้มาสุมหัวชาวนาอีกแล้วหนอ... เฮ้อ...


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ มิถุนายน 11, 2011, 04:42:22 PM
ล่าสุด... เห็นขึ้นป้ายหาเสียงว่าจะให้เกษตรกรมีบัตรเครดิตฯ... โหย...

เอาหนี้มาสุมหัวชาวนาอีกแล้วหนอ... เฮ้อ...
รอบนี้อาจจะหนักกว่าปี40ก็ได้นะครับ ::014:: ::014::


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 11, 2011, 09:06:11 PM
คราวที่แล้วจำนำข้าวใช้เงินไป แสนสองหมื่นล้าน รอบนี้ถ้าจำนำเท่าเดิมอาจต้องใช้เงินถึง แสนห้าหมื่นล้าน แต่ผมว่าไม่น่าจะต่ำกว่า สองแสนล้านด้วยซ้ำ เพราะมีตัวแปรหลายๆอย่างครับ

ข้อแรกโรงสีที่ได้เงินจากโครงการคราวที่แล้วขยายโกดัง ขยายเตาอบ เพื่อให้สามารถรับจำนำให้ได้มากที่สุด แต่พอดีโครงการมีปัญหาล้นสต็อกจนต้องเลิกไปก่อน

ข้อสองไทยเปิดเสรีนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ตามข้อตกลงอาเซียน ทำให้ข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาขายได้ คงไม่ต้องบอกนะครับ ว่ารับรองอยู่ในโกดังรับจำนำแน่ๆ  คราวนี้ข้าวไทยที่เคยคุยว่าดีกว่าเพื่อนก็อาจจะไม่ต่างแล้ว เพราะโดนข้าวจากเวียดนามเข้ามาสวมสิทธิ์

ข้อสามโรงสีที่ตั้งใหม่เพื่อทำโครงการรับจำนำโดยเฉพาะ ก็มีอยู่ครับ แต่ยังไม่ทันรับจำนำก็เลิกโครงการไปก่อน

ข้อสี่ชาวนา โรงสี พ่อค้า ข้าราชการ รู้ระบบกันแล้วครับ ถ้ามีโครงการอีกรับรองยอดกระฉูดแน่ๆครับ คราวที่แล้วราคาโครงการจำนำต่างกับราคาตลาดประมาณ สองพันต่อตัน แต่มาคราวนี้ ราคาตลาดอยู่ที่ 8400 ราคาจำนำ 15000 บาท จะเจ๊งอีกเท่าไร ลองคูณดูครับ


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 11, 2011, 09:29:07 PM
ปัญหาของประเทศเราตอนนี้คือ เรามองแต่ข้อดีของ โครงการที่ขึ้นต้นด้วยคำว่าช่วยเกษตรกร แต่ลองคิดดูว่าเงินระดับแสน สองแสนล้านใครจ่าย เพราะเรารู้สึกว่าเราไม่ได้จ่ายไงครับ รัฐบาลเอาเงินภาษีมาจ่าย แต่เงินเดือนเราเท่าเดิม เราก็เสียภาษีเท่าเดิม เหมือนเงินมันงอกมาได้ยังไงก็ไม่รู้ แต่จริงแล้วเราจ่ายไปโดยไม่รู้ตัวต่างหาก

การที่งบประมาณหายไปแสนล้าน ทำให้โครงการทำถนนกี่สายที่ต้องยกเลิก เพราะรัฐบาลไม่มีเงินจะมาทำ อาจจะเป็นเขื่อน คลองส่งน้ำ งบป้องกันประเทศ หรืองบพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ ก็ต้องถูกตัดไป เหล่านี้ทำให้ประเทศเรายิ่งพัฒนาช้าลง ประชาชนในชาติอ่อนแอลง เพราะพึ่งตนเองไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า ชาวนาลงทุนไปก็ขาดทุน เพราะต้นทุนดันแพงกว่าเค้า แต่ได้ผลผลิตต่ำกว่า

ถ้าลองเปลี่ยนใหม่ ลองทำประชามติดู รัฐบาลขอบริจาคเงินคนทั้งชาติคนละ 3% ของรายได้ เอามาทำโครงการรับจำนำ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (อาจจะมาในรูปการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือการเพิ่มอัตราภาษี ) จะมีซักกี่คนที่ยอมจ่ายเพื่อชาวนาจริงๆ หรือให้คนกรุงเทพยอมเสียสละงบทำรถไฟฟ้า ให้เอาเงินไปช่วยชาวนาก่อน คิดว่าจะยอมกันมั้ยครับ  

ถนนหน้าบ้านเราอาจจะไม่มีงบประมาณมาทำ มาซ่อมแซม เพราะงบประมาณถูกตัด เหล่านี้เป็นราคาที่เราต้องจ่ายครับ


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: Skeleton_King ที่ มิถุนายน 11, 2011, 10:02:45 PM
ล่าสุด... เห็นขึ้นป้ายหาเสียงว่าจะให้เกษตรกรมีบัตรเครดิตฯ... โหย...

เอาหนี้มาสุมหัวชาวนาอีกแล้วหนอ... เฮ้อ...

ภูมิใจไทยขึ้นป้าย  จะทำATM ในทุ่งไร่ทุ่งนา  รูปเป็นรูปต้นไม้ATM  ใต้ภาพบอกว่า กดปุ๊บเงินไหลปั๊บ   เหอะๆ คิดได้ไง


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 11, 2011, 10:07:06 PM
จริงๆแล้วผมไม่ได้ต่อต้านโครงการช่วยเหลือเกษตรกรนะครับ ถ้าเห็นว่าดีก็ทำไปเถอะครับ  ::014::

แต่ที่อยากให้เห็นก็คือ เราได้พิจารณาข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบกันครบด้านแล้วหรือยัง ไม่ใช่มองแต่ด้านดีของมัน โดยไม่มองผลเสียระยะยาวอันนี้ไม่ถูก วันหนึ่งผลกระทบมันก็ต้องย้อนกลับมาหาเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ถ้าโครงการจำนำ ทำให้ราคาข้าวขึ้นได้จริง ก็ยังมีคนอีกกลุ่มนึงที่เค้าก็เดือดร้อนจากข้าวแพงด้วยเหมือนกัน  หรือแม้กระทั่งชาวนาเอง ถ้าวันนึงข้าวล้นสต็อกของประเทศ จะทำให้ราคาข้าวตกต่ำต่อเนื่องไปอีกหลายปี

เรื่องจะเจรจาขายให้ได้ราคาอันนี้ลืมได้เลยครับ ราคาข้าวตลาดโลกตอนนี้ 550 เหรียญ ถ้ารับจำนำหมื่นห้าจริง ต้องขายให้ได้ราคาไม่ต่ำกว่า 1000 เหรียญ ต่อตัน คงไม่มีประเทศไหนโง่พอจะซื้อ เพราะรู้ทั้งรู้ว่าข้าวไทยกำลังล้นสต็อก  

รมต ที่ทำโครงการรับจำนำ ก็เปลี่ยนหน้าไป คนใหม่เข้ามาก็ไม่กล้าระบายข้าว เพราะ กลัวโดนข้อหาทำให้ราคาข้าวลง กับข้อหาขายข้าวขาดทุน สู้ทิ้งไว้ยังงั้นแหละ ไม่ขายก็ไม่ขาดทุน ไม่ต้องหาเรื่องใส่ตัว ทำทีว่าจะไปเจรจาประเทศนู้น ประเทศนี้ให้เห็นว่ากำลังขายข้าวอยู่ แต่จริงๆ ไม่มีใครยอมซื้อราคานั้นหรอกครับ  ลองคิดกลับกันถ้าเป็นเรา เราจะยอมซื้อมั้ย ของราคา 550 แต่จะมาหน้าด้านขายที่ราคา 1000


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: SEEZ ..รักในหลวง.. ที่ มิถุนายน 13, 2011, 06:49:47 PM
ปัญหาของประเทศเราตอนนี้คือ เรามองแต่ข้อดีของ โครงการที่ขึ้นต้นด้วยคำว่าช่วยเกษตรกร แต่ลองคิดดูว่าเงินระดับแสน สองแสนล้านใครจ่าย เพราะเรารู้สึกว่าเราไม่ได้จ่ายไงครับ รัฐบาลเอาเงินภาษีมาจ่าย แต่เงินเดือนเราเท่าเดิม เราก็เสียภาษีเท่าเดิม เหมือนเงินมันงอกมาได้ยังไงก็ไม่รู้ แต่จริงแล้วเราจ่ายไปโดยไม่รู้ตัวต่างหาก

การที่งบประมาณหายไปแสนล้าน ทำให้โครงการทำถนนกี่สายที่ต้องยกเลิก เพราะรัฐบาลไม่มีเงินจะมาทำ อาจจะเป็นเขื่อน คลองส่งน้ำ งบป้องกันประเทศ หรืองบพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ ก็ต้องถูกตัดไป เหล่านี้ทำให้ประเทศเรายิ่งพัฒนาช้าลง ประชาชนในชาติอ่อนแอลง เพราะพึ่งตนเองไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า ชาวนาลงทุนไปก็ขาดทุน เพราะต้นทุนดันแพงกว่าเค้า แต่ได้ผลผลิตต่ำกว่า

ถ้าลองเปลี่ยนใหม่ ลองทำประชามติดู รัฐบาลขอบริจาคเงินคนทั้งชาติคนละ 3% ของรายได้ เอามาทำโครงการรับจำนำ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (อาจจะมาในรูปการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือการเพิ่มอัตราภาษี ) จะมีซักกี่คนที่ยอมจ่ายเพื่อชาวนาจริงๆ หรือให้คนกรุงเทพยอมเสียสละงบทำรถไฟฟ้า ให้เอาเงินไปช่วยชาวนาก่อน คิดว่าจะยอมกันมั้ยครับ 

ถนนหน้าบ้านเราอาจจะไม่มีงบประมาณมาทำ มาซ่อมแซม เพราะงบประมาณถูกตัด เหล่านี้เป็นราคาที่เราต้องจ่ายครับ
จริงๆแล้วผมไม่ได้ต่อต้านโครงการช่วยเหลือเกษตรกรนะครับ ถ้าเห็นว่าดีก็ทำไปเถอะครับ  ::014::

แต่ที่อยากให้เห็นก็คือ เราได้พิจารณาข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบกันครบด้านแล้วหรือยัง ไม่ใช่มองแต่ด้านดีของมัน โดยไม่มองผลเสียระยะยาวอันนี้ไม่ถูก วันหนึ่งผลกระทบมันก็ต้องย้อนกลับมาหาเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ถ้าโครงการจำนำ ทำให้ราคาข้าวขึ้นได้จริง ก็ยังมีคนอีกกลุ่มนึงที่เค้าก็เดือดร้อนจากข้าวแพงด้วยเหมือนกัน  หรือแม้กระทั่งชาวนาเอง ถ้าวันนึงข้าวล้นสต็อกของประเทศ จะทำให้ราคาข้าวตกต่ำต่อเนื่องไปอีกหลายปี

เรื่องจะเจรจาขายให้ได้ราคาอันนี้ลืมได้เลยครับ ราคาข้าวตลาดโลกตอนนี้ 550 เหรียญ ถ้ารับจำนำหมื่นห้าจริง ต้องขายให้ได้ราคาไม่ต่ำกว่า 1000 เหรียญ ต่อตัน คงไม่มีประเทศไหนโง่พอจะซื้อ เพราะรู้ทั้งรู้ว่าข้าวไทยกำลังล้นสต็อก 

รมต ที่ทำโครงการรับจำนำ ก็เปลี่ยนหน้าไป คนใหม่เข้ามาก็ไม่กล้าระบายข้าว เพราะ กลัวโดนข้อหาทำให้ราคาข้าวลง กับข้อหาขายข้าวขาดทุน สู้ทิ้งไว้ยังงั้นแหละ ไม่ขายก็ไม่ขาดทุน ไม่ต้องหาเรื่องใส่ตัว ทำทีว่าจะไปเจรจาประเทศนู้น ประเทศนี้ให้เห็นว่ากำลังขายข้าวอยู่ แต่จริงๆ ไม่มีใครยอมซื้อราคานั้นหรอกครับ  ลองคิดกลับกันถ้าเป็นเรา เราจะยอมซื้อมั้ย ของราคา 550 แต่จะมาหน้าด้านขายที่ราคา 1000
+ 1 ครับ     แต่จะมีใครสักกี่คนละครับที่คิดได้ถึงขนาดนี้    ที่บ้านแม่ยายผม  ตอนนี้มีแต่คนพูดถึงจะได้ขายข้าวตันละ 15,000  โดยไม่คิดว่า ปุ๋ย,ยาฉีดพ่นต่างๆ,ค่าเช่านา   จะขึ้นไปอยู่ที่เท่าไหร่ จะมีบัตรเครดิสใช้โดยไม่ต้องชำระ  เดี๋ยวรัฐก็ยกหนี้ให้เอง  ผมได้ยินแล้วพูดไม่ออกจริงๆ ครับ ::004:: ::004::


หัวข้อ: Re: คำว่าประเทศชาติล่มจม เข้าใจความหมายที่แท้จริงกันไหม
เริ่มหัวข้อโดย: pehtor ที่ มิถุนายน 18, 2011, 09:24:28 AM
ขออีกนิดนะครับ  ;D เราทำให้ทุกคน หรือคนส่วนใหญ่รวยด้วยวิธีนีี้ไม่ได้ครับ อย่างการเพิ่มค่าแรง  การเพิ่มเงินเดือน การเพิ่มกำไร โดยไม่เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต เหตุผลก็คือ เรื่องของเงินเฟ้อครับ พอรายได้ของประชากรกลุ่มหนึ่งเพิ่มขึ้นมากะทันหัน จะทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นโดยอัตโนมัติ เหมือนกับประเทศเราพิมพ์แบงค์ขึ้นมาใช้เองมากขึ้น ทำให้มูลค่าของเงินถูกลงเมื่อเทียบกับมูลค่าของสินค้าในประเทศ ทีนี้ความเดือดร้อนจะเกิดกับประชากรกลุ่มที่ไม่ได้เงินเพิ่ม เพราะไม่ได้อะไรด้วย แถมเงินในกระเป๋ามีมูลค่าถูกลง  ::014:: :~)

ถ้าจะยกตัวอย่างก็มีให้ดูเรื่องการเพิ่มเงินเดือนข้าราชการครับ พอประกาศเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการ ราคาสินค้าจะแพงขึ้น ทั้งๆที่ไม่เกี่ยวกับต้นทุนอะไรของสินค้าเลย เคยงงกันไหมครับ ข้าราชการได้เงินเพิ่ม แต่สินค้าราคาขยับขึ้นตาม  สุดท้ายก็ซื้อของได้เท่าเดิม แต่คนอื่นที่รายได้เท่าเดิม จะซื้อสินค้าได้น้อยลง อันนี้ก็คือราคาที่ต้องจ่ายครับ   ::014:: ::014::