เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน

สนทนาภาษาปืน => หลังแนวยิง => ข้อความที่เริ่มโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ มิถุนายน 09, 2011, 04:49:24 AM



หัวข้อ: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ มิถุนายน 09, 2011, 04:49:24 AM
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  10579/2551
พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์
     โจทก์
นางอัญชลี บุญอุทิศ
     จำเลย
 
ป.วิ.อ. มาตรา 185
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26
 
          โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องปรากฏแต่เพียงว่า จำเลยเปิดแผ่นเอ็มพีสามและซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารได้ร้องและฟังเพลงของผู้เสียหาย 1 แผ่น “เพื่อประโยชน์ในทางการค้า” ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลยแต่ไม่ปรากฏในคำฟ้องว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลงโดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าวหรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จั้ดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6, 8, 15, 17, 31, 70, 76 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ริบของกลาง และสั่งจ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
          จำเลยให้การรับสารภาพ
          ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง พิพากษายกฟ้อง ของกลางคืนให้แก่เจ้าของ
          โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นปรากฏว่าจำเลยเปิดแผ่นเอ็มพี 3 และซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ร้องและฟังเพลงของผู้เสียหาย จำนวน 1 เพลง เพียง “เพื่อประโยชน์ในทางการค้า” ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลย ตามคำบรรยายฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลง โดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าว หรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
          พิพากษายืน.
 
 
( พรเพชร วิชิตชลชัย - พลรัตน์ ประทุมทาน - บุญรอด ตันประเสริฐ )
 
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายนทดล กิติกัมรา
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 :-\ จากฎีกาข้างต้น ผมมีข้อสงสัยว่า :-\
1. จำเลยผู้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว เมื่อศาลตัดสินว่าไม่มีความผิดตามฟ้องแล้ว สามารถฟ้องร้องค่าเสียหาย เช่นค่าเสียโอกาสทางการค้า (หากการกระทำในการจับกุมทำให้ต้องหยุดการให้บริการหรือไม่สามารถเปิดดำเนินการค้าขายได้ปกติชั่วคราวหรือถาวร) จากบริษัทหรือผู้ดำเนินการจับกุมได้หรือไม่
2. กรณีในการจับกุมทั่วไป มักมีการเรียกร้องเงิน เพื่อให้จบเรื่องหรือไม่ต้องมีการดำเนินคดีตามกระบวนการกฎหมายปกติ เราสามารถดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย กับการกระทำดังกล่าวได้หรือไม่
3. กรุณาช่วยแยกความแตกต่างระหว่าง "การกระทำเพื่อการค้า" และ "การกระทำเพื่อหากำไร" ว่าแตกต่างกันอย่างไร


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ มิถุนายน 09, 2011, 04:50:36 AM
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6380/2553
พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร
     โจทก์
นายจิรวัฒน์ สนิทมาก
     จำเลย
 
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 29, 31, 70 วรรคหนึ่ง, 70 วรรคสอง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26
ป.วิ.อ. มาตรา 158(5)
 
          การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 ต้องเป็นการกระทำแก่งานแพร่เสียงแพร่ภาพ ซึ่งหมายถึงงานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน ตามบทนิยามในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
          ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยนำเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย อันเป็นการกระทำเพื่อการค้าก็ตาม แต่การกระทำ “เพื่อการค้า” กับการกระทำ “เพื่อหากำไร” มีความหมายแตกต่างกันได้ ดังจะเห็นได้จากการที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติให้การละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 เพื่อการค้า ต้องระวางโทษหนักกว่าการกระทำเพื่อหากำไรตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง ทั้งตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาจะหากำไรโดยตรงจากการนำเพลงดังกล่าวออกแพร่เสียง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ไม่ครบถ้วนไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 5, 6, 8, 15, 27, 28, 29, 31, 69, 75, 76 ริบของกลาง และให้จ่ายค่าปรับตามคำพิพากษาแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
          จำเลยให้การปฏิเสธ
          ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง
          โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติ นายสงวนศักดิ์ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหาย นำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นร้านเมมโมรี่คอมพิวเตอร์ ซึ่งเปิดให้ลูกค้าใช้บริการอินเทอร์เน็ตและเกม โดยมีจำเลยเป็นผู้ควบคุมดูแล พบข้อมูลเพลงเอ็มพี 3 ซึ่งมีงานเพลงที่ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์  บันทึกอยู่ในหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ 9 เครื่อง ภายในร้าน  เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยพร้อมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า และยึดหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ 9 เครื่อง จอมอนิเตอร์ 1 จอ แผงแป้นอักขระ 1 แผง และเม้าส์ 1 อัน เป็นของกลาง นำส่งเจ้าพนักงานสอบสวนดำเนินคดี
            มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ฟ้องจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 นั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกแพร่เสียงซ้ำ และจัดให้ประชาชนฟัง โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อื่นทางการค้าจากบุคคลทั่วไป การกระทำที่จะเป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ต้องเป็นการกระทำแก่งานลิขสิทธิ์ประเภทงานแพร่เสียงแพร่ภาพ ซึ่งหมายความถึงงานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกันตามบทนิยามในมาตรา 4 แต่คำฟ้องโจทก์กล่าวเพียงว่า ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมกับสิ่งบันทึกเสียงเท่านั้น โดยไม่ได้กล่าวว่าเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเป็นงานแพร่เสียงแพร่ภาพ การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องในส่วนนี้ ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้  ส่วนที่โจทก์ฟ้อง จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 บัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” นั้นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แม้โจทก์บรรยายในฟ้องว่า จำเลยนำเพลงซึ่งบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย อันเป็นการกระทำเพื่อการค้าก็ตาม แต่การกระทำ “เพื่อการค้า” กับการกระทำ “เพื่อหากำไร” มีความหมายแตกต่างกันได้ ดังจะเห็นได้จากการที่มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 เพื่อการค้า ต้องระวางโทษหนักกว่าการกระทำเพื่อหากำไรตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง ทั้งตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาจะหากำไรโดยตรงจากการนำเพลงออกแพร่เสียง เป็นคำฟ้องที่บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ไม่ครบถ้วน ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539  มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
          ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อต่อไป  จำเลยกระทำความผิดฐานทำซ้ำดัดแปลงงานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 และ 28 หรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์มีนายสงวนศักดิ์ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหาย กับสิบตำรวจเอกอนุสรณ์เดินทางไปตรวจสอบที่ร้านพร้อมกับนายสงวนศักดิ์มาเบิกความ ผลการตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในร้านพบว่ามีเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายบันทึกอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานเพลง แต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบยืนยัน จำเลยเป็นผู้ทำซ้ำหรือดัดแปลงข้อมูลเพลงของผู้เสียหายโดยนำสิ่งบันทึกเสียงแผ่นซีดีรอมเอ็มพี 3 ซึ่งบันทึกเพลงอันเป็นงานลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ของกลาง แต่ปรากฏว่าร้านเป็นของนายวุฒินันท์ ทั้งในชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยเป็นผู้ทำซ้ำดัดแปลงงานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจริงตามฟ้องหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
          พิพากษายืน
 
 
( สมควร วิเชียรวรรณ - อร่าม เสนามนตรี - ไมตรี ศรีอรุณ )
 
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายอภิชาติ เทพหนู


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: aniki ที่ มิถุนายน 09, 2011, 06:05:17 PM
จากชีวิตจริงของผมที่ได้ผ่านมาหลายๆประเทศ  ทำให้มองเห็นเมืองไทยชัดๆอีกมุมหนึงคือ 1 คนไทยไม่ค่อยรู้สิทธิ์ของตัวเอง  เลยทำให้ขาดการใช้สิทธิ์นั้น  2เรื่องเกี่ยวกับศาล เมืองไทยของเราได้รับการพัฒนาและงบประมาณน้อยมาก  จึงขาดบุคลากรและสถานที่  ทั้งๆที่ประชากรและคดีเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย
แค่เรื่องจราจรอย่างเดียว  ถ้าหาข้อมูลด้านสติถิ  แล้วเราจะได้เห็นความแตกต่างชัดเจน  10ปีก่อนรถราไม่เยอะขนาดนี้  แต่จำนวนบุคลากรทางศาลไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก 

ทำให้เวลามีเรื่องราวแล้วจะทำให้ชาวบ้านเบื่อหน่าย  จึงละเลยสิทธิ์ไป  เรื่องที่นายใหม่ถามมาข้อ1และ2  ผมว่าสามารถทำได้  แต่ไม่ง่ายใช้เวลาและเงินเยอะมาก  จึงไม่มีใครอยากทำกัน

ผมอยู่ญี่ปุ่นจังหวัดที่ผมอยู่มีประชากร3ล้านคน  มีที่ทำการศาลอยู่หลายแห่ง  รวมๆห้องศาลตัดสินความ(เรียกไม่ถูกครับ)รวมๆแล้ว94ห้องครับ  เกิดคดีอะไรแล้วก็รวดเร็วมากครับ



หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ มิถุนายน 09, 2011, 08:07:20 PM
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  10579/2551
พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์
     โจทก์
นางอัญชลี บุญอุทิศ
     จำเลย
 
ป.วิ.อ. มาตรา 185
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26
 
          โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องปรากฏแต่เพียงว่า จำเลยเปิดแผ่นเอ็มพีสามและซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารได้ร้องและฟังเพลงของผู้เสียหาย 1 แผ่น “เพื่อประโยชน์ในทางการค้า” ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลยแต่ไม่ปรากฏในคำฟ้องว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลงโดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าวหรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จั้ดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6, 8, 15, 17, 31, 70, 76 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ริบของกลาง และสั่งจ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
          จำเลยให้การรับสารภาพ
          ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง พิพากษายกฟ้อง ของกลางคืนให้แก่เจ้าของ
          โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นปรากฏว่าจำเลยเปิดแผ่นเอ็มพี 3 และซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ร้องและฟังเพลงของผู้เสียหาย จำนวน 1 เพลง เพียง “เพื่อประโยชน์ในทางการค้า” ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลย ตามคำบรรยายฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลง โดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าว หรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
          พิพากษายืน.
 
 
( พรเพชร วิชิตชลชัย - พลรัตน์ ประทุมทาน - บุญรอด ตันประเสริฐ )
 
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายนทดล กิติกัมรา
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 :-\ จากฎีกาข้างต้น ผมมีข้อสงสัยว่า :-\
1. จำเลยผู้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว เมื่อศาลตัดสินว่าไม่มีความผิดตามฟ้องแล้ว สามารถฟ้องร้องค่าเสียหาย เช่นค่าเสียโอกาสทางการค้า (หากการกระทำในการจับกุมทำให้ต้องหยุดการให้บริการหรือไม่สามารถเปิดดำเนินการค้าขายได้ปกติชั่วคราวหรือถาวร) จากบริษัทหรือผู้ดำเนินการจับกุมได้หรือไม่
2. กรณีในการจับกุมทั่วไป มักมีการเรียกร้องเงิน เพื่อให้จบเรื่องหรือไม่ต้องมีการดำเนินคดีตามกระบวนการกฎหมายปกติ เราสามารถดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย กับการกระทำดังกล่าวได้หรือไม่
3. กรุณาช่วยแยกความแตกต่างระหว่าง "การกระทำเพื่อการค้า" และ "การกระทำเพื่อหากำไร" ว่าแตกต่างกันอย่างไร


ในฟ้องดังกล่าว    อัยการร่างฟ้องไม่ครบข้อหาฐานความผิด

เป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง  

ตอบตามคำถาม

1.สามารถฟ้องร้องได้    แต่จะชนะหรือไม่อยู่ที่พยานหลักฐานที่จะนำสืบในชั้นศาล

ถ้าข้อมูลเป็นแบบนี้   ฟ้องกลับเป็นการเปิดแผลใหม่ให้ตนเอง   ไม่เป็นผลดีครับ

คดีนี้อัยการบกพร่องเรื่องร่างคำฟ้องไม่ครบองค์ประกอบฐานความผิด  และนำสืบไม่ครบประเด็น

ศาลจึงยกฟ้อง   

2.คดีละเมิดลิขสิทธิ์  เป็นกฎหมายที่ยอมความกันได้   หากตกลงกันเองแล้ว  จะไปฟ้องกับใคร

ยกเว้นในการตกลงนั้น    เป็นไปโดยไม่ชอบ   ก็สามารถที่จะฟ้องร้องได้ตามฐานความผิด

อาจจะเป็นความผิดฐาน   กรรโชกทรัพย์   ฯลฯ

3.การกระทำเพื่อการค้า    คือการที่ได้ทรัพย์หรือประโยชน์จากการค้าขายโดยตรง

   การกระทำเพื่อหากำไร  อาจจะได้ทรัพย์หรือประโยชน์อื่นใดที่นอกเหนือจากการค้าขายตรง

   เช่นเราไปเที่ยวร้านคาราโอเกะ   ทางร้านมีการเก็บเงินค่าร้องเพลง   เพลงละ 10  บาท

   การกระทำของร้านดังกล่าว   เป็นการกระทำเพื่อหากำไรจากการละเมิดลิขสิทธิ์


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ มิถุนายน 09, 2011, 09:49:15 PM
 ::014:: ขอบคุณครับพี่ป้อม ::014::
 ;D คือเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว มีการตระเวณจับลิขสิทธิ์เพลงตามร้านอาหาร หมูกระทะ (ร้านผมรอดมีผู้ประสงค์ดีมาบอกก่อนหวุดหวิด) ในพื้นที่ แล้วเรียกรับเงินไปหลายสตางค์น่ะครับ ;D
 ;D แต่ก็ขอคำขยายความอีกหน่อยครับ ว่าในฎีกาดังกล่าว ฎีกาแรก เปิดเพลง "ตามคำขอของลูกค้า" และ "ให้ลูกค้าร้องเพลง" ซึ่งสถานที่ก็คือร้านอาหารของจำเลย กับฎีกาที่สอง "มีเพลงอยู่ในคอมพิวเตอร์ให้ลูกค้าได้เปิดฟังได้" กรณีทั้งสองนี้ไม่ได้เรียกเก็บเงินจากการให้บริการนั้น เหตุใดศาลจึงเห็นว่าไม่เข้าข่ายความผิดตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ 2531 มาตรา 29 (3) จัดให้ประชาชนฟังและหรือชมงานแพร่เสียงแพร่ภาพ โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นในทางการค้า ??? ซึ่งผมพอจะเข้าใจอยู่ว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 31 (การหากำไรจากงานอันละเมิดลิขสิทธิ์) เพราะไม่ไ่ด้เรียกเก็บเงินจากการเปิดฟังเพลงหรือให้ร้องเพลงนั่นโดยตรง แล้วกรณีใดถึงจะเข้าข่ายความผิด "เพื่อผลประโยชน์อย่างอื่นในทางการค้า" หรืออย่างกรณีร้านผมเอง ในการเปิดเพลงภายในร้าน เปิดไปเรื่อยเปื่อยแล้วแต่อยากจะเปิดเพลงอะไร ไม่ได้เรียกเก็บเงินในการเปิดเพลงนั้นจากลูกค้า ถ้าจะมีความผิด สามารถเอาผิดได้ในกรณีใดได้บ้างครับ ::014::


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ มิถุนายน 09, 2011, 10:10:51 PM
ตอบนายใหม่

กรณีมีเจ้าของลิขสิทธิ์   ร้องทุกข์แล้วชีให้จับกุมในความผิดซึ่งหน้าขณะเปิดเพลง

เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องจับกุมดำเนินการ     แล้วไปสู้คดีกันที่ศาล   จะหลุดหรือไม่ว่ากันภายหลัง

ผมว่าการที่เราเปิดเพลงในร้าน    น่าจะเป็นแผ่นที่ถูกกฎหมาย   ไม่ได้ก๊อปไว้ในคอม

ไม่ได้เป็นเอ็มพีสาม    น่าจะสู้คดีหลุดทุก ๆ  ศาล    ตามฏีกาที่สอง   ศาลก็ไม่ได้บอกว่าไม่ผิด

เพียงแต่สั่งสอนอัยการว่า    ไม่สามารถนำสืบได้ว่าเพลงที่ก๊อปอยู่ในคอมใครเป็นผู้ก๊อป

หากจะเลี่ยงบาลี    เราก็เปิดเพลงทางอินเตอร์เนตโดยที่คอมไม่มีข้อมูลอื่นใดเลย

น่าจะเป็นคดีประวัติศาสตร์

เราเป็นผู้ประกอบการ   หากเปิดแผ่นที่ถูกต้อง   แม้ต้นทุนจะสูงนิดแต่มันก็สบายใจ

ไม่ต้องกลัวซ้ายกลัวขวา..........ตอนนี้  เมกา  บีบบังคับไทยเรืองการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสุด ๆ

แต่ไม่กล้ากับจีน.   ...............๕๕๕๕     ลองคิดดู


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ มิถุนายน 09, 2011, 10:47:53 PM
ตอบนายใหม่

กรณีมีเจ้าของลิขสิทธิ์   ร้องทุกข์แล้วชีให้จับกุมในความผิดซึ่งหน้าขณะเปิดเพลง

เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องจับกุมดำเนินการ     แล้วไปสู้คดีกันที่ศาล   จะหลุดหรือไม่ว่ากันภายหลัง

ผมว่าการที่เราเปิดเพลงในร้าน    น่าจะเป็นแผ่นที่ถูกกฎหมาย   ไม่ได้ก๊อปไว้ในคอม

ไม่ได้เป็นเอ็มพีสาม    น่าจะสู้คดีหลุดทุก ๆ  ศาล    ตามฏีกาที่สอง   ศาลก็ไม่ได้บอกว่าไม่ผิด

เพียงแต่สั่งสอนอัยการว่า    ไม่สามารถนำสืบได้ว่าเพลงที่ก๊อปอยู่ในคอมใครเป็นผู้ก๊อป

หากจะเลี่ยงบาลี    เราก็เปิดเพลงทางอินเตอร์เนตโดยที่คอมไม่มีข้อมูลอื่นใดเลย

น่าจะเป็นคดีประวัติศาสตร์

เราเป็นผู้ประกอบการ   หากเปิดแผ่นที่ถูกต้อง   แม้ต้นทุนจะสูงนิดแต่มันก็สบายใจ

ไม่ต้องกลัวซ้ายกลัวขวา..........ตอนนี้  เมกา  บีบบังคับไทยเรืองการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสุด ๆ

แต่ไม่กล้ากับจีน.   ...............๕๕๕๕     ลองคิดดู

 ::014:: ขอบคุณอีกครั้งครับพี่ ::014::
 ;D นั่นสินะพี่ ทำไมไม่กล้ากับจีน 555 ;D
 ;D ที่จริงไม่ได้คิดจะเลี่ยงบาลีครับ เพียงแต่มีความรู้สึกว่าหลาย ๆ อย่างในเรื่องลิขสิทธิ์มันกลายเป็นข้ออ้างในการหาประโยชน์จากคนบางกลุ่ม มากกว่าจะมีความตั้งใจในการระงับการละเมิดจริง ๆ ผมเคยถามพนักงานเก็บค่าลิขสิทธิ์ (ไม่ใช่พวกมาจับนะครับ) ว่า เมื่อไม่อยากให้มีการละเมิด ทำไมไม่ดำเนินการกับต้นตอ เพราะถ้าไม่มีต้นตอ ยังไงเราก็ต้องซื้อที่ถูกต้องมาเปิดอยู่แล้ว กลับได้คำตอบมาว่า "ก็รู้อยู่ว่าพวกนั้นแตะต้องได้ที่ไหน" เลยมีความรู้สึกว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เองไม่ได้ตั้งใจในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ของตนเอง แต่กลับปล่อยให้เกิดช่องทางในการหาประโยชน์จากการจับกุมการละเมิดแทน :-\
 ;D พี่ป้อมพูดถึงการเลี่ยงบาลี งั้นผมปรึกษาต่ออีกหน่อย ว่า ถ้าผมเอาคอมพิวเตอร์ไว้ในห้อง เอาลำโพงไว้ในเคาท์เตอร์ (บุคคลภายนอกห้ามเข้า) จะสามารถเลี่ยงบาลีว่าเปิดฟังเองได้หรือเปล่าครับ 555 :DD


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ มิถุนายน 09, 2011, 11:07:24 PM
กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา............

นักกฎหมายใหญ่สอนไว้     การเลี่ยงบาลีแบบนายใหม่    มันอ้างไม่ขึ้นครับว่าเปิดฟังเอง

เพราะเราต้องเปิดเสียงดังอยู่แล้ว      ลองทำแบบผมดีกว่า    เปิดฟังทางอินเตอร์เนต

แล้วอ้างว่าไม่รู้ไม่เห็นไม่เป็นไม่ทราบ    ในเครื่องคอมไม่ไ้ด้มีข้อมูลอื่นบรรจุไว้   


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ มิถุนายน 09, 2011, 11:16:17 PM
ลองไปดูที่ภูเก็ตสิ  จับลิขสิทธิ์กันพุงกางจะระเบิดแล้วครับ   ::010::

ขอถามต่อนอกเรื่องลิขสิทธิ์หน่อยครับว่า จ. ที่ผมอยู่เปิดบ่อนกุ้งปลา  จ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่เดือนละ ๗ แสน 

แบ่งกินกันครบทั้งจังหวัด  เสี่ยงน้อยเสี่ยใหญ่มาเล่นกันให้พริบไปหมด  แบบนี้จะแจ้งหน่วยงานไหนได้ครับ

หรือผมควรปิดหูปิดตาอยู่เฉย ๆ ดี  :-X


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ มิถุนายน 09, 2011, 11:24:26 PM
กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา............

นักกฎหมายใหญ่สอนไว้     การเลี่ยงบาลีแบบนายใหม่    มันอ้างไม่ขึ้นครับว่าเปิดฟังเอง

เพราะเราต้องเปิดเสียงดังอยู่แล้ว      ลองทำแบบผมดีกว่า    เปิดฟังทางอินเตอร์เนต

แล้วอ้างว่าไม่รู้ไม่เห็นไม่เป็นไม่ทราบ    ในเครื่องคอมไม่ไ้ด้มีข้อมูลอื่นบรรจุไว้   

 ;D ครับผม สงสัยต้องติดเนทความเร็วสูงอีกรอบซะแล้ว ตอนนี้ใช้เนทมือถืออยู่ครับ ช้าโหลดไม่ทัน ;D


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ป้อมทอง พรานชุมไพร ที่ มิถุนายน 10, 2011, 04:45:38 AM
ตอบปัญหานอกเรื่อง

คุณแจ้งว่ามีข้อมูล   ถ่ายคลิปวีดีโอไว้   แจ้ง นสพ.

แจ้งผู้ว่า   แจ้งนายก   แจ้งกองบัญชาการภาค   ร้องกองปราบ


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: naisomchai ที่ มิถุนายน 10, 2011, 08:51:23 AM
ขอบพระคุณท่านรองป้อมฯ ครับ... เย้...


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: kensiro ที่ มิถุนายน 10, 2011, 09:16:20 AM
ร้านผมเคยโดนมันเข้า 3 รอบ ครับ แต่ไม่ได้อะไรไป

ที่นี่มีคำตอบเรื่อง ลิขสิทธิ์ เยอะครับ ลองศึกษาจากที่นี่ได้นะครับ

ict.in.th (http://ict.in.th)


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Choro - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 10, 2011, 11:15:19 AM
 ขอบพระคุณทุกท่านครับ ขอเก็บความรู้นะครับ  ::014::


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ มิถุนายน 10, 2011, 11:37:45 AM
 ::014::


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Yoshiki_Silencer - รักในหลวง ที่ มิถุนายน 11, 2011, 03:40:37 AM
ตอบนายใหม่

กรณีมีเจ้าของลิขสิทธิ์   ร้องทุกข์แล้วชีให้จับกุมในความผิดซึ่งหน้าขณะเปิดเพลง

เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ต้องจับกุมดำเนินการ     แล้วไปสู้คดีกันที่ศาล   จะหลุดหรือไม่ว่ากันภายหลัง

ผมว่าการที่เราเปิดเพลงในร้าน    น่าจะเป็นแผ่นที่ถูกกฎหมาย   ไม่ได้ก๊อปไว้ในคอม

ไม่ได้เป็นเอ็มพีสาม    น่าจะสู้คดีหลุดทุก ๆ  ศาล    ตามฏีกาที่สอง   ศาลก็ไม่ได้บอกว่าไม่ผิด

เพียงแต่สั่งสอนอัยการว่า    ไม่สามารถนำสืบได้ว่าเพลงที่ก๊อปอยู่ในคอมใครเป็นผู้ก๊อป

หากจะเลี่ยงบาลี    เราก็เปิดเพลงทางอินเตอร์เนตโดยที่คอมไม่มีข้อมูลอื่นใดเลย

น่าจะเป็นคดีประวัติศาสตร์

เราเป็นผู้ประกอบการ   หากเปิดแผ่นที่ถูกต้อง   แม้ต้นทุนจะสูงนิดแต่มันก็สบายใจ

ไม่ต้องกลัวซ้ายกลัวขวา..........ตอนนี้  เมกา  บีบบังคับไทยเรืองการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสุด ๆ

แต่ไม่กล้ากับจีน.   ...............๕๕๕๕     ลองคิดดู

          กรณีเปิดเพลงให้ลูกค้าฟังภายในร้านอาหารตามฎีกาแรกผมค่อนข้างเห็นด้วยกับศาลฎีกา  หาก

ศาลฎีกาตัดสินว่ามีความผิดย่อมเกิดผลกระทบเป็นวงกว้างกันทั้งประเทศอย่างแน่นอน  เพราะต่อไปจะ

กลายเป็นว่าการเปิดเพลงภายในร้านอาหารซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ทำกันมานานตั้งแต่มีวิทยุในประเทศกลับ

กลายเป็นความผิดและต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ไปเสียทั้งหมด  ซึ่งเป็นการคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์

ที่เป็นเพียงเอกชนเพียงคนเดียวแต่ทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ  ลองนึกภาพที่เวลาไป

ร้านอาหารหรือสถานที่อื่น ๆ ซึ่งต่อไปจะไม่มีเพลงให้ฟังแล้วสิครับ  แล้วลองนึกภาพที่เจ้าของร้านหรือ

ผู้ประกอบการอาจจะเป็นล้าน ๆ รายต้องไปขออนุญาตบริษัทเพลงเจ้าของลิขสิทธิ์หลาย ๆ ค่ายสิครับ

คงจะวุ่นวายพิลึก และผมว่าคงไม่มีประเทศไหนในโลกเขาทำกัน  ซึ่งแต่เดิมเรื่องนี้พนักงานอัยการประ

จำจังหวัดเคยมีคำสั่งไม่ฟ้องครับแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นแย้งเลยต้องส่งสำนวนไปที่อัยการสูง

สุดเพื่อชี้ขาด  ซึ่งอัยการสูงสุดมีคำสั่งชี้ขาดความเห็นแย้งให้ฟ้องคดีครับ  แต่ต่อไปถ้ามีคำพิพากษาฎีกา

ที่ชัดเจนหลาย ๆ เรื่องแบบนี้  สำนักงานอัยการสูงสุดก็อาจจะต้องทบทวนการออกคำสั่งฟ้องในกรณีเช่น

นี้ครับ  เพราะพนักงานอัยการโจทก์ก็กลัวต้องกลายไปเป็นจำเลยเหมือนกัน

         ส่วนฎีกาที่สองนั้นเท่าที่อ่านต้องยอมรับความเป็นความผิดพลาดของพนักงานอัยการที่บรรยายฟ้อง

โดยไม่ใช่ถ้อยคำตามตัวบทกฎหมายที่อ้างเป็นความผิดทำให้บรรยายฟ้องขาดองค์ประกอบความผิด  ซึ่ง

สองข้อหาแรกเป็นการยกฟ้องในปัญหาข้อกฎหมายเนื่องจากฟ้องขาดองค์ประกอบความผิด  ซึ่งผมไม่ขอ

ให้ความเห็นมากเนื่องจากฎีกาที่คัดมาเป็นเพียงฎีกาย่อ  ซึ่งถ้าจะให้วิเคราะห์อย่างละเอียดต้องดูจากสำนวน

เต็มโดยดูจากคำฟ้อง  บทมาตราท้ายฟ้อง  คำขอท้ายฟ้อง  รวมถึงเอกสารประกอบอื่น ๆ จึงจะให้ความเห็น

อย่างครบถ้วนได้  ส่วนข้อหาที่สามเป็นการยกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริงเนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์

ให้เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้คัดลอกเพลงดังกล่าวลงในเครื่องคอมพิวเตอร์  แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นผู้คัด

ลอกเพลงจริงก็อาจมีความผิดตามฟ้องได้

          ปล.ความเห็นส่วนตัวนะครับ   ::002::


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนช้าง-รักในหลวงและสมเด็จพระเทพ ที่ มิถุนายน 11, 2011, 04:05:54 AM
ในyou tube สามารถสร้างลิสเพลงได้ครับพี่ใหม่ เปิดผ่านyoutubeแล้วให้มันขึ้นลิสได้ตามที่เราเลือกเลยครับ ::014:: ::014:: ::014::






ไม่งั้นเปิด AVให้ลั่นร้านเลยพี่ออกมาแต่เสียงพอ อิคึๆ ::005:: ::005:: ::005::


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: kensiro ที่ มิถุนายน 11, 2011, 07:58:26 AM
ตัวอย่างหนังเรื่อง วายุภัคมนตรา (http://vr2800.com/topic/728/) ครับ การทำ playlist

หรือไม่ก็เชาพื่นที่ีที่เป็น radio ผมเช่าอยู่ เดือนละ แค่ ร้อยกว่าบาท ไม่ต้องเอาเพลงไว้ในเครื่องเรา

อัปขึ้นไปไว้ เพื่อน เกือบ สาม gb แนะ ไม่หลายร้อยเพลง ครับ

แต่การอาศัยเนต ก็ต้องมีข้อเสีย เกิดเนตเสียเนต ช้าขึ้นมา เพลงจะกระตุกเอานะครับ

ลูกค้าบางคนอินกับเพลง จะเสียบรรยากาศเอาง่ายนะครับ


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Sitthipong - รักในหลวง ~ ที่ มิถุนายน 11, 2011, 11:18:35 AM
วันนี้ดูโฆษณาเน็ตของค่าย 3BB    9 MB./s  เดือนละ ๙๐๐ บาท 

ความเร็วแค่นี้ก็เหลือเฟือที่จะเปิดเพลงได้แบบไม่ติดขัดแล้วครับ   :VOV:


หัวข้อ: Re: กฎหมายลิขสิทธิ์ ขอถามความเห็นนักกฎหมายครับ
เริ่มหัวข้อโดย: NaiMai>รักในหลวง ที่ มิถุนายน 11, 2011, 02:11:41 PM
 ;D ที่ร้านยังไม่ติดเนทน่ะครับ ทุกวันนี้ใช้เนทมือถืออยู่ 555 ;D