เสียกำลังใจ "งานที่เราต้องทำด้วยกาย จะสำเร็จได้ก็ด้วยร่างกายมีกำลังเพียงพอ ที่จะจ่ายออก ทำงาน
นั้นได้ งานทางจิตใจก็เหมือนกัน การคิด การทรงจำ และการใช้สติปัญญา ย่อมขึ้นอยู่กับ
กำลังใจ เหตุนี้ วิญญูชนทั้งหลาย จึงพยายามที่จะเพาะกำลังใจ และถนอมไว้ จนสุดความ
สามารถ คำเท็จนั่น เป็นสิ่งหยิบยาก ผสมยากอยู่แล้ว กว่าจะสั่งปากพูดออกมาได้ครั้นหลัง
จากพูดแล้ว จิตของคนพูด ยังจะต้อง ทำงานหนักอีก คือระวังจะพลาดและคอยจำคำโกหก
ของตัวไว้ เพื่อจะได้ไม่ โกหกผิดๆในคราวหน้า เพราะจะต้องคอยควบคุมให้คำโกหกตรงกัน
อยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น เรามีปากกาอยู่ด้ามหนึ่ง ซื้อมาราคา ๑๐๐ บาท ถ้าจะบอกคนอื่นว่า
ราคา ๑๐๐ บาท ก็จะไม่โก้พอ อยาก อวดมั่งอวดมี เลยบอกเขา โดยบวกเพิ่มราคา ขึ้นไปอีก
สมมติว่าได้บอกเพื่อนคน หนึ่งว่า ๑๐๐ บาท
เมื่อบอกไปแล้ว ตัวจะต้องจำ ไว้ว่า ได้บอก เขา ไปเท่าไร เผื่อวันหลังโกหกอีก จะได้บอกให้
ตรงกัน... นี่เรื่องปากกา อย่างเดียว ทีนี้เรื่องนาฬิกา เรื่องเสื้อ เรื่องรองเท้า เรื่อง แว่นตา ฯลฯ
เราได้ตั้ง ราคาสมมติขึ้นไว้ทั้งนั้น เสร็จแล้วเราจะต้องบังคับจิตของตัวเอง ให้จำไว้หมด ทุก
อย่างเป็นอันว่า จิตของคนโกหกทำงานหนักมาก คืองานจำคำโกหกของตัวเอง น่าสมเพช
เวทนา จริงๆ
เมื่อมีเรื่องที่จะต้องจำหลายเรื่องหลายสำนวนเข้า ผลที่สุดก็ลืม หนักเข้าก็โกหกผิดๆถูกๆ
เสียแผนหมด นาฬิกาเรือนเดียว อาจกลายเป็นห้าราคา สิบราคาก็ได้ เพราะฉะนั้น คนโกหก
ทุกคน เมื่ออายุมากเข้า จะกลายเป็นคนความจำเสื่อม เผลอๆไผลๆ ไม่ต้องพูดถึงชั่วชีวิตล่ะ
สังเกตแค่วันเดียวก็ได้ ถ้าวันไหน เราโกหกไว้มากๆ ในตอนกลางวัน พอตกเย็นก็ชักจะลืม
โน่นลืมนี่ หนักเข้าก็จับเอาคำที่ตัวโกหกไว้แล้ว มาโกหกซ้ำอีก แล้วก็อ้างบุคคล อ้างสถานที่
ไม่ตรงกับที่โกหกไว้คราวก่อนเสียด้วย ยุ่งใหญ่ ?
นอกจากเรื่องจำแล้ว จิตยังต้องทำงาน หนักอีกอย่างหนึ่ง น่าทุเรศยิ่งกว่าคอยจำคำโกหก
ของตัวเองเสียด้วยซ้ำ งานที่ว่านี้ก็คือ การขัดแย้งตัวเอง ท่านนักศึกษาต้องเข้าใจว่าคำโกหก
ทุกคำที่พูดออกไป แม้เราจะพยายาม ปรับปรุงให้สนิทสนมกลมกลืนอย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคนๆ
หนึ่งที่ไม่ยอมเชื่อ และคอยค้านคอย เถียงอยู่ตลอดเวลา คนๆนั้นก็คือตัวของเราเอง คือเราเอง
คอยเถียงตัวเราอยู่เสมอ เป็นความลำบากอย่างหนึ่งของจิต และนี่คือการทำลายสมรรถภาพ
ของจิตลงอย่างเห็นได้ชัด เหมือนกัน จะสังเกตได้ว่า คนเรายิ่งพูดโกหกมากๆ จิตยิ่งขี้ขลาด
มาก และมีความระแวง ในตัวมากขึ้น ที่เป็นดังนี้ เพราะกระแสจิตตกต่ำ หนักเข้าจะเป็นคน
ชอบหลบสายตาคนอื่น คือไม่กล้าเผชิญหน้ากับใครจังๆ
ยิ่งนานวันเข้า กำลังใจยิ่งตกต่ำมาก จนหมดความเชื่อถือในตัวเอง เวลาพูดจึงต้องอ้างสิ่งอื่น
มายืนยันด้วย เช่นว่า
"ถ้าไม่จริงอย่างพูด ขอให้ตายต่อหน้าตะวัน"
"ขออย่าได้ผุดได้เกิด"
"ขอให้พระกาฬหักคอ"
ฯลฯ
สารพัดจะเอามายืนยัน บางทีพูดไปจบประโยคแล้ว ก็ย้ำท้ายอีกว่า "...ที่พูดนี้เป็นความจริง"
อาการเหล่านี้แสดงว่า จิตเริ่มหมดความเชื่อถือในตัวเอง ระแวงว่า ถ้าพูดไป ผู้ฟังเขาก็คงจะ
ไม่เชื่อ คล้ายๆกับเราเห็นว่า หน้าอย่างเรา คงไม่มีใครเขาเชื่อ เลยต้องสบถสาบาน อ้างโน่น
อ้างนี่ให้ยุ่งไปหมด นี่แหละคือคำเท็จทำลายตัว ผู้พูดเอง การที่เราต้องเป็นขี้ข้า คอยจำคำ
โกหก ของตัวเองนั้น ไม่ผิดอะไร กับคนที่บังคับตัวเอง ให้นั่งเฝ้าดูคูถที่ตัวเองถ่ายไว้ และยิ่ง
ใจตนเอง เกิดย้อนเถียงคำโกหกของตัวเองด้วย ก็เหมือนสิ่งที่ ถ่ายไว้ได้กระเด็นกลับ มาถูก
ตัวของตัวเอง"
คัดลอกจาก http://www.dhammathai.org/store/sila/sila24.php