ดาวเทียมโคจรรอบโลกด้วยความเร็วหลักหมื่น มันจะบังเอิญเก็บภาพไดัพอดีขนาดนี้เชียวหรือครับ
การถ่ายภาพของดาวเทียมในปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่ถ่ายแบบทีละรูป แต่สแกนทีละเส้น
แล้วเรียงกันเป็นภาพ ดาวเทียมทางทหารอยู่ที่ความสูง 200กิโลเมตรขึ้นไป แล้วแต่ภาระกิจ
ต้องนึกถึงกล้องตั้งฉากโลกตลอดเวลาด้วยนะครับ เพราะดาวเทียมโคจรรอบโลก
เวลามองภาพที่ระยะไกลขนาดนั้น จะเสมือนวัตถุเคลื่อนที่ช้าลงมาก
พอเข้าใจตรงประเด็น image processingครับ ที่ถ่ายไปเรื่อยๆแล้วก็ค่อยเอามาmappingหรืออะไรก็ว่าไป, แต่ติดใจตรงเรื่องจังหวะที่ดาวเทียมหมุนมา ณ pane ที่เกิดเรื่อง (ตำแหน่งของรูปที่ถ่ายได้)มันสามารถจับeventที่เกิดขึ้นแบบชั่วพริบตาแบบนั้นได้พอดีเลยมันก็น่าแปลกไปหน่อย
ดาวเทียมจะถ่ายภาพตลอดเวลา ไม่ใช่ถ่ายเวลาที่ต้องการ
ส่วนใหญ่จะหยุดถ่ายเมื่อพลังงานในแบตเตอรีไม่พอ
บางดวงสามารถถ่ายในย่านแสงอินฟาเรดก็ถ่ายกลางคืนได้
ดาวเทียมถ่ายภาพได้ไม่ได้มีดวงเดียว แต่มีในหลักร้อยถึงพันและไม่ได้อยู่ในวงโคจรเดียวกัน
พอมีความเป็นไปได้ว่าจะมีดวงหนึ่งผ่านมา