เอามาจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/งูเห่าพ่นพิษสยาม
งูเห่าพ่นพิษสยาม เป็นงูเห่าจำพวกงูเห่าพ่นพิษ (Spitting cobra) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Naja siamensis กล่าวคือ เป็นงูเห่าที่สามารถพ่นพิษได้ โดยสามารถพ่นพิษได้ไกล ถึง 1.5 2 เมตร เมื่อพ่นน้ำพิษหมดแล้ว สามารถผลิตน้ำพิษได้ในเวลา 20 นาที ก็สามารถพ่นน้ำพิษใหม่ได้ ขณะชูคอแผ่แม่เบี้ยขู่ ก็จะอ้าปากเพื่อเตรียมพ่นพิษใส่ศัตรู จะมีรูของเขี้ยวพิษ อยู่ทางด้านหน้า เพื่อสะดวกในการฉีดพ่นพิษออกไป และถ้าพิษเข้าตา ก็จะทำให้ตาบอดได้ ถ้าถูกพิษทางผิวหนังที่มีแผล ก็จะทำให้เกิดการอักเสบ แต่ไม่อันตรายมาก เพราะได้รับปริมาณพิษน้อย
ลักษณะรูปร่างทั่วไปจะคล้ายคลึงกับงูเห่าธรรมดา (Naja kaouthia) แต่มีลำตัวที่สั้นกว่า โดยจะยาวเฉลี่ยไม่ถึงเมตร มีความว่องไว นิสัยดุร้าย ดอกจันมักเป็นรูปตัว U หรือเลือนลางในบางตัว สีลำตัวบางตัวอาจมีลายดอกด่างขาว จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า " งูเห่าพ่นพิษด่าง " หรือ " งูเห่าพ่นพิษขี้เรื้อน " เป็นต้น
งูเห่าพ่นพิษที่พบในประเทศไทยสามารถจำแนกออกเป็น ชนิดต่าง ๆ (Variety) ได้ตามถิ่นที่อยู่และสีลำตัว เช่น งูเห่าพ่นพิษสยาม หรือ งูเห่าพ่นพิษด่าง นี้ (Naja siamensis var. Black &White) , งูเห่าพ่นพิษอีสาน (Naja siamensis var. Greenish Brown) ที่มีความยาวประมาณ 0.6 เมตร นับว่าเป็นงูเห่าที่มีขนาดสั้นที่สุดที่พบในประเทศไทย มีสีเขียวหม่นหรือสีเขียวอมเทาทั่วตัว ลายปรากฏไม่ชัดเจน ดอกจันเป็นรูปตัว U เห็นชัดเจนกว่างูเห่าพ่นพิษสยาม เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีชนิดที่แยกออกไปคือ งูเห่าพ่นพิษสีทอง (Naja sumartra)
เพิ่มเติมครับ จาก
http://www.siamensis.org/board/10246.html ความแตกต่าง หรือข้อสังเกตในการจำแนกระหว่าง
งูเห่าไทย หรืองูเห่าหม้อ หรืองูเห่านา(N. kaouthia) กับ
งูเห่าสีน้ำตาลพ่นพิษ(N. siamensis) ที่เป็นประชากรสีน้ำตาลนั้น คือลักษณะมันวาวของเกล็ด ซึ่ง งูเห่าพ่นพิษชนิดนี้(ยกเว้นประชากรที่เป็นเห่าด่าง) เกล็ดจะด้านๆ ทุกช่วงระยะคราบ ขณะที่งูเห่าไทยจะแวววาว สะท้อนสงได้ดี แล้วก็มาดูที่ทรงหัว งูเห่าพ่นพิษนี้หัวจะดูป้อมๆ แก้มป่อง หัวดูแบนๆ หน้าผากค่อนข้างเว้าลงเล็กน้อย หรืออีกนัยหนึ่งคือขอบกระบอกตามันยกสูงจากแนวโค้งขอบหัวเล็กน้อย ส่วนงูเห่าไทยหัวจะดูค่อนข้างยาวรี ส่วนโค้งต่างๆ บนหัวดูสอดรับกันอย่างสมบูรณ์ แก้มไม่ป่อง ส่วนใต้ตาลงมาจะดูสีขาวนวลๆ แล้วหากใครได้เห็นเปรียบเทียบจะเห็นว่างูเห่าพ่นพิษชนิดนี้จะดูป้อมสั้นกว่าอย่างชัดเจนครับ ซึ่ง ในทางอนุกรมวิธานนั้นจะสื่อออกมาด้วยจำนวนเกล็ดใต้ท้องที่มีจำนวนน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ