เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 10, 2024, 06:24:48 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: +ข่าวจากกองทัพเรือ : ความก้าวหน้าของยานใต้น้ำ+  (อ่าน 2340 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Siri_Pat รักในหลวง
Full Member
***

คะแนน 124
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 410



« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2010, 05:37:59 PM »

จากจุดเริ่มต้นของยานใต้น้ำ "ไกรทอง" ได้พัฒนามาเป็นเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ (MOBILE TARGET)


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ร่วมกับ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สร้างนวัตกรรมยานใต้น้ำไร้คนขับ
สำหรับการฝึกปราบเรือดำน้ำที่เรียกว่า "เป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ" เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศในการใช้ประโยชน์ฝึก
นายทหารพนักงานโซนาร์ให้มีความชำนาญ และสามารถพิสูจน์ทราบถึงเรือดำน้ำของข้าศึกได้



รศ.ปองวิทย์ ศิริโพธิ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เผยว่า ในอดีตประเทศไทยมีเรือดำน้ำขึ้นระวางประจำการอยู่ถึง 4 ลำ แต่หลังจากที่มีการปลดระวางประจำการเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ
ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2494 แล้ว ประเทศไทยไม่มีนโยบายในการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการอีกเลย
ทำให้เทคโนโลยีในด้านการทหารเรือบางส่วนขาดหายไป จวบจนปัจจุบันกองทัพเรือได้มีนโยบายในการจัดสร้าง
เป้าฝึกปราบเรือดำน้ำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการฝึกนายทหารพนักงานโซนาร์ ให้มีความชำนาญสามารถพิสูจน์ทราบ
ถึงเรือดำน้ำของข้าศึกได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่การที่จะใช้เรือดำน้ำจริงในการให้เรือปราบเรือดำน้ำใช้ฝึกนั้น
จะต้องเสียงบประมาณในการฝึกที่สูงมาก ประกอบกับกองทัพเรือไทยก็ไม่มีเรือดำน้ำจริงที่ประจำการอยู่เลยจึงทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้นมา

สำหรับเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำนี้ ตัวยานต้องมีคุณสมบัติสามารถสะท้อนคลื่นโซนาร์ของเรือผิวน้ำได้
ที่เรียกว่าเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ (MOBILE TARGET) ซึ่งในโครงการวิจัยขั้นที่ 1 เป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ
ยังไม่มีระบบควบคุมตัวยานแบบอัตโนมัติ และใช้แพนระดับในการปรับเปลี่ยนท่าทางการบังคับเรือ





บันทึกการเข้า

พลี..กายปกป้อง แดนดิน

ชีพ..สิ้น...ก็ไม่นึกหวั่น..

เพื่อ..รักษาเอกราช..ให้คงมั่น..

ชาติ..ย่อมสำคัญ..กว่าตนเอง..
Siri_Pat รักในหลวง
Full Member
***

คะแนน 124
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 410



« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2010, 05:40:06 PM »

สำหรับเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำปัจจุบันนั้นอยู่ในโครงการวิจัยขั้นที่ 2

ซึ่งออกแบบให้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
และต้องเรียนรู้ถึงพฤติกรรมและพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของยานใต้น้ำเพื่อใช้
ในการออกแบบระบบควบคุม เพื่อให้การปฏิบัติงานของยานใต้น้ำไร้คนขับมีพฤติกรรมตามความต้องการของผู้ใช้งาน
โดยมีงบประมาณในการวิจัยโครงการนี้ประมาณ 6 ล้านบาท มีการศึกษาการควบคุมและเปลี่ยนแปลงการก้ม-เงย
ด้วยหลักการเปลี่ยนแปลงจุดศูนย์ถ่วงแทนการเปลี่ยนแปลงทางพลศาสตร์ เพราะชุดอุปกรณ์ต่างๆ จะอยู่ภายในตัวยาน
และไม่สัมผัสกับสภาพแวดล้อมโดยตรง


การดำเนินงานเริ่มต้นด้วยการสร้างสมการการเคลื่อนที่ในแนวก้ม-เงย สร้างต้นแบบ 3 มิติ ในคอมพิวเตอร์โดย
วาดตามแบบที่ใช้ทำการสร้างเรือดำน้ำจริง พร้อมกับการชั่งน้ำหนักจริงของเรือดำน้ำเพื่อเปรียบเทียบ ทำการ
วิเคราะห์หาค่าตัวแปรที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของเรือดำน้ำ เช่น แรงลอยตัว ค่าสัมประสิทธิ์แรงต้าน เป็นต้น ต่อ
จากนั้นนำค่าตัวแปรต่างๆ ที่วิเคราะห์ได้มาจำลองการเคลื่อนที่ในโปรแกรมคำนวณและจำลองภาพทาง
คณิตศาสตร์ เพื่อทำการหาประสิทธิภาพของเรือฝึกเป้าปราบเรือดำน้ำ นำไปทดลองกับเรือดำน้ำจริงว่ามีผลที่ได้
ตรงกับค่าที่คำนวณหามาหรือไม่ เปรียบเทียบผลที่ได้เพื่อแก้หาค่าของตัวแปรและสมการที่ถูกต้อง และออกแบบ
ควบคุมระยะมวลและนำไปคำนวณวิเคราะห์การเคลื่อนที่เพื่อดูประสิทธิภาพการควบคุม ก่อนนำไปทดสอบกับ
เรือดำน้ำจริง นอกจากนั้นยังมีการศึกษาเพื่อหาพฤติกรรมการจมและการลอยตัวของยานใต้น้ำไร้คนขับ ใน
ลักษณะของการเคลื่อนที่ขึ้น (ลอยตัวขึ้น)-ลง (ดำลง) ในแนวดิ่ง ซึ่งดำลงในน้ำได้ความลึกไม่เกิน 30 เมตร

บันทึกการเข้า

พลี..กายปกป้อง แดนดิน

ชีพ..สิ้น...ก็ไม่นึกหวั่น..

เพื่อ..รักษาเอกราช..ให้คงมั่น..

ชาติ..ย่อมสำคัญ..กว่าตนเอง..
แสนสุข
Hero Member
*****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 1291



« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2010, 05:43:17 PM »

ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ   ขอบคุณครับ ไหว้
บันทึกการเข้า

Siri_Pat รักในหลวง
Full Member
***

คะแนน 124
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 410



« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2010, 05:43:51 PM »

พล.ร.อ.วีรวัฒน์ วงษ์ดนตรี หัวหน้าโครงการสร้างนวัตกรรมยานใต้น้ำไร้คนขับสำหรับการฝึกปราบเรือดำน้ำ กล่าวเพิ่มเติมว่า
กองทัพเรือต้องการสร้างยานใต้น้ำแบบไม่มีคนขับ ที่มีขีดความสามารถเหมือนเรือดำน้ำที่ใช้ในการทหาร
เนื่องจากปัจจุบันกองทัพเรือไม่มีเรือดำน้ำประจำการ หลังจากปลดระวางเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำเมื่อปี 2494

ประเทศไทยไม่มีนโยบายจัดซื้อเรือดำน้ำเข้าประจำการอีกเลย ทำให้ขาดเทคโนโลยีในการฝึกทหารเรือให้มีความชำนาญ
การตรวจจับและปราบเรือดำน้ำของข้าศึกในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งการจัดหาเรือดำน้ำจริงต้องใช้งบประมาณสูงมาก
จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างยานใต้น้ำ "เป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ" เพื่อใช้ทดแทน

โดยกองทัพเรือเคยศึกษาวิจัยเพื่อสร้างยานใต้น้ำไร้คนขับมาแล้วในปี 2543 แต่ยังมีข้อบกพร่องหลายประการไม่สามารถนำไปใช้ฝึก
ทหารได้อย่างสมบูรณ์ หลังจากนั้นมีโครงการพัฒนาต่อยอด ให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจาก
แบตเตอรี่และใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานทั้งหมด  


โดยยานใต้น้ำที่สร้างขึ้นมีจำนวน 3 ลำ ลำแรกชื่อ "ไกรทอง" ได้ผ่านการทดสอบในทะเลแล้ว
ส่วนอีก 2 ลำชื่อว่า "สุดสาคร" และ "วิชุดา" ขณะนี้ได้จัดสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว
เตรียมที่จะส่งมอบให้กองเรือยุทธการในเดือนกันยายนนี้

สำหรับวิธีการทำงานของยานใต้น้ำไร้คนขับนี้จะทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของเรือดำน้ำฝ่ายศัตรู
ซึ่งมักจะซ่อนตัวอยู่ในทะเล ขณะที่เรือผิวน้ำต้องค้นหาเรือดำน้ำให้พบว่าอยู่ตำแหน่งใด ยานใต้น้ำไร้คนขับทั้ง 3 ลำนี้
ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ภายในสามารถอยู่ใต้น้ำได้นาน 4 ชั่วโมง แล่นด้วยความเร็ว 3 นอต ดำน้ำลึกไม่เกิน 30 เมตร
 มีระบบเสียงใต้น้ำทำให้เกิดสัญญาณปรากฏบนหน้าจอโซนาร์ของเรือผิวน้ำเมื่อส่งคลื่นเสียงไปกระทบยานใต้น้ำ



อีกหนึ่งความก้าวหน้าของการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือครับ  เยี่ยม
บันทึกการเข้า

พลี..กายปกป้อง แดนดิน

ชีพ..สิ้น...ก็ไม่นึกหวั่น..

เพื่อ..รักษาเอกราช..ให้คงมั่น..

ชาติ..ย่อมสำคัญ..กว่าตนเอง..
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 22 คำสั่ง