ไคติน (Chitin) เป็นสารอินทรียที่เกิดตามธรรมชาติ มีปริ มาณมากเป็นอันดับสองของโลกรองจาก เซลลูโลส
พบในผนังเซลล์ของพืชบางชนิด สัตว์ และจุลินทรีย์ เช่น ในไดอะตอม ในยีสต์ ที่ ใช้ทํ าเบียร์ และในสัตว์ ที่ ไม่มี
กระดูกสันหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์ที่มีเปลือกและ กระดอง เช่น หอย กุ้ง ปู และแกนปลาหมึก เป็นต้น
ไคโตซาน (Chitosan) คือโมเลกุลโพลิเมอร์ของ น้ําตาลกลู โคสที่มีหมู่ อะมิโน (NH2) มาประกอบ เรียกว่า
Poly amino glucose หรือ Poly (D-glucosamine) สูตร โมเลกุล [C6H12O4N]n น้ําหนักโมเลกุล [162.17]n
ไคโตซานเป็นอนุพันธ์ (Derivative) ชนิดหนึ่งของไคติน ที่ได้จากปฏิกิริยาการกําจัดหมู่อะเซทิล (CH3CO) ของ
ไคติน ด้วยสารละะลายด่างเข้มข้น เรียกว่า ปฏิกิริยาดีอะเซทิเลชัน (Deacetylation) ทําให้ โครงสร้างของไคติน
บางส่วนเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะหมู่ฟังก์ชันที่ มี ธาตุไนโตรเจน ในรูปของหมู่อะเซตามิโด (NH-CO-CH3)
เปลี่ยนไปเป็นหมู่อะมิโน (NH2) ที่คาร์บอนตําแหน่งที่ 2 ไคโตซานมีคุณสมบัติ เป็น Cationic polyelectrolyte
เนื่องจากไคโตซานมีหมู่อะมิโนอิสระ (NH2) ที่คาร์บอน ตําแหน่งที่ 2 ซึ่งมี ประจุบวกบนหมู่อะมิโนอิสระ และไค
โตซานสามารถจับกับสารที่มีประจุลบ จึงทําให้ละลายได้ใน สารละลายหลายชนิดที่ มีควาความเป็นกรด-ด่างใน
ช่วงที่เป็นกรด คือ pH น้อยกว่า 5.5 ไคโตซานจึงมีศักยภาพ ในการใช้ประโยชน์สูง
1. การผลิตไคติน นำเปลือกกุ้งมา
อบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส จนกระทั่งน้ําหนักของเปลือกกุ้งคงที่
ทําการกําจัดโปรตีน โดยนําเปลือกกุ้งมาทําปฏิกิริยากับสารละลาย
ด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เข้มข้น 8 เปอร์เซ็นต์
โดยการรีฟลักซ์ ในอัตราส่วน 1:6 โดยน้ําหนักต่อปริมาตร
ที่อุณหภูมิประมาณ 80-90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-3
ชั่วโมง จากนั้นกําจัดเกลือแร่ โดยนําเปลือกกุ้งที่กําจัด
โปรตีนทําปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ความ
เข้มข้น 8 เปอร์เซ็นต์ในอัตราส่วน 1:6 โดยน้ําหนักต่อ
ปริมาตรที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
2. การผลิตไคโตซาน
นําไคตินจากขั้นตอนที่1. มาทําปฏิกิริยากําจัดหมู่อะเซทิล โดยทําปฏิกิริยากับ
สาละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซดเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์
โดยการรีฟลักซ์ ในอัตราส่วน 1:10 โดยน้ําหนักต่อปริมาตร
ที่อุณหภูมิประมาณ 90120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 -
5 ชั่วโมง
6. ล้างและทำให้แห้งและบดให้ละเอียดจะได้สารไคโตซาน (Chitosan) ในรูปผง
อันหลังนี่เป็นวิชาการกึ่งๆเคมีครับ
อยากบอกเพียงแค่ว่า เดี๋ยวนี้ เคมีและอินทรีย์อยู่ใกล้กันมาก
สารทางอินทรีย์บางอย่างก็ผ่านกระบวนการทางเคมีนะ อย่างเช่นไคโตซาน ที่ผลิตจากเปลือกกุ้งเปลือกปู
จะเรียกว่าเป็นเคมี หรืออินทรีย์ดี
อย่าคิดมากครับ คิดอย่างเดียวว่าไม่เป็นพิษตกค้างก็พอ