ผมเองก็สอนภรรยาไว้ว่าหากมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้น
ซัดไปเลยไม่ต้องเลี้ยงแต่ที่ถามเพราะต้องการทราบว่าสิ่งที่เราสอนเค้าไปไม่ใช่สิ่งที่ผิดๆ
เพราะผมมองเหตุการณ์ลักษณะนี้ว่าหากตัดสินใจช้ามีผลถึงชีวิตค่อนข้างสูง ที่ผ่านมาก็พยายามสอนการใช้ ลูกโม่ เพื่อยิงจริงๆว่าต้องทำอย่างไรบ้าง(ไปสนามยิงปืน)
ขอถามต่อสักนิดนะครับ ต่อเนื่องจากคำถามแรก หากยิงผู้บุกรุกตายแล้ว ขั้นตอนคงเป็นแจ้งตำรวจและรับทราบข้อกล่าวหา ฆ่าโดยเจตนา แล้วจากนั้นจะต้องมีการ
ไปโรงพัก ประกันตัว เหมือนคดีอื่นๆหรือเปล่าเพราะคดีแบบนี้ เจ้าทุกข์กลายเป็นจำเลยไปซะแล้วครับ
คดีในลักษณะนี้ตำรวจจะทำสำนวนแยกเป็นสองสำนวนครับ
สำนวนแรกเป็นคดีที่เจ้าของบ้านเป็นผู้เสียหายในส่วนที่คนร้ายบุกเข้ามาภายในบ้าน ซึ่งตำรวจจะสั่ง
ไม่ฟ้องคนร้ายเนื่องจากคนร้ายถึงแก่ความตาย ( เพราะถูกเรายิงนั่นแหละครับ ) สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้อง
จึงเป็นอันระงับไป
สำนวนที่สองจะเป็นสำนวนที่เราเป็นผู้ต้องหาในคดีฆ่าผู้อื่น ซึ่งในเบื้องต้นไม่ว่าอย่างไรเราก็จะต้อง
ถูกตั้งข้อหาฆ่าผู้อื่นไว้ก่อน จากนั้นตำรวจก็จะดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมด แล้วสรุปความเห็นว่า
จะสั่งฟ้องหรือไม่พร้อมสำนวนไปยังพนักงานอัยการ ถ้าเห็นว่าเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ ตำรวจก็จะ
มีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งถ้าอัยการเห็นว่าเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุก็จะสั่งไม่ฟ้องตามตำรวจแล้ว
เสนอสำนวนไปที่ผู้ว่า ฯ ถ้าผู้ว่า ฯ ไม่เห็นแย้ง คดีนี้ก็เป็นอันยุติในส่วนของการดำเนินคดีโดยอาศัยกลไกของรัฐ
ถ้าตำรวจเห็นว่าเป็นการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุก็จะทำสำนวนพร้อมความเห็นควรสั่งฟ้องไปยัง
พนักงานอัยการ ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าเป็นการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุก็จะฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล
ทั้งนี้ไม่ว่าตำรวจจะเสนอความเห็นมาอย่างไร พนักงานอัยการอาจมีความเห็นต่างจากตำรวจก็ได้
เช่นตำรวจเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง แต่พนักงานอัยการอาจสั่งฟ้องก็ได้ หรือตำรวจเห็นควรสั่งฟ้อง แต่พนักงาน
อัยการอาจจะสั่งไม่ฟ้องก็ได้ ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน และดุลพินิจของพนักงานอัยการเจ้าของสำนวน
สำหรับขั้นตอนหลังเกิดเหตุนั้นเมื่อเราแจ้งตำรวจแล้วก็จะมีร้อยเวรมาตรวจสถานที่เกิดเหตุพร้อมกับ
รวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งทางปฏิบัติคดีลักษณะนี้รูปคดีมักยังไม่แน่ใจว่าใครเป็นฝ่ายผิดกันแน่ เจ้าของ
บ้านอาจจะป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายก็ได้ซึ่งไม่เป็นความผิด ส่วนใหญ่ตำรวจก็มักจะยังไม่จับกุมตัว
ไปโรงพัก แต่จะเชิญไปโรงพักเพื่อสอบปากคำไว้เป็นพยาน จากนั้นตำรวจก็มักจะปล่อยตัวเรากลับมาแต่
เราก็ต้องไปพบตำรวจเมื่อมีหมายเรียกมา จากนั้นตำรวจก็จะดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานจนการสอบ
สวนเสร็จสิ้นแล้วเสนอสำนวนส่งพนักงานอัยการ ถ้าตำรวจมีความเห็นควรสั่งฟ้องก็ต้องนำตัวเราไปให้พนัก
งานอัยการด้วย ถ้ามีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องก็ไม่ต้องนำตัวเราไปให้พนักงานอัยการ ซึ่งในกรณีที่ตำรวจเชิญ
ตัวเราไปสอบปากคำโดยไม่มีการจับกุมก็ไม่จำต้องประกันตัว เพียงแต่ตำรวจอาจทำบันทึกให้เรารับทราบวัน
นัดเพื่อมาพบตามกำหนดนัด และเมื่อสำนวนถึงพนักงานอัยการแล้วหากในชั้นตำรวจเราบันทึกรับทราบวันนัดไว้
( ซึ่งในกรณีจะเป็นกรณีตำรวจมีความเห็นควรสั่งฟ้องเพราะส่งตัวเรามาให้พนักงานอัยการด้วย ) ปกติพนักงาน
อัยการก็จะไม่เรียกหลักประกันแต่จะให้เราทำบันทึกรับทราบวันนัดไว้เพื่อมาพบพนักงานอัยการตามกำหนดนัด
เหมือนชั้นตำรวจ ถ้าพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง แล้วผู้ว่า ฯ ไม่แย้งคดีก็เป็นอันเสร็จไป แต่ถ้าสั่งฟ้องท่านก็ต้อง
หาหลักทรัพย์ประกันตัวที่ศาล ศาลจะไม่ให้ทำบันทึกรับทราบวันนัดเหมือนชั้นตำรวจกับชั้นอัยการ จากนั้นก็
ดำเนินการต่อสู้คดีกันไปจนกว่าจะถึงที่สุด
แต่ในกรณีที่ตำรวจจับกุมตัวท่านทันทีภายหลังเกิดเหตุ ท่านก็ต้องดำเนินการหาหลักทรัพย์มาประกันตัว
ทันทีเลยครับ โดยอาจจะประกันตัวที่สถานีตำรวจ สำนักงานอัยการ หรือศาล แล้วแต่ว่าขั้นตอนการดำเนินคดี
ถึงขั้นไหนแล้วครับ