ขอขอบคุณพี่วิโรจน์
ขอขอบพระคุณอาจารย์ผณิศวร
ก่อนอื่นต้องขอแจงเพื่อนๆทุกท่านว่า ความสำเร็จส่วนใหญ่ของผมได้รับความเมตตาจาก
อาจารย์ผณิศวร แนะนำเทคนิคต่างๆทั้งการยิง/แข่ง/และที่สำคัญปืนและอุปกรณ์
อีกท่านที่เมตตาผมมากๆ ท่านวิรัตน์ ขอขอบพระคุณมากครับ
อาจารย์วีระ อุปพงศ์ ท่านเป็นผู้สอน/แนะนำด้านกรรมการตรวจคะแนน การดำเนินการแข่งขันฯลฯ ขอบพระคุณมากครับ
ผมกลับเข้ากรุงเทพฯแล้ว จะถ่ายภาพแท่นพาด และ ปืน พร้อมพานท้ายทั้งสามรุ่น และเทคนิคการแต่งปืน(ของผม)มาให้ชมครับ
ขอขอบคุณ อาจารย์ สมศักดิ์ ที่ปรึกษาชมรมฯ อีกครั้ง ครับ
จากการอ่านข่าวการแข่งขันยิงปืนพาดแท่นสมัยเก่าๆนั้น ผมได้พบ"
เรื่องเหลือเชื่อ"อยู่เรื่องหนึ่ง ครับ ผมเชื่อว่า..นักแข่งรุ่นใหม่เมื่ออ่านแล้วคงจะ..มึนและงง
มันเป็นไปได้หรือ?
เรื่องมีอยู่ว่า...
...คราวแมทซ์ใหญ่..ชิงปืน CZ รุ่น 456(ครั้งแรกของชมรมฯ) เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2542 ณ สนามราชนาวี บางนา คุณ ธนากร ประสิทธิเม(ม้ามืด..โนเนม) ได้นำปืนอันชูตส์ 1712 แต่ใช้
ลูกกระสุนCCIที่ชาวปืนกล้องทั้งหลายเมิน
แค่นี้ยังไม่พอ ครับ ยังได้นำ
แท่นพาดรุ่น"สะพานแม่น้ำโขง"(อาจารย์ ดร. ผณิศวร..เป็นผู้ตั้งชื่อ) มาใช้อีกเป็นครั้งแรกในชมรมฯ ผล..ส้อยเอาปืน CZ 456 ไปได้อย่าง
ประหลาดใจด้วยคะแนน 244 ขอรับ
(ในครั้งนี้..อาจารย์ ผณิศวร ของเราได้คะแนนสูงสุด 247 ด้วยปืน"โซโก้" แต่เป็นปืนแต่ง)
ที่น่าสนใจก็คือ
แท่นพาดรุ่น"สะพานแม่น้ำโขง"นั้นเป็นอย่างไรและคิดได้อย่างไร? ครับ
มันเป็นพาดแท่นที่ไม่ธรรมดา ติดโช้กอัพต้านแรงรีคอยล์ด้วยสายลัดชุดชั้นในยี่ห้อวาโก้เสียด้วย ผมจึงติดใจ..
นวัตกรรมใหม่ชิ้นนี้ หากอาจารย์ สมศักดิ์ ยังมีภาพเก็บไว้อยู่ โปรดนำมาให้ชมเป็นขวัญตาด้วย นะครับ
ปล. จากประวัติของพาดแท่นรุ่น"สะพานแม่น้ำโขง"นี้ หลังจาก..แมทซ์ใหญ่ จบสิ้นลงไป มี
นักแข่งแดนอีสานท่านหนึ่ง สงสัย..ประสิทธิภาพของพาดแท่นรุ่นนี้ จึงไปลองทำและปรับปรุงให้ดีขึ้น(KAIZEN) ผล..ทำให้นักแข่งท่านนั้นชนะเลิศในแมทซ์ถัดไปอีกด้วย ขอรับ