เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 30, 2024, 07:59:21 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศิษย์คิดล้างครู  (อ่าน 4728 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 05:58:42 PM »


ศิษย์คิดล้างครู

นิทานธรรม ฉบับพิเศษ
จัดพิมพ์โดย ธรรมสภา


ในเมืองพาราณสี มีตระกูลหนึ่งรับหน้าที่สอนศิลปะเกี่ยวกับการฝึกช้างและการใช้ช้างให้ทำงานต่างๆ ตามที่ปรารถนา ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นลูกของตระกูลนั้น ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับเรื่องการฝึกช้างจนจบและเชี่ยวชาญ จึงได้รับมอบหมายจากตระกูลให้ทำหน้าที่สอนศิลปะนั้นแก่ศิษย์รุ่นต่อๆ มา

อาจารย์เป็นคนมีเมตตาต่อบรรดาศิษย์มาก ตั้งใจสอนศิลปะวิทยาเป็นอย่างดีโดยไม่ปิดบัง และไม่เลือกว่าศิษย์นั้นมีฐานะเป็นเช่นไร ดังนั้น จึงมีศิษย์มาสมัครเรียนศิลปะวิทยาจากทั่วสารทิศ ต่อมาได้มีชายหนุ่มคนหนึ่งมาขอศึกษาอยู่ด้วย

“เธอมาจากที่ไหน” อาจารย์ถาม

“ข้าพเจ้าเป็นชาวเมืองพาราณสีนี้เอง” ชายหนุ่มตอบ

“เธอจะเรียนไปทำไม”

“ข้าพเจ้ามาเรียนก็เพื่อเอาไว้ไปใช้ทำมาหากิน”

เมื่อทราบความประสงค์ของศิษย์อย่างนั้นแล้ว อาจารย์ก็ได้รับไว้ด้วยความเมตตาและสอนศิลปวิทยาให้จนหมดสิ้น

วันหนึ่ง หลังจากจบการศึกษาแล้ว ชายหนุ่มได้เข้าไปหาอาจารย์ อาจารย์ได้กล่าวความยินดีและชวนสนทนาถึงเรื่องต่างๆ รวมทั้งเรื่องราวในราชสำนักด้วย

“ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอยากรับราชการ” ชายหนุ่มเอ่ยขึ้นในตอนหนึ่ง

“งานราชการคืองานรับใช้พระราชสำนักเป็นงานหนักนะ” อาจารย์บอก

“ข้าพเจ้าไม่กลัวงานหนัก กลัวแต่ว่าจะไม่ได้งานทำเท่านั้น”

“ถ้าเธอต้องการจริงๆ ฉันจะช่วยฝากให้”

อาจารย์ทำตามที่พูดไว้ หลังจากเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต พระราชาแห่งแคว้นกาสีแล้ว วันหนึ่งจึงได้กราบทูลว่า “ขอเดชะ ข้าพระองค์มีลูกศิษย์ฝีมือดีอยู่คนหนึ่ง ขอฝากเขาไว้รับใช้ในราชสำนักด้วย”

“ได้ซีท่านอาจารย์” พระเจ้าพรหมทัตตรัสรับรอง “ใครก็ตามถ้ามาจากอาจารย์ ฉันรับหมดเพราะเชื่อฝีมือ”

“เป็นพระมหากรุณาธิคุณพระเจ้าข้า” อาจารย์ก้มลงกราบ พลางขอให้พระเจ้าพรหมทัตตั้งเงินเดือนให้เขาด้วย

“ท่านอาจารย์ ฉันมีธรรมเนียมอยู่ว่าศิษย์กับอาจารย์จะได้เงินเดือนไม่เท่ากัน ศิษย์จะต้องได้น้อยกว่า อาจารย์จะต้องได้มากกว่า” พระเจ้าพรหมทัตตรัสชี้แจง

“ข้าพระองค์คิดว่าเรื่องนี้คงไม่มีปัญหา”

“ถ้าอย่างนั้น ทุกวันนี้ฉันให้อาจารย์เดือนละ ๑๐๐ กหาปณะ ศิษย์ของอาจารย์ก็จะได้ครึ่งหนึ่งคือ ๕๐ กหาปณะ”

“เป็นพระมหากรุณาพระเจ้าข้า”

บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 06:00:22 PM »

อาจารย์ดีใจมากที่สามารถฝากศิษย์เข้ารับราชการได้สำเร็จตามความต้องการของศิษย์ ดังนั้นครั้นกลับถึงบ้านแล้วจึงรีบแจ้งให้ชายหนุ่มทราบทันที “อาจารย์ดีใจด้วย พระราชารับเธอเข้ารับราชการแล้ว”

“แล้วเรื่องเงินเดือน พระราชาทรงให้เท่าไร ท่านอาจารย์” ชายหนุ่มถามอย่างกระตือรือร้น

“เห็นรับสั่งว่าจะพระราชทานให้ครึ่งหนึ่งของฉัน” อาจารย์ตอบตามความเป็นจริง

“ทุกวันนี้อาจารย์ได้เท่าไร”

“ฉันได้ ๑๐๐ กหาปณะ”

“ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็ได้เพียง ๕๐ กหาปณะใช่ไหมอาจารย์”

“ใช่.....” อาจารย์พยักหน้ารับ

“ท่านอาจารย์.....” ชายหนุ่มพูดขึ้นด้วยความไม่พอใจ

“ข้าพเจ้ากับท่านมีความรู้เท่ากัน ก็ควรจะได้เงินเดือนเท่ากัน”

“ถ้าเธอต้องการอย่างนั้น ฉันจะไปกราบทูลพระราชาดูก่อนว่าจะทรงเห็นด้วยหรือไม่” อาจารย์ยินดีรับข้อเสนอ

ต่อมาอาจารย์ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต และกราบทูลข้อเสนอของชายหนุ่มให้พระราชาทราบ

“ได้.....ท่านอาจารย์” พระเจ้าพรหมทัตรับข้อเสนอของชายหนุ่ม และทรงมีเงื่อนไขว่า “ลูกศิษย์ของท่านจักได้เงินเดือนเท่ากับท่าน ถ้าเขามีความสามารถเท่ากับท่าน”

“พระองค์จะให้เขาแสดงศิลปะแข่งกับข้าพระองค์หรือพระเจ้าข้า” อาจารย์ทูลถาม

“ใช่แล้ว” พระจ้าพรหมทัตพยักหน้าพระพักตร์รับ

อาจารย์ได้นำความนั้นมาแจ้งให้แก่ชายหนุ่มได้ทราบ และได้รับคำตอบอย่างหนักแน่นว่า

“ได้.....ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้ายินดีจะแสดงความสามารถแข่งกับท่าน”

“ตกลง” อาจารย์รับคำ

วันรุ่งขึ้น อาจารย์ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพรหมทัตอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งกราบทูลเรื่องที่ชายหนุ่มตกลงแสดงศิลปะแข่งกับตนให้ทรงทราบ

“เอาละ อาจารย์ พรุ่งนี้เชิญท่านกับศิษย์มาแสดงแข่งกันได้เลย ที่ลานดินหน้าพระราชวัง” พระเจ้าพรหมทัตทรงนัดหมาย

“เป็นพระมหากรุณาธิคุณพระเจ้าข้า” อาจารย์ก้มลงกราบแทบพระบาท “และเป็นพระมหากรุณาธิคุณมากยิ่งขึ้นหากพระองค์จะป่าวประกาศเชิญชวนชาวเมืองมาร่วมเป็นสักขีพยานด้วย”

“ได้.....ท่านอาจารย์ ถ้าท่านต้องการอย่างนั้น” พระเจ้าพรหมทัตตรัสรับคำอย่างหนักแน่น

บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 06:02:04 PM »

 

--------------------------------------------------------------------------------
ความจริงแล้วอาจารย์รู้สึกสะเทือนใจที่ต้องมาแสดงฝีมือแข่งกับศิษย์ เพราะคิดไม่ถึงว่าศิษย์จะกล้าท้าทายตนเช่นนี้ “เราควรจะสอนให้เขาได้สำนึกบ้าง” อาจารย์บอกกับตนเองขณะเดินทางกลับบ้าน

คืนวันนั้น ขณะที่ทุกคนหลับกันหมดแล้ว อาจารย์ก็แอบไปที่โรงช้างและฝึกช้างให้เรียนรู้วิธีที่จะเอาชนะชายหนุ่มศิษย์อกตัญญูของตน เขาฝึกให้ช้างเรียนรู้คำสั่งและปฏิบัติการที่ตรงกันข้าม นั่นคือ

เมื่อออกคำสั่งว่า “ไป” ให้ช้างเรียนรู้ว่า “ต้องถอยหลัง”
เมื่อออกคำสั่งว่า “หยุดยืน” ให้ช้างเรียนรู้ว่า “ต้องนอน”
และเมื่อออกคำสั่งว่า “ถือ” ให้ช้างเรียนรู้ว่า “ต้องปล่อย”

รุ่งเช้าที่บริเวณหน้าพระราชวัง ชาวเมืองพาราณสีมาเฝ้าชมการแข่งขันประลองความสามารถระหว่างศิษย์กับอาจารย์อยู่เนืองแน่น พระเจ้าพรหมทัตประทับนั่งบนพระที่นั่งอย่างสง่างาม แล้วทันใดนั้นเอง อาจารย์กับศิษย์ก็ปรากฏตัวพร้อมด้วยช้างที่จะใช้ประลองความสามารถ

ครั้นได้เวลา อาจารย์กับศิษย์ก็ผลัดกันแสดงความสามารถในการบังคับช้าง ผลปรากฏว่าอาจารย์มีความสามารถบังคับได้อย่างไร ศิษย์ก็มีความสามารถอย่างนั้น ผู้คนที่มาเฝ้าชมต่างพากันเงียบกริบเพราะคิดว่าอาจารย์คงสู้ศิษย์ไม่ได้ อาจารย์เองก็ชื่นชมศิษย์ของตนเองอยู่ในที ช่วงสุดท้ายมาถึงแล้ว อาจารย์ยืนสงบนิ่งอยู่ครู่หนึ่งจากนั้นจึงเสนอวิธีการประลองความสามารถครั้งสุดท้าย คือ ให้ศิษย์สั่งบังคับช้างของตนเอง

“ได้.....ท่านอาจารย์ ช้างของท่านก็เหมือนช้างของข้าพเจ้า” ชายหนุ่มรับข้อเสนอของอาจารย์ทันที แล้วตรงรี่เข้าหาช้างของอาจารย์ พร้อมทั้งออกคำสั่งให้ช้างทำ

แต่ผลปรากฏว่าช้างกลับทำกิริยาอาการตรงกันข้ามหมดสิ้น

ถึงตอนนี้ ชายหนุ่มเริ่มหน้าถอดสีเพราะรู้สึกอับอายที่ไม่สามารถสั่งช้างของอาจารย์ให้ทำตามตนสั่งได้ ผู้คนที่เฝ้าชมซึ่งเอาใจช่วยอาจารย์อยู่ตลอดเวลา ต่างได้โอกาสลุกฮือขึ้นสาปแช่งชายหนุ่มกันเสียงอึงมี่

“ไป.....ไปให้พ้น ไอ้ลูกศิษย์เนรคุณ ช่างไม่รู้จักประมาณตัวเองบ้างเลย” ว่าแล้ว ต่างคนต่างปาก้อนดินใส่ชายหนุ่มจนได้รับบาดเจ็บอย่างแสนสาหัส และขาดใจตายในเวลาต่อมา


นิทานธรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ศิษย์ที่คิดล้างครูนั้นย่อมมีแต่ความวิบัติ เหมือนชายหนุ่มกับอาจารย์ผู้มากด้วยเมตตา ผลสุดท้ายชายหนุ่มก็ได้รับผลร้ายที่เกิดจากการกระทำของตนเอง



............... เอวัง ............... 
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 06:03:59 PM »


--------------------------------------------------------------------------------

 

ในอดีต มีครูดาบคนหนึ่งตั้งสำนักสอนเพลงดาบ โดยครูผู้นี้มีฝีมือในเพลงดาบอย่างยอดเยี่ยมยากจะมีผู้เสมอเหมือน จึงมีผู้สมัครเป็นศิษย์เล่าเรียนวิชาด้วยจำนวนมาก เมื่อเปิดสอนเพลงดาบเป็นเวลานานปี ก็ยิ่งมีศิษย์เพิ่มขึ้นโดยลำดับ ผู้ที่เรียนสำเร็จจนมีผีมือพอในแล้วก็ลาออกจากสำนักไป ผู้ที่ต้องการเรียนก็เข้ามาเป็นศิษย์อีกรุ่นแล้ว รุ่นเล่า จนเวลาล่วงเลยไปช้านาน ครูก็แกตัวลงเพราะอายุสูงขึ้น แต่ว่ายิ่งแก่ก็ยิ่งมีความสุข เพราะมีศิษย์มากมาย ศิษย์ที่รู้คุณทั้งหลายต่างไม่ทอดทิ้งครูตนโดยต่างมีน้ำใจช่วยกันสนองคุณครูด้วยการส่งเงินทองเสื้อผ้า ข้าวปลาอาหาร ตลอดจนสิ่งของต่างๆ ให้ครูได้มีใช้สอย โดยไม่ขาดแคลน ครูผู้นี้จึงเป็นอยู่อย่างสะดวกและมีความผาสุก เพราะสมบูรณ์ด้วยสมบัติโดยควรแก่อัตภาพ

ต่อมา มีชายคนหนึ่งมามอบตัวสมัครเป็นศิษย์ขอเรียนวิชากับครูท่านนี้ด้วย เมื่อครูรับศิษย์แล้วเขาได้ตั้งใจเรียนและฝึกซ้อมด้วยความเอาใจใส่ ขยัน และรับใช้ใกล้ชิดช่วยปรนนิบัติครู จนครูมีความเมตตาต่อเขาอย่างมาก จึงถ่ายทอดวิชาที่มีให้แก่ศิษย์ผู้นี้โดยไม่ปิดบัง รู้อย่างไรมีฝีมืออย่างใดก็สอนและฝึกฝนให้ได้รู้ได้มีฝีมือเหมือนกับครูทุกประการจนศิษย์คนนี้มีความสามารถเก่งกาจที่คนทั้งหลายต่างยกย่องเลื่องลือว่ามีความรู้และความสามารถเทียบเท่ากับครูไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย

ศิษย์ของครูคนนี้แม้จะเจริญด้วยความรู้และมีความสามารถในวิชาเพลงดาบอย่างดีเสิศแล้วก็ตาม แต่เป็นคนมีใจชั่วร้าย เขามองข้าวของสมบัติ ของครูด้วยความอิจฉาที่ครูสมบูร์ด้วยทรัพย์ทั้งปวงและยังมีผู้คนทั้งหลายยกย่องสรรเสริญครูนั้น แสลงหูและเสียดแทงหัวใจเขามากเพราะเขาคิดว่าหากไม่มีครูผู้นี้แล้ว เขาย่อมสามารถตั้งตัวเป็นครูสอนเพลงดาบแทนได้ ด้วยได้รับถ่ายทอดความรู้และความชำนาญจนมีความฉลาดและเชี่ยวชาญไม่แพ้ครู ถ้าครูยังมีชีวิตอยู่เขาย่อมต้องรอเสียเวลาที่จะเริ่มตั้งตัวให้มีฐานะร่ำรวยได้รวดเร็ว ฉะนั้น เขาจึงคิดที่จะจัดการกำจัดครูของเขาโดยพยายามคิดหาวิธีที่เหมาะสมอยู่

จนวันหนึ่งครูมีธุระต้องเดินทางไป ณ สถานที่แห่งหนึ่งซึ่งห่างไกลจากสำนัก จึงชวนศิษย์ผู้คิดปองร้ายไปเป็นเพื่อนร่วมเดินทางด้วย โดยไปกันเพียงสองคน เขาดีใจมากเพราะอาจมีโอกาสได้กำจัดครูในครั้งนี้ แต่ระงับใจไว้ไม่แสดงอาการที่ผิดปกตืทห้ปรากฏเมื่อเดินทางกันไปจนพ้นหมู่บ้านคนเข้าบริเวณป่าละเมาะระหว่างทางเป้นที่เปลี่ยว ชายผู้เป็นศิษย์ชั่วได้ถามครูว่า


"ข้าแต่ครู มีวิชาเพลงดาบใดบ้างที่ครูยังไม่ได้สอนข้าพเจ้า?" ครูตอบตามตรงว่า

"ไม่มีแล้ว ขึ้นชื่อว่าเพลงดาบที่ข้าศึกษาและฝึกฝนมามีอยู่เท่าไรข้าได้ถ่ายเทสอนเจ้าจนหมดสิ้นไม่มีเหลือ" เมื่อตอบไปแล้ครูมีความสงสัยในคำถามของศิษย์ จึงถามศิษย์บ้างว่า

"เจ้าถามเรื่องนี้ด้วยความประสงค์อันใด?"

ศิษย์ทรยสฟังครูตอบด้วยความดีใจรีบชักดาบที่สะพายอยู่ออกมา ถือกระชับมือมั่น ตอบครูว่า

"ดีแล้วตาเฒ่า เมื่อสอนวิชาแก่ข้าหมดทุกอย่างแล้วก็ควรตายได้ อย่าอยู่ให้เป็นเครื่องขวางความเจริญของข้าเลย"

พูดจบขยับตัวรำดาบเข้าหาครู ครูดาบไม่มีอาวุธติดตัวมาด้วย มีแต่ร่มกระดาษไม้ไผ่เล็ก ๆ ที่ถือกางแดดมาคันเดียว ได้โบกมือห้ามศิษย์เนรคุณและซักเพื่อทราบความต่อไปว่า

"เดี๋ยว ! เดี๋ยวก่อน ! เมื่อเจ้าจะทำร้ายข้าก็คงไม่ยาก อะไรหรอก เพราะเจ้ายังหนุ่มอยู่ แต่ข้าแก่แล้ว เจ้ามีอาวุธคือดาบส่วนข้ามีเพียงร่มกระดาษคันเดียวจะสู้เจ้าได้อย่างไร ?

แต่ข้าอยากรู้ว่าข้าทำอะไรผิดพลาดล่วงเกินจนเจ้าแค้นเคืองอย่างมากหรือ ? เจ้าจึงอาฆาตและต้องการฆ่าข้าช่วยบอกให้ข้ารู้ตัวก่อนเถิด"

"เปล่า ! ตาเฒ่า แกไม่ได้ทำอะไรล่วงเกินให้ข้าต้องแค้นเคือง" ศิษย์ชั่วตอบ

"ถ้าอย่างนั้น เจ้าจะฆ่าข้าทำไม?" ครูถามต่อไป

ศิษย์เลวทรามผู้นั้นจึงชี้แจงว่า

"เวลานี้ข้ามีความรู้ทัดเทียมแกแล้ว หากแกยังมีชีวิตอยู่ข้าก็ไม่มีโอกาสทำหน้าที่เป้นครูและยังมีผู้ที่เก่งเสมอกันเหลืออยู่ แต่ถ้าแกตายก็จะมีคนเก่งเฉพาะข้าเพียงคนเดียว ซึ่งไม่มีใครเทียมเท่าข้าจึงคิดมานานแล้วที่จะฆ่าแก และเพิ่งได้โอกาสวันนี้เอง" พูดจบศิษย์ถ่อยผู้นั้นใช้ดาบของตนไล่ฟันครูเป็นพัลวัน

ครูได้ฟังรู้เรื่องตลอด หมดความเมตตาต่อศิษย์ชั่ว คิดว่า "เป็นกรรมของสัตว์" บุญเขาหมดเพียงนี้ " เบี่ยงกายหลีกหลบคมดาบแล้วใช้น้ำเย็นล่อ โดยหลอกถามศิษย์ที่หวังร้ายต่อตนว่า

"ข้าสงสัย ดาบของเจ้าดูท่าจะไม่คมพอที่ละลิ้มเลือดในร่างข้ากระมัง?"

"ไม่ต้องสงสัย อย่างไรเสียแกต้องตายแน่วันนี้ ดาบของข้าลับไว้คมกริบแล้ว " ศิษย์โง่ตกหลุมพราง ครูจึงพูดต่อว่า

"เอาเถิด ถ้าเจ้าว่าดาบของเจ้าคมลองฟันร่มข้าดูซิว่าคันร่มจะหักไหม?"

พูดจบ ครูยกร่มที่หุบแล้วส่งยื่นล่อ ศิษย์ทรามผู้นั้นชะล่าใจยกดาบฟันฉับลงมาบนร่ม ซึ่งครูหลอกให้ฟันลงตรงท่อนปลาย พอเขาฟันลงครูก็ตวัดร่มรับให้คมดาบตัดปลายร่มขาดพอดีไกับไม้ไผ่คันร่มที่ถือไว้กลายเป็นไม้ที่แหลมเป็นปากฉลามคือเรียวแหลมแล้ว ได้ใช้ความรวดเร็วทิ่มปลายไม้ที่แหลมคมนั้นพุ่งสวนเข้าสู่ลำคอ ของศิษย์ทรยศอย่างแรงสุดกำลัง โดยเขาไม่อาจป้องกันตัวได้ทัน และไม่เคยเรียนวิธีแก้เรื่องนี้มาก่อนเลย ซ้ำเมื่อครูทิ่มปลายไม่อันเป้นคันร่มนั้นเข้าลำคอเขาจนเป็นเแลลึกทะลุแล้ว ยังทิ้งคาคันร่มที่แทงให้ติดคอเขาอีก ได้รับความเจ็บปวดรวดร้าวอย่างสุดแสน สิ้นกำลังไม่อาจทรงตัวยืนอยู่ได้ ล้มลงแทบเท้าของครู ดาบหลุดจากมือ แต่ก่อนจะขาดใจตายเขายังมองดูหน้าของครู เห็นครูยิ้มกับเขา และแว่วได้ยินครูพูดกับเขาเป็นครั้งสุดท้ายว่า


"วิชานี้ เรียกว่าวิชาไม้เล็กสู้ดาบ
ข้าลืมไปไม่ได้สอนเจ้า เจ้าจึงไม่ได้เรียน

ขาดอยู่เพียงวิชานี้วิชาเดียวแท้ ๆ
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 06:08:52 PM »

ศิษย์คิดล้างครู



ผู้ใดที่คนอื่นได้ทำคุณไว้ในกาลก่อนแล้วภายหลังเบียดเบียนเขาด้วยความชั่ว
ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคนอกตัญญู ย่อมไม่พบกับความเจริญทั้งหลาย

 

    เราทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ มีสิ่งที่จะต้องศึกษาควบคู่กันไปอยู่ ๒ ประการ คือ การศึกษาวิชาความรู้ในทางโลก และการศึกษาวิชชาในทางธรรม การศึกษาความรู้ทางโลก มีเป้าหมาย เพียงเพื่อให้เรารู้จักวิธีการแสวงหาปัจจัยสี่มาเลี้ยงชีพ เพื่อให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ส่วนการศึกษาความรู้ในทางธรรมนั้น มีเป้าหมายเพื่อฝึกฝนอบรมจิตใจของเรา ให้สะอาดบริสุทธิ์ เพื่อจะได้เข้าถึงแหล่งแห่งความรู้ที่สมบูรณ์ เป็นความรู้เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ให้เข้าถึงความสุขอันแท้จริงที่มีอยู่ภายในตน

    มีพระบาลีกล่าวไว้ใน ขุททกนิกาย เปตวัตถุ ว่า


โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ    ปจฺฉา ปาเปน หึสติ

อลฺลปาณิหโต โปโส    น โส ภทฺรานิ ปสฺสติ


    ผู้ใดที่คนอื่นได้ทำคุณไว้ในกาลก่อน แล้วภายหลังเบียดเบียนเขาด้วยความชั่ว ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคนอกตัญญู ย่อมไม่พบกับความเจริญทั้งหลายŽ

    ในหมู่มนุษย์มีบุคคลที่หาได้ยากในโลกอยู่ ๒ ประเภท คือ บุคคลที่ทำความดีแก่ผู้อื่นก่อน โดยไม่หวังผลตอบแทน ทำด้วยใจที่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมตตา เช่นพ่อแม่ครูบาอาจารย์เป็นต้น เรียกบุคคลเหล่านี้ว่า บุพการี
 
และบุคคลที่รู้สำนึกในบุญคุณของบุพการี แล้วหาโอกาสตอบแทนพระคุณ เราเรียกว่าคนกตัญญูกตเวที บุคคล ๒ ประเภทนี้หาได้ยาก เพราะคนส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการฝึกฝนอบรมจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ จิตถูกอวิชชาเข้าครอบงำ ทำให้มองไม่เห็นคุณความดีของผู้อื่น จึงไม่คิดที่จะตอบแทนบุญคุณใคร


    ผู้มีความกตัญญู ถึงแม้ดวงตาทั้งสองข้างจะมืดบอด แต่ดวงใจไม่มืดบอด ดวงใจของเขาสว่างไสว พอที่จะเห็นคุณธรรมความดีของผู้อื่นที่ได้ทำไว้กับตน หากเป็นคนใจมืดบอดเสียแล้ว แม้จะได้รับอุปการคุณมากมายเพียงใดก็ตาม ก็ยังไม่คิดที่จะตอบแทน เป็นเพียงผู้รับที่ไม่มีความกตัญญูรู้คุณต่อใครๆ ถ้าได้โอกาสก็จะประทุษร้ายเขา เหมือนงูเห่าที่ชาวนาเลี้ยงไว้ ในที่สุดก็แว้งกัดชาวนาจนถึงแก่ความตาย


    หากปรารถนาจะประสบความสุข ความสำเร็จในชีวิต ต้องเป็นผู้ที่ประกอบด้วยคุณธรรม ๒ ประการคือ ความกตัญญูกตเวทีเป็นพื้นฐาน เราก็เช่นเดียวกัน ควรมีความกตัญญูรู้คุณ ในท่านผู้มีอุปการคุณเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่    ครูบาอาจารย์ หรือแม้กระทั่งสัตว์เดียรัจฉานที่มีจิตใจประเสริฐ และมีบุญคุณต่อเรา ก็ควรหาโอกาสตอบแทนคุณให้ได้ ไม่ควรประทุษร้ายน้ำใจท่านผู้มีคุณ เพราะความอกตัญญูจะเป็นเหตุ ให้ชีวิตต้องพบกับความพินาศ


    เหมือนดังเรื่องของมุสิละผู้หลงลืมตัว เมื่อได้รับความรู้จากอาจารย์แล้ว ก็หวังอยากเด่นอยากดังกว่าอาจารย์ ทำให้ถึงความพินาศย่อยยับ เป็นคนสูญเสียอนาคตไปในที่สุด


    *ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นศิลปิน ชื่อ คุตติละ เป็นผู้มีความชำนาญในการดีดสีตีเป่า มีความสามารถในการเล่นดนตรีทุกชนิด จนได้เป็นอาจารย์สอนดนตรีของผู้มีชื่อเสียง ส่งผลให้ท่านเป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งชมพูทวีป ทำให้มีลูกศิษย์ลูกหาจากทั่วทุกสารทิศมาขอเรียนวิชามากมาย     

    ต่อมามีเด็กหนุ่มคนหนึ่งชื่อ มุสิละ ได้ยินกิตติศัพท์ของ  พระโพธิสัตว์ ก็ปรารถนาอยากจะได้วิชาดีดพิณบ้าง จึงเดินทางมาขอเรียนวิชาด้วย อาจารย์คุตติละเป็นผู้ฉลาดในการดูลักษณะของคน มองเพียงครู่เดียวก็รู้ว่า เด็กคนนี้เป็นคนไม่รู้จักบุญคุณคน ท่านจึงไม่รับไว้เป็นศิษย์ แต่มุสิละก็ไม่ย่อท้อ ได้เข้าไปหาบิดามารดาของท่านอาจารย์ คอยอุปัฏฐาก บำรุงท่านเป็นอย่างดี จนท่านมีความเอ็นดู แล้วขอร้องให้ช่วยเหลือฝากไว้เป็นศิษย์ พระโพธิสัตวŒไม่อยากขัดใจบิดามารดา จึงรับเขาไว้เป็นศิษย์ สอนศิลปะให้ทุกอย่างโดยไม่ปิดบังอำพราง เพราะความที่ท่านเป็นคนใจกว้าง ไม่เคยหวงวิชาความรู้เลย


    ส่วนมุสิละนั้นเป็นคนเฉลียวฉลาดเรียนรู้ได้รวดเร็ว ไม่ช้าไม่นานก็เรียนจบศิลปะทั้งหมด เมื่อเรียนจบแล้วก็คิดว่า    ถ้าหากเราได้แสดงศิลปะต่อหน้าพระที่นั่ง เราก็จะมีชื่อเสียง โด่งดังยิ่งกว่าอาจารย์ แล้วลาภสักการะทั้งหมดก็จะเป็นของเรา คิดได้ดังนี้ จึงบอกกับอาจารย์ว่า กระผมประสงค์จะแสดงดนตรีต่อหน้าพระที่นั่ง ขอท่านอาจารย์ได้โปรดพาผมไปเข้าเฝ้าด้วยŽ อาจารย์ก็มีใจกรุณาต่อศิษย์อยู่แล้ว จึงได้พาไปเข้าเฝ้าพระราชา


    เมื่ออาจารย์ไปถึงพระราชวัง ได้กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระราชาผู้เจริญโปรดทอดพระเนตรความสามารถในการดีดพิณของลูกศิษย์ของข้าพระองค์ด้วยเถิดŽ พระราชาได้ทรงสดับการดีดพิณของมุสิละแล้ว ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงมีรับสั่งให้รับราชการอยู่ในวัง พร้อมกับพระราชทานเงินเดือน ให้ครึ่งหนึ่งของอาจารย์


    มุสิละกราบทูลว่า ตนมีความสามารถพอๆ กับอาจารย์ จึงไม่ขอรับเงินเดือนที่ต่ำกว่าอาจารย์ ขอให้พระองค์พระราชทานเท่ากับอาจารย์เถิด พระราชาตรัสว่า เจ้าอย่าพูดอย่างนั้น ธรรมดาอาจารย์ต้องได้รับมากกว่าศิษย์Ž มุสิละก็ ไม่ยอม จากนั้นก็ออกไปประกาศให้มหาชนไปเป็นสักขีพยาน ในการประลองฝีมือการดีดพิณระหว่างตนกับอาจารย์ ต่อหน้า พระที่นั่งในอีก ๗ วันข้างหน้า


    อาจารย์ได้ฟังดังนั้นก็รู้สึกทอดถอนใจว่า สู้อุตส่าห์สั่งสอนมา ก็หวังว่าจะให้เป็นตัวแทนแนะนำความรู้นี้ต่อไป ไม่ได้ หวังให้ไปแข่งดีกับใครเลย แต่นี่จะมาท้าแข่งกับครูเสียเอง กลายเป็นศิษย์คิดล้างครูเสียแล้วŽ และตอนนี้ตัวอาจารย์เองก็แก่มากแล้ว คงสู้ศิษย์อกตัญญูคนนี้ไม่ไหว เพราะการประลองฝีมือ จะต้องใช้กำลังมาก คนหนุ่มย่อมได้เปรียบคนแก่ และการที่ศิษย์กับอาจารย์จะมาต่อสู้กันเอง ก็เป็นเรื่องที่น่าอับอายอย่างยิ่ง ยิ่งคิดก็ยิ่งรู้สึกเสียใจ ที่ศิษย์กลายเป็นคนอกตัญญู


    เมื่อหาทางออกไม่ได้ อาจารย์คุตติละจึงคิดที่จะไปฆ่าตัวตาย เรื่องนี้จึงร้อนไปถึงพระอินทร์ ต้องเข้าไปหาพร้อมกับให้กำลังใจว่า ท่านอาจารย์ ท่านเคยเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าในอดีตชาติ ข้าพเจ้าผู้เป็นศิษย์จะช่วยบรรเทาทุกข์ของท่านอาจารย์เอง ขอให้อาจารย์อย่าได้กังวลใจต่อไปอีกเลยŽ  อาจารย์ได้ฟังดังนั้นรู้สึกชื่นใจ รู้สึกมีกำลังใจขึ้นมา แต่วิสัยของอาจารย์ ถึงอย่างไรก็ไม่คิดที่จะเอาชนะศิษย์ของตน คิดเพียงแค่จะสั่งสอนศิษย์ให้ได้สติกลับคืนมาเท่านั้น


    ครั้นถึงวันที่ท้าประลอง พระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ก็มาทอดพระเนตรดูการแข่งขัน เมื่อการแข่งขันเริ่มขึ้น ลูกศิษย์ได้ดีดพิณตามที่อาจารย์สอนมาจนหมด ซึ่งเป็นที่พอใจของมหาชนเป็นอย่างมากเลย เมื่อถึงเวลาของอาจารย์ พระอินทร์ก็มายืนอยู่ในอากาศ ซึ่งมีแต่อาจารย์เท่านั้นที่มองเห็น พระอินทร์ ตรัสบอกให้อาจารย์ดีดพิณตามจังหวะที่แนะนำ ผสมผสานกับเสียงทิพย์ ทำให้เสียงพิณก้องกังวานไพเราะมากเป็นพิเศษ   ประหนึ่งว่าดนตรีทิพย์จากสรวงสวรรค์ไพเราะจับใจผู้ฟัง มหาชนปรบมือดังสนั่นประหนึ่งว่าแผ่นดินจะทรุด และก็ตัดสินให้อาจารย์เป็นฝ่ายชนะ พระราชาทรงกริ้วศิษย์อกตัญญู จึงให้ขับไล่ออกจากเมืองไป มหาชนต่างลุกฮือขึ้นมาเอาก‰อนดิน ทˆอนไม‰ขว‰างปาจนนายมุสิละถึงแกˆความตาย จะเห็นได‰ว่า ชีวิตของเขาจากอนาคตที่กำลังจะรุ่งโรจน์ ต้องดับวูบลงทันที เพราะความอกตัญญูของตนเอง


    เพราะฉะนั้น เกิดเป็นคนควรรู้คุณคน ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี พวกเราทั้งหลายต้องสำนึกไว้เสมอว่า อย่าเป็นคนอกตัญญู เพราะคนไม่รู้คุณคน จะมีแต่ความเสื่อม ควรรู้จักมองให้เห็นคุณความดีของผู้อื่น ซึ่งเบื้องต้นต้องมองให้เห็นความดีความบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นในใจของเราเสียก่อน เมื่อใจของเราบริสุทธิ์แล้ว จะสามารถมองเห็นคุณธรรมของผู้อื่น   ได้อย่างชัดเจน


    การปฏิบัติธรรมด้วยการหมั่นทำใจให้หยุดนิ่ง ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ เป็นสิ่งสำคัญ จะทำให้คุณธรรมเกิดขึ้นในใจ เห็นคุณธรรมความดีของผู้อื่นได้อย่างแจ่มแจ้งอีกด้วย


    เพราะฉะนั้น เราต้องหมั่นเพิ่มเติมความบริสุทธิ์ให้แก่ตนเอง ด้วยการทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ให้ได้ตลอดเวลา แล้วฝึกคุณธรรมทั้งหยาบ และละเอียดควบคู่กันไป ไม่ช้าเราก็จะได้เข้าถึงพระธรรมกายในตัว เข้าถึงผู้รู้ ผู้บริสุทธิ์ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมกันทุกคน
 
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)


*มก. คุตติลวิมาน เล่ม ๔๘ หน้า ๒๔๗ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 13, 2011, 06:12:47 PM โดย pasta » บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 06:17:08 PM »

ศิษย์คิดล้างครู   
   
   

   
  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 
   
 
ศิษย์คิดล้างครู
 
ศิษย์คิดล้างครู
ความหมาย

(สำ) น. ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้างครูบาอาจารย์.

 
 
 
 
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
นายรัก-รักในหลวง-
เลือด สี น้ำ เงิน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 203
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1646


จงภูมิใจในความเป็นตัวของตัวเอง


« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 15, 2011, 02:12:06 PM »

ขอบคุณครับ พี่อรรถ  ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

"สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนพาไป"
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #7 เมื่อ: มกราคม 15, 2011, 05:40:17 PM »

ครับผม  ไหว้ หลงรัก
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
ชิริว
Full Member
***

คะแนน 14
ออฟไลน์

กระทู้: 120



« ตอบ #8 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 12:44:46 PM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #9 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 12:47:43 PM »

ขอบคุณครับ

ครับผม
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
ณัฏฐ์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 133
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1229



« ตอบ #10 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 12:54:33 PM »

+ ครับพี่ ขอบคุณครับ ไหว้
บันทึกการเข้า
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #11 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 12:56:43 PM »

+ ครับพี่ ขอบคุณครับ ไหว้

ครับผม  ไหว้
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
kpai
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 109
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 694



« ตอบ #12 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:41:39 PM »

ขอคารวะครับ และ + 1 ครับ  ขออนุญาตถ่ายทอดครับ  จะใช้เล่าเรื่องสั้นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกเสือตอนปิดกองครับ   ไหว้
บันทึกการเข้า
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #13 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:51:26 PM »

ขอคารวะครับ และ + 1 ครับ  ขออนุญาตถ่ายทอดครับ  จะใช้เล่าเรื่องสั้นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกเสือตอนปิดกองครับ   ไหว้

ขอบคุณครับผม  ไหว้ ด้วยความยินดียิ่งครับ   ...  ผมเปรียบตัวเองแค่ชั้นวางหนังสือในที่สาธารณะที่ผู้คนเดินผ่านไปมาและเลือกหยิบจับหนังสือแต่ละเล่มที่ชอบหรือสนใจขึ้นมาอ่าน... ผมพุดไม่เก่งแต่ตั้งกะทู้เก่งครับ...ไม่หวังสิ่งตอบแทนหรือคะแนนอะไร  ทุกท่านที่เข้ามาอ่านอาจได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับผม... ไหว้
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.125 วินาที กับ 22 คำสั่ง