นายสมชายนึกออกหนึ่งเรื่องครับ...
ก่อนหน้านี้ กรมราชองครักษ์ขึ้นตรงกับกระทรวงกลาโหม แปลว่า รมว.กลาโหม/ปลัดกลาโหม/ผบ.เหล่าทัพฯ ดูแลอยู่ครับ, แต่ของใหม่นี่ย้ายสังกัดไปให้ฝ่ายการเมืองรับผิดชอบครับ... หากคิดแบบแรงๆ ก็คือฝ่ายการเมืองสามารถเปลี่ยนตัวสมุหราชองครักษ์ได้ หาก"ไม่สนองนโยบาย"ครับ...
กึ๋ยส์...
ไปกันใหญ่แล้ว
รัฐธรรมนูญ
มาตรา ๑๗ การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ากรมราชองครักษ์จะเป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมก็จริง แต่ก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ดังนั้นงานที่ต้องเสนอผ่านขึ้นมาถึงรัฐมนตรี จึงเป็นเพียงงานธุรการทั่วไป งานสำคัญ ๆ ทำได้เอง
นอกจากนั้น ในข้อเท็จจริง สรอ.ทุกท่านจะมี "อาวุโสรุ่น" สูงมาก ยืนคุยกับ ปล.กห.หรือแม้แต่ รมว.กห. น้อง ๆ เหล่านั้นก็ต้องให้ความเคารพยำเกรง หรืออย่างน้อย ทุกคนก็รับรู้ว่า สรอ.มีผู้บังคับบัญชาเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
ในทางวิชาการ กฎหมายทุกฉบับจะต้องมีผู้รับผิดชอบ หรือผู้รักษาการตามกฎหมายเสมอ ซึ่งได้แก่เป็นรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการนั้น ๆ หรือนายก ฯ เอง ซึ่งตามกฎหมายฉบับนี้ หน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามอยู่ต่างสังกัดกัน คืออยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (สตช.) ดังนั้นการกำหนดให้ นายกฯ เป็นผู้รักษาการ จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม และในเมื่อเป็นผู้รักษาการ จึงควรจะต้องมีอำนาจในการให้ความเห็นชอบบ้าง ไม่เช่นนั้นก็เป็นเพียงตรายาง
อย่ากังวลเกินไปเลยครับ สามเหล่าทัพมีทรัพยากรภายในตัวเอง ที่จะดูแลและถวายพระเกียรติได้อย่างเพียงพอ
เอาตัวอย่างง่าย ๆ ก็ได้ เคยทราบหรือไม่ว่า บ้านที่เสาเทเวศร์ที่ป๋าพักอยู่นั้น ไม่ได้ใช้งบประมาณจากรัฐบาลแม้แต่เพียงบาทเดียว
ขอบพระคุณครับ