เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 6424
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 50462
|
|
« เมื่อ: สิงหาคม 06, 2013, 11:01:48 AM » |
|
มธ. เผยผลสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตจบใหม่ ชี้แพทย์ ได้เงินเดือนสูงสุด ส่วนโอกาสทำงาน บัญชี แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และสหเวชศาสตร์ มีงานทำสูงสุด 100%
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปิดเผยผลการสำรวจ "ภาวะการมีงานทําของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปี การศึกษา 2554" ซึ่งจัดเก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคม 2555 และติดตามภาวะการมีงานทําต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2556 โดยนําเสนอข้อมูลทั้งหมดในภาพรวมรายกลุ่มสาขาวิชา 3 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
โดยผลสํารวจภาวะการมีงานทําของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปี การศึกษา 2554 พบว่า บัณฑิตระดับปริญญาตรีภาคปกติ สําเร็จการศึกษาทั้งสิ้น 5,693 คน และได้ตอบแบบสํารวจภาวะการมีงานทํา 5,107 คน (ร้อยละ 90.75) ในจํานวนนี้
มีงานทําแล้ว ร้อยละ 71.33 (3,643 คน) ยังไม่ได้ทํางาน ร้อยละ 1.53 (78 คน) ศึกษาต่อ/อื่น ๆ ร้อยละ 27.14 (1,386 คน)
เมื่อพิจารณาข้อมูลการมีงานทําของบัณฑิตในรายคณะ เรียงลําดับตามร้อยละการมีงานทําเทียบกับผู้สําเร็จการศึกษาสูงสุด
อันดับแรก คือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตมีงานทําสูงสุด ร้อยละ 100 เท่ากัน อันดับ 2 คือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร้อยละ 98.57 อันดับ 3 คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ร้อยละ 98.54 อันดับ 4 คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ร้อยละ 98.26 อันดับ 5 คือ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ร้อยละ 97.92
ส่วนประเภทงานที่ทำ
พนักงานบริษัท/องค์กรธุรกิจเอกชน ร้อยละ 68.71 (2,503 คน) ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ร้อยละ 12.93 (471 คน) ธุรกิจอิสระ/เจ้าของกิจการ ร้อยละ 7.91 (288 คน) ประกอบอาชีพอื่น ๆ ร้อยละ 4.97 (181 คน) พนักงาน/ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.78 (65 คน) พนักงานองค์การต่างประเทศ/ระหว่างประเทศ ร้อยละ 1.15 (42 คน) ไม่ระบุ ร้อยละ 2.55 (93 คน)
โดยบัณฑิตที่ได้งานทําแล้วได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 21,059.69 บาท โดยคณะที่บัณฑิตได้รับเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับ ได้แก่
1. คณะแพทยศาสตร์ 46,477.74 บาท 2. คณะทันตแพทยศาสตร์ 38,030.85 บาท 3. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร 23,577.91 บาท 4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ 23,532.06 บาท 5. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 22,902.01 บาท 6. คณะเศรษฐศาสตร์ 20,142 บาท 7. คณะศิลปศาสตร์ 19,813.05 บาท 8. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 19,112 บาท 9. คณะศิลปกรรมศาสตร์ 18,826.75 บาท 10. คณะสหเวชศาสตร์ 18,693.14 บาท 11. คณะรัฐศาสตร์ 18,450.84 บาท 12. คณะพยาบาลศาสตร์ 17,977.80 บาท 13. คณะนิติศาสตร์ 17,577.93 บาท 14. คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง 17,026.53 บาท 15. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 16,722.40 บาท 16. คณะสาธารณสุขศาสตร์ 16,638.21 บาท 17. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 16,561.64 บาท 18. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 14,552.77 บาท 19. วิทยาลัยสหวิทยาการ 13,482.53 บาท
โดยความรู้ความสามารถพิเศษที่ทําให้ได้งานทําสอดคล้องกับกลุ่มสาขาวิชาที่สําเร็จการศึกษา คือ
กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คือ ด้านภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 44.04 กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 41.31 กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ อื่น ๆ (ซึ่งระบุว่า เป็นความรู้เฉพาะสาขาวิชาชีพ) ร้อยละ 25.67
โดยบัณฑิตส่วนใหญ่ได้งานทําตรงสาขาที่สําเร็จ ร้อยละ 96.90 (3,530 คน) และสามารถนําความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับงานที่ทําได้ในระดับมาก ร้อยละ 37.47 (1,365 คน) และพึงพอใจต่องานที่ทํา ร้อยละ 85.59 (1,819 คน)
ส่วนบัณฑิตที่ไม่พึงพอใจในงานที่ทํา มีสาเหตุเนื่องจาก
ไม่พอใจค่าตอบแทน ร้อยละ 25.14 (132 คน) ไม่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา ร้อยละ 21.90 (115 คน) ระบบงาน ร้อยละ 20.00 (105 คน) ขาดความก้าวหน้า ร้อยละ 11.81 (62 คน) ขาดความมั่นคง ร้อยละ 8.95 (47 คน) สาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 8.19 (43 คน) ผู้ร่วมงาน ร้อยละ 4.00 (21 คน)
สําหรับบัณฑิตยังไม่ได้ทํางาน (78 คน) นั้น มีสาเหตุมาจาก
ยังไม่ประสงค์จะทํางาน ร้อยละ 43.59 (34 คน) รอฟังคำตอบจากหน่วยงาน ร้อยละ 32.05 (25 คน) สาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 21.79 (17 คน) ไม่ระบุ ร้อยละ 3.70 (2 คน)
สําหรับบัณฑิตที่กำลังศึกษาต่อ (1,371 คน) ส่วนใหญ่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ร้อยละ 70.75 (970 คน) โดย
เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาเดิม ร้อยละ 49.23 (675 คน) เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาใหม่ ร้อยละ 47.12 (646 คน) ไม่ระบุ ร้อยละ 3.65 (50 คน)
เมื่อพิจารณาแหล่งการศึกษาต่อ พบว่า
ศึกษาต่อในประเทศ ร้อยละ 77.61 (1,064 คน) ศึกษาต่อต่างประเทศ ร้อยละ 22.39 (307 คน)
เหตุผลที่ตัดสินใจศึกษาต่อส่วนใหญ่เนื่องจาก
งานที่บัณฑิตต้องการต้องใช้วุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 39.97 (548 คน) เป็นความต้องการของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ร้อยละ 26.55 (364 คน) เหตุผลอื่น ๆ ร้อยละ 24.29 (333 คน) ไม่ระบุ ร้อยละ 4.67 (64 คน) ได้รับทุนศึกษาต่อ ร้อยละ 4.52 (62 คน)อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://fb.kapook.com/education-67766.html
|