เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 28, 2024, 04:45:05 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี(คอซิมบี๊)ผู้ว่าราชการเมืองตรัง สมุหเทศาภิบาลมณฑภู  (อ่าน 984 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« เมื่อ: กันยายน 20, 2013, 08:31:48 PM »

พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊)
ผู้ว่าราชการเมืองตรัง สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต



       คอซิมบี๊ เป็นบุตรคนที่ ๖ ของพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๐๐ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๔๕๖



       เมื่ออายุได้ ๙ ขวบ ได้ติดตามบิดาไปประเทศจีน ศึกษาภาษาจีน และการทำธุรกิจ ทำให้ท่านไม่มีโอกาสเรียนหนังสือไทย แต่ท่านสามารถเขียนภาษาจีน และพูดได้ถึง ๙ ภาษา คือ ไทย อังกฤษ มลายู ฮินดูสตานี และภาษาจีนต่างๆ อีก ๕ ภาษา
       พุทธศักราช ๒๔๒๕ เมื่อบิดาถึงแก่อนิจกรรม คอซิมก๊อง พี่ชายได้นำเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรที่ หลวงบริรักษ์โลหวิสัย ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง
       พุทธศักราช ๒๔๒๘ ได้เป็นที่ พระอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ว่าราชการเมืองตระ (กระบุรี)
       พุทธศักราช ๒๔๓๓ ได้เป็นที่ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ผู้ว่าราชการเมืองตรัง
       พุทธศักราช ๒๔๔๔ ได้เป็นที่ สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต


       พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบี๊) เป็นนักปกครองที่สามารถและเป็นนักพัฒนาที่ทันสมัย โดยมุ่งพัฒนาบ้านเมืองในหลักสำคัญ ๖ ประการ คือ การคมนาคมสื่อสาร การศึกษา การสาธารณสุข การเกษตรกรรม การค้าขาย การปราบปรามโจรผู้ร้ายและการรักษาความสงบ ทั้งนี้โดยวางแผนการพัฒนาไว้ล่วงหน้าทุกจังหวัดและแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม ดังตัวอย่าง

       การคมนาคมสื่อสาร ท่านให้ความสำคัญของการติดต่อขนส่งและการสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตย้ายเมืองตรังจากตำบลควนธานี ซึ่งมีการติดต่อคมนาคมได้เฉพาะทางน้ำ ไปตั้งที่ตำบลกันตัง อันเป็นทำเลที่จะติดต่อได้สะดวกกว่า และดำเนินการตัดถนนระหว่างตำบลเมือง จังหวัด ให้ติดต่อถึงกันได้โดยสะดวก จากนั้นจึงชักชวนราษฎรให้ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ริมถนน
       วิธีการตัดถนน ของท่านเป็นไปอย่างพิสดาร เพราะไม่มีเครื่องจักรเครื่องยนต์ ในถนนที่สูงชันอย่างเช่น เขาพับผ้า ซึ่งเชื่อมจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง ท่านให้เผาหินภูเขาจนแดง แล้วใช้น้ำราดให้หินแตก ใช้ช้างลากก้อนหินมาบดถนนให้แน่น นับเป็นอัจฉริยภาพของท่านที่ไม่ยอมให้อุปสรรคมาขวางหน้า

      การขนส่ง สมัยนั้นใช้ "เกวียน" เป็นหลัก ท่านได้จัดสร้างเกวียน และซื้อโคด้วยเงินบำรุงเมืองซึ่งเรียกเก็บเจ้าของเหมืองแร่ แลกเปลี่ยนกับการที่เจ้าของเหมืองจะต้องขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน จากนั้นก็จ่ายเกวียนให้แก่กำนันผู้ใหญ่บ้านใช้เป็นที่แพร่หลาย ราษฎรเรียกว่า " เกวียนเทศา" ตามตำแหน่งของท่านเมื่อเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑล

       การติดต่อทางน้ำ ได้สร้างท่าเรือที่อ่าวภูเก็ต และขุดอู่จอดเรือในคลองภูเก็ต เพื่อให้เรือใบและเรือกลไฟขนาดใหญ่เข้าจอดได้ ท่าเรือนี้ได้รับพระราชทานนามว่า "ท่านเรศ" ท่านได้ริเริ่มสร้างเรือกลไฟใช้ประจำจังหวัดต่างๆ เพื่อติดต่อกันภายในมณฑลให้สะดวกยิ่งขึ้น ด้วยในขณะนั้น จังหวัดระนองมีการติดต่อสื่อสารระหว่างจังหวัดและมณฑลโดยเรือเมล์เพียงเดือนละ ๒ ครั้งเท่านั้น ยังไม่มีโทรเลขและโทรศัพท์ ท่านได้ดำเนินการขออนุญาตกระทรวงโยธาธิการจัดตั้งสายโทรเลขและโทรศัพท์จากตะกั่วป่าถึงระนอง พร้อมทั้งสร้างถนนขนาบกับเสาโทรเลข

       การศึกษา ท่านให้ความสำคัญต่อการศึกษามาก ทั้งภาคประชาชน และภิกษุสามเณร ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนปริยัติธรรม จัดหาพระภิกษุที่มีความรู้มาสอน จัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กตามวัด จ้างครูที่มีความรู้ความสามารถ โดยใช้เงินบำรุงเมืองจ่ายเงินเดือนครู หากหาครูฆราวาสไม่ได้ ก็นิมนต์พระภิกษุสอน โดยถวายเป็นเงินนิตยภัต ส่วนเด็กนักเรียนต้องเสียค่าเล่าเรียนครอบครัวละ ๑ บาทต่อเดือน
       เนื่องจากราษฎรในมณฑลภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นชาวจีนและมลายู จึงมีการสอนทั้งภาษาจีน ภาษามลายู และภาษาอาหรับ ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาจีนแห่งแรกขึ้นที่เมืองภูเก็ต พระยารัษฎาฯ เล็งเห็นถึงผลทางการเมืองว่า อาจจะเป็นแนวทางปลูกฝังค่านิยมแบบสาธารณรัฐ จึงทูลปรึกษาสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งแก้ปัญหาด้วยการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นโรงเรียน ตั้งกรรมการรับผิดชอบดำเนินการ โดยสอนทั้งภาษาไทยและภาษาจีนแก่เด็กทุกคน กับทั้งห้ามสอนในสิ่งที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศไทย ในโรงเรียนที่สอนภาษามลายู ก็ดำเนินการเช่นเดียวกัน   

       ริเริ่มระบบพ่อแม่อุปถัมภ์ หากท่านไปตรวจราชการแล้วพบเด็กที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ท่านจะนำใส่รถมาพบพ่อแม่ผู้ปกครอง หากพ่อแม่ยากจนส่งเสียให้เรียนไม่ได้ ท่านจะมอบหมายให้ข้าราชการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปกครองแทน เมื่อท่านกลับไปตรวจราชการที่นั้นอีก ผู้ปกครองคนใหม่ต้องนำเด็กมาพบทุกครั้งเพื่อจะสอบถามการเรียนและการอบรมสั่งสอน หากปรากฏว่าเด็กพัฒนาขึ้นเป็นที่พอใจ ท่านจะให้รางวัลและชมเชยผู้ปกครอง การกระทำอย่างนี้ ท่านได้ปฏิบัติอยู่เสมอ

       โรงเรียนสตรี พ.ศ.๒๔๕๑ ได้ตั้งโรงเรียนของสตรีขึ้น ให้เล่าเรียนหนังสือ และฝึกวิชาช่างของสตรีสมัยนั้น

      
 การศึกษาก้าวไกล ด้วยการคัดเลือกบุตรหลานข้าราชการในมณฑลส่งไปศึกษาภาษาอังกฤษที่ปีนัง และศึกษาวิชาการปกครอง และการบริหารราชการที่กรุงเทพฯ เพื่อกลับมารับราชการในมณฑลภูเก็ตสืบไป

       ส่งข้าราชการไปศึกษาดูงานต่างประเทศ เพื่อนำความรู้กลับมาใช้ โดยส่งพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) กับพระยาอาณาจักร (อ้น ณ ถลาง) ไปดูงานการเกษตรและการปลูกยางพาราที่สหพันธรัฐมลายู

       การสาธารณสุข ได้จัดให้มีแพทย์ประจำตำบลขึ้นทั่วไป เรียกว่าแพทย์เชลยศักดิ์ หากที่ใดไม่มีแพทย์เชลยศักดิ์ ก็ขอร้องพระสงฆ์ที่มีความรู้ ทางด้านแพทย์หรือยาสมุนไพรช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่ราษฎร

       โรงพยาบาลสมัยใหม่ มีเครื่องเอ็กซเรย์เป็นแห่งแรกในประเทศไทย รักษาโรคแก่คนทั่วไปโดยไม่จำกัด โรงพยาบาลที่ท่านตั้งขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ปลูกสร้างใหม่และพระราชทานนามว่า "วชิรพยาบาล"

       การเกษตรสวนครัว แนะนำราษฎรเลี้ยงไก่ บ้านละ ๕ แม่ ปลูกพืชผักสวนครัวอย่างละ๕ ต้น หากผู้ใดทำนาและสวนครัวได้ผลในเนื้อที่ ๒๕ ไร่ จะได้รับยกเว้นการเกณฑ์แรงงานโยธาปีละ ๑๕ วัน ถ้าปลูกมะพร้าว ๕๐ ต้น หมาก ๑๐๐ ต้น กาแฟ ๕๐ ต้น ภายใน ๑๐ ปีไม่ต้องเสียภาษีอากร ทั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่ของจังหวัด อำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ตรวจตราอย่างเข้มงวดเสมอ

      ปลูกยางพารา เมื่อพริกไทย พืชส่งออกของไทยราคาตกต่ำลง ท่านจึงศึกษาการปลูกและทำยางพาราจากรัฐมลายู (ประเทศมาเลเซีย) ได้นำพันธุ์ยางพารามาชักชวนแกมบังคับให้ประชาชนปลูกจนเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ ราษฎรเรียกว่า “ยางเทศา” และได้สร้าง “เกวียนเทศา” เพื่อขนส่งยางดังกล่าว ยางต้นแรกปลูกที่ อ.กันตัง จ.ตรัง

       ให้บริษัทนายทุนสร้างสาธารณประโยชน์ตอบแทนบ้านเมือง บริษัททุ่งคาฮาร์เบอร์ ท่านทำสัญญาให้ขุดลอกท่าเรือภูเก็ตปีละครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของมูลดินทรายจากการทำเหมืองแร่ (ต่อมาเมื่อท่านสิ้นแล้ว ได้ถูกยกเลิก ทำให้เกิดการตื้นเขิน เรือใหญ่เข้าไม่ได้)
       บริษัทเอเชียติ๊ก ที่ตะกั่วป่า ท่านให้รับสัญญาทำถนนแทนแม่น้ำลำคลอง จากอำเภอกะปงถึงย่านยาว
       เมืองตะกั่วป่า แต่เดิมแม่น้ำลึก เรือใหญ่เข้าเทียบท่าได้ ครั้นต่อมาตื้นเขินเพราะมูลดินทรายจากการทำเหมืองแร่ ได้ไหลลงมาทับถม พระยารัษฎาฯ จึงให้ย้ายเมืองมาตั้งที่ย่านยาวในเวลานี้ สร้างถนนระยะทางยาว ๗ กิโลเมตร โดยให้พวกเจ้าของเหมืองเป็นผู้ออกทุน
       บริษัททุ่งคาคอมเปาวน์ ได้มาขอที่ดินทำเหมืองแร่ติดที่ดินสถานที่ทำงานของรัฐบาล ท่านก็ให้สร้างศาลากลาง สถานทีทำการของรัฐบาล เรือนจำ บ้านพัก และอื่นๆ โดยใช้แบบแปลนที่ทันสมัยในครั้งนั้นจากต่างประเทศทั้งสิ้น จนมีคำกล่าวว่า ไม่มีที่ใดในประเทศไทยจะโอ่โถงถูกต้องลักษณะเท่าที่ได้สร้างขึ้น ณ เมืองภูเก็ต


      นำธนาคารเข้ามาในประเทศ ในสมัยของท่านมีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายมาก เพื่อให้การหมุนเวียนการเงินเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย จึงชักชวน "ชาร์เตอร์แบงค์" ในต่างประเทศเข้ามาตั้งสาขา เกิดธนาคารขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

       ตลาดนัด ท่านนำแบบอย่างมาจากชวา (อินโดนีเซีย) จัดสัปดาห์ละครั้ง หมุนเวียนไปในแต่ละตำบลวันละแห่ง ประกาศให้ชาวบ้านนำสินค้าท้องถิ่นมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน ทำให้เกิดการอพยพข้ามถิ่น เกิดการขยายการเกษตรกรรม และสร้างชุมชนเมือง

       กองตำรวจภูธร เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย จัดทำแผนที่มณฑล บัญชีรายชื่อ รูปพรรณคนร้าย ฯลฯ ได้ซื้อเรือกลไฟไว้ตระเวนตรวจตรา เป็นการดูแลความปลอดภัยทางการค้าต่างประเทศ ออกทะเบียนเรือราษฎรเพื่อป้องกันการโจรกรรม

       การรักษาความสงบสุข ท่านมอบหมายให้ราษฎรแต่ละหมู่บ้านร่วมแรงร่วมใจกัน มีเกราะตีบอกเหตุ เช่น ตีเกราะเรียกประชุมปกติ ตีเกราะเรียกประชุมด่วน ตีเกราะเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ เป็นต้น ถ้าตีเกราะบอกเหตุร้าย ราษฎรทุกคนจะต้องนำอาวุธประจำตัวติดไปประชุมด้วย เพื่อทันแก้ไขสถานการณ์
    
  พระยารัษฎาฯ เป็นผู้มีความคิดก้าวหน้า กว้างไกล จนบุคคลบางกลุ่มบางพวกตามไม่ทันคิดแต่จะได้ผลประโยชน์ส่วนตน เป็นประมาณ ถึงกับพยายามขัดขวาง โดยได้พากันยื่นฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้และเสด็จผ่านเมืองตรัง ที่ตำบลทับเที่ยง โดยกระบวนช้างพระที่นั่ง
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเข้าพระทัยว่า พระยารัษฎาฯ คงกระทำการให้ราษฎรเดือดร้อนจริงๆ จึงกล้าเข้าชื่อกันถวายฎีกา จึงมีรับสั่งให้พระยารัษฎาฯ เข้าเฝ้าเป็นพิเศษ รับสั่งถามว่า "ซิมบี๋ ราษฎรยื่นฎีกาว่าเจ้ากดขี่ข่มเหงเขา ความจริงเป็นอย่างไร"
       พระยารัษฎาฯ ได้กราบบังคมทูลว่าตามความเป็นจริง พร้อมทั้งขอให้เรียกคนที่รู้เห็นความจริงมาสอบสวน โดยกล่าวว่า "ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ทำการอันใดอันเป็นประโยชน์ส่วนตนแม้แต่อย่างหนึ่งประการใดเลย การที่ได้กระทำไปแล้ว ส้วนแต่จะเกิดประโยชน์แก่พวกลูกหลานหว่านเครือของพวกที่ยื่นฎีกาทั้งสิ้น ถ้าผิดจากความจริงที่ได้กราบบังคมทูลมานี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระอาญาใส่เกล้า"
       คนเหล่านั้นพากันตกใจ กลัวว่าพระยารัษฎาฯ จะหาอุบายทำโทษทางอ้อม บ้างก็อพยพไปอยู่ที่อื่น ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับไปแล้ว พระยารัษฎาฯ จึงได้เรียกพวกที่ทูลเกล้าถวายฎีกานั้นมาปรับความเข้าใจ และชี้แจงเหตุผลให้ทราบโดยมิได้แสดงอาการถือโกรธแต่ประการใด

       ถึงแก่อนิจกรรม   
       พระยารัษฎาฯ ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๔๕๖ อายุ ๕๖ ปีโดยถูก หมอจันทร์ แพทย์ประจำจังหวัดตรัง เป็นผู้ยิง
       หมอจันทร์ เป็นหมออยู่ที่กรมทหารเรือ กรุงเทพฯ ได้ถูกออกจากราชการ มีผู้ใหญ่ฝากมาให้พระยารัษฎาฯ อุปการะที่เมืองตรัง
       หมอจันทร์มาได้นางซ่วน หรือซิ่ว เป็นภรรยาลับ และเป็นสาเหตุของเรื่องเศร้านี้
      ก่อนเกิดเหตุไม่กี่วัน พระยารัษฎาฯ ได้เรียกบรรดาข้าหลวงประจำจังหวัดต่างๆ ในมณฑลภูเก็ตรวมทั้งพระสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง) ข้าหลวงประจำจังหวัดตรัง ไปประชุมที่ภูเก็ต เมื่อประชุมเสร็จ พระยารัษฎาฯ ได้เดินทางไปปีนัง เพื่อรักษาสุขภาพ แล้วจะกลับมาตรวจราชการในจังหวัดต่างๆ ต่อไป
       พระสถลฯ ได้นั่งเรือเทพกษัตรีกลับเมืองตรัง มีข้าราชการเมืองพังงาอาศัยมาด้วยหลายคนเพื่อจะไปลงที่เกาะปันหยี จ.พังงา
       ระหว่างนั้น ได้พบว่า มีหญิงชื่อซ่วน หรือซิ่ว อาศัยมาด้วยโดยมิได้รับอนุญาต จึงถูกไล่ลงที่เกาะปันหยี เมื่อส่งข้าราชการเมืองพังงา แล้วเรือก็แล่นต่อไปยัง จ.ตรัง
       หมอจันทร์ได้รับโทรเลขจากนางซ่วนให้ไปรับ แต่พระสถลฯ ไม่อนุญาต เพราะเจ้าคุณเทศา (พระยารัษฎาฯ) กำลังจะกลับมา ข้าราชการต้องอยู่ต้อนรับ
       หมอจันทร์ได้โทรเลขไปบอกเจ้าคุณเทศาที่สตูล แต่ท่านจะได้รับโทรเลขหรือไม่ไม่ทราบได้ เพราะอยู่ระหว่างเดินทาง จึงไม่มีคำตอบกลับมา
       หมอจันทร์ เก็บความแค้นนี้ไว้จนกระทั่ง พระยารัษฎาฯ กลับมา เรือเทียบท่าเรือกันตัง ที่สะพานเจ้าฟ้า หมอจันทร์ระเบิดกระสุนใส่พระสถล ๒ นัด และพระยารัษฎา ๑ นัด เสียชีวิตในเวลาต่อมา
       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้มีพระราชโทรเลขไปถึงหลวงบริรักษ์โลหวิสัย (พระยารัษฎาธิราชภักดี) บุตรของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ มีใจความว่า
       "เรามีความเศร้าสลดใจอย่างยิ่งในอนิจกรรมของบิดาเจ้า ผู้ซึ่งเรายกย่องอย่างสูง ไม่เฉพาะที่เป็นข้าราชการเท่านั้น แต่ยังถือว่าเป็นเพื่อนผู้หนึ่ง ซึ่งเราเศร้าสลดที่ต้องสูญเสียไปเช่นนั้น จงรับความเศร้าสลดและเห็นใจอย่างแท้จริงจากเราด้วย"

       หนังสือพิมพ์ สเตรตส์ เอโก ในปีนัง ลงบทความในวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๔๕๖ ว่า "การที่สมุหเทศาภิบาลคนใดที่จะมาสืบตำแหน่ง แทนท่านต่อไปในอนาคต จะมีอำนาจและอิทธิพลเท่าเทียมพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ฯ นั้น คงเป็นไปได้ยาก ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่จะมาสืบตำแหน่งแทนท่านต่อไปในอนาคตก็จะไม่อาจยึดบังเหียนการปกครองบ้านเมืองอันเป็นหัวใจสำคัญในการติดต่อกับกระทรวง และทบวงต่างๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ จะต้องปฏิบัติไปนั้น ท่านต้องใช้ความเด็ดเดี่ยวเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน จนเป็นเหตุให้ผู้หวังความลดหย่อนผ่อนผันจากท่านตลอดจนผู้ที่หวังค้ากำไรอื่นๆ พากันตำหนิติเตียนนโยบายของท่าน อย่างไรก็ดี ความปรีชาสามารถของท่านในฐานะเป็นนักบริหารนั้นไม่เคยมีใครสงสัย ทั้งชาวยุโรป ชาวจีน และไทย ต่างมีความรักใคร่นับถือ พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ทั่วกัน ฉะนั้น อนิจกรรมของท่านจึงย่อมเป็นการเศร้าสลดทั้งในเมืองปีนังและมณฑลภูเก็ตเอง ในฐานะที่เป็นท้องถิ่นซึ่งท่านได้นำความเจริญมาให้จนถือว่าเป็นมณฑลที่เจริญที่สุด รุ่งเรืองที่สุดในประเทศไทย"
      "สมุดรัษฎานุสรณ์" ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า เหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ถ้าจะถือตามพระพุทธโอวาทแล้ว ก็นับว่า สร้างเวรกรรมกันมาแต่ชาติปางก่อน ซึ่งพระยารัษฎาฯ ได้หมอจันทร์มาเลี้ยงไว้ให้ฆ่าตัวเอง”
       ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้ดำเนินการจัดสร้างอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ประดิษฐาน ณ ตำหนักผ่อนกาย ตำบลทับเที่ยง จังหวัดตรัง มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๙๔
       และอนุสาวรีย์ของท่านที่สถานพักผ่อนหย่อยใจ เขารัง จังหวัดภูเก็ต ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๓๖ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์.



พระยารัษฎาธิราชภักดี (คอยู่จ๋าย)

      จากการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ โดยคณะราษฎร์ ซึ่งมี พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
พันเอก พระยาทรงสุรเดช พันตรี หลวงพิบูลสงคราม และ ดร.ปรีดี พนมยงค์
      ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เข้าร่วมรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย
      ต่อมา วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๖ พ.อ.พระยาพหลฯ พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์ และจัดตั้งรัฐบาลในวันรุ่งขึ้น
      คณะปฏิวัติได้ สร้างความหวาดหวั่นให้เจ้านายในราชวงศ์ทั้งปวง ทำให้เกิด "กบฏบวรเดช"เมื่อวันที่ ๑๑-๑๒ ตุลาคม ๒๔๗๖ เจ้านายต้องหนีออกต่างประเทศ จนกระทั่งราวสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงได้เสด็จกลับ

      เรื่องราวบางตอนที่เกี่ยวข้องกับท่าน คอ ยู่ จ๋าย

      ๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๖ ถึงเมืองท่าปีนัง
      เมื่อเจ้าคุณมโนฯ มาถึงปีนัง พระยารัษฎาธิราชภักดี (คอ ยู่ จ๋าย) พาไปอยู่บ้านเช่า เป็นตึกหลังใหญ่ เครื่องเรือนครบทุกอย่าง ท่านเช่าให้อยู่ เดือนละ ๑๒๕ เหรียญ สมัยนั้นแพงมาก
      บ้านที่เช่า อยู่เลขที่ ๑๒๕ Tanjong Tokong เป็นบ้านเศรษฐีปีนังในสมัยนั้น ชื่อ Choong Lye Hock เข้าใจว่าภายหลังคงขาย เพราะปัจจุบันนี้ เป็นตึกแถว ๓ ชั้น เป็นร้านค้า ร้านอาหาร
      ท่านคอ ยู่ จ๋าย ได้จัดให้พร้อมทั้งคนรับใช้ชาย ๒ คน อาหารการกินพร้อม บอกว่าพักให้สบายใจ ไม่ต้องเดือดร้อนอะไร.....
      ท่านคอ ยู่ จ๋าย กับท่านเจ้าคุณมโนฯ แม้ไม่ได้สนิทสนมกัน แต่ท่านคอ ยู่ จ๋าย บอกว่าทราบเรื่องและก็สงสาร เพราะเป็นคนดีและซื่อสัตย์.....
      อยู่บ้านหลังใหญ่ราวๆ เดือนกว่า จึงมาได้บ้านว่างเปล่าๆ เดือนละ ๕๐ เหรียญ ที่ Burmah Lane ออกมานอกเมืองเล็กน้อย
ท่านคอ ยู่ จ๋าย ก็ช่วยๆ ทุกอย่าง หาเครื่องเรือนให้พร้อม ท่านบอกว่า แบ่งเอามาจากของส่วนตัวของท่าน
      ค่าครองชีพสมัยนั้น ๘๕ สตางค์ ต่อ ๑ เหรียญ
      เมื่ออยู่บ้านหลังใหม่ ท่านคอ ยู่ จ๋าย ก็ตามมาดูแล จนกระทั่งเจ้าคุณมโนฯ เสียชีวิต ด้วยเส้นเลือดในสมองแตก เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙
      ท่านคอ ยู่ จ๋าย ยังแวะเวียนมาดูแลครอบครัวของเจ้าคุณมโนฯ จนกระทั่งท่านเสียชีวิต
      บุตรชายของท่าน คือ ดาโต๊ะ คอ เบียน เจ็ง ก็มาดูแลต่อ จนเสียชีวิตเช่นกัน
      ต่อมาทางการมาเลย์เซียตัดถนนข้างๆ ที่สวนผลไม้ของเจ้าคุณมโนฯ ได้ตั้งชื่อถนนว่า Mano Road ชื่อซอยว่า Mano Close ภายหลังเรียก Jalan Mano และ Solok Mano


      (๑) คอ ยู่ จ๋าย หรือ พระยารัษฎาธิราชภักดี บุตรชายของท่าน คอ ซิม บี๊
      (๒) พลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช เคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม แต่ได้ลาออกเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔
[/u]

http://www.naranong.net/history04.html

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2_%28%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99_%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C%29    พระยามโนปกรณนิติธาดา


 ไหว้  ท่องเน็ตไปเจอ เรื่องราวประวัติศาสตร์  คิดว่าน่าอ่านจึงนำมาแบ่งปันครับ  หลงรัก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 21, 2013, 04:18:48 AM โดย เบิ้ม » บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 20, 2013, 08:43:47 PM »

สุดยอด เยี่ยม
บันทึกการเข้า

~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 20, 2013, 09:12:05 PM »

ต้นตระกูลเป็นบิดายางพาราไทย  แต่เหลนดันทำยางพาราไทยฉิบหาย   แลบลิ้น
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 20, 2013, 11:50:01 PM »

สุดยอด เยี่ยม

ผมอ่านแล้วจินตนการนะครับพี่จอย สมัย70-80ปีก่อน รถรายังไม่ค่อยมี คนใช้เกวียน ตะกั่วป่าเจริญขึ้นก่อนภูเก็ต สังคมนายเหมือง

ถ้าสร้างหนัง,ละคร จะน่าดูขนาดไหน แต่คงยาก ใช้ทุนเยอะ สร้างฉาก

สมัยนั้นพระนครกับต่างเมือง ห่างไกล คงเดินทางลำบากมาก  Grin
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
Jedth
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 858
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4607



« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 11:00:40 PM »

ขอบคุณครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า

Pragmatism
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 11:05:22 PM »

ขอบคุณครับ  ไหว้

 ไหว้  +
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 11:36:18 PM »

อัตชีวประวัติท่านพระยารัษฎานุประดิษฐ์  บอกเล่าเรื่องราวหลายมิติที่คนรุ่นหลังไม่ค่อยได้เรียนรู้ เช่นการรับราชการสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำกันอย่างไร ใครจะมีโอกาสเป็นข้าหลวงบ้าง ...ฯ

การเดินทางสัญจร,การพัฒนาในด้านต่างๆ มีหลายมิติที่น่าสนใจ แถมยังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงของโลกเสรีนิยมกับคอมมิวนิสย์ีที่ถาโถมเข้าใส่

การเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยในแผ่นดินสยาม พ.ศ.2475  ล่วงมา81ปี  1-2ชั่วอายุคน(ถือว่าน้อย ถ้าเทียบกับแม่แบบที่ลองผิดลองถูกมาหลายร้อยปี)

จนปัจจุบันพี่ใหญ่คอมมิวนิสก็เปลี่ยนแปลงตัวเองไปหมดแล้ว จีน รัสเซีย ฯ  กลายเป็นกึ่งๆเสรี แต่ยังมีกฎ มีการบังคับต่างๆนานา

บ้านเราถือว่าเสรีมาก มากจนคนไทยติดสบาย อะลุ่มอ่ะล่วย ระบบอุปถัมยังคงอยู่ ทุกเซกเม้นในสังคม......งึมงำๆฯ
คิก คิก
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
แอบดูที่รูเดิม
เกิดเป็นคน ควรรู้จักกตัญญู
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 622
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3747


ปลวกน้อยกัดกินบ้าน..นักการเมืองคอรัปชั่นกัดกินชาติ


« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 23, 2013, 08:36:16 AM »

ตอนเรียนชั้นประถม 6 เคยมีแบบเรียนวิชาสังคมศึกษา ที่มีประวัติของท่านครับ
หลายคนที่อายุ 32-35 น่าจะเคยได้เรียน และน่าจะจำกันได้ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 22 คำสั่ง