ผมมองว่ามันคือการบ่งชี้เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา การทำแบบนี้ก็เหมือนลักษณะสังคมไทยส่วนใหญ่เท่าที่ทำงานมาด้วยคือเมื่อมีปัญหา จะยัดหรือซุกไว้ใต้พรม ที่มันล้นออกมาก็คือที่เจอ สุดท้ายปัญหาก็จะไม่ได้แก้สักที
ความเสื่อม ความเสียหาย ความย่อยยับหายนะของพระศาสนา (ที่จริงของพระสงฆ์ บางรูป ซึ่งเป็นส่วนน้อย)
แต่ความเสื่อม ฯลฯ ที่ปรากฏให้เห็นเพราะพวกเรานั่นเองที่ช่วยกันโฆษณา หรือช่วยกระจายความเสื่อมให้เพิ่มมากขึ้น
เปรียบเสมือนไฟที่ไหม้บ้านเรือน แล้วเราไปพบเจอเข้า แทนที่เราจะช่วยกันดับ ยังยั้งเชื้อไฟไม่ไห้ลุกลามบานปลาย จนไปลุกไหม้บ้านเรือนหลังอื่นได้
ฉันใด พระสงฆ์ที่ประพฤติตนชั่วช้าเลวทรามบางรูปที่เราพบเจอเราต้องช่วยกันยับยั้ง ว่ากล่าว แจ้งผู้บังคับบัญชาฝ่ายสงฆ์ หรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจัดการ
ไม่ใช่ช่วยกันประณามเหยียดหยามออกสื่อ
เราแน่ใจได้อย่างไรว่าพระสงฆ์ที่ประพฤติตนเลวทรามนั้นเป็นพระจริง หรือพระปลอม
ปัจจุบัน ภัยของพระพุทธศาสนามีหลายรูปแบบ
ภัยภายใน หมายถึงการที่พระสงฆ์เองไม่อยู่ในธรรมวินัย ประพฤติตนมัวหมอง อันนี้สมนำหน้า เพราะตนเองทำเสื่อมเอง
แต่.....
ภัยภายนอกก็สำคัญ
ภัยต่างศาสนา...
บ่อยครั้งที่พระสงฆ์ที่ถูกจับได้แล้วถูกดำเนินคดีมักปลอมเข้ามาเพื่ออาศัยผ้าเหลืองหากิน เป็นเหลือบศาสนา (เราต้องช่วยกันกำจัด)
บางคนอยู่ต่างศาสนา เข้ามาบวชเพื่อสร้างความเสื่อมให้ศาสนาก็มี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนหมดความเลื่อมใสศรัทธา จนเลิกนับถือศาสนา หรือเปลี่ยนศาสนาไปเลยก็มี
ผมเป็นคนที่ไม่ค่อยได้เข้าวัดทำบุญบ่อยเท่าไหร่ แต่ก็ไม่สบายใจทุกครั้งที่มีข่าวคราวพระสงฆ์พระพฤติตนเสียหาย แต่แปลกทำไมสื่อจึงชอบเอามาเป็นข่าวบ่อย ๆ
ตรงกันข้ามพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สื่อ หรือพวกเราไม่ค่อยให้ความสนใจ หรือส่งเสริมให้เป็นแบบอย่างของสังคม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงดำรัสว่า
" บ้านเมืองนี้มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงไม่ใช่ทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้
เครดิตท่าน snipy จากเวปเพื่อนบ้านครับ
ผมคงอธิบายให้ท่านได้เท่านี้ คงไม่โพสต่อแล้วครับ