ที่นายสมชายมองเห็น...
ตัดหางหลังอ่อนออกจนกุด, ปรับความหนาของเรือนสปริงนกสับให้บางลง, ขัดไกให้เว้าเข้าไปหาตัวปืน...
คาดว่าคุณตาเจ้าของปืนคง"เล่น"กับ 1911 เอาเรื่องอยู่ครับ...
นายสมชายไม่เคยเห็นคนตัดหางหลังอ่อนให้กุดอย่างนี้นานแล้ว คือปืน 1911 รุ่นใหม่มักทำหางหลังอ่อนยาว เพื่อไม่ให้หางนกกัดง่ามมือ และบางทีก็ปาดเนื้อโครงปืนให้สูงเพื่อกำด้ามสูง...
แต่ใช้ 1911 ดั้งเดิมแบบที่คนออกแบบตั้งใจให้ใช้ คือใช้แบบเคาบอยใช้งานลูกโม่ซิงเกิ้ลแอคชั่นได้ไม่ถนัดครับ... ขยายความว่า เวลาเอานิ้วโป้งข้างที่ถือปืนมาง้างนก แล้วหางหลังอ่อนขวางง่ามมือ กับหางหลังอ่อนกดเนื้อพุงเวลาเหน็บเอว... ปืนนายสมชายเองใส่หลังอ่อนแบบสั้น แต่ไม่ถึงขนาดตัดกุด...
เรื่องปรับความหนาหลอดสปริงนกสับ กับฝนหน้าไกปืนให้เว้า... สองอย่างนี่คือการปรับขนาดด้ามและตำแหน่งหน้าไกให้เหมาะกับนิ้วและขนาดมือของเจ้าของปืนครับ... คนที่ทำแบบนี้ นายสมชายสงสัยว่าชอบ และฝึกฝนยิงหลายเป้าแบบไม่ดูศูนย์... ตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของคนออกแบบที่ตั้งใจให้เคาบอยใช้งานแทนลูกโม่ซิงเกิ้ลฯ ครับ...
สงสัยจัง...
ว่าคุณตาทำงานอะไรครับ... สิงห์มือปราบรุ่นเก๋าแหงๆ อย่างไรก็ดีน่าจะขอประสบการณ์ท่านเอามาลงในเว็บมั่งนะครับ...
ขอบคุณคุณสมชายมากครับ ผมเองชอบ 1911มานาน แต่ไม่มีโอกาสได้ครอบครอง คุ้นเคยแต่ Sig 226 , บาเร็ตต้า 92 Fs Compact และ FEG .380 ที่มีเท่านั้น คุณเป็นคนช่างสังเกตมากครับ คุณตาผมเป็นมือปราบสมัยเก่า ผมอยู่ในจังหวัดที่มีมือปืนเยอะ(เมื่อก่อนโน้นนะครับ) คุณตาผมประวัติการปราบปรามเสือพวกนี้ท่านโชกโชนครับ ตอนผมเด็กๆ เห็นท่านเอาปืนมาเรียงๆกัน นั่งเช็ดถู ถอด ประกอบ ตกแต่งอยู่บ่อยๆ มันคงค่อยๆซึมซับมาให้ผมเป็นคนที่ชอบและรักปืนมาจนทุกวันนี้