เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 18, 2024, 01:16:12 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประเพณีของทหารเรือทิ้งศพทหารลงทะเล..จริงไหม ?  (อ่าน 8199 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #30 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2009, 12:24:11 PM »

ขอบคุณมากครับผู้การฯสกาย  ขอบคุณมากครับ ผู้การฯสุพินท์ .. Cheesy

ยังมี ประเพณี ใส่ศพ ลงแพ หรือลงเรือ แล้วให้ล่องไปในสายน้ำ ..   ไม่นับแบบ อินเดีย คืนให้กับแม่น้ำคงคา นะครับ

อย่างใน ภาพยนตร์ ไวกิ้ง เก่าสัก ๒๐ ปี +/- ที่เคิร์ก หรือไมเคิล ดักกลาส แสดงนำเป็น ไวกิ้งตาเดียว เพราะถูกนกอินทรีย์ที่เลี้ยงไว้
จิกลูกตา .. เมื่อตายลง ก็ถูกใส่เรือ.   หนังเจตนา ให้เห็นถึงวัฒนธรรมในอดีตของ  ไวกิ้ง.

หรือแม้แต่ใน ภาพยนตร์ จีน ที่กล่าวถึงอดีต ก็ยังเคยเห็นมีประเพณีนี้ เหมือนกัน . Grin
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2009, 02:27:47 PM โดย Ro@d » บันทึกการเข้า

หยดน้ำ-รักในหลวง
ทุกวันมีความหมาย...
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 18
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 899


กัลยาณการี กัลยาณัง ปาปการี จ ปาปกัง


« ตอบ #31 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2009, 02:22:30 PM »

                    เรียนพี่ R@ad และพี่ๆน้องๆทุกท่าน  ไหว้

                    พิธีปลงศพในทะเล    พิธีนี้สืบเนื่องมาแต่พิธีปลงศพพวกนอกศาสนาเพื่อแก้บนพระเจ้าและให้ใส่เหรียญเงินในปากผู้ตายเป็นค่าโดยสารคนแจวเรือจ้าง Charon  ในการข้ามฟากแม่น้ำ  Styx ในเมืองผี   Shocked ตามประเพณีโบราณนั้นการเตรียมศพก่อนปลงลงทะเลใช้ห่อศพด้วยผ้าใบ แล้วเย็บให้แน่นตามรูปศพ การเย็บครั้งสุดท้ายนั้นให้เอาเข็มแทงลอดเข้าไปในจมูกของผู้ตาย เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าตายจริง ราชนาวีอังกฤษให้ค่าจ้างคนเย็บผ้าใบห่อศพนี้ศพละ ๑ กินี

   ในปัจจุบัน  การปลงศพในทะเลเกือบจะไม่มีเลย ยกเว้นในเวลาสงครามซึ่งจะต้องกระทำด้วยความจำเป็น เมื่อเตรียมศพเรียบร้อย โดยการห่อด้วยผ้าใบหรือใส่โลงพร้อมด้วยน้ำหนักสำหรับถ่วง แล้วคลุมด้วยธงชาติ นายทหาร และทหาร ทุก ๆ คนที่ไม่มีกิจจำเป็นต้องมาร่วมพิธีทั้งหมด เพื่อเป็นเกียรติแก่ศพ เมื่อผู้บังคับการเรือหรือผู้แทนกล่าวคำไว้อาลัย (ต่างประเทศใช้อนุศาสนาจารย์ประจำเรือ) กล่าวจบแล้วเปิดฐานรองหีบศพและชักผ้าธงออก ร่างของผู้ตายจะพุ่งลงทะเลไป แตรหรือนกหวีดเป่าเพลงนอนด้วย สำหรับในเวลาปกติจะกระทำต่อเมื่อนายทหารเรือหรือทหารซึ่งถึงแก่กรรมบนบกได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือขอร้องเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น  Wink

                    สรั่งเรือ (Boatswain) เป็นตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านการเรือ (เชือก รอก ลวด ผ้าใบ การทาสีเรือ ฯลฯ) รอบรู้เรื่องเกี่ยวกับเรือ ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ส่วนใหญ่จะรับราชการมานาน มีวัยวุฒิและคุณวุฒิสูง ในเรือรบของทร.ไทย อัตราจะอยู่ที่เรือเอกถึงนาวาตรี โดยการสอบเลื่อนฐานะมาจากนักเรียนจ่า(จ.ต.-จ.ท.-จ.อ.-พ.จ.ต.-พ.จ.ท.-พ.จ.อ. แล้วสอบเป็นนายทหารสัญญาบัตร ได้ยศเรือตรี-เรือโท-เรือเอก-นาวาตรี)

                    สรั่งเรือ (Boatswain) เป็นตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านการเรือ (เชือก รอก ลวด ผ้าใบ การทาสีเรือ ฯลฯ) รอบรู้เรื่องเกี่ยวกับเรือ ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ส่วนใหญ่จะรับราชการมานาน มีวัยวุฒิและคุณวุฒิสูง ในเรือรบของทร.ไทย อัตราจะอยู่ที่เรือเอกถึงนาวาตรี โดยการสอบเลื่อนฐานะมาจากนักเรียนจ่า(จ.ต.-จ.ท.-จ.อ.-พ.จ.ต.-พ.จ.ท.-พ.จ.อ. แล้วสอบเป็นนายทหารสัญญาบัตร ได้ยศเรือตรี-เรือโท-เรือเอก-นาวาตรี)

เพิ่มเติมให้ครับ
Boatswain  ไม่ได้มีเฉพาะทหารเรือเท่านั้น   พาณิชย์นาวีก็มีตำแหน่งนี้   คุณลักษณะเช่นเดียวกับทหารคือเป็นผู้เชี่ยวชาญการเรือทั้งปวง มีสถานะเป็นคนกลางระหว่างนายเรือกับลูกเรือ
ในหนังโจรสลัด  ที่กัปตันเรียก Mr.Swain  คือเขาไม่ได้เรียกชื่อ แต่เรียกตำแหน่งของสรั่งเรือ
ส่วนชื่อ "สรั่ง" ผมเข้าใจว่าไทยเราคงจะเรียกตามอย่างภาษามาลายู  เคยได้ยินทหารเรืออินโดนีเซีย กับมาเลเซีย  เรียกคล้าย ๆ เรา

ขอบคุณครับ..ทั้ง 2 ท่านผู้การฯ
บันทึกการเข้า

R2D2
ท้าเยาะเย้ยทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ
Hero Member
*****

คะแนน 366
ออฟไลน์

กระทู้: 6023



« ตอบ #32 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2009, 03:52:01 PM »

พจนก.ฉบับมติชน อธิบายสั้น ๆ ว่า สรั่ง : หัวหน้ากะลาสี (เปอร์เซีย)
เคยจำได้ในพระอภัยมณีสินสมุทร รบโจรสุหรั่ง ไม่แน่ใจว่าความหมายเดียวกันหรือเปล่า ?
บันทึกการเข้า
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #33 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2009, 08:07:19 PM »

๑.  สรั่งเรือ (BOAT SWAIN)


      หน้าที่โดยทั่วไป สรั่งเรือมีหน้าที่ประสานงานระหว่างต้นหนเรือระดับ ๑ ซึ่งรับผิดชอบทางด้านการบรรทุกและขนถ่ายสินค้ากับลูกเรือฝ่ายปากเรือ เพื่อให้งานทางด้านการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าเป็นไปตามที่ต้นหนระดับ ๑ ต้องการ

      การฝึกอบรม การที่จะเป็นสรั่งเรือได้นั้น จำเป็นต้องมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรือสินค้ามามากจนนับได้ว่ามีความชำนาญ เช่น เคยทำงานในเรือลากจูงในแม่น้ำ เรือลากจูงในน่านน้ำ เรือทักโบ๊ต        เรือนำร่อง เรือสินค้าเดินต่างประเทศฝ่ายปากเรือ ฉะนั้นความรู้ความสามารถจึงเกิดจากการทำงานเท่านั้น ส่วนจะได้รับการว่าจ้างให้ทำงานในตำแหน่งสรั่งเรือนั้น ต้องมีหลักฐานแสดง คือ ใบรับรองการผ่านงาน และ/หรือใบประกาศนียบัตร นายท้ายชั้น ๑ จากกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี

      คุณสมบัติ  ตำแหน่งสรั่งเรือเป็นตำแหน่งสำคัญ คือ ต้องประสานงานระหว่างต้นหนเรือระดับ ๑ กับลูกเรือระดับนายท้าย ฉะนั้นคนที่จะรับหน้าที่นี้จึงต้องมีคุณสมบัติ คือ

      (๑)  มีความรู้เกี่ยวกับงานการบรรทุกและขนถ่ายสินค้า และความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ไม้สอยเพื่อการขนถ่ายและบรรทุกสินค้า

      (๒)  เป็นที่น่านับถือจากลูกเรือ คุณสมบัติประการนี้มักจะเกิดขึ้นตามมาจากข้อ (๑) คือ เมื่อมีความรู้และความชำนาญจริง ๆ แล้ว ลูกเรือฝ่ายปากเรืออื่น ๆ ก็เกิดความศรัทธาและนับถือในตัวสรั่งเรือ ซึ่งเปรียบเหมือนหัวหน้าของนายท้าย

      (๓)  เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์และมีหลักความเป็นผู้นำ กล่าวคือ การที่จะปฏิบัติหน้าที่คล้ายกับผู้นำแล้ว จำเป็นต้องอาศัยหลักมนุษย์สัมพันธ์และหลักความเป็นผู้นำ เข้าใจในความประสงค์ของต้นหนเรือ  และขณะเดียวกันก็เข้าใจขีดความสามารถของนายท้าย นายท้ายมีความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการตรากตรำทำงานมาแล้วเพียงไร แต่การที่จะดำเนินการให้งานที่ต้นหนเรือสั่งนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ควรจะทำอย่างไร เพื่อมิให้นายท้ายรู้สึกระคายเคืองความรู้สึก    ซึ่งจะมีผลต่อการบังคับบัญชาในโอกาสต่อไป

      (๔)  มีร่างกายแข็งแรง สภาพงานที่ต้องเดิน วิ่ง และปีนป่ายต่าง ๆ ทำให้ต้องใช้พละกำลังมาก

ฉะนั้นสรั่งเรือจึงต้องเป็นบุคคลที่มีร่างกายแข็งแรง

      อันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน  อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสรั่งเรือก็เหมือนกับอันตราย       ที่อาจเกิดกับลูกเรือฝ่ายปากเรือ คือ อุบัติเหตุอันเนื่องมาจากเครื่องมือที่ใช้ในการบรรทุกและขนถ่ายสินค้า เช่น เครน ปั้นจั่น เชือก ลวดสลิง โซ่ ฯลฯ เหล่านี้เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่มหึมา  มีน้ำหนักมาก หากไม่ระมัดระวังหรือมีข้อผิดพลาดในการใช้ เครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านี้ อาจจะเหวี่ยง ฟาด ทับ หรือกระแทกส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ทำให้เกิดการบาดเจ็บอย่างร้ายแรงหรือถึงแก่ชีวิตได้
 
 
 
 


      รายได้และสวัสดิการ รายได้ของสรั่งเรือก็เช่นเดียวกับรายได้ของลูกเรือฝ่ายปากเรือ            แต่มีอัตราสูงกว่า คือ

      (๑)  เงินเดือน เงินเดือนของสรั่งเรือขึ้นอยู่กับประเภทเรือ ความมั่นคงของบริษัทเรือ และความสามารถของสรั่งเรือเอง เท่าที่ทราบเงินเดือนของผู้ทำหน้าที่สรั่งเรือในเรือสินค้าเดินต่างประเทศ  ประมาณ ๗,๕๐๐ บาท

      (๒)  เงินค่าทำงานล่วงเวลา  คือ  เงินพิเศษที่บริษัทเรือกำหนดให้กับตำแหน่งสรั่งเรือว่า       ในแต่ละเดือนสรั่งเรือจะได้รับเงินพิเศษในการทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุด ( เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ ) จำนวนหนึ่ง อาจจะเป็นจำนวน ๑๐๐ ชั่วโมง หรือมากน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับ   การกำหนดของบริษัท แต่เท่าที่ทราบค่าทำงานล่วงเวลาเมื่อคิดเป็นเงินแล้วประมาณจำนวน ๑ เท่าของเงินเดือน

      นอกจากเงินเดือนแล้ว สรั่งเรือมีรายได้เป็นเงินก้อนอีก คือ

      (๑)  เงินสะสม  เงินสะสมนี้ทางบริษัทเรือจะหักไว้จากเงินเดือนประมาณ ๑๐% และจะคืน      ให้แก่สรั่งเรือหลังจากลาพัก

      (๒)  เงินชดเชยวันหยุด  คือ บริษัทเรือกำหนดให้ลูกเรือทุกคนมีสิทธิ์ลาหยุดงานได้ ๕ วัน    ต่อการทำงาน ๑ เดือน มากหรือน้อยกว่านี้ก็ขึ้นกับการกำหนดของบริษัท แต่ในการเดินทางแต่ละเที่ยว ลูกเรือไม่มีโอกาสลาหยุด  ต้องทำงานและเตรียมพร้อมตลอดเวลา แต่เมื่อเรือเข้าเทียบท่าหมดเที่ยวการเดินเรือแล้ว บริษัทจะจ่ายเงินชดเชยวันที่มิได้ลาตามสิทธิ์ ซึ่งบางกรณีอาจะเป็นเงินเท่ากับเงินเดือน ๑ เดือน ก็ได้

      นอกจากรายได้ต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว สรั่งเรือก็มีสิทธิในการซื้อสิ่งของ  เครื่องดื่ม และอื่น ๆ ที่จำหน่ายบนเรือในราคาที่ยกเว้นภาษีเช่นเดียวกับลูกเรืออื่น ๆ


      ความต้องการแรงงาน  สรั่งเรือเป็นอาชีพที่ต้องใช้ทั้งกำลังความคิดและกำลังกาย จึงเป็นอาชีพที่ต้องตรากตรำมาก ดังนั้นอาชีพนี้จึงเหมาะสมกับคนที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตมั่นคงแข็งแรงและเข้มแข็งซึ่งก็เท่ากับเป็นบุคคลที่อยู่ในวัยฉกรรจ์นั่นเอง คนที่ทำงานนาน ๆ อายุมากขึ้น ๆ สังขารย่อมร่วงโรยไป จึงเป็นไปได้ยากที่จะรับหน้าที่ในตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบสูง และทำงานในเรือเดินสมุทรที่ทั้งต้องฝ่าคลื่นลม ยืนและทรงตัวบนเรือที่โยนไปโยนมา ดังนั้น สรั่งเรือที่อายุมากจำเป็นต้องลาออกไปประกอบอาชีพอื่น ๆ บนบก ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่คนใหม่ ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามารับงานต่อไป สรุปได้ว่างานในตำแหน่งสรั่งเรือเป็นที่ต้องการอยู่ตลอดเวลา
บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.11 วินาที กับ 22 คำสั่ง